ตำนานพญาครุฑและพญานาค

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย Black Angle, 19 กันยายน 2010.

  1. Black Angle

    Black Angle เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +330
    ตำนานพญาครุฑและพญา
    นาค
    [​IMG]

    ในตํานานเมืองฟ้าป่าหิมพานต์นั้น มีเรื่องราวของสัตว์ที่มีอิทธิฤทธิ์มากมายหลายชนิด เช่น ราชสีห์ คชสีห์ อันมีลําตัวเป็นสิงห์แต่มีศรีษะเป็นช้าง กินรี กินนร และสัตว์แปลกๆอีกมากมาย ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้นมี 2อย่างที่นับว่าเป็นเทพ มีอิทธิฤทธิ์มากคือ พญาครุฑ จ้าวแห่งเวหา อีกหนึ่งคือ พญานาคราช จ้าวแห่งบาดาล
    พญานาคนั้นมีวิมานอันเป็นทิพย์อยู่ในเมืองบาดาล ส่วนพญาครุฑนั้นก็มีวิมานฉิมพลีอยู่ที่เชิงเขาไกรลาสและได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีศาสตราวุธใดๆสามารถทําร้ายได้ แม้แต่สายฟ้าของพระอินทร์ กล่าวว่าองค์พญาครุฑนั้นมีนามว่า ท้าวเวนไตย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท้าวสุบรรณ ซึ่งหมายถึง(ขนวิเศษ) มีกายเป็นรัศมีสีทอง มีเดชอํานาจมากที่สุดในหมู่ครุฑทั้งหลาย อาศัยเกาะอยู่ตามต้นงิ้ว อาศัยผลงิ้วและนําดอกไม้จากตันงิ้วเป็นอาหารทิพย์ ลูกพญาครุฑจะโตขึ้นนับเวลาอายุเป็นข้างขึ้นข้างแรมตามจันทรคติ เติบโตด้วยบุญกุศลที่เคยทํามา หากลูกครุฑตนใดที่มีบุญญาธิการมามาก อํานาจจะบันดาลให้เกิดผลงิ้วทิพย์และน้ำหวานจากดอกไม้มาบําเรอลูกครุฑตนนั้นๆและลูกครุฑตนดังกล่าวจะจําเจริญวัยได้อย่างรวด

    นาคและครุฑต่างเป็นสัตว์ที่คู่กันมาตามตํานาน มีเรื่องราวเล่ากันว่าในขณะที่พระพรหมกําลังสร้างโลกอยู่นั้น พระทักษะปชาบดีได้ยกลูกสาวทั้ง13คนให้ ฤาษีกัสยปะเทพบิดร และเกิดบุตรหลานเป็นจํานวนมาก โดย นางกัทรุ หนึ่งในบรรดาลูกสาวทั้ง13คนนั้นได้เป็นมารดาของนาคและงู1000ตัว ส่วน นางวินตา ผู้เป็นน้องก็ได้ให้กําเนิดไข่2ฟองซึ่งต้องใช้เวลาฟักนานมาก นางวินตา ทนรอไม่ไหวจึงทุบไข่ฟองนึงให้แตกเป็นตัวออกมา บุตรของ นางวินตา เมื่อออกมาแล้วปรากฎว่าเป็น ชายครึ่งนก แต่มีสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์เพราะออกมาจากไข่เร็วเกินไปดังนั้นบุตรชายครึ่งนกก็กราบทูลพระมารดาว่า ให้รอไข่อีกฟองแตกตัวออกมาโดยวิธีธรรมชาติ ก็จะได้บุตรชายครึ่งนกที่มีสภาพร่างกายสมบูรณ์ จะมีบุญญาธิการและพละกําลังมหาศาลและจะคอยให้ความช่วยเหลือนางวินตาพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง พอกล่าวจบบุตรครึ่งนกตนแรกก็บินจากนางไป และไปเป็นสารถีให้พระสุริยะเทพ และมีนามที่เรียกกันว่า อรุณเทพบุตร ซึ่งถือเป็นพี่ชายของพญาครุฑ

    ต่อมานางกัทรุและนางวินตาได้พนันกันว่าม้าที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่เหล่าทวยเทพและอสูรกวนน้ำอมฤต ที่วิ่งไปวิ่งมาอยู่บนสวรรค์นั้นมีหางสีอะไรถ้าใครแพ้ก็ต้องเป็นข้ารับใช้ตลอดไป นางวืนตาเลือกตอบว่าหางของม้านั้นเป็นสีขาว ส่วนนางกัทรุนั้นได้ตอบว่าเป็นสีดําแต่จริงๆแล้วนางกัทรุได้รู้แจ้งอยู่แล้วว่าหางของม้าเป็นสีขาวและนางกัทรุกลัวแพ้จึงได้คิดวางอุบายขึ้นโดยให้ลูกงูทั้ง1000ตัวนั้นเข้าไปพันอยู่รอบๆหางของม้าให้หางของม้าดูแลกลายเป็นสีดํา และเมื่อม้าตัวนั้นวิ่งมาถึงนางทั้ง2ก็เห็นหางของม้าเป็นสีดํา นางวินตา เลยจําต้องยอมแพ้และกลายเป็นข้ารับใช้ของนางกัทรุ

    ในขณะนั้นเองไข่ฟองที่2ของนางวินตาก็ได้ฟักตัวออกมา เมื่อแรกเกิด ร่างกายขยายตัวออกใหญ่โตจนจดฟ้า ดวงตราเมื่อกระพริบเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกใด บรรดาขุนเขาก็ตกใจต้องปลาดหนีไปพร้อมกับพระพาย รัศมีพวยพุ่งออกมาจากกายสว่างไสวเป็นที่อัศจรรย์ มีลักษณะดั่งไฟไหม้ไปทั่วทั้งสี่ทิศ กระทําให้ทวยเทพต้องตกใจ สําคัญว่าเป็นพระอัคนี ต่างพากันมาบูชา เพื่อขอความคุ้มครอง หลังจากนั้นก็ได้ออกบินไปตามหานางวินตาผู้เป็นมารดาจนพบ นางวินตาจึงเล่าเรื่องที่ถูกนางกัทรุใช้กลโกงในการพนันจนต้องมาเป็นทาสรับใช้ พอทราบเรื่องเข้าก็ทำให้บุตรชายครึ่งนกของนางวินตา รู้สึกโกรธแค้นนางกัทรุและนาคเป็นอันมาก จึงทําให้บุตรชายครึ่งนกของนางวินตาเป็นศัตรูกับพวกนาคและงูกันมาตลอดเจอกันเมื่อไรเป็นต้องต่อสู้กัน แต่นางวินตาก็ได้ร้องขอและได้ห้ามไว้ไม่ให้ไปทำอะไรกับฝ่ายนางกัทรุและเหล่านาคอีก เพราะต้องการรักษาคำพูดและรักษาสัตย์ที่ได้ตกลงกันไว้นั้น บุตรชายครึ่งนกของนางวินตาก็ยอมอยู่กับนางวินตาและยอมเป็นข้ารับใช้นางกัทรุและบรรดาลูกๆของนางคือนาคกับงู 1000 ตัวด้วย
    ในที่สุดบุตรชายครึ่งนกของนางวินตาได้เข้าไปเจรจาขอแลกอิสรภาพจากนางกัทรุและเหล่านาคให้แก่มารดาของตน นางกัทรุจึงได้ขอแลกกับน้ำอมฤตเป็นการแลกกกับอิสระภาพของนางวินตา บุตรนางวินตาจึงบินไปหาน้ำอมฤตในทันที ในระหว่างทางก็ได้พบกับฤาษีกัสปะเทพบิดรผู้เป็นบิดา ซึ่งได้แนะนำให้บุตรนางวินตาบินไปยังทะเลสาปแห่งหนึ่งและจับกินเต่ายักษ์และช้างที่กำลังสู้กันเพื่อเพิ่มพลังในระหว่างการเดินทางไปหานําอมฤต บุตรนางวินตาจึงได้จับสัตว์ทั้งสองกินแล้วออกบินต่อไป พอมาถึงต้นไทรต้นหนึ่งก็ได้แวะลงไปเกาะที่กิ่งต้นไทร ต้นไทรนี้มีฤาษี 4ตนกำลังบำเพ็ญตบะอยู่ พอบินลงมาเกาะจึงทำให้กิ่งต้นไทรหัก บุตรนางวินตาจึงจับกิ่งไม้นั้นไว้เพื่อไม่ให้ฤาษีทั้ง 4ตนตกลงไป ฤาษีทั้ง 4จึงเรียกบุตรนางวินตาว่า "ครุฑ" แปลว่า "ผู้แบก" หรือผู้ซึ่งยกของหนักได้ บุตรของนางวินตาจึงได้ชื่อว่า "พญาครุฑ" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    เมื่อข่าวเรื่องพญาครุฑจะมาขโมยน้ำอมฤตรู้ถึงพระอินทร์ พระอินทร์จึงสั่งเพิ่มเหล่าบรรดากำลังทหารสวรรค์ให้เข้มแข็ง โดยชั้นนอกให้เหล่าเทวดาสวรรค์และทูตสวรรค์รักษาไว้ ให้หม้อน้ำอมฤตอยู่ตรงกลางกงจักรที่มีงูยักษ์ 2ตัวหมุนกงจักรและจุดไฟล้อมรอบเอาไว้เพื่อป้องกันและขัดขวาง เมื่อพญาครุฑเดินทางมาถึงก็ได้ต่อสู้กับบรรดาเหล่ากองทัพทหารสวรรค์อย่างดุเดือด และก็ใช้ปีกกระพือลมพัดเหล่าทหารเทวดาสวรรค์จนแตกพ่าย เหล่าบรรดาทหารสวรรค์ไม่สามารถต้านทานฤทธิ์เดชอํานาจของพญาครุฑได้จึงพ่ายแพ้และสูญสลายไปจนหมดสิ้น แล้วจึงบินพุ่งลงไปอมน้ำในมหาสมุทรมาพ่นดับไฟที่ลุกอยู่ล้อมรอบกงจักรนั้นเสีย และกินงูที่กำลังหมุนกงจักรอยู่นั้นอีกด้วย แล้วจึงเข้าชิงนำน้ำอมฤตกลับมาไถ่ตัวมารดา พระอินทร์จึงเข้าขัดขวางจึงเกิดการต่อสู้กันขึ้น พระอินทร์ใช้สายฟ้าฟาดเข้าที่บริเวณปีกของพญาครุฑเข้าอย่างจังแต่สายฟ้าของพระอินทร์มิอาจทําอันตรายต่อพญาครุฑได้เลย ในที่สุดพระอินทร์จึงยอมแพ้ต่อพญาครุฑ และพญาครุฑจึงได้มอบขนปีกให้กับพระอินทร์หนึ่งเส้นเพื่อเป็นเกียรติแก่พระอินทร์ และนับจากนั้นมาพญาครุฑจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ท้าวสุบรรณ"แปลว่า"ขนวิเศษ"
    เรื่องราวการรบครั้งนั้นได้เลื่องลือล่วงรู้ไปถึงสามโลกธาตุ จนร้อนถึงพระนารายณ์ต้องลงมาช่วยปราบ จนเกิดการต่อสู้กันอย่างดุเดือดระหว่างพระนารายณ์และพญาครุฑ ต่อสู้กันจนฟ้าลั่นแผ่นดินสะเทือนแต่ทั้งพระพระนารายณ์และพญาครุฑต่างก็ไม่มีใครแพ้ใครชนะ ทั้งสองจึงยุติศึกและทำสัญญาเป็นไมตรีต่อกัน โดยพญาครุฑสัญญาที่จะรับเป็นพาหนะให้กับพระนารายณ์ตลอดไปและเป็นธงครุฑพ่าห์สําหรับปักอยู่บนรถศึกของพระนารายณ์ ส่วนพระนารายณ์ก็ได้ให้พรความเป็นอมตะแก่พญาครุฑและไม่มีใครทำลายได้ เสร็จแล้วพญาครุฑจึงได้นำน้ำอมฤตไปไถ่ตัวนางวินตาผู้เป็นมารดาในเวลาต่อมา

    ครุฑเป็นสัตว์กึ่งโอปปาติกะ หรือกึ่งกายทิพย์กายสิทธิ์คล้าย ชาวลับแล และ พวกพญานาค อยู่อีกมิติหนึ่งจากโลกของเรา ผู้ที่สามารถจะพบเห็นพญาครุฑได้นั้นต้องเคยมีบุญร่วมกับเขามา จึงจะสามารถรับรู้ถึงกันและกันได้ เหมือนกับผู้ที่สามารถติดต่อกับพญานาคได้เช่นกันล้วนต้องเป็นผู้ที่มีบุญวาสนาต่อกันมาตั้งแต่อดีตกาลทั้งนั้นไม่ใช่เรื่องสาธารณะที่จะรู้กันได้ทั่วกันไปเช่นสามัญ

    เรื่องของพญาครุฑเป็นเรื่องราวที่มีความอัศจรรย์ โลดโผนมาก แต่คนทั่วไปไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าใดนัก ความเป็นจริงแล้วเรื่องราวของพญาครุฑเป็นเรื่องที่น่าศึกษามากเพราะทางฮินดูเขานับถือครุฑว่าเป็นเทพเจ้าพระองค์หนึ่งเลยทีเดียว แม้แต่ในไทยของเราเอง ทางไสยศาสตร์ก็ให้ความนับถือเกี่ยวกับครุฑนี้มาก ดูอย่างตราประจําแผ่นดินเองก็มีลักษณะเป็น ครุฑ จึงน่าสนใจว่า ครุฑ นั้นมีอานุภาพบางอย่างและน่าจะเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในอีกมิติหนึ่ง

    [​IMG]


    ข้อมูลอ้างอิง
     
  2. Black Angle

    Black Angle เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +330
    พญานาค
    • พญานาค เป็นสัตว์มหัศจรรย์ ที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถแปลงกายได้ พญานาค มีอิทธิฤทธิ์ และมีชีวิตใกล้กับคน พญานาค สามารถแปลงเป็นคนได้ เช่นคราวที่แปลงเป็นคนมาขอบวชกับพระพุทธเจ้า ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงนาคที่ชื่อ ถลชะ ที่แปลว่า เกิดบนบก จะเนรมิตกายได้เฉพาะบนบก และนาคชื่อ ชลซะ แปลว่า เกิดจากน้ำ จะเนรมิตกายได้เฉพาะในน้ำเท่านั้น
    • พญานาค ถึงแม้จะเนรมิตกายเป็นอะไร แต่ในสภาวะ 5 อย่างนี้ จะต้องปรากฎเป็นงูใหญ่เช่นเดิม คือ ขณะเกิด ขณะลอกคราบ ขณะสมสู่กันระหว่างนาคกับนาค ขณะนอนหลับ โดยไม่มีสติ และที่สำคัญ ตอนตาย ก็กลับเป็นงูใหญ่เหมือนเดิม
    • .พญานาค มีพิษร้าย สามารถทำอันตรายผู้อื่นได้ด้วยพิษ ถึง 64 ชนิด ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า สัตว์จำพวกงู แมงป่อง ตะขาบ คางคก มด ฯลฯ มีพิษได้ ซึ่งก็ด้วยเหตุที่ นาคคายพิษทิ้งไว้ แล้วพวกงูไปเลีย พวกที่มาถึงก่อนก็เอาไปมาก พวกมาทีหลัง เช่น แมงป่อง กับ มด ได้พิษน้อย แค่เอาหาง เอากันไปป้ายเศษพิษ จำพวกนี้จึงมีพิษน้อย และพญานาคต้องคายพิษทุก 15 วัน
    • พญานาค อาศัยอยู่ใต้ดิน หรือบาดาล คนโบราณเชื่อว่าเมื่อบนสวรรค์มีเทพเทวาอาศัยอยู่ลึกลงไปใต้พื้นโลก ก็น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวว่า ที่ที่นาคอยู่นั้นลึกลงไปใต้ดิน 1 โยชน์ หรือ 16 กิโลเมตร มีปราสาทราชวังที่วิจิตรพิสดารไม่แพ้สวรรค์ ที่มีอยู่ถึง 7 ชั้น เรียงซ้อน ๆ กัน ชั้นสูง ๆ ก็จะมีความสุขเหมือนสวรรค์
    • พญานาค สามารถผสมพันธุ์กับสัตว์ชนิดอื่นได้ แปลงกายแล้วผสมพันธุ์กับมนุษย์ได้ เมื่อนาคตั้งท้องจะออกลูกเป็นไข่เหมือนงู มีทั้งพันธุ์เศียรเดียว 3, 5 และ 7 เศียร สามารถขึ้นลง ตั้งแต่ใต้บาดาลพื้นโลก จนถึงสวรรค์ ในทุกตำนานมักจะกล่าวถึงนาคที่ขั้น-ลง ระหว่างเมืองบาดาล กับเมืองสวรรค์ ที่จะแปลงกายเป็นอะไรตามที่คิด ตามสภาวะเหตุการณ์นั้น ๆ
    จะเห็นว่า พญานาค หรือ งูใหญ่ นั้นมีความเป็นมาและถิ่นที่อยู่เป็นสัดส่วนในภพหนึ่งต่างหาก จะมีเป็นบางครั้งที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ พญานาค เป็นทั้งเอกลักษณ์ของความดี และความไม่ดี



    [​IMG]
     
  3. เป็ดเซ็ง

    เป็ดเซ็ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +858
    ขอบคุณ กับข้อมูล ดี ๆ ครับ
    ติรัจฉานภูมิ
    <O:p

    ติรัจฉาน หมายถึง สัตว์ผู้ไปโดยขวาง หรือสัตว์ที่เป็นไปขวางจากมรรคผล
    <O:p
    สัตว์ดิรัจฉาน กล่าวจำแนกโดยเท้า มี ๔ ประเภท คือ

    ประเภทไม่มีเท้า เช่น งู ปลา ไส้เดือน,
    ประเภทมี ๒ เท้า เช่น ไก่ นก,
    ประเภทมี ๔ เท้า เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย,
    ประเภทมีเท้ามาก เช่น ตะขาบ กิ้งกือ
    <O:p
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ว่า บรรดาสัตว์เหล่านี้ สัตว์น้ำมีจำนวนมากกว่าสัตว์บก มากมายนัก
    <O:p
    สัตว์ดิรัจฉาน มีทั้งที่เห็นได้ด้วยสายตาเนื้อ และที่ไม่เห็นด้วยสายตาเนื้อ สัตว์กึ่งเทวดากึ่งดิรัจฉาน เช่น นาค, ครุฑ นั้น เราไม่อาจเห็นได้ด้วยสายตาเนื้อ สัตว์เหล่านี้มีเวทมนต์คาถา และมีอิทธิฤทธิ์มากเหมือนกัน เช่น เกณฑ์ฝนก็ได้ เนรมิตกายเป็นสัตว์ต่างๆ ก็ได้ เป็นต้น <O:p
    โดยเฉพาะพญานาคนั้นมีพิษร้ายกาจมาก บังหวนควันก็ได้ ในพระไตรปิฎกก็มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพญานาค ดังเช่น

    <O:p
    เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อโปรดชฎิล ๓ พี่น้องและบริวาร อุรุเวลกัสสปะหัวหน้าชฎิลผู้พี่ใหญ่ยังไม่ศรัทธาเลื่อมใสในพระองค์ ได้อนุญาตให้พระผู้มีพระภาคไปค้างคืนในโรงบูชาไฟที่มีพญานาคดุร้ายอยู่ตนหนึ่ง พอพระผู้มีพระภาคได้เสด็จไปถึง ณ ที่นั้นเพื่อจะพักค้างแรม

    พญานาคนั้นก็ขัดใจ โกรธ และได้แสดงอิทธิฤทธิ์ มีการบังหวนควันและพ่นไฟเพื่อจะทำร้ายพระองค์ พระองค์จึงได้ปราบพยศพญานาคนั้นด้วยพระฤทธิ์ แล้วจับพญานาคนั้น (ซึ่งขณะนั้นสิ้นฤทธิ์ กลายสภาพเป็นงู) ใส่หม้อเอาไว้ให้พวกชฎิลดูในตอนรุ่งขึ้น อุรุเวลกัสสปะและบริวารได้เห็นตามที่เป็นจริงว่า ลัทธิของตนหาแก่นสารมิได้ ถอนทิฏฐิมานะของตน ศรัทธาเลื่อมใสทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา

    <O:p
    ครั้งหนึ่ง เคยมีพญานาคจำแลงกายเป็นมนุษย์มาขอบวชเป็นพระภิกษุ ครั้งพระผู้มีพระภาคทรงทราบ ก็ได้ทรงห้ามการให้อุปสมบทแก่พญานาคนั้น
    <O:p
    ฉะนั้นจึงมีธรรมเนียมของการจะให้อุปสมบทแก่อุปสัมปทาเปกข์ (ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “เจ้านาค”) พระกรรมวาจาจารย์จะต้องถามอันตรายิกธรรมข้อหนึ่งใน ๑๕ ข้อว่า “มนุสฺโสสิ” แปลว่า “เจ้าเป็นมนุษย์หรือ ?” เมื่อเจ้านาครับว่ามีคุณสมบัติที่จะให้บวชได้ทุกข้อ จึงจะให้การอุปสมบท
    <O:p
    อนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้านาค” ก็เพราะมีประวัติมาจากเรื่องที่ได้เคยมีพญานาคจำแลงกายเป็นมนุษย์มาขอบวชนี้เองด้วยประการหนึ่ง และคำว่า “นาค” ยังหมายถึง บุคคลที่ไปอยู่วัดเตรียมตัวจะบวช หรือ กำลังจะบวช ว่า “เป็นผู้ประเสริฐ ผู้ไม่ทำบาป” นี้อีกประการหนี่ง ด้วย
    <O:p
    เรื่องนาค

    ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่สมควรนำมากล่าวไว้ให้นักบวชพึงทราบ และ พึงมีศีลสังวรไว้ คือ เรื่อง “เอรกปัตตนาคราช” ในอดีตชาติก่อนพุทธกาลนี้ คือในกาลเสด็จอุบัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า “กัสสปะ” (องค์ก่อน ถัดไปจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดมของเรานี้) ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งได้บำเพ็ญสมณธรรมมาแล้วถึง ๒๐,๐๐๐ ปี (ในยุคนั้น คนมีอายุขัย ๒๐,๐๐๐ ปี)

    วันหนึ่งได้โดยสารเรือไปตามแม่น้ำคงคา แล้วมือไปจับตะไคร้น้ำขาดติดมือไป เห็นว่าเป็นโทษเล็กน้อย จึงไม่แสดง (ปลงอาบัติ) ครั้นใกล้เวลาจะมรณภาพก็เป็นเหมือนใบตะไคร้น้ำรัดคอ มองไม่เห็นใครพอจะปลงอาบัติได้ ครั้นมรณภาพแล้ว ด้วยบาปอกุศลเพียงดึงใบตะไคร้น้ำขาดติดมือไปนั่นเอง ได้บังเกิดเป็นพญานาค ๑ พุทธันดร จึงได้พบพระพุทธเจ้าสมณโคดมนี้ จึงได้มีโอกาสมาเนรมิตตนเป็นมนุษย์ กราบแทบพระบาทของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ร้องไห้กราบทูลว่า
    <O:p
    “พระเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เช่นกับด้วยพระองค์ ได้ทำสมณธรรมสิ้น ๒๐,๐๐๐ ปี แม้สมณธรรมนั้นก็ไม่อาจเพื่อจะช่วยข้าพระองค์ได้ ข้าพระองค์อาศัยเหตุสักว่าให้ใบตะไคร้น้ำขาดมีประมาณเล็กน้อย ถือปฏิสนธิในอเหตุกสัตว์ เกิดในที่ที่ต้องเลื้อยคลานไปด้วยอก ย่อมไม่ได้ความเป็นมนุษย์เลย ไม่ได้ฟังธรรม ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เช่นกับด้วยพระองค์ตลอดพุทธันดรหนึ่ง” <O:p
    พระพุทธองค์จึงได้ตรัสว่า
    <O:p
    “มหาบพิตร ชื่อว่าความเป็นมนุษย์หาได้ยากนัก การฟังพระสัทธรรมก็ (ยาก) อย่างนั้น, การเสด็จอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า ก็หาได้ยากเหมือนกัน, เพราะว่า ทั้ง ๓ อย่างนั้น บุคคลย่อมได้ด้วยความยากลำบาก.”
    <O:p
    และได้ตรัสเป็นพระคาถาว่า <O:p
    “ความได้อัตตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก, ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายเป็นอยู่ยาก, การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก, การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก.”<O:p
    <O:p
    ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ได้อรรถาธิบายว่า
    <O:p
    “เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบดังนี้ว่า ก็ขึ้นชื่อว่าความได้อัตตภาพเป็นมนุษย์ ชื่อว่าเป็นการยาก คือหาได้ยาก เพราะความเป็นมนุษย์ บุคคลต้องได้ด้วยความพยายามมาก ด้วยกุศลมาก, ถึงชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นอยู่ยาก เพราะทำกรรมมีกสิกรรมเป็นต้นเนืองๆ แล้วสืบต่อความเป็นไปแห่งชีวิตบ้าง เพราะชีวิตเป็นของน้อยบ้าง,

    แม้การฟังพระสัทธรรม ก็เป็นการยาก เพราะความที่บุคคลผู้แสดงธรรมหาได้ยาก ในกัปแม้มีมิใช่น้อย, อนึ่ง ถึงการที่อุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เป็นการยากเหมือนกัน คือได้ยากยิ่งนัก เพราะอภินิหารสำเร็จด้วยความพยายามมาก และเพราะกาลที่อุบัติขึ้นแห่งท่านผู้มีอภินิหารอันสำเร็จแล้วเป็นการได้โดยยาก ด้วยพันแห่งโกฏิแห่งกัปมิใช่น้อย.” (ธ.อ.๙๘-๙๙)

    <O:p
    ส่วนพญาครุฑนั้น เป็นสัตว์ครึ่งเทวดาครึ่งสัตว์ดิรัจฉาน ที่ว่าเป็นสัตว์ครึ่งเทวดาเพราะไม่อาจเห็นได้ด้วยสายตาเนื้อโดยทั่วไป และเป็นสัตว์ที่มีอิทธิฤทธิ์ ที่ว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานก็เพราะเป็นสัตว์ที่ไปโดยทางขวาง และไม่อาจบรรลุมรรคผลได้ มีรูปร่างเหมือนนก
    <O:p
    พญาครุฑมีรูปร่างสัณฐานเหมือนนก ฉะนั้น จึงจัดเข้าในประเภทของนกได้ ในบรรดานกทั้งหมด พญาครุฑเป็นนกที่ใหญ่ที่สุดในจำพวกนกทั้งหลาย อยู่ที่ป่าไม้งิ้ว ในชั้นที่ ๒ ของภูเขาสิเนรุ ๆ มีบันไดเวียนรอบ ๕ ชั้น ชั้นที่ ๑ อยู่ในมหาสมุทรสีทันดร เป็นที่อยู่ของพญานาค เจ้าแห่งพญาครุฑ มีร่างกายสูง ๑๕๐ โยชน์ ปีกทั้ง ๒ ข้างกว้างข้างละ ๕๐ โยชน์ หางยาว ๖๐ โยชน์ คอยาว ๓๐ โยชน์ ปากกว้าง ๙ โยชน์ ขายาว ๑๒ โยชน์

    เจ้าแห่งพญาครุฑ ขณะที่กำลังบินอยู่ อำนาจของการกระพือปีกทั้ง ๒ บังเกิดเป็นลมพายุใหญ่พัดทั่วไปไกลถึง ๗๐๐-๘๐๐ โยชน์ ธรรมดาพญาครุฑนั้นต้องกินพวกนาคเป็นอาหาร


    (พระพุทธโฆษาจารย์, สํยุตฺตนิกายฏฺฐกถา ทุติโย ภาโค: มหามกุฏราชวิทยาลัย, พ.ศ.๒๔๖๓, หน้า ๑๐๑) <!-- google_ad_section_end -->​
     

แชร์หน้านี้

Loading...