ตำนานบทสวดมนต์ ตอน มหากรุณาธารณีสูตร บทสวดที่มีคุณวิเศษ๑๕ประการ

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 20 กรกฎาคม 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    ตำนานบทสวดมนต์ ตอน มหากรุณาธารณีสูตร บทสวดที่มีคุณวิเศษ๑๕ประการ
    20228490_10213764779063385_7950270542460719743_n.jpg
    มหากรุณาธารณี (สันสกฤต: महा करुणा धारनी, จีน: 大悲咒: ธารณีว่าด้วยความกรุณาอันยิ่งใหญ่) หรือ นิลกัณฐธารณี (สันสกฤต: नीलकण्ठ धारनी : ธารณีว่าด้วยพระผู้มีศอสีนิล) เป็นชื่อบทสวด (ธารณี) สำคัญในพระพุทธศาสนามหายาน เป็นธารณีประจำองค์พระอวโลกิเตศวร ปางสหัสภุชสหัสเนตร (พันหัตถ์พันเนตร) ในภาษาจีนเรียกธารณีนี้ว่า ไต่ปุ่ยจิ่ว (จีน: 大悲咒; พินอิน: Dàbēi zhòu; "ต้าเปยโจ้ว" ตามสำเนียงจีนกลาง) มีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานภาษาสันสกฤตของอินเดีย พระภควธรรมเถระชาวอินเดียนำเข้าไปแปลในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ถัง และมีฉบับแปลเป็นภาษาทิเบตด้วย

    มหากรุณาธารณีเป็นมนตร์อันเกิดจากความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ของพระอวโลกิเตศวร ที่มีต่อสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ในโลก ในคัมภีร์กล่าวว่าธารณีนี้มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น มหาไวปุลยสัมปุรณธารณี, อกิญจนมหากรุณาธารณี, อายุวัฒนธารณี, วิกรมอุตตรภูมิธารณี, มโนมัยอิศวรธารณี เป็นต้น อักษรหนึ่งตัวและประโยคหนึ่งในบทธารณีมนตร์นี้ ล้วนขยายเป็นอรรถธรรม อันจะนำเข้าถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณในประเทศไทยธารณีสูตรฉบับนี้ได้แปลโดยหลวงจีนคณาจีนพรต (เย็นบุญ) เจ้าอาวาสวัดทิพย์วารีวิหาร แขวงบ้านหม้อ เขตพระนคร กรุงเทพ ในคัมภีร์สันสกฤตของมหายานคือคัมภีร์ "สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวไวปุลยสัมปุรณอกิญจนมหากรุณาจิตธารณีสูตรมหากรุณามนตระ" นำเข้าไปแปลในจีนโดยพระภควธรรม ชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึงบทสวดธารณีแห่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร คือ มหากรุณาหฤทัยธารณี อันจะยังอานิสงส์ความศักดิ์สิทธิ์ให้บังเกิดขึ้นแก่ผู้สวดนานัปการ
    เนื้อหากล่าวถึงเมื่อครั้งที่พระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โปตาลกะบรรพต ในกาลนั้น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้ขอพุทธานุญาตแสดงธารณีมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ไว้ เพื่อเป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์ ซึ่งธารณีนี้ย้อนไปในครั้งกาลสมัยของพระพุทธเจ้านามว่าพระสหัสประภาศานติสถิตยตถาคต พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสธารณีนี้แก่พระอวโลกิเตศวร และตรัสว่า "สาธุ บุรุษ เมื่อเธอได้หฤทัยธารณีนี้ จงสร้างประโยชน์สุขสำราญแก่สัตว์ทั้งหลายในกษายกัลป์แห่งอนาคตกาลโดยทั่วถึง" ตามเนื้อความของพระสูตรได้กล่าวว่า ในขณะนั้น เมื่อพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้สดับมนตร์นี้แล้ว ก็ได้บรรลุถึงภูมิที่ 8 แห่งพระโพธิสัตว์เจ้า จึงได้ตั้งปณิธานว่า "ในอนาคตกาล หากข้าพเจ้าสามารถยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ได้ ขอให้ข้าพเจ้ามีพันเนตรพันหัตถ์ในบัดดล"

    เมื่อท่านตั้งปณิธานดังนี้แล้ว พลันก็บังเกิดมีพันหัสถ์พันเนตรขึ้นทันที และเพลานั้นพื้นมหาพสุธาดลทั่วทศทิศก็ไหวสะเทือนเลื่อนลั่น พระพุทธเจ้าทั้งปวงในทศทิศก็เปล่งแสงโอภาสเรืองรองมาต้องวรกายแห่งพระโพธิสัตว์ และฉายรัศมีไปยังโลกธาตุต่าง ๆ อย่างปราศจากขอบเขต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า เนื่องจากปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ หากเหล่ามนุษย์และทวยเทพตั้งจิตสวดธารณีมนตร์นี้คืนละ 7 จบ ก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัลป์ได้ หากเหล่ามนุษย์ทวยเทพสวดคาถามหากรุณาธารณีนี้ เมื่อใกล้ชีวิตดับ พระพุทธเจ้าทั้ง 10 ทิศจะยื่นพระกรมารับให้ไปอุบัติในพุทธเกษตรทุกแห่งในพระสูตรกล่าวว่า ผู้ที่ตั้งใจสวดมหากรุณามนตร์นี้ด้วยจิตศรัทธาตั้งมั่น จะประกอบด้วยอานิสงส์เป็นกุศล 15 ประการคือ

    ที่ที่เกิดจะพบแต่กุศล 5 ประการ
    ได้เกิดในประเทศกุศล
    พบแต่ยามดี
    พบแต่มิตรดี
    ร่างกายประกอบด้วยอินทรีย์พร้อมมูล
    จิตเป็นธรรมโดยสมบูรณ์
    ไม่ผิดศีล
    ญาติบริวารมีความกตัญญู ปรองดองกัน มีสามัคคีกัน
    ทรัพย์สมบัติ โภคทรัพย์ มีความสมบูรณ์ครบถ้วน
    มีผู้เคารพและให้ความช่วยเหลือเสมอ
    ทรัพย์สินที่มีอยู่ไม่มีใครมาปล้นชิง
    คิดปรารถนาสิ่งใดจะได้สมความปรารถนา
    ทวยเทพ นาค ให้ความปกปักรักษาอยู่ทุกเมื่อ
    เกิดในที่ที่ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า
    สามารถเข้าถึงอรรถแห่งพระธรรมที่ได้สดับ
    นอกจากนี้ยังมีอานิสงส์ทำให้ไม่ต้องทุมรณะด้วยเหตุ 15 ประการ คือ
    ไม่ต้องมรณะด้วยความอดอยากข้นแค้น
    ไม่ต้องมรณะด้วยการใส่ขื่อคา กักขัง และเฆี่ยนโบย
    ไม่ต้องมรณะด้วยศัตรูจองเวร
    ไม่ต้องมรณะด้วยการศึกสงคราม
    ไม่ต้องมรณะด้วยสัตว์ขบกิน
    ไม่ต้องมรณะด้วยงูพิษ แมลงป่อง
    ไม่ต้องมรณะด้วยการจมน้ำ ไฟไหม้
    ไม่ต้องมรณะด้วยยาพิษ
    ไม่ต้องมรณะด้วยแมลงร้ายขบกัด
    ไม่มรณะด้วยจิตใจว้าวุ่น เป็นบ้า
    ไม่มรณะด้วยตกจากภูเขา ต้นไม้ และหน้าผาสูง
    ไม่ต้องมรณะด้วยการสาปแช่งภูตผีปีศาจ
    ไม่ต้องมรณะเพราะเทพร้ายและผีสาง
    ไม่ต้องมรณะด้วยโรคร้ายเรื้อรัง
    ไม่ต้องมรณะด้วยความไม่ประมาณตนจนเกินฐานะ
    บทสวดนี้เป็นที่นับถือและสวดบูชาพระอวโลกิเตศวร (กวนอิม) กันอยู่ทั่วไปในหมู่พุทธศาสนิกชน ตั้งแต่อินเดียเหนือ เนปาล ทิเบต ไปจนถึงจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี มหากรุณาธารณีนี้เป็นบทสวดของพระอวโลกิเตศวรปางพันหัตถ์พันเนตร ในคัมภีร์ระบุว่า ผู้ที่เลื่อมใสถวายสักการะต่อพระอวโลกิเตศวรอยู่เป็นเนืองนิตย์ ตั้งใจสวดสรรเสริญพระนาม ย่อมจะถึงพร้อมในกุศลทั้งปวง สามารถยังวิบากกรรมอันมิมีประมาณให้สิ้นสูญ ครั้นเมื่อวายชนม์จะไปอุบัติ ณ สุขาวดีโลกธาตุแห่งองค์พระอมิตภพุทธเจ้า ตามเนื้อความของพระสูตรได้กล่าวว่า ในขณะนั้น เมื่อพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้สดับมนตร์นี้แล้ว ก็ได้บรรลุถึงภูมิที่ ๘ แห่งพระโพธิสัตว์เจ้า จึงได้ตั้งปณิธานว่า “ในอนาคตกาล หากข้าพเจ้าสามารถยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ได้ ขอให้ข้าพเจ้ามีพันเนตรพันหัตถ์ในบัดดล” เมื่อท่านตั้งปณิธานดังนี้แล้ว พลันก็บังเกิดมีพันหัสถ์พันเนตรขึ้นทันที และเพลานั้นพื้นมหาพสุธาดลทั่วทศทิศก็ไหวสะเทือนเลื่อนลั่น พระพุทธเจ้าทั้งปวงในทศทิศก็เปล่งแสงโอภาสเรืองรองมาต้องวรกายแห่งพระโพธิสัตว์ และฉายรัศมีไปยังโลกธาตุต่าง ๆ อย่างปราศจากขอบเขต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า เนื่องจากปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ หากเหล่ามนุษย์และทวยเทพ ตั้งจิตสวดมหากรุณาธารณี มนตร์นี้คืนละ ๗ จบ ก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัลป์ได้ หากเหล่ามนุษย์ทวยเทพสวดคาถามหากรุณาธารณีนี้ เมื่อใกล้ชีวิตดับ พระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ ทิศจะยื่นพระกรมารับให้ไปอุบัติในพุทธเกษตรทุกแห่ง
    จากเรื่องราวในพระสูตรนี้ทำให้เกิดการสร้างรูปพระโพธิสัตว์พันหัสถ์พันเนตร อันแสดงถึงการทอดทัศนาเล็งเห็นทั่วโลกธาตุและพันหัสต์แสดงถึงอำนาจในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ บทสวดในพระสูตรนี้เป็นภาษาสันสกฤตผสมภาษาท้องถิ่นโบราณในอินเดีย ที่หลงเหลือมาในปัจจุบันมีหลายฉบับที่ไม่ตรงกัน ทั้งในฉบับทิเบต ฉบับจีนซึ่งมีทั้งของพระภควธรรม พระอโมฆวัชระ ฯลฯ ต่อมาได้มีการค้นคว้าและปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์โดย Dr.Lokesh Chandra และตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ ค.ศ.1988 เป็นบทสวดสำคัญประจำองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ที่พุทธศาสนิกชนมหายานสวดกันอยู่โดยทั่วไป
    บทสวดนี้เป็นที่นับถือและสวดบูชาพระอวโลกิเตศวร กันอยู่ทั่วไปในหมู่พุทธศาสนิกชน ตั้งแต่อินเดียเหนือ เนปาล ทิเบต ไปจนถึงจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี มหากรุณาธารณีนี้เป็นบทสวดของพระอวโลกิเตศวรปางพันหัตถ์พันเนตร ในคัมภีร์ระบุว่า ผู้ที่เลื่อมใสถวายสักการะต่อพระอวโลกิเตศวรอยู่เป็นเนืองนิตย์ ตั้งใจสวดสรรเสริญพระนาม ย่อมจะถึงพร้อมในกุศลทั้งปวง สามารถยังวิบากกรรมอันมิมีประมาณให้สิ้นสูญ ครั้นเมื่อวายชนม์จะไปอุบัติ ณ สุขาวดีโลกธาตุแห่งองค์พระอมิตาภพุทธเจ้า
    มหากรุณาธารณีจากต้นฉบับทิเบต(บทบูชาพระโพธิสัตว์กวนอิม)
    ปริวรรตเป็นอักษรไทยโดยหลวงจีนคณาณัติจีนพรต (เย็นบุญ) วัดทิพยวารีวิหาร
    นะโมรัตนะตรายายยะ นะโมอาระยะ อวโลกิเตศะวะรายะ โพธิสัตตวายะ มหาสัตตวายะ มหากรุณิกายะ โอม สะวะละติ ศุททะนะตัสยะ นมัสกฤตวานิมางอาระยะ อวโลกิเตศะวะละรันตะภา นะโมนิลากันถะ ศรีมหาปะฏะศะมิ สระวาทฺวะตะสุภัม อสิยูม สะรวะสัตตวะนะโมปวสัตตวะนโมภควะ มะภะเตตุ ตัทยะถา โอมอวโลกา โลกาเต กาละติ อีศีลี มหาโพธิสัตตวะ สาโพสาโพ มะรามะรา มะศิมะศิฤธะยุ คุรุคุรุฆามัม ธูรูธูรูภาษียะติ มหาภาษียะติ ธาระธาระ ถิริณี ศะวะรายะ ชะละชะละ มามะภามะละ มุธิริ เอหิเอหิ ศินะศินะ อาละลินภะระศรี ภาษาภาษิน การะศะยะ หูลุหูลุมะละ หุลุหุลุศรี สะระสะระ สิรีสิรี สุรุสุรุ พุทธายะพุทธายะ โพธายะโพธายะ ไมตรีเย นิละกันสะตะ ตริสะระณะ ภะยะมะนะ สวาหา สีตายะ สวาหา มหาสีตายะ สวาหา สีตายะเย ศะวะรายะ สวาหา นีลากันถิ สวาหา มะละนะละ สวาหา ศรีสิงหะมุขายะ สวาหา สะระวะมหาอัสตายะ สวาหา จักระอัสตายะ สวาหา ปัทมะเกสายะ สวาหา นิลากันเตปันตะลายะ สวาหา โมโผลิศังกะรายะ สวาหา นโมรัตนตรายายะ นะโมอาระยะ อวโลกิเต สะวะรายะ สวาหา โอมสิทธยันตุ มันตรา ปะทายะ สวาหา

    มหากรุณาจิตธารณีสูตรคาถา(แปลไทย)


    ๐ ขอนอบน้อมพระรัตนตรัย ปวงข้าไซร้ขอเป็นที่พึ่ง

    ซึ่งพร้อมมี พระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร

    มหากรุณาจิตธารณี ประทานความสมบูรณ์สุข

    ไกลอวิชชา พลังบุญผู้มีธรรม พาโลกอันสว่าง

    ด้วยแสงธรรม ค้ำโลกา

    ๐ ขอนอบน้อม องค์พระผู้เลิศปัญญา

    ทรงนำพา ให้รู้เท่าทันบุญบาป กิเลสทุกข์ทั้งปวง

    ความโลภ ความโง่เขลา หลงโกรธ

    จงมลาย จางหาย เป็นความบริสุทธิ์

    ดั่งเช่นดอกบัว ของพระโพธิสัตว์

    ทรงนำพา สัตว์โลกหาย โง่งมงาย

    ซึ่งล้วนเป็นพระมหากรุณา ธรรมอันใด

    ธรรมทรงดำรง ขอพระองค์ ทรงบรรลุธรรม

    นำพระนิพพาน สู่แดน พระพุทธภูมิฯ

     

แชร์หน้านี้

Loading...