ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    มูฮัมหมัดคาร ฮารุดีน

    สายการบินเอมิเรตส์ ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กล่าวว่าต้องการขยายเส้นทางบินเพิ่มในอิหร่าน ซึ่งอีหร่านคือตลาดที่สำคัญมาก(แต่ทำมั้ยสายการบินไทยจึงยกเลิก)
    product_shop_1311751751.jpg
    -=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-

    เรากำลังมองหาโอกาสที่นั่น อิหร่านไม่ได้เป็นประเทศเล็ก ๆ มันใหญ่มากเช่นเดียวกับประเทศอินเดีย "นาย Shaikh Majid Al Mualla รองประธานอาวุโสฝ่ายกิจการการค้าของเอมิเรตส์กล่าว

    ปัจจุบันเรามีเที่ยวบินไปยังกรุงเตหะรานของอิหร่าน และเมืองศักดิ์สิทธิ์"มาชัด"

    หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษจากดูไบ (Gulf News) เปิดเผยว่าสายการบิน Emirates ได้รับแรงหนุนจากความต้องการเที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งในกรุงเตหะรานและรัฐมาชัด กล่าวว่ามีการจองที่นั่งกว่า 70% ตลอดทั้งปีโดยมีอัตราการเข้าพักสูงสุดถึง 90% ในช่วงฤดูท่องเที่ยวในสองเมืองนี้

    อัลมูอัลล่ากล่าวว่า บริษัท ยังไม่ได้หารือเกี่ยวกับแผนขยายกำลังเพิ่มกับทางการอิหร่าน "เราไม่ได้เริ่มเจรจา (กับอิหร่าน) แต่ผมมั่นใจว่าเมื่อถึงเวลาแล้วมันจะเกิดขึ้น" เขากล่าว

    UAE เป็นคู่ค้าหลักกับอิหร่านแม้ว่าจะมีการปรับลดความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2016 หลังจากที่ซาอุดิอาระเบียได้ตัดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐอิสลามแห่งอีหร่านเนื่องจากการประท้วงของอิหร่านในการดำเนินการกับผู้นำมุสลิมชีอะฮ์ในซาอุอย่างเหี้ยมโหด
    BY>>>>>Giant Khan<<<<<
    http://parstoday.com/en/news/iran-i82744-uae’s_emirates_plans_expansion_in_iran_report

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    มูฮัมหมัดคาร ฮารุดีน

    ผู้บัญชาการ"ไอซิส"สายซาอุดิอารเบีย และผู้บัญชาการ"ไอซิส"สายจอร์แดน
    ถูกกองทัพซีเรียสังหารในภาคใต้ของดามัสกัส
    product_shop_1311751751.jpg
    -=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-

    TEHRAN (FNA)
    ผู้บัญชาการ"ไอซิส"สายซาอุดิอารเบีย และผู้บัญชาการ"ไอซิส"สายจอร์แดน ถูกสังหารในดามัสกัสตอนใต้เมื่อวันอังคารหลังจากที่ฐานบัญชาการของพวกเขาโดนโจมตีอย่างหนักจากกองทัพซีเรีย
    หน่วยปืนใหญ่และขีปนาวุธของกองทัพบกและเครื่องบินได้โจมตี ไอซิส ในพื้นที่ Hajar al-Aswad และ al-Qadam

    แหล่งข้อมูลภาคสนามกล่าวว่าศูนย์บัญชาการหลักของ ไอซิส ถูกทำลายราบเป็นหน้ากลองจากการโจมตีนี้ และกลุ่มก่อการร้ายไอซิสระดับผู้บัญชาการหลายคนเสียชีวิต เช่นจอร์แดน Qeis al-Mahayeh และซาอุดีอาระเบีย Karar al-Shemri และ Ayub Najdi และบาดเจ็บอีกจำนวนมาก
    BY>>>>>Giant Khan<<<<<
    http://en.farsnews.com/newstext.aspx?nn=13970204001095
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    มูฮัมหมัดคาร ฮารุดีน

    ขบวนทหารอเมริกันชุดใหม่เข้ามาทางตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย
    product_shop_1311751751.jpg
    -=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-

    กองทัพสหรัฐและฝรั่งเศสได้ส่งขบวนทหารชุดใหม่ไปยังจังหวัด Hasaka ทางตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย กองกำลังอเมริกันและฝรั่งเศสได้เพิ่มการเคลื่อนไหวทางทหารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และสหรัฐฯมีแผนที่จะตั้งสนามบินทหารใกล้กับฐานทัพที่ตั้งขึ้นมาใหม่ด้วย
    เครือข่ายโทรทัศน์อัลมานาร์รายงาน
    (ทั้งๆที่รัฐบาลซีเรีย หรือคำสั่งของสหประชาชาติ ไม่เคยอนุญาตเลย แต่สหรัฐก็ยังหน้าด้านจะอยู่ในซีเรียต่อไป)
    BY>>>>>Giant Khan<<<<<
    http://en.farsnews.com/newstext.aspx?nn=13970204001209
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Wudhichai Maitreesophone
    product_shop_1311751751.jpg
    กรุงดามัสกัส ตอนใต้ เข้าสู่ภาวะที่ไม่ปลอดภัยอีกแห่งแล้ว ผู้ก่อการร้าย ISIS มีฐานที่ตั้งทางใต้ของกรุงดามัสกัส และอยู่ในรัศมีที่สามารถโจมตีดามัสกัสด้วยจรวดได้ วันนี้ 16.30 น. เวลาซีเรีย ผู้ก่อการร้าย ISIS ได้ยิงจรวดเข้าโจมตีเขตด้านใต้ของกรุงดามัสกัส ที่ย่านตลาด Nahr Aiysha มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตหลายราย

    https://www.almasdarnews.com/articl...nd-injured-in-isis-rocket-attack-on-damascus/
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Wudhichai Maitreesophone
    product_shop_1311751751.jpg
    มีรายงานด่วนของ Al-Masdar News เข้ามาว่า เมื่อเวลา 21.30 น. เวลาซีเรีย หรือราว 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา ผู้ก่อการร้าย Hay'at Tahrir Al-Sham ที่อยู่ด้านเหนือของเมือง Latakia (เป้าหมายที่กลาโหมรัสเซียสั่งให้กองพล Tiger Forces ส่งกำลังเข้าทำลายโดยเร็ว แต่ตอนนี้ Tiger Forces ยังติดภาระกิจที่ค่ายผู้อพยพชาวปาเลสไตน์ Yamouk Camp กับผู้ก่อการร้าย ISIS อยู่) ได้ยิงจรวดเข้ามาเพื่อทำลายฐานทัพอากาศ Hmaymim Airbese ของรัสเซีย แต่ถูกระบบ SAM ป้องกันภัยทางอากาศของฐานทัพอากาศ Hmaymim ยิงทำลายได้ทั้งหมด ก่อนถึงเป้าหมาย โดยการระดมยิงขีปนาวุธครั้งนี้ ผู้ก่อการร้าย HTS ได้ส่ง Drone ตามมาถ่ายภาพการโจมตีด้วย แต่ Drone ก็ถูกยิงตกไปด้วย

    https://www.almasdarnews.com/articl...fenses-foil-rocket-attack-on-hmeymim-airbase/
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Jeerachart Jongsomchai

    ... “อาลีบาบา ถูกกล่าวหาว่าบีบคอให้บริษัทตะวันตกลงนามสัญญาผูกขาดขายสินค้าผ่านตลาดออนไลน์พวกเขาเจ้าเดียว”

    ... “อาลีบาบา” ผู้ค้าปลีกอีคอมเมิร์ซของจีนได้ปฏิเสธรายงานว่าพวกเขาได้ "ลงโทษ" แบรนด์ตะวันตกที่สำคัญหลายแห่งเนื่องจากไม่ได้ลงนามใน “ข้อตกลงการผูกขาด” กับ แพลตฟอร์ม Tmall ท่ามกลางข้อกล่าวหาว่าเจตนาทำให้ยอดขายของแบรนด์ลดลงมากถึงร้อยละ 20 ... ( คือประมาณว่าจะต้องลงนามให้เอาสินค้าของพวกเขามาขายใน"ตลาดออนไลน์" ของบริษัทข้า Tmall ที่บริหารโดย Alibaba เจ้าเดียวเท่านั้น แต่พอบริษัทจากตะวันตกพวกนั้นที่ต้องการลงขายสินค้าในหลายเวปหลายตลาดออนไลน์ เช่นของ JD.com ด้วย จึงไม่ยอมลงนามข้อตกลงดังกล่าว พวกนั้นก็เลยถูกเล่นงานให้การค้นหาสินค้ายากขึ้นและทำให้ยอดขายตกลงในที่สุด )

    ... Tmall หรือ Taobao Mall เป็นเว็บไซต์ภาษาจีนเครือข่ายของอาลิบาบา ทำมาเพื่อสำหรับ “ผู้ค้าปลีกออนไลน์ธุรกิจกับผู้บริโภค” หรือ business-to-consumer (B2C) ซึ่งแยกตัวจาก Taobao ซึ่งดำเนินการโดยกลุ่มอาลีบาบาในประเทศจีน เป็นเวทีสำหรับธุรกิจในประเทศจีนและนานาชาติที่จะขาย “สินค้ามีแบรนด์” ให้กับผู้บริโภคในจีนแผ่นดินใหญ่ฮ่องกงมาเก๊าและไต้หวัน เป็นหนึ่งในเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีผู้ใช้งานมากกว่า 500 ล้านรายในเดือนกุมภาพันธ์ปี พ. ศ. 2561 นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุด 20 อันดับแรกของโลก

    ... ในแถลงการณ์อาลีบาบาเรียกรายงานข่าวจาก AP ว่า "ผิดอย่างสิ้นเชิง" เสริมอีกว่า "อาลีบาบาและระบบ Tmall ดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมายของประเทศจีน"

    ... การกล่าวถึงประเด็นเรื่อง “ข้อผูกมัด” แถลงการณ์ของอาลีบาบาระบุอย่างชัดเจนว่า "เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมากมายเรามีหุ้นส่วนผู้ร่วมค้าขายที่เฉพาะเจาะจงกับผู้ค้าบางรายใน Tmall ผู้ประกอบการขายตัดสินใจที่จะเลือกวิธีการดังกล่าวเนื่องจากการให้บริการที่น่าดึงดูดใจและคุณค่าที่ Tmall นำมาให้พวกเขา "

    ... AP รายงานต่อว่า ข่าวของเขามีฐานข้อมูลอยู่บนชุดของการสัมภาษณ์ซึ่งรวมถึงผู้บริหารระดับสูงของอเมริกาห้าคนที่ไม่ให้ระบุชื่อของพวกเขาโดยมีสามคนที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของ บริษัท ที่มียอดขายมูลค่าหลายพันล้านดอลล่าร์ แบรนด์ห้าแห่งอ้างว่าหลังจากที่ปฏิเสธที่จะลงนามในข้อผูกขาดเกี่ยวกับอาลีบาบาและลงทะเบียนใน JD.com แทน ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้าอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดของอาลีบาบาในประเทศจีนยอดขายของพวกเขาลดลง

    ... ข่าวบอกต่อ ว่าแบรนด์หนึ่งในนั้น เห็นยอดขายของ Tmall ลดลง 10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีที่แล้วหลังจากที่โฆษณาถูกลบออกจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซโดยเร็วจนตามไม่ทันและผลิตภัณฑ์ของ บริษัท ถูกบังคับให้อยู่ต่ำสุดของผลการระบบการค้นหาสินค้า

    ... AP อ้างว่ารายงานเป็นผลมาจากการตรวจพิสูจน์เป็นระยะเวลาหลายเดือนซึ่งมีผู้คนมากกว่า 30 ราย ที่ได้รับการสนับสนุนจาก JD.com ซึ่งอ้างว่ากว่า 100 แบรนด์ของจีน ได้โดดหนีจากแพลตฟอร์มของพวกเขาแล้วอพยพไปซบอก Tmall ของเครืออาลิบาบาในปีที่ผ่านมา

    ... ในเดือนพฤศจิกายนปี 2017 ที่ผ่านมา นายหวงเสี่ยวเสี่ยวหัวหน้าฝ่ายการเงินของ JD.com กล่าวว่าการอพยพจากแพลตฟอร์มของเขาไปยัง Tmall ได้กลายเป็น "ยุทธวิธีที่บีบบังคับลูกค้า" ของอาลีบาบาซึ่งถ้าพิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องจริงแล้วจะผิดกฎหมายและชัดเจนต่อผู้ประกอบการ

    ... ข่าวอธิบายการแข่งขันระหว่างอาลีบาบาและJD.com ว่าเป็น "สงครามระหว่างแมวดำ(โลโก้ Tmall )และสุนัข(โลโก้ JD.com )" AP อ้างว่าได้เห็นสัญญาของ Tmall กับผู้ประกอบการที่ต้องการ ที่บอกว่า "ต้องไม่ใช้บริการร้านค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอื่น ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Tmall" แปลว่าถ้าบริษัทตะวันตกจะขายของออนไลน์อีคอมเมิร์ซในจีน ต้องขายกับ Tmall เครือของอาลิบาบาเท่านั้น ให้เลือกเจ้าเดียว ขายผ่านหลายเครือเวปไม่ได้

    ... ก่อนหน้านี้ JD.com ได้ร้องเรียนอย่างเป็นทางการต่อ Alibaba เกี่ยวกับการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม โดยในปี 2015 JD.com ได้เดินทางไปที่ศูนย์กลางการบริหารอุตสาหกรรมและการค้าของรัฐ หรือ State Administration for Industry and Commerce เพื่อลงทะเบียนร้องเรียนเรื่องที่ว่า Tmall เพื่อบังคับให้ บริษัท ต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมในแคมเปญการขายที่หวือหว่ากำไรงาม เช่นแคมเปญ Singles 'Day

    ... อาลีบาบาก็สวนกลับสับศอกมาว่า ในขณะที่JD.com กำลังจดจ่ออยู่กับการเขียนคำร้องเรียนที่ไร้เหตุผลเพื่ออธิบายว่าทำไมพวกเขาสูญเสียแบรนด์ของลูกค้าไป แต่เราอาลีบาบากลับมุ่งเน้นที่จะทำให้แพลตฟอร์มของเราดีที่สุดและเป็นธรรมสำหรับผู้ค้าของเรา”

    ... ( จะลงทุนกับบริษัทเครือของอาลีบาบาต้องคิดดีๆ ในหลายๆมุม บางอย่างก็ดี บางอย่างไม่ต้องพึ่งพาแบรนด์และการโฆษณา ก็ไม่ต้องผ่านพวกเขาให้เสียรายได้ และถูก "ผูกขาดแค่ตลาดออนไลน์เดียว" ก็ได้ ถ้าผลเสียมันจะตามมา เช่นราคาทุเรียนจะแพงขึ้นจนคนไทยเองไม่สามารถจะกินได้ เพราะว่ากลไกราคาถูกผูกขาดจาก “พ่อค้าคนกลางออนไลน์” ไปหมดแล้ว )

    .

    .

    .

    https://news.cgtn.com/news/3d3d514f7951444d77457a6333566d54/share_p.html
    https://www.nytimes.com/aponline/2018/04/22/world/asia/ap-as-china-cat-and-dog-war-abridged.html
    https://en.wikipedia.org/wiki/Tmall

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ผิดแผน! หนังรักพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 หวังบูมรัสเซีย ศาสนจักรกลับไม่ปลื้มเอามากๆ วันที่ 24 เมษายน 2561 - 22:04 น.

    1497-696x418.jpg
    เดอะการ์เดียน รายงานกระแสวิพากษ์วิจารณ์ภาพยนตร์เรื่องมาทิลดา เป็นละครอีโรติกดราม่า ย้อนยุค เรื่องราวความรักของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โรมานอฟแห่งจักรวรรดิรัสเซีย กับนักบัลเลต์สาว เพื่อส่งออกวัฒนธรรมของรัสเซีย แต่กลับสร้างความโกรธแค้นให้ศาสนจักรออร์โธดอกซ์ของรัสเซีย




    ท่ามกลางความสัมพันธ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับอังกฤษ ภาพยนตร์มาทิลดาออกฉายในโรงภาพยนตร์อังกฤษในสัปดาห์นี้ หนังมีเครื่องแต่งกายวิจิตร รวมทั้งนักแสดงนานาชาติ และฉากวาบหวิวอยู่บ้าง แต่ที่เป็นประเด็นถกเถียงกันมากคือเรื่องความถูกต้องของข้อมูลทางประวัติศาสตร์และการดูหมิ่นประมาทพระเกียรติซาร์นิโคลัสที่ 2 ที่ทำให้กลายเป็นเรื่องโจษจันในประเทศรัสเซีย

    ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเรื่องความรักในชีวิตจริงระหว่างซาร์นิโคลัสที่ 2 กับ มาทิลดา คเชซินสกายา นักบัลเล่ต์สาวตัวชูโรงละคร ที่ทำให้ซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงเกือบไม่ได้ขึ้นครองราชย์ เมื่อปี 2439 และยังมีการถกเถียงเรื่องที่ว่า เหตุการณ์ที่จุดชนวนไปสู่การปฏิวัติรัสเซียด้วยพรรคบอลเชวิกเมื่อปี 2460

    18505238_303.jpg

    เมื่อภาพยนตร์มาทิลดา เปิดตัวอย่างในกรุงมอสโกเมื่อเดือนต.ค.2560 ก็ถูกประท้วงจากชาวคริสต์ออโธดอกซ์รัสเซีย เพราะพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้รับการฟื้นฟูพระเกียรติยศขึ้นมาอีกครั้งในปี 2543 ซึ่งเป็นครั้งแรกภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงมีสัมพันธ์ทางเพศก่อนสมรส ซึ่งเป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่อเรื่องบาป

    35961966_403.jpg
    นาตาเลีย โปคลอนสกายา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิง
    การเปิดตัวอย่างภาพยนตร์ทำให้เกิดความวุ่นวายทั่วประเทศ เช่น โรงภาพยนตร์ในเมืองเยคาเตรินบูร์ก ก็มีเหตุลอบวางเพลิงหลายจุด

    ด้านนาตาเลีย โปคลอนสกายา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิง รณรงค์ให้ยกเลิกการฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ และมีโรงภาพยนตร์ 28 เมืองทั่วรัสเซียยกเลิกการฉายภาพยนตร์เพื่อป้องกันกลุ่มผู้ประท้วง หรืออ้างเหตุผลว่า ขัดข้องทางเทคนิค ถึงแม้ว่าทางการรัสเซียจะไม่มีคำสั่งห้ามฉายก็ตาม
    [​IMG]

    18505237_401.jpg

    อินเกบอร์กา ดัพคูไนเทีย ดาราสาวผู้รับบทเป็นพระราชชนนี ในพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เผยว่าถึงตนไม่ใช่ชาวคริสต์ออร์โธดอกซ์ แต่ก็ไม่ต้องการดูหมิ่นผู้นับถือคริสต์ออร์โธดอกซ์ด้วย

    “ปัญหาอยู่ที่ว่าคุณต้องการดูภาพยนตร์เรื่องนี้โดยปราศจากการถกเถียงใดๆ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวความรักและความบันเทิง ไม่มีความหมายทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น”

    18493780_403.jpg

    อเล็กเซย์ อูชิเทล ผู้อำนวยการสร้างระบุว่า ภาพยนตร์เรื่องมาทิลดา เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ โดยใช้ทุนสร้างสูงที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซียสูงถึง 787 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีกระทรวงวัฒนธรรมออกให้เป็นจำนวน 1 ใน 3

    ปฏิกิริยาต่อภาพยนตร์เรื่องมาทิลดา สะท้อนถึงความเป็นปฏิปักษ์ของวัฒนธรรมร่วมสมัยของรัสเซีย และน่าจะเป็นภาพยนตร์ชั้นนำที่สร้างขึ้นมาเพื่อแสดงให้โลกรู้ถึงความยอดเยี่ยมของภาพยนตร์ของรัสเซีย และสถานีที่งดงามของนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

    https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_1003541
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    มหากาพย์ป้อมมหากาฬ (1) : ‘คนอยู่’ เล่ารอยร้าวชุมชน ในวันที่ กอ.รมน.รุกถึงหน้าบ้าน
    Published on Sat, 2018-01-27 13:18
    เยี่ยมยุทธ สุทธิฉายา รายงาน


    คุยกับคนที่ยังอยู่ในชุมชนป้อมมหากาฬถึงความกดดันที่จะอยู่ในชุมชนต่อ เล่าประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่สมัยโด่งดังเรื่องพลุไฟ กัญชา จนถึงรอยร้าวที่มาจากหน่วยงานรัฐที่ทำให้ชุมชนโบราณชานเมืองแห่งสุดท้ายขนาด 300 คนเหลือกันอยู่ไม่ถึง 50 คน



    25036532887_d99623b1ac_o.jpg

    หลังปรากฏบนหน้าข่าวมานานกว่า 25 ปี มหากาพย์ชุมชนป้อมมหากาฬ-กรุงเทพฯ ได้มาถึงจุดที่ชุมชนจำนวนกว่า 300 คน เหลือไม่ถึง 50 คนแล้ว เส้นทางของชุมชนชานเมืองดั้งเดิมรัตนโกสินทร์แห่งสุดท้ายที่กำลังถูกไล่รื้อนั้นดำเนินไปท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเวนคืนที่เป็นการลิดรอนสิทธิของคนในชุมชน ความเหมาะสมของการเวนคืนที่ไปทำสวนสาธารณะ ความไม่เหมาะไม่ควรที่จะให้คนจนอาศัยในพื้นที่ใจกลางเมืองหลวง ฯลฯ

    ทิศทางของชุมชนจะเป็นอย่างไรต่อไปเป็นประโยคคำถามที่ครอบคลุมไปถึงอนาคตของคนที่อยู่ข้างใน ในวันนี้ที่ชุมชนเบาบางและหายใจรวยริน ประชาไทลงพื้นที่ชุมชนป้อมมหากาฬเพื่อพูดคุยกับผู้อยู่อาศัยที่ยังอยู่ ติดตามไปหาคนที่ย้ายออกไปยังสถานพักพิงชั่วคราว สมาคมสถาปนิกสยามกับความพยายามรักษาสถาปัตยกรรมของชุมชน และพูดคุยกับนายทหารฝ่ายข่าวของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน กรุงเทพฯ (กอ.รมน.กทม.) ที่ทุกวันนี้ตั้งเต็นท์อาศัยในลานกลางชุมชนตลอด 24 ชั่วโมงมาสองเดือนแล้ว เพื่อทราบถึงเป้าหมาย ความหวัง ทิศทาง ความกดดันของแต่ละตัวละคร สิ่งที่สะท้อนคือภาวะความไม่มั่นคงของทั้งคนที่ยังอยู่และคนที่ย้ายออก สุดท้ายจะย้ายหรือจะอยู่ก็เป็นทางเลือกบนสภาวะที่ไม่มีทางเลือก

    25037993817_72f0babe9c_b.jpg
    ความเดิมตอนที่แล้ว: จุดเริ่มต้นของปมปัญหา อัพเดทสถานการณ์ปัจจุบัน

    ชุมชนป้อมมหากาฬ เดิมมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4 ไร่ 300 ตารางวา ปี 2559 มีบ้านเรือนทั้งหมด 64 หลัง ประชากรประมาณ 300 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย เช่น ขายกระเพาะปลา ส้มตำ ไก่ย่าง ขายพลุ ดอกไม้ไฟ ฯลฯ ถือเป็นย่านที่อยู่อาศัยเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีทั้งขุนนาง ข้าราชบริพาร ปลูกสร้างบ้านเรือนพักอาศัยอยู่นอกกำแพงพระนคร รวมทั้งมีชุมชนเรือนแพอยู่ในคลองโอ่งอ่าง โดยมีป้อมที่สร้างขึ้นตามกำแพงพระนครในสมัยนั้นรวม 14 ป้อม (เหลือปัจจุบันเพียง 2 ป้อม คือ ป้อมมหากาฬและป้อมพระสุเมรุ)

    ปัญหาที่ชุมชนป้อมมหากาฬได้รับผลกระทบอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นผลมาจากโครงการปรับปรุงพื้นที่บริเวณป้อมมหากาฬเพื่อจัดทำเป็นสวนสาธารณะและอนุรักษ์โบราณสถานของชาติตั้งแต่ปี 2502 ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาเกาะรัตนโกสินทร์ ทำให้ต้องมีการรื้อถอนบ้านและย้ายชุมชนที่อยู่ในแนวกำแพงป้อมมหากาฬออกทั้งหมด เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และทำเป็นสวนสาธารณะแต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ ต่อมา กทม.ทำการเวนคืนที่ดินในปี 2535 ตั้งแต่นั้นก็มีปัญหาไล่รื้อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีชาวบ้านบางส่วนที่รับเงินค่าเวนคืนไปแล้ว แต่ชาวชุมชนส่วนใหญ่ต่อสู้และคัดค้านมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ในปี 2546 กทม.ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาเพื่อปิดล้อมเตรียมการไล่รื้อ แต่ชาวชุมชนและเครือข่ายคูคลองหลายร้อยคนได้คล้องแขนเป็นกำแพงมนุษย์ปิดกั้นไม่ให้เจ้าหน้าที่บุกเข้าไป ต่อมาในปี 2547 ชาวชุมชนยื่นฟ้อง กทม.ต่อศาลปกครอง ศาลปกครองพิพากษาในเวลาต่อมาให้ กทม. มีสิทธิในการเวนคืนเพื่อพัฒนาที่ดิน

    เมื่อปี 2560 มีการประชุมคณะกรรมการ 4 ฝ่ายระหว่างกรุงเทพมหานคร ผู้แทนชุมชนป้อมมหากาฬ ผู้แทนภาคประชาสังคม และฝ่ายความมั่นคงช่วยเดือน เม.ย. - ก.ค. โดยกลุ่มนักวิชาการเสนอแนวทางการพิจารณาอนุรักษ์บ้านผ่านคุณค่าทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์, ด้านศิลปะ สถาปัตยกรรมและผังเมือง, ด้านสังคมและวิถีชีวิต, ด้านโบราณคดี และด้านวิชาการ ซึ่งข้อตกลงในตอนนั้นได้ตกลงกันว่าจะให้เก็บบ้านในชุมชนเอาไว้จำนวน 18 หลัง

    เมื่อ 7 ก.ค. 2560 ยุทธพันธุ์ มีชัย เลขานุการผู้ว่าราชการ กทม. ตัวแทนพูดคุยประเด็นป้อมมหากาฬของทาง กทม. ระบุว่าไม่สามารถเก็บบ้านไว้ได้ทุกหลัง และแบ่งบ้านเป็นโซนที่จะอนุรักษ์และโซนที่จะต้องรื้อ ก่อนที่จะนำข้อเสนอดังกล่าวให้ทาง กทม. พิจารณาต่อไป แต่หลังจากนั้นก็มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเมืองขึ้นมาและได้ตัดสินให้คงบ้านไว้เพียง 7 หลัง ทั้งนี้ การเก็บบ้านไม่ได้หมายความว่าจะให้เจ้าบ้านอยู่อาศัยในบ้านได้ต่อไป

    ในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของในหลวง ร.9 พื้นที่หัวป้อมถูกนำไปใช้เป็นห้องครัวและห้องสุขา และหลังจากพระราชพิธีฯ ในเดือน พ.ย. หน่วยทหาร-พลเรือน ของ กอ.รมน.กทม. เข้าไปตั้งเต็นท์อาศัยในลานกลางชุมชน โดยอ้างว่าเข้ามาเพื่อปราบปรามการลักลอบการจำหน่ายพลุไฟ และยังคงปักหลักอยู่ที่ลานกลางชุมชนจนถึงทุกวันนี้ โดยมีเจ้าหน้าที่ผลัดเวรมานั่งเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง

    [​IMG]

    15 ม.ค. กทม. เข้ารื้อบ้านเลขที่ 63 ที่เจ้าของบ้านสมัครใจย้ายออกไปอาศัยอยู่ที่พักพิงชั่วคราวที่สำนักงานประปาเก่าที่สี่แยกแม้นศรีที่ถูกจัดเอาไว้ให้ชาวชุมชนป้อมมหากาฬ ซึ่งในรั้วเดียวกันมีอาคารที่จัดเอาไว้เพื่อเป็นที่พักของคนไร้บ้าน เรียกว่า บ้านอิ่มใจ ทาง กทม. และ กอ.รมน.กทม. มีแผนที่จะใช้ที่ดินกรมธนารักษ์ในย่านเกียกกายปลูกที่พักอาศัยให้ชาวบ้านย้ายไปอยู่ต่อ

    ในวันเดียวกัน ธวัชชัย วรมหาคุณ อดีตประธานชุมชนป้อมมหากาฬ ถูก กอ.รมน.กทม. เรียกตัวด้วยคำสั่งที่ 13/2559 กรณีมีบุคคลที่เพิ่งย้ายออกจากป้อมมหากาฬฟ้องร้องว่าธวัชชัยหลอกให้นำเงินจำนวน 80,000 บาท ไปซ่อมแซมบ้าน จากนั้นธวัชชัยก็ใช้อิทธิพลกดดันให้ตนออกจากบ้านที่ซ่อมแซม ซึ่งหลังจากคู่กรณีพูดคุยกันและชี้แจงเรื่องค่าใช้จ่ายที่ กอ.รมน. ก็พบว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด เนื่องจากธวัชชัยไม่สามารถบังคับใครให้อยู่หรือย้ายจากชุมชนได้ เพราะไม่ใช่เจ้าของที่ดิน รวมถึงพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหาว่าใช้อิทธิพลกดดันนั้นมาจากการที่ธวัชชัยมองหน้า และเพราะคนในชุมชนไม่พูดจาด้วย

    พรเทพ บูรณบุรีเดช อดีตรองประธานชุมชนป้อมมหากาฬระบุว่า ปัจจุบันเหลือประชากรในป้อมจำนวน 10 หลังคาเรือน จำนวนคนราว 45 คน ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กทม. มีแผนจะเข้ารื้อบ้านอีกในช่วงวันที่ 29-31 ม.ค. 2561

    39198970304_fcd8ba30db_b.jpg

    คนในเล่าภาวะกดดัน กับทางแยกของพี่น้องเมื่อ กทม. ตีกรอบรื้อบ้าน
    สุภาณัช ประจวบสุข อายุ 53 ปี อาศัยอยู่ในชุมชนตั้งแต่เกิด ตั้งแต่มีกระแสเรื่องการไล่รื้อป้อมในปี 2546 ก็ตกงานเรื่อยมา ตอนนี้แบ่งหน้าที่กับน้องสาว โดยตัวเองทำงานดูแลชุมชนและเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ดูแลเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ส่งตัวคนในชุมชนที่ป่วยไปโรงพยาบาล ตรวจเช็ครายละเอียดเรื่องบัตรทองของคนในชุมชน ส่วนน้องสาวทำงานหารายได้

    “สมัยนั้นสมัยคุณสมัคร (สมัคร สุนทรเวช) บอกว่าจะเอาเจ้าหน้าที่ 2-3 พันคนมาบุกบ้าน ก็เลยต้องเฝ้าบ้าน เลยไปทำงานสายจนเถ้าแก่บอกว่า มึงเลือกเอาระหว่างที่ซุกหัวนอนกับที่ทำมาหาแดกมึงจะเลือกอะไร พี่บอกว่าพี่ขอเลือกบ้าน เลยออกจากงานมาทำเรื่องชุมชน”

    สุภาณัชเล่าว่า ปมปัญหาเริ่มตึงเครียดขึ้นหลังการประชุม 4 ฝ่ายจบลง

    “มันมาจุดประกายตอนประชุม 4 ฝ่ายครั้งสุดท้ายกับยุทธพันธุ์ มีชัย เลขานุการ กทม. เมื่อ 27 ก.ค. คุณยุทธพันธุ์พูดชัดเจนว่า แบ่งบ้านเราเป็น 3-4 กลุ่ม บ้านสีเทาคือไม่เอาเลย คนในบ้านโซนสีเทาก็คิดว่า อ้าว กูไม่ได้อยู่แล้ว เขาไม่เอาบ้านกู คนที่อยู่บ้านกลุ่มสีเทามีจำนวน 11 หลัง ก็เริ่มคิดว่าจะเอาไงต่อ เขาก็เริ่มไปคุยกับ กทม. ว่าทำอะไรได้บ้าง หลังจากนั้นก็แตกระแหง แต่ตอนปลายปีลดบ้านที่จะเก็บไว้ให้เหลือ 7 หลัง แต่ไม่เอาคนไว้ เหมือนทำทุกอย่างให้เราแตกแยกกัน ใครทนได้ก็อยู่ไปก่อน ถ้าอยู่ไม่ได้ก็ต้องเอาเงินไว้ก่อน เท่าที่พี่ได้ยินนะ กทม. เขาบอกว่า บ้านคุณอยู่ไม่ได้นะ ที่ตรงนี้ก็อยู่ไม่ได้ แต่ผมมีบ้านให้ โครงการมันยังไม่ขึ้น แต่ว่าผมให้ย้ายไปอยู่ที่ประปาแม้นศรีก่อน เป็นออฟฟิศประปาแม้นศรีสมัยก่อน จากนั้นคุณก็ไปผ่อนบ้านที่โครงการที่จะขึ้นอยู่ที่เกียกกายราคา 3 แสน แต่ถ้าคุณช้าคุณจะไม่ได้ทั้งบ้านและเงิน ทุกคนฟังก็คิดว่าดีว่ะ เอาเงินไว้ก่อนดีกว่า ”

    สุภาณัช ระบุว่า สภาวการณ์ปัจจุบันทำให้ตนปวดใจ เพราะเจ้าหน้าที่ กทม. และ กอ.รมน.กทม. เจาะตามบ้าน และมีกลยุทธ์ที่ทำให้พี่น้องในชุมชนแตกแยกด้วยเงิน แต่ทุกอย่างก็ต้องเคารพการตัดสินใจของแต่ละคน และยังกล่าวว่าการเข้ามาของ กอ.รมน.กทม. ที่ใช้เหตุผลเรื่องการเข้ามาดูเรื่องพลุไฟ ยาเสพติด และผู้มีอิทธิพล แต่ตอนนี้ทุกอย่างหมดไปแล้วแต่ก็ยังไม่ออกไปจากพื้นที่ เลยคิดว่าเจ้าหน้าที่ใช้เหตุผลดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อเข้ามาในพื้นที่มากกว่า และเจ้าหน้าที่ยังมีพฤติกรรมกดดันคนในชุมชนทั้งการเข้าไปพูดคุยตามบ้าน และการสังเกตการณ์ที่ทำให้เธอรู้สึกเหมือนถูกจับตามอง

    “อย่างวันนี้ เจ้าหน้าที่ กอ.รมน. เข้ามา ตอนแรกก็บอกว่าจะดูเรื่องพลุ ยาเสพติด และผู้มีอิทธิพล แต่ปัจจุบันทุกสิ่งทุกอย่างหมดไป แต่เจ้าหน้าที่มาเจาะแต่ละบ้าน ไปถามว่า เมื่อไหร่จะไป ผมจะเอาบ้านให้ตรงโน้นตรงนี้ ก็เจาะแต่ละบ้าน ทุกวันนี้ที่โล่งๆ ก็คือคนที่อยากไป แล้วยังมีที่จะออกไปอีก”

    28129219719_08da4bd9ac_b.jpg

    “สมัยก่อนพี่ก็เห็นว่าขายกัญชา ขายผง แต่ก็ 40 ปีมาแล้ว ส่วนเรื่องพลุไฟ เจ้าหน้าที่จัดการจนตอนนี้ไม่มีแล้ว แล้วทำไมยังอยู่ในชุมชน สมัยก่อนก็มีคนที่มีอาชีพขายพลุ พวกพี่ก็อยู่อย่างหวาดระแวง พลุเคยระเบิดเมื่อปี 2516 บ้านพี่ไฟไหม้ แต่ก็ต้องอยู่ร่วมกันให้ได้

    “แต่การเอาเรื่องพลุมานั้นคิดว่าเป็นข้ออ้างที่จะเข้ามาในชุมชนมากกว่า วันแรกที่เขามาพี่ก็ไปถามว่า ‘เสธ.ขา ด้วยความเคารพค่ะ เสธ. เข้ามาที่นี่เพื่ออะไร’ เขาก็บอกว่ามาเรื่องพลุ ผ่านไปอาทิตย์หนึ่ง เจ้าหน้าที่คนหนึ่งมาถามพี่นู่นนี่ แต่ถามเรื่องบ้านหมดเลย เช่น บ้านนั้นบ้านนี้อยู่กันกี่คน อาศัยกันยังไง ทำไมไม่ไป มันเรื่องพลุไหม พอพี่ย้อนเขาเขาก็โมโห เขาก็จะไปเจาะตามบ้านคนแก่ พอคนแก่กดดัน เครียด ก็ความดันขึ้น

    39198970644_f4f6fb6914_b.jpg

    สุภาณัชเล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่า เงินค่าชดเชยที่ กทม. จ่ายให้คนในชุมชนแลกกับการย้ายออกมีจำนวนไม่เท่ากันในแต่ละครัวเรือน แต่ละหลัง ตกลงกันเป็นรายกรณี และระบุเพิ่มเติมว่า อยากให้ประเด็นชุมชนป้อมมหากาฬจบลงด้วยการให้ชาวบ้านอยู่อาศัยต่อ เม็ดเงินที่ได้คงไม่สำคัญกับสุภาณัชมากกว่าการได้อาศัยในชุมชนที่เกิดมา

    “อยากให้เขายุติการกระทำของเจ้าหน้าที่ อย่างวันที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา เขาบุกเข้ามาแบบไม่ได้บอกกล่าว เขานัดแนะกันว่าจะรื้อบ้านหลังหนึ่ง แต่ไปบุกหลังที่ไม่ใช่หลังที่นัดแนะกัน เมื่อวันจันทร์มีชาวบ้าน 11 คน คนแก่ 2 คน มีผู้ชาย 3 คน นอกนั้นผู้หญิง เจ้าหน้าที่มากันเกือบ 200 คน คืออะไร ชาวบ้านไม่ได้ค้ายาเสพติด ไม่ได้เป็นผู้ร้ายข้ามชาติ ทำไมทำขนาดนี้ ชาวบ้านไม่คิดจะต่อสู้เพราะคิดก็ผิดแล้ว เจ้าหน้าที่มีทั้งอำนาจ กองกำลัง เงินทอง เราแค่ขอความเห็นใจว่าจะทำอะไรอย่ารุนแรงกับพี่น้องเราเลย แต่เขาก็ไม่ฟัง ก็ปะทะกัน กว่าจะยุติได้ก็เหนื่อยมาก ท้อมาก แทบจะหมดกำลังใจ ไม่รู้จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีกเมื่อไหร่”

    “ถ้าถามพี่ ให้พี่ออกจากพื้นที่มันเปรียบเทียบไม่ได้กับคุณค่าทางจิตใจ ให้เงิน 2 แสนแล้วให้พี่ไปเริ่มต้นชีวิตใหม่กับพื้นที่ใหม่ เพื่อนบ้านใหม่ ทุกสิ่งดูใหม่หมด อาพี่อายุ 80 แล้วยังอยู่ในนี้ ท่านจะไปเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ ได้ไหม เพราะท่านชินกับสภาพแวดล้อมตรงนี้แล้ว ถ้าบอกว่าไม่อยากได้เงินก็คงโกหก แต่มันเปรียบเทียบกับคุณค่าทางจิตใจไม่ได้ ที่ตรงนี้มันมีคุณค่ามากกว่าที่จะเอาไปทำสวนสาธารณะ หัวป้อมกับท้ายป้อมก็ได้ทำไปแล้ว บ้านพี่แต่ก่อนอยู่ที่สวนด้านหน้า แต่คืนพื้นที่ให้ กทม. โดยการรื้อบ้านตัวเอง และย้ายมาอยู่ส่วนกลาง แล้วคิดว่า กทม. จะไม่มายุ่งกับพี่น้องคนอื่น แต่ กทม. ไม่รักษาคำพูด ไล่เรามาอยู่ที่นี่แล้ว แล้วยังจะไล่เราอีกเหรอ ฉันรื้อบ้านเกิดของปู่ ย่า พ่อ แม่ ฉัน แล้วคุณยังมาทำลายฉันอีกเหรอ

    “ไม่เคยคิดในหัวสักนิดเลยว่าจะไป ถ้าพี่นอนอยู่ในนี้แล้ว กทม. มาทุบบ้าน พี่ก็จะนอนให้มันทุบแล้วขอตายในบ้านหลังนี้” สุภาณัชกล่าวทิ้งท้าย

    มันเป็นเรื่องของหน่วยงานที่อยากได้พื้นที่ตรงไหนก็ใช้กฎหมายบังคับ ตรงนี้ (พื้นที่บริเวณตรอกพระยาเพชร) เป็นที่ธรณีสงฆ์ คนธรรมดาซื้อไม่ได้ แต่หน่วยงานรัฐก็ทำด้วยการเวนคืน ทำให้มันไม่เป็นธรรมกับเราที่อยู่อาศัย เช่าที่ดิน เช่าบ้านอย่างถูกต้องมาในสมัยก่อน

    พรเทพ บูรณบุรีเดช

    พรเทพ บูรณบุรีเดช อายุ 53 ปี อดีตรองประธานชุมชน เกิดในชุมชน ระบุว่า ภาวะเมื่อปี 2559-2560 ถึงปัจจุบันเป็นภาวะที่พี่น้องอ่อนล้าในเรื่องที่จะยืนยันปกป้องพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของกรุงเทพฯ ในฐานะบ้านไม้โบราณชานพระนครที่สุดท้าย ก็เลยมีความแตกแยกทางความคิดบางส่วนกันในชุมชนว่าสรุปจะอยู่อย่างไร สู้หรือไม่สู้ ต้องย้ายออกหรือไม่ โดยในวันที่ 31 ม.ค. นี้ก็ได้ยินข่าวว่าจะมารื้อบ้านที่คนย้ายออกไปแล้ว 2-3 หลัง แต่ก็ทำอะไรไม่ได้เพราะตัวเจ้าของบ้านตัดสินใจให้รื้อเอง เพียงแต่กังวลว่าทาง กทม. อาจจะพาลรื้อบ้านหลังอื่นที่ไม่มีคนอยู่ไปแล้วด้วย

    “คือข้อตกลงของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเราตกลงกันว่าจะเก็บไว้ 18 หลัง มีการพูดคุยแล้ว แต่ กทม. ตั้งอนุกรรมการของเขาเองแล้วบอกว่าจะเหลือเอาไว้ 7 หลัง ซึ่งบ้านที่จะรื้อ 3 หลังก็ไม่ได้อยู่ใน 7 หลัง เขาก็เลยจะขอรื้อเพราะไม่มีคนอยู่ เขาก็อาจพาลว่าจะขอรื้อบ้านหลังที่ไม่มีคนอยู่ ทำให้เราต้องพะวงถามว่าเราพอจะปกป้องไหม เราก็ปกป้องบางส่วน แต่ถ้าเจ้าของบ้านประสงค์จะรื้อ ชุมชนก็ไม่สามารถปกป้อง เพราะมันก็เหมือนขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงเจ้าของบ้าน (ละเมิดสิทธิ์เจ้าของบ้าน) ซึ่งอาจถูกดำเนินคดี เพราะตอนนี้ก็รู้ๆ อยู่ว่าที่ชุมชนมีหน่วยงานเข้ามาเพื่อกันพี่น้องที่จะทะเลาะกัน ทำให้ชุมชนเกิดความระแวง” พรเทพกล่าว

    อดีตรองประธานชุมชนกล่าวถึงความสำคัญของพื้นที่ในฐานะเมืองโบราณชานพระนครแห่งสุดท้าย และตั้งข้อสงสัยกับทาง กทม. ว่าทำไมถึงต้องไล่รื้อพื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้ “มันเป็นเรื่องของหน่วยงานที่อยากได้พื้นที่ตรงไหนก็ใช้กฎหมายบังคับ ตรงนี้ (พื้นที่บริเวณตรอกพระยาเพชร) เป็นที่ธรณีสงฆ์ คนธรรมดาซื้อไม่ได้ แต่หน่วยงานรัฐก็ทำด้วยการเวนคืน ทำให้มันไม่เป็นธรรมกับเราที่อยู่อาศัย เช่าที่ดิน เช่าบ้านอย่างถูกต้องมาในสมัยก่อน ทำให้เรารู้สึกว่า 25 ปีมานี้ เราต่อสู้กับความไม่ถูกต้องของหน่วยงาน คุณทำแบบนี้กับพื้นที่ได้ด้วยเหรอ ตรงนี้มันเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์นะ มีทั้งบ้านไม้ มีทั้งคนที่ดำเนินชีวิตมาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 50-60 ปี มันหาที่ไหนมีไหม มันเป็นชานพระนครในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือเป็นนอกเมืองเหมือนชานเมืองอยุธยา คือกรุงเทพฯ จะมีกำแพงสองชั้น ชั้นนี้คือชั้นนอก คือชานเมือง ถัดเข้าไปข้างในคือในเมือง แล้วก็ชั้นในวัง แล้วก็จะมีชานเมืองเลยไปตรงคลองผดุงกรุงเกษม ผังก็คล้ายๆ อยุธยา ตรงนี้ก็เป็นชานเมืองพระนครที่ต้องมีคูคลองเอาไว้ป้องกันข้าศึก

    “ตรงนี้มันมีโครงการกรุงรัตนโกสินทร์ 20 โครงการ พื้นที่ก็จะโล่งรอบกรุง ก็จะไม่ค่อยมีคนในชุมชนอยู่ เขาอยากทำให้เป็นที่ท่องเที่ยวเหมือนชอง เอลิเซ่ มีคนมาเดิน แล้วพอถึงเวลาก็ปิด แต่บริบทเมืองของกรุงรัตนโกสินทร์มันไม่น่าเป็นแบบนั้น มันยังมีความขลัง ความเก่าของตึก มันไม่ได้มีแค่ตึกสวยๆ อย่างเดียว มันมีทั้งตึกโทรมๆ บ้านไม้โบราณ มีตึกรามบ้านช่องแตกต่างกันไป ไม่ใช่รูปทรงเดียวกันหมด เพราะคนที่อยู่ใกล้ๆ มันก็มีการพัฒนามาเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน อาชีพ ถ้าดูฝั่งทางนู้น (ชี้ไปฝั่งตรงข้ามคลองโอ่งอ่าง) จะเป็นทรงเดียวกัน ตรงนั้นเป็นที่ๆ วัดสร้างไว้ให้เซ้ง แต่ก่อนเขาเรียกชุมชนวัดสระเกษ แต่ถ้าดูตรงนี้ (ชุมชนป้อมมหากาฬ) จะเป็นทรงบ้านต่างกันไป” พรเทพระบุ

    25038004937_016bc03b38_b.jpg

    อดีตรองประธานชุมชนระบุว่าแม้จะเหลือประชากรราว 10 หลังคาเรือนและสถานะของชุมชนอาจไม่ได้รับการยอมรับแล้ว แต่ก็ยังขับเคลื่อนประเด็นชุมชนอยู่ และยังมีกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนที่ผู้อยู่อาศัยยังออมเงินร่วมกันเพื่อเอาไว้ใช้ในอนาคต

    พรเทพยืนยันว่าในชุมชนเคยมีเรื่องการค้าขายพลุไฟและยาเสพติดจริง แต่ว่าตอนนี้ก็หมดไปแล้ว “เมื่อก่อนชุมชนป้อม ต้องยอมรับว่ามีการขายพลุบ้างในหน้าเทศกาล แต่เราก็ไม่เคยทำความเดือดร้อน เรื่องพลุตอนนี้เราก็ถือว่าหมดแล้วนะ แหล่งค้าขายจะไปอยู่ป้อมปราบฯ ซะเยอะ ของเราเป็นลูกค้ารายย่อย แต่ก็คงไม่เหลือแล้วแหละ แต่เรื่องยาเสพติดเราปกป้องเต็มที่ ไม่ให้ยาเสพติดเข้ามายุ่งในชุมชน ถ้าไปดูที่ สน. ชุมชนป้อมมหากาฬแทบจะไม่มีประวัติเรื่องนี้เลย น้อยมาก ถ้ามีก็เป็นเรื่องเด็กดมกาว แต่ถ้าเป็นเรื่องค้ายาขนาดใหญ่ มันก็หมดไปนานแล้ว ตั้งแต่มีการตั้งชุมชนเราก็ปกป้องเต็มที่ เมื่อก่อนอาจจะดังมากเรื่องการขายกัญชา ดังสุดๆ ใครๆ ก็ต้องมาที่นี่ แต่คนมาค้าขายมันไม่ใช่คนในชุมชนที่อยู่ดั้งเดิม ส่วนชุมชนปัจจุบันก็ไม่มีแล้ว”

    ต่อประเด็นที่คนย้ายออก และคำถามเรื่องการใช้อิทธิพลของกลุ่มผู้นำชุมชนไปกดดันให้คนย้ายออกนั้น พรเทพตอบว่า “พวกผมมี (อิทธิพล) เหรอ มีประชากรตอนนี้ 45 คน ทำงานหาเช้ากินค่ำ ไม่มีวินมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเอง ไม่มีอะไรที่จะเป็นอิทธิพลได้เลย ก็ยังงงว่ามีอิทธิพลคืออะไร หนึ่ง ปล่อยกู้เหรอ สอง ค้ายาเสพติด ตอนนี้ชุมชนไม่เข้าข่าย ตอนนี้พี่ยังงงว่าพี่มีอิทธิพลตรงไหน”

    “ถามว่ากดดันแบบไหน ถ้ามองเหมือนพี่น้องทะเลาะกัน ถามว่าชุมชนป้อมมหากาฬต่อสู้มา 25 ปี แล้วเพิ่งจะมาบอกว่ามากดดันไม่ให้อยู่ตอนนี้เนี่ยนะ 25 ปีที่แล้วเขาไม่เคยคิดว่าเราไม่ให้อยู่ ถามว่าเราจะกดดันจนเหลือ 10 หลังคาเรือนแล้วให้เขาออกเหรอ ต้องถามว่าเขากดดันอะไร ทะเลาะกันบ้าง ต้องถามตัวเขาเองว่าทะเลาะกันเพราะอะไร ทุกคนก็จะบอกว่าพี่ไม่ดี แต่ไม่เคยย้อนดูว่าทะเลาะกันเรื่องอะไร แล้วโดนกดดันเรื่องอะไร ทำไมไม่คุย 25 ปีในการต่อสู้โดนกดดันหรือเปล่า แล้วทำไมไม่ออกไปก่อน ทำไมเพิ่งมาออกตอนนี้ ทุกคนที่ออกก็บอกว่าโดนกดดันจากคนไม่กี่คนที่มีท่าทางไม่ดี แต่ 25 - 50 กว่าปีที่อยู่ร่วมกันมาไม่เคยพูดเรื่องนี้ ทำไมถึงต้องพูดตอนนี้...เพราะกลัวในเรื่องบางเรื่อง พี่ก็ถามว่ากลัวพวกพี่จริงเหรอ ทำไมถึงไม่ออกไปเลย ก็รอรับตังค์ก่อน พูดตรงๆ ต่อรองเรื่องราคาก่อน ถ้ามีปัญหากับพวกพี่มากก็ได้ตังค์เยอะ ถ้ามีปัญหาน้อยก็รับไปน้อย” พรเทพระบุ

    พรเทพยังหวังให้ กทม. รื้อฟื้นข้อตกลงของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายกลับมา เพราะชุดกรรมการดังกล่าวมีตัวแทนจากชุมชน ถือเป็นครั้งแรกเพราะที่แล้วมาชุมชนไม่เคยมีส่วนร่วมเลย และยังอยากอยู่ในพื้นที่ ทำงานร่วมกับ กทม. พัฒนาพื้นที่ต่อไป “อยากให้ กทม. ตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่หายไปกลับมาตั้งแต่เดือน ส.ค. มาพูดคุยให้ชัดเจนขึ้นว่า คนกับบ้านจะอยู่อย่างไร จะขยับอย่างไร ให้จบเลย ไม่เช่นนั้นมันก็เป็นแบบนี้ เพราะชุดนั้นมีทั้งการคุยเรื่องบ้าน มีข้อตกลงร่วม แต่ชุดอื่นไม่เคยมีชุมชน ชุดนี้ชุมชนมีส่วนร่วมกับทหาร กทม. สถาปนิกสยาม นักวิชาการอิสระ สื่อมวลชนก็เข้ามาตลอด มีส่วนร่วมหมด

    “ถ้าเป็นอนาคตชุมชนก็อยากอยู่ที่นี่ และช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานร่วมกับ กทม. ในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตอย่างจริงจัง ทั้งในการดำรงชีวิต การอยู่อาศัย การเล่าขานด้วย คือความหวังที่เหลือของคนที่นี่” พรเทพกล่าว

    บุญธรรม วิไล อยู่มาตั้งแต่ปี 2525 ตกงานตั้งแต่สู้กับ กทม. เป็นแม่บ้านเล็กๆ น้อยๆ ในชุมชน ย้ายมาจากโซนที่คืนพื้นที่ มาอยู่ในส่วนกลางตรงประตูตรอกพระยาเพชรตั้งแต่ มิ.ย. ปีที่แล้ว ทุกวันนี้ลูก 2 คนหารายได้มาจุนเจือ และทั้ง 3 คนแม่ลูกยังคงอาศัยอยู่ในชุมชน

    “ไม่ได้เกิดที่นี่ แต่รักแผ่นดินนี้เพราะลูกสองคนเกิดและโตที่นี่ ตอนนี้ก็ยังอยู่ที่นี่ อยู่ที่นี่สะดวกทุกอย่าง เพราะใกล้โรงพยาบาล โรงเรียน”

    บุญธรรมเล่าว่า ได้รับความกดดันจากเจ้าหน้าที่ของทาง กทม. ที่ชอบเข้ามากดดันและวางอำนาจ ทำให้รู้สึกเหนื่อย เธอเข้าใจว่าเขาก็มาทำตามหน้าที่ แต่อยากให้เข้าใจคนจนด้วยว่าเราไม่ได้ไปบุกรุกใคร ต่อประเด็นที่คนในชุมชนที่ย้ายไปอยู่ที่พักพิงชั่วคราว บุญธรรมระบุว่า เป็นเรื่องความคิดของเขา ห้ามกันไม่ได้ “ปัจจัยหนึ่งก็อาจจะเพราะอยู่ที่นี่เหนื่อย อยากไปอยู่ที่ใหม่ที่สบายกว่า เขากลับเข้ามาก็คุยกัน ไม่ได้ทะเลาะอะไรกัน”

    26036496788_60df8bc829_b.jpg

    สมพร อาปะนนท์ ขายของชำอายุ 70 กว่าปี แต่งเข้ามาอยู่กับสามีที่ชุมชนป้อมมหากาฬได้ 40 ปี แล้วย้ายมาอยู่ที่บ้านหลังปัจจุบันได้ 7 เดือนแล้ว แต่ก่อนอยู่แถวท้ายป้อม

    “สมัยก่อนก็อยู่แถวนั้น (ชี้ไปที่หลังป้อม ทางสวนสาธารณะ) แล้วทหารก็บอกว่าให้เรามาที่นี่ เขาจะได้ดูแลง่าย ก็ต้องเชื่อเขาแล้วมาที่นี่”

    “กลุ้มสิ ขยับมาที่นี่แทนที่จะอยู่ได้ เขาก็บอกว่าอยู่ไม่ได้อีก” สมพรตอบเมื่อถูกถามเรื่องความรู้สึก เจ้าตัวบอกว่ามีแผนที่จะอยู่ที่นี่ต่อไปเพราะว่าคุ้นเคย และไม่อยากย้ายไปที่สถานพักพิงชั่วคราวเพราะกังวลเรื่องสภาพความเป็นอยู่

    “เขาจะบอกให้เราย้ายไปที่บ้านอิ่มใจ แล้วจะไปอยู่ได้ยังไง นักข่าวเคยไปดูหรือเปล่า สมัยก่อนเป็นที่ทำงานของประปาเขา เด็กบ้านนี้เข้าไปวิ่งเล่นเมื่อ 2-3 วันก่อนก็ติดเชื้อ เข้าโรงพยาบาลเลย ก็มันอับมาตั้งกี่ปี แล้วอยู่ๆ จะเปิดให้เราเข้าไปอยู่”

    สมพรกล่าว่า อยากให้ปัญหาชุมชนจบลงด้วยการให้คนในชุมชนได้อยู่ต่อ “จบลงที่ให้เราอยู่ อยู่ไม่กี่หลังก็ให้เราอยู่เถอะน่า ให้เราปรับปรุงบ้านใหม่ให้ดีหน่อย คู่กับสวนเขาไปก็ได้ สวนก็มีคนอยู่ ให้ช่วยดูก็ได้ เราอยู่ก็ไม่ได้ทำสกปรก เราก็อยู่อย่างสะอาด”

    39909615311_1f3796f160_b.jpg

    https://prachatai.com/journal/2018/01/75130
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    มหากาพย์ป้อมมหากาฬ (2): ‘คนย้าย’ เล่าแรงกดดันจาก กทม. ชุมชน ปากท้องและความมั่นคงทางที่อยู่
    Published on Sat, 2018-01-27 13:18
    เยี่ยมยุทธ สุทธิฉายา รายงาน


    ตามไปคุยกับคนย้ายถึงสถานพักพิงชั่วคราวที่ กอ.รมน. จัดเอาไว้ให้ เล่าอดีตการต่อสู้ก่อนตัดสินใจย้ายออกเพราะรู้สึกกดดันจากชุมชนและ กทม. เผย ยื้อ กทม. แต่ละครั้งมีต้นทุนสูง ชาวบ้านไม่ต้องทำมาหากิน บ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าเสียดาย ไม่จำเป็นไม่ย้าย



    39197756344_81551f2019_o.jpg

    หลังปรากฏบนหน้าข่าวมานานกว่า 25 ปี มหากาพย์ชุมชนป้อมมหากาฬ-กรุงเทพฯ ได้มาถึงจุดที่ชุมชนจำนวนกว่า 300 คน เหลือไม่ถึง 50 คนแล้ว เส้นทางของชุมชนชานเมืองดั้งเดิมรัตนโกสินทร์แห่งสุดท้ายที่กำลังถูกไล่รื้อนั้นดำเนินไปท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเวนคืนที่เป็นการลิดรอนสิทธิของคนในชุมชน ความเหมาะสมของการเวนคืนที่ไปทำสวนสาธารณะ ความไม่เหมาะไม่ควรที่จะให้คนจนอาศัยในพื้นที่ใจกลางเมืองหลวง ฯลฯ

    ทิศทางของชุมชนจะเป็นอย่างไรต่อไปเป็นประโยคคำถามที่ครอบคลุมไปถึงอนาคตของคนที่อยู่ข้างใน ในวันนี้ที่ชุมชนเบาบางและหายใจรวยริน ประชาไทลงพื้นที่ชุมชนป้อมมหากาฬเพื่อพูดคุยกับผู้อยู่อาศัยที่ยังอยู่ ติดตามไปหาคนที่ย้ายออกไปยังสถานพักพิงชั่วคราว สมาคมสถาปนิกสยามกับความพยายามรักษาสถาปัตยกรรมของชุมชน และพูดคุยกับนายทหารฝ่ายข่าวของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน กรุงเทพฯ (กอ.รมน.กทม.) ที่ทุกวันนี้ตั้งเต็นท์อาศัยในลานกลางชุมชนตลอด 24 ชั่วโมงมาสองเดือนแล้ว เพื่อทราบถึงเป้าหมาย ความหวัง ทิศทาง ความกดดันของแต่ละตัวละคร สิ่งที่สะท้อนคือภาวะความไม่มั่นคงของทั้งคนที่ยังอยู่และคนที่ย้ายออก สุดท้ายจะย้ายหรือจะอยู่ก็เป็นทางเลือกบนสภาวะที่ไม่มีทางเลือก

    25038002067_0494f02487_b.jpg

    ความเดิมตอนที่แล้ว: จุดเริ่มต้นของปมปัญหา อัพเดทสถานการณ์ปัจจุบัน
    ชุมชนป้อมมหากาฬ เดิมมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4 ไร่ 300 ตารางวา ปี 2559 มีบ้านเรือนทั้งหมด 64 หลัง ประชากรประมาณ 300 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย เช่น ขายกระเพาะปลา ส้มตำ ไก่ย่าง ขายพลุ ดอกไม้ไฟ ฯลฯ ถือเป็นย่านที่อยู่อาศัยเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีทั้งขุนนาง ข้าราชบริพาร ปลูกสร้างบ้านเรือนพักอาศัยอยู่นอกกำแพงพระนคร รวมทั้งมีชุมชนเรือนแพอยู่ในคลองโอ่งอ่าง โดยมีป้อมที่สร้างขึ้นตามกำแพงพระนครในสมัยนั้นรวม 14 ป้อม (เหลือปัจจุบันเพียง 2 ป้อม คือ ป้อมมหากาฬและป้อมพระสุเมรุ)

    ปัญหาที่ชุมชนป้อมมหากาฬได้รับผลกระทบอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นผลมาจากโครงการปรับปรุงพื้นที่บริเวณป้อมมหากาฬเพื่อจัดทำเป็นสวนสาธารณะและอนุรักษ์โบราณสถานของชาติตั้งแต่ปี 2502 ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาเกาะรัตนโกสินทร์ ทำให้ต้องมีการรื้อถอนบ้านและย้ายชุมชนที่อยู่ในแนวกำแพงป้อมมหากาฬออกทั้งหมด เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และทำเป็นสวนสาธารณะแต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ ต่อมา กทม.ทำการเวนคืนที่ดินในปี 2535 ตั้งแต่นั้นก็มีปัญหาไล่รื้อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีชาวบ้านบางส่วนที่รับเงินค่าเวนคืนไปแล้ว แต่ชาวชุมชนส่วนใหญ่ต่อสู้และคัดค้านมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ในปี 2546 กทม.ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาเพื่อปิดล้อมเตรียมการไล่รื้อ แต่ชาวชุมชนและเครือข่ายคูคลองหลายร้อยคนได้คล้องแขนเป็นกำแพงมนุษย์ปิดกั้นไม่ให้เจ้าหน้าที่บุกเข้าไป ต่อมาในปี 2547 ชาวชุมชนยื่นฟ้อง กทม.ต่อศาลปกครอง ศาลปกครองพิพากษาในเวลาต่อมาให้ กทม. มีสิทธิในการเวนคืนเพื่อพัฒนาที่ดิน

    เมื่อปี 2560 มีการประชุมคณะกรรมการ 4 ฝ่ายระหว่างกรุงเทพมหานคร ผู้แทนชุมชนป้อมมหากาฬ ผู้แทนภาคประชาสังคม และฝ่ายความมั่นคงช่วยเดือน เม.ย. - ก.ค. โดยกลุ่มนักวิชาการเสนอแนวทางการพิจารณาอนุรักษ์บ้านผ่านคุณค่าทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์, ด้านศิลปะ สถาปัตยกรรมและผังเมือง, ด้านสังคมและวิถีชีวิต, ด้านโบราณคดี และด้านวิชาการ ซึ่งข้อตกลงในตอนนั้นได้ตกลงกันว่าจะให้เก็บบ้านในชุมชนเอาไว้จำนวน 18 หลัง

    เมื่อ 7 ก.ค. 2560 ยุทธพันธุ์ มีชัย เลขานุการผู้ว่าราชการ กทม. ตัวแทนพูดคุยประเด็นป้อมมหากาฬของทาง กทม. ระบุว่าไม่สามารถเก็บบ้านไว้ได้ทุกหลัง และแบ่งบ้านเป็นโซนที่จะอนุรักษ์และโซนที่จะต้องรื้อ ก่อนที่จะนำข้อเสนอดังกล่าวให้ทาง กทม. พิจารณาต่อไป แต่หลังจากนั้นก็มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเมืองขึ้นมาและได้ตัดสินให้คงบ้านไว้เพียง 7 หลัง ทั้งนี้ การเก็บบ้านไม่ได้หมายความว่าจะให้เจ้าบ้านอยู่อาศัยในบ้านได้ต่อไป

    ในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของในหลวง ร.9 พื้นที่หัวป้อมถูกนำไปใช้เป็นห้องครัวและห้องสุขา และหลังจากพระราชพิธีฯ ในเดือน พ.ย. หน่วยทหาร-พลเรือน ของ กอ.รมน.กทม. เข้าไปตั้งเต็นท์อาศัยในลานกลางชุมชน โดยอ้างว่าเข้ามาเพื่อปราบปรามการลักลอบการจำหน่ายพลุไฟ และยังคงปักหลักอยู่ที่ลานกลางชุมชนจนถึงทุกวันนี้ โดยมีเจ้าหน้าที่ผลัดเวรมานั่งเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง

    15 ม.ค. กทม. เข้ารื้อบ้านเลขที่ 63 ที่เจ้าของบ้านสมัครใจย้ายออกไปอาศัยอยู่ที่พักพิงชั่วคราวที่สำนักงานประปาเก่าที่สี่แยกแม้นศรีที่ถูกจัดเอาไว้ให้ชาวชุมชนป้อมมหากาฬ ซึ่งในรั้วเดียวกันมีอาคารที่จัดเอาไว้เพื่อเป็นที่พักของคนไร้บ้าน เรียกว่า บ้านอิ่มใจ ทาง กทม. และ กอ.รมน.กทม. มีแผนที่จะใช้ที่ดินกรมธนารักษ์ในย่านเกียกกายปลูกที่พักอาศัยให้ชาวบ้านย้ายไปอยู่ต่อ

    ในวันเดียวกัน ธวัชชัย วรมหาคุณ อดีตประธานชุมชนป้อมมหากาฬ ถูก กอ.รมน.กทม. เรียกตัวด้วยคำสั่งที่ 13/2559 กรณีมีบุคคลที่เพิ่งย้ายออกจากป้อมมหากาฬฟ้องร้องว่าธวัชชัยหลอกให้นำเงินจำนวน 80,000 บาท ไปซ่อมแซมบ้าน จากนั้นธวัชชัยก็ใช้อิทธิพลกดดันให้ตนออกจากบ้านที่ซ่อมแซม ซึ่งหลังจากคู่กรณีพูดคุยกันและชี้แจงเรื่องค่าใช้จ่ายที่ กอ.รมน. ก็พบว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด เนื่องจากธวัชชัยไม่สามารถบังคับใครให้อยู่หรือย้ายจากชุมชนได้ เพราะไม่ใช่เจ้าของที่ดิน รวมถึงพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหาว่าใช้อิทธิพลกดดันนั้นมาจากการที่ธวัชชัยมองหน้า และเพราะคนในชุมชนไม่พูดจาด้วย

    พรเทพ บูรณบุรีเดช อดีตรองประธานชุมชนป้อมมหากาฬระบุว่า ปัจจุบันเหลือประชากรในป้อมจำนวน 10 หลังคาเรือน จำนวนคนราว 45 คน ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กทม. มีแผนจะเข้ารื้อบ้านอีกในช่วงวันที่ 29-31 ม.ค. 2561

    ฟังเสียงคนย้าย
    39909607471_b7f49cb826_b.jpg

    สำนักงานการประปาเก่าย่านแม้นศรี บริเวณเดียวกันกับอาคารที่ถูกนำมาใช้เป็นสถานที่พักพิงชั่วคราวให้กับชาวชุมชนป้อมมหากาฬที่ย้ายออกมา ซึ่งในรั้วสำนักงานเดียวกันก็มีอาคารที่ถูกเปิดให้เป็นที่พักพิงกับคนไร้บ้าน

    เมื่อผู้สื่อข่าวพบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่เฝ้าหน้าประตูเพื่อขอพบชาวชุมชนป้อมมหากาฬ เจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปตัวอาคารด้านใน แต่เมื่อเข้าไปแล้วจึงถ่ายภาพได้

    25037999907_c6b3396a37_b.jpg

    เมื่อสอบถามชาวบ้านที่ย้ายมาจึงได้ทราบว่า กอ.รมน.กทม. เป็นผู้จัดแจงเชื่อมต่อไฟฟ้าและทาสีห้องไว้รับรองผู้ที่มาอาศัย แต่น้ำประปาและห้องสุขาต้องใช้รวมกันที่ชั้นหนึ่ง

    39198962964_341c944e59_b.jpg
    ห้องสุขา

    พีระพล เหมรัตน์ อดีตรองประธานชุมชนป้อมมหากาฬ ประกอบอาชีพปั้นเศียรพ่อแก่ เป็นเครื่องปั้นดินเผา แต่ช่วงนี้มีกระบวนการติดต่อขอย้ายที่อยู่จึงพักงานไว้ก่อน อาศัยในป้อมมหากาฬมากว่า 40-50 ปีแล้ว แต่ก่อนพำนักแถวคลองหลอด หลังโรงแรมรัตนโกสินทร์แล้วโดนไล่ที่เพื่อทำถนน จึงต้องย้ายถิ่นฐานตามพ่อแม่ จากนั้นก็ไปอยู่ที่บ้านพ่อแม่ของแฟนในชุมชนป้อมมหากาฬ ให้สัมภาษณ์ว่า รู้สึกชัดเจนว่าพื้นที่ในชุมชนป้อมมหากาฬไม่สามารถอยู่ได้อีกต่อไป และทราบว่ามีที่ที่ทาง กอ.รมน. กทม. ได้เตรียมดำเนินการขอเช่าที่เอาไว้จึงปรึกษาครอบครัวและย้ายออกมาเพื่อหาความมั่นคงทางที่อยู่อาศัย ตอนนี้ชาวบ้านที่ย้ายมามีประมาณ 15 ครอบครัว อยู่ 15 ห้อง นับเป็นคนได้ประมาณ 60 คน

    “แฟลตนี้ไม่มีชุมชนอื่น เป็นสถานที่เร่งด่วนที่สั่งโดย รองนายกฯ ประวิตร (วงษ์สุวรรณ) สั่งให้ กอ.รมน. มาดูที่นี่โดยเฉพาะ ให้ความสำคัญกับการหาที่อยู่ใหม่ให้คนในป้อม ให้อยู่สะดวกสบาย ก็มี เสธ. มาเดินดูหลายคน” พีระพลให้ข้อมูลเพิ่มเติม

    “เราก็สู้มา 25 ปีแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อสู้ เนื่องจากที่ตรงนั้น ข่าวสารและข้อมูลมันชัดเจนว่าไม่สามารถอยู่ต่อได้ในอนาคต เราและครอบครัวจึงปรึกษากันว่าไปดูที่อื่นไหม พอดีได้ที่ที่เกียกกาย หลังวัดแก้วแจ่มฟ้า มีที่ประมาณเกือบ 1 ไร่ เป็นที่ของกรมธนารักษ์ ซึ่งทางทหาร กอ.รมน. ก็ได้ดำเนินการขอเช่าที่ กรมธนารักษ์ก็ไม่ติดอะไร แต่ตอนนี้อยู่ในขบวนการจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อทำการเช่าที่ จึงตัดสินใจออกมา”

    “ประมาณปลายปี 60 ขบวนการสู้มานานเราก็มองออกว่าเราสู้ไปถึงไหน อีกส่วนหนึ่ง ถ้าสู้แล้วไม่ได้ อนาคตก็ต้องออกไปหาที่อยู่นอกเมือง ชานเมือง ไม่เอื้ออำนวยกับการประกอบอาชีพ แหล่งประกอบอาชีพ แต่ถ้ามองแล้วมีที่ในกรุงเทพฯ เราจึงตัดสินใจว่าถ้าอยู่ไม่ได้จริงๆ เราต้องเลือกที่แล้ว จึงปรึกษากับครอบครัวว่าเราจะเลือกที่ตรงนี้ เลยออกมา ต้องการความมั่นคง อยู่ที่ชุมชนความมั่นคงไม่มี เพราะบ้านก็ไม่ใช่ของเรา บ้านก็ไม่ใช่ว่าจะสวยงาม ปีหนึ่งก็มาไล่ที จะเอาเงินมาปลูกสร้างก็กลัวสูญเปล่า”

    พีระพลกล่าวว่า ทางผู้ที่ย้ายมายังไม่มีการพูดคุยกับคนที่ยังอยู่ แต่มีทหารไปพูดคุยว่าให้มาพักที่นี่ก่อนแล้วค่อยย้ายไปเกียกกายด้วยกัน ที่ผ่านมาก็มีคนมาดูพื้นที่และพยายามทยอยออกมาแล้วเพราะว่าไม่มีความมั่นคงถ้าจะยังคงอยู่ในชุมชนต่อไป ทั้งนี้ สาเหตุที่ไม่ค่อยได้คุยกับคนในชุมชนเพราะว่าอยากให้เป็นเรื่องที่แต่ละคนต้องตัดสินใจกันเองว่าจะอยู่หรือย้าย

    “คนข้างในยังมั่นใจว่าเขายังอยู่ข้างในได้ แต่ก็มีส่วนที่อยู่ไม่ได้ ตรงนี้อยู่ที่ความสมัครใจ ผมเลยไม่กล้าไปชวนใครออกมาข้างนอก เพราะชีวิตและครอบครัวเขา เราไม่กล้าตัดสินใจ ต้องให้เขาตัดสินใจเอง เลยเป็นที่มาที่ไปว่าไม่ค่อยได้คุยกับทางนั้น ไม่ได้ทะเลาะกันนะ แต่ไม่ได้เข้าไปคุย เวลาเขามาที่นี่เราก็เข้าไปคุย”

    อดีตรองประธานชุมชนที่ย้ายออกมาให้ข้อมูลเรื่องเงินชดเชยว่า ทุกหลังคาเรือนที่ย้ายออกมาได้รับเงินหมด แต่ในอัตราที่ไม่เท่ากัน แล้วแต่ขนาดบ้านและการต่อรองกับทาง กทม. ซึ่งถ้าบ้านหลังไหนสวยหน่อยก็อาจจะได้รับเงินเพิ่ม

    ส่วนเรื่องกระบวนการย้ายไปที่เกียกกาย พีระพลเล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่า ทหารมาบอก ว่าขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการ พื้นที่ดังกล่าวมีขนาดประมาณเกือบหนึ่งไร่ แต่นอกจากกลุ่มชุมชนป้อมมหากาฬแล้ว ก็จะมีกลุ่มชุมชนแม่น้ำเจ้าพระยาไปอาศัยรวมกัน ทั้งสองกลุ่มกำลังจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อนำเงินมารวมกันแล้วซื้อที่ จากนั้นก็จะมาออกแบบวางผังกัน ซึ่งส่วนตัวตนเองชอบบ้านโฮมทาวน์ที่เป็นบ้านสองชั้น ไม่ชอบแฟลต เพราะพื้นที่ข้างบนใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ แต่ในกระบวนการนี้ก็ยังมีการเผื่อที่ให้คนที่ยังไม่ย้ายออกจากชุมชนมาอยู่

    “ส่วนหนึ่งเราต้องคำนวณอยู่ว่าตรงนู้น (ชุมชนป้อม) ที่เหลืออยู่หน่อยเดียว เราก็ทำเผื่อไว้นะ เราสร้างกลุ่มออมทรัพย์เผื่อเอาไว้เพื่อจัดตั้งสหกรณ์เผื่อไว้ทางนี้เข้ามาอยู่ การสร้างมันต้องใช้เวลา ต้องออกแบบสำรวจ ดูความต้องการชาวบ้าน ก็ทำการโดยมีสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนเมือง (พอช.) ประสานเรื่องงบประมาณ แต่เราก็ต้องเก็บออมกลุ่มไว้เพื่อสร้างขบวนการ ทุกเดือนที่นี่ก็มาลงออมทรัพย์กันทีหนึ่ง คนที่กำลังจะย้ายมาใหม่ก็กำลังมาสมัครเป็นสมาชิกออมทรัพย์เพื่อที่จะเข้าไปอยู่ที่บ้านเกียกกาย ตอนนี้เราก็เปิดกลุ่มรอไว้ก่อน เราก็รับ แต่ต้องไม่เกิน 20 ยูนิต เพราะคาดว่าที่นู่นน่าจะได้ 40 ยูนิต เราก็แบ่งกับทางนู้น (กลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) กลุ่มละ 20 ยูนิต เช่าที่รวมกัน แต่แบ่งคนละครึ่ง สหกรณ์เป็นผู้เช่าทั้งหมด”

    26036496788_60df8bc829_b.jpg

    พีระพลแสดงความเสียดายที่ชุมชนป้อมมหากาฬต้องถูกไล่รื้อ เพราะว่าเสียดายที่ตั้งของชุมชน รวมถึงความเป็นมาที่ยาวนาน การเก็บบ้านเอาไว้เพียง 7-8 หลังตามความเห็นของทาง กทม. ถือว่าน้อยไป ต่อให้เป็น 18 หลังตามข้อตกลงของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายก็น้อยไปเสียด้วยซ้ำ

    “จริงๆ บ้าน 18 หลังมันเป็นบ้านร่วมสมัย คือเป็นของจากเดิมแล้วปลูกสร้างใหม่ นักวิชาการก็มาเดินดูว่าหลังไหนจะเอาไว้ ไม่เอาไว้ สมาคมสถาปนิกสยามก็เข้ามาวาดแบบแปลนแล้วเสนอให้ กทม. เก็บบ้าน 18 หลังทั้งที่เป็นบ้านเก่าและบ้านร่วมสมัยไว้ แต่ทาง กทม. เขามีอะไรไม่รู้ เขาก็คิดของเขาว่าบ้านร่วมสมัยเขาจะไม่เอา จะเอาบ้านที่เก่าและดั้งเดิมจริงๆ แต่ใน 18 หลังมันมีหลายหลังที่ใช้งบประมาณแทบจะสร้างทั้งหลัง มันก็ดูไม่คุ้ม เขาเลยเอาบ้านที่พอบูรณะด้วยงบประมาณจำนวนหนึ่งเอาไว้ แต่ผมยังเห็นว่าถ้าจะเก็บก็ควรจะเก็บให้มันเยอะหน่อย เก็บไว้ 7-8 หลังไม่น่าเก็บ มันดูเหมือนน้อย ไม่รู้จะเอาไว้ชูกับใครเขา นี่ขนาดเก็บไว้ 18 หลัง ถ้าเดินจากตรอกพระยาเพชรปราณีจากประตูช่องกุดเข้ามา ก็เดินแค่ 20-30 เมตรก็จบแล้ว แต่เดิมมันมีทางติดด้านหัวป้อม มีชาวบ้านอยู่ เป็นตรอกนกเขา ขายอาหารสัตว์ ทำกรงนกปรอทจุก มันมีประวัติทั้งนั้น แต่ กทม. ไม่ให้อยู่ ตัดออก พอตัดออกไปมันก็เหลือตรอกพระยาเพชรอย่างเดียว”

    39909617301_5fcf454a78_b.jpg

    “เสียดาย บอกตรงๆ เสียดายภูมิศาสตร์ที่มันอยู่ ถ้าเราอยู่กันครบมันน่าจะดูดีกว่า ในเมื่อมันอยู่ไม่ครบ แล้วในอนาคตมองแล้วว่าอย่างไรเสียเขาก็ไม่ให้อยู่ บ้านผมก็เป็นหนึ่งใน 11 หลังที่เขาจะไม่เอาไว้ (ไม่เอาไว้ตั้งแต่แรกในสมัยที่ข้อเสนอยังเป็นการเก็บบ้านไว้ 18 หลัง) ก็เลยต้องออก กระบวนการต่อสู้ก็ดำเนินไป แต่ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของบ้านแต่ละหลัง คนอยู่ข้างในก็เริ่มกดดัน ชาวบ้านเริ่มมีปัญหากัน พอมีปัญหากันเขาก็ไม่เอาแล้ว ถ้าปัญหาถูกจัดการโดยใครไม่ได้ ไม่มีใครช่วยได้ เพราะถึงช่วยเขาก็โดนออกอยู่ดี ดังนั้นเขาเลยเลือกที่จะออกดีกว่า”

    เมื่อพูดถึงความกดดัน พีระพลระบุว่า มีทั้งแรงกดดันจากหน่วยงานภาครัฐและภายในชุมชนด้วยกันเอง การต่อสู้กับหน่วยงานรัฐมีต้นทุนทางเศรษฐกิจที่ชาวบ้านต้องเอาเข้าแลกเพราะว่าทุกคนต้องลางานกันมา นอกจากนั้นยังมีความเคลือบแคลงเรื่องความโปร่งใสของงบประมาณและความขัดแย้งกับตัวผู้นำในเรื่องอารมณ์และเงินออมทรัพย์

    “หน่วยงานภาครัฐทุกปีก็มาปิดป้อม พอมาหนึ่งทีเราก็เรียกพี่น้องเครือข่ายมาช่วยกัน พอหน่วยงานรัฐมาถึงเห็นคนเยอะก็กลับไป แล้วพี่น้องก็กลับกัน แล้วใครจะมาได้ทุกวัน แต่ กทม. โทรกริ๊งเดียวหน่วยงานก็มาแล้ว พี่น้องก็ต้องทำงานกัน ใครจะมาได้ทุกวัน กดดันภายใน มีปัญหากันเกี่ยวกับเรื่องผู้นำ งบประมาณมันไปมาอย่างไร ชาวบ้านก็เคลือบแคลงอยู่ มีส่วนทำให้ชาวบ้านไม่พอใจ พอรู้ว่าจะตัดพวกเราออกสิบกว่าหลังก็ไม่ให้ความสำคัญกับสิบกว่าหลัง ทั้งที่สิบกว่าหลังนั้นเป็นพวกแรงงานที่ช่วยซ่อมแซม ช่วยบูรณะทั้งนั้นเลย พี่น้องสู้กันมา 20 กว่าปี พอรู้ว่าตรงไหนอยู่ได้ ตรงไหนอยู่ไม่ได้แล้วก็ไม่ช่วยกัน มันกลายเป็นเราโดนทิ้ง”

    “สู้มา 20 กว่าปี ถ้าจะได้มันได้นานแล้ว มันยาก แล้วยิ่งเรายื้อไปมันมีแต่เจ็บ เวลาปิดป้อมทีหนึ่งอาชีพก็หายไป คนก็ต้องหยุดงานมาเฝ้ายามทั้งกลางวันกลางคืน มันเหนื่อยและทรมานจิตใจกับเวลา 20 กว่าปีที่โดนกันมา พอมาถึงเหตุการณ์ที่เป็นจุดแตกมันก็ระเบิดขึ้นมา มันก็ยากที่จะเยียวยาให้เป็นเหมือนเดิมได้ ต่างคนต่างไป ผมก็เลยรวบรวมคนที่ออกมาเพื่อว่าจะไปอยู่ที่จุดที่มุ่งหมายเดียวกัน แต่ก็ขอให้เร็วหน่อย จะได้ดำเนินการได้ ที่มันไม่เหลือเยอะ ใครมาก่อนก็ได้ก่อน”

    “ผมว่ามันเป็นเรื่องความกดดันของผู้นำที่หาทางออกไม่ได้มากกว่า แล้วบางทีตัวเองทำอะไรผิดลงไปก็กลับมากดดันกับชาวบ้าน ลูกบ้านก็บอก กี่ครั้งๆ ก็เป็นแบบนี้ ต่อจากนี้จะไม่ลงแล้ว แทนที่โดนกดดันแล้วจะมาหาทางออกกับชาวบ้าน แทนที่จะอุ้มมวลชนเอาไว้ เพราะการสร้างขบวนมันต้องอุ้มมวลชน ถ้าตัด คัดมวลชนออกไปมันก็หายหมด สุดท้ายก็เป็นแบบนี้ เหลือไม่กี่หลัง สิ่งนี้เลยเป็นปัญหา แล้วทาง กอ.รมน.กทม. ก็เรียกไปคุยเรื่องงบประมาณต่างๆ ก็ชี้แจงไป ทางเราเองตอนนี้ก็เดินหน้า ชาวบ้านพยายามเดินหน้าหาที่ใหม่ให้ได้ ส่วนเรื่องเขาจะสอบสวนกันอะไรยังไงเขาก็มีข้อมูลหมดแล้ว เพราะเรียกชาวบ้านไปสอบถามหมดแล้วทั้งเรื่องที่มาที่ไปงบประมาณอะไรก็ว่ากันไป”

    เขาเล่าว่านอกจากนี้ เมื่อปลายปีที่แล้ว ยังมีปัญหากันเรื่องการถอนเงินจากออมทรัพย์ชุมชนด้วย

    “ข้างในมันมีปัญหาที่สะสมมานาน ผมไม่ใช้คำว่าอิทธิพล ใช้คำว่า ใช้ความคิดส่วนตัวเป็นที่ตั้งดีกว่า ไม่ว่าใครจะเสนออะไรก็จะไม่ค่อยฟัง ใช้ความคิดส่วนตัวและอารมณ์เป็นที่ตั้ง การเป็นผู้นำมันใช้ตัวนี้ไม่ได้ ทำที่ไหนแตกที่นั่น เพราะผมทำขบวนอยู่ กำลังเราเหลือน้อยก็ต้องอุ้มกันเอาไว้ เฮ้ย อย่าเพิ่งไปนะ ถึง กทม. แม่งบอกให้ไปแต่เรามีมวลชน เดี๋ยวมีพี่น้องมาช่วย พอพี่น้องที่จะมาช่วยเห็นคนหายหมดก็สงสัยว่า สู้แบบไหนวะ ทำไมไม่เอาคนไว้ พอมาถามจากพี่น้องก็บอกว่าโดนคัดออก ไม่เอาเขาไว้ ถือว่า 18 หลังได้อยู่ แต่ 18 หลังนั่นเขาคุยกันเรื่องเก็บบ้านนะ ไม่ได้คุยเรื่องคน ทางนั้น (ชุมชน) คงคิดว่าคนจะได้อยู่มั้ง เขาก็บอกว่างั้นก็เตรียมเก็บเสื้อผ้า เตรียมออก เราก็ทิ้งชาวบ้านไม่ได้ก็เลยบอกเขาว่างั้นเราออกด้วยแล้วกัน ก็ปรึกษาครอบครัว ลูก เมียก่อนจะออกมาแล้ว”

    พีระพลกล่าวว่า อยากให้เรื่องชุมชนป้อมมหากาฬจบลงโดยที่ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ด้วยกันทั้งหมด การย้ายถิ่นฐานควรเป็นการย้ายที่ผู้อาศัยในชุมชนเดิมยอมรับ

    “ชาวบ้านที่ออกมาผมอยากให้เขามีที่อยู่อาศัยแบบที่พวกเขาต้องการ แบบเกียกกายนี่ผมต้องการ เพราะไม่ใกลจากเมือง แหล่งทำมาหากิน แหล่งลูกค้า สอง ผมอยากให้ กทม. โอเคกับทั้งทางที่ยังอยู่ในนั้นโอเค ไม่รู้จะโอเคแบบไหน อย่างน้อยก็อยากให้เขามีความสุข คือถ้าเขาอยากจะย้ายก็ให้มีความสุขกับพื้นที่ที่เขาต้องการ ก็ต้องหาที่ให้เขาหน่อย แล้วให้เป็นที่ที่เขาพอใจด้วย อยากให้ทั้งสองฝ่ายสบายใจ ถ้ายืนยันที่จะอยู่ตรงนั้น ก็เป็นเรื่องของหน่วยงานที่จะต้องเอาปัญหามานั่งคิดว่าทำอย่างไรถึงจะเอาผู้นำ เอาชาวบ้านออกได้ ผมว่าถ้าจริงๆ ผู้นำออกคนหนึ่ง คนอื่นก็ต้องไปหมด เนื่องจากกลัวว่าไม่มีที่ไป”

    ต่อคำถามที่ว่า ถ้าเกิดไม่ได้ที่บริเวณเกียกกายที่มีการพูดคุยกันไว้จะทำอย่างไร พีระพลตอบว่า

    “ถ้าไม่ได้ก็ต้องมาถามชาวบ้าน ผมไม่ได้เชื่อเต็มร้อยว่าจะได้ แต่ผมมีความหวัง ถ้าไม่ได้ก็ต้องให้หน่วยงานรัฐมองหาที่ธนารักษ์ซึ่งมันเช่าปีละไม่เท่าไหร่ ที่ของหลวงเยอะแยะไป ให้เขาช่วยมองหาที่อยู่อาศัยให้หน่อยหนึ่งโดยที่ไม่ต้องกู้เงิน พอช. ไปซื้อที่เพราะมันแพง ต้องเพิ่มอีกเป็นล้านกว่าจะไปซื้อที่เปล่า แล้วไหนจะค่าปลูกสร้างบ้านอีก ชาวบ้านจะผ่อนกันไม่ไหว”

    28129215069_1455566148_b.jpg

    กวี (นามสมมติ) อายุ 70 ปี เคยทำงานค้าขายเบ็ดเตล็ดทั่วไป แต่เลิกทำมา 2-3 ปีแล้ว ให้สัมภาษณ์โดยสงวนนามไว้เพราะไม่อยากมีปัญหากับอดีตผู้นำชุมชนที่ยังอยู่ในพื้นที่ เขาเพิ่งเก็บของย้ายจากชุมชนป้อมในวันเดียวกันกับที่ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ โดยก่อนออกมีเจ้าหน้าที่จากทาง กทม. จำนวน 3 คนไปหาที่บ้านและช่วยกันขนย้ายสัมภาระมาไว้ที่ประปาแม้นศรี

    บ้านของกวีเป็นหนึ่งในหลังที่อยู่ในรายการอนุรักษ์ แต่ก็ย้ายออกมา โดยได้ค่าชดเชยเบ็ดเสร็จ 120,000 บาท

    กวีกล่าวถึงสาเหตุที่ย้ายมาเป็นเพราะเริ่มรู้สึกว่าแนวทางการอนุรักษ์ชุมชนเริ่มไปกันใหญ่ บ้านที่อยากให้อนุรักษ์ไม่ได้โบราณจริง รวมทั้งยังมีปัญหากับอดีตประธานชุมชนเมื่อครั้งที่ตนจะถอนเงินจากออมทรัพย์ชุมชนเมื่อจะย้ายออก แต่ก็โดนบ่ายเบี่ยง จนถึงกับต้องแจ้งตำรวจ และทางทหารได้ช่วยเหลือเขาไว้หลายเรื่อง ซึ่งกวีระบุว่า ทหารพึ่งพาได้มากกว่าตำรวจ เพราะทหารยื่นมาเข้ามาช่วยเหลือเวลาที่ตนลำบาก

    “มารู้สึกเมื่อปี 58-59 รู้สึกว่ามันไม่ใช่ มันไปกันใหญ่ จะอนุรักษ์บ้านโบราณ คือมันไม่ใช่ไง ดูแล้วมันโบราณตรงไหน ถ้าเป็นบ้านไม้เก่าก็โอเคอยู่ แต่คุณดูก็รู้ว่ามันไม่ใช่ไง แล้วหลังไหนมันน่าเอาไว้ มันไม่มี เหมือนเราโกหกสังคมน่ะ”

    “ยังไงก็ต้องหาที่อยู่อาศัยใหม่ แต่มันหาไม่ได้ ตอนแรกก็มีให้แต่ว่าไกลมาก ไม่สามารถย้ายไปได้ อยู่แถวมีนบุรีไปนู่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปาก็ไม่มี ก็ยื้อกับ กทม. มาถึงปัจจุบัน แต่ผมรู้สึกมาในปี 58-59 มันไม่ใช่แล้ว สื่อก็ลงว่า ชุมชนป้อมมหากาฬต้องอนุรักษ์เอาไว้กี่หลังๆ แต่บ้านผมก็เข้าเกณฑ์อนุรักษ์นะ แต่ก็ยังไม่เอา เพราะรู้สึกว่าไม่ถูก แล้วเขาก็อนุรักษ์แต่บ้านไว้ ไม่ให้คนอยู่ ผมก็ไม่รู้ว่าจะอนุรักษ์เอาไว้ทำอะไร ไม่มีประโยชน์”

    กวีกล่าวว่า หนึ่งในความกดดันเกิดขึ้นจากปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างเขากับอดีตประธานชุมชนที่ยังอาศัยอยู่ในชุมชน

    เขาเล่าว่า หนึ่งในความกดดันเกิดขึ้นจากปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างเขากับอดีตประธานชุมชนที่ยังอาศัยอยู่ในพื้นที่ เพราะอดีตประธานชุมชนเป็นคนอารมณ์ร้อน เมื่อตนจะย้ายออกก็จะถอนเงินออมทรัพย์ที่ออมไว้กับชุมชน แต่อดีตประธานชุมชนไม่ให้ถอน บอกว่าต้องออกไปจากชุมชนก่อนแล้วถึงจะคืนเงิน ซึ่งตนเห็นว่าไม่ถูกต้องเพราะเงินเป็นของตน จะถอนเมื่อไหร่ก็ย่อมได้ แล้วยังโดนด่าเสียๆ หายๆ จึงไปร้องเรียนกับ กอ.รมน.กทม. ซึ่งทาง กอ.รมน.กทม. ก็พาไปลงบันทึกประจำวันกับตำรวจไว้เป็นหลักฐานที่ สน.สำราญราษฎร์ แต่เวลาผ่านไปเป็นเดือนก็ไม่ได้เงินคืน เลยได้แจ้งความข้อหายักยอกทรัพย์ “จริงๆ ไม่อยากเอาเรื่องนะ ก็อยู่ด้วยกันมานาน ร่วมมือร่วมแรงด้วยกันมาตั้งเยอะแยะ เรื่องนี้มันไม่น่าเป็นแบบนี้”



    "เสียดายที่อยู่อาศัย มันดีมากเลยตรงนั้น ร่มเย็น สงบเงียบ ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่เหมาะเท่าตรงนั้น ไปไหนมาไหนง่ายเพราะอยู่กลางใจเมือง ทำมาหากินก็แถวคลองถม ใกล้ๆ กัน"

    กวีเล่าเรื่องราวการมีส่วนร่วมในการต่อสู้ในชุมชนว่า ตนร่วมการต่อสู้ในชุดแรก และการยื้อยุดแต่ละครั้งมีผลกระทบและแรงกดดันมาก ชาวบ้านได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจสูงเพราะต้องลางานเป็นเวลานาน แต่มาในวันนี้ตนพบว่าไม่มีทางเลือกและท้อ จึงตัดสินใจย้ายออก

    “ทีแรกคิดว่าจะได้อยู่กันตรงนั้น คิดว่าเหมือนจะขอ กทม. ไม่ให้ย้ายไปไหน จะตายอยู่ตรงนั้น แต่ยื้อไปยื้อมามันไม่ได้ไง มันผิดกฎหมาย ผมสู้เป็นชุดแรก คนที่ย้ายมาที่นี่ส่วนมากก็เคยสู้ในชุดแรก”

    “เหมือนกับว่าถ้ามาไล่ก็จำเป็นต้องตั้งป้อมสู้ ไม่ให้เข้ามารื้อบ้าน เอาชุมชนที่อื่น คนข้างนอกมาช่วยด้วย มารวมกันในป้อม ตั้งกำแพงนั่งเรียงกันไม่ให้ กทม. เข้ามารื้อบ้าน กดดันมากเลย ทิ้งไม่ได้ทั้งวันทั้งคืน ไม่ได้ไปทำมาหากิน ตอนปิดป้อมครั้งแรกเมื่อประมาณปี 2542 ปิดประตูป้อมอยู่ 6 เดือน ไม่ต้องทำมาหากินอะไรเลย ก็ไม่ได้ค้าขาย แต่คนส่วนมากก็คนจน หาเช้ากินค่ำก็ช่วยๆ กัน คนไหนพอมีก็แบ่งสรรปันส่วนกินกัน มันไม่มีทางเลือกจริงๆ ถ้ามีทางเลือกอย่างอื่นก็จะไปตั้งแต่ต่อสู้ระยะหลังๆ แล้ว เพราะท้อ ไม่ได้ทำมาหากิน สู้ทีไม่ใช่วันสองวัน แต่เป็นเดือน ไม่ได้กระดิกไปไหนเลย เหมือนกับเฝ้าบ้านเราให้ดีเพราะกลัว กทม. จะมารื้อ”

    กวีพูดทำนองเดียวกับพีระพลว่าเสียดายที่ต้องย้ายออกมาจากชุมชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นตรงกัน “พูดไม่ถูก มันลืมยากเลยนะ มีความผูกพันเหมือนบ้านเกิดเราเลย เสียดายมากๆ ไม่อยากย้ายออกมา ทุกคนที่ออกมาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็จะไม่ย้ายออกมา เราอยู่อย่างผิดกฎหมายมา สู้กับ กทม. มาเรื่อยๆ แล้วมันไม่ใช่ สังคมมองคนในนี้ไม่ดีแล้ว มันตอบสังคมยาก”

    กวีเล่าว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลต่อการตัดสินใจอยู่หรือย้าย “มีบางครอบครัวที่ไม่มีเงิน ลำบาก จะไปที่ใหม่ก็ไม่มีความสามารถจะซื้อใหม่ หรือผ่อนส่งได้ บางคนก็พอมีอาชีพบ้างก็โอเค อย่างผมก็พอมีเก็บบ้างเล็กน้อย จะเอาไว้ทำบ้านให้ลูกอยู่ที่ต่างจังหวัด ตอนนี้ลูกขายของตามตลาดนัดแต่ช่วงนี้ค้าขายไม่ดี ขาดทุน บางวันขายได้เงินก็ไม่พอค่าที่”

    กวีกล่าวว่า อยากให้เรื่องชุมชนป้อมมหากาฬจบลงแบบที่คนที่อยู่ในชุมชนไม่ดูถูกดูแคลนคนที่ออกมา ส่วนคนที่ยังอยู่ข้างใน ถ้ายังยอมรับสภาพได้ก็ให้อยู่ต่อไป โดยตนจะไม่ไปข้องเกี่ยว

    39010714765_1d5c48d701_b.jpg


    https://prachatai.com/journal/2018/01/75131
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    มหากาพย์ป้อมมหากาฬ (3): กอ.รมน.มาจากไหน ทำไมถึงไปกางเต็นท์นอนในชุมชน
    Published on Tue, 2018-01-30 15:39
    เยี่ยมยุทธ สุทธิฉายา รายงาน

    ตอนสุดท้ายของชุดรายงานพิเศษ เมื่อ กทม.ใช้ฝ่ายความมั่นคงแก้ปัญหาพลเรือน ชวนดูที่มาและขอบเขตอำนาจ กอ.รมน. นายทหารฝ่ายข่าว กอ.รมน.กทม. ระบุ รับคำสั่งจากผู้ว่าฯ เข้าไปปราบปรามการขายพลุไฟตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ยังไม่กำหนดว่าจะออกตอนไหน ส่งผลกระทบต่อชุมชนแต่ชาวบ้านพูดไม่เหมือนกัน

    25110651057_582c505e66_o.jpg

    ในภาวะที่ประเทศที่รัฐธรรมนูญระบุว่ามีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยถูกปกครองโดยคณะรัฐประหารมาจะเข้าปีที่ 4 และวันเลือกตั้งเลื่อนก็มีแต่จะเลื่อนออกไปเรื่อยๆ นั้น ก็ไม่รู้ว่าชุมชนป้อมมหากาฬที่ทุกวันนี้เหลือกันอยู่ไม่เกิน 50 คน กำลังพบกับภาวะไม่ปรกติหรือไม่ เมื่อลานกลางชุมชนมีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร (กอ.รมน.กทม.) ไปตั้งเต็นท์ลายพรางประจำการตลอด 24 ชั่วโมงมาตั้งแต่เดือน พ.ย. ปีที่แล้ว โดยอ้างว่าเข้ามาเพื่อปราบปรามการจำหน่ายพลุไฟ สอดคล้องกับคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากพลุไฟ

    39198958854_f2ee46cdb1_b.jpg
    เต็นท์ของ กอ.รมน.กทม. ที่มากางในชุมชน

    การเข้าไปประจำการของ กอ.รมน.กทม. ส่งผลกับความเป็นไปของชุมชนป้อมฯ อย่างชัดเจน เพียงแค่แต่ละคนพูดถึงผลกระทบไม่เหมือนกัน แต่ชี้ชัดว่ากิจการพลเรือนถูกหน่วยงานความมั่นคงเข้ามารับผิดชอบไปแล้ว

    “อย่างวันนี้ (22 ม.ค. 2561) เจ้าหน้าที่ กอ.รมน. เข้ามา ตอนแรกก็บอกว่าจะดูเรื่องพลุ ยาเสพติด และผู้มีอิทธิพล แต่ปัจจุบันทุกสิ่งทุกอย่างหมดไป แต่เจ้าหน้าที่มาเจาะแต่ละบ้าน ไปถามว่า เมื่อไหร่จะไป ผมจะเอาบ้านให้ตรงโน้นตรงนี้ ก็เจาะแต่ละบ้าน ทุกวันนี้ที่โล่งๆ ก็คือคนที่อยากไป แล้วยังมีที่จะออกไปอีก” สุภาณัช ประจวบสุข ผู้ที่ยังอาศัยในชุมชนระบุถึงท่าทีของเจ้าหน้าที่ กอ.รมน.กทม. เธอยังระบุว่ารู้สึกกดดัน เหมือนถูกจับตามอง

    ธวัชชัย วรมหาคุณ อดีตประธานชุมชนป้อมมหากาฬและหนึ่งในผู้เข้าร่วมประชุม กล่าวระหว่างการประชุมกับภาคประชาชน นักวิชาการ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อ 21 ม.ค. 2561 ว่า ช่วงเวลา 3-4 เดือนที่ผ่านมาตนอยู่กับความหวาดระแวงว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับครอบครัว ในชุมชนป้อมฯ มีความเคลื่อนไหวมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเอาทหารมาประจำการในพื้นที่เพื่อปราบปรามการขายดอกไม้ไฟ เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมามีการใช้อำนาจตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 13/2559 ที่ใช้เพื่อปราบปรามผู้มีอิทธิพล เรียกตนเข้าไปพบกับ กอ.รมน.กทม. และเมื่อสองวันที่แล้วมีนายทหารไปคุยกับหญิงชราที่มีอาชีพขายของชำป้อมมหากาฬว่า ถ้าคุณไม่ย้ายออกจากที่นี่ คุณคือศัตรูของกองทัพ

    พีระพล เหมรัตน์ อดีตรองประธานชุมชนป้อมมหากาฬ ปัจจุบันย้ายออกมาอยู่ที่สถานพักพิงชั่วคราวที่การประปาแม้นศรี หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า ‘บ้านอิ่มใจ’ เป็นชื่อเดียวกันกับที่พักพิงคนไร้บ้านซึ่งตั้งอยู่ในรั้วเดียวกัน กล่าวถึงเหตุผลการย้ายไปอยู่ที่บ้านอิ่มใจว่า “แฟลตนี้ไม่มีชุมชนอื่น เป็นสถานที่เร่งด่วนที่สั่งโดย รองนายกฯ ประวิตร (วงษ์สุวรรณ) สั่งให้ กอ.รมน. มาดูที่นี่โดยเฉพาะ ให้ความสำคัญกับการหาที่อยู่ใหม่ให้คนในป้อม ให้อยู่สะดวกสบาย ก็มี เสธ. มาเดินดูหลายคน” พีระพลให้ข้อมูลเพิ่มเติม

    “เราก็สู้มา 25 ปีแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อสู้ เนื่องจากที่ตรงนั้น ข่าวสารและข้อมูลมันชัดเจนว่าไม่สามารถอยู่ต่อได้ในอนาคต เราและครอบครัวจึงปรึกษากันว่าไปดูที่อื่นไหม พอดีได้ที่ที่เกียกกาย หลังวัดแก้วแจ่มฟ้า มีที่ประมาณเกือบ 1 ไร่ เป็นที่ของกรมธนารักษ์ ซึ่งทางทหาร กอ.รมน. ก็ได้ดำเนินการขอเช่าที่ กรมธนารักษ์ก็ไม่ติดอะไร แต่ตอนนี้อยู่ในขบวนการจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อทำการเช่าที่ จึงตัดสินใจออกมา” พีระพล กล่าว

    กวี (นามสมมติ) ชาวชุมชนป้อมฯ ที่ย้ายมาอยู่ที่บ้านอิ่มใจอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า เคยมีปัญหากับอดีตผู้นำชุมชนเมื่อครั้งที่ตนจะถอนเงินจากออมทรัพย์ชุมชนเมื่อจะย้ายออก แต่ก็โดนบ่ายเบี่ยง จนถึงกับต้องแจ้งตำรวจ และทางทหารได้ช่วยเหลือเขาไว้หลายเรื่อง ซึ่งกวีระบุว่า ทหารพึ่งพาได้มากกว่าตำรวจ เพราะทหารยื่นมาเข้ามาช่วยเหลือเวลาที่ตนลำบาก โดยกวีได้ไปร้องเรียนเรื่องข้างต้นที่ กอ.รมน.กทม และเจ้าหน้าที่ของ กอ.รมน.กทม ก็พาไปลงบันทึกประจำวันที่ สน.สำราญราษฎร์

    บทบาทของ กอ.รมน.กทม. ที่อ้างว่าเข้ามาปราบปรามการขายพลุไฟ และเรียกตัวอดีตผู้นำชุมชนเข้าไปพบตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ได้ เป็นเรื่องที่น่าตั้งคำถามกับสังคมและหน่วยงานราชการฝ่ายพลเรือนได้สองประการ

    หนึ่ง ภาวะเงียบงันของสังคมและหน่วยงานราชการฝ่ายพลเรือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคงในกิจการพลเรือน สะท้อนความชินชากับการอยู่ใต้ระบอบคณะรัฐประหาร และวัฒนธรรมความมั่นคงที่ทหารเป็นใหญ่หรือไม่

    สอง ความเงียบงันของสังคม และการตัดสินใจของ ผู้ว่าฯ กทม. ที่ให้ กอ.รมน.กทม. เข้าไปปฏิบัติการในชุมชนป้อมมหากาฬสะท้อนถึงการตีความด้านความมั่นคงในลักษณะกว้างมากถึงขนาดที่จะใช้หน่วยงานความมั่นคงแทนที่หน่วยงานพลเรือน แม้แต่ในเรื่องการจัดการการจำหน่ายพลุไฟและข้อสงสัยเรื่องการใช้อิทธิพลในพื้นที่่ชุมชนขนาดไม่เกิน 15 หลังคาเรือนใช่หรือไม่ หรือว่าลึกๆ มีเหตุปัจจัยที่ กทม. และ กอ.รมน.กทม. ยังไม่ได้บอกสาธารณชนกันแน่

    ประชาไทชวนดูที่มาของ กอ.รมน. บทบาท และอำนาจของหน่วยงานความมั่นคงที่กินอาณาบริเวณมาถึงกิจการพลเรือน รวมทั้งเดินทางไปยังสำนักงาน กอ.รมน.กทม. ที่ศาลาว่าการ กทม. เพื่อสัมภาษณ์พันเอกวิโรจน์ หนองบัวล่าง หัวหน้าฝ่ายข่าวของ กอ.รมน.กทม. ถึงเหตุผลของการไปตั้งเต็นท์ประจำการในพื้นที่ และที่มาของอำนาจในการไปประจำการในชุมชน


    กอ.รมน. 101: มาจากไหน มีบทบาท-อำนาจอะไรบ้าง

    เว็บไซต์ของ กอ.รมน. ระบุว่า กอ.รมน. คือองค์กรที่แปรสภาพมาจากกองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (กอ.ปค.) ใน พ.ศ. 2516 แต่ยังคงสืบต่อความรับผิดชอบในภารกิจป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ต่อไป เมื่อเวลาผ่านไปและภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์มีน้อยลงจึงได้ปรับบทบาทให้มีภารกิจด้านการป้องกัน ปราบปรามยาเสพติด จัดระเบียบและเสริมความมั่นคงชายแดน การพัฒนาเพื่อความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ การแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยและผู้หลบหนีเข้าเมือง การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี ปฏิบัติงานด้านการข่าวและปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.)

    พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ระบุให้สถานะของ กอ.รมน. เป็น “ส่วนราชการรูปแบบเฉพาะ” ใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน.) และมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นรอง ผอ.รมน.

    กอ.รมน.กทม. เป็นหน่วยย่อยในระดับจังหวัดของ กอ.รมน. โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ดำรงตำแหน่ง ผอ.รมน.กทม. (ผู้ว่าฯ ใน พ.ร.บ. หมายรวมถึงผู้ว่าฯ กทม. ที่มีที่มาของการดำรงตำแหน่งจากการเลือกตั้ง ต่างจากจังหวัดต่างๆ ที่มาจากการแต่งตั้ง) ขึ้นตรงกับ กอ.รมน.ภาค ที่มีแม่ทัพภาคเป็น ผอ.รมน.ภาค มีหน้าที่รับผิดชอบความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในเขตพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาค โดยหน่วยปฏิบัติงานระดับภูมิภาคนั้นเป็นหน่วยงานผสมระหว่างพลเรือน ตำรวจ ทหาร ทั้งที่เป็นอัตราประจำและช่วยราชการ

    มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายใน ให้ กอ.รมน. มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

    1. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และรายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

    2. อำนวยการในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ให้มีอำนาจหน้าที่เสนอแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานและการดำเนินการต่อ ครม.

    3. อำนวยการ ประสานงาน และเสริมการปฏิบัติของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานตามข้อ 2 โดย ครม. จะมอบหมายให้ กอ.รมน. มีอำนาจในการกำกับการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามที่ ครม. กำหนดด้วยก็ได้

    4. เสริมสร้างให้ประชาชนตระหนักในหน้าที่ที่ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ สร้างความรักสามัคคีของคนในชาติ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและความสงเรียบร้อยของสังคม

    5. ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือตามที่ ครม. สภาความมั่นคงแห่งชาติหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
    กอ.รมน. ปรากฏตามหน้าข่าวบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งเครือข่ายความมั่นคง หรือการปฏิสัมพันธ์กับชุมชนในลักษณะต่างๆ ซึ่งสามารถนิยามในภาพรวมได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่หน่วยงานความมั่นคงเข้าไปปฏิบัติการในกิจการพลเรือน

    ฝ่ายข่าว กอ.รมน.กทม. เผย รับใบสั่งจากผู้ว่าฯ กทม. ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. และไม่มีกำหนดว่าจะย้ายออก

    28129217939_64f0d2a52d.jpg
    พันเอกวิโรจน์ หนองบัวล่าง

    เมื่อวันที่ 22 ม.ค. พันเอกวิโรจน์ หนองบัวล่าง หัวหน้าฝ่ายข่าวของ กอ.รมน.กทม. กล่าวว่า กอ.รมน.กทม. อาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 27/2559 เรื่องการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากการจุดและปล่อยบั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ทาง กอ.รมน.กทม. ได้สังเกตการณ์มานาน และได้ส่งคนไปประจำการเมื่อเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ทั้งยังไม่มีกำหนดเวลาว่าจะอยู่ถึงเมื่อไหร่ โดย กอ.รมน.กทม. จะอยู่ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะปราบปรามการขายพลุให้แล้วเสร็จ ซึ่งชาวชุมชนเองก็ยืนยันหลายปากว่าไม่มีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพลุไฟหรือยาเสพติด

    “การที่ กอ.รมน. ไปตั้งเต็นท์ในพื้นที่ เพราะอดีตมีการทำผิดกฎหมายของประชาชนในป้อม มีการค้าขายและสะสมพลุ ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม ผิดกฎหมาย ที่ผ่านมารายได้จากชุมชนในป้อมมาจากการจำหน่ายพลุ ทางเราก็ไปดำเนินกรรมวิธีตามกฎหมายว่า ไม่อยากให้ในป้อมมีการสะสมและจำหน่ายพลุ เราเลยเข้าไปอยู่ตรงนั้นเพื่อให้เห็นว่าเราทำตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งก็ทำสำเร็จ เพราะไม่มีคนขายและสะสมพลุในบริเวณนั้นอีกเลย รวมทั้งได้ไปตรวจพบและดำเนินการจับกุมบุคคลที่เป็นพ่อค้ารายใหญ่ที่อยู่ตรงบ้านบาตร ข้างวัดสระเกษที่เป็นแหล่งจำหน่ายและสะสมพลุจำนวน 7 คูหา มีพลุจำนวน 200 ตันที่นั่น เราก็ไปตรวจพบและจับกุมทั้งหมด เป็นการขยายผลจากชุมชน”

    “เราก็จะทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมั่นใจว่าจะไม่มีการจำหน่ายพลุ ปัจจุบันสืบทราบว่ายังมีการลักลอบจำหน่ายอยู่ คนที่เคยจับกุมไปแล้ว จากที่เคยมาขายที่ป้อมมหากาฬ หน้าร้านตัวเอง ตอนนี้ใช้กุฏิพระในวัดสระเกษเป็นที่เก็บ เดี๋ยวรอให้แน่ชัดก่อนจะไปจับให้หมดเลย”

    28129219719_08da4bd9ac_b.jpg

    เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวของ กอ.รมน.กทม. ระบุว่า แม้ทาง กทม. จะเป็นเจ้าของพื้นที่ดังกล่าว แต่ กอ.รมน.กทม. ก็มีหน้าที่รับผิดชอบทับกับ กทม. ในบางเรื่อง ในประเด็นชุมชนป้อมมหากาฬนั้น กอ.รมน.กทม. ได้รับคำมอบภารกิจจากผู้ว่าฯ กทม. ที่สวมหมวกผู้อำนวยการ กอ.รมน.กทม. อยู่แล้วอีกใบ

    “เขาเรียกว่าอยุ่ในความรับผิดชอบของ กทม. ในภาพรวม แต่ กอ.รมน. มีหน้าที่รับผิดชอบทับกับ กทม. ในบางเรื่อง เช่น ป้อมมหากาฬ ทางผู้ว่าก็ขอความร่วมมือมาทาง กอ.รมน. เพราะท่านก็เป็น ผอ. อยู่แล้ว ว่าช่วยเพ่งเล็งตรงนี้เรื่องการจำหน่ายพลุในป้อมเพิ่มเติมอีกภารกิจหนึ่ง โดย กอ.รมน.กทม. ได้มีการประสานงานกับส่วนกองกำลังรักษาความสงบ กองทัพภาคที่ 1 ส่วนสำนักงานเทศกิจเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร และตำรวจ สน.สำราญราษฎร์”

    คำตอบของวิโรจน์ในประเด็นบทบาทการไล่รื้อสะท้อนถึงทิศทางการจัดการพื้นที่และคนในชุมชนป้อมมหากาฬของหน่วยงานภาครัฐ ที่จะเก็บเอาไว้แต่บ้าน ส่วนคนนั้นเป็นอีกประเด็นหนึ่งแยกออกจากกัน

    “ทราบว่าตรงนี้เป็นพื้นที่ที่กรุงเทพฯ ได้เวนคืนหมดแล้ว ชุมชนป้อมที่เราไปอยู่ก็มี 15 ครอบครัว ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ไม่มีพื้นฐานดั้งเดิมจากคนในป้อม แต่เป็นคนมาเช่าบ้าน เช่น เมื่อก่อนมีคนเขมรมาเช่าบ้านหลังหนึ่งอยู่ พอเราเข้ามาเขาก็ให้ออกไป เราก็ให้ประชาชนที่เขารู้จักกันมาอาศัยแทน รวมทั้งคนในป้อมที่มีหลายกลุ่มที่เป็นผู้บุกรุกแต่เดิมแต่อยู่มานาน ก็เป็นเรื่องที่ทาง กทม. ต้องดำเนินการต่อไปในสิ่งที่ตามกฎหมาย แต่ผมก็ทราบมาว่า ในส่วนของบ้าน ทาง กทม. จะอนุรักษ์ไว้ แต่จะอนุรักษ์เป็นโบราณสถาน ไม่ให้คนอาศัย เป็นบ้านที่เขาเห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์และจะอนุรักษ์เอาไว้ ผู้บุกรุกทั้งหมดต้องออกไปจากบริเวณนี้”

    “ทาง กทม. จะมีประวัติแต่ละบ้านว่าเป็นบ้านใคร จ่ายค่าชดเชย ค่าเวนคืนไปแล้วเท่าไหร่ เหลือเท่าไหร่ จากข้อมูล กทม. มีบ้านที่ไม่ได้รับค่าเวนคืนอีกร้อยละ 25 หรือ 2 ครอบครัว จะจ่ายต่อเมื่อรื้อเท่านั้น ที่เหลือเป็นผู้บุกรุกทั้งหมด”

    39960033671_803202dc05.jpg
    การรื้อบ้านหมายเลข 113 ในวันที่ 29 ม.ค. 2561

    วิโรจน์ขยายความของผู้บุกรุกว่า เป็นคนที่เจ้าของบ้านเดิมให้เช่าบ้าน แล้วเจ้าของบ้านเดิมก็รับค่ารื้อถอนไปแล้ว แล้วก็ให้คนที่เช่าอยู่นั้นอยู่ต่อโดยไม่เก็บค่าเช่า คนที่อยู่โดยสถานภาพผู้เช่าก็กลายเป็นผู้บุกรุกไปโดยปริยาย เพราะไม่จ่ายค่าเช่าให้ กทม. และไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน “แต่ กทม. ก็ไม่ได้ใจร้ายนะ เมื่อคนเช่าเดิมย้ายออกจากที่เช่าเดิมก็จะได้รับค่าเสียสิทธิ์จำนวน 43,000 บาทเพื่อไปเช่าบ้านที่อื่นต่อ อันนี้คือที่ทราบมา”

    แต่ในความเป็นจริง กอ.รมน.กทม. ก็มีหน้าที่เป็นหน่วยรับเรื่องร้องเรียนจากคนในชุมชนเหมือนกัน สะท้อนจากคำตอบของวิโรจน์ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง กอ.รมน.กทม. กับชุมชน “ก็มีหลายคนที่อยู่ในนั้นมาร้องว่า คนทั้ง 5 ครอบครัวเหมือนกับทำตัวเป็นเจ้านายเขาซึ่งเขาไม่ชอบ เราก็เลยเชิญเขามาพูดคุยว่ามีการร้องเรียนแบบนี้ มีเหตุผลอะไรที่ไปอธิบายให้ฟังไหม ก็ไกล่เกลี่ยแล้วยุติกันไป วันที่ 26 ม.ค. นี้ก็มีอีกเหมือนกันเพราะคนภายในปล่อยกู้เงินแล้วดอกเบี้ยเกินอัตรา ก็จะเรียกมาสอบถามกัน”

    ผู้สื่อข่าวประชาไทรายงานว่า เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ซึ่งเป็นวันเดียวกันที่ กทม. พยายามเข้ารื้อบ้านหมายเลข 111 ในชุมชนป้อมฯ ธวัชชัยได้เดินทางไปยังศาลาคนเมืองเพื่อเข้าพบกับทาง กอ.รมน. หลังถูกเรียกตัวด้วยคำสั่งที่ 13/2559 กรณีมีบุคคลที่เพิ่งย้ายออกจากป้อมมหากาฬฟ้องร้องว่าธวัชชัยหลอกให้นำเงินจำนวน 80,000 บาท ไปซ่อมแซมบ้าน จากนั้นธวัชชัยก็ใช้อิทธิพลกดดันให้ตนออกจากบ้านที่ซ่อมแซม ซึ่งหลังจากคู่กรณีพูดคุยกันและชี้แจงเรื่องค่าใช้จ่ายที่ กอ.รมน. ก็พบว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด เนื่องจากธวัชชัยไม่สามารถบังคับใครได้ เพราะไม่ใช่เจ้าของที่ดิน รวมถึงพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหาว่าใช้อิทธิพลกดดันนั้นมาจากการมองหน้าเท่านั้น

    เมื่อ 29 ม.ค. วิโรจน์กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ณ ชุมชนป้อมมหากาฬ ขณะที่มีการรื้อบ้านหมายเลข 113 ว่า กอ.รมน.กทม. เป็นหน่วยงานหลักที่ประสานงานหาที่อยู่ใหม่ให้กับผู้ที่ออกจากชุมชนป้อมฯ โดยที่จะเป็นบริเวณเกียกกาย ขนาดเกือบ 1 ไร่ เป็นที่ของกรมธนารักษ์ ซึ่งจะให้คนที่ไม่มีบ้านรวมเงิน และรวมตัวกันตั้งเป็นสหกรณ์ เก็บเงินสะสมรวมกันให้ได้ร้อยละ 10 ของราคาที่ แล้วยื่นเรื่องขอกู้เงินอีกร้อยละ 90 จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เพื่อเอาเงินจำนวนดังกล่าวมาสร้างบ้าน เช่าที่ โดยมีระยะเวลาผ่อนชำระ 15 ปี แต่ต้องเป้นบ้านตามรูปแบบที่ พอช. กำหนด คือเป็นทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น วิโรจน์ระบุว่า การประสานกับอธิบดีกรมธนารักษ์เป็นไปด้วยดี “เราประสานกับรองอธิบดีกรมธนารักษ์แล้ว ท่านก็เต็มใจในส่วน กอ.รมน. เข้าไปดำเนินการจัดการ ก็เต็มใจที่จะให้ที่ตรงนั้น”

    ด้านอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ อาสาสมัครด้านกฎหมายของชุมชนป้อมมหากาฬ กล่าวถึงการใช้อำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช. เรียกตัวบุคคลเข้าพบนั้นไม่สมควร เพราะคำสั่งดังกล่าวให้อำนาจในการควบคุมตัวบุคคลได้ 7 วัน ซึ่งไม่เป็นผลดีกับสภาพการณ์ เพราะทางชุมชนก็มีความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่รัฐอยู่แล้ว ส่วนภาพรวมการต่อสู้ระหว่าง กทม. กับชุมชนป้อมมหากาฬนั้นเป็นการต่อสู้เชิงนโยบายในประเด็นอัตลักษณ์ชุมชน ส่วนกฎหมายนั้นแม้เป็นกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิ์ แต่ก็ได้บัญญัติไปบังคับใช้ไปตั้งแต่ พ.ศ. 2535 แล้ว ทาง กทม. เองนอกจากต้องปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว อีกด้านหนึ่งก็ยังมีภาระที่ต้องดูแลชาว กทม. ซึ่งชาวชุมชนป้อมมหากาฬเองก็เป็นคน กทม. เหมือนกัน

    “ถ้าว่ากันด้วยกฎหมาย รัฐได้ออกกฎหมายเวนคืนซึ่งเป็นกฎหมายลิดรอนสิทธิ์ เพื่อเอาที่ดินไปทำเป็นที่สาธารณะ แต่ในเชิงนโยบายที่ต่อสู้กันคือการรักษาอัตลักษณ์ของชุมชนเมือง เป็นเรื่องการต่อสู้เชิงนโยบายและการแก้ไขปัญหาชีวิตคนเมือง กทม. เองก็มีหน้าต้องทำตามกฎหมายเวนคืน แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องบำบัดทุกข์ บำรุงสุขคน กทม. ด้วย ซึ่งคนชุมชนป้อมมหากาฬก็เป็นคน กทม. ถามว่าวันนี้ถ้าเอาคนออกจากชุมชน เขาก็เป็นคนไร้บ้าน กทม. จะรับผิดชอบตรงนี้อย่างไร 25 ปีที่ผ่านมาก็เป็นการต่อรองทางนโยบาย ไม่ได้ต่อรองกฎหมาย เพราะกฎหมายบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2535 แล้ว” อภิชาต ระบุ

    26036496518_642cda0b39.jpg
    พื้นที่หัวป้อมที่เคยเป็นชุมชน ปัจจุบันถูกลาดยาง และเคยใช้เป็นที่ตั้งโรงครัว และสุขาสาธารณะเมื่อพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9


    ความเดิมตอนที่แล้ว: จุดเริ่มต้นของปมปัญหา อัพเดทสถานการณ์ปัจจุบัน
    ชุมชนป้อมมหากาฬ เดิมมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4 ไร่ 300 ตารางวา ปี 2559 มีบ้านเรือนทั้งหมด 64 หลัง ประชากรประมาณ 300 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย เช่น ขายกระเพาะปลา ส้มตำ ไก่ย่าง ขายพลุ ดอกไม้ไฟ ฯลฯ ถือเป็นย่านที่อยู่อาศัยเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีทั้งขุนนาง ข้าราชบริพาร ปลูกสร้างบ้านเรือนพักอาศัยอยู่นอกกำแพงพระนคร รวมทั้งมีชุมชนเรือนแพอยู่ในคลองโอ่งอ่าง โดยมีป้อมที่สร้างขึ้นตามกำแพงพระนครในสมัยนั้นรวม 14 ป้อม (เหลือปัจจุบันเพียง 2 ป้อม คือ ป้อมมหากาฬและป้อมพระสุเมรุ)

    ปัญหาที่ชุมชนป้อมมหากาฬได้รับผลกระทบอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นผลมาจากโครงการปรับปรุงพื้นที่บริเวณป้อมมหากาฬเพื่อจัดทำเป็นสวนสาธารณะและอนุรักษ์โบราณสถานของชาติตั้งแต่ปี 2502 ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาเกาะรัตนโกสินทร์ ทำให้ต้องมีการรื้อถอนบ้านและย้ายชุมชนที่อยู่ในแนวกำแพงป้อมมหากาฬออกทั้งหมด เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และทำเป็นสวนสาธารณะแต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ ต่อมา กทม.ทำการเวนคืนที่ดินในปี 2535 ตั้งแต่นั้นก็มีปัญหาไล่รื้อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีชาวบ้านบางส่วนที่รับเงินค่าเวนคืนไปแล้ว แต่ชาวชุมชนส่วนใหญ่ต่อสู้และคัดค้านมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ในปี 2546 กทม.ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาเพื่อปิดล้อมเตรียมการไล่รื้อ แต่ชาวชุมชนและเครือข่ายคูคลองหลายร้อยคนได้คล้องแขนเป็นกำแพงมนุษย์ปิดกั้นไม่ให้เจ้าหน้าที่บุกเข้าไป ต่อมาในปี 2547 ชาวชุมชนยื่นฟ้อง กทม.ต่อศาลปกครอง ศาลปกครองพิพากษาในเวลาต่อมาให้ กทม. มีสิทธิในการเวนคืนเพื่อพัฒนาที่ดิน

    เมื่อปี 2560 มีการประชุมคณะกรรมการ 4 ฝ่ายระหว่างกรุงเทพมหานคร ผู้แทนชุมชนป้อมมหากาฬ ผู้แทนภาคประชาสังคม และฝ่ายความมั่นคงช่วยเดือน เม.ย. - ก.ค. โดยกลุ่มนักวิชาการเสนอแนวทางการพิจารณาอนุรักษ์บ้านผ่านคุณค่าทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์, ด้านศิลปะ สถาปัตยกรรมและผังเมือง, ด้านสังคมและวิถีชีวิต, ด้านโบราณคดี และด้านวิชาการ ซึ่งข้อตกลงในตอนนั้นได้ตกลงกันว่าจะให้เก็บบ้านในชุมชนเอาไว้จำนวน 18 หลัง

    เมื่อ 7 ก.ค. 2560 ยุทธพันธุ์ มีชัย เลขานุการผู้ว่าราชการ กทม. ตัวแทนพูดคุยประเด็นป้อมมหากาฬของทาง กทม. ระบุว่าไม่สามารถเก็บบ้านไว้ได้ทุกหลัง และแบ่งบ้านเป็นโซนที่จะอนุรักษ์และโซนที่จะต้องรื้อ ก่อนที่จะนำข้อเสนอดังกล่าวให้ทาง กทม. พิจารณาต่อไป แต่หลังจากนั้นก็มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเมืองขึ้นมาและได้ตัดสินให้คงบ้านไว้เพียง 7 หลัง ทั้งนี้ การเก็บบ้านไม่ได้หมายความว่าจะให้เจ้าบ้านอยู่อาศัยในบ้านได้ต่อไป

    ในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของในหลวง ร.9 พื้นที่หัวป้อมถูกนำไปใช้เป็นห้องครัวและห้องสุขา และหลังจากพระราชพิธีฯ ในเดือน พ.ย. หน่วยทหาร-พลเรือน ของ กอ.รมน.กทม. เข้าไปตั้งเต็นท์อาศัยในลานกลางชุมชน โดยอ้างว่าเข้ามาเพื่อปราบปรามการลักลอบการจำหน่ายพลุไฟ และยังคงปักหลักอยู่ที่ลานกลางชุมชนจนถึงทุกวันนี้ โดยมีเจ้าหน้าที่ผลัดเวรมานั่งเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง

    15 ม.ค. กทม. เข้ารื้อบ้านเลขที่ 63 ที่เจ้าของบ้านสมัครใจย้ายออกไปอาศัยอยู่ที่พักพิงชั่วคราวที่สำนักงานประปาเก่าที่สี่แยกแม้นศรีที่ถูกจัดเอาไว้ให้ชาวชุมชนป้อมมหากาฬ ซึ่งในรั้วเดียวกันมีอาคารที่จัดเอาไว้เพื่อเป็นที่พักของคนไร้บ้าน เรียกว่า บ้านอิ่มใจ ทาง กทม. และ กอ.รมน.กทม. มีแผนที่จะใช้ที่ดินกรมธนารักษ์ในย่านเกียกกายปลูกที่พักอาศัยให้ชาวบ้านย้ายไปอยู่ต่อ

    ในวันเดียวกัน ธวัชชัย วรมหาคุณ อดีตประธานชุมชนป้อมมหากาฬ ถูก กอ.รมน.กทม. เรียกตัวด้วยคำสั่งที่ 13/2559 กรณีมีบุคคลที่เพิ่งย้ายออกจากป้อมมหากาฬฟ้องร้องว่าธวัชชัยหลอกให้นำเงินจำนวน 80,000 บาท ไปซ่อมแซมบ้าน จากนั้นธวัชชัยก็ใช้อิทธิพลกดดันให้ตนออกจากบ้านที่ซ่อมแซม ซึ่งหลังจากคู่กรณีพูดคุยกันและชี้แจงเรื่องค่าใช้จ่ายที่ กอ.รมน. ก็พบว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด เนื่องจากธวัชชัยไม่สามารถบังคับใครให้อยู่หรือย้ายจากชุมชนได้ เพราะไม่ใช่เจ้าของที่ดิน รวมถึงพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหาว่าใช้อิทธิพลกดดันนั้นมาจากการที่ธวัชชัยมองหน้า และเพราะคนในชุมชนไม่พูดจาด้วย

    พรเทพ บูรณบุรีเดช อดีตรองประธานชุมชนป้อมมหากาฬระบุว่า ปัจจุบันเหลือประชากรในป้อมจำนวน 10 หลังคาเรือน จำนวนคนราว 45 คน ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กทม. มีแผนจะเข้ารื้อบ้านอีกในช่วงวันที่ 29-31 ม.ค. 2561 โดยวานนี้ (29 ม.ค. 2561) มีการเข้าไปรื้อบ้านหมายเลข 113 ซึ่งเป็นบ้านของกวี (นามสมมติ) ที่เพิ่งย้ายออกไปอยู่บ้านอิ่มใจเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีชาวชุมชนที่ออกไปส่วนหนึ่งกลับมาพร้อมคนงาน โดยให้เหตุผลว่ามาป้องกันเหตุทะเลาะกันระหว่างคนที่จะย้ายออกและคนที่ยังอยู่

    ในวันเดียวกัน สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ออกหนังสือถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า เรื่องมาตรการที่รัฐพึงปฏิบัติในการบริหารจัดการพื้นที่บริเวณป้อมมหากาฬ โดยเดินทางไปยื่นที่ที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติแวดล้อม โดยขอให้กรรมการอนุรักษ์ฯ ปฏิบัติตามกรอบข้อตกลง 4 ฝ่ายระหว่าง กทม. ตัวแทนชุมชนป้อมมหากาฬ นักวิชาการ และฝ่ายความมั่นคง ลงนามร่วมกันว่าด้วยการอนุรักษ์บ้านจำนวน 18 หลังเอาไว้ และให้พิจารณาเรื่องวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชนที่ถือเป็นชุมชนชานพระนครแห่งสุดท้ายอีกด้วย

    26036496788_60df8bc829_b.jpg


    https://prachatai.com/journal/2018/01/75189
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    กลยุทธ์!
    เมื่อลานกลางชุมชนมีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร (กอ.รมน.กทม.) ไปตั้งเต็นท์ลายพรางประจำการตลอด 24 ชั่วโมงมาตั้งแต่เดือน พ.ย. ปีที่แล้ว โดยอ้างว่าเข้ามาเพื่อปราบปรามการจำหน่ายพลุไฟ สอดคล้องกับคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากพลุไฟ การเข้าไปประจำการของ กอ.รมน.กทม. ส่งผลกับความเป็นไปของชุมชนป้อมฯ อย่างชัดเจน เพียงแค่แต่ละคนพูดถึงผลกระทบไม่เหมือนกัน แต่ชี้ชัดว่ากิจการพลเรือนถูกหน่วยงานความมั่นคงเข้ามารับผิดชอบไปแล้ว

    Matichon Online - มติชนออนไลน์ แพร่ภาพสดในขณะนี้


    สดจาก "ป้อมมหากาฬ" สำนักการโยธา กทม. รื้อบ้านป้าเฮง ปิดตำนานสู้ 26 ปี

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    กลยุทธ์! เชื่อเถอะเดี๋ยวแต่ล่ะท่านก็ ทนอยู่ไม่ได้ ต้องขอย้ายออกเอง

    น่าจะนำกลยุทธ์ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร (กอ.รมน.กทม.) ที่นำมาใช้กับ ชุมชนป้อมมหากาฬ มาประยุกต์ใช้ กับกรณี หมู่บ้านตุลาการบ้าง โดยอยากให้รัฐบาลอนุญาตให้ประชาชนไปตั้งเต็นท์ ตรวจสอบการใช้พื้นที่ เป็นประจำการตลอด 24 ชั่วโมง ร่วมกับผู้อาศัยในหมู่บ้านดังกล่าว เพื่อร่วมตรวจสอบผลกระทบกับแหล่งน้ำชุมชน ซึ่งการเข้าไปประจำการของประชาชน หากส่งผลกับความเป็นไปของชุมชนบ้านพักตุลาการฯ ยังไง ท่านที่จะเข้าไปอยู่อาศับก็ต้องยอม เพราะถือว่าเป็นการรับผิดชอบต่อสังคม

    นายกฯ เร่งสางปัญหา ‘บ้านพักตุลาการ’
    6 นาที 25 เมษายน 2018 เขียนโดย WorkpointNews

    1523795775_49443_1541810-1024x538.jpg

    ประเด็นคือ – รมว.มหาดไทย ปัดย้าย ผวจ.เชียงใหม่เซ่นบ้านพักตุลาการ ขณะที่นายกฯ เผยรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ส่วนจะทุบหรือไม่เป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง

    วันที่ 25 เม.ย. 2561 ความคืบหน้าแก้ปัญหาบ้านพักตุลาการเชิงดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ล่าสุดวานนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า บ้านพักตุลาการมีหลายปัญหา รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ และจะตั้งคณะกรรมการร่วมประกอบด้วยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาพิจารณาประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข ต้องรวบรวมข้อเสนอ และความคิดเห็น ฟังข้อโต้แย้งจากผู้เรียกร้องต่างๆ ในหลายประเด็นซึ่งมีการพูดคุยมาบ้างแล้ว ดังนั้นอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ กฎหมายมีตรงไหนที่มีความสำคัญบ้าง

    นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่อยากให้ไปฟังผู้ที่เกี่ยวข้องพูดกันไปมามากนัก ต้องใช้หลักการของกฎหมาย การชะลอการใช้อาคารทำได้หรือไม่ได้ ต้องไปดูว่ากฎหมายทำได้หรือไม่ การก่อสร้างมาแล้วจะทำอย่างไร ในเรื่องของสัญญา และอีกส่วนคือทำมาแล้วจะใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ในเมื่อมีแรงต่อต้านขนาดนี้ก็ต้องไปหาหนทางออกให้ได้ แต่สิ่งที่อยากให้ทุกคนกลับมาดูตรงนี้คือ ในเมื่อมันเป็นปัญหาเรื่องนั้นก็ให้กลไกและกฎหมายว่าไป แต่ในส่วนของการฟื้นฟูสภาพป่าจะต้องเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการฟื้นฟู ปลูกต้นไม้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และระหว่างนั้นก็เป็นการแก้ปัญหา จะทำอย่างไรกับอาคารที่สร้างมาแล้ว ทุบหรือไม่ทุบ จะให้ใครใช้ประโยชน์อย่างไร เป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง

    B8%81%E0%B8%AF-%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B5.jpg

    “อย่าเอาอะไรมาตีกันทั้งหมด เพราะจะแก้ไม่ได้สักอัน มันก็ติดไปหมด ต้องปลูกป่าขึ้นมาให้ได้ก่อน ในส่วนของที่ทำงานต้องใช้ประโยชน์ตรงไหนก็ว่าไป ที่ไม่มีผลกระทบตรงนี้ก็ว่ากันไป ไม่ใช่ว่าอะไรก็พังกันไปทั้งหมดก็ลำบาก งบประมาณแผ่นดินมันใช้มาแล้ว แต่หลายคนก็บอกว่าก็ไม่อยากให้บรรดาพรรคการเมือง หรือนักการเมืองเอาอันนี้มาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาแนวร่วม เห็นด้วยไม่เห็นด้วย แต่ถ้าตัวเองเป็นรัฐบาลจะทำหรือเปล่าผมก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะมีกฎหมายอยู่ตรงนี้ ยืนยันทุกฝ่ายพยายามจะแก้ปัญหาให้ได้ และทางศาลเองด้วย”

    พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันว่า จะแก้ไขปัญหาบ้านพักตุลาการให้ได้ เพราะเป็นหนึ่งในหลายร้อยปัญหาที่จะต้องเข้าไปแก้ไข ส่วนคนที่ไม่อยู่ในระบบแล้วพูดอะไรออกมา ก็อย่าถือเป็นประเด็นมากนักเลย เพราะเขาก็มีสิทธิ์จะพูด แต่ประเด็นการตัดสินใจ การดำเนินการ ก็เป็นเรื่องของรัฐบาล

    1524614157_12388_333397.jpg

    มท.1 ไม่ได้ย้าย ผู้ว่าฯเชียงใหม่ เซ่น บ้านพักตุลาการ

    ขณะที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบโยกย้ายนายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และแต่งตั้งให้นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ว่า หากพูดในภาพรวมทางนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย มองว่าควรปรับให้ลงฝา-ลงตัว และการโยกย้ายนายปวิณ ไม่ได้เกี่ยวกับปัญหาเรื่องการสร้างบ้านพักตุลาการในพื้นที่ป่าเชิงดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ซึ่งทุกคนมีความรู้ความสามารถในการทำงานเพียงแต่ปรับให้เหมาะสมกับพื้นที่ ไม่ได้มีประเด็นอื่นในข้อพิจารณา

    1524614252_35426_03.jpg
    นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และนายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย

    https://workpointnews.com/2018/04/25/นายกฯ-เร่งสางปัญหา-บ้าน/
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    China Xinhua News

    อิสราเอลเตือนซีเรีย พร้อมโต้กลับหากถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธรัสเซีย

    เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (23 เม.ย.) นายเอวิกดอร์ ลีเบอร์แมน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของอิสราเอลได้กล่าวว่า อิสราเอลจะกลับมาโต้ตอบ หากซีเรียใช้ขีปนาวุธ S-300 ของรัสเซียโจมตีกองทัพอากาศของอิสราเอล

    "สิ่งหนึ่งที่เรายืนยันชัดเจน นั่นคือหากมีคนยิงเครื่องบินของเรา เราก็จะทำลายพวกเขา" นายลีเบอร์แมน ให้สัมภาษณ์แก่สำนักข่าว Ynet เช่นนี้

    "ระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300 ของรัสเซียอยู่ที่นั่น (ในซีเรีย) และไม่ได้ถูกเปิดใช้โจมตีเราอยู่ในขณะนี้ แต่หากระบบดังกล่าวถูกเปิดใช้กับเรา เราก็จะทำลายพวกเขา" ลีเบอร์แมนกล่าว

    "เราไม่ได้แทรกแซงกิจการภายในของซีเรียอยู่แต่อย่างใด แต่เราก็ไม่ยอมให้อิหร่านส่งระบบอาวุธมหาศาลไปกักเก็บในซีเรีย เพื่อจะนำมาใช้โจมตีอิสราเอลเช่นกัน" เขากล่าวเสริม

    เมื่อกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัสเซีย รัฐมนตรีผู้นี้ได้แสดงความคิดเห็นว่า "ผมคิดว่าชาวรัสเซียไม่มีเหตุผลที่จะขัดแย้งกับเรา ซึ่งเราเองก็ไม่ได้ต้องการที่จะขัดแย้งกับพวกเขา"

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    China Xinhua News

    อิหร่านซัดอิสราเอลชั่วร้าย กรณีโจมตีซีเรียทางอากาศ ย้ำหนักรอดูผลกรรม!

    วานนี้ (24 เม.ย.) เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านความมั่นคงของอิหร่าน ออกมาแสดงคำมั่นว่าอิหร่านจะลงโทษอิสราเอล กรณีสังหารคณะที่ปรึกษาทางการทหารของอิหร่าน ขณะปฏิบัติการโจมตีซีเรียทางอากาศเมื่อไม่นานนี้

    นายอาลี ชามคอนี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติอิหร่าน กล่าวว่าอิหร่านจะดำเนินการตัดสินใจในเรื่องเวลา สถานที่ และวิธีการ เพื่อตอบโต้การกระทำ “ชั่วร้าย” ของอิสราเอล

    “อิสราเอลได้ละเมิดน่านฟ้าซีเรีย และได้มุ่งเป้าโจมตีกองกำลัง ที่กำลังต่อสู้กับการก่อการร้าย” ชามคอนีกล่าว “อิสราเอลเตรียมรอดูผลกรรมและการเอาคืนได้เลย”

    วาทะของชามคอนีเกิดขึ้นก่อนเขาเดินทางออกจากกรุงเตหะราน เพื่อเข้าร่วมการประชุมด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ ณ เมืองโซชีของรัสเซีย

    ทั้งนี้ มีรายงานว่าอิสราเอลได้ปฏิบัติการโจมตีฐานทัพอากาศ ที4 ของซีเรียในวันที่ 8 เม.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 14 ราย ซึ่งรวมถึงคณะที่ปรึกษาทางการทหารของอิหร่านด้วย

    (แฟ้มภาพ ภาพการทำลายสถานที่ที่อิสราเอลอ้างว่าเป็นที่ตั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของซีเรียในปี 2007 ซึ่งกองทัพอิสราเอลเผยแพร่เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2018)

    31317772_2076028835946461_7168363329704951808_n.jpg

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    China Xinhua News

    ทรัมป์เปรย รมว.คลังสหรัฐฯ เตรียมเยือนจีนถกปัญหาการค้า

    วานนี้ (24 เม.ย.) ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐอเมริกากล่าวว่า สตีเวน เทอร์เนอร์ มนูชิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐ จะเดินทางไปจีนในสัปดาห์หน้าเพื่อพูดคุยปัญหาด้านการค้า

    โดยทรัมป์กล่าวถึงเรื่องนี้ที่ทำเนียบขาว หลังจากได้พบปะกับประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ที่เดินทางเยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการเป็นเวลา 3 วัน

    "ผมคิดว่าเรามีโอกาสที่ดีมากที่จะได้ทำข้อตกลง" ทรัมป์กล่าว

    โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (21 เม.ย.) มนูชินกล่าวว่า เขาอาจจะเยือนปักกิ่งเพื่อพูดคุยกับจีนในประเด็นเรื่องการค้า "ผมจะไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับเรื่องเวลาและจะยังไม่ยืนยันอะไรเช่นกัน แต่ตอนนี้เรื่องนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา" เขากล่าวกับผู้สื่อข่าว

    ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของจีนออกมากล่าวว่า ทางจีนทราบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว และจีนยินดีต้อนรับ

    ทั้งนี้ เมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของทรัมป์ได้เพิ่มกำแพงภาษีสินค้านำเข้าจาดจีนรวมเป็นมูลค่า 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่จีนก็เตรียมเพิ่มอัตราภาษีสินค้าจากสหรัฐฯ เช่นกัน

    จากรายงานของสถาบันบรูกกิงส์ (Brookings Institution)สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนจะส่งผลให้เกิดการสูญเสียงานมากกว่า 2.1 ล้านตำแหน่งใน 2,700 เคาน์ตีของสหรัฐอเมริกา

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    China Xinhua News




    ระเบิดดัง”ปังๆๆ”ก่อนกิน!วิธีการทำป๊อปคอร์นสุดโหดสไตล์จีนโบราณ

    ทำเอาชาวเน็ตจีนหลายคนถึงกับคอมเมนท์ว่าอดนึกถึงสมัยวัยเด็กไม่ได้ หลังเมื่อไม่นานมานี้ชาวบ้านราว 50 รายในตำบลต้าตงโกว อำเภอเจ๋อโจว มณฑลซานซีของประเทศจีน ได้รวมตัวกันโชว์ทำข้าวโพดคั่วสไตล์จีนโบราณ ที่นอกจะหอมยั่วน้ำลายแล้ว ยังมีเสียงระเบิดดัง”ปังๆๆ” สุดบันเทิงหูอีกด้วย ตามาดูกันเลยว่าเขาทำกันอย่างไร
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    SpringNews




    #ป้อมมหากาฬ ชุมชนเก่ากลางกรุง ...ชีวิตจริงที่กำลังถูกทำให้กลายเป็นเพียงประวัติศาสตร์

    29768750_10155415472805841_1388020725830385664_n.jpg
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ทหารซาอุฯ หลายสิบนายเสียชีวิตด้วยขีปนาวุธกอฮิร - เอ็ม 2
    Published: Tuesday, 24 April 2018 17:17 |

    Killed-QAHER-M2-1.jpg

    กองกำลังของเยเมนได้เล็งเป้าไปยังกองกำลังพันธมิตรซาอุฯ ในจังหวัดตะอิซของเยเมนด้วยขีปนาวุธ

    ผู้สื่อข่าวอัล-อาลัมได้รายงานข่าวด่วนเกี่ยวกับการถูกสังหารและการบาดเจ็บของทหารรับจ้างหลายสิบคนรวมถึงบรรดาแกนนำ ในการโจมตีด้วยขีปนาวุธที่กำหนดเป้าไปยังจุดชุมนุมของพวกเขาในอัล-มิคอ ทางตะวันตกของจังหวัดตะอิซ

    "อับดุลลอฮ์ อัล-ชะรีฟ" รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวในหน่วยขีปนาวุธเยเมนว่า ขีปนาวุธกอฮิร - เอ็ม 2 (QAHER-M2) ได้ถูกยิงไปที่จุดรวมตัวของทหารรับจ้างของซาอุดิอาระเบียในอัล-มิคอ ทำให้ทหารรับจ้างหลายสิบคนเสียชีวิตพร้อมกับบรรดาแกนนำของพวกเขา

    ในขณะเดียวกันแหล่งข่าวทางทหารกล่าวว่า : กองกำลังของกองทัพและคณะกรรมการประชาชนของเยมเน ได้ยิงทำลายรถถังของทหารรับจ้างซาอุฯ คันหนึ่งด้วยขีปนาวุธในเขตติดต่อระหว่างจังหวัดมะริบและอัล-บัยฎออ์ทำให้ทหารทั้งหมดที่อยู่ในรถถังนั้นเสียชีวิต

    ที่มา : อัล-อาลัม

    ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม


    http://www.iicth.com/news01/muslim-news/219-news-75
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    โดนัลด์ ทรัมป์ ท้าชนนิวเคลียร์อิหร่าน ด้านรัสเซีย จีน พร้อมโดดป้องผลประโยชน์ร่วม ตามดูกันสหรัฐฯ จะแน่สักแค่ไหน?
    Publish 2018-04-25 02:51:34
    เมื่อรัสเซีย และ จีนออกหน้า ลุกขึ้นมาปกป้องข้อตกลง แผนปฏิบัติการร่วมแบบครอบคลุม (Joint omprehensive Plan of Action) หรือ เจซีพีโอเอ ก็ต้องดูกันต่อไปว่า เมื่อถึงวันที่ 12 พฤษภาคม นี้ทางด้านผู้นำสหรัฐฯ จะมีเดินหน้าดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจังหรือไม่

    _3-1_resize.jpg

    สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน ก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่น่าติดตาม ซึ่งนายโดนัลด์ ทรัมป์ พยายามที่จะยกเลิกข้อตกลงนิวเคลียร์ ที่ทางด้านบารัก โอบามา ได้ทำไว้ในช่วงท้ายของการเป็นประธานาธิบดี ภายใต้ข้อตกลง แผนปฏิบัติการร่วมแบบครอบคลุม (Joint omprehensive Plan of Action) หรือ เจซีพีโอเอ ที่ทางด้านอิหร่าน ได้ทำเอาไว้กับ 6 ชาติมหาอำนาจ


    23231334_1995653673983978_5832933312722169892_n.jpg

    ซึ่งล่าสุดทางด้านนายโดนัลด์ ทรัมป์ กำหนดขีดเส้นตายวันที่ 12 พฤษภาคม นี้ที่จะแก้ไขข้อตกลงปี พ.ศ. นิวเคลียร์ของอิหร่าน แลกกับการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก อันเป็นผลพวงจากความพยายามอย่างหนักทางการทูตของสหรัฐฯ ยุโรป รัสเซีย และจีน

    57dc0ec7541942c996150a030c44033e_18.jpg

    นายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เผยภายหลังการหารือกับนายหวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันจันทร์ ที่ 23 เมษายน 2561 ว่า มีความพยายามแทรกแซงระเบียบระหว่างประเทศที่สหประชาชาติสนับสนุน รัสเซียและจีนจะหยุดยั้งความพยายามบ่อนทำลายข้อตกลงเหล่านี้ ซึ่งผ่านเป็นมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) โดยจะมีทางด้าน องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ กลุ่มความมั่นคงในภูมิภาค ที่มีรัสเซีย และ จีนนั้นเป็นแกนนำหลัก

    559000010543901(4).jpg

    โดยทางด้าน นายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ยืนยันว่าข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านเป็นหนึ่งในความสำเร็จทางการทูตครั้งใหญ่สุด ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ ดังนั้นการแก้ไขเอกสารฉบับนี้จึงเป็นสิ่งที่ ไม่อาจยอมรับได้

    59fafb3afc7e93c15c8b456d(1).jpg

    ซึ่งก็น่าจะสอดคล้องกับทางด้าน ประธานาธิบดีฮัสซัน โรว์ฮานี ผู้นำอิหร่าน ได้พูดถึงเรื่องข้อตกลงนิวเคลียร์อีกครั้ง เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2561 โดยเขาได้กล่าวว่า สหรัฐอเมริกาจะเสียใจ หากถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ และอิหร่านจะตอบโต้หนักกว่าที่คิด ภายในไม่เกิน 1 สัปดาห์ หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว

    ประธานาธิบดีฮัสซัน โรว์ฮานี ผู้นำอิหร่าน ได้ไปร่วมงานวันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ กลางกรุงเตหะราน โดยเขาได้ให้ข้อมูลว่า อิหร่านจะไม่เป็นฝ่ายละเมิดข้อตกลงก่อน และสหรัฐฯ จะต้องเสียใจหากเป็นฝ่ายละเมิด เราเตรียมพร้อมไว้แล้ว เตรียมไว้ดีกว่าที่พวกเขาคิด และพวกเขาจะได้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้น หากเขาละเมิดข้อตกลง ภายในไม่เกิน 1 สัปดาห์

    59f5cccdfc7e93ba018b4569.jpg

    ซึ่งเหตุการณ์ การตอบโต้ครั้งนี้ของผู้นำอิหร่านนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากทางด้านประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ได้ออกมาขู่จะถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ ระหว่างอิหร่านกับ 6 ชาติมหาอำนาจโลก ที่เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า แผนปฏิบัติการร่วมแบบครอบคลุม (Joint omprehensive Plan of Action) หรือ เจซีพีโอเอ และกำหนดมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านใหม่ ภายในวันที่ 12 พฤษภาคม นี้ เว้นแต่จะมีการกำหนดข้อจำกัดเข้มงวดใหม่ ต่อโครงการนิวเคลียร์และขีปนาวุธของอิหร่าน

    K1TMyPcovrQ.jpg

    ประธานาธิบดีฮัสซัน โรว์ฮานี ผู้นำอิหร่าน ยังกล่าวต่อว่า ตลอดระยะเวลา 15 เดือนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ อย่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ นั้นมีคำพูดและพฤติกรรมที่เอาแน่ไม่ได้ พยายามจะทำลาย แผนปฏิบัติการร่วมแบบครอบคลุม (Joint omprehensive Plan of Action) หรือ เจซีพีโอเอ แต่รากฐานของข้อตกลงแข็งแกร่งมาก จึงไม่สำเร็จ หุ้นส่วนอื่นๆ ของข้อตกลง ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ล้วนเห็นตรงกันว่าอิหร่านยึดมั่นต่อเงื่อนไขตามข้อตกลง เช่นเดียวกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ที่ได้รับมอบหมายให้ติดตามตรวจสอบ การปฏิบัติตามข้อตกลงของอิหร่าน

    Clip_16(3).jpg

    เมื่อรัสเซีย และ จีนออกหน้า ลุกขึ้นมาปกป้องข้อตกลง แผนปฏิบัติการร่วมแบบครอบคลุม (Joint omprehensive Plan of Action) หรือ เจซีพีโอเอ ก็ต้องดูกันต่อไปว่า เมื่อถึงวันที่ 12 พฤษภาคม นี้ทางด้านผู้นำสหรัฐฯ จะมีเดินหน้าดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจังหรือไม่ หรือเป็นเพียงคำขู่ เพื่อที่จะจัดการกับอิหร่านอีกครั้ง แต่งานนี้อาจจะไม่ง่ายเหมือนแต่ก่อนนัก เพราะช่วงเวลาที่ผ่านมาอิหร่านแข็งแกร่งขึ้นอีกหลายเท่าตัว มีพันธมิตรอย่างรัสเซีย ที่คอยให้การสนับสนุนทางด้านการทหารมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนพื้นฐานประเทศนั้น ก็มีจีน เป็นผู้ลงทุนรายสำคัญ ดังนั้น แน่นอนว่าเวลานี้ ถ้าสหรัฐฯ ขยับสิ่งใดที่กระทบต่ออิหร่าน ก็นั่นหมายความว่าจะกระทบต่อรัสเซีย และ จีนด้วยนั่นเอง

    Clip_17(4).jpg

    เรียบเรียงโดย
    สถาพร เกื้อสกุล

    http://www.tnews.co.th/contents/la/444224
     

แชร์หน้านี้

Loading...