ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ข่าวด่วน แถลงการณ์เกี่ยวกับสถานะการระบาดของโรคโควิด -19 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2564: ตรวจพบ 60 ตัวอย่าง ได้แก่
    FB_IMG_1620115236232.jpg
    นครหลวง 8 คน
    จำปาสัก 30 คน
    สะหวันนะเขต 1 คน
    บ่อแก้ว 20 คน
    เวียงจันทน์ 1 คน

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ที่เมืองเขมรพบผู้ติดเชื้อ 938 คน รวมมีผู้ติดเชื้อแล้ว 16,299 คน รวมยอดตายไปแล้ว 107 คน

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    วันนี้..ชีวิตของคนปอยเปตเลือกกินไม่ได้ ขอเพียงประทังชีวิตเพื่อความอยู่รอดในช่วง Lock down

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    2/5/2564
    Webinar สรุปของอาจารย์ Nittha Oer-areemitr และ pdf ของอาจารย์ สัณฐิติ NIV และอาจารย์อดิศร Post intubation โดยสมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย สนับสนุนโดย Drager มี moderator อ.ครรชิต

    Assessment อ.นิษฐา
    1. ผู้ป่วยรอบนี้มีปอดอักเสบ 40% ใช้ออกซิเจน 15% ใส่ท่อ 1%
    2. initial lab : CBC, CXR, Cr, BS, CRP, SpO2 baseline และ optional UPT สำหรับให้ยา และ LFT
    3. อาการที่บอกว่าแย่หรือลงปอด เช่น severe cough, chest tightness, poor appetite, severe fatigue, fever>3 day, ถ้ามีไอเป็นเลือดปนนิดๆนี่ลงปอดแน่
    4. แบ่งคนไข้ 3 กลุ่ม ไม่มีอาการหรือมีน้อย, มี risk, hypoxemia
    5. Risk เช่น อายุ?(อายุน้อยก็ severe ได้), DM, Immuno, Chronic heart&lung, BMI>30, male, inactivity, smoking, alcohol
    6. อาการมักมีวันที่ 5-10 เช่น ไอ แน่น เพลีย คลื่นไส้ ปวดหัว เบื่ออาหาร ง่วง จากสารอักเสบในร่างกาย
    7. CXR ทำถ้ามีอาการหรือทำวันที่ 5-8 ถ้าไม่มีอาการ
    8. CXR จะพบ 3 ลักษณะ infiltrate(GGO, peripheral, lower lung), low lung volume และ true normal (ถ้าอาการมาก ทำ CT จะไวกว่า)
    9. ทำทุกวัน คือ sit to stand(1min) หรือ 6MWT หรือ จักรยานอากาศ 3 นาที (ทำง่ายบนเตียง) ถ้ามีออกซิเจนต่ำก็ควรรีบให้ยา
    10. เริ่มให้ O2 cannula 1-5 LPM + Awake prone keep sat>92% ถ้าใช้ HFNC จะลด WOB, dyspnea และปรับ Fio2 ได้แน่นอน ต้องปิดปากหายใจ ส่วน mask with bag ใช้เมื่อของอื่นหมดรพ.
    11. Awake prone ทำนานๆ อย่าพลิกตัวไปมาเร็วจะเหนื่อย
    12. ROX index < 4.88 หรือจำง่ายๆ 5 (เอา SpO2 หาร Fio2 และมาหาร RR อีกที) ควรจะใส่ท่อช่วยหายใจ
    13. เรื่องไอก็สำคัญ ยาคือ : Dextromethorphan, Codeine, น้ำผึ้งมะนาว, low dose MO syr. (1-2ml q 4 hr)

    อ.สัณฐิติ NIV


    อ.อดิศร Post intubation


    สำหรับแพทย์ฟังไม่ทัน น่าจะมีวิดีโอย้อนหลังมาให้

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    บีฟงานกัน ก่อนเข้าไปลุยงานจริง
    ในห้อง negative pressure

    งานมันยากกว่า ICU ทั่วไป ตรงที่ คนเข้าไปมีจำกัด การสื่อสารทำได้ลำบาก จะเข้าๆออกๆไม่ได้ การช่วยเหลือจากภายนอกยากกว่าปกติ ทุกอย่างต้องเตรียมให้พร้อมที่สุด

    **ชดใช้กรรม เวลาไปแข่งงานไตรกีฬา ไม่ค่อยรอฟังบีฟ ตอนนี้เลยต้องมาบีฟงาน
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    6 เม.ย. 2563 ผมเสนอแผนเตรียมตั้งไอซียูสนามโควิดในกทม.ต่อที่ประชุมซึ่งมี อ.ปิยะสกลเป็นประธาน คงเป็นเพราะออกตัวก่อนว่าภาพประกอบได้จากลูกสาวคนโตที่กำลังจะเข้าเรียนถาปัดร่างแบบให้ จึงได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมและเสนอแผนงานให้รัฐบาลพิจารณา แต่ให้ใช้เป็นแผนสำรองต่อจากการขยายไอซียูโควิดในโรงพยาบาลหลักก่อน เพราะมีความยุ่งยากซับซ้อนเชิงวิศวกรรมและความปลอดภัย เช่น ระบบสำรองก๊าซทางการแพทย์ ระบบหมุนเวียนและถ่ายเทอากาศ ระบบกำจัดของเสียและของติดเชื้อ ฯลฯ นอกจากนั้นแล้วปัญหาใหญ่คือจะเอาใครมาทำงาน เพราะต้องการแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญสูงในการรับมือกับผู้ป่วยโควิดวิกฤต ผมในนามสมาคมอุรเวชช์ ฯ ได้เตรียมในด้านบุคลากรนี้ไว้ระดับหนึ่งร่วมกับแพทยสภาและสภาการพยาบาล โชคดีว่าโควิดระลอกหนึ่งสงบเสียก่อน แผนนี้จึงไม่ถูกงัดมาใช้
    ช่วง 2-3 สัปดาห์นี้ผมถูกถามในหลายวงและจากหลายคนว่า จะรื้อฟื้นแผนงานนี้ขึ้นมาใหม่ไหม ผมตอบดัง ๆและชัดเจนในทุกเวทีว่า "ไม่" และ "ไม่มีทาง" สถานการณ์โควิดตอนนี้บานปลายไปมาก บุคลากรมีภาระตึงมือกันไปทั่ว ทางรอดเดียวของเราคือใช้ศักยภาพไอซียูโควิด (ระดับ 3 ) ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้คุ้ม คู่ไปกับการขยายศักยภาพ COVID ward (ระดับ 2) ให้รองรับผู้ป่วยปอดอักเสบโควิดที่เริ่มรุนแรง (step up) หรือเริ่มรุนแรงลดลง (step down) เพื่อให้การใช้เตียงไอซียูโควิดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาวุธสำคัญหนึ่งคือเครื่องไฮโฟลว์ที่ผมรณรงค์เสนอให้ทุกฝ่ายเร่งจัดหา
    ผมไม่สบายใจที่ยังมีผู้ไม่เข้าใจและพยายามผลักดันเรื่องนี้กันอยู่อีก นอกจากไม่ยืนอยู่บนความเป็นจริงเหมือนบุคลากรด่านหน้าอย่างพวกเราที่รับทราบกันอยู่เต็มอก แต่มันยังสร้างแรงกดดันและความหนักใจต่อบุคลากรใต้บังคับบัญชาของฝ่ายบริหาร/นโยบายที่ดึงดันเรื่องนี้
    มีคนบอกผมว่าการที่ผมออกไปตระเวนเยี่ยมศิษย์ทั่วไทยช่วงโควิดตั้งแต่ระลอกแรกนั้น นอกจากให้ความรู้และให้กำลังใจแล้ว ยังช่วยเป็นแรงใจให้คนหน้างานเขาส่งเสียงสะท้อนสู่ข้างบนได้อย่างกล้าหาญขึ้น ผมบอกว่าผมเป็นแค่คนนอกที่ปรารถนาดีต่อทุกฝ่าย แม้สิ่งที่ผมทำอาจไม่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก แต่ผมจะไม่ยอมหยุดพูดความจริงในทุกๆ ที่ เพื่อให้พวกเขาได้ทำหน้าที่ทางการแพทย์โดยไม่ต้องมีความกังวลใดๆ อยู่เบื้องหลัง
    #เซฟบุคลากรทางการแพทย์
    FB_IMG_1620115753077.jpg
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สำหรับผู้ที่คิดจะรอวัคซีนป้องกันโควิด 19 ของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer-BioNTech, BNT162b2) แทนที่จะฉีดของบริษัทแอสตาเซเนกา (Oxford-AstraZeneca, ChAdOx1 nCoV-19) ที่จะเริ่มให้ฉีดกันตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป เพราะดูเหมือนวัคซีนของ Pfizer จะมีประสิทธิภาพที่รายงานในการวิจัย phase III มากกว่าของ AstraZeneca แต่อย่าลืมว่าการศึกษา phase III ของวัคซีนทั้งสองตัวทำในประชากรคนละประเทศ รวมทั้งคำจำกัดความของประสิทธิภาพก็แตกต่างกัน ถ้าจะเปรียบเทียบกันคงต้องดูในประชากรกลุ่มเดียวกัน

    รายงานล่าสุดทำการเปรียบเทียบผลข้างเคียงและประสิทธิภาพของวัคซีนทั้งสองชนิดแบบ Real world เพิ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Lancet เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564 เรื่อง "Vaccine side-effects and SARS-CoV-2 infection after vaccination in users of the COVID Symptom Study app in the UK: a prospective observational study"

    ผมจะลองสรุปคร่าว ๆ ตามนี้ครับ

    งานวิจัยนี้ทำการศึกษาในสหราชอาณาจักร ระหว่าง 8 ธ.ค.63 ถึง 10 มี.ค. 64 มีผู้ได้รับวัคซีน 627,383 คน ได้รับวัคซีน 655,590 เข็ม เป็นผู้ได้รับวัคซีน Pfizer เข็มเดียว 282,103 คน และได้รับวัคซีน Pfizer สองเข็ม 28,207 คน และได้รับวัคซีน AstraZeneca เข็มเดียว 345,280 คน (ช่วงนั้น UK ฉีดวัคซีน AstraZeneca ได้เข็มเดียว เพราะต้องเว้นระยะห่างระหว่างเข็ม 12 สัปดาห์ เพื่อให้ประชากรได้ฉีดกันเร็วที่สุด และเพิ่มประสิทธิภาพการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วย)

    ผลข้างเคียงทางระบบร่างกาย (systemic side-effect) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน Pfizer เข็มเดียว พบได้ 13.5% (กราฟ A), ในกลุ่มที่ได้ Pfizer สองเข็มพบได้ 22.0% (กราฟ B ) และ ในกลุ่มที่ได้รับ AstraZeneca พบได้ 33.7% (กราฟ C) ดูเหมือนวัคซีนของ Pfizer จะพบผลข้างเคียงทางระบบร่างกายน้อยกว่า AstraZeneca

    ผลข้างเคียงเฉพาะที่ (local side-effect) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน Pfizer เข็มเดียวพบได้ 71.9% (กราฟ D), ในกลุ่ม Pfizer สองเข็มพบได้ 68.5% (กราฟ E) และในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca พบได้ 58.7% (กราฟ F) อันนี้ดูเหมือนว่าวัคซีนของ AstaZeneca จะพบผลข้างเคียงเฉพาะที่น้อยกว่าของ Pfizer

    ผลข้างเคียงทั้งสองอย่างของวัคซีนทั้งสองชนิด พบบ่อยในผู้หญิง อายุน้อย และผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน โดยผลข้างเคียงดังกล่าวไม่รุนแรง หายเองในเวลา 1-2 วัน และพบรายงานผลข้างเคียงในการศึกษานี้ น้อยกว่าที่มีรายงานในการศึกษา phase 3 ของวัคซีนทั้งสองชนิด

    อัตราการติดเชื้อหลังจากได้รับวัคซีน Pfizer เข็มเดียวลดลง 58% หลังจาก 12 ถึง 20 วัน ลดลง 69% หลังจาก 21 ถึง 44 วัน และลดลง 72% หลังจาก 45 ถึง 59 วันเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน (รูปที่ 2 กราฟบน)

    สำหรับผู้ได้รับวัคซีน AstraZeneca 1 เข็ม มีอัตราการติดเชื้อลดลง 39% หลังจาก 12 ถึง 20 วันและลดลง 60% หลังจาก 21 ถึง 44 วันเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน (รูปที่ 2 กราฟล่าง)

    จะเห็นว่าการศึกษานี้ผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca ได้รับวัคซีนเพียงเข็มเดียว จึงยังไม่ข้อมูลของประสิทธิภาพในการลดอัตราการติดเชื้อหลังฉีดเข็มที่ 2 ซึ่งน่าจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากขึ้น เหมือนอย่างที่วัคซีน Pfizer แสดง (อัตราการติดเชื้อที่ 45-59 วัน)

    ข้อมูลนี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจที่จะฉีดวัคซีนที่เราจะมีให้ใช้ก่อนคือ AstraZeneca หรือจะรอวัคซีน Pfizer ที่ไม่รู้จะมาเมื่อไหร่นะครับ

    โพสต์นี้วิชาการล้วน ๆ ขออย่าดราม่านะครับ

    โดย พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์
    ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

    อ่าน full paper ได้ตาม link นี้ครับ https://www.thelancet.com/action/showPdf?pii=S1473-3099(21)00224-3

    FB_IMG_1620115917046.jpg

    ผลข้างเคียงทางระบบร่างกาย (systemic side-effect) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน Pfizer เข็มเดียว พบได้ 13.5% (กราฟ A), ในกลุ่มที่ได้ Pfizer สองเข็มพบได้ 22.0% (กราฟ B ) และ ในกลุ่มที่ได้รับ AstraZeneca พบได้ 33.7% (กราฟ C) ดูเหมือนวัคซีนของ Pfizer จะพบผลข้างเคียงทางระบบร่างกายน้อยกว่า AstraZeneca
    ผลข้างเคียงเฉพาะที่ (local side-effect) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน Pfizer เข็มเดียวพบได้ 71.9% (กราฟ D), ในกลุ่ม Pfizer สองเข็มพบได้ 68.5% (กราฟ E) และในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca พบได้ 58.7% (กราฟ F) อันนี้ดูเหมือนว่าวัคซีนของ AstaZeneca จะพบผลข้างเคียงเฉพาะที่น้อยกว่าของ Pfizer
    ผลข้างเคียงทั้งสองอย่างของวัคซีนทั้งสองชนิด พบบ่อยในผู้หญิง อายุน้อย และผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน โดยผลข้างเคียงดังกล่าวไม่รุนแรง หายเองในเวลา 1-2 วัน และพบรายงานผลข้างเคียงในการศึกษานี้ น้อยกว่าที่มีรายงานในการศึกษา phase 3 ของวัคซีนทั้งสองชนิด

    FB_IMG_1620115919460.jpg

    อัตราการติดเชื้อหลังจากได้รับวัคซีน Pfizer เข็มเดียวลดลง 58% หลังจาก 12 ถึง 20 วัน ลดลง 69% หลังจาก 21 ถึง 44 วัน และลดลง 72% หลังจาก 45 ถึง 59 วันเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน (รูปที่ 2 กราฟบน)
    สำหรับผู้ได้รับวัคซีน AstraZeneca 1 เข็ม มีอัตราการติดเชื้อลดลง 39% หลังจาก 12 ถึง 20 วันและลดลง 60% หลังจาก 21 ถึง 44 วันเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน (รูปที่ 2 กราฟล่าง)
    จะเห็นว่าการศึกษานี้ผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca ได้รับวัคซีนเพียงเข็มเดียว จึงยังไม่ข้อมูลของประสิทธิภาพในการลดอัตราการติดเชื้อหลังฉีดเข็มที่ 2 ซึ่งน่าจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากขึ้น เหมือนอย่างที่วัคซีน Pfizer แสดง (อัตราการติดเชื้อที่ 45-59 วัน)

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เปิดดูข้อมูลแนวโน้มเรื่องภาระงานในโรงพยาบาลที่ผ่านมา จากรายงานของศูนย์ข้อมูล COVID-19 ที่นำเสนอโดย ศบค. เลยลองเอามา plot graph ข้อมูลให้เห็นภาพง่าย ๆ มีข้อมูลย้อนหลังเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยหนักและใช้เครื่องช่วยหายใจตั้งแต่วันที่ 24 เมษายนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 10 วัน

    จำนวนผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถึงจะไม่ขึ้นเร็วเหมือนจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด เพราะนอกจากจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเข้ามานอนแล้ว ก็มีผู้ป่วยที่หายจำหน่ายกลับบ้านด้วย จะเห็นว่าจำนวนผู้ที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลจริง ๆ (สีเหลือง) มี % เพิ่มขึ้นไม่ได้มากนัก อยู่ที่ประมาณ 18,000-21,000 คน แต่ที่เพิ่่มขึ้นเรื่อย ๆ คือที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม (สีเขียว) เพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก 4,000 กว่าคนเป็น 8,000 กว่าคน ใน 10 วัน

    แต่ที่น่าเป็นห่วงคือจำนวนผู้ป่วยอาการหนัก (สีแดง) มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก 400 กว่าคน เป็น 1,000 กว่าคนในช่วง 10 วัน และที่สำคัญมีผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (สีแดงเข้ม) เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า จาก 100 กว่าคน เป็น 300 กว่าคน ทำให้การเสียชีวิต (สีดำ) อยู่ที่ใกล้ ๆ 30 คนต่อวัน

    แสดงว่าเตียงรับผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลน่าจะอิ่มตัว ไม่สามารถเพิ่มได้อีกเท่าไหร่ แต่มีภาระในการดูผู้ป่วยหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะผู้ป่วยที่อาการน้อยหรือปานกลางมีโอกาสที่จะมีอาการหนัก และผู้ที่มีอาการหนักบางรายก็จะมีอาการรุนแรงขึ้นจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งต้องปรับใช้หอผู้ป่วยอาการน้อยหรือปานกลางมาดูแลผู้ป่วยอาการหนัก และต้องมาใส่เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยอาการหนักแทนที่จะดูแลใน ICU เฉพาะ อันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะได้เห็นการเสียชีวิตรายวันแบบนี้ หรือมากกว่านี้ไปอีกระยะหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    บุคลากรทางการแพทย์ในทุกโรงพยาบาลทำงานกันอย่างเต็มที่ ด้วยความร่วมมือร่วมใจ แบ่งเบาภาระงาน สามัคคีกัน ระบบการบริหารจัดการต่าง ๆ ต้องมีการปรับปรุงแก้ปัญหากันตลอดในทุกระดับ ตั้งแต่ในทุกโรงพยาบาล ทุกอำเภอ ทุกจังหวัด ทุกเขตสุขภาพ และในระดับประเทศ โดยเฉพาะใน กทม.ที่เป็นพื้นที่ระบาดหนักในปัจจุบัน มีจำนวนผู้ป่วยเกินครึ่งอยู่ใน กทม. ขณะเดียวกัน กทม.ก็เป็นพื้นที่ที่มีการบริหารจัดการยากที่สุด เพราะมีหน่วยงานเกี่ยวข้องมากมาย แค่สถานพยาบาลก็มีทั้งของ กทม. สาธารณสุข รร.แพทย์ รพ.ทหาร และ รพ.เอกชน ทำให้ประสานงานกันได้อย่างยากลำบาก รวมทั้งการสั่งการต่าง ๆ ก็เป็นไปได้ยาก เหมือนการรบในสงครามที่มีหน่วยทหารเก่ง ๆ เยอะ แต่ขาด Line of Command ที่ชัดเจน แต่ตอนนี้การพูดคุยกันมากขึ้นระหว่างทุกหน่วยงาน น่าจะทำให้การประสานงานต่าง ๆ ดีขึ้น

    อยากให้ทุกคน lock down ตัวเอง อยู่บ้านถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ อย่าออกไปไหนกันดีกว่า ล้างมือบ่อย ๆ สวมมาสก์ เว้นระยะห่าง แยกกันรับประทานอาหาร แม้แต่อยู่ในบ้าน เพราะการระบาดในระลอกนี้เกิดจากการติดต่อในครอบครัวมากกว่าครึ่ง สถานประกอบการต่าง ๆ คงได้รับผลกระทบอย่างมากจากมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมา แต่ก็ขอให้ร่วมมือกันเพื่อลดการระบาดให้ได้โดยเร็ว แล้วก็อย่าลืมลงทะเบียนหมอพร้อมเพื่อฉีดวัคซีนกันถ้วนหน้า ช่วยลดอาการหนักและการเสียชีวิต ทำให้ลดการสูญเสียกันนะครับ

    ขอเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ คน พวกเราต้องร่วมมือร่วมใจกัน ช่วยเหลือให้กำลังใจและสามัคคีกัน เพื่อเอาชนะสงครามโรคครั้งนี้ให้ได้ โดยการสูญเสียให้น้อยที่สุดครับ


    FB_IMG_1620116156077.jpg

    จำนวนผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถึงจะไม่ขึ้นเร็วเหมือนจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด เพราะนอกจากจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเข้ามานอนแล้ว ก็มีผู้ป่วยที่หายจำหน่ายกลับบ้านด้วย จะเห็นว่าจำนวนผู้ที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลจริง ๆ (สีเหลือง) มี % เพิ่มขึ้นไม่ได้มากนัก อยู่ที่ประมาณ 18,000-21,000 คน แต่ที่เพิ่่มขึ้นเรื่อย ๆ คือที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม (สีเขียว) เพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก 4,000 กว่าคนเป็น 8,000 กว่าคน ใน 10 วัน

    FB_IMG_1620116158157.jpg


    แต่ที่น่าเป็นห่วงคือจำนวนผู้ป่วยอาการหนัก (สีแดง) มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก 400 กว่าคน เป็น 1,000 กว่าคนในช่วง 10 วัน และที่สำคัญมีผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (สีแดงเข้ม) เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า จาก 100 กว่าคน เป็น 300 กว่าคน ทำให้การเสียชีวิต (สีดำ) อยู่ที่ใกล้ ๆ 30 คนต่อวัน

    พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์
    ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    *** ไทยต้องระวังการแพร่เชื้อกันตอนตรวจเชื้อ หรือฉีดวัคซีนถ้าทำในห้องปิดติดแอร์ หรือไปกินข้าวกันหลังฉีดวัคซีน ... แพทย์แคนาดาเตือนหลังฉีดก็ติดเชื้ิอได้ แม้ฉีดวัคซีนตัวดีๆไป 2 เข็มก็ตาม

    แพทย์แคนาดาเตือนมาเพราะมีตัวอย่างการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ขนาดใหญ่แล้ว มีการติดเชื้อทั้งในผู้สูงายุ และเจ้าหน้าหลายคนที่ในสถานดูแลผู้สูงอายุในแคนาดา

    ทั้งนี้แพทย์แคนาดาให้เหตุผลว่า การตอบสนองต่อวัคซีนจะไม่เท่ากันในทุกคน และอาจไม่ดีพอในคนที่ไม่แข็งแรงพอที่จะสร้างภูมิคุ้มกันได้มากพอป้องกันการติดเชื้อหรือป้องกันมิให้มีอาการ

    #อย่าลืมว่าในวิจัยวัคซีนส่วนใหญ่เน้นการฉีดในผู้ที่แข็งแรงเป็นหลักภูมิอาจขึ้นดีกว่า ในการฉีดประชากรจริงๆ

    ..............

    ในคลัสเตอร์ รพ. รัษฎานั้น น่าจะเป็นการติดเชื้อช่วงที่ฉีด หรือหลังฉีดวันแรกๆ เลย

    ทำให้ภูมิยังไม่ขึ้น

    ............

    ประเด็นนี้ ศบค ต้องเตือนทั้งหน่วยงานรัฐ และประชาชน ให้

    1. อย่าประมาทในวันที่ไปตรวจเชื้อ ไป รพ. ไปฉีดวัคซีนกัน

    2. จัดสถานที่ฉีด ที่ตรวจเชื้อให้เป็นที่โล่ง อากาศถ่ายเท

    3. อย่าฉีดพร้อมๆ กัน ใกล้ๆ กัน

    4. ฉีดเสร็จ งดการไปกินข้าวร่วมกันทั้งใน รพ. นอก รพ. โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์

    5. หลังฉีดวัคซีนทุกคนก็ยังต้องใส่มาส์ก เว้นระยห่าง ลดการไปสถานที่เสี่ยง คงมาตรการอื่นต่อเหมือนเดิม

    6. หลังฉีดมีอาการใดๆ รีบโทรรายงาน จนท

    ..........

    ผู้เขี่ยวชาญเกาหลีเองก็ออกมาชี้ว่า ฉีดวัคซีนรอบนี้เอง ก็ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เพราะฉีดก็ยังแพร่เชื้อกันต่อได้ อาจป้องกันได้แค่ระยะสั้น ต้องฉีดไปเรื่อยๆ และจะมีตัวกลายพันธุ์ดื้อวัคซีนเข้ามาได้อีก

    ............

    อ้างอิงจาก

    ..............

    1. Breakthrough' COVID-19 cases: The possibility of infection after vaccination

    Published Wednesday, March 24, 2021

    https://www.ctvnews.ca/mobile/healt...lity-of-infection-after-vaccination-1.5360944

    ......

    2. เกาหลีใต้' ชี้ 'ภูมิคุ้มกันหมู่' อาจไม่มีวันเกิดขึ้น

    3 พฤษภาคม 2564 841

    https://www.bangkokbiznews.com/news..._medium=internal_referral&utm_campaign=corona

    เกาหลีใต้ เผย การเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 หวังสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ประเทศ อาจไม่เกิดขึ้น เหตุวัคซีนช่วยป้องกันโรค แต่ไม่หยุดการแพร่ระบาดไวรัส

    "วัคซีน .... ได้รับการทดสอบแล้วว่า มีประสิทธิภาพ 95% ในการป้องกันโควิด -19 แต่ไม่ได้หมายความว่า จะหยุดการแพร่กระจายของไวรัส" ประธานโอ ระบุและกล่าวเสริมว่า

    ผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ยังคงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ แม้มีภูมิคุ้มกันโรคแล้วก็ตาม

    ขณะเดียวกัน ยังไม่มีความชัดเจนว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ทำกันอยู่ตอนนี้ จะสามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้นานเท่าไร แบบที่ไม่ต้องพูดถึงไวรัสชนิดกลายพันธุ์

    .

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    *** ไม่รู้จะต้องอ่านข่าวตายครึ่งครอบครัวคาบ้านแบบนี้อีกกี่ครอบครัว ?!? ... รัฐต้องฟังประชาชนบ้าง คนไทยจะตายน้อยลง เพราะ #มัจจุราชเงียบSilentHypoxiaSilentPneumonia

    แพทย์ระดับบริหารด้านบนในกระทรวงรู้เรื่องนี้ดีทุกคน แต่ทำไมไม่ทำอะไรให้ดีกว่านี้ ... เพราะอะไร ?!?

    #เป็นความตายที่หลีกเลี่ยงได้

    แพทย์อินเดียเขียนชัดเจนในบทความในลิงค์ที่ 1 !!

    Silent hypoxemia is causing avoidable Covid deaths : Doctors

    เน้นคำว่า #AvoidableCovidDeath

    WHO CDC สหรัฐ สถาบันสุขภาพแห่งชาติอังกฤษ (NHS) มีแนวทางการเฝ้าระวังตัวเองที่บ้านของประชาชนแบบทางการ เป็นไฟล์ PDF เลย จะ Crop บางส่วนมาลงให้ใน Comments

    โดยมี Pulse Oximeter + การติดต่อเจ้าหน้าที่เป็นระยะๆ เพื่อ #ป้องกันภาวะ #ปอดพังไร้อาการ #เสียชีวิตคาที่พักแบบไม่รู้ตัว

    ซึ่งเป็นจุดเด่นในการทำให้ "ผู้ที่อายุน้อย แข็งแรง ติดเชื้อไม่รู้ตัว เพราะไร้อาการหรืออาการน้อย" เสียชีวิตกะทันหันโดยไม่มีโอกาสแม้กระทั่งได้ไป รพ. หรือได้ตรวจ PCR เลย

    #หยุดการเสียชีวิตของคนอายุน้อยโดยให้รัฐรู้ตัวรีบให้ความรู้ประชาชนและใช้Oximeterมากขึ้น

    ............

    ในกรณี Silent Hypoxia หรือ Pneumonia ถ้ารีบตรวจเจอไว ไป รพ. ทัน ปอดพังไม่มากก็รักษาได้ แบบผู้ว่าท่านนึง

    ถ้าไม่รู้ตัว แม้มีอาการน้อยมาก ไปทำงานก็แพร่เชื้อ #แม้กักตัวอยู่บ้านก็ดูอาการไม่ออก เพราะชื่อเรียกอีกชื่อของภาวะนี้คือ Happy Hypoxia Happy Pneumonia ที่อาจารย์หมอ 1 ท่านออกมาเตือน

    มันโจมตีปอดไปพอควร ปอดเริ่มอักเสบ ค่า Oxygen ต่ำลงเรื่อยๆ แต่อาการแทบไม่ออก คนไข้ยังเฉยๆ พูดคุยพอได้ #รู้ตัวอีกทีอาการเริ่มสาหัสกะทันหัน #ไปรพไม่ทัน หรือ #เสียชีวิตตอนนอนไปเลย

    #อาจารย์หมอเตือนแต่หน่วยงานรัฐศบครัฐบาลไม่ค่อยสนใจ

    การไม่สนใจของรัฐเมื่อ 10 วันที่ผ่านมา ทำให้คนอายุน้อย ไม่มีโรคประจำตัว เสียชีวิตวันละ 3-4 คน โดยไม่จำเป็นเลย

    ระวัง #อีโก้จะคร่าชีวิตคนให่ฝ้เสียชีวิตโดยไม่จำเป็น

    เตือนนายกทุกวันว่า #ปรับระบบเล็กน้อยก็ช่วยเซฟชีวิตคนที่ไม่สมควรตายได้วันละ3ถึง4คน

    ปัญหาคือ นายกได้รู้เรื่องแบบนี้หรือไม่ ?

    หรือมีแต่คนปิดบังความจริง ข้อมูลจริง สร้างภาพลักษณ์ที่ดีกว่าสถานการ๊์จริงป้อนขึ้นไป ไม่ให้นายกรู้ความจริงตลอดเวลา

    #แน่นอนนายกไม่รู้เรื่องประชานคงไม่รู้ข้อมูลจริงเช่นเดียวกัน

    .........

    อ่างอิงจาก

    ........

    1. Silent hypoxemia is causing avoidable Covid deaths: Doctors

    https://m.timesofindia.com/city/goa...le-covid-deaths-docs/articleshow/78482767.cms

    That’s why it’s called silent or happy hypoxemia, because patients tend to feel completely fine and healthy initially although their oxygen saturation levels are falling dangerously low

    ..........

    2. พ่อ-ลูกคนโต' ดับคาบ้าน รอตรวจโควิด แม่อาการหนัก ลูกคนเล็กติดเชื้อคลัสเตอร์ทองหล่อ

    https://www.bangkokbiznews.com/news..._medium=internal_referral&utm_campaign=corona

    พื้นที่สีแดงเข้ม สมุทรปราการ "พ่อ-ลูกคนโต" ดับคาบ้าน รอตรวจโควิด แม่อาการหนัก หลัง "ลูกคนเล็ก" ติดเชื้อคลัสเตอร์ทองหล่อ

    ต่อมาเมื่อวันอังคารที่ 27 เมษายน ที่ผ่านบิดาวัย 60 ซึ่งเป็นผู้ป่วยติดเตียงได้เสียชีวิต ทำให้เหลือผู้กักตัวในบ้านหลังดังกล่าวเพียง 2 คน คือผู้เสียชีวิตและแม่วัย 72 ปี นอนป่วยอยู่ที่เตียงข้าง ๆ เจ้าหน้าที่ได้ทำการแยกตัวผู้เป็นแม่ออกห่างจากตัวผู้เสียชีวิต ก่อนที่จะนำร่างของผู้เสียชีวิตบรรจุลงซองซิปพลาสติกที่สวมทับ สองชั้นป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อก่อนที่มูลนิธิจะทำการเคลื่อนย้ายร่างของผู้เสียชีวิตออกจากบ้านหลังดังกล่าวเพื่อส่งชันสูตร

    .

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    FB_IMG_1620116711875.jpg
    ยาฟาวิพิราเวียร์ได้รับการจดทะเบียนยาและอนุมัติให้ใช้ในผู้ป่วยโควิด-19 เป็นกรณีพิเศษสำหรับศึกระลอกแรก เนื่องจากมียาจำกัดจึงให้ใช้เฉพาะในรายปอดอักเสบรุนแรง การเก็บข้อมูลย้อนหลังโดยคณะทำงานพบว่ายานี้น่าจะช่วยลดความรุนแรงและการสูญเสียจากโรค และใช้ได้ปลอดภัย แต่เนื่องจากยานี้ไม่มีใช้ในประเทศทางตะวันตกจึงไม่มีข้อมูลเชิงวิชาการที่หนักแน่นรองรับ แต่คณะกรรมการจัดเตรียมยาของประเทศก็ได้จัดเตรียมไว้ให้เพียงพอในระลอกสอง ซึ่งไม่เกิดปัญหาเพราะมีอัตราการใช้ราว 20% ของผู้ป่วยทั้งหมด โดยที่คณะกรรมการวิชาการได้ขยายข้อบ่งใช้ให้ครอบคลุมตั้งแต่ปอดอักเสบขั้นต้นและผู้ป่วยที่อาจเกิดปอดอักเสบรุนแรง ซึ่งผมในนามสมาคมอุรเวชช์ฯ ได้ทำเรื่องเสนอคณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อบรรจุยานี้ไว้สำหรับให้ทุกโรงพยาบาลจัดซื้อได้เองเพื่อให้มีใช้งานเพียงพอ ในระหว่างดำเนินการนี้เกิดศึกระลอกสามตามมาอย่างรวดเร็ว จำนวนผู้ป่วยเพิ่มแบบทวีคูณควบคู่ไปกับยอดการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ โดยมีอัตราการใช้ระหว่าง 20-70% แล้วแต่ความสะดวกการเข้าถึงยาในพื้นที่ เป็นที่มาของความฉิวเฉียดของการมียาสำรองใช้เกือบไม่เพียงพอ ขอบคุณยาต้นแบบจากญี่ปุ่นที่เข้ามาช่วยไว้ทันจำนวน 2.2 ล้านเม็ด (รักษาผู้ป่วยได้ราวสามถึงสี่หมื่นคน)
    ขณะนี้มีแนวคิดขยายการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ให้เข้าใกล้ 100% โดยส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยโดยมีเหตุผลดังนี้
    การกวาดให้ยาแบบไม่แยกแยะ มีข้อเสียคือ
    1. ยาอาจขาดมือจากที่สำรองไว้ ทำให้ผู้ป่วยรายที่จำเป็นอาจไม่ได้ยาชั่วคราวหรือได้ไม่เต็มจำนวน
    2. การใช้ยาตั้งแต่แรกอาจทำให้แพทย์นิ่งนอนใจในประสิทธิภาพของยา จนอาจทำให้ละเลยการเฝ้าระวังการเกิดปอดอักเสบ ยานี้ยังไม่มีหลักฐานว่าป้องกันการเกิดปอดอักเสบหรือทำให้ปอดอักเสบเล็กน้อยไม่ลุกลาม
    3. การใช้ยาฆ่าเชื้อที่ไม่สมเหตุสมผล (non-rational drug use) จะนำมาซึ่งการเกิดเชื้อดื้อยาภายหลัง
    # รำลึกพ่อหลวงที่ให้เราใช้สติทำงานมีปัญญาชี้นำ

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    อ่านข่าวนี้ (https://www.nytimes.com/2021/05/03/health/covid-herd-immunity-vaccine.html) แล้วหันมาดูบ้านเราก็น่ากังวล เพราะใน US มีการเปรย ๆ ว่าอาจไม่สามารถสร้าง herd immunity ได้จริง ๆ มาซักพักแล้ว (ตั้งแต่เริ่มมี vaccine roll out) แต่เริ่มชัดขึ้นเรื่อย ๆ ว่า path to herd immunity ยากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีการส่งสัญญาณว่าอาจจะหวังให้เป็น path to normalcy แทน

    เราเห็นตัวอย่างของความสำเร็จในอิสราเอล และเริ่มเห็นผลของ UK ที่เป็น mass vaccination success story ซึ่งต้องอาศัยการบริหารจัดการมากกว่าองค์ความรู้ซับซ้อน และมีความยากในทางปฏิบัติมากกว่าหลายเท่า

    ในขณะนี้ US ไม่มีปัญหาในปริมาณวัคซีน มีเหลือเฟือที่จะฉีดให้ทุกคนที่ต้องการ และชนิดของวัคซีนที่เขามีก็มีประสิทธิภาพสูงมาก ทั้งในแง่ลดความเจ็บป่วย การติดและแพร่เชื้อ มีผลการศึกษาตีพิมพ์ยืนยันชัดเจน

    แต่ยอดผู้ฉีดวัคซีนที่เพิ่มสูงขึ้นทะลุ 4 ล้านคนต่อวัน ลดลงเรื่อย ๆ จนเหลือราว 2 ล้านต้น ๆ เหตุผลสำคัญคือ ประชาชนที่เป็น pro-vaccine (จากข้อมูล survey มีราว 40%) ได้รับการฉีดไปแทบจะหมดแล้ว ส่วนกลุ่ม anti-vaccine ที่คาดว่าอาจมีสูงถึง 20% ยังไงก็ไม่ฉีด ในขณะที่กลุ่มกลาง ๆ (moveable middle) ราว 40% ส่วนหนึ่งเปลี่ยนใจฉีดเมื่อเห็นว่าสมาชิกครอบครัว เพื่อนฝูงรอบข้างได้รับวัคซีนแล้ว แต่อีกส่วนหนึ่งยังลังเลและขอดูไปก่อน

    ในขณะนี้ US มีผู้ได้รับวัคซีนเข็มแรกราว 44% และได้ครบแล้วราว 32% ของประชากร (ถ้านับเฉพาะผู้ที่มีสิทธิได้วัคซีน คือกลุ่มผู้ใหญ่ US ได้รับเข็มแรกราว 60% ของผู้ใหญ่ทั้งหมด และราว 40% ได้ครบแล้ว) แต่เมื่อไปดูรายพื้นที่จะพบการกระจายที่แตกต่างมาก บางพื้นที่มีสัดส่วนผู้ฉีดวัคซีนสูงมาก บางรัฐกลับมีน้อยมาก

    ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือแม้ว่ายอดผู้ติดเชื้อรายใหม่จะลดลงอย่างมากหลังจากเริ่มฉีดวัคซีนไปไม่นาน แต่ยอดช่วงหลังกลับทรง ๆ อยู่แถววันละ 5 หมื่นคน เมื่อดูรายพื้นที่จะพบว่ามีหลายรัฐกลับมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ หลัก ๆ คือ UK variant (B.1.1.7) ตามด้วย Brazil variant (P.1) ในขณะที่สายพันธุ์ดั้งเดิมลดลงอย่างมาก

    ข้อมูลนี้เชื่อว่าสาเหตุไม่ได้เกิดเพราะ UK และ Brazil variants ดื้อต่อวัคซีน เพราะข้อมูลจากแลปพบว่า antibody จากวัคซีนเอาอยู่ทั้งคู่ และการติดตามผู้ที่ติดเชื้อหลังได้วัคซีน (vaccine breakthrough infection) ก็พบน้อยมาก ๆ แต่สาเหตุหลักน่าจะเป็นเพราะทั้งสองสายพันธุ์มีความสามารถในการแพร่ (transmissibility) สูงขึ้นมาก ความเก่งในการแพร่นี้ ทำให้ค่า R ของทั้งสองสายพันธุ์สูงขึ้น และการจะหยุดการระบาดต้องอาศัยสัดส่วนของประชากรที่ได้วัคซีน สูงขึ้นจากตัวเลข 70% ที่คาดไว้ตอนแรก (จะเห็นว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมเริ่มหยุดระบาดได้ตั้งแต่สัดส่วน vaccination เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ UK และ Brazil ยังไปได้ต่อ) และอาจต้องสูงขึ้นไปอีกเป็น 80-85% ของประชากร

    โจทย์การกระจายวัคซีนของ US ว่ายากแล้ว ยังเจอสถานการณ์ที่ต้องปรับเป้าการฉีดวัคซีนขึ้นอีก ยิ่งทำให้งานนี้หินสุด ๆ ในพื้นที่ที่การฉีดวัคซีนครอบคลุมได้ดีจะควบคุมการระบาดได้ดี แต่จะมีส่วนที่แพร่ระบาดเป็นจุด ๆ ซึ่งส่งผลกดดันให้เชื้อยังวนเวียนอยู่ไม่หายไป และอาจเป็นต้นเหตุให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ ๆ และย้อนกลับไประบาดในพื้นที่ที่เคยคุมได้อีกทีในอนาคต หรือกระจายออกไปทั้งโลกก็ยังได้

    เท่าที่ทราบแผนการเพิ่มสัดส่วนประชากรที่ได้วัคซีนของ US คือการขยายอายุของผู้ได้วัคซีนลงไปถึงเด็กให้มากที่สุด (เช่น Pfizer อาจฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนในอนาคต) วิธีนี้จะทำให้เพิ่มสัดส่วนคนที่สร้างภูมิคุ้มกันได้เพิ่มอีกถึง 20% ซึ่งเป็นอีกทางที่จะทำให้ถึง herd immunity ได้ (ถ้าทำได้)

    สำหรับบ้านเรา ถ้าคุมการระบาดรอบนี้ได้ และเริ่มฉีดวัคซีนเป็นวงกว้าง ก็คงต้องคิดหนทางแก้ปัญหานี้ไว้เลยตั้งแต่ต้น

    เพราะเชื้อโรคไม่สนเขตแดน เชื้อชาติ ศาสนา สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมใด ๆ ... No one is safe until everyone is safe
    FB_IMG_1620116835881.jpg
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ไวรัสสายพันธุ์อินเดีย อาจไม่จำเป็นต้องมาจากอินเดีย ไม่ไกลจากบ้านเราก็มีแล้ว ตอนนี้ขอประชาคมอาเซียนอยู่ห่างกันสักแป๊บน่าจะดีนะครับ
    FB_IMG_1620116949864.jpg
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ทีมวิจัยอังกฤษเป็นตัวอย่างที่ดีมากๆในการร่วมมือกันระหว่างทีมวิจัยถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสที่ระบาดในประเทศตัวเอง ทีมวิจัยทำได้ไวและมีประสิทธิภาพมากๆ ผลที่ได้คือ คนอังกฤษจะรู้เลยว่า หลังจากไวรัสสายพันธุ์อินเดีย B.1.617 เข้าไปปั่นป่วนในประเทศ ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายในประชากรได้ไวขนาดไหน เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆอย่าง แอฟริกาใต้ และ บราซิล

    ข้อมูลนี้ไม่ได้เอาสายพันธุ์ UK มาเทียบเพราะแพร่กระจายเต็มประเทศก่อน B.1.617 เข้าไป แต่เทียบกับตัวอื่น ค่อนข้างชัดว่า B.1.617 แพร่กระจายได้ไวกว่าจริงๆ ที่น่าสนใจคือ ไวรัสเข้าไปหลังจาก UK ระดมฉีดวัคซีนกันแล้ว ถ้ากราฟยังสูงขึ้นได้เรื่อยๆ อาจจะมองเห็นว่าไวรัสตัวใหม่นี้หนีวัคซีนได้ดีหรือไม่

    FB_IMG_1620117019351.jpg

    FB_IMG_1620117021285.jpg

    FB_IMG_1620117057916.jpg
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    โปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 ทำลายเซลล์ผนังหลอดเลือดได้
    .
    เป็นที่ทราบกันดีว่าไวรัสโรคโควิด-19 เข้าสู่เซลล์เจ้าบ้านโดยใช้โปรตีนหนาม หรือ สไปค์บนผิวอนุภาคไวรัสจับกับโปรตีนตัวรับชื่อว่า ACE2 แต่ ผลจากการจับกันของโปรตีนสไปค์กับ ACE2 นั้นนอกเหนือจากการปล่อยให้อนุภาคไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้แล้ว เรายังไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นได้อีก งานวิจัยชิ้นล่าสุดที่เผยแพร่ออกมาจากทีมวิจัยของจีนและสหรัฐอเมริกา พบว่าโปรตีนสไปค์ สามารถจับกับโปรตีน ACE2 แล้วไปกระตุ้นให้แหล่งสร้างพลังงานของเซลล์ชื่อว่า ไมโตคอนเดรียเสียหาย และ เซลล์ก็จะตายในที่สุด ทีมวิจัยนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ไวรัส SARS-CoV-2 ที่หลายคนเชื่อว่าจะสร้างความเสียหายต่อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะเซลล์ปอดนั้น จริงๆแล้วไวรัสสามารถทำลายเซลล์ผนังหลอดเลือดได้ เป็นสาเหตุที่ผู้ป่วยโควิดหลายคนมีอาการ เช่น เส้นเลือดในสมองแตก หรือ อาการต่างๆเกี่ยวกับหลอดเลือดที่ยังไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้
    .
    ทีมวิจัยนี้ใช้ไวรัสตัวแทน (pseudovirus) ที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์บนผิวในการศีกษา ปกติไวรัสชนิดนี้จะถูกปรับพันธุกรรมจนไม่สามารถก่อโรคใดๆในสัตว์ทดลองได้เลย แต่สิ่งที่ทีมวิจัยพบคือ pseudovirus ที่มีโปรตีนสไปค์บนผิวเหล่านั้นเมื่อนำไปฉีดให้หนูแฮมสเตอร์พบว่า หนูมีอาการปอดอักเสบ และ หลอดเลือดแดงมีความเสียหายที่ชัดเจน เนื่องจากว่า pseudovirus ที่ใช้ทดสอบไม่มีโปรตีนอื่นๆของ SARS-CoV-2 เลย มีเพียงแต่สไปค์ สมมติฐานที่ว่าโปรตีนสไปค์ที่แสดงออกบนผิวของไวรัสเหล่านั้นน่าจะทำอะไรสักอย่างกับเซลล์ที่อยู่ในหลอดเลือดในปอดของหนูทดลองนั้น
    .
    ทีมวิจัยจึงออกแบบการทดลองเพื่อพิสูจน์โดยการนำเซลล์ endothelial ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ในผนังหลอดเลือดมาบ่มกับโปรตีนสไปค์ที่ผลิตขึ้นมา และ ก็พบว่าโปรตีนสไปค์สามารถจับกับโปรตีน ACE2 บนเซลล์เหล่านั้นและไปรบกวนการทำงานของไมโตคอนเดรีย ทำให้เสียหน้าที่ และ โครงสร้างแตกออกเป็นชิ้นๆ เห็นได้ชัดเจนภายใต้กล้อง ทีมวิจัยเชื่อว่าโปรตีนสไปค์ไม่จำเป็นต้องอยู่บนอนุภาคไวรัส ก็สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวได้
    .
    เนื่องจากวัคซีนที่ใช้ฉีดกันก็เป็นการสร้างโปรตีนสไปค์ให้กับร่างกายเช่นเดียวกัน ความกังวลจึงเกิดขึ้นว่าโปรตีนสไปค์จากวัคซีนจะสามารถทำลายหลอดเลือดได้หรือไม่อย่างไร กรณีของ mRNA อาจจะไม่น่ากังวลเท่าไหร่เนื่องจากปริมาณสไปค์คงสร้างขึ้นมาไม่มาก แต่กรณีของ viral vector ที่ใช้ไวรัสปริมาณเยอะๆ ก็อาจจะเป็นได้ว่าสไปค์จะถูกสร้างขึ้นมามากเกินไปจนเกิดความเสียหาย แต่ตอนนี้ยังไม่มีอะไรเกี่ยวเนื่องกับการเกิดลิ่มเลือดอุดตันกับปรากฏการณ์ที่ค้นพบในการศึกษานี้
    FB_IMG_1620117232441.jpg FB_IMG_1620117234617.jpg
    เอกสารอ้างอิง
    https://www.salk.edu/news-release/t...protein-plays-additional-key-role-in-illness/

    https://www.ahajournals.org/doi/10.1161/CIRCRESAHA.121.318902

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    บริษัทเวิลด์อิเล็คทริค ประกาศ ปิดกิจการ พิษเศรษฐกิจทำไปต่อไม่ไหว พนง.ช็อกตกงานยุคโควิด

    เวิลด์อิเล็คทริค บริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชลบุรี ประกาศ ปิดกิจการ พิษเศรษฐกิจทำไปต่อไม่ไหว พนักงานช็อกตกงานยุคโควิด

    วันที่4พฤษภาคม2564 มีประกาศของ บริษัท เวิลด์อิเล็คทริค (ไทยแลนด์) จำกัด อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี แจ้งพนักงานให้ทราบว่า บริษัทจะปิดกิจการลงในวันที่ 31พฤษภาคม2564 ซึ่งจากประกาศดังกล่าวส่งผล ตกงานทั้งบริษัท ทันที

    ข้อความจากประกาศดังกล่าวระบุว่า "จากเศรษฐกิจของตลาดการค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี และความต้องการของตลาดลดลงรวมถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างต่อเนื่องทั่วโลก จึงเป็นสถานการณ์ยากลำบากที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้

    สถานการณ์ปัจจุบันในเรื่องต้นทุนสะสมของโรงงาน, ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่้อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลกระทบให้การส่งออกของไทยย่ำแย่ลง ด้วยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่รายล้อม World Electric นั้นอยู่ในสถานการณ์ที่เข้มงวดอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ได้มุ่งเน้นการดำเนินกิจการในธุรกิจ EMS, และได้ปฏิรูปโครงสร้างของกิจการ (เช่น การลดต้นทุนการผลิต ฯลฯ) และได้ดำเนินการตามแผนการปรับปรุง/ฟื้นฟูสภาพกิจการไปแล้ว แต่ก็ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เกิดผลสำเร็จตามที่คาดหวังไว้

    ดังนั้น จึงได้พิจารณาตัดสินว่าเป็นเรื่องยากลำบากที่จะปรับปรุงต่อไปในอนาคต, บริษัท เวิลด์ อิเลคตริค (ประเทศไทย) จำกัด จะยุติกิจการอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 31 พ.ค. 64 ดังที่กล่าวมาแล้ว จึงขออภัยด้วยควมจริงใจต่อพนักงานทุกท่านที่ทำงานอยู่ที่บริษัท เวิลด์ อิเลคตริค (ประเทศไทย) จำกัด, แต่ก็ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะต้องเลิกจ้างพนักงานทั้งหมดทุกท่าน ในวันที่ 31 พ.ค. 64 ที่จะถึงนี้, ดังนั้น ณ ที่นี้ จึงแจ้งให้ทุกท่านได้รับทราบเรื่องการเลิกจ้างไว้ล่วงหน้า

    ทั้งนี้ บริษัทจะทำการชำระค่าแรงและค่าสินไหมต่างๆ ทั้งหมดอันอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมายให้กับพนักงาน จนกระทั่งวันสุดท้ายของการทำงานตามเงื่อนไขในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ซึ่งจะรวมถึงค่าสินไหมทดแทนการเลิกจ้าง (คำนวณตามระยะเวลาการจ้างงาน) และค่าสินไหมทดแทนสำหรับวันหยุดประจำปีที่ยังไม่ได้ถูกใช้"

    Source : #AmarinTV #ข่าววันนี้ #ข่าว

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เจ้เล้ง ดอนเมือง อัพเดตหลังฉีด วัคซีนโควิด ไข้ขึ้นนอนซม ปวดร้าวไปทั้งตัว (คลิป)

    เจ้เล้ง ดอนเมือง ไลฟ์อัพเดตหลังฉีด วัคซีนโควิด เผยก่อนฉีดร่างกายแข็งแรง รับวัคซีนแล้วปวดไปทั้งตัว ไข้ขึ้นนอนซม

    วันที่ 4 พ.ค.64 เจ้เล้ง เศรษฐินีเจ้าของร้านขายสินค้าชื่อดัง เจ้เล้ง ดอนเมือง ได้ทำการไลฟ์เฟซบุ๊ก อัพเดตอาการหลังรับวัคซีน โควิด-19 โดยระบุว่า ปกติเป็นคนร่างกายแข็งแรง แต่หลังจากที่รับวัคซีน ก็รู้สึกปวดร้าวไปทั้งตัว แม้แต่แขนยังยกไม่ขึ้น รวมถึงยังมีอาการคล้ายจะอาเจียนเวลากินข้าว

    ทั้งนี้ เจ้เล้ง ฝากถึงผู้ที่กำลังจะไปฉีดวัคซีน ให้เตรียมร่างกายให้พร้อม ดื่มน้ำเยอะๆ พักผ่อนให้เพียงพอ และหลังจากที่รับวัคซีนแล้วให้หยุดพักร่างกาย พร้อมฝากถึงล๔กค้าว่าอาจจะหายหน้าจากการไลฟ์ขายของราว 2-3 วัน

    Source : #AmarinTV #ข่าววันนี้ #ข่าว

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    แม่ค้าโคราชใจดี ขาย ทุเรียน เริ่มต้น 2 บาท เด็ก คนท้อง คนชรา กินฟรี

    ชื่นใจหน้าร้อน ทุเรียน พูใหญ่ๆ เริ่มต้น 2 บาท แม่ค้าใจดี ขายถูก แถมเด็ก คนท้อง คนแก่ กินฟรี!

    ริมถนนสายพิมาย – หินดาด ด้านหน้าวิทยาลัยเทคนิคพิมาย ต.ในเมือง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา มีประชาชนมายืนรอซื้อ ทุเรียนหมอนทองราคาถูก เป็นจำนวนมาก ซึ่งแม่ค้าเปิดขายท้ายรถกระบะ ใต้ต้นจามจุรีด้านหน้าวิทยาลัยเทคนิคพิมาย หลังมีผู้ใช้เฟสบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ขายทุเรียนราคาถูก เริ่มต้นที่ 5 บาท ลงในกลุ่มเฟสบุ๊ก “พิมายกินอะไรดี” และโพสต์ว่า “คนชรากินฟรี” จึงทำให้มีประชาชนเดินทางมาอุดหนุนกันเป็นจำนวนมาก

    โดย น.ส.ศิริวิภา พวงพิมาย อายุ 19 ปี บ้านเลขที่ 60/3 หมู่ 12 ต.ธารละหลอด อ.พิมาย จ.นครราชสีมา แม่ค้าขายทุเรียน เล่าว่า ตนและสามี คือนายภานุวัฒน์ ลองกระโทก อายุ 20 ปี ได้ไปรับทุเรียนหมอนทองมาจากจังหวัดจันทบุรี มาขายเป็นประจำทุกปี แต่ในปีนี้เกิดวิกฤตโรคโควิด-19 ระบาด ทำให้เศรษฐกิจไม่ดี จึงปรึกษากันว่า จะทำยังไงให้คนที่มีเงินน้อยสามารถซื้อทุเรียนกินได้ จึงนำทุเรียนมาแกะขายเป็นพู ราคาเริ่มต้นที่พูละ 2 บาท และเพิ่มขึ้นตามขนาดของแต่ละพู ส่วนขายเป็นกิโล จะขายในราคากิโลกรัมละ 135 บาท ซึ่งราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป ที่สำคัญ เด็ก คนท้อง และคนชรา สามารถกินฟรีโดยไม่คิดเงิน

    ตนและสามี กับพี่สาวและหลาน ได้มาช่วยกันขายทุเรียนอยู่บริเวณนี้เป็นประจำ ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์หยุดวันอาทิตย์เท่านั้น เปิดขายท้ายรถ และโพสต์ขายในเฟสบุ๊ก จะมีการจัดโปรโมชั่นแบบนี้บ่อยๆ ทำให้มีลูกค้ามาอุดหนุนจำนวนมาก ในแต่ละวันขายหมดวันละ 800 กิโลกรัม ถึง 1 ตัน เฉลี่ยแล้วได้กำไรวันละ 1 หมื่นบาท โดยไม่จำเป็นต้องขายในราคาแพง เพื่อช่วยเหลือคนที่มีรายได้น้อย แต่สามารถซื้อทุเรียนกินได้ น.ส.ศิริวิภาฯ กล่าว.

    Source : #AmarinTV #ข่าววันนี้ #ข่าว

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    คมนาคม ประสานการท่าเรือฯ เปิด 5 จุดหาโควิด-19 เชิงรุก ให้ชาวชุมชนคลองเตย

    กระทรวงคมนาคม ประสานการท่าเรือฯ เปิด 5 จุดตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 เชิงรุกให้ชาวชุมชนคลองเตย หลังร่วมประชุมหารือกับ นายอนุทิน รองนายกฯและรมว.สธ. และ นายศักดิ์สยาม รมว.คมนาคม

    Source : #ไทยรัฐ #ไทยรัฐทีวี #Thairath #ThairathOnline

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    วช. หนุนผลิตชุดหน้ากากป้องกันแบบคลุมศีรษะ แจกจ่าย รพ. ป้องกันโควิด

    วช. หนุนผลิตชุดหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะเพิ่มอีก 3,000 ชุด แจกจ่ายให้โรงพยาบาล แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ ใช้ป้องกันโควิด-19

    Source : #ไทยรัฐ #ไทยรัฐทีวี #Thairath #ThairathOnline

     

แชร์หน้านี้

Loading...