ตำนานบทสวดมนต์ ตอน อนันตลักขณสูตรพระสูตรแห่งการพ้นอาสวะทั้งหลาย

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 2 สิงหาคม 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    ตำนานบทสวดมนต์ ตอน อนันตลักขณสูตรพระสูตรแห่งการพ้นอาสวะทั้งหลาย
    20525929_10213904562077873_4180093225278118804_n.jpg
    อนัตตลักขณสูตร (บาลี: Anattalakkhaṇa Sutta) คือพระสูตรที่แสดงลักษณะ คือ เครื่องกำหนดหมายว่าเป็นอนัตตา เป็นพระสูตรที่มีความสำคัญที่สุดพระสูตรหนึ่ง เนื่องจากหลังจากที่พระโคตมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระสูตรนี้แล้ว ได้บังเกิดพระอรหันต์ในพระบวรพุทธศาสนา 5 องค์ รวมพระพุทธองค์เป็น 6 องค์ ซึ่งพระสูตรนี้ มีใจความเกี่ยวกับ ความไม่ใช่ตัวตนของ รูป คือ ร่างกาย เวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ สังขาร คือ ความคิดหรือเจตนา วิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางตา หู เป็นต้น หรือเรียกอีกประการหนึ่งว่า อายตนะทั้ง 6 อันได้แก่สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจอนัตตลักขณสูตร เป็นพระสูตรที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี หรือในเขตเมืองสารนาถ ประเทศอินเดียในปัจจุบันเมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษา

    ในระหว่างที่ทรงแสดงปกิณณกเทศนา เพื่ออบรมพระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิอยู่นั้น พระอริยเจ้าทั้งหลายมิได้บิณฑบาตยังชีพ ต่างเร่งกระทำความเพียร เช่นเดียวกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มิได้ทรงบิณฑบาตรเช่นกัน เพื่อทรงสั่งสอนอบรมพระอริยเจ้าจนกระทั่งแต่ละองค์สำเร็จมรรคผลขั้นต้นในที่สุด

    ครั้นเมื่อถึงวันแรม 5 ค่ำ เดือน 8 หลังจากสดับพระธรรมเทศนาอนัตตลักขณสูตรพระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้บรรลุพระนิพพานเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง 5 รูป นับเป็นพระอรหันต์กลุ่มแรกในพระบวรพุทธศาสนา ดังปรากฏในเนื้อความของพระสูตรดังที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ หรือ พระอาจารย์ผู้ทำสังคายนาร้อยกรองตั้งเป็นพระบาลีไว้ ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายพระสูตรไว้ ดังนี้

    " อิทมโวจ ภควา. อตฺตมนา ปญฺจวคฺคิยา ภิกฺขู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุ. อิมสฺมึ จ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ภญฺญมาเน ปญฺจวคฺคิยานํ ภิกฺขูนํ อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสุ. เตน โข ปน สมเยน ฉ โลเก อรหนฺโต โหนฺติ."
    ความว่า
    "พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก 6 องค์"
    พระสูตรนี้มีใจความโดยย่อดังที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ได้ทรงมีพระนิพนธ์ไว้ดังต่อไปนี้

    ตอนที่ 1 พระบรมศาสดาได้ทรงแสดง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอนัตตา มิใช่อัตตาตัวตน ถ้าทั้งห้านี้ พึงเป็นอัตตาตัวตน ทั้งห้านี้ก็ถึงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลก็จะพึงได้ในส่วนทั้งห้านี้ว่า ขอให้เป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุว่าทั้งห้านี้มิใช่อัตตาตัวตน ฉะนั้น ทั้งห้านี้จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลก็ย่อมไม่ได้ส่วนทั้งห้านี้ว่า ขอให้เป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

    ตอนที่ 2 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอบความรู้ความเห็นของท่านทั้งห้านั้น ตรัสถามว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งห้านี้เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านทั้งห้า ทูลตอบว่า ไม่เที่ยง ตรัสถามอีกว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ท่านทั้งห้ากราบทูลว่าเป็นทุกข์ ก็ตรัสถามต่อไปว่า สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือจะเห็นสิ่งนั้น

    ตอนที่ 3 พระพุทธเจ้าได้ตรัสรุปลงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งห้านี้ที่เป็นส่วนอดีตก็ดี เป็นส่วนอนาคตก็ดี เป็นส่วนปัจจุบันก็ดี เป็นส่วนภายในก็ดี เป็นส่วนภายนอกก็ดี เป็นส่วนหยาบก็ดี เป็นส่วนละเอียดก็ดี เป็นส่วนเลวก็ดี เป็นส่วนประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี ทั้งหมดก็สักแต่ว่าเป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ ควรเป็นด้วยปัญญาชอบตามที่เป็นแล้วว่า นี่ไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นี่ นี่ไม่ใช่ตัวตนของเรา

    ตอนที่ 4 พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงผลทีเกิดแก่ผู้ฟังและเกิดความรู้เห็นชอบดั่งกล่าวมานั้นต่อไปว่า อริยสาวก คือ ผู้ฟังผู้ประเสริฐซึ่งได้สดับแล้วอย่างนี้ ย่อมเกิดนิพพิทา คือ ความหน่ายในรูป หน่ายในเวทนา หน่ายในสัญญา หน่ายในสังขาร หน่ายในวิญญาณ เมื่อหน่ายก็ย่อมสิ้นราคะ คือ สิ้นความติด ความยินดี ความกำหนัด เมื้อสิ้นราคะ ก็ย่อมวิมุตติ คือ หลุดพ้น เมื่อวิมุตติ ก็ย่อมมีญาณ คือความรู้ว่าวิมุตติ หลุดพ้นแล้ว และย่อมรู้ว่า ชาติ คือ ความเกิดสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นที่จะพึงทำเพื่อความเป็นเช่นนี้อีกต่อไปจุดมุ่งหมายของพระสูตรนี้ก็เพื่อชี้ให้เห็นถึงความเป็นอนัตตาของสรรพสิ่ง ให้เล็งเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรือขันธ์ 5 นั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรไปเป็นธรรมดา ไม่ควรที่จะเห็นโดยสำคัญด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า นั่นเป็นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
    ก่อนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุธเจ้าจะทรงตรัสรู้ทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น ชาวโลกมีทิฏฐิสุดโต่งอยู่ 2 ประการ กล่าวคือ ฝ่ายสัสสตทิฏฐิ ที่เห็นว่าในปัจจุบันชาตินี้ก็มีอัตตา คือ ตัวตน เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วอัตตาคือตัวตนก็ยังไม่สิ้น ยังจะมีสืบภพชาติต่อไป มีชาติหน้าเรื่อยไปไม่มีขาดสูญ และฝ่ายอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่า มีอัตตาตัวตนอยู่แต่ในปัจจุบันชาตินี้เท่านั้น เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วอัตตาตัวตนก็สิ้นไป ไม่มีอะไรเหลืออยู่ที่จะให้ไปเกิด ดั่งที่เห็นว่า ตายสูญแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศว่า ความเห็นทั้ง 2 ฝ่ายล้วนเป็น มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด และทรงชี้ทางที่เห็นถูกไว้ว่า ตราบใดที่ยังไม่สิ้นความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 แล้ว อาทิ ยังยึดมันว่า รูปเป็นตัวตน หรืออัตตา เวทนาเป็นอัตตา สัญญาเป็นอัตตา สังขารเป็นอัตตา และวิญญาณเป็นอัตตา ก็ยังจะมีการเกิดดับไม่รู้จักจบสิ้นในสังสารวัฏ การยึดมั่นในขันธ์ 5 นี้ เรียกว่า "ปัญจุปาทานขันธ์"
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ทรงแสดงทัศนะไว้ว่า "ในสมัยพุทธกาลหรือสมัยไหน ๆ ก็คงเป็นเช่นนี้ ในปัจจุบันก็เป็นเช่นนี้ และพระปัญจวัคคีย์นั้นก็ย่อมมีความยึดถืออยู่เช่นนี้อย่างมั่นคง เพราะฉะนั้น เมื่อฟังธรรมจักร ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะจึงได้ดวงตาเห็นธรรมเพียงรูปเดียว เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมอบรมอีก จึงได้ดวงตาเห็นธรรมจนครบทั้ง 5 รูป แต่ก็ได้เพียงดวงตาเห็นธรรม เท่ากับว่าเห็นทุกขสัจ ความจริงคือทุกข์ขึ้นเท่านั้น พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงแสดงพระสูตรที่ 2 ชี้ลักษณะของอาการทั้ง 5 เหล่านี้ว่าเป็น อนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตนโดยชัดเจน"
    อนัตตลักขณสูตร เป็นพระสูตรที่ยังให้เกิดพระอรหันต์ในคราวเดียวกันถึง 5 องค์ อีกทั้งยังเป็นพระอรหันต์กลุ่มแรก นับเป็นการลงหลักปักฐานพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งสำคัญ เชื่อถือกันว่า พระสูตรนี้เป็นหนึ่งในพระสูตรสำคัญรวบรวมเอาหัวใจของพระบวรพุทธศาสนาไว้ อย่างครอบคลุม กว้างขวาง จึงขนานนามกันว่าเป็น "ราชาธรรม" เช่นเดียวกับ ธัมมจักกัปปวัตนสูตรและอาทิตตปริยายสูตร ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ และยังให้บังเกิดการประกาศพระศาสนาครั้งใหญ่ไปทั่วสากลจักรวาล และบังเกิดพระอรหันต์เป็นจำนวนมาก โดยหลวงปู่จันทา ถาวโร แห่งวัดป่าเขาน้อย จังหวัดพิจิตร พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ที่กล่าวว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อนัตตลักขณสูตร และอาทิตตปริยายสูตร ทั้ง 3 สูตรนี้เรียกว่า ราชาธรรม เป็นธรรมอันยิ่งใหญ่ของศาสนาพุทธ ธรรมทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์มารวมอยู่ที่นี่ทั้งหมด ผ้ใดเจริญบทสวดนี้จะทำให้ละกิเลสดวงตาเห็นธรรมไได้ไม่ยาก
    บทขัดอะนัตตะลักขะณะสูตร

    ยันตัง สัตเตหิ ทุกเขนะ เญยยัง อะนัตตะลักขะณัง
    อัตตะวาทาตตะสัญญานัง สัมมะเทวะ วิโมจะนัง
    สัมพุทโธ ตัง ปะกาเสสิ ทิฏฐะสัจจานะ โยคินัง
    อุตตะริง ปะฏิเวธายะ ภาเวตุง ญาณะมุตตะมัง
    ยันเตสัง ทิฏฐะธัมมานัง ญาเณนุปะปะริกขะตัง
    สัพพาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสุ อะเสสะโต
    ตะถา ญาณานุสาเรนะ สาสะนัง กาตุมิจฉะตัง
    สาธูนัง อัตถะสิทธัตถัง ตัง สุตตันตัง ภะณามะ เส

    บทสวด อนัตตลักขณสูตร

    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทะเยฯ
    ตัต๎ระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ

    รูปัง ภิกขะเว อะนัตตา ฯ รูปัญจะหิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง รูปัง อาพาธายะ
    สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ รูเป เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติฯ
    ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว รูปัง อะนัตตา ตัส๎มา รูปัง อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ
    รูเป เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติฯ

    เวทะนา อะนัตตา ฯ เวทะนา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง เวทะนา อาพาธายะ
    สังวัตเตยยะ, ลัพเภถะ จะ เวทะนายะ เอวัง เม เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติ ฯ
    ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว เวทะนา อะนัตตา ตัส๎มา เวทะนา อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ
    เวทะนายะ เอวัง เม เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติฯ

    สัญญา อะนัตตาฯ สัญญา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง สัญญา อาพาธายะ
    สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ สัญญายะ เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ ฯ
    ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว สัญญา อะนัตตา ตัส๎มา สัญญา อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ
    ลัพภะติ สัญญายะ เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ ฯ

    สังขารา อะนัตตาฯ สังขารา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสังสุ นะยิทัง สังขารา อาพาธายะ
    สังวัตเตยยุง ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุ เอวัง เม สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติฯ
    ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว สังขารา อะนัตตา ตัส๎มา สังขารา อาพาธายะ สังวัตตันติ นะ จะ ลัพภะติ
    สังขาเรสุ เอวัง เม สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติ ฯ

    วิญญาณัง อะนัตตาฯ วิญญาณัญจะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง วิญญาณัง
    อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ วิญญาเณ เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง เม วิญญาณัง
    มา อะโหสีติฯ ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว วิญญาณัง อะนัตตา ตัส๎มา วิญญาณัง อาพาธายะ
    สังวัตตะตินะ จะ ลัพภะติ วิญญาเณ เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง เม
    วิญญาณัง มา อะโหสีติ ฯ

    ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว รูปัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ ฯ อะนิจจัง ภันเต ฯ
    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ ฯ ทุกขัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง
    วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ
    เอโส เม อัตตาติ ฯ โน เหตัง ภันเต ฯ

    ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว เวทะนา นิจจา วา อะนิจจา วาติ ฯ อะนิจจา ภันเต ฯ
    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ ฯ ทุกขัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง
    วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ ฯ
    โน เหตัง ภันเต ฯ

    ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว สัญญา นิจจา วา อะนิจจา วาติ ฯ อะนิจจา ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง
    ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ ฯ ทุกขัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุตัง
    สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ ฯ โน เหตัง ภันเต ฯ

    ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว สังขารา นิจจา วา อะนิจจา วาติ ฯ อะนิจจา ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง
    ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ ฯ ทุกขัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง
    สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ ฯ โน เหตัง ภันเต ฯ

    ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว วิญญาณัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ ฯ อะนิจจัง ภันเต ฯ
    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ ฯ ทุกขัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง
    วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ
    เอโส เมอัตตาติ ฯ โน เหตัง ภันเต ฯ

    ตัส๎มาติหะ ภิกขะเว ยังกิญจิ รูปัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา
    โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา หีนัง วา ปะณีตัง วา ยันทูเร สันติเก วา สัพพัง รูปัง เนตัง มะมะ
    เนโสหะมัส๎มิ นะ เมโส อัตตาติ ฯ เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ

    ยา กาจิ เวทะนา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา โอฬาริกา วา
    สุขุมา วา หีนา วา ปะณีตา วา ยา ทูเร สันติเก วา สัพพา เวทะนา เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ
    นะ เมโส อัตตาติ ฯ เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ

    ยา กาจิ สัญญา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา โอฬาริกา วา
    สุขุมา วา หีนา วา ปะณีตา วา ยา ทูเร สันติเก วา สัพพา สัญญา เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ
    นะ เมโส อัตตาติ ฯ เอวะ เมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ

    เย เกจิ สังขารา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา โอฬาริกา วา
    สุขุมา วาหีนา วา ปะณีตา วา เย ทูเร สันติเก วา สัพเพ สังขารา เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ
    นะ เมโส อัตตาติ ฯ เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ

    ยังกิญจิ วิญญาณัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา โอฬาริกัง วา
    สุขุมัง วา หีนัง วา ปะณีตัง วา ยันทูเร สันติเก วา สัพพัง วิญญาณัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ
    นะเมโส อัตตาติ ฯ เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ

    เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุต๎วา อะริยะสาวะโก รูปัส๎มิงปิ นิพพินทะติ เวทะนายะปิ นิพพินนะติ
    สัญญายะปิ นิพพินทะติ สังขาเรสุปิ นิพพินทะติ วิญญาณัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ
    นิพพินทัง วิรัชชะติ ฯ วิราคา วิมุจจะติ ฯ วิมุตตัส๎มิง วิมุตตะมีติ ญาณัง โหติ ขีณา
    ชาติ วุสิตัง พ๎รัห๎มะจะริยัง กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ ฯ

    อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุงฯ
    อิมัส๎มิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัส๎มิง ภัญญะมาเน ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุปาทายะ
    อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ ฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...