ตำนานรักในรั้ววัง

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ทิพย์มาลา, 19 เมษายน 2014.

  1. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    ความรักหลังราชบัลลังก์ ประดิพัทธ์แห่งเจ้าฟ้า

    [​IMG]

    เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด เป็นพระธิดาของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์พระพี่นางของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกในสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เสด็จไปเยี่ยมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ผู้เป็นพระพี่นางซึ่งประชวรอยู่นั้น โดยมีพระราชโอรสตามเสด็จไปด้วย

    พระราชโอรสพระองค์นั้นคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ซึ่งมีพระชนมายุประมาณ 20-21 พรรษา และมีรูปโฉมงดงามสง่าผ่าเผยเป็นอันมาก อีกทั้งยังมีพระอัจฉริยภาพในเชิงกวีเป็นเอกอีกด้วย

    ในช่วงที่ตามเสด็จพระราชบิดาเข้าไปเยี่ยมเยียนกรมพระศรีสุดารักษ์บ่อยครั้งในช่วงนั้นเจ้าฟ้าชายวัยหนุ่มก็ได้พบกับเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดในวันหนึ่ง
    เจ้าฟ้าหญิงบุญรอดนี้เป็นธิดาของกรมพระศรีสุดารักษ์จึงเท่ากับว่าทรงเป็นพระนัดดาหรือหลานโดยตรงของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

    เจ้าฟ้าหญิงบุญรอดต้องเล่าถึงพระอาการประชวรของพระชนนีถวายกรมหลวงเทพหริรักษ์ผู้เป็นพระเชษฐาองค์ใหญ่ของเจ้าฟ้าหญิงบุญรอด จึงเป็นเหตุให้ได้พบเจอเจ้าฟ้าชาย
    ในวันแรกที่เพียงได้พบกันนั้น เจ้าฟ้าชายหนุ่มผู้เป็นราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดินก็มีจิตประดิพัทธ์ในเจ้าฟ้าหญิงบุญรอด ผู้เป็นเสมือนญาติผู้พี่ผู้น้องนับตั้งแต่วินาทีแรกในทันที

    หลังจากนั้น ณ ตำหนักของกรมพระศรีสุดารักษ์ จึงปรากฏว่าสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จเข้าไปเนืองๆ และประทับอยู่ครั้งละเป็นเวลานานแต่ก็ไม่ได้ทอดพระเนตรเห็นเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดทุกๆ วันเสมอไป เพราะว่าในสมัยก่อนนั้นเจ้านายผู้หญิงจะได้อยู่ก็แต่เพียงข้างในไม่ได้ออกมาพบเจ้านายผู้ชายมากนัก

    สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อมีจิตผูกพันเสน่หากับเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดแล้วก็ได้แต่ข่มพระทัยไว้ ด้วยเพราะเป็นเวลาอันมิสมควร จนกระทั่งกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ ทิวงคต และหลังจากนั้นเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดก็จะต้องเสด็จออกจากตำหนักมาเพื่อทำบุญตามธรรมเนียมพิธีบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในช่วงนั้นเองที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จเข้าไปช่วยจัดสิ่งของต่างๆ และได้มีรับสั่งด้วยจนค่อยๆ คุ้นเคยกัน

    สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร มีพระน้องนางสองพระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงแจ่มหรือกรมหลวงศรีสุนทรเทพและอีกองค์คือ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงประภาวดี หรือ กรมหลวงเทพยวดี ซึ่งก็มีวัยไล่เลียงกับเจ้าฟ้าหญิงบุญรอด และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ประสูติปีเดียวกับเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดแต่อ่อนเดือนกว่า

    เมื่อมีจิตประดิพัทธ์ในเจ้าฟ้าหญิงบุญรอด สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ก็นำข้าวของให้คนฝากไปทางพระขนิษฐาทั้งสองคือกรมหลวงศรีสุนทรเทพและกรมหลวงเทพยวดี ให้ฝากต่อไปให้เจ้าฟ้าหญิงบุญรอดอีกต่อหนึ่ง จนกระทั่งพระขนิษฐาทั้งสองพระองค์ทราบดีว่าพระเชษฐานั้นมีจิตผูกพันเสน่หาในเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดเป็นแน่แล้ว

    เนื่องจากว่ายังมีความเป็นญาติผู้พี่ผู้น้องผูกพันกันอยู่ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอดเป็นธิดาของกรมพระศรีสุดารักษ์ซึ่งเป็นพระพี่นางของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ดังนั้นการจะผูกพันรักใคร่กันก็ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่สามารถเปิดเผยความสัมพันธ์รักนี้ได้อย่างกระจ่างชัดแก่คนทั่วไปนัก ทั้งสองพระองค์จึงต้องลอบติดต่อพบปะกันโดยมีพระขนิษฐาทั้งสองพระองค์ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรช่วยสนับสนุนและรู้เห็นในความสัมพันธ์ครั้งนี้

    โดยที่จริงแล้วความรักความสัมพันธ์ของเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์นี้เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยว่ามิอาจจะเสด็จมาพบเจอกันได้โดยง่ายทุกๆ วัน เสียเมื่อใด ยามได้พบกันก็เป็นเวลาเพียงสั้นๆ มีรับสั่งต่อกันเพียงน้อยนิดเท่านั้น

    กรมหลวงศรีสุนทรเทพและกรมหลวงเทพยวดี ได้ให้ข้าหลวงคนสนิทไปเชิญเสด็จเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดมาที่ตำหนักเพื่อทรงสะบ้าเล่นกันบ้าง ทรงสกาเล่นกันบ้างยามว่างโดยนัดหมายให้พระเชษฐาคือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เสด็จมาที่ตำหนักเพื่อเล่นสะบ้าหรือสกาด้วยกัน
    เมื่อแรกๆ นั้นเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดก็มิกล้าที่จะทรงเล่นด้วยกับเจ้าฟ้าชายด้วยความเขินอายและไม่คุ้นเคยกับการพบปะเจ้านายผู้ชาย จนกระทั่งต้องใช้เวลาหลายวันทีเดียวกว่าที่ทั้งสองพระองค์จะทรงได้เล่นด้วยกันอย่างคุ้นเคยมากขึ้น

    ครั้งหนึ่งสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี เสด็จไปยังในพระบรมมหาราชวังไปที่ตำหนักของพระราชธิดาทั้งสอง ซึ่งเวลานั้นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร กำลังทรงต่อแต้มเล่นอยู่กับเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดพอดี เล่ากันว่าพระองค์ต้องเสด็จไปซ่อนตัวเพื่อหลบพระราชชนนีเป็นการใหญ่ และพระขนิษฐาทั้งสองต่างก็ช่วยเพ็ดทูลพระราชชนนีว่าไม่ได้มีบุรุษใดอยู่ในตำหนักเลยแม้แต่น้อย

    สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีจึงตรัสว่า
    “แม่ประหลาดใจหลายวันมาแล้ว พ่อฉิมออกจากวังกลับไปบ้านจนพลบค่ำแทบทุกวันจะเป็นเรื่องราวอะไรก็ไม่รู้”
    กรมหลวงศรีสุนทรเทพจึงทูลว่า
    “อาจจะเป็นข่าวทัพข่าวศึกต้องประชุมปรึกษาราชการดอกกระมังไม่บังควรที่คุณหญิงจะวิตกวิจารณ์ไป”
    (พระราชธิดาของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีมักเรียกพระนางผู้เป็นพระมารดาว่าคุณหญิงตามเดิมที่เคยเรียกตั้งแต่ก่อนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจะเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ)

    สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีก็ยังทรงเป็นกังวลและรับสั่งกับพระราชธิดา
    “แต่ก่อนมาการศึกก็มีหลายครั้ง ก็มิเห็นอยู่จนพลบค่ำ ติดต่อหลายวันเช่นนี้แต่สองสามวันนี้อยู่จนพลบค่ำ แม่เกรงว่าจะไปเที่ยวติดผู้หญิงยิงเรืออยู่ที่ไหนดอกกระมัง”
    แต่มิว่าพระราชชนนีจะมีรับสั่งซักไซ้อย่างไรพระราชธิดาทั้งสองพระองค์ก็เพ็ดทูลในเชิงปฏิเสธแต่ประการเดียวเพราะเกรงว่าพระเชษฐาจะได้รับพระราชอาญา
    เนื่องจากว่าเคยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรนั้นไปติดพันเจ้าคุณพี ก็ถูกพระราชบิดาลงพระราชอาญาโดยให้โบย 30 ครั้งด้วยกัน

    หลังจากนั้นทั้งเจ้าฟ้าชายและเจ้าฟ้าหญิงก็ได้ลอบพบปะกันเช่นนั้นจนกระทั่งความสัมพันธ์รักได้ผูกพันลึกซึ้งยิ่งขึ้น
    จนกระทั่งต่อมาเมื่อเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดทรงพระครรภ์ได้ 4 เดือน สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรจึงได้นำความไปปรึกษาและมีรับสั่งขอร้องให้เจ้าจอมแว่นหรือคุณเสือผู้เป็นพระสนมเอกเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ช่วยกราบทูลเรื่องราวนี้ให้หนักเป็นเบาด้วย

    ในที่สุดเจ้าจอมแว่นก็หาโอกาสเหมาะกราบทูลให้เป็นผลสำเร็จทั้งที่ตอนแรกเมื่อได้สดับความทั้งหมดก็ทรงกริ้วแต่เจ้าจอมแว่นก็เพ็ดทูล จนพระองค์มิถือโทษให้ลงพระราชอาญาแต่อย่างใด
    เจ้าจอมแว่นทูลในตอนท้ายว่า
    “หากรักชมสมกันจริงๆ มีลูกมีเต้าออกมาจะอุ้มจะชูก็ไม่น่ารังเกียจขุนหลวงอย่ากริ้วหนา
    “มึงเห็นดีไปคนเดียวเถิดพี่น้องเขายังอยู่กันเป็นก่ายเป็นกอง เขาไม่รู้ก็จะว่ากูสมรู้ร่วมคิด เป็นใจให้ลูกทำข่มเหงเขา อนึ่งทำดูถูกเทวดารักษารั้ววัง ไม่มีความเกรงกลังถ้าจะรักใคร่กันก็น่าจะบอกผู้ใหญ่ให้เป็นที่เคารพนอบนอบแต่โดยดี นี่ทำบังอาจเอาแต่ใจไม่คิดแก่หน้าผู้ใด”

    เหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีรับสั่งดังนั้นเนื่องจากทรงเกรงพระทัยพระญาติพี่น้องทางสายของกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ผู้เป็นพระพี่นางของพระองค์ ด้วยว่าสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์ เวลานั้นก็มีพระสนมเจ้าจอมเป็นบาทบริจาริกาอยู่หลายคนด้วยกันและมีพระโอรสพระธิดาหลายพระองค์แล้วด้วย

    ทรงเกรงว่าพระราชโอรสจะมีพระทัยประดิพัทธ์กับเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดแต่เพียงเป็นความเสน่หามิลึกซึ้งนักต่อไปในวันหน้าเมื่อความรักจืดจางคลอนคลาย และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรมีข้าบาทบริจาริกาอื่นๆ อีกต่อไปจะเป็นเหตุให้พระประยูรญาติทางฝ่ายเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดเกิดบาดหมางพระทัยกับพระองค์เสียเป็นแน่

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แม้มิลงพระราชอาญาพระราชโอรสและเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดผู้เป็นนัดดาเพราะได้ออกโอษฐ์รับคำสัญญากับเจ้าจอมแว่นแล้วนั้น แต่ด้วยความกริ้วก็ได้มีรับสั่งให้เจ้าฟ้าหญิงบุญรอดเสด็จออกจากวังไปประทับกับกรมหลวงเทพหริรักษ์พระเชษฐาของเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดเสียในทันที ส่วนพระราชโอรสนั้น เคยมาฝากข้าวของลงสำเภาไปค้าขายยังเมืองจีนก็ห้ามมิให้ฝากข้าวของลงเรืออีกต่อไปเป็นการลงพระราชอาญา

    เมื่อเจ้าฟ้าชายทราบว่านางอันเป็นที่รักจะถูกพรากจากไปดังนั้นก็รีบตามเสด็จไปยังวังของกรมหลวงเทพหริรักษ์ในค่ำคืนนั้นเองโดยมีรับสั่งกับกรมหลวงเทพหริรักษ์ถึงพระทัยรักอันจริงจัง และมีพระราชประสงค์จะรับผิดชอบอย่างหนักแน่นซึ่งกรมหลวงเทพหริรักษ์ก็กริ้วนักมิยอมพระทัยอ่อนได้แต่ตรัสว่า
    “พ่อฉิมทำการดังนี้ห้าวหาญนัก เมื่อจะรักใคร่กันข้าก็เป็นผู้ใหญ่อยู่ทั้งคน จะมาปรึกษาหารือว่าจะรักใคร่เลี้ยงดูกันตามประสาฉันญาติ ก็จะได้คิดผ่อนผันไปตามการโดยสมควรฤาจะกราบทูลให้ในหลวงจัดแจงตบแต่งให้เป็นเกียรติยศชื่อเสียง ก็จะได้ปรากฏไปภายหน้า บัดนี้มาทำแต่ใจตัวไม่ง้องอนใครก็จะมาพูดกันทำไมเล่า ในระหว่างนี้ในหลวงก็ยังเกรี้ยวกราดมากมายอยู่ ซึ่งถ้าจะมอบตัวแม่รอดเข้าไปนั้นให้ได้ ถ้าความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทข้าจะพลอยเสียไปด้วย ดูเป็นเต็มใจเข้ากับคนผิด น้องของข้า เลี้ยงได้ดอกไม่ต้องให้คนอื่นเลี้ยง”

    เล่ากันว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในเวลานั้นถึงกับทรงหลั่งน้ำพระเนตร เฝ้ากราบทูลรับผิดอยู่เป็นเวลาเนิ่นนานแต่กรมหลวงเทพหริรักษ์ ก็มิยอมให้พระน้องนางเสด็จไปกับพระองค์

    เมื่อต้องพรากจากกันนาน 3 เดือน นั้น เจ้าฟ้าชายก็ได้ให้ข้าหลวงคนสนิทมาเฝ้าเยี่ยมเยียนเจ้าฟ้าหญิงบุญรอด ทุกวันมิเคยขาด จนกระทั่งเมื่อทรงดำริว่าพระราชบิดาคงจะหายกริ้วแล้วพระองค์จึงเสด็จขึ้นเฝ้าสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทผู้เป็นเสด็จอา และดำรงตำแหน่งวังหน้าในขณะนั้นให้ช่วยเข้าเฝ้ากราบทูลขอพระราชทานโทษในเรื่องนี้ด้วยจนสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระทัยอ่อนยินยอมให้เจ้าฟ้าหญิงบุญรอดเข้ามาประทับอยู่ในพระราชวังเดิมด้วยกันกับเจ้าฟ้าชาย เนื่องจากเวลานั้นพระครรภ์แก่ใกล้จะมีพระประสูติกาลอยู่แล้ว และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรยังได้ทูลปฏิญาณกับกรมหลวงเทพหริรักษ์ผู้เป็นพระเชษฐาของเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดว่า

    “จะมิให้โอรสภริยาอื่นๆ ผู้ใดขึ้นเป็นใหญ่กว่าหรือเสมอเทียบเทียมกับเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดได้เลยในภายหน้า”

    เล่ากันว่าเมื่อเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดมีพระประสูติกาลนั้นค่อนข้างโกลาหลอลเวงเป็นอันมาก เนื่องจากเจ้าฟ้าบุญรอดทรงประชวรพระครรภ์นานถึงสองวันสองคืนเต็มโดยยังมิประสูติได้
    สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรให้วิตกกังวลเป็นยิ่งนักจึงได้มีรับสั่งให้นางข้าหลวงไปหาเจ้าจอมแว่นในพระที่นั่ง โดยให้ขอรับพระราชทานน้ำชำระพระบาทของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาเพื่อเป็นสิริมงคล
    เล่ากันว่าก่อนที่พระเจ้าอยู่หัวจะยกพระบาทลงแช่ในขันทองนั้นทรงมีรับสั่งว่า
    “ทำดูถูกเทวดารักษาวัง จึงออกลูกยาก”

    แต่พระองค์ก็ยกพระบาทเอาพระอังคุฐลงแช่ในน้ำในขันทองนั้นแต่โดยดี แล้วพระราชทานให้เจ้าจอมแว่นนำมาให้นางข้าหลวง
    เจ้าฟ้าหญิงบุญรอดได้เสวยน้ำชำระพระบาทขององค์พระมหากษัตริย์ และเพียงไม่นานหลังจากนั้น ก็ประสูติพระโอรสอย่างสะดวกราบรื่น
    แต่ยังมิทันข้ามวันนั้นเอง (เดือนยี่ ปีระกา) พระราชโอรสก็สิ้นพระชนม์ในวันแรกประสูติ นำความโทมนัสมาสู่เจ้าฟ้าหญิงบุญรอดและสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เป็นยิ่งนัก

    แต่ในอีกสองปีต่อมา เจ้าฟ้าหญิงบุญรอดก็ประสูติพระโอรสอีพระองค์หนึ่งโดยราบรื่น เรียบร้อย และพระโอรสพระองค์นั้น ก็คือเจ้าฟ้าชายมงกุฎหรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และต่อมาประสูติสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี หรือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ด้วยสัมพันธ์รักอันซาบซึ้งและผ่านความหวานชื่น ผ่านความทุกข์เศร้าอย่างครบถ้วนนี้ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด จึงเป็นนางผู้เป็นที่รักยิ่งในพระทัยของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรอย่างลึกซึ้ง เมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันติวงศ์เป็นกษัตริย์ รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    เมื่อนั้นพระองค์ได้ทรงเฉลิมพระยศเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดขึ้นเป็นพระอัครมเหสี เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

    ในภายหลัง แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจะทรงมีพระทัยแบ่งปันไปให้กับเจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทิพยวดี พระมเหสีอีกพระองค์หนึ่ง จนสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีนั้นน้อยพระทัยและขัดเคืองอย่างจริงจังถึงขนาดเสด็จออกไปประทับ ณ พระราชวังเดิม มิยอมคืนดีกับพระราชสวามีอีกเลย แม้ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 2 จะเสด็จไปเยี่ยมและง้องอนอยู่หลายคราเพียงใดก็ตาม

    แต่ถึงอย่างไรก็มิปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงสถาปนาเฉลิมพระยศเจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทิพยวดีให้สูงขึ้นเทียบสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีแต่อย่างใดเลย อันเป็นการแสดงถึงความคงมั่นต่อสัญญารักที่ได้ทรงให้ไว้แต่กาลก่อนนั่นเอง


    จากเรื่องเล่าในวัง ภาพประกอบจากเน็ต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2014
  2. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    ความรักของ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี

    [​IMG]

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี มีพระนามเดิมว่าพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าจันทบุรี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) กับเจ้าจอมมารดาทองสุก (คำสุก) พระธิดาของพระเจ้าอินทวงศ์กษัตริย์แห่งกรุงศรีสัตนาคนะหุต (นครเวียงจันทน์)

    เมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา เจ้าจอมมารดาได้ถึงแก่พิราลัย พระราชบิดา (รัชกาลที่ 1) จึงสงสารและทรงพระกรุณามากด้วย โปรดให้เจ้าจอมแว่นเป็นผู้ถวายการอภิบาล

    ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2347 ทรงเกิดอุปัทวเหตุ โดยพลัดตกน้ำหายไประหว่างเรือบัลลังก์กับตำหนักแพต่อกัน แต่ทรงรอดพระชนม์ จึงได้โปรดประทานพระนามใหม่และทรงสถาปนาเลื่อนชั้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี และเมื่อพระชนม์ได้ 11 พรรษา ได้มีพระราชพิธีโสกันต์เต็มตามอย่างสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชกุมารีเป็นครั้งแรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

    เมื่อปี พ.ศ. 2352 พระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้เสด็จเสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดา จนในที่สุดได้เกิดเรื่องที่พระองค์ทรงต้องพระทัยในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี สร้างความระทมทุกข์ตรอมพระทัยให้กับเจ้าฟ้าบุญรอด (พระอัครมเหสี) เป็นยิ่งนัก ทั้งด้วยพระชนม์แตกต่างกันถึง 30 ปีและยังมีพระรูปโฉมงดงามและมีพระเกียรติยศที่สูงส่งเป็นถึงเจ้าฟ้าที่เป็น พระราชธิดาพระมหากษัตริย์ ทรงประสูติภายใต้พระเศวตฉัตรและยังมีฝ่ายพระมารดาเป็นพระธิดาของกษัตริย์กรุงศรีสัตนาคนะหุต (นครเวียงจันทน์) แตกต่างจากเจ้าฟ้าบุญรอดที่มีกำเนิดมาจากสามัญชน เป็นเจ้าฟ้าจากการสถาปนาแต่งตั้ง เจ้าฟ้าบุญรอดทรงน้อยพระทัยในพระราชสวามีได้เสด็จไปประทับที่พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี โดยไม่ยอมพระทัยอ่อนขึ้นเฝ้าพระพุทธเลิศหล้านภาลัยอีกเลยจนพระราชสวามีสิ้นพระชนม์ แม้รัชกาลที่ 2 จะทรงเสด็จไปถึงพระตำหนักที่ประทับด้วยพระองค์เอง แต่เจ้าฟ้าบุญรอดก็ไม่ทรงยินยอมเข้าเฝ้าแต่ประการใดทั้งสิ้น นับว่าทรงเป็นสตรีที่มีจิตใจแข็งแกร่งเด็ดเดี่ยวมากนัก

    เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ได้ถวายตัวตั้งแต่มีพระชนม์ 16-17 พรรษา มีพระราชโอรสกับพระราชธิดา 4 พระองค์ดังนี้

    1. เจ้าฟ้าอาภรณ์ หรือ เจ้าฟ้าอัมพร ประสูติวันศุกร์ที่ 19 เมษายน ปีชวด พ.ศ. 2359
    2. เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ประสูติวันเสาร์ที่ 24 เมษายน ปีเถาะ พ.ศ. 2362
    3. เจ้าฟ้าหญิง ยังไม่ปรากฏพระนามสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ประสูติวันพุธที่ 21 มีนาคม ปีมะโรง พ.ศ. 2363 ได้พระราชทานเพลิงศพพร้อมพระราชชนนี ในรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2382
    4. เจ้าฟ้าปิ๋ว ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 26 เมษายน ปีมะเมีย พ.ศ. 2365

    ถึงแม้ว่าพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจะทรงสนิทเสน่หาในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีมาก เพียงใดก็ตาม แต่ตลอดรัชสมัยของพระองค์ก็มิได้ทรงยกย่องหรือสถาปนาพระยศแต่งตั้งของพระนาง รวมถึงพระโอรสกับพระธิดาแต่อย่างใด คงกล่าวขานเรียกกันแค่เพียงว่าองค์ใหญ่ องค์กลาง องค์ปิ๋วเท่านั้น มิได้เรียกกันเป็นเจ้าฟ้าหรือทูลกระหม่อมฟ้าตามสมควรที่ควรจะได้รับตามชน ชั้นพระเกียรติยศทั้งของพระราชบิดา และพระราชมารดาที่เป็นเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจว่ารัชกาลที่ 2 คงทรงเกรงพระทัยเจ้าฟ้าบุญรอดพระมเหสีดั้งเดิมก่อนเสวยราชย์ และเคยได้ทรงปฏิญาณทานบนไว้ว่า จะมิให้บุตรและภริยาทั้งปวงเป็นใหญ่กว่าหรือเทียบเสมอเทียบเท่ากับเจ้าฟ้าบุญรอดทั้งสิ้น ซึ่งทรงให้คำมั่นไว้กับเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระเชษฐาของเจ้าฟ้าบุญรอด ในตอนเกิดเรื่องพิศวาสจนเจ้าฟ้าบุญรอดทรงพระครรภ์ ทั้งนี้รัชกาลที่ 2 ก็ได้ทรงถือปฏิบัติตามนั้นตลอดพระชนม์ชีพ

    ต่อมาภายหลังในแผ่นดินของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงพระกรุณาโปรดตั้งองค์ใหญ่ พระโอรสเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี สถาปนาเป็นเจ้าฟ้าพระราชทานพระนามว่าอาภรณ์ ตั้งแต่นั้นมาจึงเรียกกันว่า เจ้าฟ้าอาภรณ์ แต่องค์กลางกับองค์ปิ๋วนั้น ทรงพระกรุณาเรียกว่าเจ้าหนูกลางกับเจ้าหนูปิ๋ว ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงทรงพระกรุณาโปรดกล้าพระราชทานพระนาม พระองค์กลางว่า “มหามาลา” ตั้งแต่นั้นมาจึงเรียกกันว่า เจ้าฟ้ามหามาลา สำหรับองค์ปิ๋วนั้นสิ้นพระชนม์ ตั้งแต่ในแผ่นดินพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเป็นที่น่าเสียดายที่ไม่ได้มีการพระราชทานนามตามควรแก่พระเกียรติยศ ตามพระชาติกำเนิด

    สำหรับความงามของเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีนั้น ด้วยทรงมีพระสิริรูปโฉมงามโสภาคย์เพียงใดจนทำให้รัชกาลที่ 2 ได้ทรงสนิทเสน่หาในพระนางยิ่งนัก โดยทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาเปรียบเทียบเรื่องของนางบุษบา ในเรื่องไว้ว่า

    “พักตร์น้องละอองนวลปลั่งเปล่ง ดังดวงจันทร์วันเพ็ญประไพศรี
    อรชรอ้อมแอ้นทั้งอินทรีย์ ดังกินรีจงสรรคงคาลัย
    งามจริงพริ้งพร้อมทั้งสารพางค์ ไม่ขัดขวางเสียทรงที่ตรงไหน
    พิศพลางประดิพัทธ์กำหนัดใน จะใคร่โอบอุ้มองค์มา”

    เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 2 โดยมิได้คาดการณ์หรือประชวรอันใดก่อนหน้านั้นเลย เพียงแค่ 7-8 วันเท่านั้นก็ทรงสิ้นพระชนม์ ซึ่งขณะนั้นเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี มีพระชนมายุได้เพียง 26 พรรษา จึงทรงทำนุบำรุงเลี้ยงเจ้าฟ้าพระราชโอรส 3 พระองค์ต่อมาด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง

    สำหรับเรื่องการศึกษาของเจ้าฟ้าพระราชโอรสทั้ง 3 พระองค์นั้น ได้ทรงมอบให้สุนทรภู่เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 2 ซึ่งได้เกิดคุณประโยชน์ต่อประวัติศาสตร์ชาติไทยในด้านวรรณคดีอย่างยิ่งใหญ่ ที่ได้มีกลอนอมตะเรื่องสวัสดิรักษา ที่สุนทรภู่ได้แต่งถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์ และได้แต่งเพลงยาวถวายโอวาทให้กับเจ้าฟ้ากลางหรือเจ้าฟ้ามหามาลา นอกจากนี้ยังได้มีการสันนิษฐานกันว่า ท่านสุนทรภู่ ได้แต่งเรื่องสิงหไตรภพ ตอนต้น ๆ ถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์ด้วย โดยท่านสุนทรภู่ได้เรียกพระนามแฝงว่า “พระสิงหไตรภพ” แต่เมื่อถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งพระองค์ไม่ทรงโปรดสุนทรภู่ ทำให้ทุกคนเกรงจะเป็นเรื่องฝ่าฝืนพระราชนิยม จนสุนทรภู่น้อยใจเจ้าฟ้าอาภรณ์ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านที่ทำเพิกเฉยมึนตึงกับท่าน

    หลังจากนั้นท่านสุนทรภู่จึงได้ออกบวชเพื่อหนีราชภัยจากรัชกาลที่ 3 ต่อมาในปีฉลู พ.ศ. 2372 เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี จึงได้ทรงฝากเจ้าฟ้ากลางกับเจ้าฟ้าปิ๋ว ซึ่งขณะนั้นพระชนมายุได้ 11 ปี กับ 8 ปี ให้เป็นศิษย์สุนทรภู่ เหมือนอย่างเจ้าฟ้าอาภรณ์ได้เคยเป็นศิษย์มาแล้วในรัชกาลที่ 2 และเจ้าฟ้ากุณฑลยังได้ทรงส่งเสียอุปการะท่านสุนทรภู่และที่สำคัญที่สุดคือ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ยังได้ทรงฝากฝังพระราชโอรสทั้ง 3 พระองค์ให้เป็นศิษย์ของเจ้าฟ้ามงกุฎ (พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ซึ่งขณะนั้นได้ทรงผนวชอยู่วัดบวรนิเวศวรวิหารอีกด้วย ในรัชกาลที่ 3 นี้ เจ้าฟ้าอาภรณ์ได้เริ่มรับราชการ โดยได้ทรงช่วยกำกับกรมพระคชมาล และเจ้าฟ้ากลาง (เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์) ได้รับราชการในกรมวัง ส่วนเจ้าฟ้าปิ๋วนั้นยังทรงพระเยาว์ จึงไม่ได้ทรงรับราชการแต่อย่างใด

    สำหรับเจ้าฟ้าอาภรณ์พระองค์นี้ทรงเป็นต้นราชสกุล อาภรณ์กุล ตอนหลังทรงถูกกล่าวหาว่าสมรู้ร่วมคิดกับหม่อมไกรสร (กรมหลวงรักษ์รณเรศ) จึงให้คุมเข้าที่คุมขังแต่ยังมิทันชำระคดี ก็สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคอหิวาต์ จึงให้นำพระศพไปฝังดินไว้อย่างคนโทษ ซึ่งพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะนั้นเป็นเจ้าฟ้าพระ ซึ่งทรงผนวชที่วัดบวรนิเวศ ทรงพระกรุณาสงสารพระอนุชาองค์นี้มาก จึงขอพระบรมราชานุญาติ รัชกาลที่ 3 ขุดพระศพเจ้าฟ้าอาภรณ์ขึ้นมาใส่โกศ ที่ภายหลังรัชกาลที่ 4 เรียกว่า พระโกศลังกา และเสด็จทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานเพลิงพระศพอย่างเงียบ ๆ เพราะรัชกาลที่ 3 มิได้เสด็จ เจ้านายอื่น ๆ จึงมิกล้าเสด็จ โดยทรงทำพิธีถวายพระเพลิงอย่างพระศพเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า
    นอกจากนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ซึ่งเป็นพระโอรสของพระนางทรงรับราชการเป็นหลักสำคัญของแผ่นดินซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาและเคารพนับถือเป็นอันมาก

    ต่อมาภายหลังเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ทรงพระประชวรสิ้น พระชนม์ในรัชกาลที่ 3 เมื่อปีจอ พ.ศ. 2381 พระชันษาได้ 42 ชันษา โดยได้พระราชทานเพลิงพร้อมพระศพของพระราชธิดาของพระนาง

    จะเห็นได้ว่า สมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีทรงได้อุทิศและถวายตัว พร้อมกับได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขมาด้วยกันกับพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งทรงเป็นทั้งพระราชสวามีและพระเชษฐาร่วมพระราชบิดาเดียวกัน และที่สำคัญคือ ทรงมีพระสิริโฉมงดงามทั้งกายและจิตใจ ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่ในทุกพระฐานะได้อย่างดียิ่ง ทั้งในฐานะพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ (รัชกาลที่ 1) และยังเป็นพระน้องนางเธอกับเป็นพระมเหสีของพระมหากษัตริย์ (รัชกาลที่ 2) รวมทั้งเป็นพระราชมารดาของพระโอรสและพระธิดาทั้ง 4 พระองค์ของพระมหากษัตริย์ โดยทรงกระทำหน้าที่ทุกหน้าที่และทุกบทบาท ได้อย่างสมบูรณ์และสมศักดิ์ศรี จวบจนวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ.
     
  3. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    ความอาภัพของ "เจ้าจอมแว่น"

    [​IMG]

    เจ้าจอมแว่น หรือ คุณเสือ เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังมีหน้าที่อภิบาลพระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์อย่างเข้มงวด จนได้รับฉายาว่า "คุณเสือ" ตามลำดับพระยศแล้วต้องออกพระนามว่า เจ้าคุณจอมแว่น เดิมท่านเป็นชาวเวียงจันทน์ ประสูติที่เมืองพานพร้าว (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดหนองคาย) ชาวเวียงจันทน์และชาวลาวนิยมออกนามท่านว่า เจ้านางเขียวค้อม และสร้างธาตุบรรจุพระอัฐิของพระนางไว้ที่วัดนางเขียวค้อม เมืองพานพร้าว

    นางได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มาตั้งแต่ พ.ศ. 2322 ขณะยังดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เมื่อครั้งทรงเป็นแม่ทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ. 2321 และกวาดต้อนชาวลาวพร้อมทั้งทรัพย์สมบัติ กลับมายังกรุงธนบุรี อย่างไรก็ตาม ในตำนานเมืองขอนแก่นได้กล่าวถึงเรื่องราวของเจ้าคุณจอมแว่นไว้อย่างชัดเจนว่า เจ้าคุณจอมแว่น เดิมนามว่า อัญญานางคำแว่น เป็นธิดาของพระนครศรีบริรักษ์ บรมราชภักดีศรีศุภสุนทร (ศักดิ์ เสนอพระ) เจ้าเมืองขอนแก่นคนแรก และเจ้าคุณจอมยังมีศักดิ์เป็นปนัดดาในสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 (สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร) แห่งนครเวียงจันทน์ด้วย

    เดิมเจ้าคุณจอมอาศัยอยู่กับบิดาที่นครเวียงจันทน์ ตั้งแต่เมื่อครั้งบิดาทำราชการเป็น เพียเมืองแพน กรมการเมืองธุรคมหงส์สถิต และต่อมาบิดาได้เป็นเจ้าเมืองรัตนนคร ชาวจังหวัดขอนแก่นนับถือกันว่า เจ้าจอมแว่นเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งเมืองขอนแก่นหรือเมืองขามแก่น ซึ่งปัจจุบันคือจังหวัดขอนแก่นนั่นเอง

    พ.ศ. 2339 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดละเมอขณะบรรทมหลับทำให้ข้าราชบริพารตระหนกตกใจด้วยเกรงต่อพระราชอาญาทำให้เจ้าจอมคำแว่นใช้ความกล้าหาญตัดสินใจกัดนิ้วพระบาทจนทำให้รู้สึก พระองค์และตื่นบรรทม เจ้าจอมจึงได้รับความดีความชอบให้เป็นที่ “ท้าวเสือ” กำกับดูแลงานราชการฝ่ายในในราชสำนักทั้งหมด

    เจ้าจอมแว่น เป็นพระสนมเอกที่ได้มีอิทธิพลต่อราชสำนักฝ่ายในเป็นอย่างสูง จนชาววังได้ยกย่องให้เป็น “เจ้าคุณข้างใน” ถือเป็นเจ้าคุณองค์แรกในพระราชวงศ์จักรี

    จะเห็นได้ว่า “เจ้าจอมแว่น” เป็นคนที่มีความกตัญญูอย่างยิ่ง เมื่อท่านเป็นที่โปรดปรานได้รับการยกย่องและยอมรับ จนมีอำนาจราชศักดิ์ด้วยประการทั้งปวงและยิ่งใหญ่กว่าผู้ใดในราชสำนักฝ่ายในแล้ว ท่านก็มิได้ลืมวงศ์วานหว่านเครือของท่านโดยได้กราบบังคมทูลต่อรัชกาลที่ 1 ขอให้ท่านบิดาได้เป็นเจ้าเมืองขอนแก่น เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้บิดาได้เป็นใหญ่เป็นโตในแผ่นดินตามบุญวาสนา ที่บุตรสาวได้ถวายตัวรับใช้ใกล้ชิดตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ 1

    แต่ “เจ้าจอมแว่น” ก็มิได้มีพระหน่อเจ้าสืบสกุลแต่อย่างใด และ “เจ้าจอมแว่น” นั้นคงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะกระทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มีสายพระโลหิตเพื่อสืบสกุลของท่าน โดยได้มีการกระทำพิธีทางศาสนาหลายอย่างหลายประการ ดังเช่นที่ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ บันทึกว่า “กระจาดคุณแว่นพระสนมเอกที่เขาเรียกกันว่าคุณเสือ แต่งเด็กศีรษะจุกเครื่องแต่งหมดจด ถวายพระเป็นสิทธิขาดทีเดียว” โดยมีความเชื่อว่าใครอยากมีลูกให้ติดกัณฑ์เทศน์กัณฑ์กุมาร แสดงให้เห็นชัดเจนว่า เจ้าจอมแว่นนั้นคงอยากจะมีลูกมากเพียงไร

    นอกจากนี้ เจ้าจอมแว่นยังเป็นผู้มีอุปนิสัยกล้าหาญ เด็ดขาด ไม่เกรงกลัวผู้ใดและยังมีความสามารถพิเศษในการมีศิลปะในการพูดการเจรจาอย่างยอดเยี่ยมโดยเฉพาะหากพระราชวงศ์พระองค์ใดเกิดปัญหาที่ไม่สามารถจะแก้ไขได้และไม่กล้าที่จะเพ็ดทูลต่อรัชกาลที่ 1 ด้วยเกรงพระราชอาญาแล้วหากได้ไปปรึกษาขอความช่วยเหลือจาก “เจ้าจอมแว่น” แล้ว จะได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้สำเร็จได้ตลอด ทำให้รัชกาลที่ 1 ไม่ทรงพิโรธและพระราชทานอภัยโทษให้เสมอ จึงเป็นที่รักและเกรงพระทัยของพระราชวงศ์ชั้นสูงทุกพระองค์

    ในตอนที่รัชกาลที่ 2 ได้ทรงพบรักกับเจ้าฟ้าบุญรอด ซึ่งเป็นพระธิดาของพระพี่นางพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จนเกิดเรื่องทรงพระครรภ์ขึ้นมา ไม่มีผู้ใดกล้ากราบบังคมทูล แต่เจ้าจอมแว่นได้แก้ไขปัญหาให้จนสำเร็จ นอกจากนี้เจ้าจอมแว่นยังเป็นผู้ที่มีฝีมือในการทำอาหารได้ยอดเยี่ยมและมี ปฏิภาณไหวพริบในการดัดแปลงสิ่งที่มีพระราชประสงค์จะเสวยแต่หาไม่ได้ เช่นรัชกาลที่ 1 ทรงอยากเสวย “ไข่เหี้ย” แต่ฤดูกาลนั้นไม่สามารถจะหาได้ เจ้าจอมแว่นจึงประดิษฐ์เป็น “ขนมไข่เหี้ย” ขึ้นถวายและต่อมาขนมชนิดนี้เปลี่ยนเป็น “ไข่หงส์”

    และเมื่อครั้งทำบุญใหญ่ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้าจอมแว่นได้ทำน้ำยาขนมจีน เพื่อเลี้ยงพระสงฆ์ แต่เพียงผู้เดียว ด้วยเกรงว่ารสของน้ำยาอาจจะเปลี่ยนแปลงไป ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 1 สิ้นพระชนม์ เจ้าจอมแว่นยังคงมีบทบาทในราชสำนักฝ่ายใน ในพระฐานะของผู้อภิบาลพระราชโอรสของรัชกาลที่ 2 กับเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ซึ่งเจ้าฟ้าพระองค์นี้มีพระราชมารดาคือ “เจ้าทองสุก” ที่มีเชื้อสายกษัตริย์เวียงจันทน์ แต่ได้สิ้นพระชนม์ตั้งแต่เจ้าฟ้ายังทรงพระเยาว์ จึงได้รับการอภิบาลจากเจ้าจอมแว่นทั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีและพระโอรสของพระ นางทั้ง 3 พระองค์คือ เจ้าฟ้าอาภรณ์ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์และเจ้าฟ้าบัว ภายหลังเจ้าจอมแว่นได้สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2

    อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ “เจ้าจอมแว่น” จะเป็นพระสนมเอกที่รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดปรานมากเพียงไร แต่หากด้วยบุญวาสนาแห่งดวงชะตาที่สูงส่งในอำนาจราชศักดิ์ในด้านหนึ่ง แต่ไม่สามารถที่จะสมหวังในอีกด้านหนึ่งคือการมีพระหน่อเจ้าสืบสกุล ทำให้เห็นถึงรักของเจ้าจอมแว่น แม้จะยิ่งใหญ่เหนือผู้ใด แต่ก็มิได้สมปรารถนาในการมีพระราชบุตรเพื่อสืบสาย จึงต้องกลายเป็นรักที่อาภัพกับเจ้าจอมแว่นอย่างน่าเสียดายยิ่งนัก.


    บทความจากเดลินิวส์ ภาพประกอบจากเน็ต
     
  4. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    ความหึงของพระมเหสีราชินีคู่บัลลังก์รัชกาลที่ 1

    [​IMG]

    อันวิสัยของสตรีนั้น เป็นธรรมดาอยู่แล้วที่ย่อมจะต้องมีความหึงหวงอยู่ในจิตใจ ด้วยว่าเมื่อรักแล้วก็รักยิ่งนัก มีใจภักดีซื่อสัตย์ ถือเอาความรักความซื่อสัตย์ต่อชายผู้เป็นที่รักนั้นเป็นเรื่องใหญ่ยิ่งชีวิต
    แม้ว่าจะเป็นสตรีชั้นไพร่ฟ้าสามัญชนคนธรรมดา หรือเป็นสตรีผู้สูงศักดิ์ถึงชั้นพระมเหสีแห่งพระเจ้าแผ่นดิน

    ปฐมบรมราชินีพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี คือ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี หรือกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี

    สมเด็จพระบรมชนกนาถแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกในขณะนั้นทรงเป็น พระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) สังกัดกรมมหาดไทยและพระราชมารดาของพระองค์นั้นเป็นนัดดาของเจ้าพระยาอภัยราชา สมุหนายก
    แต่เดิมนั้น สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีชื่อเดิมว่า คุณนาค เป็นธิดาของเศรษฐีใหญ่แห่งบ้านอัมพวา แขวงเมืองบางช้าง ท่านบิดาของคุณนาคมีนามว่า ทอง และมารดามีนามว่า สั้น

    เล่ากันว่าเมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรแห่งเมืองราชบุรีนั้น เป็นช่วงเวลาที่ทางราชสำนักได้ส่งคนออกเสาะหากุลนารีที่งดงาม ทั้งรูปสมบัติและคุณสมบัติ เป็นธิดาของผู้มีตระกูลเพื่อนำมาถวายตัวเป็นข้าบาทบริจาริกาของพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยา และปรากฏว่าคนจากราชสำนักก็ได้มาพบเจอคุณนาคผู้งดงามทั้งรูปสมบัติและเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติอีกทั้งยังเป็นธิดาในตระกูลค่อนข้างใหญ่อีกด้วยจึงได้หมายมั่นว่ากุลนารีผู้งดงามเพียบพร้อมคนนี้แหล่ะเหมาะที่จะนำไปถวายพระเจ้าแผ่นดิน

    เมื่อได้มีการกราบถวายบังคมทูลให้กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้ทรงทราบแล้ว หลังจากนั้นไม่นานก็ได้มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งกรมมหาดไทยให้มีฆ้องตราออกไปยังหัวเมืองราชบุรี ให้ทางเจ้าเมืองนั้นได้ทำการสู่ขอธิดาของเศรษฐีทองและนางสั้น

    แต่ในตระกูลของคุณนาคนี้ เป็นตระกูลที่มีทรัพย์สมบัติมากมายพอจะให้ความสุขสบายแก่ลูกสาวเพียงพออยู่แล้ว ดังนั้น ลาภยศต่างๆ จึงไม่เป็นที่ต้องการ และอีกประการหนึ่งการที่จะส่งธิดาเข้าไปเป็นข้าบาทบริจาริกานั้นก็ย่อมเป็นธรรมดาที่หัวอกผู้เป็นพ่อเป็นแม่จะครุ่นคิดไปต่างๆ นานา ว่าถ้าได้ดีเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าแผ่นดิน ก็คงจะดีไปแต่ถ้าไม่โปรดปราน ก็คงจะน่าสงสารเพราะถึงอย่างไรก็จะต้องอยู่แต่ในวังนั้นไปตลอดชีวิต

    ด้วยความห่วงใยในความสุขทางใจของธิดา ท่านบิดามารดาของคุณนาคจึงได้นำความมาปรึกษาและวิงวอนพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเวลานั้นดำรงตำแหน่งเป็นสมุหนายก พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงได้นำความขึ้นกราบทูลพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยาว่า คุณนาคธิดาของเศรษฐีทองนั้นได้หมั้นหมายแล้วกับบุตรคนที่ 4 ของท่าน (คือพระพุทธยอดฟ้าฯ) ได้มีการทำการสู่ขอและนัดฤกษ์ดีวันดี ที่จะทำการวิวาห์แล้ว ขอให้พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานกุลนารีคนนั้นให้บุตรคนที่ 4 ของท่านด้วยเถิด

    เมื่อขุนนางมากราบทูลเช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยาก็มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานให้ตามที่ขุนนางผู้ใหญ่มากราบทูล
    ด้วยเหตุนี้เอง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเวลานั้นเป็นหลวงยกกระบัตร เจ้าเมืองราชบุรี จึงได้วิวาห์กับคุณนาค และได้ครองคู่อยู่กันอย่างมีความสุขนับแต่นั้น

    หลังจากได้วิวาห์กันแล้วเป็นช่วงเวลาที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า หลังจากนั้นพระเจ้าตากสินได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ และย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามากรุงธนบุรี เมื่อนั้นเองที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็ได้ย้ายครอบครัวจากอัมพวามาอยู่ที่กรุงธนบุรีด้วย และได้รับราชการเป็นขุนนางที่พระเจ้าตากสินโปรดปรานเป็นอันมากได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นด้วยความดีความชอบจนกระทั่งได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นจอมทัพผู้เกรียงไกร ที่นำทัพไทยเข้าสู้กับพม่าจนได้ชัยชนะหลายต่อหลายครั้ง สามารถป้องกันเอกราชแห่งชาติแห่งแผ่นดินไว้ได้เป็นที่รักและเป็นที่เคารพนับถือแก่ผู้คนทั่วไปเป็นอันมาก

    เมื่อพระสวามีเจริญพระยศขึ้นเป็นขุนนางใหญ่ซึ่งมีเครื่องยศเจ้าต่างกรมนี้ กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ (คุณนาค) ก็ได้เป็นท่านผู้หญิงเจริญยศถาบรรดาศักดิ์ตามพระฐานะของพระสวามีด้วย

    ตลอดเวลาเกือบสิบปีเต็ม ที่ได้ครองคู่กันมาเป็นเวลาช้านานนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ เป็นชายาเอกอย่างมั่นคงเสมอมาทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 10 พระองค์ในช่วงเวลาก่อนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจะเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ ไม่ได้ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติจากพระสนมเจ้าจอมอื่นๆ เลย

    ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงได้มีพระราชธิดาอีกพระองค์หนึ่งจากพระสนมเจ้าจอมในปี พ.ศ.2326 เป็นปีแรก และนับจากนั้นจึงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติจากเจ้าจอมมารดาอีกหลายท่าน ในสมัยก่อนนั้นเป็นธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาเสนาอำมาตย์ข้าราชการ ขุนนางผู้ใหญ่ในราชสำนัก ว่าสามารถที่จะมีหม่อมห้ามหรือนางห้ามได้นอกจากมีชายาเอกแล้ว

    เรื่องราวความหึงหวงของกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์นั้นจะเคยเกิดขึ้นบ้างแล้วกี่ครั้งกี่คราก็มิปรากฏหลักฐานแต่อย่างใด ครั้งที่ปรากฏหลักฐานเป็นเรื่องที่เลื่องลือกันไปทั่วถึงพิษแห่งรักแรงแห่งความหึงหวงนั้น ก็คือเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้บาทบริจาริกาคนใหม่มาจากเวียงจันทน์ คือ เจ้าจอมแว่น หรือที่ในสมัยรัชกาลที่ 1 ชาววังนิยมออกนามว่า คุณเสือ นั่นเอง

    เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกในขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้นำทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์และได้เชิญพระแก้วมรกตมายังกรุงธนบุรี ในคราวนั้นเองที่พระองค์ได้สตรีชาวเวียงจันทน์ผู้งดงาม คล่องแคล่วคนหนึ่งมาเป็นบาทบริจาริกา เล่ากันว่าเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เจ้าจอมแว่นมาแรกๆ นั้นก็เป็นเหตุให้กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ซึ่งในตอนนั้นยังเป็นท่านผู้หญิงนาค เกิดความไม่พอใจถึงกับมีการทะเลาะเบาะแว้งกับพระสวามีอยู่บ่อยครั้งด้วยกัน

    ด้วยความที่ทรงถือว่าพระนางเป็นชายาเอกพูดตามประสาชาวบ้านธรรมดาก็คือเป็นภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากที่ได้ร่วมชีวิตผ่านกาลเวลาผ่านยุคสมัยกันมาเป็นเวลาเนิ่นนาน แม้พระสวามีจะได้มีบาทบริจาริกาหรือนางห้ามเพิ่มขึ้นอีกก็อาจจะยังพอทำใจได้ แต่ถ้าสตรีใดที่ได้เป็นที่รักที่โปรดปรานของพระสวามีเป็นพิเศษก็ย่อมจะมิเป็นที่ทำใจให้นิ่งเฉยได้นัก ความน้อยใจที่บังเกิดขึ้นก็ได้กลายเป็นความหึงหวงเป็นธรรมดานั่นเอง

    หลังจากครั้งหนึ่งที่มีปากเสียงกับพระสวามีแล้ว กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ให้รู้สึกอัดอั้น แค้นใจ เคืองใจเป็นยิ่งนัก และในดึกดื่นค่ำคืนนั้นเอง กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ก็ได้ยืนนิ่งอยู่ในความมืดนอกชานเรือนเมื่อทอดตามองไปยังเรือนหลังใหญ่ อันเป็นที่พำนักของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ผู้เป็นสวามี ก็ให้ยิ่งน้อยใจและแค้นเคืองใจมิรู้สิ้น

    กาลเวลาผ่านไปไม่รู้นานเท่าใดรู้สึกองค์อีกครั้งหนึ่งเมื่อเห็นเจ้าจอมแว่น สตรีสาวงามชาวเวียงจันทน์ผู้อ่อนเยาว์กว่านักเดินออกมาจากเรือนหลังใหญ่นั้น ครั้นเมื่อเจ้าจอมแว่นเดินมาถึงบริเวณที่มืดที่กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ดักรอคอยอยู่นั้น ดุ้นแสมในมือของกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ก็ถูกเงื้อขึ้นและฟาดเต็มแรงที่ศีรษะของเจ้าจอมแว่น สตรีสาวงามชาวเวียงจันทน์ถึงกับร้องลั่นเอามือกุมศีรษะด้วยความเจ็บปวดที่ถูกฟาดอย่างแรงด้วยดุ้นแสมจนกระทั่งโลหิตอาบศีรษะ

    เมื่อเจ้าจอมแว่นนำความมาฟ้องต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์ก็ทรงกริ้วนัก ฉวยดาบจะเงื้อง่าเข้าฟันกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ เรื่องราวในตอนนี้ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านได้ประพันธ์ไว้ตอนหนึ่งในหนังสือเรื่อง โครงกระดูกในตู้ ดังจะขอเชิญความตอนนั้นมาดังนี้

    “แต่สมเด็จพระอมรินทราฯ นั้นท่านเป็นภรรยาขี้หึง ความหึงของท่านนั้นได้ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อก่อนปราบดาภิเษกทรงมีบาทบริจาริกาน้อยที่สุดแตกต่างกว่าผู้มีบุญวาสนาอื่นๆ ในสมัยนั้น พระราชโอรส ธิดา ที่ประสูตินอกเศวตฉัตรนั้นเป็นพระราชโอรส ธิดา ในสมเด็จพระอมรินทราฯ ทุกพระองค์ ยกเว้นพระองค์เจ้าชายกลางซึ่งเป็นพระราชโอรสในเจ้าจอมมารดาภีมสวน และเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระโกรธใหญ่หลวงเพียงครั้งเดียวที่เล่ากันสืบต่อมา ก็เนื่องมาจากความหึงของสมเด็จพระอมรินทราฯ อีกเช่นกัน เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ตีได้กรุงเวียงจันทน์และเชิญพระแก้วมรกตมายังกรุงธนบุรีนั้น ท่านได้นางเชลยชาวเวียงจันทน์ชื่อแว่นมาเป็นอนุภรรยาคนหนึ่งเป็นที่โปรดปรานมาก และแม้แต่เมื่อปราบดาภิเษกแล้วก็ยังโปรดปรานใกล้ชิดมากไปจนตลอดรัชกาล เจ้าจอมแว่นนี้เจ้านายลูกเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงกลัวเกรงกันมาก จนได้นามสมญาว่าคุณเสือ เมื่อเจ้าจอมแว่นมาอยู่ในทำเนียบสมเด็จเจ้าพระยาฯ แล้ว ท่านผู้หญิงก็หึงหวงมาก มีปากเสียงกับสมเด็จเจ้าพระยาฯ ด้วยเรื่องคุณแว่นนี้บ่อยๆ จนคืนวันหนึ่งท่านผู้หญิงถือดุ้นแสมไปยืนคอยดักอยู่ในที่มืดบนนอกชานเรือน พอคุณแว่นเดินออกมาจากเรือนหลังใหญ่อันเป็นที่อยู่ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ท่านผู้หญิงก็เอาดุ้นแสมตีหัว คุณแว่นก็ร้องขึ้นว่า “เจ้าคุณ เจ้าขา คุณหญิงตีหัวดิฉัน” สมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็โกรธยิ่งนัก ฉวยได้ดาบออกจากเรือนจะมาฟันท่านผู้หญิง ฝ่ายท่านผู้หญิงก็วิ่งเข้าเรือนที่ท่านอยู่แล้วปิดประตูลั่นดานไว้ สมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็เอาดาบฟันประตูโครมๆ ฯลฯ”

    อันเรื่องราวแห่งความหึงหวงนั้น แม้จะเกิดขึ้นแล้วและเป็นที่กริ้วโกรธของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แต่เมื่อเวลาผ่านไปความกริ้วโกรธนั้นก็ได้จางคลายหายไป เนื่องจากเพราะความรักความผูกพันนั้นมีสายใยลึกซึ้งยิ่งกว่า อีกทั้งอารมณ์หึงของสตรีนั้นพระองค์ก็ทรงตระหนักดีว่าเป็นธรรมชาติของสตรีเป็นธรรมดาอยู่แล้วมิได้ทรงถือสาหาความแต่อย่างใด ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อพระองค์เสด็จปราบดาภิเษกสถาปนาพระราชวงศ์จักรีและขึ้นเสวยราชย์เป็นปฐมกษัตริย์รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้น พระองค์ได้ทรงพระราชทานเกียรติยศอันสูงส่งแก่พระอัครมเหสี คือได้สถาปนาเฉลิมพระยศท่านผู้หญิงนาคขึ้นเป็น สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระราชทานพระเกียรติยศแห่งราชินีคู่ราชบัลลังก์ให้แก่พระอัครมเหสีอย่างบริบูรณ์

    บรรดาบาทบริจาริกาก็ได้เป็นเจ้าจอมและเจ้าจอมมารดา แม้แต่เจ้าจอมแว่นผู้เป็นพระสนมที่โปรดปราน พระองค์มิได้สถาปนาให้มีพระยศสูงขึ้นแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่โดยพระราชอำนาจแห่งองค์พระเจ้าแผ่นดินนั้นย่อมทรงพึงกระทำได้ แต่พระองค์ก็ไม่ได้ทรงเฉลิมพระยศหรือสถาปนาสนมเจ้าจอมใดให้มีตำแหน่งสูงขึ้นทัดเทียมหรือเป็นรองพระอัครมเหสีเลยแม้แต่น้อย

    แต่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี เป็นสตรีที่มีพระทัยเด็ดเดี่ยวนัก เมื่อทรงน้อยพระทัยในครั้งกาลก่อนแล้วก็ยังคงปักพระทัยในความคิดที่เคยผ่านมาจึงมิได้เสด็จตามเข้ามาประทับในพระบรมมหาราชวังใหม่ แต่กลับสมัครพระทัยที่จะประทับอยู่ ณ เคหสถานแห่งเดิมพระนางทรงตระหนักดีว่าเมื่อพระราชสวามีขึ้นเป็นองค์พระเจ้าแผ่นดินแล้วก็ยิ่งจะต้องมีพระสนมเจ้าจอมตามธรรมเนียมราชประเพณีอีกมิใช่น้อย อาจจะเป็นที่บาดพระเนตรบาดพระทัยบ้างแน่นอน มีเพียงบางครั้งบางคราวเท่านั้นที่พระนางจะเสด็จเข้ามาในวังหลวงเพื่อทรงเยี่ยมพระราชโอรสและพระราชธิดา แต่พระนางมิเคยทรงประทับค้างแรมในวังหลวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว

    สำหรับเจ้าจอมแว่นหรือคุณเสือนั้น แม้จะเคยถูกพระอัครมเหสีตีศีรษะด้วยความหึงหวงแต่เจ้าจอมแว่นก็ไม่ได้ผูกใจเจ็บแต่อย่างใด ด้วยเพราะตระหนักดีว่าตนเป็นเพียงสนมเจ้าจอมผู้มาทีหลังแต่พระอัครมเหสีนั้นเป็นคู่ทุกข์คู่ยากของพระเจ้าอยู่หัวมาแต่เก่าก่อน แม้เจ้าจอมแว่นจะเป็นคนที่ดุและเด็ดขาด จนชาววังทั้งปวงออกนามว่าคุณเสือนั้น แต่สำหรับพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ที่ประสูติจากสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีแล้วนั้น คุณแว่นจะจงรักภักดียิ่งนัก

    แม้แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในวัยที่ยังทรงพระเยาว์ก็ยังสนิทกับเจ้าจอมแว่นเป็นอันดีได้ตรัสเรียก “พี่แว่น” อยู่เนืองๆ เจ้าจอมแว่นนั้นจะมีบุญบารมีมากได้เป็นพระสนมเอกที่โปรดปรานของพระเจ้าแผ่นดิน แต่ก็อาภัพนักเพราะไม่ได้ประสูติพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเลย


    จาก เรื่องเล่าชาววัง ภาพประกอบจากเน็ต
     
  5. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    เจ้าศรีพรหมา สตรีผู้กล้าปฏิเสธความรักจากพระเจ้าอยู่หัว

    เจ้าศรีพรหมาเกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2431 มีพระนามเดิมว่า เจ้าศรี เป็นพระธิดาในพระเจ้าสุริยะพงศ์ผริตเดช เจ้าประเทศราชผู้ครองนครน่าน กับหม่อมศรีคำ (ชาวเวียงจันทน์) มีเชษฐาและภคินีร่วมพระมารดา 5 องค์ เป็นโอรส 3 องค์ (สิ้นชนม์ชีพหมด) ธิดา 2 องค์ คือ เจ้าบัวแก้ว ณ น่าน และเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน (ซึ่งเป็นองค์สุดท้อง)

    พระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรักษ์) และคุณหญิงอุ๊น ภริยา ได้ทูลขอเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน เป็นบุตรบุญธรรมเมื่อชันษาได้ 3 ปีเศษ ตามพระบิดาและมารดาบุญธรรมไปกรุงเทพ เข้าศึกษาที่โรงเรียนสุนันทาลัย เป็นเวลา 5 เดือน และโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) 8 เดือน

    ปี พ.ศ. 2442 พระยามหิบาลฯ และภริยา ต้องเดินทางไปรับราชการที่ประเทศรัสเซีย จึงต้องถวายตัวเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน ไว้ในพระอุปการะสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 5 เจ้าศรีพรหมา ณ น่าน จึงใช้ชีวิตและเรียนหนังสืออยู่ในวังกับเจ้านายในพระบรมราชวงศ์ เป็นเวลา 3 ปี ต่อจากนั้นจึงตามพระยามหิบาลฯ และครอบครัวไปอยู่ที่ประเทศรัสเซีย และประเทศอังกฤษ ตามลำดับ

    หลังจากกลับจากต่างประเทศ ก็กลับเข้ารับราชการ ในพระราชสำนักของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในหน้าที่นางสนองพระโอษฐ์ ในบางครั้งยังทำหน้าที่เป็นล่ามติดต่อกับชาวต่างประเทศ

    มีเรื่องเล่าว่า "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน ทรงพึงพอพระราชหฤทัย ถึงกับทรงออกพระโอษฐ์ ตรัสขอเจ้าศรีพรหมาด้วยพระองค์เอง ให้รับราชการในตำแหน่งเจ้าจอม เจ้าศรีพรหมาได้กราบบังคมทูลพระกรุณาปฏิเสธเป็นภาษาอังกฤษว่า ท่านเคารพพระองค์ท่าน ในฐานะพระเจ้าอยู่หัว แต่มิได้รักใคร่พระองค์ในทางชู้สาว"

    กราบบังคมทูลปฏิเสธ โดยเลี่ยงไม่ใช้ภาษาไทย แต่กลับใช้ภาษาอังกฤษ เป็นการง่ายต่อการกราบบังคมทูลปฏิเสธ และไม่ทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท รัชกาลที่ 5 ก็ทรงเมตตาให้เป็นไปตามอัธยาศัย เรื่องความกล้าของเจ้าศรีพรหมาครั้งนี้ และพระมหากรุณาของรัชกาลที่ 5 ที่มีต่อเจ้าศรีพรหมาเสมอมา มิทรงได้ถือโทษ ยังพระราชทานเมตตาต่อเจ้าศรีพรหมาเสมอมาตราบจนเสด็จสวรรคต

    ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนามเจ้าศรี เป็น "เจ้าศรีพรหมา" ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ทรงขอเจ้าศรีพรหมาให้อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เจ้าศรีพรหมาจึงมีฐานะเป็น “หม่อมศรีพรหมา” มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน คือ หม่อมราชวงศ์อนุพร และหม่อมราชวงศ์เพ็ญศรี

    หม่อมเจ้าสิทธิพร ซึ่งรับราชการในตำแหน่งอธิบดี ในกระทรวงเกษตร ถวายบังคมลาออกจากราชการซึ่งก็ถูกห้ามปรามอย่างมาก ทั้งสองพระองค์ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อยู่ที่บางเบิด (ปัจจุบันคือตำบลทรายทอง อำเภอบางสะพานน้อย) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เริ่มทำการเกษตรบนที่ดินของหม่อมเจ้าศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา ที่ได้รับเป็นมรดกจากท่านเจ้าคุณมหิบาลฯ โดยปลูกผักสวนครัว พืชไร่ เลี้ยงไก่ สุกรพันธุ์เนื้อ และโคนม

    และต่อมาขยายกิจการเป็นฟาร์ม มีผลผลิตประสบความสำเร็จครั้งแรกของไทย ฟาร์มนี้ยังเป็นสถานีทดลองทางการเกษตรที่มีผลต่อ กสิกรรมในวงกว้าง เป็นผลทำให้หม่อมเจ้าสิทธิพรได้รับยกย่องว่า เป็นบิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่ของไทย

    ทั้งสองท่านได้ออกหนังสือ “กสิกร” มีนักวิชาการ ผู้รู้ เสนอบทความต่างๆ เกี่ยวกับการเกษตรมากมาย นอกจากนี้ยังมีคอลัมน์เกี่ยวกับการทำอาหาร และการถนอมอาหาร โดยหม่อม เจ้าศรีพรหมา เช่น การคั้นน้ำผลไม้ การหมักดอง การทำแฮม และเบคอน เป็นต้น ซึ่งหม่อม เจ้าศรีพรหมานับเป็นคนไทยคนแรกที่ทำหมูแฮมและเบคอนได้ในประเทศไทยในสมัยที่ยังไม่มีตู้เย็น

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้หม่อมเจ้าสิทธิพรกลับเข้ามารับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมตรวจกสิกรรม กระทรวงเกษตร เจ้าศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยาจึงต้องติดตามมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ด้วย ซึ่งในวาระที่หม่อมเจ้าสิทธิพรดำรงตำแหน่งอยู่ กรมตรวจกสิกรรมสามารถส่งข้าวเข้าประกวดได้รางวัลชนะเลิศเป็นที่ 1 ของโลก

    เจ้าศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2521 รวมอายุได้ 90 ปีเศษ อัฐิของท่านได้นำมาบรรจุไว้ที่ ณ วัดชนะสงครามร่วมกับพระอัฐิของหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร



    [​IMG]

    ภาพถ่ายเจ้าศรีพรหมาที่ รัชกาลที่ 5 ทรงฉายด้วยพระองค์เองและเก็บไว้ที่ห้องบรรทมตลอดมา

    ข้อมูลจากวิกิพิเดีย
     
  6. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    เจ้าจอมผู้ดื่มน้ำยาล้างรูปหมายทำลายชีวิตตนเอง

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=gpI3R3suVy8]กำไลทองคล้องใจ ของเจ้าจอมสดับ - YouTube[/ame]

    ความรักที่มั่นคงของเจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ

    เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2433 เป็นเจ้าจอมคนรองสุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากเข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2449 ในวันที่มีงานเฉลิมพระที่นั่ง พระองค์ท่านทรงโปรดเกล้าให้มีละครเรื่องเงาะป่า ซึ่งเจ้าจอม ม.ร.ว. สดับเป็นผู้ร้องประจำโรง เมื่อละครเลิกเจ้าจอม ม.ร.ว. สดับได้ตามเสด็จไปบนพระที่นั่ง และได้รับพระราชทาน "กำไลมาศ" เป็นกำไลทองคำแท้จากบางสะพาน หนักสี่บาท ทำเป็นรูปตาปูโบราณสองดอกไขว้กัน ปลายตาปูเป็นดอกเดียวกัน หากมองดีๆตาปูโบราณจะเป็นอักษรตัว s และอักษรตัว c (มาจากชื่อของเจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ และ จุฬาลงกรณ์ ตามลำดับ) นอกจากนั้นยังได้มีบทกลอนพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสลักไว้ว่า...



    กำไลมาศชาตินพคุณแท้ ไม่ปรวนแปรเป็นอื่นยั่งยืนสี

    เหมือนใจตรงคงคำร่ำพาที จะร้ายดีขอให้เห็นเป็นเสี่ยงทาย

    ตาปูทองสองดอกตอกสลัก ตรึงความรักรัดไว้อย่าให้หาย

    แม้รักร่วมสวมใส่ไว้ติดกาย เมื่อใดวายสวาสดิ์วอดจึงถอดเอย


    [​IMG]

    ในคราวนั้นเองที่พระองค์ท่านได้พระราชทานกำไลมาศแก่เจ้าจอมจอม ม.ร.ว. สดับ ทรงสวมให้ที่ข้อมือเจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ และทรงบีบให้ชิดกันด้วยพระหัตถ์เอง รุ่งขึ้นจึงรับสั่งให้กรมหลวงสรรพศาสตร์พาช่างทองฝรั่งชาวเยอรมันชื่อนายแกรเลิตนำเครื่องมือมาบีบให้เรียบร้อย เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับมีความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณนี้มากนัก ถึงกับบันทึกเอาไว้ว่า "ในวันเฉลิมพระที่นั่งนี้ทรงพระมหากรุณาสวมกำไลทองรูปตาปูพระราชทานข้าพเจ้า ทรงสวมโดยไม่มีเครื่องมือ บีบด้วยพระหัตถ์ รุ่งขึ้นจึงต้องรับสั่งให้กรมหลวงสรรพศาสตร์พาช่างทองแกรเลิตฝรั่งชาติเยอรมันมานำเครื่องมือมาบีบให้เรียบร้อย" ว่ากันว่าวันนี้นี่เองเป็นวันที่เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับมีความสุขมากที่สุดในชีวิต

    ..และวันที่เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับมีความทุกข์มากที่สุดคือวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป เมื่อปีพ.ศ. 2450 เนื่องจากก่อนที่พระองค์ท่านจะเสด็จพระราชดำเนินนั้น มีพระราชดำริที่จะให้เจ้าจอมสดับตามเสด็จไปยุโรปด้วยในฐานะข้าหลวง ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตตินารี ถึงกับสอนภาษาอังกฤษพระราชทานเองก่อนเสวยพระกระยาหารทุกคืน แต่มีเหตุขัดข้องจึงมิอาจเป็นไปตามพระราชดำรินั้นได้ แม้กระนั้นพระองค์ท่านก็ได้มีพระราชหัตเลขามาถึงทุกสัปดาห์ เมื่อได้รับลายพระราชหัตถเลขาแล้วเจ้าจอม ม.ร.ว. สดับก็แสดงอาการดีใจออกมาทุกครั้ง แต่อาการนั้นทำให้เกิดความรู้สึกริษยาจากคนรอบข้างโดยที่ท่านไม่รู้ตัว ทำให้พระวิมาดาเธอฯในฐานะผู้ปกครองจึงทรงต้องเข้มงวดกวดขันกิริยาอาการตลอดไปถึงข้อความในจดหมายด้วยเกรงว่าจะเขียนกราบทูลในเรื่องไม่สมควรไป

    [​IMG]

    ครั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับถึงพระนครก็ทรงซื้อเครื่องเพชรมาพระราชทาน โปรดให้แต่งเครื่องเพชรแล้วให้ช่างถ่ายรูปชาวต่างชาติมาถ่ายรูป โดยทรงพระกรุณาจัดท่าพระราชทาน และโปรดพระราชทานตู้ที่ระลึก ทั้งยังทรงจัดของตั้งแต่งในตู้นั้นอีกด้วย ด้วยความที่เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับเป็นที่โปรดปรานอย่างมาก นอกจากจะได้รับพระราชทานสิ่งของมีค่าต่างๆแล้ว พระองค์ท่านทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ ขึ้นเป็นพระสนมเอก อันเป็นตำแหน่งที่แม้เจ้าจอมมารดาบางท่านรับราชการมาช้านานยังไม่ได้รับพระราชทาน แต่ท่านซึ่งเป็นเพียงเด็กสาวรุ่น และพึ่งเข้ามารับราชการไม่นานนักกลับได้รับพระเมตตาไว้ในตำแหน่งที่สูงถึงเพียงนี้ ยิ่งก่อให้เกิดความริษยาจากคนรอบข้าง ด้วยวัยเพียง 17 ปี ท่านจึงได้เล่าถึงความรู้สึกครั้งนั้นว่า "เหลียวไปพบแต่ศตรู คุณจอมนั้นส่อเสียดว่าอย่างนั้น คุณจอมนี้ว่าอย่างนี้ ตรองดูทีหรือข้าพเจ้าจะย่อยยับแค่ไหน" ด้วยความที่เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับยังอายุน้อย บวกกับความคับแค้นใจ ทำให้ขาดความยั้งคิด ดื่มน้ำยาล้างรูปหมายจะทำลายชีวิตตนเอง แต่แพทย์ประจำพระองค์ช่วยชีวิตไว้ได้ทัน

    ครั้นเมื่อเจ้าจอม ม.ร.ว. สดับมีอายุได้ 20 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับมีความทุกข์ และเศร้าโศกอย่างยิ่ง ท่านได้กล่าวไว้ว่า "ใจคิดจะเสียสละได้ทุกอย่าง จะอวัยวะหรือเลือดเนื้อ หรือชีวิตถ้าเสด็จกลับคืนมาได้ ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นใจที่คิดแน่วแน่ว่าตายแทนได้ไม่ใช่แค่พูดเพราะๆ...คุณจอมเชื้อเอาผ้าเช็ดหน้าผืนหนึ่งมาให้ข้าพเจ้า บอกว่าท่านได้ประทานไว้ซับพระบาท ข้าพเจ้าจึงเอาผ้าที่ซับพระบาทนั้นแล้วพันมวยผมไว้ แล้วก็นั่งร้องไห้กันต่อไปอีก" นั่นคือครั้งสุดท้ายที่เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับได้มีโอกาสสนองพระเดชพระคุณด้วยการเป็นต้นเสียงนางร้องไห้หน้าพระบรมศพ

    ด้วยความที่ครานั้นเจ้าจอม ม.ร.ว. สดับผู้เป็นหญิงที่จัดว่างามนัก และมีสมบัติร่ำรวยมีอายุเพียง 20 ปี ทำให้เป็นที่จับตามองจากคนรอบข้างว่าจะสามารถครองตัวครองใจเป็นหม้ายได้ต่อไปตลอดหรือไม่ ซ้ำยังมีคนนินทาว่าร้ายอีกตามเคยว่าท่านคงจะเริ่มชีวิตคู่กับชายอื่นในอีกไม่นาน ประกอบกับครั้งหนึ่งมีพระยาข้าราชบริพารหนุ่มในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไปเยี่ยมเยียนด้วยกิจธุระธรรมดาทำให้ข่าวลือนี้หนาหูมากขึ้น เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ มีความเดือดร้อนใจมากนักจึงตัดสินใจถวายคืนเครื่องเพชรทั้งหลายที่ได้รับพระราชทานมาแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯจนหมดสิ้นเพื่อที่จะได้ไม่ระคายเคืองถึงพระยุคลบาทว่าท่านอาจจะนำเครื่องเพชรพระราชทานตกไปเป็นของชายอื่น สมเด็จฯก็ได้ทรงรับไว้แล้วโปรดเกล้าฯให้นำไปขายที่ยุโรป แล้วนำเงินมาสมทบทุนสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทั้งสิ้น จากนั้นเจ้าจอม ม.ร.ว. สดับก็สละทางโลกเข้าบวชชีเพื่อถือเป็นพระราชกุศลอีกด้วย

    สิ่งที่เหลือไว้เพียงอย่างเดียว...กำไลมาศ...ที่เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ ใส่ติดกายไม่เคยถอดดั่งคำกลอนพระราชนิพนธ์ที่สลักเอาไว้บนกำไลทอง ตั้งแต่วันนั้น...วันแรกที่กำไลทองคล้องใจนี้สวมใส่อยู่บนข้อมือ จวบจนวันที่ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2526

    หลังจากที่เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับได้ถึงแก่อนิจกรรม ทายาทของท่านได้ถวายกำไลมาศพระราชทานคืนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถในรัชกาลปัจจุบัน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เก็บรักษาไว้ ณ พระที่นั่งวิมานเมฆ สถานที่ซึ่งเจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ ท่านเคยถวายการรับใช้แต่กาลก่อน...


    ข้อมูลจาก unigang.com ประวัติศาสตร์ ความรักที่มั่นคงของ เจ้าจอม ม.ร.ว.สดับ
     
  7. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    คลีโอพัตราแห่งล้านนา "นางพญาอั้วเชียงแสน"

    คงไม่มีตำนานรักใดจะสร้างความอมตะยิ่งไปกว่ารักสามเส้าของ "นางพญาอั้วเชียงแสน" ราชินีแห่งแคว้นพะเยา นี้อีกแล้ว

    เป็นพิศวาสนาฏกรรมที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน ไม่ต่างไปจากโศลกรักของ "จักรพรรดินีคลีโอพัตรา" เท่าใดนัก

    เหตุเพราะชู้รักของนางอั้วเชียงแสน เป็นถึงกษัตริย์ที่ียิ่งใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งของกรุงสุโขทัย นั่นคือพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

    ในขณะที่พระนางคลีโอพัตราแห่งอียิปต์ ก็ตกอยู่ในฐานะชู้รักกับคนดังระดับโลก จูเลียตซีซาร์แห่งกรุงโรม


    [​IMG]

    จากพงศาวดารตำนานที่กล่าวขาน เรื่องรักที่เร้นลับ ซับซ้อนซ่อนเงื่อนงำของกษัตริย์ชาติไทยในอดีต สมัยกรุงสุโขทัยที่ทรงเป็นพระสหายสนิทร่วมสำนักของพระอาจารย์เดียวกัน 3 พระองค์ คือ

    1. พ่อขุนรามคำแหง แห่งกรุงสุโขทัย

    2. พ่อขุนเม็งราย แห่งอาณาจักรล้านนา

    3. พ่อขุนงำเมือง แห่งเมืองพะเยา

    เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดเรื่องราวในครั้งนั้นได้มีอยู่ว่า พ่อขุนรามคำแหงได้มีพระประสงค์จะทรงไปเยี่ยมเยียน พ่อขุนงำเมืองแห่งเมืองพะเยา ตามคำเชื้อเชิญด้วยความหวังที่ทรงตั้งพระทัยจะไปเชื่อมสายสัมพันธ์พี่น้องเผ่าไทยด้วยกัน โดยก่อนเดินทางโหรหลวงได้ทำนายทายทักเตือนว่า การเดินทางครั้งนี้จะเกิดเรื่องราวและปัญหาจากเหตุแห่งรัก

    พ่อขุนรามคำแหงทรงมีคำตอบให้กับโหรหลวงผู้ทำนายว่า ขณะนั้นท่านเองก็ทรงมีลูกเมียมากมายอยู่แล้วและคงไม่อยากมีรักที่สร้างปัญหาความเดือดร้อนให้อีกอย่างแน่นอน จากนั้นจึงโปรดให้โหรหลวงคำนวณฤกษ์ยามการเดินทางเพื่อไปสานสร้างสัมพันธไมตรีกับพระสหายของท่านที่เมืองพะเยา

    พ่อขุนรามคำแหง ได้เดินทางไปตามลำน้ำยม เมื่อถึงเมืองสรองจึงเปลี่ยนเป็นเดินบกจนถึงเมืองพะเยา โดยพ่อขุนงำเมืองผู้เป็นพระสหาย ได้จัดเตรียมการต้อนรับไว้อย่างยิ่งใหญ่ตระการตายิ่งนัก และเมื่อนางอั้วเชียงแสน ชายาของพ่อขุนงำเมือง ซึ่งเป็นหญิงที่มีความงดงามอย่างยิ่ง ได้ปรากฏกายขึ้นทำให้พระทัยของพระองค์ดุจดั่งต้องศรรักเสียบปักในพระอุระฉับพลันทันที ทรง “หลงรัก” นางอั้วเชียงแสน ชายาของพระสหายของพระองค์เอง และในคืนวันหนึ่งระหว่างที่ทรงประทับที่เมืองพะเยา ได้เกิดเหตุเรื่องราวความพิศวาสระหว่างพ่อขุนรามคำแหงกับนางอั้วเชียงแสน เนื่องจากท่านขุนวังของเมืองพะเยาที่เป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมืองและเป็นผู้มีความจงรักภักดีอย่างสูงสุด ได้สืบสาวราวเรื่องค้นหาความจริงที่มีผู้คนพบเห็นเพียงแค่ภาพยามค่ำคืนมืดสลัวที่ทั้ง 2 พระองค์ใกล้ชิดติดพันกัน แต่ไม่มี “ภาพอันเกิดจากเหตุอื่นที่ก้าวล่วงไปมากกว่านั้น” และถ้าพ่อขุนงำเมืองทรงเป็นผู้ที่ไม่มีใจหนักแน่นเกิดความหึงหวงขาดการยับยั้งชั่งใจด้วยเมตตาธรรมและขันติธรรมอันสูงส่ง ที่มีต่อพระสหายและชายาอาจเกิดเหตุร้ายลุกลามใหญ่โต กลายเป็น “มหันตภัย” ให้เกิดการรบราฆ่าฟันในระหว่างคนไทยด้วยกันเอง

    ทำให้เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ระหว่างเพื่อนเก่ากับเมียรัก ได้กลายเป็นปัญหา “รักสามเส้า” จนพ่อขุนงำเมืองต้องเชิญ พ่อขุนเม็งราย พระสหายให้เข้ามาเป็นตัวกลางในการคลี่คลายปัญหาให้ยุติโดยเร็ว ทั้งนี้ พ่อขุนรามคำแหงทรงยอมรับว่าได้พบและกอดรัดใกล้ชิดนางจริง แต่มิได้มีเหตุมากไปกว่านั้น เพราะยังรำลึกถึงคำสาบานที่ได้ให้ไว้ต่อกันเมื่อครั้งยังเป็นศิษย์พระฤาษีร่วมกันตอนเป็นหนุ่ม ดังนั้นพ่อขุนเม็งรายจึงได้ให้พ่อขุนรามคำแหงทรงกล่าวคำสาบานว่า เรื่องที่เกิดทั้งหมดเป็นความจริงทุกประการ

    ด้วยเหตุนี้ เพื่อมิให้เรื่องนี้กลายเป็นปัญหาไม่รู้จบ จึงขอให้ทั้งสามได้กระทำสัตย์สาบานอีกครั้งหนึ่ง ณ ริมฝั่งแม่น้ำอิงแห่งขุนภู โดยพ่อขุนทั้งสามอันมี พ่อขุนเม็งราย พ่อขุนงำเมือง และพ่อขุนรามคำแหง มานั่งเคียงกันหลั่งน้ำเป็นสักขีพยานว่า ตั้งแต่บัดนี้และต่อไปภายหน้าทั้งสามท่านจะร่วมรับ น้ำสาบานรักกันเป็นน้ำมิตรต่อกัน มั่นคงชั่วกัลปาวสาน

    นับได้ว่า ความรักอันเกิดจากความเสน่หาในหญิงงามนั้น มิได้สามารถทำลายมิตรภาพที่ยืนยงของความเป็นพระสหายของทั้ง 3 กษัตริย์ไทยในอดีตได้และหาก ความพิศวาส ได้เกิดขึ้นแล้วแปรเปลี่ยนเป็น พิษร้าย ทำลายน้ำมิตรแห่งคำสาบาน ซึ่งเหตุการณ์ของประวัติศาสตร์ไทยคงจะเปลี่ยนไป แสดงให้เห็นถึง ความรักที่ยิ่งใหญ่ในความรักเชื้อชาติเผ่าไทยเหนือกว่าความรัก ความเสน่หา ในหญิงใดก็ไม่สามารถเปรียบความรักชาติได้

    ทั้งนี้ เมื่อได้พิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่เป็น ’เกร็ดประวัติศาสตร์“ ที่สืบสานเป็น ตำนาน หรือ นิทาน หรือพงศาวดาร อันเป็นที่มาของเรื่องเล่าที่เป็นประวัติศาสตร์แบบกระซิบ นินทา ซ่อนเงื่อน โดยเฉพาะเรื่องแนวรักพิศวาสแบบพิสดาร อย่างกรณีของพ่อขุนรามคำแหงกับนางอั้วเชียงแสนนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่เพียงใด ไม่มีผู้ใดให้คำยืนยันได้เลย พื้นฐานของความจริงนั้นแทบจะไม่มีเอกสารหรือข้อสันนิษฐานที่เป็นหลักฐานแน่ชัดอย่างใดทั้งสิ้น

    อย่างไรก็ตาม เหนือสิ่งอื่นใดในความรักของพระสหายทั้งสามพระองค์นั้น มีความเข้าใจ ความมีน้ำใจ การให้อภัยโยงใยเป็นสายสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นและมั่นคง อย่างน่าประทับใจและชื่นชมยกย่องยิ่งนัก โดยเฉพาะความเป็น ’เพื่อนตายสหายแท้“ ที่ไม่มีสิ่งใดจะมาทำลาย ความรักระหว่างเพื่อนกับเพื่อนที่เชื่อมต่อกันบนภารกิจที่ยิ่งใหญ่ของการกู้ชาติไทยร่วมกัน ที่ต้องเสียสละ ’ความรักส่วนตน“ ให้พ้นออกไปจากใจของตนเองให้ได้.


    -ข้อมูลจาก คอลัมน์ ปริศนาโบราณคดี
    ในมติชนสุดสัปดาห์
    -รักระแวงแห่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
     
  8. pegaojung

    pegaojung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +9,448
    ขอบคุณที่นำเรื่องราวมาให้อ่านค่ะ catt7

    อดีตเป็นบทเรียนและให้คติธรรมที่ดีเสมอ^^
     
  9. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    ขอบคุณค่ะคุณ pegaojung คิดว่าถ้าแต่ละคนมีสติกำกับแยกแยะดีชั่ว มีศีลธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต เลือกทำในส่ิงที่ถูกต้องโลกนี้คงไม่วุ่นวายมีแต่ความสงบสุข คนก็จะมีความทุกข์น้อยลงนะคะ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=kCgSvHoKx44]คู่เสน่หา อรวี ศุภชัย - YouTube[/ame]
     
  10. ป้าสวย

    ป้าสวย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +162
    อนุโมทนา กั บท่านเ จ้าของกระทู้ด้วยนะค่ะอ่านแล้วรู้สึกมีความสุขค่ะ
     
  11. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    ขอบคุณค่ะคุณป้าสวย รู้สึกดีใจค่ะที่อ่านแล้วมีความสุข (f)
     
  12. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    เจ้าจอมก๊กออ

    เจ้าจอมก๊กออ หรือ เจ้าจอมพงศ์ออ เป็นชื่อที่ใช้เรียกพระสนมเอกทั้งห้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีนามขึ้นต้นด้วยอักษร อ. อ่าง อันได้แก่ เจ้าจอมมารดาอ่อน, เจ้าจอมเอี่ยม, เจ้าจอมเอิบ, เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน ซึ่งทั้งหมดเป็นสตรีจากสายราชินิกุลบุนนาคเป็นบุตรีของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงอู่ ภริยาเอก

    เจ้าจอมก๊กออ หรือ เจ้าจอมพงศ์ออ ทั้งห้าคนเป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) เจ้าเมืองเพชรบุรี กับท่านผู้หญิงอู่ สุรพันธ์พิสุทธิ์ (สกุลเดิม วงศาโรจน์) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด 14 คน และพี่น้องร่วมบิดารวม 62 คน

    โดยมีสตรีเข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 7 คน ซึ่งเป็นเจ้าจอมก๊กออ 5 คน ได้แก่ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ เจ้าจอมเอื้อน

    แรกเริ่มมีเจ้าจอมมารดาอ่อน และเจ้าจอมเอี่ยมเริ่มเข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2428-9 ตามมาด้วยเจ้าจอมเอิบในปี พ.ศ. 2429, เจ้าจอมอาบในปี พ.ศ. 2434 และเจ้าจอมเอื้อนในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งเจ้าจอมท่านสุดท้ายนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสขอเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์และท่านผู้หญิงอู่เพื่อให้มีจำนวนครบห้าคน

    โดยเจ้าจอมมารดาอ่อนได้สนองพระเดชพระคุณประสูติกาลพระราชธิดาสองพระองค์คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา

    เจ้าจอมเอี่ยม ตั้งครรภ์พระองค์เจ้าแต่ตกเสียไม่เป็นพระองค์สองครั้ง ขณะที่เจ้าจอมท่านที่เหลือมิได้ให้ประสูติกาลพระราชบุตรเลย

    อย่างไรก็ตามเจ้าจอมก๊กออทั้งห้าเป็นพระสนมคนโปรดของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (มีเพียงเจ้าจอมอาบเท่านั้นที่มิได้เป็นพระสนมเอก) ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นเพราะความซื่อสัตย์และจงรักภักดีของเจ้าพระยาสุรพันธ์ พิสุทธิ์ แต่อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ผูกพระราชหฤทัยมิเสื่อมคลายและทำให้เจ้าจอมก๊กออ เป็นที่โปรดปรานเป็นระยะเวลามากว่า 30 ปี โดยที่บางท่านไม่มีพระเจ้าลูกเธอมาเป็นเครื่องผูกมัด

    ซึ่งสิ่งนั้นก็คือคุณสมบัติพิเศษของเจ้าจอมก๊กออในแต่ละท่าน อาทิ เจ้าจอมเอี่ยม เป็นผู้ชำนาญงานนวด เพราะได้ศึกษาเกี่ยวกับกายภาพจนทราบดีถึงกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รู้จังหวะหนักเบาในการกดคลึง ทำให้หายขบเมื่อยและรู้สึกเบาสบาย

    ส่วนเจ้าจอมเอิบ เป็นผู้ที่มีไหวพริบและเอกอุในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีหน้าที่ในการแต่งฉลองพระองค์ของพระราชสวามี มีความสามารถในการถ่ายภาพ และสามารถทำอาหารได้พิถีพิถันต้องพระราชหฤทัยโดยเฉพาะการทอดปลาทู

    แต่ด้วยความเป็นกลุ่มคนโปรดของพระปิยมหาราช จึงเป็นเหตุที่ทำให้สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระอัครมเหสี ไม่พอพระทัยนัก และปฏิเสธที่จะเสด็จตามพระราชสวามีไปยังเมืองเพชรบุรี ที่ซึ่งระยะหลัง ๆ พระราชสวามีได้เสด็จไปบ่อยดุจราชสำนักประจำ

    สมเด็จพระพันปีหลวงทรงตรัสกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมารว่า "จะให้แม่ไปประจบเมียน้อยของพระบิตุรงค์นั้น เหลือกำลังละ"

    แต่กลางปี พ.ศ. 2453 สมเด็จพระพันปีหลวงได้ตามเสด็จพระราชสวามีไปยังเมืองเพชรบุรีด้วย ครั้นหลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงทุพพลภาพมาก ขึ้น และไม่ได้เสด็จเพชรบุรีอีกเลยจนกระทั่งสวรรคต



    [​IMG]

    เจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาค


    [​IMG]

    เจ้าจอมเอี่ยม บุนนาค


    [​IMG]

    เจ้าจอมเอิบ บุนนาค


    [​IMG]

    เจ้าจอมอาบ บุนนาค


    [​IMG]

    เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค​

    กล่าวกันว่า เจ้าจอมเอิบนั้นเป็นผู้ที่มีสิริโฉมงดงามท่านเจ้าจอมเอิบนั้นมีคุณสมบัติตรงตามตำราหญิงงามอันเป็นที่นิยมแห่งยุคสมัยนั้นทีเดียว

    กล่าวคือหน้าตาที่อ่อนหวาน งดงามเยือกเย็น กล่าวกันอีกว่าท่อนแขนของท่านเจ้าจอมเอิบ นั้นงดงามกลมกลึง ราวกับลำเทียน เนื่องจากท่านเป็นคนที่มีรูปร่างไม่ผอมไป หรืออ้วนเกินไป หากแต่อวบและมีน้ำมีนวล กล่าวโดยสรุปคือ ท่านเจ้าจอมเอิบนั้น มีความงามแห่งรูปโฉม และกิริยาที่สอดคล้องกับความนิยมในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพิเศษ

    ได้ตามเสด็จไปแปรพระราชฐาน ประพาสหัวเมืองเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2444 หรือไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.ศ. 2445 และเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447 เป็นผู้ถวายงานอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งสิ้นรัชกาล เช่นเดียวกับเจ้าจอมเอี่ยม ผู้เป็นพี่สาวแท้ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2014
  13. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    พระราชชายาพระองค์เดียวในราชวงศ์จักรีและความลี้ลับในหีบกาไหล่ทองพระราชทาน

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=12daBvKADMM]พระราชชายา เจ้าดารารัศมี - YouTube[/ame]

    พระราชชายา เจ้าดารารัศมี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าหญิงดารารัศมี" พระนามลำลองเรียกกันในหมู่พระประยูรญาติว่า "เจ้าอึ่ง" ประสูติเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ ณ คุ้มหลวงกลางเวียง นครเชียงใหม่ เป็นพระราชธิดาใน พระเจ้าอินทวิชยานนท์ กับ แม่เจ้าเทพไกรสรพระ มหาเทวี เมื่อทรงพระเยาว์ เจ้าหญิงดารารัศมีทรงพระอักษรทั้งฝ่ายล้านนา สยาม และภาษาอังกฤษ จนแตกฉาน ทั้งยังได้ทรงศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆจนนับได้ว่าทรงเป็นผู้รอบรู้ใน ด้านขนบประเพณีอันเก่าแก่เหล่านั้น ดีที่สุดคนหนึ่งทีเดียว

    ใน ปีพ.ศ. ๒๔๒๕ มีคำร่ำลือสะพัดทั่วเวียงเชียงใหม่ว่า พระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษ ส่งคนมาทาบทามเจ้าหลวงอินทวิชยานนท์เจ้าเมืองเชียงใหม่ เพื่อขอรับพระราชธิดาน้อยเอาไว้ในพระอุปถัมภ์ เป็นพระธิดาบุญธรรม โดยที่พระองค์นั้นได้พระราชทานเงื่อนไขว่า หากยกเจ้าหญิงดารารัศมีให้เป็นพระราชธิดาบุญธรรมในสมเด็จพระนางเจ้าฯ แล้ว เจ้าหญิงดารารัศมีจะได้ทรงครองพระอิสริยยศในทางราชการเป็นภาษาอังกฤษว่า "Princess Of Siam" เทียบเท่ากับพระราชโอรส-พระราชธิดาของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสยามทุกประการ และเวียงพิงค์เชียงใหม่จะได้มีอำนาจมากกว่าเดิมอีกด้วย และไม่ว่าเรื่องนี้จะจริงหรือเท็จ ทางราชสำนักที่กรุงเทพฯ ก็ร้อนๆ หนาวๆ ไปพอสมควร เนื่องจากสมัยนั้นดินแดนพม่าซึ่งอยู่ติดกับล้านนา โดนอังกฤษยึดไปเรียบร้อยแล้ว และเหล่าผู้ล่าอาณานิคมทั้งหลาย ก็สนใจในสัมปทานป่าสักทางเหนืออย่างยิ่ง

    หลังจากนั้นเพียงปีเศษ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นพิชิตปรีชาการ ได้อัญเชิญตุ้มพระกรรณและพระธำมรงค์เพชร ของรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไปพระราชทานแก่เจ้าดารารัศมีที่มีพระชนมายุเพียง ๑๑ พรรษา นัยว่าเป็นการหมั้นหมาย และยังโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าดารารัศมีเข้าพิธีโสกันต์ (โกนจุก) ตามแบบอย่างเจ้านายในพระราชวงศ์จักรีทั้งที่เป็นเจ้านายล้านนา ไม่มีจุก (เนื่องจากไว้ผมยาวและเกล้าผม) เมื่ออายุ ๑๓ ปี ในที่สุด พระเจ้าอินทวิชยานนท์ก็นำพระราชธิดาลงมาถวายตัวเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๙



    [​IMG]

    พระราชชายา เจ้าดารารัศมี

    เจ้าหญิงแห่งลานนาต้องพบกับความยุ่งยากมากมายที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นชีวิตในพระบรมมหาราชวังซึ่งไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด แม้จะเป็นที่โปรดปรานของพระพุทธเจ้าหลวง แต่ก็ถูกกลั่นแกล้งจากเหล่าสนมนางในคนอื่นที่อิจฉาและโดนดูถูกว่าเป็นพวก “ลาว” (คนภาคกลางสมัยนั้นมองว่าคนเหนือรวมกันหมดว่าเป็นลาว ถือเป็นต่างด้าวและรังเกียจมาก)

    มีการกลั่นแกล้งสารพัดเหมือนกับละครน้ำเน่าในสมัยนี้เช่น เอาหมามุ่ยใส่ในห้องน้ำ เอาอุจจาระมาทิ้งในสวนภายในพระตำหนัก ไม่รวมการล้อเลียนซุบซิบต่างๆ นานาที่เจ้าดารารัศมีทรงให้เหล่าข้าราชบริพารของพระองค์คงไว้ซึ่งการแต่งกาย แบบชาวเหนือ คือ นุ่งซิ่น ไว้ผมยาว เกล้ามวย ตลอดจนการร่ายรำและดนตรีแบบลานนา จนมีชื่อเสียงเลื่องลือต่อมาว่า “คนตำหนักเจ้าลาวแต่งตัวสวย หน้าตาพริ้มเพรา พูดจาไพเราะหวานหู และร่ายรำงดงามนัก”

    ด้วยการดำรงพระองค์อย่างเรียบง่าย หากแต่แฝงไว้ด้วยพระปรีชาญาณ ความมุ่งมั่น และความเชื่อมั่นในพระองค์ กอปรกับความจงรักภักดีที่ทรงมีต่อพระราชสวามี จึงเป็นที่โปรดปรานฯ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในที่สุด เจ้าหญิงดารารัศมี ซึ่งขณะนั้นยังทรงดำรงตำแหน่ง "เจ้าจอม เจ้าดารารัศมี" ก็ทรงพระครรภ์ และมีพระประสูติกาลพระราชธิดา เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ ทรงพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสี (อ่านว่า วิ-มน-นาก-นะ-พี-สี) ในคราวนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่ง "เจ้าจอม เจ้าดารารัศมี" ขึ้นที่ "เจ้าจอมมารดา เจ้าดารารัศมี"

    เสด็จเจ้าน้อย เป็นที่โปรดปรานฯ ในพระราชบิดายิ่งนัก ด้วยทรงเป็นเจ้าหญิงพระองค์น้อยที่ฉลองพระองค์ซิ่นแบบเจ้านายเมืองเหนือตลอดเวลา แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า พระธิดาทรงมีพระชันษาเพียง ๓ ปี ๔ เดือน ๑๘ วัน ก็ได้ประชวรและสิ้นพระชนม์ลง เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๕ การสิ้นพระชนม์ของพระราชธิดาในคราวนี้นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสียพระทัยยิ่งนัก ทรงมีรับสั่งกับ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวโทษพระองค์เอง ว่า "ทรงเสียพระทัยยิ่งนัก ที่ทรงมิได้สถาปนาพระยศพระราชธิดาให้เป็น "เจ้าฟ้า" ตามศักดิ์แห่งพระชนนีซึ่งเป็นเจ้าหญิงพระราชธิดาในพระเจ้า ประเทศราช เจ้าจอมมารดาเองก็เสียพระทัยมากเช่นกัน หลังจากนั้นไม่ทรงมีพระโอรส - ธิดาอีก

    [​IMG]

    พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี


    ปี ๒๔๕๑ ที่เจ้าจอมมารดาเจ้าดารารัศมีมีพระประสงค์จะเสด็จกลับไปเยือนนครเชียงใหม่ รัชกาลที่ ๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเจ้าจอมมารดาเจ้าดารารัศมี ขึ้นเป็นพระมเหสีอีกพระองค์หนึ่ง ดำรงอิสริยยศ "พระราชชายา" และดำรงฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์จักรีถึงแม้จะทรงศักดิ์เป็นพระราชชายา แต่กระบวนเสด็จพระราชดำเนินคืนสู่นครเชียงใหม่ครั้งนั้น รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดการพระราชทานอย่างเต็มตามโบราณราชประเพณีเสมอ ด้วยทรงครองอิสริยยศ "พระอัครชายาเธอ" เลยทีเดียว

    กล่าวกันว่า ในครั้งนั้นมีเจ้าจอมและพระมเหสีหลายพระองค์ไม่พอพระทัยที่ทรงยกย่องเจ้าดารารัศมีขึ้นเป็นราชวงศ์จักรี (พระสนม และเจ้าจอมไม่ถือว่าอยู่ในราชวงศ์) และในครั้งนั้น สิ่งที่ทำให้ผู้คนทั่วไปตระหนักว่าความรัก ความจงรักภักดีต่อพระราชสวามีของ พระราชชายาฯ นั้นอยู่เหนือการเมือง อยู่เหนือกาลเวลาคือ การที่พระราชชายา ทรงบรรจงแก้มัดผมที่ยาวมากมาเช็ดพระบาทของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ขณะ เข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลลาที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งในธรรมเนียมล้านนา ถือว่าเป็นการถวายความจงรักภักดีสูงสุดในชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่ง

    ภายหลังจากพระราชชายาฯ เสด็จกลับลงมากรุงเทพฯไม่กี่เดือน พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ก็ทรงเสด็จสวรรคต นำความโศกเศร้ามาสู่พระนางเป็นอันมาก และหลังเสร็จงานพระบรมศพแล้ว พระราชชายาจึงกราบถวายบังคมลารัชกาลที่ ๖ เสด็จกลับไปประทับที่เชียงใหม่เป็นการถาวรนับแต่นั้น
    เมื่อทรงกลับไปประทับยังบ้างเกิดของพระองค์แล้ว พระราชชายาฯทรงมีพระกรณียกิจหลายด้าน เพื่อบำรุงเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองทางเหนือให้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น

    ความลับอันมืดมนที่ทำให้ทุกคนกังขากันไปชั่วระยะหนึ่ง ในบรรดาเจ้านายในราชวงศ์ฝ่ายเหนือนับตั้งแต่ พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ผู้เป็นเชษฐา และบรรดาเจ้านายชั้นรอง ๆ ลงไป ตลอดจนเจ้านายบุตรหลานของเสด็จพระราชชายาที่ไปเฝ้าอาการพระประชวรของเสด็จพระองค์ท่าน ณ คุ้มรินแก้ว แจ่งหัวลิน ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2476

    ก่อนที่เสด็จพระราชชายาเจ้าดารารัศมี จะได้ทราบว่าพระองค์ท่าน คงจะสิ้นพระชนม์ชีพในกาลครั้งนี้แล้วพระองค์ได้ทรงรับสั่งกับพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐเกี่ยวกับคำขอร้องเป็นครั้งสุดท้ายว่า หากเมื่อใดที่พระองค์ได้สิ้นพระชนม์ชีพ ก็ขอให้บรรดาพระญาติวงศ์นับตั้งแต่เจ้าแก้วนวรัฐลงไป ผู้มีชีวิตอยู่เบื้องหลัง ได้โปรดนำสิ่งของต่าง ๆ ที่บรรจุในหีบกาไหล่ทอง ซึ่งเก็บสิ่งของไว้ในหีบเหล็กใบใหญ่อีกชั้นหนึ่ง ตั้งอยู่เหนือแท่นบรรทมของพระองค์ท่าน ขอให้นำสิ่งของที่เก็บรักษาไว้ในหีบกาไหล่ทองนั้น นำไปบรรจุในกู่ร่วมกับพระอัฐิของพระองค์ท่านด้วย

    ทุกๆ ท่านในบรรดาเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในราชวงศ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือ ต่างก็แปลกใจระคนกันว่าภายในหีบกาไหล่ทองนั้นมีอะไรอยู่ในนั้นหรือที่พระองค์ทรงหวงแหนนักและเก็บไว้บนเหนือพระเศียรที่แท่นบรรทมของพระองค์

    ภายหลังจากที่เสด็จพระราชชายาเจ้าดารารัศมีสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 15.14 น.ของวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2476 ด้วยพระอาการสงบ ท่ามกลางความโศกาอาดูรของบรรดาพระญาติวงศ์ทั้งหลาย ข่าวการสิ้นพระชนมายุของเสด็จพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ซึ่งชาวบ้านชาวเมืองทั่ว ๆ ไป ขนานนามพระองค์ว่า “ เสด็จเจ้าในวัง “ ได้กระจายออกมาจากคุ้มหลวงรินแก้ว ทำให้ประชาชนชาวเมืองเชียงใหม่ที่ได้ทราบข่าวว่าเสด็จเจ้าในวังพระราชชายาเจ้าดารารัศมีสิ้นพระชนม์ชีพพากันเศร้าซึมทั่วบ้านทั่วเมือง พากันอาลัยอาวรณ์ในพระเกียรติคุณของพระองค์มากที่สุด นี่คือเหตุการณ์ที่ปรากฏแก่ความรู้สึกของมหาชนในสมัยนั้น

    และจากนั้นไม่กี่วันโดยพลตรีเข้าแก้วนวรัฐ เชษฐาของเสด็จพระองค์ท่าน ผู้ทรงเป็นประมุขของเจ้านายในสกุล “ณ เชียงใหม่” แห่งราชวงศ์ “ทิพย์จักราธิวงศ์” ในภาคเหนือได้เป็นองค์ประธาน พร้อมด้วยเจ้านายญาติพี่น้องและบุตรหลานได้นั่งเป็นสักขีพยานในการเปิดหีบเหล็กใบใหญ่ออกและพร้อมกันนั้น ก็ได้พบหีบกาไหล่ทองสีดำขนาดกว้าง 12 นิ้ว โดยมีความยาวเท่าๆ กันทุกๆ ด้าน

    บนฝาหีบนั้นมีเครื่องหมายตราสกุล “เจ้าเชียงใหม่” แห่งราชวงศ์ “ทิพย์จักราธิวงศ์” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชเจ้าได้ทรงสร้างขึ้นพระราชทานแด่เสด็จพระราชชายาเจ้าดารารัศมีอันเป็นสุดที่รักของพระองค์ และทรงสร้างขึ้นให้มีความหมายเป็นตราของสกุลวงศ์ “เจ้าเชียงใหม่” โดยเฉพาะเป็นตราพระอินทร์ขาวนั่งประทับอยู่ในปราสาท

    และหีบกาไหล่ทองใบนี้มีทับทิมเม็ดใหญ่และมีเพชรล้อมรอบมีมูลค่ามหาศาล ตามประวัติของหีบกาไหล่ทองใบดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชสวามีได้ทรงมีรับสั่งให้นายช่างโรงงานชาวฝรั่งเศสสร้างขึ้นในคราวเสด็จประเทศ ยุโรป เพื่อทรงพระราชทานแด่เสด็จพระราชชายาเจ้าดารารัศมี อันเป็นสุดที่รักยิ่งของพระองค์โดยเฉพาะ

    เสด็จพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้เคยตรัสเรื่องประวัติของหีบกาไหล่ทองให้บรรดาผู้ใกล้ชิดฟังเสมอ ว่าในขณะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานหีบกาไหล่ทองนี้พระองค์ได้ทรงมีพระราชดำรัสว่า “เครื่องหมายพระอินทร์ขาวประทับอยู่ในปราสาทนี้ เป็นเครื่องหมายสำหรับสกุล “เจ้าเชียงใหม่” ที่ประทานให้เจ้าน้อยในฐานะที่เป็นพระธิดาของพระเจ้านครเชียงใหม่ และเป็นเจ้าจอมมารดาของลูกฉันด้วยความรักเป็นที่สุด”

    และเมื่อพ่อเจ้าแก้วนวรัฐ พ่อเจ้าเหนือหัวได้เปิดหีบกาไหล่ทองออกก็ได้พบเอกสารอันมีค่าทางประวัติศาสตร์เป็น “จดหมายอันประทับใจ” ระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเสด็จพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ที่พระองค์ได้ทรงพระอักษรด้วยลายพระหัตถ์ของพระองค์เองรวมกันหลายฉบับพับอย่างเรียบร้อย ห่อผ้าเช็ดหน้าพรมน้ำหอมติดผ้าเช็ดหน้ายังไม่จางหาย

    เมื่อรายการที่หนึ่งได้ผ่านพ้นไปแล้วรายการที่สองก็ได้ถูกค้นต่อไปว่ามีอะไรบ้างที่เสด็จพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงหวงแหนเป็นอย่างยิ่งและเทิดทูนไว้บนเหนือพระเศียรโดยใส่ไว้ในหีบใหญ่ในขณะทรงบรรทม ก็ได้พบผ้าเช็ดหน้าสีขาวบริสุทธิ์พรมด้วยน้ำหอมและมีอักษรภาษาไทย บรรยายไว้ว่าอัฐิส่วนนิ้วพระหัตถ์ก้อยของพระเจ้าชีวิตอินทวิไชยยานนท์พระเจ้าเหนือหัว ปรากฏว่าเมื่อคลี่ออกมา มีกระดูกก้อนเล็กอยู่ 2 ก้อน สีขาวมัวๆ

    รายการที่ 3 ก็มีสภาพเช่นเดียวกับอันที่ 2 ก็คือมีอักษรไทยบรรยายไว้ว่า อัฐิพระนิ้วก้อยของพระเจ้าลูกเธอพระองค์หญิงวิมลนาคนพีสี พระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอันประสูติจากพระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระธิดาของพระเจ้าอินทวิไชยยานนท์ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่

    รายการที่ 4 เป็นเอกสารที่บรรจงห่อด้วยกระดาษสองสามชั้นพับไว้อย่างดี เมื่อแก้ออกมาก็ทราบว่าเป็นลายมือและตัวอักษรเป็นภาษาพื้นเมืองแต่เขียนด้วยหมึกสีดำเมื่อคลี่อออกอ่านดูแล้ว พ่อเจ้าแก้วนวรัฐก็อุทานออกมาว่า

    “ลายมือตัวหนังสือของพ่อเจ้าชีวิตพระเจ้าอินทวิไชยยานนท์”

    และแล้วพ่อเจ้าแก้วนวรัฐ ก็ได้เรียกพวกขุนนางพื้นเมืองชั้นท้าวคนหนึ่งให้เข้ามาอ่านข้อความนั้นให้พระองค์ท่านฟังก็ทราบว่า พ่อเจ้าชีวิตพระเจ้าอินทวิไชยยานนท์ เขียนไปตามความรู้ของ “พ่อ” ที่มีไปถึง “ลูก” ที่ประสบการสูญเสีย “หลาน” ในอก เนื่องในคราวที่พระเจ้าลูกเธอพระองค์หญิงวิมลนาคนพีสีพระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมีสิ้นพระชนม์

    ดังเป็นที่ทราบกันอยู่ในสมัยนั้นว่าเป็น พ.ศ.2435 ในขณะที่พระเจ้าลูกเธอพระองค์หญิงมีพระชนมายุได้เพียง 4 ชันษา (ประสูติวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2432 สิ้นพระชนมายุ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2435)

    ศุภอักษรจดหมายฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรด้วยตนเองภายหลังที่เสด็จพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้ทรงอ่านถวายให้พระองค์ได้ทราบทุกข้อความถึงการแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ของพระเจ้าอินทวิไชยยานนท์ ทำให้พระองค์ทรงซึ้งเป็นอย่างที่สุดและในโอกาสนี้ได้ทรงตั้งเจ้าจอมมารดาเจ้าดารารัศมีเป็นพระสนมเอกในเวลาต่อมา เรื่องราวโดยละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ปรากฏในเรื่องนี้ เจ้าชายอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ราชบุตรของพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐท่านได้อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ตั้งแต่ต้นจนจบจึงได้ทราบโดยละเอียด


    ถึงเจ้าน้อยลูกรักของพ่อ
    พ่อได้ทราบข่าวว่าพระองค์หญิงวิมลนาคนพีสี พระเจ้าลูกเธอของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับเจ้าน้อย ได้ถึงแก่กาลกิริยาสิ้นพระชนม์เมื่อเดือนก่อนพ่อมีความเสียใจเป็นอย่างมากที่สุด เพราะว่าพระองค์เจ้าหญิงองค์นี้ เป็นหลานสุดที่รักของพ่อ ซึ่งพ่อรักเจ้าน้อยเพียงใด พ่อก็ย่อมรักพระองค์เจ้าหลานมากเท่านั้นบรรดาพระญาติเจ้านายพี่น้องทางบ้านเมืองของเราทางเมืองเชียงใหม่ได้ทราบข่าวเรื่องนี้ต่างมีความเสียอกเสียใจกันเป็นที่สุดตัวของพ่อจิตใจของพ่อมีความห่วงใยในตัวของเจ้าน้อยมากที่สุด เพราะเจ้าน้อยอยู่ห่างไกลพ่อมากที่สุด และได้บังเกิดการสิ้นพระชนม์ของพระองค์เจ้าหญิงลูกในอกเลือดเนื้อสายเลือดของเจ้าน้อยกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างกะทันหันอย่างไม่คาดคิดคงจะทำให้เจ้าน้อยเศร้าโศกเสียใจเป็นอันมาก เพราะในชีวิตไม่เคยผ่านมาเลย ในการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของเลือดในอกของตนเอง พ่อจึงขอร้องมาให้เจ้าน้อยลูกของพ่อจงหักห้ามใจ ระงับความเศร้าโศกลงไปเสียเถิดเดี๋ยวเจ้าน้อยจะเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยลงไกลหูไกลตาพ่อซึ่งไม่มีโอกาสไปดูแลอาการเจ็บไข้ของลูก พ่อขอให้เจ้าน้อยลูกรักของพ่อ จงหักห้ามความเศร้าโศกลงไปเสียเถิด เพราะว่าความเจ็บไข้ได้ป่วย ความแก่ชรา ความตาย เป็นของธรรมดาที่เกิดมากับโลกตามคำพระพุทธศาสนาของเราที่พระท่านสอนเอาไว้ จงทำตามคำขอร้องของพ่อเถิดนะเจ้าน้อยลูกรักของพ่อ ตุ๊เจ้าโสภโณโสภา วัดฝายหินได้ทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระองค์เจ้าหญิงราชธิดาของเจ้าน้อยได้มาหาพ่อพร้อมกับบอกกับพ่อว่าให้บอกกับเจ้าน้อยด้วยว่าท่านมีความเศร้าสลดใจมากในการจากไปของพระองค์เจ้าหญิงขอให้วิญญาณของพระองค์ท่านไปสู่สรวงสวรรค์ชั้นฟ้าดาวดึงส์ และขออำนาจของคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลกนี้จงดลบันดาลให้เจ้าน้อยดารารัศมีกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จงมีแต่ความสุขความเจริญ อายุ วรรณะ สุขะ พละเทอญ พ่อขอพูดกับเจ้าน้อยผู้ซึ่งจากอกและจากพ่อมาตั้งแต่อายุ 14 ปีกว่า เข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ตัวของลูกจากมาก็จริง แต่ใจของพ่อจดจ่ออยู่กับลูกอยู่เสมอพ่อคิดถึงลูกอยู่ทุกลมหายใจ สำหรับความจงรักภักดีในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทของเจ้าน้อยที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขอให้อย่าให้ได้เสื่อมคลายแม้แต่น้อย ขอให้พยายามเพิ่มพูนยิ่งเป็นพันเท่ายิ่งโยชน์โกฎิหมื่นแสนเทอญ ขอให้ลูกจงเคารพบูชากราบไหว้ในพระองค์เหมือนกับเป็น “พ่อ” และเป็น “พระพุทธเจ้าหลวง” ในหอหลวงในคุ้มหลวงของเราที่พ่อเคยนำเจ้าน้อยไปกราบไหว้ทุกเช้าทุกค่ำก่อนเข้านอนเจ้าน้อยจงเคารพบูชากราบไหว้ในพระองค์ขอพึ่งบุญบารมีล้นเกล้าล้นกระหม่อมปกเกล้าปกกระหม่อมของเจ้าน้อยลูกพ่อ ขอให้เจ้าน้อยจงอย่าทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นที่ไม่ถูกอกถูกใจ และขัดพระราชหฤทัยของพระองค์ท่านเป็นอันขาด นะลูกนะตามความเป็นจริงที่ได้บังเกิดขึ้น นับตั้งแต่เจ้าเมาะ เจ้าหม่อน เจ้าอุ๊ย เจ้าปู่ เจ้าย่า ตา ยาย ในสกุลวงศ์ของเรา ซึ่งเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือมาตราบถึงตัวพ่อและตัวเจ้าน้อยมาตราบเท่าทุกวันนี้ล้วนแต่ได้รับหน้าที่เป็นผู้รักษาพระราชอาณาจักรหัวเมืองฝ่ายเหนือมานับร้อยๆ ปี ด้วยความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาทุกๆ รัชกาล และพร้อมกันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ประทานพระมหากรุณาธิคุณ มาทุกๆ รัชกาลชุบเลี้ยงแต่งตั้งให้มีอำนาจเป็นเจ้าชีวิตทรงแต่งตั้งเลื่อนยศฐานันดรศักดิ์ให้สูงส่งเหนือคนทั้งหลายในแผ่นดินสยามมาตลอดกรุณาชุบเลี้ยงเจ้านายทั้งหลายในพระญาติวงศ์มาตลอด พวกเราเจ้านายฝ่ายเหนือก็ได้อาสาฝากชีวิตไว้เป็นข้าราชการและเป็นทหารของแผ่นดินถวายชีวิตเป็นราชพลีถวายความจงรักภักดีต่อพระบรมวงศานุวงศ์จักรีตลอดมา พ่อขอให้เจ้าน้อยจงทำจิตใจให้สบายอกสบายใจมอบกายถวายชีวิตไว้ แทบพระยุคลบาท เป็นราชพลีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจนชีวิตจะหาไม่ บัดนี้พ่อก็แก่เฒ่าชราลงไปมาก ปีนี้อายุได้ 75 ปีแล้ว มีความห่วงใยเจ้าน้อยมากยิ่งขึ้นพ่อขอให้เจ้าน้อยจงได้ปฏิบัติตามข้อความทุกๆ อย่างที่พ่อเล่ามาในหนังสือนี้พ่อจะมีความสุขที่สุดจะตายไปจากโลกนี้จะได้นอนตาหลับ ขอความสุขจงมีแต่เจ้าน้อยลูกรักของพ่อเถิด ด้วยความรักและคิดถึงจากพ่อ


    ศุภอักษรของพระเจ้าเชียงใหม่อินทวิไชยยานนท์ ท่านเจ้าชายอินทนนท์ ราชบุตรองค์เล็กของพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ท่านได้ประทานกรุณาเล่าเรื่องถ้อยคำในศุภอักษรฉบับนี้ซึ่งได้ทราบว่ามีผู้คัดลอกเอาไว้ก่อนที่จะนำเอกสารฉบับนี้ ไปเก็บรักษาไว้ในที่ฝังพระอัฐิของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ที่วัดสวนดอก ณ ที่กู่บรรจุอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือ

    เจ้าดารารัศมี พระราชชายา สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ เมื่อเวลา ๑๕.๑๔ ณ คุ้มรินแก้วสิริพระชนมายุ ๖๐ ปี ๓ เดือน ๑๓ วัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2014
  14. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    เบื้องหลัง เจ้าหญิงยวงแก้ว สิโรรส กระโดดตึก

    [​IMG]

    ตำหนักของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี สถานที่ ที่เจ้ายวงแก้วโดดลงมา


    [​IMG]

    ข้าหลวงนางในจากราชวงศ์ฝ่ายเหนือในราชสำนัก
    ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
    เจ้ายวงแก้ว(แถวนั่งองค์ที่2จากซ้าย)


    ก่อนจะเล่าเรื่อง จะขอกล่าวถึงข้าหลวงในพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทั้งหมดที่เป็นเชื้อพระวงศ์ฝ่ายเหนือและติดตามเสด็จในครั้งนั้น ซึ่งแต่ละท่านนั้นกิติศัพท์ความงามเลื่องลือไปไกลถึงวังของเจ้านายหลายต่อ หลายท่าน ประกอบด้วย
    1.เจ้าหญิงทิพวัน ณ เชียงใหม่
    2.เจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม่ (ต่อมาสมรสกับเจ้าน้อยศุขเกษม เจ้าของตำนานรักมะเมี๊ยะ)
    3.เจ้าหญิงยวงแก้ว สิโรรส
    4.เจ้าหญิงคำเที่ยง ณ เชียงใหม่
    5.แม่นายบุญปั๋น พิทักษ์เทวี
    6.เจ้าหญิงฟองแก้ว ณ เชียงใหม่
    7.เจ้าหญิงบัวระวรรณ ณ เชียงใหม่
    8.เจ้าหญิงเครือคำ ณ เชียงใหม่ (มีพระนัดดา คือเจ้าหญิงลัดดาคำ ณ เชียงใหม่ และ เจ้าหญิงเรณุวรรณา ณ เชียงใหม่ ตามไปด้วย)

    การเล่นเพื่อน (ผู้หญิงกับผู้หญิง) จนนำไปสู่โศกนาฏกรรมชิงสวาท “รัก” นางใน
    ในพระบรมมหาราชวัง พ.ศ. 2449 คนในยุคนั้นกล่าวกันเป็นเสียงเดียวกันว่า ตำหนักของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี มีข้าหลวงและนางใน ซึ่งนับเป็นคนใกล้ชิดและเครือญาติของพระราชชายาทั้งสิ้น พระองค์ทรงเคร่งครัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวล้านนาเป็นอย่างมาก เช่น กุลสตรีทั้งหลายที่อยู่ในตำหนักต้องแต่งตัวแบบชาวเหนือ และเกล้าผมยาวแบบชาวเหนือตลอดเวลา

    ด้วย ขนบธรรมเนียมดังกล่าวนี้เอง จึงทำให้บรรยากาศในบริเวณพระตำหนักของเสด็จพระองค์ท่านเต็มไปด้วยกลิ่นอายของชาวเหนือ และนอกจากนั้นกุลสตรีเจริญวัยทั้งหลายก็ล้วนสวยสดและชวนชมเป็นที่สุด ในแง่ของความสวยสดงดงามต่างๆ ตลอดจนกิริยามารยาท ความงามของแต่ละนางได้ขจรขจายไปทั่วในราชสำนัก ดังปรากฏนามเจ้าหญิงผู้สวยเสน่ห์คนหนึ่งแห่งราชวงศ์ฝ่ายเหนือ เจ้าหญิงผู้นี้มีนามว่า “ยวงแก้ว สิโรรส”

    เจ้าหญิงยวงแก้ว สิโรรส เป็นคนรูปงามจนโดดเด่นมากในราชสำนักของพระราชชายา เจ้าหญิงเมืองเหนือองค์นี้เป็นคนที่ค่อนข้างจะใจคอเข้มแข็งห้าวหาญแสนงอนและ ดุดันมากอยู่ทีเดียว โศกนาฏกรรมรักบังเกิดขึ้นในปี 2449 นั้นเอง กล่าวคือ ในสมัยนั้น พวกนางในข้าหลวงตำหนักต่าง ๆ นิยมการเล่นเพื่อน (ความรักของหญิงกับหญิง) จนกระทั่งเอาทรัพย์สินเป็นของขวัญแลกเปลี่ยนกันไปมามิได้ขาด

    ปรากฏ ว่า เจ้าหญิงยวงแก้ว ก็มีแฟนเป็นผู้หญิงชื่อ หม่อมราชวงศ์หญิงวงศ์เทพ ผู้อยู่ในตำหนักของเจ้านายพระองค์หนึ่งในพระบรมมหาราชวังนั้นเอง แต่บังเอิญว่าหม่อมราชวงศ์หญิงวงศ์เทพผู้นี้ก็มีแฟนสาวอยู่ก่อนแล้วคนหนึ่ง ชื่อ น.ส. หุ่น จึงเกิดศึกชิงหม่อมราชวงศ์หญิงวงศ์เทพขึ้น ระหว่างน.ส.หุ่นกับเจ้าหญิงยวงแก้ว ต่างคนต่างชิงดีชิงเด่น ชิงไหวชิงพริบที่จะเอาชนะกัน และในขณะที่ชิงดีชิงเด่นกันนี้เอง น.ส.หุ่นได้ปล่อยข่าวเป็นเชิงใส่ไฟกรอกเข้าหูคนในวังว่า เจ้าหญิงยวงแก้วหลงใหลหม่อมราชวงศ์หญิงวงศ์เทพจนนำของมีค่าที่ได้ประทานจาก พระราชชายา ซึ่งเป็นแก้วแหวนเงินทองเพชรพลอยไปปรนเปรอหม่อมราชวงศ์หญิงวงศ์เทพเสียหมด สิ้น

    จนในที่สุดเรื่องก็แดงขึ้นรู้กันไปทั่วเขตราชฐานฝ่ายใน ไม่นาน เรื่องก็ถึงหูของพระราชชายา พระองค์ทรง
    กริ้วเจ้าหญิงยวงแก้วอย่างรุนแรงและให้เอาของมาคืนพระองค์ให้หมด นอกจากนี้ ก็ให้คาดโทษว่าจะส่งกลับ
    นครเชียงใหม่ให้เร็วที่สุด

    เรื่อง นี้ได้สร้างความอับอายให้ เจ้าหญิงยวงแก้วเป็นอย่างมากและที่สำคัญอายต่อเพื่อนๆ ข้าหลวงนางในจนไม่กล้า ที่จะออกไปไหนมาไหน ทำให้เจ้าหญิงเกิดความกลุ้มใจเป็นอย่างมาก 2–3วันต่อมาในคืนนั้นเองเจ้าหญิงยวงแก้วได้ นอนปรับทุกข์กับ เจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม่ เพื่อนร่วมตำหนักถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น เจ้าหญิงยวงแก้ว พร่ำรำพัน ต่าง ๆ นานา ในความอาภัพของตนที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีในครั้งนี้ แทนที่ทุกคนจะเห็นใจกลับเยาะเย้ยเหยียดหยามอีก เจ้าหญิงบัวชุมได้เพียรปลอบใจให้คลายโศกเศร้าลง แต่แล้วหลังจากเจ้าหญิงบัวชุมได้นอนหลับสนิทนั่นเอง..

    เจ้าหญิงยวง แก้ว จึงได้หาข้อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนให้โลกได้รับรู้รู้ว่าตนนั้นเป็นผู้ บริสุทธิ์มิได้กระทำดั่งข้อกล่าวหา เจ้าหญิงยวงแก้วจึงตัดสินใจเดินขึ้นไปบนตึกพระตำหนักชั้นบนสุด แล้วกระโดดลงมาอย่างไม่กลัวตาย ด้วยน้ำใจอันเด็ดเดี่ยว เพื่อให้โลกรู้ว่า “ข้ามิได้ทำผิดดังคนแกล้งใส่ความ” ในคืนนั้นเจ้าหญิงยวงแก้ว ถูกหามนำตัวไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลฝรั่ง ทางประตูผีท้องที่อำเภอสำราญราษฎร์และได้ถึงแก่ความตาย ณ โรงพยาบาลแห่งนั้นด้วยวัยเพียง 19 ปี


    ที่มา ขอขอบคุณ เพชรล้านนา” ปรานี ณ พัทลุง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 เมษายน 2014
  15. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    ตำนานรักมะเมี๊ยะ "รักเดียวใจเดียวจนวายชนม์"

    โศกนาฏกรรมแห่งล้านนา ของหญิงสาวชาวพม่ากับเจ้าชายเมืองเชียงใหม่

    ร้อยตรี เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) หรือ เจ้าน้อยศุขเกษม ราชโอรสองค์ใหญ่ใน พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น "เจ้าอุตรการโกศล

    เจ้าน้อยศุขเกษม ถูกกล่าวถึงในบทเพลง มะเมี้ยะ ของ จรัล มโนเพ็ชร ซึ่งกล่าวถึงตำนานรักต้องห้ามระหว่าง เจ้าชายเมืองเหนือ กับ มะเมียะ สาวชาวพม่า แห่งเมืองมะละแหม่ง ที่จบลงด้วยความเศร้า เพราะราชประเพณีความรักจึงไม่อาจสมหวังได้

    ตอนนั้นเชียงใหม่เป็นประเทศราชของสยามทางเชียงใหม่ส่งเจ้าดารารัศมี ซึ่งเป็นเจ้าอาของเจ้าน้อยไปอภิเษกกับ รัชกาลที่ 5 เป็นการผูกสัมพันธ์ ตอนนั้นเจ้าดารารัศมีอายุ 13 ปี

    ร้อยตรี เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) หรือ เจ้าน้อยศุขเกษมเจ้าน้อยถูกส่งไปเรียนที่ รร.เซนต์แพทริก เป็น รร.แคธอลิกของฝรั่งที่พม่า โดยแอบส่งไป ขี่ช้างไป เพราะตอนนั้นพม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษซึ่งมีเรื่องกับไทยอยู่

    เจ้าน้อยไปตอนอายุ 15 เพราะทางบ้านต้องการให้ได้ภาษาอังกฤษ เพราะค้าขายกับพม่า เจ้าน้อยเรียนอยู่หลายปี วันหนึ่งไปเดินเล่นที่ตลาด ได้พบมะเมี้ยะแม่ค้าสาวสวย ซึ่งเพิ่งมาจากตองอู เจ้าน้อยอายุ 19 มะเมี๊ยะอายุ 15 ก็ตัดสินใจแต่งงานกัน จนอายุ 20 เรียนจบถูกเรียกกลับเชียงใหม่ เจ้าน้อยเลยเอาเมียกลับมาด้วย โดยให้ปลอมเป็น เด็กรับใช้ชาย เอาเมียไปแอบในเรือนเล็ก โดยไม่รู้เลยว่าเจ้าพ่อเจ้าแม่ได้หมั้นเจ้าบัวนวลเอาไว้ให้

    เจ้าน้อยไม่ยอมแต่งงาน เลยเปิดเผยว่ามีเมียแล้วคือมะเมี้ยะ เอามะเมี้ยะมากราบเจ้าพ่อเจ้าแม่แต่ไม่ได้รับการยอมรับ

    เรื่องนี้ไปถึงสยาม รัชกาลที่ 5 กับเจ้าดารารัศมีเห็นว่าไม่สมควร เลยส่งผู้สำเร็จราชการมาเจรจา บอกว่าเจ้าน้อยจะมีเมียกี่คนไม่ใช่ปัญหาแต่ต้องไม่ใช่สาวพม่า เพราะว่าคนพม่า ถือสัญชาติอังกฤษ เดี๋ยวอังกฤษจะถือโอกาสแทรกแซง ว่าแต่งกับพม่าก็ต้องถือว่าเป็นพม่าด้วย จะไปอยู่กับเมียที่พม่าก็ไม่ได้

    ที่สำคัญเจ้าน้อย เป็นเจ้าชายของล้านนา ถูกวางตัวไว้ให้เป็นรัชทายาทล้านนา เท่ากับว่าสยามอาจต้องเสียเชียงใหม่ให้อังกฤษก็เลยบังคับส่งมะเมี้ยะกลับพม่า

    เจ้าน้อยสัญญาว่าอีก 3 เดือนจะไปรับมะเมี้ยะกลับ ทั้งคู่สาบานกันไว้ว่าจะไม่รักใครอื่น หากใครผิดคำสาบานขอให้อายุสั้น ตอนที่จะส่งมะเมี้ยะกลับพม่านั้นตรงนี้เป็นส่วนของตำนานเลย

    "ตอนนั้นมะเมี้ยะโพกผมไว้พอจะไปก็ก้มลงกราบเท้าเจ้าน้อยที่ประตูเมือง ชาวบ้านออกมามุงกันทั้งเมืองเพราะได้ยินว่ามะเมี้ยะงามจ๊าดนัก พอกราบเสร็จ ก็เอาผ้าโพกผมออก แล้วสยายผมเอามาเช็ดเท้าเจ้าน้อย จงรักภักดีบูชาสามีสุดชีวิต แล้วก็กอดขาร้องไห้ เจ้าน้อยเองก็ร้อง ทำเอาคนที่มามุงร้องไห้ ไปทั้งเมืองด้วยความสงสารความรักของทั้งคู่ "

    ต่อมาเจ้าน้อยโดนเรียกไปสยาม พอเข้าไปก็โดนจับแต่งงาน เจ้าดารารัศมี จัดให้เจ้าบัวชุม ซึ่งเป็นพระญาติ และเป็นสาวที่สวยที่สุดในตำหนักเจ้าดารารัศมี ร่ำลือกันว่าเล่นดนตรีไทยเก่ง

    ด้วยเหตุนี้เจ้าน้อยก็เลยต้องแต่งกับเจ้าบัวชุม แล้วถูกกักอยู่ที่นั่น ตอนนั้นเจ้าพ่อของเจ้าดารารัศมี สิ้นพระชนม์ พระญาติทางสยาม ไม่อนุญาตให้เจ้าล้านนาพระองค์ใดในวังขึ้นไปประกอบพิธีปลงพระศพ เป็นเรื่องการเมืองเตะถ่วงการแต่งตั้งเจ้าครองแคว้นคนใหม่เอาไว้ระยะหนึ่ง

    เจ้าอาของเจ้าน้อยได้ขึ้นเป็นเจ้าองค์ใหม่ เจ้าพ่อของเจ้าน้อยได้เป็นเจ้าราชบุตร(อุปราช) เท่ากับว่าเจ้าน้อยเป็นรัชทายาทอันดับ 3 ถ้าสิ้นเจ้าสองพระองค์นี้เจ้าน้อยจะเป็นเจ้าผู้ครองเชียงใหม่ ก็ยิ่งไม่มีทางได้รับมะเมี้ยะกลับมา

    มะเมี้ยะรอเกิน 3 เดือนแล้วเจ้าน้อยไม่มาตามสัญญาเลยไปบวชชี เพื่อพิสูจน์รักแท้ว่าจะไม่มีคนใหม่

    ต่อมา...เมื่อได้ยินว่าเจ้าน้อยกลับเชียงใหม่แล้วเลยมาดักที่คุ้ม แต่เจ้าน้อยไม่ยอมออกมาพบ รอนานเท่าไรก็ ไม่ยอมออกมา จริงๆ แล้วเจ้าน้อยแอบดูอยู่ข้างหน้าต่าง ได้แต่ร้องไห้ไม่กล้าสู้หน้าที่ผิดสัญญา ก็เลยฝากให้ท้าวบุญสูงพี่เลี้ยง เอาแหวนทับทิม กับเงินอีก 1 กำปั่น( 800 บาท) ไปให้แม่ชีมะเมี้ยะ ทางด้านแม่ชีบอกว่าไม่มาขอรักคืน เพียงแต่มาถอนคำสาบานให้

    เจ้าน้อยฝากมาบอกแม่ชีว่า เงินนี่ทำบุญตามแต่แม่ชีจะใช้สอยเรียกว่าบริจาคในฐานะโยมอุปฐาก ส่วนแหวนให้แทนใจว่าหัวใจอยู่กับมะเมี้ยะเสมอ แม่ชีเสียใจมาก รับไปแต่แหวนไม่รับเงิน

    เจ้าน้อยหลังจากกันกับแม่ชีคราวนั้น.....ก็เอาแต่กินเหล้าไม่มีใจรักเจ้าบัวชุม ในที่สุดก็ตรอมใจตายหลังจากแต่งงานได้ไม่กี่ปีในขณะที่อายุแค่ 30 ปีเท่านั้นเอง

    ในบันทึกบอกว่าสิ้นพระชนม์ด้วยโรคพิษสุรา อีก 6 ปีต่อมาหลังจากพบแม่ชีมะเมี้ยครั้งสุดท้าย ส่วนแม่ชีมะเมี้ยะ... บวชจนสิ้นอายุขัยเมื่อ 73 ปี
    เรื่องนี้ไม่มีตัวอิจฉามีแต่คนหัวใจสลาย

    ผู้บันทึกเรื่องนี้คือ เจ้าบัวนวล คู่หมั้นคนแรกที่ถอนหมั้นไปหลังจากรู้ว่าเจ้าน้อยมีมะเมี้ยะ... ส่วนเจ้าบัวชุมไม่ผิดอะไรเลย แต่สามีไม่รักก็อยู่เป็นข้าบาทบริจาริกาจนอายุ 81 ปี

    เจ้าบัวนวลว่า ตลอดชีวิตเจ้าน้อยรักผู้หญิงคนเดียวจนสิ้นลม คือ มะเมี๊ยะหลังจากนั้นเรื่องของเจ้าน้อยกับมะเมี้ยะก็ถูกสั่งห้ามพูดถึงไปหลายปีเพราะเป็นเรื่องทางการเมือง ต้องปิดบัง รายละเอียดเลยหายไป เหลือแต่ตำนาน อุปสรรคความรักของเจ้าน้อยกับมะเมี้ยะ ไม่ใช่ฐานันดร ไม่ใช่เชื้อชาติ แต่เป็นการเมืองแท้ๆ

    ความรักในตำนานจบลงด้วยความเศร้าสลด ทั้งที่รักเดียวใจเดียวทั้งสองฝ่าย น่าสงสารจริงๆ เรื่องนี้มีแต่คนน่าสงสาร เจ้าบัวชุมเมียแต่งก็น่าสงสาร ทางเจ้าดารารัศมี มีบันทึกไว้แค่ว่าทรงไม่คิดว่าเจ้าน้อย จะปักใจมั่นกับมะเมี้ยะขนาดนี้ เจ้าดารารัศมีทรงคิดว่าหลายปีผ่านไป และได้ภรรยาที่ดีพร้อมก็คงลืม ความรักครั้งแรกได้ แต่เจ้าน้อยไม่ลืมจนสิ้นชีวิต

    เจ้าบัวนวล คู่หมั้น เมื่อแรกรู้สึกเสียหน้าแต่หลังจากนั้นก็รู้สึกเห็นใจและศรัทธาในรักแท้ของ เจ้าน้อย จริงๆ แล้วเราแอบคิดว่า ถ้าเจ้าน้อยโกหก ให้มะเมี้ยะหนีเข้าเมืองเถื่อนแล้วปลอมเป็นสาวไทย ให้เป็น เมียบ่าว เรื่องก็จบแต่มันเป็นเพราะ...เจ้าน้อยต้องการมีภรรยาคนเดียว คือ...มะเมี้ยะ


    [​IMG]

    เจ้าน้อยศุขเกษม


    [​IMG]

    เจ้าหญิงบัวนวลพระคู่หมั้นเจ้าน้อย


    [​IMG]

    เจ้าน้อยศุขเกษมกับเจ้าหญิงบัวชุม


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=y0wvERAM9JY"]????? ?????@ ???????? ?????? 1/3 - YouTube[/ame]


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=JsueVuCL5Uo"]????? ?????@ ???????? ?????? 2/3 - YouTube[/ame]


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=HTnfr8bXv54"]????? ?????@ ???????? ?????? 3/3 - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 เมษายน 2014
  16. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    ตำนานรักพระลอ โศกนาฏกรรมแห่งความรัก

    [​IMG]



    เป็นนิยายรักอมตะ ที่มีชื่อเสียงที่สุดเรื่องหนึ่งที่เขียนไว้ในวรรณคดีเรื่อง ลิลิตพระลอ เชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในเขตอำเภอสอง จังหวัดแพร่ เพราะมีหลักฐานหลาย อย่างสอดคล้องกันเช่น เมืองสรอง ซึ่งเป็นเมืองของพระเพื่อนพระแพงผู้เลอโฉม สันนิษฐานว่าคือ เมืองสอง(อ.สอง)ของจังหวัดแพร่ในปัจจุบัน มีแม่น้ำกาหลงไหลผ่าน มีเด่นนางฟ้อน บ้านแดน ชุมพล ถ้ำปู่เจ้าสมิงพราย ผาปี่ผาน้อง และที่เวียงสรองยัง ปรากฎซากแนวกำแพงเมืองถึง 3 ชั้น ให้เห็นอย่างชัดเจน
    ส่วนบริเวณที่ติดกับอำเภอสองคือจังหวัดพระเยา มีทุ่งลอ นักวิชาการเชื่อกันว่าเป็นดินแดนเมืองแมนสรวงของพระลอ เมื่อคิดคำนวณระยะทางในการเดินทัพของพระลอมายังเมืองสรอง ในยุคนั้น ก็ใกล้เคียงสอดคล้องกับที่พรรณาไว้ในลิลิตพระลอ จึงน่าเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในอาณาเขตจังหวัดแพร่ น่าน พะเยา และลำปาง

    พระลอเป็นเรื่องรักโศก บรรยายถึงความรักระหว่าง พระลอ และพระเพื่อน พระแพง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความรักของหญิงชายอีกสองคู่ คือ นางรื่น นางโรย และนายแก้ว นายขวัญ พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง และพระลอ ตามลำดับ

    เนื่องจากเมืองเหนือสองเมืองเป็นศัตรูคู่อริไม่ถูกกัน กษัตริย์เมืองแมนสรวงพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระลอดิลกราช พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระสิริวรกายงดงามยิ่ง จนเป็นที่ปรากฏของหญิงทั้งหลาย และยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองสรอง เมืองนี้ปกครองโดยกษัตริย์พิชัยพิษณุกร

    กษัตริย์พิชัยพิษณุกรมีพระราชธิดาอยู่ 2 พระองค์ พระองค์พี่ พระนามาว่า พระเพื่อนแก้ว พระองค์น้องพระนามว่า พระแพงทอง พระราชธิดาทั้งสองสาบานกับเจ้าย่าว่าจะแก้แค้นให้เมืองสรองและถ้าผิดคำสาบาน จะต้องตายด้วยคมของอาวุธ เพราะปู่ของธิดาทั้งสองพ่ายแพ้ศึกเสียทีถูกพระราชบิดาของพระลอฆ่าตาย ต่อมาพระเพื่อน พระแพง ได้ฟังคนขับซอขับเพลงสรรเสริญพระลอ กล่าวถึงกิตติศัพท์ และพระรูปโฉมอันเปรียบดั่งเทพบุตรจากสวรรค์ หาบุรุษใดเทียบ ด้วยวิบากกรรมแต่หนหลังทำให้สองพระธิดาเกิดมีใจปฏิพัทธ์ในพระลอ ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยพบกันทำให้พี่น้องสองสาวมีใจหลงรักและคร่ำครวญอยากได้เห็นรูปโฉมของพระลอ

    เจ้าย่า ของพระเพื่อน พระแพง จึงส่งคนไปสีซอให้พระลอฟัง เป็นการพรรณนาความงามของพระเพื่อนกับพระแพง และใช้กฤติยามนต์ (หลอกให้กินสล่าบินหรือหมาก) เพื่อล่อให้พระลอมายังเมืองสรอง แล้วให้ทัพเมืองพะเยาไปตีเมืองแมนสรวงและจะลอบปลงพระชนม์พระลอ เมื่อเพื่อนแก้วและแพงทองรู้เรื่องนี้เข้าจึงให้รื่นและโรยช่วยแก้มนต์ให้ รื่นและโรยจึงไปหาประคำมาไว้ใต้ที่นอนของเพื่อนแก้วกับแพงทอง แต่ไม่ได้ผลรื่นและโรยจึงตัดสินใจไปหาปู่เจ้าสมิงพรายก่อนวันฉลองวันครองราชย์ของกษัตริย์พิชัยพิษณุกร แต่สายไปปู่เจ้าสมิงพรายมาเข้าทรงเจ้าย่าแล้วจึงหมดทางแก้ไขกฤตยามนต์โดย สิ้นเชิง หลังจากวันนั้นทั้งสองจึงไปขอให้ปู่เจ้าสมิงพรายดลให้พระลอมาถึงโดยเร็วกว่าเดิมเพื่อทูลเตือนเรื่องร้าย ปู่เจ้าสมิงพรายก็ให้ความช่วยเหลือ

    พระลอต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและมนต์ของเจ้าสมิงพราย เข้าก็ทรงเกิดความอยากทอดพระเนตรดูพระเพื่อนกับพระแพงขึ้นมาทันที จึงอำลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และพระนางลักษณวดีพระมเหสี เสด็จโดยด่วนไปยังเมืองสรองพร้อมด้วยนายแก้วนายขวัญสองพระพี่เลี้ยง

    เมื่อเสด็จถึงแม่น้ำกาหลง พระลอก็ทรงเสี่ยงน้ำ ปรากฏเป็นลางร้ายไม่ต้องพระทัยเลย แต่ก็ต้องเสด็จต่อไป เพราะต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและเจ้าปู่สมิงพรายเข้าแล้ว ปรากฏมีไก่แก้วของเจ้าปู่สมิงพรายคอยวิ่งล่อพระลอ กับพระพี่เลี้ยงให้ต้องไปจนถึงเมืองสรองจนได้ เมื่อไปถึงสวนหลวง นางรื่นกับนางโรยออกมาที่สวนหลวงก็ทราบข่าวว่าพระลอเสด็จมาถึงแล้ว จึงออกอุบายที่สำคัญคือ ให้พระเพื่อนและพระแพงเสด็จออกไปพบพระลอเพื่อเตือนภัย แต่พระลอเห็นความงามของนางทั้งสองจึงไม่ยอมกลับไปแต่สุดท้ายพระลอก็ ต้องกลับไปพร้อมให้สัญญาว่าจะกลับมาหาอีก

    วันหนึ่งรื่นและโรยเข้ามาในตำหนักและบอกว่าพระลอมาขอเข้าเฝ้า นางเห็นว่าถ้าพระลอออกไปก็อันตรายจึงพาพระลอเข้าไปอยู่ในตำหนักพระเพื่อน พระแพง ส่วนนายแก้วให้อยู่กับนางรื่น นายขวัญให้อยู่กับนางโรย ทุกอย่างลงตัวหมด ด้วยพระพี่เลี่ยงทั้งสี่ก็มีใจประดิพัทธ์ต่อกัน

    เวลาล่วงเลยไปถึงครึ่งเดือน กษัตริย์พิชัยพิษณุกรจึงทรงทราบเมื่อเสด็จมาพระตำหนักพระราชธิดา ทรงเห็นพระลอแล้วก็สงสาร ทรงเมตตารับสั่งให้จัดพิธีอภิเษกสมรสให้ แต่พระเจ้าย่าของพระเพื่อนพระแพง ไม่พอพระทัยจึงทรงขัดขวางทุกวิถีทาง ทรงอ้างรับสั่งของกษัตริย์พิชัยพิษณุกรว่าให้ทรงสั่งจับพระลอ ทหารจึงพากันจับพระลอไว้ ฝ่ายพระเพื่อนพระแพง และพระพี่เลี้ยงของทั้งสองฝ่ายรวม 4 คนก็ได้ช่วยขัดขวางสู้รบจนถึงที่สุด ด้วยความรักพระเพื่อน พระแพง ได้นำตัวเองเข้าบังพระลอไว้ ทั้งสามพระองค์และพระพี่เลี้ยงทั้งสี่ ไม่อาจหนีพ้นปืนไฟและลูกธนูของเหล่าทหารที่ระดมยิงใส่ได้ จนสิ้นพระชนม์และสิ้นชีวิตกันทั้งหมด

    กษัตริย์พิชัยพิษณุกร เมื่อทรงทราบเรื่องราวว่าพระลอ พระธิดาทั้งสองพระองค์ สิ้นพระชนม์ ทรงเสียพระทัยมาก ก็ทรงให้มีรับสั่งให้จับพระเจ้าย่า(ไม่ใช่แม่แท้ๆ ของพระพิชัยพิษณุกร เป็นมเหสีคนหนึ่งของพระราชบิดาของพระพิชัยฯ) และพรรคพวกประหารชีวิตเสียให้ตายตกไปตามกัน เพราะทรงพระพิโรธยิ่งนัก

    จากนั้นกษัตริย์พิชัยพิษณุกรได้โปรดให้จัดพิธีพระศพอย่างยิ่งใหญ่ นางบุญเหลือพระราชมารดาของพระลอส่งทูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์ (คือพระลอ พระเพื่อนแก้ว และพระแพงทอง) แล้วทรงขอแบ่งพระอัฐิธาตุไปส่วนหนึ่งตั้งแต่นั้นมา เมืองสรองและเมืองแม้นสรวงก็มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน

    ก่อนจะสิ้นพระชนม์แพงทองได้เขียนบันทึกเล่มหนึ่งจนเสร็จแล้วม้วนใส่ซองหนัง ไว้ในที่ลับตาคนก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ไป เนื้อหามีอยู่ว่า

    "หลังจากที่ข้าฯ ตายไป จะเป็นสิบปี.....ร้อยปีหรือพันปี.... ก็ตาม คนที่อยู่เบื้องหลังอาจรำลึกถึงเรื่องราวระหว่างข้าฯ สองพี่น้องกับท้าวเธอดุจนิยายฝันอ้นเลือนลาง จากปากหนึ่ง...ไปสู่อีกปากหนึ่ง...ท้ายสุดเรื่องราวของข้าฯ ก็จะมีค่าเป็นเพียงนิยายที่ไร้ความหมายเพียงเพื่อเล่าสู่กันฟังอย่างสนุก สนาน... แต่..คงจะมีสักวันหนึ่งคงจะมีคนมาพบบันทึกเล่มนี้เขาจะได้รู้ความจริงระหว่าง เพื่อนแก้ว ข้าฯ และท้าวเธอ ผู้ทรงนามว่าลอดิลกราช ก่อนจะมีผู้พบบันทึก ชื่อเสียงของข้าฯ อาจหมองมัว ข้าฯ อาจจะถูกประณามไม่ให้เอาเยี่ยงอย่างในฐานะหญิงโฉดเจ้ามารยาที่เอาชนะใจชาย ด้วยมนตรา! ข้าจะไม่แก้ตัวด้วยประการใดทั้งสิ้น แต่ขอวอนท่านให้อ่านบันทึกนี้จนจบ คราวนี้ท่านอาจจะให้อภัยข้าฯ ได้สักน้อยนิดก็ยังดี....บางครา....ท่านอาจเห็นใจข้าฯได้บ้างว่า ความรักของข้าฯ สองพี่น้องต่างหากที่เป็นความรักที่ต้องมนตรามิใช่ท้าวเธอแต่เพียงผู้เดียว"



    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=rOH2aB-qFxs]พระลอเลื่อนฟ้า - น้ำผึ้ง พาริณี - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2014
  17. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    สารคดีกึ่งละคร ธิราชเจ้าจอมสยาม "กระนั้นรักมิหักหาย"

    สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ตอนที่ 1 - 2


    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Mjha_S-v4G8]ธิราชเจ้าจอมสยาม {Thee Siamese Lord} Ep. 17 - YouTube[/ame]


    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=V6KYFa-OPiU]ธิราชเจ้าจอมสยาม {Thee Siamese Lord} Ep. 18 - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2014
  18. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ตอนที่ 3 - 4

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=iLTR8QQOjsk]ธิราชเจ้าจอมสยาม {Thee Siamese Lord} Ep. 19 - YouTube[/ame]


    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=w93ERkhKmew]ธิราชเจ้าจอมสยาม {Thee Siamese Lord} Ep. 20 - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2014
  19. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ตอนที่ 5 - 6

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=2_zEcPlR29s]ธิราชเจ้าจอมสยาม {Thee Siamese Lord} Ep. 21 - YouTube[/ame]


    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=EIYtP8bozyk]ธิราชเจ้าจอมสยาม {Thee Siamese Lord} Ep. 22 - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2014
  20. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ตอนที่ 7 - 8

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=kYquYWWsMXE]ธิราชเจ้าจอมสยาม {Thee Siamese Lord} Ep. 23 - YouTube[/ame]


    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=0eoppOER-JE]ธิราชเจ้าจอมสยาม {Thee Siamese Lord} Ep. 24 - YouTube[/ame]


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=A3A1so69DDc"]????????? ( ?????????? ???????? ????????? ) - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2014

แชร์หน้านี้

Loading...