ตามวธ.เยือนศรีลังกา เชิญสวดมนต์ข้ามปีในไทย

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 17 กันยายน 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b8a2e0b8b7e0b8ade0b899e0b8a8e0b8a3e0b8b5e0b8a5e0b8b1e0b887e0b881e0b8b2-e0b980e0b88ae0b8b4e0b88d.jpg

    “สุรินทร์ สรรพคุณ”

    ในอดีตประเทศไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา มีความสัมพันธ์ในเชิงศาสนาและวัฒนธรรมอย่างแน่นแฟ้น

    8a2e0b8b7e0b8ade0b899e0b8a8e0b8a3e0b8b5e0b8a5e0b8b1e0b887e0b881e0b8b2-e0b980e0b88ae0b8b4e0b88d-1.jpg พระพุทธศาสนา ได้เจริญรุ่งเรืองและเติบโตในอินเดีย และได้เผยแผ่มายังศรีลังกา ดินแดนสุวรรณภูมิของไทยก็ได้รับอิทธิพลจากศรีลังกา รวมทั้งศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมอย่างเจดีย์ทรงลังกาก็ได้เผยแพร่มายังประเทศไทย ตั้งแต่ยุคสมัยกรุงสุโขทัย และสืบทอดมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์

    ศรีลังกา เป็นประเทศพุทธศาสนา ประชาชนมีความเคร่ง มีวัตรปฏิบัติมั่นคง และเป็นประเทศหนึ่งจากสถิติที่ประชาชน มีการบริจาค มีน้ำใจไมตรีมากที่สุดประเทศหนึ่ง

    ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กระทรวงวัฒนธรรมไทย กับกระทรวงพุทธศาสนา และกระทรวงวัฒนธรรมศรีลังกา มีการส่งเสริมและแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ภายใต้ความตกลงทางวัฒนธรรมของสองประเทศนับตั้งแต่ปี 2524

    ล่าสุด นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม(วธ.) นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดวธ. นายมนัส ทารัตน์ใจ อธิบดีกรมการศาสนา (ศน.) พร้อมคณะ เดินทางไปกรุงโคลัมโบ ศรีลังกา เพื่อหารือจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีในประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ หรือประเทศที่มีชาวพุทธ หรือสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานที่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เพื่อให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้กราบสักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคลในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่

    8a2e0b8b7e0b8ade0b899e0b8a8e0b8a3e0b8b5e0b8a5e0b8b1e0b887e0b881e0b8b2-e0b980e0b88ae0b8b4e0b88d-2.jpg

    นายวีระได้พบกับรัฐมนตรีกระทรวงพุทธศาสนา และรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ศรีลังกา เพื่อเชิญมาสวดมนต์ ข้ามปีในประเทศไทย และกราบทูลเชิญสมเด็จพระสังฆราชทั้ง 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายมัลวัตตะ และฝ่ายอัสคีรี ซึ่งทั้ง 2 องค์ เป็นสยามนิกาย หรือสยามโมปารีมหานิกาย ที่มาจากประเทศไทยเมื่อ 265 ปีที่แล้ว มาสวดมนต์ที่ประเทศไทย

    8a2e0b8b7e0b8ade0b899e0b8a8e0b8a3e0b8b5e0b8a5e0b8b1e0b887e0b881e0b8b2-e0b980e0b88ae0b8b4e0b88d-3.jpg

    นอกจากนี้ ยังหารือเกี่ยวกับการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ มาประดิษฐานที่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เพื่อให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้กราบสักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคลในช่วงเทศกาลขึ้น ปีใหม่ปี 2563

    8a2e0b8b7e0b8ade0b899e0b8a8e0b8a3e0b8b5e0b8a5e0b8b1e0b887e0b881e0b8b2-e0b980e0b88ae0b8b4e0b88d-4.jpg

    นายวีระกล่าวว่า การจัดสวดมนต์ข้ามปีของประเทศไทย ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม และเป็นสิ่งที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยพูดถึงเรื่องนี้ว่าอยากให้ศาสนาอื่นสวดมนต์ข้ามปีด้วย ตอนนี้ศาสนิกชนศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู และศาสนาซิกข์ ได้จัดสวดมนต์ข้ามปีเช่นเดียวกับชาวพุทธในประเทศไทย และเริ่มขยายมายังต่างประเทศ

    8a2e0b8b7e0b8ade0b899e0b8a8e0b8a3e0b8b5e0b8a5e0b8b1e0b887e0b881e0b8b2-e0b980e0b88ae0b8b4e0b88d-5.jpg

    การที่เราได้เชิญรัฐมนตรีกระทรวงพุทธศาสนาและสมเด็จพระสังฆราชศรีลังกามาประเทศไทย จะทำให้ท่านเห็นถึงการจัดสวดมนต์ข้ามปีของประเทศไทยว่ามีความพร้อมเพียงขนาดไหน ท่านจะได้เห็นรูปแบบ จะได้มีโอกาสนำกลับมาเผยแผ่ในประเทศศรีลังกาต่อไปด้วย

    8a2e0b8b7e0b8ade0b899e0b8a8e0b8a3e0b8b5e0b8a5e0b8b1e0b887e0b881e0b8b2-e0b980e0b88ae0b8b4e0b88d-6.jpg

    ส่วนการหารือที่จะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ มาให้คนไทยได้สลักการะในสิ้นปีนี้ ทางกระทรวงพุทธศาสนาของศรีลังกา ก็มีความยินดี ซึ่งทางเราจะทำหนังสือขอยืมอย่างเป็นทางการต่อไป

    8a2e0b8b7e0b8ade0b899e0b8a8e0b8a3e0b8b5e0b8a5e0b8b1e0b887e0b881e0b8b2-e0b980e0b88ae0b8b4e0b88d-7.jpg

    สำหรับพระบรมสารีริกธาตุ ที่ศรีลังกาให้ยืมนั้น ค้นพบเมื่อพุทธศตวรรษที่ 3 มีศิลาจารึกที่ชัดเจนอยู่ในผอบ 3 ชั้น ที่ยืนยันได้ว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่สำคัญองค์หนึ่งของศรีลังกา

    [​IMG] [​IMG]

    8a2e0b8b7e0b8ade0b899e0b8a8e0b8a3e0b8b5e0b8a5e0b8b1e0b887e0b881e0b8b2-e0b980e0b88ae0b8b4e0b88d-8.jpg วันที่สองคณะผู้แทนไทย ออกเดินทางจากกรุงโคลัมโบ ไปยังเมืองแคนดี้ หรือศิริวัฒนานคร หรือสิงหขันธนคร ในภาษาสิงหลเรียก ขันธะ หมายถึงกองหินหรือภูเขา เมื่อฝรั่งตะวันตกเข้าครองเมือง ขันธะ จึงออกสำเนียงตามฝรั่งว่า แคนดิ หรือแคนดี้นั่นเอง

    เมืองแคนดี้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา เดิมเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรแคนดี้ของชนชาวสิงหล ตั้งอยู่บนที่สูงตอนกลางของศรีลังกา อยู่ห่างจากกรุงโคลัมโบ 120 ก.ม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ช.ม.

    คณะผู้แทนไทยถึงวัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว เข้ากราบสักการะพระธาตุเขี้ยวแก้ว ในหอพระธาตุเขี้ยวแก้ว เป็นกรณีพิเศษ และเข้าหารือกับ นายทิยะวัฒนานิลลาเม ประธานผู้ดูแลวัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว อย่างชื่นมื่น

    สำหรับบริเวณทางเข้าหอพระธาตุเขี้ยวแก้วเต็มไปด้วย นักแสวงบุญชาวศรีลังกาและชาวต่างชาติ ต่างนำดอกไม้เข้าบูชาสักการะพระธาตุเขี้ยวแก้ว และนักแสวงบุญบางส่วนได้เข้าคิวเพื่อขึ้นไปสักการะองค์พระธาตุ บริเวณชั้น 2 ของหอพระธาตุ

    จากนั้นเดินทางไปยังวัดมัลวัตตะ กราบสักการะพระทิพพตุวาเว ศรีสุมังคลมหานายกะเถระ ฝ่ายมัลวัตตะ ต่อด้วยวัดอัสสคีรี กราบสักการะพระวระกะโกธะ ศรีญาณรัตนมหานายกะเถระ ฝ่ายอัสคีรี ซึ่งทั้งสององค์ เป็นสยามนิกาย หรือสยามโมปารีมหานิกาย ที่มาจากประเทศไทยเมื่อ 265 ปีที่แล้ว ในสมัยพระเจ้า บรมโกศ

    8a2e0b8b7e0b8ade0b899e0b8a8e0b8a3e0b8b5e0b8a5e0b8b1e0b887e0b881e0b8b2-e0b980e0b88ae0b8b4e0b88d-9.jpg

    พระโสภณวชิราภรณ์ (ไสว โชติโก) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ร่วมเดินมากับคณะผู้แทนไทย กล่าวว่า การหารือร่วมกับพระทิพพตุวาเว ศรีสุมังคลมหานายกะเถระ ฝ่ายมัลวัตตะ ซึ่งท่านปรารภว่า ตัวท่านเองเดินไม่ได้แต่จะมอบหมายให้รองสมเด็จพระสังฆราชเดินทางไปในพิธีสวดมนต์ข้ามปีแทน และท่านได้ปรารภถึงความร่วมมือที่แน่นแฟ้นก็จะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

    a2e0b8b7e0b8ade0b899e0b8a8e0b8a3e0b8b5e0b8a5e0b8b1e0b887e0b881e0b8b2-e0b980e0b88ae0b8b4e0b88d-10.jpg

    ส่วนการเข้าสักการะพระวระกะโกธะ ศรีญาณรัตนมหา นายกะเถระ ฝ่ายอัสคีรี ท่านเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดู พระธาตุเขี้ยวแก้ว ท่านรับที่จะเดินทางมาในพิธีสวดมนต์ข้ามปี

    เสร็จภารกิจที่เมืองแคนดี้ก็ไปพักค้างคืนที่โรงแรมในเมือง ดัมบูลลา

    วันรุ่งขึ้นออกเดินทางไปยังแหล่งโบราณสถาน ที่เมืองอนุราธปุระ เป็นเมืองมรดกโลก เมืองหลวงแห่งแรกของศรีลังกา ตั้งอยู่ห่างจากกรุงโคลัมโบประมาณ 206 ก.ม. เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญในทางประวัติศาสตร์

    a2e0b8b7e0b8ade0b899e0b8a8e0b8a3e0b8b5e0b8a5e0b8b1e0b887e0b881e0b8b2-e0b980e0b88ae0b8b4e0b88d-11.jpg

    โดยเข้าสักการะพระมหาเจดีย์เชตวันวิหาร เป็นเจดีย์ที่สร้างด้วยอิฐทั้งองค์ในสมัยพระเจ้ามหาเสนะ (ครองราชย์พ.ศ.819-846) มีความสูง 122 เมตร จึงเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริเวณโดยรอบองค์เจดีย์เชตวันวิหารมีซากโบราณสถานและอาคารต่างๆ หลงเหลืออยู่มากมาย

    จากนั้นเข้ากราบสักการะเจ้าคณะจังหวัดเมืองอนุราธปุระ และเข้าไปสักการบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นแรกที่นำมาจากเมืองคยา ประเทศอินเดีย ซึ่งทุกคนต้องถอดรองเท้าก่อนเข้าไปยังบริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์ และต้องผ่านการตรวจอาวุธในห้องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กแยกเป็นชายหญิงคนละห้อง มีทหารชายและหญิงเป็นผู้ตรวจ เพื่อป้องกันเหตุร้าย

    ชมโบราณสถานพระมหาเจดีย์รุวันเวลิสยา หรือเจดีย์สุวรรณมาลิก พระมหาเจดีย์มีขนาดใหญ่กว้าง 100 เมตร สูง 100 เมตร ปูด้วยก้อนหินภูเขา โดยใช้ช้างลากหินเหล่านั้นมา จึงมีการสร้างช้างล้อมไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับช้างที่ได้ช่วยก่อสร้างพระมหาเจดีย์นี้ด้วย

    a2e0b8b7e0b8ade0b899e0b8a8e0b8a3e0b8b5e0b8a5e0b8b1e0b887e0b881e0b8b2-e0b980e0b88ae0b8b4e0b88d-12.jpg

    ปัจจุบันพระมหาเจดีย์รุวันเวลิสยา ถือเป็นหนึ่งในอนุสรณ์สถานที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

    จบการร่วมทริปหารือจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีของกระทรวงวัฒนธรรม ด้วยความอิ่มเอม

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_1578220
     

แชร์หน้านี้

Loading...