ตำนานการสร้าง พระสุก พระเสริม พระใส…พระเจ้าองค์ตื้อ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย siwakorn559, 1 พฤษภาคม 2018.

  1. siwakorn559

    siwakorn559 เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +374
    TvWIidb.jpg
    ตำนานการสร้าง พระเสริม รพะสุก พระใส…พระเจ้าองค์ตื้อ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์…

    .

    จุดหมายหลักที่ตั้งใจข้ามลำน้ำโขงมา..นครเวียงจันทน์ ครานี้ สุดยอดปรารถนาที่จะได้มากราบไหว้ หลวงพ่อพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ที่วัดองค์ตื้อมหาวิหาร นครเวียงจันทน์แห่งนี้..อย่างที่เคยเล่าไว้หลายตอนมาแล้วว่า..ผมเองรู้สึกผุกพันและเคารพนับถือหลวงพ่อองค์ตื้อ ที่ในโลกนี้

    มีอยู่ 5 พระองค์ คือที่


    1- วัดพระเจ้าองค์ตื้อ ( พระเจ้าองค์ตื้อ ) เวียงจันทร์ ประเทศลาว

    2- วัดศรีชมภู ( พระเจ้าองค์ตื้อ ) อำเภอท่าบ่อ จ.หนองคาย

    3- วัดใต้ ( พระเจ้าองค์ตื้อใหญ่ ) จังหวัดอุบลราชธานี

    4- วัดบุปผาราม หรือวัดสวดดอก ( พระเจ้าเก้าตื้อ ) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

    5- วัดพระเจ้าองค์ตื้อ ( พระเจ้าองค์ตื้อ ) อำเภอเกษตร สมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ


    นอกนั้น จะมีกระจัดกระจายไปตามวัดต่างๆอีกมายมาย

    ( ทุกที่จะมีความศักดิ์สิทธิ์ต่างกัน ลองเข้าไปดูประวัติ ใน กูเกิลแต่ละวัดครับ )


    พวกเรามาถึง สิม (อุโบสถ) วัดองค์ตื้อมหาวิหาร ในบรรยากาศของการเตรียมงานบุญกฐิน และงานบุญพระธาตุหลวง

    วัด องค์ตื้อมหาวิหาร เป็นหนึ่งในจำนวนหลาย ๆวัดที่เก่าแก่ที่สุด ในนครหลวงเวียงจันทน์ และมีความหมายความสำคัญทางโบราณสถาน และประวัติศาสตร์ เป็นวัดที่ทั้งประชาชนลาวและต่างชาวต่างประเทศให้ความเคารพนับถือวามสำคัญ เป็นพิเศษ ดั่งจะได้เห็นจากคำพูดที่ว่า "ผู้ใดเข้ามาในเวียงจันทน์ ไม่ได้ไปไหว้หลวงพ่อองค์ตื้อ ถือว่าไม่ได้มาถึงเวียงจันทน์" นอกจากนี้วัดองค์ตื้อยังเป็นที่ ประกอบ พิธีที่สำคัญต่าง ๆทางราชการในสมัยก่อน เช่น พิธีถือน้ำ(ดื่มน้ำสัตยาบรรณ) ๆ อีกทั้งงานประเพณีบุญพระธาตุหลวงเสร็จสิ้นลง ยังต้องมาประกอบ พิธี ทำบุญอยู่วัดองตื้อ - วัดอินแปง อีกจึงจะถือว่างานประเพณีบุญพระธาตเสร็จสิ้นลงอย่างสมบูรณ์วัดองตื้อ ตั้งอยู่บนถนนพระไชยเชษฐา อยู่ห่างจากหอพระแก้วมาทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร

    .

    ในสมัยก่อนวัดองค์ตื้อมีอาณาเขตติด กับวัดอินแปง วัดมีไชย และวัดหายโศก แต่ในปัจจุบันนี้ การพัฒนาของบ้านเมืองมีการขยายตัว มีการตัดถนนหนทางเพื่อความสวยงาม และการ เป็นระเบียบเรียบร้อย ดังนั้นจึกทำให้วัดทั้ง 4 คือ วัดองค์ตื้อ วัดอินแปง วัดมีไชย วัดหายโศก ต้องแยกออกจากกันดังที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้

    ผมมากราบหลวงพ่อพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ด้วยความรู้สึกที่ปิติเป็นที่สุด ในยามที่ต้องประสบกับภัยพิบัติน้ำท่วม ต้องหนีน้ำมาไกลข้ามประเทศแบบนี้..ด้วยเคารพ และศรัทธา อย่างยิ่ง และเป็นบุญที่ได้มาไหว้พระพุทธรูปที่สำคัญในประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่นี้

    ในปัจจุบันนี้วัดองค์ตื้อ มี่พระอุโบสถใหญ่อยู่ 1 หลัง กว้าง 16 เมตร 34 เซนติเมตร ยาว 40 เมตร สูงประมาณ 25 เมตร มีพระเจ้าใหญ่ตื้อ เป็นพระประธาน หน้าตักกว้าง 3 เมตร 40 เซนติเมตร สูง 5 เมตร 80 เซนติเมตร สร้างโดย พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อปี พ.ศ.2109 พร้อมด้วย พระสุก พระใส พระเสริม


    พระเสริม พระสุก พระใส หล่อขึ้นจากทองสีสุก ( โลหะสำฤทธิ์ที่มีทองคำเป็นส่วนผสมหลัก ) เมื่อปี พ.ศ. 2109 ( อ้างจากการท่องเที่ยวของ สปป. ลาว ) โดยพระราชธิดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ล้านช้าง ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 3 พระองค์ ทรงพระนามว่า พระราชธิดาเสริม พระราชธิดาสุก และพระราชธิดาใส โปรดให้ช่างลาวล้านช้างหล่อพระพุทธรูปประจำพระองค์ เพื่อความเป็นสิริมงคลมีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ

    ในพิธีการหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นั้น พระภิกษุและฆราวาสช่วยกันทำการสูบเตาหลอมทองอยู่ตลอดถึง 7 วัน แต่ทองก็ยังไม่ละลาย พอถึงวันที่ 8 มีเพียงพระภิกษุสูงอายุรูปหนึ่งกับสามเณรรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ ก็ปรากฏมีชีปะขาวคนหนึ่งมาอาสาสูบเตาแทนพระและเณร แต่วันนั้นญาติโยมต่างเห็นบรรดาชีปะขาวสูบเตาอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อพระภิกษุและสามเณรฉันเพลเสร็จแล้วก็จะไปสูบเตาต่อ ปรากฏว่าได้มีผู้เททองลงเบ้าทั้ง 3 จนเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่เห็นชีปะขาวอยู่แม้แต่คนเดียว การหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ สำเร็จลงด้วยดีอย่างน่าอัศจรรย์ พระราชธิดาเสริม สุก และใส ต่างถวายนามของตนเป็นนามของพระพุทธรูป ได้แก่ พระเสริมเป็นพระพุทธรูปประจำพระราชธิดาองค์พี่ พระสุกเป็นพระพุทธรูปประจำพระราชธิดาองค์กลาง และพระใสเป็นพระพุทธรูปประจำพระราชธิดาองค์สุดท้อง


    - พระเสริม อยู่วัดประทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร ติดกับ siam paragon


    -พระสุกตอนนี้อยู่ใต้แม่น้ำโขง พระยานาค เอาไปดูแล สักการะกราบใหว้

    - พระใสอยู่วัดโพธิ์ชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

    .

    พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชพระมหากษัตริย์ลาว พระองค์มีศรัทธาอย่างแรงกล้าปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้า (พุทธภูมิ) จึงได้ตั้งความเพียรและการเสียสละอย่างสูงที่จะสร้างพระพุทธรูปทองหล่อให้ ใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น ท่านได้ดูแลพระแก้วมรกต อันศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันย้ายมาเมืองไทย ได้สร้าง พระธาตุหลวงเวียงจันทร์ และวัดวาอารามอีกมายมายวัด (พ.ศ.2019) ได้มีการเตรียมพร้อมทุกอย่างจนเป็นที่เรียบร้อยทุกประการ เมื่อถึงเวลาอันเป็นมหาฤกษ์มหาชัยตามพิธีของโหราจารย์แล้ว พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชก็ทรงมอบพระราชกรณียกิจทุกอย่างไว้กับพระมเหสี แล้ว พระองค์ทรงนุ่งขาวห่มขาวไปสมาทานศีล 8 อยู่ในวังพิธีที่วัดอินแปง แต่ก่อนถึงเวลามหาฤกษ์มหาชัยนั้น กษัตริย์ของพม่าได้ยกกองทัพมาถึงประตูเวียงแล้ว และได้ทำหนังสือยื่นคำขาดให้แม่ทัพทั้ง 4 ถือ เข้ามายื่นให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชอยู่ในวังพิธีหล่อนั้น ในคำขาดนั้นมีอยู่ 2 ข้อ

    .

    1. ให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชยอมเป็นเมืองขึ้นของพม่า

    2. ถ้าไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นให้ออกมารบกัน และให้ตอบคำถามนี้ไปกับผู้ที่ถือหนังสือมามิให้ชักช้า

    .

    เดิมวัดองค์ตื้อมีชื่อว่า "วัดสีภูมิ หรือ ไชยภูมิ ต่อมา ถึงปี พ.ศ.2109 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้มาสร้างพระเจ้าองค์ตื้อขึ้นแล้วนำมา ประดิษฐานไว้ในวัดสีภูมิแห่งนี้ จึงได้ตั้งชื่อวัดใหม่ว่า "วัดองค์ตื้อ" ตามชื่อของพระพุทธรูปใหญ่ (ตื้อ มาตราโบราณของชาวลาว)

    .

    หลังจากยื่นหนังสือให้แล้ว แม่ทัพของพม่าทั้ง 4 ก็เดินดูช่างที่กำลังสูบเตาหลอมทองที่กำลังร้อนแดง ๆ อยู่นั้นพวกเขาได้แสดงอิทธิฤทธิ์โดย เอามือไปจับเบ้าหลอมพระที่กำลังแดง ๆ โดยไม่มีอาการร้อนเลย พระเจ้าไชยเชษฐาเห็นดังนั้นก็ตกพระทัย จึงได้เข้าไปในพระราชวังด้วยความรีบเร่ง พอพระมเหสีเห็นความผิดปรกติของพระองค์ก็ทรงถามว่า “ยังไม่ถึงเวลาทำพิธีเททองหล่อพระ ทำไมพระองค์จึงรีบกลับมา” พระองค์จึงเล่าเหตุการณ์ทุกอย่างให้พระมเหสีฟัง พระมเหสีจึงกล่าวให้สติว่า “พระองค์ ไม่ต้องเสียพระทัย ที่พระองค์สร้างพระใหญ่คราวนี้ เพื่อปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้าในวันข้างหน้า ถ้าคำปรารถนานี้ไม่สำเร็จและจะพ่ายแพ้แก่พม่า ก็ขอให้มือของพระองค์กุด (ขาด) ไปกับเบ้าหล่อพระนั้นเสีย แต่ถ้าความปรารถนาของพระองค์จะสำเร็จและได้รับชัยชนะจากพม่านั้น ขอให้เบ้าทองที่จะหล่อพระมีอาการเย็นและไม่หนัก ให้มีอาการเหมือนจับหมวกใส่หัว”

    .

    เมื่อพระองค์ได้สติจากพระมเหสีแล้ว พระองค์เข้าสู่ห้องไหว้พระ กล่าวสักการะเทวดาตั้งสัตยาธิษฐานอย่างหนักแน่นแล้วกลับสู่วังพิธีหล่อพระ พอดีได้เวลาพระองค์จึงให้คำตอบแก่แม่ทัพพม่าทั้ง 4 คนว่า “คำขาดของ กษัตริย์พม่าทั้งสองข้อนั้นเรายินดีรับหมดทุกอย่าง แต่ว่าเวลานี้เรากำลังทำบุญ ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าขอเชิญพวกท่านมาทำบุญร่วมกันกอ่นแล้วจึงค่อยปฏิบัติ ตามคำขาดนั้นภายหลัง” ว่าแล้วพระองค์ก็เสด็จสู่หอที่เททองใส่เบ้าหล่อ และพระองค์จับพระขรรค์ด้วยมือเบื้องซ้าย เบื้องขวารับเอาเบ้าต้มทองที่กำลังแดงและร้อนที่ช่างยื่นให้พระองค์ โดยที่พระองค์ไม่มีความรู้สึกร้อนเลยจนทองหมด ส่วนที่เหลือก็หล่อพระพุทธรูปได้อีก 3 องค์ คือพระสุก พระใส และพระเสริม

    .

    เมื่อเสร็จพิธีแล้วแม่ทัพพม่าทั้ง 4 ก็เดินทางกลับไปพร้อมหนังสือคำตอบของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อกลับไปถึงก็เล่าเหตุการณ์ทุกอย่างให้กษัตริย์พม่าฟังตามความเป็นจริง แล้วก็พากันผ่อนพักหลับนอนตามเวลาอันสมควร และในคืนนั้นเองพระองค์ได้แอบไปหากษัตริย์พม่า แต่ก่อนที่จะไปพระองค์ได้กล่าวสักการะเทวดาและตั้งสัจจะอธิฐานว่า “๑.ถ้า ข้าพเจ้าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า ๒.ถ้าข้าพเจ้าจะได้รับชัยชนะกองทัพพม่าในครั้งนี้ ขอให้เทพเจ้าเทพาอารักษ์จงช่วยเป็นสักขีพยานบันดาล ให้กองทัพพม่าพร้อมทั้งช้าง ม้า จงพากันหลับไหล และในเวลาที่ข้าพเจ้าไปหานั้น ยามอย่าได้รู้สึกตัวเลย”

    พอกษัตริย์พม่าตื่นขึ้นมา ทั้งกษัตริย์และแม่ทัพทั้ง 4 ต่างก็เห็นปูนป้ายคอของตัวเอง ซึ่งคนต่างปฏิเสธไม่มีใครทำ จึงสัณนิฐานได้ว่าต้องเป็น พระเจ้าไชยเชษฐา

    แน่นอน จึงได้ปรึกษากับแม่ทัพทั้ง 4 ว่า ถ้าต้องทำศึกกับพระองค์ต้องปราชัยแน่นอน จึงเปลี่ยนแนวคิดจากศัตรูมาขอเป็นมิตร

    .

    ในขณะที่กษัตริย์พม่ากับแม่ทัพทั้ง 4 กำลังปรึกษากันอยู่นั้นก็มีทหารคนใช้ของพระองค์เข้ามาบอกว่า “เมื่อคืนนี้พระองค์พระองค์มาหาพวกท่าน แต่เห็นพวก

    ท่านกำลังหลับ ถ้าจะปลุกก็จะเป็นการรบกวนจึงกลับไป บัดนี้ตื่นขึ้นมาแล้ว ขอถือเป็นเกียรติทูลเชิญพระองค์ท่านไปสู่พระราชวังของเราเพื่อปรึกษาเวียก บ้านการเมือง” เมื่อกษัตริย์พม่าได้ยินดังนั้นก็รู้สึกดีใจ จึงได้เตรียมเครื่องบรรณาการจำนวนหนึ่งพร้อมแม่ทัพทั้ง 4 เข้าพบพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อมาถึงก็ได้รับการต้อนรับ

    อย่างสมเกียรติทั้งสองกษัตริย์ก็ได้ให้คำมั่นสัญญา จะมีความซื่อสัตย์ให้แก่กันและกัน ถ้าฝ่ายหนึ่งผ่ายใดขาดเขินสิ่งใดให้ร้องขอต่อกันและช่วยกันจนเต็มความ

    สามารถ การเจรจาสิ้นสุดลงด้วยการดื่มน้ำสาบาน(น้ำสัตยาบรรณ) และกษัตริย์พม่าก็ได้ขอเรียนวิชา “ก่านปูน” วิชาป้ายปูนที่ลำคอ พระองค์จึงได้เล่าความจริง

    ให้ฟังว่า “ก่านปูน” ไม่ใช่วิชาอาคมอะไร ตั้งแต่ได้รับคำถ้าจากกษัตริย์พม่าแล้ว ตนได้รับคำเตือนสติจากพระมเหสี จึงแค่เอาปูนไปป้ายที่คอของกษัตริย์พม่า

    และแม่ทัพทั้ง 4 เท่านั้น ด้วยสำนึกถึงบุญคุณของพระมเหสี กษัตริย็พม่าจึงขออนุญาตแกะสลัก(ควัด) รูปเหมือนพระอัครมเหสีเท่าองค์จริงด้วยหินไว้เป็นอนุสรณ์ จากนั้นพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงให้ช่างแกะสลักพระอัคระมเหสีของพม่าขึ้นอีกองค์หนึ่งไว้เป็นคู่กัน เพราะเป็นสัญญาสำคัญแห่งสัมพันธไมตรี

    ในครั้งประวัติศาสตร์ พวกช่างก็แกะสลักรูปพระนางทั้งสองด้วยแผ่นหินและดิษฐานไว้ที่วัดอินแปงจนถึงทุกวันนี้

    นับเป็นบุญเหลือเกิน..ที่ได้มาร่วมทำบุญ ที่วัดแห่งนี้

    ดินแดนถิ่นอีสานและลาวอยู่ในการปกครองในสมัยอาณาจักรล้านช้าง เป็นดินที่ผู้คนมีจิตใจงดงาม มีศีล มีคุณธรรมประจำใจ เป็นดินแดนที่พระพุทธองค์กล่าว จะดำรงพุทธศาสนาได้ครบ 5,000 ปี พระองค์ได้มาโปรดผู้คนแถวนี้ ครั้งยังมีพระชนมายุอยู่ บางครั้ง บางครา และได้ประทับรอยพระพุทธบาทใว้ที่เมืองไทยหลายแห่ง

    .

    ขอบุญกุศลที่ได้ทำวันนี้ อุทิศแก่บรรพบุรุษ และเจ้ากรรมนายเวร ทั้งหลายเทอญ

    ขอบคุณข้อมูล จากท่องเที่ยวจากลาว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • aAiCcjF.jpg
      aAiCcjF.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62.8 KB
      เปิดดู:
      129
    • TP83jLz.jpg
      TP83jLz.jpg
      ขนาดไฟล์:
      57.9 KB
      เปิดดู:
      156
    • dQyM091.jpg
      dQyM091.jpg
      ขนาดไฟล์:
      25.9 KB
      เปิดดู:
      104
    • hUgxipM.jpg
      hUgxipM.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.2 KB
      เปิดดู:
      118
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...