ตำนานหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ พระพุทธรูปที่หลวงตามหาบัว กล่าวว่าศักสิทธิ์มากๆ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย kennek, 1 ธันวาคม 2011.

  1. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,164
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,232
    ตำนานหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์
    หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์
    พระพุทธรูปคู่บารมี หลวงปู่สอ พันธุโล


    [​IMG]


    หลวงพ่อเจ็ดษัตริย์องค์จริง เป็นพระพุทธรูปคู่บารมีของหลวงปู่สอ พันธุโล วัดบ้านหนองแสง ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่อายุประมาณ ๘๐๐ ปี ขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว หลวงปู่สอ ท่านได้มาเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๐๘ ในช่วงที่ท่านจำพรรษาอยู่วัดป่าอรัญญิกาวาส อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

    ก่อนหน้าที่จะได้รับพระพุทธรูปมา ประมาณพรรษาที่ ๒-๖ เวลาหลวงปู่สอนั่งสมาธิภาวนามักจะได้นิมิตเห็นงูใหญ่สีทองเท่าต้นเสามาหาที่ กุฏิ บางครั้งมาขนดตัวให้ท่านนั่งคล้ายพระนาคปรก มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านกำลังเดินรอบวัด ได้ยินเสียงดังขึ้นในอากาศว่า "สัญลักษณ์ของท่านอาจารย์นั้น จะตกทอดมาจากอากาศ บางทีอาจจะมีคนเก็บรักษาไว้ แล้วนำมาถวาย" หลวงปู่สอท่านเฝ้าสังเกตดูมาตลอดว่า อะไรที่ท่านจะได้รับตามนิมิตนั้น จนกระทั่งพรรษาที่ ๘ จึงมีสองสามีภรรยา ชื่อนายกำพล คนในอำเภอบ้านผือได้นำมาถวายในตอนเช้า ประมาณ ๙ นาฬิกา และหลวงปู่สอก็นำไปถวายให้หลวงตามหาบัวดูในตอนสายวันนั้น ซึ่งหลวงตามหาบัวบอกว่า "พระนี้เป็นของดีจริงๆ รักษาไว้ให้ดีนะ" หลังจากข่าวนี้แพร่ออกไปในหมู่พระเถระในสมัยนั้น ก็มีครูบาอาจารย์หลายรูปได้ชมและกราบไหว้ เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และ หลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นต้น

    พระพุทธรูปองค์นี้สามารถสื่อสารกับหลวงปู่สอได้ ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัวของท่าน ถ้าหลวงปู่ท่านอยากทราบอะไร หรือจะมีเหตุอะไรเกิดขึ้น ท่านก็มักจะกำหนดจิตกราบทูลถามเสมอ บางครั้งญาติโยมที่ไปกราบไหว้ ท่านก็ให้อธิษฐานยกพระพุทธรูปก็มีหลายคน

    เมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๐ พระครูสิทธิวราคม (นิคม) ได้มีโอกาสไปกราบหลวงปู่สอ และประจักรในพุทธคุณของหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ จึงขออนุญาตสร้างองค์จำลองไว้ ณ วัดเวฬุวัน แต่เนื่องจากใช้ทุนทรัพย์มาก จึงนิมนต์หลวงปู่สอ ไปที่บ้านเรือนไทยของคุณหญิง สุรีพันธ์ มณีวัต และได้ปรึกษาหารือท่านพระอาจารย์อุทัย (ติ๊ก) ฌานุตตโม เห็นสมควรร่วมกันสร้างขึ้น ประกอบกับในช่วง ปี ๒๕๔๐-๒๕๔๑ เป็นปีที่ประเทศไทยประสพภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและภาวะภัยแล้งอย่างหนัก หลวงปู่สอ จึงปรารภกับคณะศิษย์ว่า "ถ้าสร้างหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ จำลอง ครบ ๗ แห่ง จะช่วยให้สถานการณ์ต่างๆดีขึ้น" ดังนั้น จึงเกิดโครงการสร้างหลวงพ่อเจ้ดกษัตริย์ จำลองขึ้นซึ่งใช้ทุนทรัพย์กว่า ๒๐ ล้านบาท นอกจากนั้นในปี ๒๕๔๓ จึงได้มีการสร้างน้อมเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ เพื่อพระราชทานให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตอัญเชิญไปประดิษฐานที่เขื่อนภูมิพลและ เขื่อนสิริกิตติ์ด้วย

    ปัจจุบันแม้โครงการสร้างหลวงพ่อเจ็ดกษริย์ จำลอง จะยุติไปแล้ว แต่ก็ยังมีวัดและผู้มีจิตศรัทธา รวมทั้งบริษัทเอกชนและหน่วยงานภาครัฐขออนุญาตสร้างไปประดิษฐานไว้ที่หน่วย งานอยู่เสมอ จนปัจจุบันมีจำนวนที่สร้าง ขนาดหน้าตัก ๑๙ - ๙๙ นิ้ว ประมาณ ๑๖๕ องค์

    วัตถุมงคลหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์
    ๑. พระกริ่ง รุ่นแรก สีมันปูหรือรมดำ สร้าง พ.ศ.๒๕๓๗ ประมาณ ๕,๐๐๐ องค์ (หมดไปนานแล้ว แต่อาจหาบูชาได้บ้างจากลูกศิษย์ที่ได้รับแจกจากหลวงปูสอ)
    ๒. เหรียญมันปูหรือรมดำ รุ่นแรก สร้าง พ.ศ.๒๕๓๗ ประมาณ ๕,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ เหรียญ (หมดแล้วเช่นเดียวกัน)
    ๓. พระกรุ่งชุบทอง รุ่น ๒ (รุ่นแรกของโครงการ) สร้างพ.ศ.๒๕๔๑ พุทธาภิเษกในวันเททองหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ จำลององค์ใหญ่ ณ วัดเวฬุวัน
    ตำบลนิคม ชุดแรก ๑๒,๐๐๐ องค์ ชุดที่สอง ๑๘,๐๐๐ องค์ รวมจำนวน ๓๐,๐๐๐ องค์ (ปัจจุบันหมดแล้ว)
    ๔. เหรียญรมดำ รุ่น ๒ (รุ่นแรกของโครงการ) สร้างพ.ศ.๒๕๔๑ ชุดแรก ประมาณ ๓๐,๐๐๐ เหรียญ ชุดที่สอง สาม และสี่ ประมาณครั้งละ ๓๐,๐๐๐ เหรียญ
    รวม ๑๒๐,๐๐๐ เหรียญ


    คำอธิษฐานบูชาพระพุทธสิริสัตตราช
    (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์)

    (นะโม 3 จบ)

    ยัมปะเนตัง พุทธะสิริสัตตะราชาติ สะวะหะเยนะ ปัญญาตัง,
    ตะเมวะ อารัทธวิริเยนะ พันธุลัตเถเรนะ อาภุชังคะนิมิตเตนะ ลัทธัง,
    มะยัมปะนะ อัตตะโน อัตตะโน วิภูติง อาสิงสะมานา สักกัจจัง อิมะเมวะ

    พุทธะสิริสัตตะราชะ ปฏิมัง อภิปูเชมะ,
    อิมัสสานุภาเวนะ มหานิสังโส, มหาโภโค,
    มหาลาโภ นิรันตะระเมวะ อัมหากัง โหตุ


    << คำแปล >>

    ก็พระพุทธรูปนี้ใด, ที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
    ทราบทั่วกันโดยชื่อว่า พระพุทธสิริสัตตะราช
    พระพุทธรูปนั้นแล, อันพระเถระผู้มีนามว่า
    พันธุละ ผู้ปรารภความเพียร
    ได้มาแล้ว โดยนิมิตซึ่งเกิดขึ้นจากการนั่งสมาธิ
    ก็ข้าพเจ้าทั้งหลาย, หวังความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนฯ
    จึงขอบูชาเป็นพิเศษ ซึ่งพระพุทธปฏิมานามว่า
    พุทธสิริสัตตราช นี้แล โดยความเคารพ,

    ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธสิริสัตตราชนี้,
    ขออานิสงค์ใหญ่โภคะเป็นอันมาก ลาภมากมูล,
    จึงมีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
    ตลอดนิจนิรันดร์กาลนั่นเทอญฯ

    ประพันธ์โดย...พระเทพวรคุณ (สนาน สุเมโธ ป.ธ. ๙)
    วัดป่าแสงอรุณ จ. ขอนแก่น



    ข้อมูลเพิ่มเติมหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ >>> http://palungjit.org/threads/**อัศจรรย์-หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์-พระคู่บารมีหลวงปู่สอ-พันธุโล**.66694/



    [​IMG]



    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2012
  2. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,164
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,232
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่สอ พันธุโล

    (พระครูภาวนากิจโกศล)

    [​IMG]

    วัดป่าบ้านหนองแสง
    ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร



    ๏ ชาติภูมิ

    หลวงปู่สอ พันธุโล นามสกุล ขันเงิน ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 ปีระกา ตรงกับวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 ที่บ้านทุ่งมน ตำบลทุ่งมน อำเภอลุมพุก (คำเขื่อนแก้ว) จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร) บิดาชื่อนายตา ขันเงิน มารดาชื่อนางขอ ขันเงิน มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน 2 คน เป็นชายทั้งหมด คนแรกคือ หลวงปู่สอ พันธุโล คนที่สองคือ นายหมอ ขันเงิน ปัจจุบันอยู่ที่บ้านเดื่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

    สมัยที่หลวงปู่สอท่านเป็นฆราวาสนั้น เป็นคนที่ชอบสนุกสนาน ร่าเริง เข้ากับหมู่คณะได้ทุกคน ขณะเดียวกันก็ยังเป็นคนที่ค่อนข้างจะมีความสามารถในการกล่าวกลอนสด (ผญา) ของคนอีสาน เป็นที่ชอบใจของผู้ฟัง ทำให้คนแปลกใจว่าทำไมหลวงปู่จึงมีความสามารถมากเช่นนั้น ทั้งๆ ที่หลวงปู่สอ เรียนจบเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ป.3) แต่ถึงท่านจะชอบสนุกสนานรื่นเริง นิสัยประจำตัวอย่างหนึ่งของท่านที่มีอยู่โดยตลอด คือ ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร ซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติอันสำคัญยิ่งที่ส่งผลให้การทำความเพียรของท่านในภาย หลังจากอุปสมบทแล้ว มีความเด็ดเดียวมั่นคงและเจริญก้าวหน้าไปโดยลำดับ


    ๏ ครองฆราวาสวิสัย

    เมื่อครั้งที่ใช้ชีวิตฆราวาสอยู่นั้น เมื่ออายุได้ประมาณ 20 ปีเศษ หลวงปู่ได้แต่งงานกับนางบับ ซึ่งเป็นหญิงสาวชาวบ้านเดียวกันนั่นเอง หลังจากแต่งงานมีครอบครัวแล้วความรับผิดชอบทุกอย่างก็ตกอยู่กับท่าน เพราะท่านเป็นหัวหน้าครอบครัว จะต้องตื่นแต่เช้าขยันทำการงาน หนักเอาเบาสู้โดยหวังจะให้ภรรยาและลูกๆ มีความสุข บางครั้งต้องเดินทางรอนแรมไปต่างจังหวัดเพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัว หลายครั้งเมื่อกลับมาถึงบ้านก็มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับภรรยาบ้าง ตามประสาของฆราวาสเหมือนลิ้นกับฟันที่ต้องกระทบกันอยู่ทุกวัน ในช่วงมีครอบครัวนี้ท่านมีบุตร 3 คน ดังนี้คือ

    1. นางอ่าง ขันเงิน ปัจจุบันอยู่บ้านหนองแสง ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
    2. เป็นผู้ชาย (ไม่ทราบนาม) ปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว
    3. นางนาง ขันเงิน ปัจจุบันอยู่บ้านหนองแสง ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร


    ๏ สาเหตุแห่งการออกบวช

    ความคิดครั้งแรกก่อนแต่งงาน ท่านคิดว่าชีวิตจะมีความสุขมีความราบรื่น แต่สุดท้ายก็คิดได้ตามหลักสัจธรรม ว่าการมีครอบครัวเป็นการทำให้หมดอิสรภาพแทบทุกอย่าง ต้องแบกภาระมากมาย จิตใจก็หมกมุ่นอยู่แต่ในเรื่องของฆราวาสวิสัยในกิจการงาน จนไม่มีเวลาเป็นของตนเอง ชีวิตมีแต่ความทรมานเร่าร้อนเหมือนนั่งอยู่บนกองไฟ ความรู้สึกเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับฆราวาสโดยทั่วไปมากนัก นอกจากผู้มีบุญบารมีเก่าที่เคยสั่งสมมาในอดีตชาติเท่านั้น หลวงปู่ได้ตัดสินใจบอกความประสงค์ของท่านต่อภรรยาว่าท่านปรารถนาจะออกบวช เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายต่อการครองเรือน แต่ภรรยาของท่านก็ไม่เห็นด้วย เนื่องจากอยู่ในระหว่างการสร้างเนื้อสร้างตัว และลูกก็เล็กอยู่ หลวงปู่ไม่ละความพยายามเมื่อมีโอกาสก็ขออนุญาตออกบวชอยู่เสมอ จนภรรยาของท่านต้องยินยอม แต่มีข้อแม้ว่าต้องออกบวชเพียง 15 วันเท่านั้น

    [​IMG]
    หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ


    ๏ การบวชครั้งแรก

    ในปี พ.ศ.2496 ขณะอายุของหลวงปู่ได้ 32 ปี ท่านได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์เป็นครั้งแรก ณ พัทธสีมา วัดสร่างโศรก (วัดศรีธรรมาราม) ตำบลในเมือง จังหวัดยโสธร โดยมีพระครูปลัดบุญสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสังฆรักษ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาสาย เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “พันธุโล”

    หลวงปู่สอ พันธุโล ได้เล่าว่าท่านมีความสุขใจ และมีความพอใจมากที่ได้บวชสมความตั้งใจ ทำให้มีความปลอดโปร่ง เหมือนบุคคลที่เป็นโรคแล้วหายจากโรค เหมือนบุคคลที่ถูกขุมขังแล้วหลุดพ้นจากที่คุมขัง จิตใจมีความสงบเยือกเย็น มองเห็นชีวิตแห่งการบวชเป็นทางที่จะแสวงหาความสุขได้อย่างแท้จริง ในการบวชครั้งนี้ หลวงปู่สอท่านพยายามที่จะทำตามกำหนดเวลาของภรรยา คือ บวช 15 วัน แต่ในขณะที่บวชอยู่นั้นมีความรู้สึกสบายกายสบายจิต คิดว่าจะบวชให้นานที่สุด และท่านก็ได้ขอผัดผ่อนภรรยาเรื่อยมา สุดท้ายเมื่อครบ 15 วัน ท่านก็ไม่ได้สึกตามที่ภรรยากำหนดไว้ จึงทำให้ท่านได้อยู่ในเพศพรหมจรรย์ และปฏิบัติธรรมเพื่อความสงบสันติแห่งใจเรื่อยมาถึง 2 พรรษา ในปี พ.ศ.2496 ซึ่งเป็นพรรษาแรก หลวงปู่สอท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองแสง ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ซึ่งขณะนั้น หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ (ปัจจุบันอยู่วัดป่าบ้านนาคูณ จังหวัดอุดรธานี) เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้แนะนำสั่งสอนข้อวัตรปฏิบัติ ตลอดถึงในการอบรมด้านสมาธิภาวนา

    ครั้นต่อมาในพรรษที่สอง ปี พ.ศ.2497 หลวงปู่สอท่านได้ไปจำพรรษา และฝึกปฏิบัติภาวนาอยู่กับ หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก วัดป่าหนองไคร้ ตำบลหนองหิน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับวัดป่าบ้านหนองแสง หลวงปู่สอท่านเล่าว่า ในพรรษานี้ท่านได้ตั้งใจท่องปาฏิโมกข์ และสามารถท่องได้จบภายใน 29 วัน ซึ่งนับว่าเป็นพระผู้มีความเพียรและความจำดีเป็นเลิศผู้หนึ่ง และในขณะที่หลวงปู่สอท่านกำลังมีความสุขใจอยู่กับการปฏิบัติธรรมในช่วง 2 พรรษานี้ ก็จำต้องมีอุปสรรคเข้ามาขัดขวาง ทำให้ต้องจำใจสละเพศพรหมจรรย์ที่สูงส่งนี้ไป คือ ในปี พ.ศ.2498 ภรรยาของท่านได้มาขอร้องให้สึกออกเพื่อไปช่วยทำบ้านใหม่ ปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้ดีขึ้น เพื่อทำให้ครอบครัวได้เกิดความอบอุ่นใจ มีความมั่นคงในเรื่องที่อยู่อาศัย ซึ่งท่านก็จำใจที่จะต้องสึกออกไปด้วยความอาลัยเสียดายยิ่งนัก ถึงกระนั้นก็ตาม หลวงปู่สอว่า แม้ท่านจะออกไปเป็นฆราวาสแล้วก็ตาม แต่จิตใจยังมีความรู้สึกว่าตัวเองเป็นพระอยู่ และตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าเมื่อใดหรือวันใดก็ตามที่ทำภารกิจทางครอบครัวเสร็จ สิ้นลงแล้ว เมื่อนั้นหรือวันนั้นท่านจะเข้าอุปสมบททันที

    [​IMG]
    หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก


    ๏ บวชครั้งสุดท้าย

    หลวงปู่สอ เล่าว่าการที่ท่านต้องจำใจสึกออกไปนั้น เนื่องจากบ้านเรือนที่ทำไว้ก่อนหน้านี้อยู่ในสภาพไม่ดี เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ท่านจะต้องทำทุกอย่างให้ดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา อีก ปรากฏว่าในช่วงนี้หลวงปู่ต้องทำงานทุกอย่างชนิดหามรุ่งหามค่ำ ไม่มีเวลาที่จะไปเที่ยวเตร่หรือสนุกสนานกับใคร มุมานะทำงานทุกอย่างด้วยตนเองอย่างอดทน ใช้เวลาอยู่ประมาณ 2 ปี งานต่างๆ จึงเสร็จเรียบร้อย

    ในตอนเย็นวันหนึ่งหลวงปู่สอ ท่านได้บอกความประสงค์ของท่านให้ภรรยาทราบว่า ท่านปรารถนาจะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้ภรรยาท่านไม่ห้าม แต่กลับอนุโมทนาในความตั้งใจดีของท่าน เมื่อตัดสินใจแน่วแน่เช่นนั้น ท่านจึงเดินทางลงไปภาคใต้เพื่อทำงานรับจ้างหาเงินมาซื้อเครื่องบริขารและจัด งานบวชของท่านเอง มีอยู่ครั้งหนึ่งซึ่งควรบันทึกไว้เพื่อแสดงถึงสัจจบารมี และอธิษฐานบารมีของท่าน ก็คือครั้งนั้นขณะลงเรือไปในทะเลเพื่อข้ามฟากไปทำงาน ซึ่งอยู่จังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ เรือเกิดเครื่องเสียอยู่หลายวัน ช่างเครื่องพยายามแก้ไขอย่างไรก็แก้ไม่ได้ ในช่วงที่มีอุปสรรคเช่นนี้ หลวงปู่สอ ซึ่งขณะนั้นคือนายสอ ได้นั่งสมาธิแล้วตั้งจิตอธิฐานว่า “ข้าพเจ้ามาครั้งนี้ก็หวังที่จะหาเงินไปจัดงานบวชของตัวเอง ถ้าหากบุญที่ข้าพเจ้าจะได้บวชในพระพุทธศาสนามีอยู่ ขอให้เครื่องนี้ติดและใช้งานได้ดีดังเดิม” ปรากฏว่าเครื่องเรือเกิดติดขึ้นจริงๆ และเข้าสู่ฝั่งได้ ท่านทำงานได้เงินพอสมควรแล้วก็กลับบ้านหนองแสง เพื่อจัดงานบวชตามความตั้งใจ

    ในปี พ.ศ.2501 หลวงปู่สอท่านจึงได้อุปสมบทอีกครั้งในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2501 ในขณะที่มีอายุ 37 ปี ณ พัทธสีมาวัดศรีธรรมาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยมีพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์สวดชุดเดิม เมื่อได้อุปสมบทแล้ว หลวงปู่สอท่านพยายามฝึกฝนอบรมตัวเอง ด้วยการทำข้อวัตรปฏิบัติ และฝึกสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ ท่านได้เร่งประกอบความเพียรมากขึ้นโดยลำดับ เพราะท่านตั้งใจไว้อย่างแรงกล้าว่า ในการบวชครั้งนี้จะต้องให้รู้ธรรมให้เห็นธรรมให้ได้ ถ้าไม่รู้ไม่เห็นธรรมถึงจะตายก็ยอมตายไม่เสียดายชีวิต เพราะฉะนั้นหลวงปู่สอท่านจึงมีลักษณะเด็ดเดี่ยว และอาจหาญในการประกอบความเพียร และมีลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งของท่าน ก็คือท่านไม่ชอบคลุกคลีกับหมู่คณะหรือกับญาติโยม หากมีธุระจำเป็นใดที่จะต้องเกี่ยวข้อง ก็จะทำหรือพูดแต่พอประมาณเท่านั้นเอง เพราะเหตุนี้เองเมื่อท่านยังอยู่ในวัยหนุ่มท่านจึงชอบเที่ยววิเวกไปตามสถาน ที่ต่างๆ ฝึกฝนอบรมจิตใจจนแข็งแกร่ง แม้เมื่อมีปัญหาอุปสรรคใดๆ เกิดขึ้นจากการภาวนา ท่านจะรีบเข้าไปกราบเรียนขอคำแนะนำจากครูบาอาจารย์ผู้ที่เคารพนับถืออยู่ เสมอ

    [​IMG]
    หลวงปู่สาม อกิญจโณ

    [​IMG]
    หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส

    [​IMG]
    หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร


    พระมหาเถระที่หลวงปู่ท่านให้เคารพนับถืออย่างยิ่ง และไปพักปฏิบัติธรรมรับการแนะนำสั่งสอนจากท่านเป็นประจำ คือ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน และหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วก็ยังมีครูบาจารย์ที่ท่านได้เคยเดินทางไปธุดงค์ด้วยกัน เช่น หลวงปู่สาม อกิญจโณ, หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส, หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ และหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นต้น

    ในพรรษาแรกนี้ หลวงปู่สอท่านได้จำพรรษาอยู่วัดป่าบ้านหนองแสง ศึกษาอบรมข้อปฎิบัติอยู่กับหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ พอออกจากพรรษาแล้วท่านจึงเดินทางไปจังหวัดอุดรธานี เพื่อศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับหลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งในครั้งนั้น ท่านต้องเดินทางธุดงค์รอนแรมพักภาวนาไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้เร่งรีบอะไร กว่าจะถึงจังหวัดอุดรธานีก็ใช้เวลาหลายวัน และเมื่อเข้าสู่วัดป่าบ้านตาดอันเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงที่ท่าน ปรารถนาแล้ว ก็เข้าถวายสักการะหลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน มอบถวายกายใจให้ท่านอบรมสั่งสอน และทำให้การปฏิบัติธรรมของท่านก้าวหน้าไปโดยลำดับ

    ในปี พ.ศ.2502 ซึ่งเป็นพรรษาที่สองของหลวงปู่สอ พันธุโล ท่านได้จำพรรษาอยู่วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ในพรรษานี้ท่านได้เร่งความเพียร เพราะเห็นว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ศึกษาอบรมกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ผู้ทรง คุณธรรม และในพรรษานี้เองที่หลวงปู่สอท่านได้นิมิตเห็นงูใหญ่ ตัวสีทอง เลื้อยเข้ามาหาในกุฏิในขณะนั่งสมาธิอยู่ แล้วดันตัวท่านขึ้นขนดลำตัวเป็นวงกลมให้ท่านนั่ง (ความละเอียดตอนนี้อ่านได้ในประวัติหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) ซึ่งนิมิตอันนี้เองเป็นจุดที่เริ่มต้นที่จะให้ได้มาซึ่งพระพุทธรูป ศักดิ์สิทธิ์ “หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์” อันเป็นพระพุทธรูปคู่บุญบารมีหลวงปู่สอ ท่านเล่าว่าเมื่อปรากฏนิมิตเช่นนั้นแล้ว ท่านได้เล่าถวายหลวงปู่บุญมี ฟัง ต่อมาเมื่อหลวงปู่มหาบัว ทราบ จึงได้เรียกท่านไปสอบถามความเป็นไปต่างๆ ในขณะเกิดนิมิต และสุดท้ายหลวงปู่มหาบัว ท่านได้สั่งกำชับไม่ให้พูดให้ใครฟังอีก มันจะเกิดอะไรขึ้นก็อย่าไปสนใจ ให้พิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะหากเราส่งใจหลงใหลได้ปลื้มไปกับนิมิตที่ปรากฏ จะทำให้การปฏิบัติธรรมเนิ่นช้า และอาจเกิดวิปลาสได้ง่าย หลวงปู่สอเองท่านก็รับฟังคำแนะนำ ตักเตือนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ด้วยดี

    พอถึงฤดูกาลออกพรรษา ซึ่งเริ่มย่างเข้าฤดูหนาว หลวงปู่สอได้กราบลาพ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน ไปเที่ยวธุดงค์แถวจังหวัดหนองคายและจังหวัดเลย เพื่อหาประสบการณ์ ในสมัยนั้นเมื่อ 30 กว่าปีมาแล้ว ทั้งสองจังหวัดนี้ป่าเขายังอยู่อุดมสมบูรณ์มาก อาจเรียกได้ว่าเป็นลักษณะป่าช้าดงเสือ เมื่อเดินทางผ่านไปพบสถานที่ใดเหมาะแก่การเจริญจิตภาวนาท่านก็จะหยุดพัก ภาวนา 7 วันบ้าง 15 วันบ้าง บางแห่งพักนานเป็นเดือนๆ ก็มี และมีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านไปพักอยู่บ้านนาบะฮี ชาวบ้านมีอาชีพเป็นชาวไร่ ทำมาหากินกันอยู่ 3 ครอบครัว ท่านได้อาศัยญาติโยมทั้ง 3 ครอบครัวนี้ในการบิณฑบาต บางวันก็ได้ข้าวกับเม็ดกะบก บางวันก็ข้าวกับพริก และปลาร้า ท่านบอกว่าแม้อาหารการฉันจะอัตคัดขัดสน แต่การทำความพากเพียรทำสมาธิภาวนาดีมาก จิตใจมีความปลอดโปร่งสบายไม่เป็นทุกข์ไม่เป็นกังวลกับสิ่งใดๆ ตรงที่หลวงปู่สอพักภาวนานี้ เป็นถ้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า “ถ้ำพระ” ถ้ำแห่งนี้สมชื่อสมนามจริงๆ เพราะคนจะอยู่ได้ต้องมีจิตใจเป็นพระ คือ ต้องมีความอดทนเข้มแข็งจริงๆ ถ้าใครอยากจะเป็นพระให้มาภาวนาที่ถ้ำนี้ เมื่อเที่ยวธุดงค์แสวงหาความสงบเย็นใจไปตามจังหวัดต่างๆ พอสมควรแล้ว หลวงปู่สอจึงวกกลับมาทางจังหวัดอุดรธานีอีกครั้ง

    [​IMG]

    [​IMG]
    หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ พระพุทธรูปคู่บุญบารมีหลวงปู่สอ พันธุโล


    ๏ ลำดับงานปกครองและสมณศักดิ์

    - ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านหนองแสง ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

    - ปี พ.ศ.2520 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่ พระครูภาวนากิจโกศล


    ๏ การมรณภาพ

    หลวงปู่สอ พันธุโล เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านหนองแสง จังหวัดยโสธร ได้มรณภาพอย่างสงบด้วยอาการปอดติดเชื้อ ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2552 เวลาประมาณ 15.50 น. รวมสิริอายุได้ 88 ปี 4 เดือน 4 วัน พรรษา 51 ต่อมาได้เคลื่อนศพท่านไปยังวัดป่าบ้านหนองแสง

    หลวงปู่สอ ท่านเป็นคนยโสธรโดยกำเนิด ในด้านอุปนิสัยนั้น ท่านเป็นพระภิกษุที่มีอุปนิสัยเด็ดเดี่ยว อาจหาญมากๆ ท่านปฏิบัติจริงชนิดยอมตายได้ถ้าไม่บรรลุธรรม และสิ่งที่เป็นบุญวาสนาคู่บุญบารมีที่หลวงปู่สอมีไว้ ได้แก่ “องค์หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ได้จากสมาธิ ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่เป็นคุณอันวิเศษอย่างยิ่งและเป็นที่พึ่งของคนไทย ทั้งประเทศ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อ “องค์หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์” ขนาด 99 นิ้ว ไว้ในทุกๆ เขื่อนของประเทศ

    ในส่วนภูมิธรรมของหลวงปู่สอ ท่านหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ ได้กล่าวไว้ว่า “ท่านหลวงปู่สอ พันธุโล ท่านเป็นพระที่บริสุทธิแล้ว และท่านไม่เกิดอีกแล้ว” และที่พิเศษก็คือ เกสาและเล็บของหลวงปู่สอ ท่านแปรเป็นพระธาตุแม้ชีวิตท่านยังไม่สิ้นเลยก็ตาม

    การมรณภาพของหลวงปู่สอ นับเป็นการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ที่ได้สูญเสียพระอริยสงฆ์ที่บริสุทธิ์ อันเป็นเสาหลักในหัวใจอย่างไม่มีวันได้กลับคืนมาอีกแล้ว ขณะนี้ได้ตั้งศพท่านอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองแสง จังหวัดยโสธร กำหนดรดน้ำศพตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2552 เป็นต้นไป


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2011
  3. นางสาวอยู่จ้ะ

    นางสาวอยู่จ้ะ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +3,865
    อนุโมทนาค่ะ...เคยได้ยินชื่อหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์มาระยะนึงแล้ว
    สงสัยนิดนึงแล้วก็ผ่านไป, ดิฉันนึกแล้วว่าถ้าสงสัยอะไร เพื่อนสมาชิก
    จะนำมาลงให้อ่านเสมอ ขอบคุณมากค่ะ
     
  4. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    กราบอนุโมทนา สาธุ
    ในบุญกุศลทุกอย่างกับหลวงปู่ด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
  5. poon-pan

    poon-pan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,292
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,115
    เล่าสู่กันฟัง...

    ตอนช่วงปี 2540 ต้นๆ เริ่มมีการสร้างองค์หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ประดิษฐานไว้ตามเขื่อนของ กฟผ.ต่างๆ โดยเริ่มที่เขื่อนภูมิพลก่อนเป็นเขื่อนแรก ช่วงนั้นก็มีการทำบุญสร้างเหรียญและรูปหล่อ 7 นิ้ว 9 นิ้วสำหรับให้บูชาและแจกเป็นที่ระลึกในงานเททอง

    ผู้มีสมาธิท่านนึงมีความสามารถสัมผัสถึงพลังในวัตถุมงคลนั้นๆได้ ตอนนั้นก็มีเพื่อนคนนึงนำเอารูปหล่อลอยองค์ไปให้พี่ท่านนี้ช่วยดูให้หน่อย พอพี่คนนี้รับไป พี่เขาบอกว่าเขาได้ยินเสียง บอกเขามาว่า "ไม่ต้องดูหรอก"เรื่องปาฏิหารย์ในทำนองนี้ ลูกศิษย์ของหลวงปู่สอนั้นต่างก็รู้กันดี แต่ส่วนมากไม่นิยมออกมาเล่าสู่กันฟัง เพราะหลวงปู่สอท่านบอกเอาไว้ในทำนองสั่งห้ามไม่ให้ลูกศิษย์นำไปพูดถึงอิทธิปาฏิหาริย์ขององค์หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์
     

แชร์หน้านี้

Loading...