ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    UPDATE: ร้านเสริมสวย ร้านตัดผม ร้านทำเล็บ จะถูกปิดอีก กทม. เตรียมสั่งปิด 10 สถานที่เพิ่มเติมเป็นการชั่วคราว 23 ก.ค. - 2 ส.ค. นี้
    .
    จากประกาศล่าสุดของกรุงเทพมหานคร มีคำสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 38) เพิ่มเติมใน 10 สถานที่เป็นการชั่วคราว เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ 22/2564 มีคำสั่งให้ปิดสถานที่เพิ่มเติม ดังนี้
    .
    ▪ สนามกีฬาทุกประเภท (ประเภทในร่ม เช่น สนามแบดมินตัน สนามฟุตซอล สนามบาสเกตบอล สนามวอลเลย์บอล / ประเภทกลางแจ้ง เช่น สนามกอล์ฟ สนามซ้อมกอล์ฟ สนามฟุตบอล สนามเทนนิส)
    ▪ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ต่างๆ
    ▪ ลานกีฬา
    ▪ ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม และสถานที่จัดนิทรรศการ
    ▪ ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม หอศิลป์ ห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดชุมชน ห้องสมุดเอกชน และบ้านหนังสือ
    ▪ พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถาน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น รวมถึงพิพิธภัณฑ์ในลักษณะเดียวกัน แหล่งประวัติศาสตร์หรือโบราณสถาน
    ▪ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    ▪ ร้านเสริมสวย ร้านตัดผมหรือแต่งผม ร้านทำเล็บ และร้านสัก
    ▪ สระน้ำเพื่อการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ำเพื่อการสันทนาการ สระว่ายน้ำสาธารณะหรือกิจการอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
    .
    ทั้งนี้ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ค. - 2 ส.ค. นี้
    .
    อ้างอิง:
    ประกาศกรุงเทพมหานคร
    .
    อ่านเรื่องราวป๊อปๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://thestandard.co/pop
    #TheStandardPop

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    UPDATE: ผบ.ทบ. สั่งทหารเข้าเก็บศพคนป่วยเสียชีวิตจากโควิดตามสถานที่สาธารณะเป็นการด่วน ประชาชนพบแจ้งหน่วยทหารได้ทันที
    .
    วันนี้ (21 กรกฎาคม) พ.อ. หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก กล่าวว่า จากกรณีที่มีประชาชนติดโควิดและเสียชีวิตในสถานที่สาธารณะ และยังไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปช่วยเหลือ ปล่อยเวลานานเกินไปจนทำให้ผู้พบเห็นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก
    .
    ซึ่งกรณีดังกล่าว พล.อ. ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) จึงได้กำชับและมอบให้หน่วยทหารเร่งประสานความช่วยเหลือให้ประชาชนอย่างเต็มกำลัง พร้อมแจ้งให้ประชาชนที่เดือดร้อน ติดขัดเรื่องการรักษาพยาบาล การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด การจัดพิธีศพผู้เสียชีวิตจากโควิด
    .
    สามารถประสานขอความช่วยเหลือผ่านหน่วยทหารของกองทัพบกใกล้บ้านทั่วประเทศ หรือโทรแจ้งได้ที่ศูนย์ประสานงานต้านภัยโควิดกองทัพบก Call Center. 0 2270 5685-9 ตลอด 24 ชั่วโมง ทางกองทัพบกพร้อมประสานความช่วยเหลืออย่างเต็มที่
    .
    นอกจากนี้กองทัพบกได้จัดเตรียมโรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลค่ายในจังหวัดต่างๆ 37 แห่งทั่วประเทศ ไว้รองรับผู้ติดเชื้อ ซึ่งประชาชนสามารถตรวจสอบที่ตั้งโรงพยาบาลของกองทัพบกได้ตามแผนที่ Google Maps https://bit.ly/3zbcaLw
    .
    อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://thestandard.co/
    #TheStandardNews #COVID19NOW #ฝ่าวิกฤตโควิด19

    —————————————————

    ไม่พลาดข่าวไฮไลต์ประจำวัน มาเป็นเพื่อนกับ THE STANDARD WEALTH ในไลน์ คลิก https://lin.ee/xfPbXUP
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    UPDATE: สธ. เร่งสอบสวนสาเหตุครูสาวเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนสลับชนิด ขณะนี้ยังไม่สรุปสาเหตุ คาดรู้ผลเร็วๆ นี้
    .
    วันนี้ (21 กรกฎาคม) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีผู้เสียชีวิตภายหลังรับวัคซีนโควิดสลับชนิดว่า ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต โดยกรณีดังกล่าวเป็นผู้หญิงอายุ 39 ปี อาชีพครูที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีโรคความดันโลหิตสูง และมีค่า BMI 31 มีประวัติฉีดเข็มแรกเป็นวัคซีน Sinovac เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน และเข็มสองเป็น AstraZeneca วันที่ 19 กรกฎาคม และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้ยังไม่สรุปว่ามีความเกี่ยวข้องกับวัคซีนหรือไม่ ยังต้องหาสาเหตุต่อไป โดยแพทย์ได้ตรวจเบื้องต้นและมีการชันสูตรที่โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คาดว่าผลการตรวจออกมาเร็ววันนี้
    .
    นพ.โสภณ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ปรับการฉีดวัคซีนในสถานการณ์ที่มีการระบาดของเชื้อสายพันธุ์เดลตา ซึ่งคำแนะนำคณะผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้พิจารณาข้อมูลผลการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันที่ให้มีการฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตายและตามด้วยชนิดไวรัลเวกเตอร์ห่างกัน 3 สัปดาห์ จะสร้างภูมิคุ้มกันอย่างรวดเร็วใน 2 สัปดาห์หลังการฉีดเข็มที่ 2 สามารถสู้กับเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตาได้ดีขึ้น โดยประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิดแล้วกว่า 14.8 ล้านโดส มีรายงานการเสียชีวิต 229 ราย คิดเป็นอัตรา 16 ต่อ 1 ล้านเข็มวัคซีน ในระยะ 1 เดือนหลังรับวัคซีน ซึ่งยังไม่พบว่าการเสียชีวิตเป็นผลที่เกิดโดยตรงจากวัคซีน คณะผู้เชี่ยวชาญมีการติดตามและพิจารณาสาเหตุโดยละเอียด ทั้งการฉีดวัคซีน อาการที่เกิดขึ้น ผลตรวจทางห้องปฏิบัติ ผลการชันสูตร ขณะนี้ยังไม่พบสาเหตุที่มาจากการฉีดวัคซีนโดยตรง แต่หลายรายมีโรคร่วม เช่น หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง เป็นต้น และเป็นสาเหตุการเสียชีวิต สำหรับการฉีดวัคซีนสลับชนิดมีจำนวนมากกว่า 8.4 หมื่นคน
    .
    “วัคซีนทั้ง 2 ชนิดที่ฉีดในประเทศไทย เป็นวัคซีนที่พิสูจน์แล้วว่ามีความปลอดภัยสูงจากการที่ฉีดมากกว่า 10 กว่าล้านโดส เพียงแต่รายนี้เป็นการฉีดสลับชนิดวัคซีนและเกิดเหตุการณ์เสียชีวิต ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจชันสูตรศพ ส่วนผลสรุปสาเหตุการเสียชีวิตจะแจ้งให้ทราบต่อไป” นพ.โสภณ กล่าว
    .
    อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://thestandard.co
    #TheStandardNews #โควิด19 #COVID19 #โควิด19วันนี้ #วัคซีนโควิด19

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    UPDATE: ‘งานหนัก-กดดัน-เครียด’ สธ. เปิดรับบุคลากรสาธารณสุขจิตอาสา-ผู้ป่วยที่หายแล้วช่วยงาน รพ.บุษราคัม ให้ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่เพิ่ม 2 เท่า
    .
    วันนี้ (21 กรกฎาคม) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบุษราคัม แถลงข่าวในประเด็นการบริหารจัดการโรงพยาบาลบุษราคัม ว่า โรงพยาบาลบุษราคัมจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่จะให้บริการดูแลคนผู้ป่วยโควิดในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และพื้นที่ข้างเคียง โดยรับผู้ป่วยผ่านสายด่วน 1668 กรมการแพทย์, 1669 สพฉ., 1330 สปสช. และจากหน่วยงานโดยตรง เช่น โรงเรียนแพทย์ สถาบันการแพทย์ต่างๆ สถาบันบําราศนราดูร โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ โรงพยาบาลต่างๆ ผ่านสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และจาก NGO เช่น กลุ่มเส้นด้าย เป็นต้น ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม ถึง 20 กรกฎาคม 2564 มีผู้ป่วยสะสม 10,395 คน รักษาหายแล้ว 6,955 คน ยังคงรักษาตัวประมาณ 3,300 คน ขณะนี้รับผู้ป่วยใหม่วันละ 300-400 คน
    .
    นพ.กิตติศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับบุคลากรที่โรงพยาบาลบุษราคัมมีจำนวนกว่า 300 คน เป็นแพทย์ 50-60 คน พยาบาล 200 คน ที่เหลือเป็นเภสัชกร นักรังสี ผู้ช่วยเหลือคนไข้และอื่นๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารประมาณ 20 คน เกือบทั้งหมดมาจากหน่วยงานในภูมิภาค ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดขณะนี้มีผู้ติดเชื้อกระจายอยู่ทั้งในเขต กทม. และต่างจังหวัด ประมาณ 50 ต่อ 50 ทำให้ช่วงนี้และต่อจากนี้การส่งเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานค่อนข้างยากลำบาก รวมถึงมีผู้ป่วยอาการหนักรักษามาระยะหนึ่งแล้ว ต้องให้ออกซิเจนประมาณ 500 คน และใช้เครื่องช่วยหายใจหรือเครื่องออกซิเจนไฮโฟลว์ (Oxygen High Flow) ถึง 170 คน ซึ่งมากที่สุดในประเทศ มีผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ 6-9 คนต่อวัน ภาระงานของเจ้าหน้าที่หนักขึ้น ทำให้เกิดความกดดัน ความเครียด กระทบต่อการสื่อสารที่อาจไม่ทั่วถึง จึงได้มีการทบทวนประเด็นต่างๆ ที่สะท้อนมาจากทุกช่องทาง และเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์อาวุโส ร่วมกันแก้ไขปัญหา ทั้งการจัดหาเครื่องมือ จัดระบบการบริการให้สะดวกขึ้น และชี้แจงทำความเข้าใจกับบุคลากรแล้ว
    .
    นพ.กิตติศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้ดูแลขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลบุษราคัม โดยอนุมัติค่าตอบแทนนอกเวลาราชการเพิ่มเป็น 2 เท่าตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้เป็นต้นไป และให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีเป็นผู้ดำเนินการเบิกจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ ตามระเบียบราชการ รวมทั้งได้จัดบุคลากรแบ็กออฟฟิศจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขช่วยงานด้านเอกสารวันละ 20 คน พร้อมเปิดรับอาสาสมัครบุคลากรสาธารณสุขจิตอาสาจากภูมิภาค แจ้งความประสงค์ผ่านหน่วยงานต้นสังกัด และรับสมัครผู้ป่วยที่รักษาครบ 14 วัน ซึ่งถือว่าหายป่วยตามคำนิยามของโรค จ้างงานดูแลผู้ป่วย เช่น เคลื่อนย้าย พลิกตัวคนไข้ที่มีอาการหนัก หรือช่วยทำความสะอาดภายในหอผู้ป่วย และงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ส่วนประเด็นค่าเสี่ยงภัย ต้องทำตามระเบียบราชการ เนื่องจากใช้งบประมาณแผ่นดิน โดยมติ ครม. จัดสรรเป็นงวดๆ เหมือนกันทุกหน่วยงาน ส่วนค่าตอบแทนอื่นๆ เช่น ค่าเดินทาง มีระเบียบการเบิกจ่ายของปี 2560 ได้มอบให้โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าสอบทวน หากมีส่วนใดที่เป็นสิทธิประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการอย่างครบถ้วน หากมีเอกสารถูกต้องก็จะได้รับค่าตอบแทนในเดือนถัดไป
    .
    “สถานการณ์เช่นนี้ การแก้ปัญหานี้ เราต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน คุยเป็นเชิงบวกเพื่อให้เกิดการพัฒนา หากบางประเด็นยังไม่กระจ่างแจ้ง และส่งผลกระทบต่อองค์กร บุคคล หรือต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งทำงานหนักเกินกำลังอยู่แล้ว ขอให้ช่วยกันดูแลเพื่อให้เราผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันได้” นพ.กิตติศักดิ์ กล่าว
    .
    อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://thestandard.co
    #TheStandardNews #โควิด19 #COVID19 #โควิด19วันนี้ #วัคซีนโควิด19

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    UPDATE: สธ. ทำหนังสือทวงงบ 6,800 ล้าน แก้ปัญหาโควิดระลอกสาม ระบุทำเรื่องขอไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
    .
    วันนี้ (21 กรกฎาคม) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขได้มีการทำหนังสือด่วนที่สุด เลขที่ สธ 0206.02/10444 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 ลงนามโดย นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนงานบริการสุขภาพ ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งถึง ผอ.สำนักงบประมาณ โดยอ้างถึง
    .
    1. หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/17841 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2564
    .
    2. หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร 0723/10481 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2564
    .
    ทั้งนี้ในรายละเอียดหนังสือด่วนที่สุดของกระทรวงสาธารณสุข ตามหนังสือที่อ้างถึง คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 รับทราบโครงการเตรียมความพร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะการระบาดระลอกเดือนเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ 2564 และอนุมัติการสนับสนุนงบฯ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 งบกลาง รายการค่าใช้ง่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ระยะการระบาดระลอกเดือนเมษายน 2564 จำนวน 12,576,629,322 บาท (หนึ่งหมื่นสองพันห้าร้อยเจ็ดสิบหกล้านหกแสนสองหมื่นเก้าพันสามร้อยยี่สิบสองบาทถ้วน) ให้กระทรวงสาธารณสุข และตามหนังสือที่อ้างถึง 2 สำนักงบประมาณขอให้หน่วยงานจัดทำรายละเอียดและเตรียมความพร้อมให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไปนั้น
    .
    สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจึงขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ระยะการระบาดระลอกเดือนเมษายน 2564 จำนวน 6,823,406,608 บาท (หกพันแปดร้อยยี่สิบสามล้านสี่แสนหกพันหกร้อยแปดบาทถ้วน)
    .
    ต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้มีการทำหนังสือด่วนที่สุดอีกฉบับ เลขที่ สธ 0206.02/14782 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2564 ลงนามโดย นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนงานบริการสุขภาพ ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข ส่งถึงผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เรื่อง ขอให้เร่งจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ระยะการระบาดระลอกเดือนเมษายน 2564 จำนวน 6,823,406,608 บาท (หกพันแปดร้อยยี่สิบสามล้านสี่แสนหกพันหกร้อยแปดบาทถ้วน) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดที่มีการแพร่ระบาดระลอกเดือนเมษายนในประเทศไทย ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายค้างจ่ายในพื้นที่การระบาด เช่น ค่าตอบแทนเสี่ยงภัย ค่ารักษาพยาบาลฯ ค่าวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันฯ เป็นจำนวนมาก
    .
    ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการบรรเทา แก้ไขปัญหาจากการระบาดของโรคโควิดเป็นไปอย่างรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงขอให้สำนักงบประมาณดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขโดยเร่งด่วน
    .
    อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://thestandard.co
    #TheStandardNews #โควิด19 #COVID19 #โควิด19วันนี้ #วัคซีนโควิด19

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    UPDATE: สถานีกลางบางซื่อเปิด Walk-in ฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป-ตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป-น้ำหนักตัวเกิน 100 กก. 22-31 ก.ค. นี้
    .
    วันนี้ (21 กรกฎาคม) กรมการแพทย์ประกาศเปิด Walk-in ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด AstraZeneca เข็มที่ 1 แก่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป และผู้มีน้ำหนักตัว 100 กิโลกรัมขึ้นไป โดยไม่รวมผู้ติดตาม ที่ศูนย์ฉีดวัคซีนสถานีกลางบางซื่อ (ประตู 2, 3, 4) ตั้งแต่วันที่ 22-31 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00-17.00 น.
    .
    นพ.ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป และผู้มีน้ำหนักตัว 100 กิโลกรัมขึ้นไป เป็นกลุ่มเสี่ยงจากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีผู้ติดโควิดจำนวนมาก ศูนย์ฉีดวัคซีนสถานีกลางบางซื่อจึงเปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิด AstraZeneca เข็มที่ 1 แก่ประชาชนในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว เพื่อลดการติดเชื้อ เจ็บป่วยรุนแรง และการเสียชีวิต
    .
    โดยผู้ที่ตั้งครรภ์และมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนจะต้องแสดงเอกสารการตั้งครรภ์ที่ได้รับการรับรองจากแพทย์
    .
    อย่างไรก็ตาม นพ.ไพโรจน์ ได้กำชับว่า แม้ประชาชนจะได้รับการฉีดวัคซีนโควิดแล้ว ก็ต้องปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด โดยการรักษาระยะห่างทางสังคม หมั่นล้างมือ และสวมหน้ากากอนามัย
    .
    อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://thestandard.co
    #TheStandardNews #โควิด19 #COVID19 #โควิด19วันนี้ #วัคซีนโควิด19

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Jul 21, 2021 นันยางโดน! สั่งปิดโรงงานนันยางการ์เม้นท์ นครปฐม พบพนักงานติดโควิด-19 พุ่ง 160 คน

    นายอภินันท์ เผือกผ่อง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่าได้กำชับสถานประกอบการทุกแห่ง กำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะมาตรการ DMHTTA คือ รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 2 เมตร สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้ง ล้างมือบ่อย ๆ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ตรวจสอบผู้ที่มีอาการ ประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยยืนยัน หรือเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง สแกนแอปพลิเคชั่นไทยชนะ หมอชนะ Thai Stop Covid Plus และ Thai Save Thai
    .
    นอกจากนี้ได้กำหนดแผนเผชิญเหตุ อาคารสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ อาหารการกินที่ชัดเจน เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำ Bubble And Seal หรือการจำกัดวงการแพร่ระบาด และจัดทำระบบดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ภายในโรงงาน หรือ Factory Isolation

    สำหรับบริษัท นันยางการ์เม้นท์ จำกัด ตำบลยายชา อำเภอสามพราน พบเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายในโรงงาน มีพนักงานติดเชื้อ จำนวน 160 คน จากพนักงานทั้งหมด 1,398 คน จึงได้จัดทำ Bubble And Seal และ Factory Isolation ภายในโรงงาน โดยการสนับสนุนที่พัก อาหาร 3 มื้อ ยารักษาโรค ตลอดจนสวัสดิการต่าง ๆ และค่าแรงให้กับพนักงานขณะป่วย นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนหน่วยงานราชการต่าง ๆ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่อีกด้วย

    #โรงงานนันยางการ์เม้นท์ #นครปฐม #covid19 #โควิด19 #Btimes

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ระบาดมาเกิน 1 ปีแล้ว

    สุดความสามารถแล้ว คนไทยค่อยๆรอต่อว่ามีอะไรเข้ามาได้บ้าง

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ร่างกายของผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ไม่ควรเก็บนานเกิน 1 วันจริงหรือ และการปฏิบัติ

    ที่มา : ศ. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
    เขียนตั้งแต่ เดือนเมษายน 2563

    A : ยังไม่มีคำยืนยันแน่ชัดว่าเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะมีชีวิตอยู่ในศพของผู้เสียชีวิตจากเชื้อโควิด19 ได้นานเท่าใด แต่มีคำแนะนำจากทางการประเทศจีนว่าควรรีบนำร่างกายผู้เสียชีวิต บรรจุถุงหลาย ๆ ชั้น พร้อมปิดถุงให้มิดชิด และทำความสะอาดถุงบรรจุศพด้านนอกก่อนเคลื่อนย้ายศพ แล้วดำเนินการเผาทันที
    เนื่องจากศพโควิด-19 อาจมีเชื้อติดตามผิวหนัง ช่องจมูก ช่องปาก รวมทั้งช่องทวาร
    ดังนั้น ต้องไม่ทำการตกแต่งศพ หรือ ฉีดยารักษาสภาพศพเด็ดขาด เพราะผู้ดำเนินการดังกล่าวมีความเสี่ยงได้รับเชื้อจากการสัมผัสศพโดยตรง
    การเก็บศพต้องไม่เก็บไว้นานเนื่องจากศพที่ไม่ได้ฉีดยารักษา จะเปลี่ยนสภาพ บวม หรือ ปริ ได้เร็ว หากถุงบรรจุศพป้องกันนั้น ฉีกขาดจะส่งผลให้เชื้อรั่วไหลได้



    ประกอบพิธีศพตามหลักศาสนาอย่างไร ให้ปลอดภัยในสถานการณ์โควิด-19
    ที่มา : ศ. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

    A : ศพผู้เสียชีวิตโควิด-19 ต้องบรรจุศพไว้ในถุงบรรจุตามมาตรฐาน แล้วดำเนินการเผา อย่างถูกวิธีโดยเร็วที่สุด หากญาติต้องการจัดพิธีกรรมตามหลักศาสนาควรยึดแนวปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ดังนี้

    • พระสงฆ์และสัปเหร่อ ห้ามทำการเปิดถุงบรรจุศพ อย่างเด็ดขาด
    • ต้องหลีกเลี่ยงการทำพิธีที่มีการรวมกลุ่มคนร่วมกันเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นโอกาสให้มีการติดเชื้อในระหว่างที่มีการรวมกลุ่มเช่นนั้น
    •แนะนำให้ทำพิธีสวดบำเพ็ญกุศลไปพร้อมกับพิธีฌาปนกิจ โดยจำกัดคนน้อยที่สุด
    • ยึดหลัก Social distancing ป้องกันไม่ให้ติดเชื้อซ้ำซ้อน เนื่องจากผู้ติดเชื้อที่มาร่วมพิธี บางรายอาจยังไม่แสดงอาการ จึงสามารถแพร่เชื้อได้
    • หากต้องการบำเพ็ญกุศลต่อเนื่อง ใช้รูปภาพแทนการตั้งศพ
    • สำหรับศาสนาที่ต้องประกอบพิธีฝังศพ ควรอธิบายด้วยเหตุผลที่ต้องเผาแทนการฝังให้เร็วที่สุด
    •ในกรณีที่ปฏิเสธการเผา นำศพฝังทั้งถุง โดยไม่มีการเปิดถุงบรรจุศพอย่างเด็ดขาด ในพื้นที่ที่จัดเตรียมเฉพาะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายในพื้นที่ใกล้เคียงและปฎิบัติเสมือนในกรณีของเชื้ออีโบล่าหรือไข้หวัดนก


    คำแนะนำ : สำหรับการจัดการศพโควิด-19 ในพื้นที่ที่ไม่สามารถจัดหาถุงบรรจุศพตามมาตรฐานได้ ให้ขอคำแนะนำที่สาธารณสุขจังหวัด

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    โควิด-19 ระลอก 3 ชุดใหญ่ไฟกระพริบ
    ไทยรัฐ สุขภาพหรรษา หมอดื้อ

    ถึงเวลาแล้วที่ต้องยอมรับความจริงของสถานการณ์และต้องพึ่งตนเองให้มากที่สุด ทั้งนี้ ประเทศไทยไม่น่าจะเรียกว่าระลอกสี่ เพราะสามยังไม่ทันจบสิ้นและคนติดเชื้อลุกลามไปทั่วโดยยังควบคุมไม่ได้ เราคงไม่น่าเรียกสี่ เราคงเรียกระลอกสามภาคพิสดาร หรือที่เด็กๆที่ฝึกอบรมเป็นผู้เชี่ยวชาญทางสมองที่ทำงานอยู่ด้วยกันชอบเรียกกันว่าเป็นชุดใหญ่ไฟกะพริบมากกว่า

    ตอนนี้ ที่ป่วยหนัก หาเตียงไม่ได้ เข้าไอซียูไม่ได้ ไม่ใช่เดลตา ทั้งหมดตามที่คิด แม้สายอัลฟาบ้านๆก็หนัก เอาไม่อยู่ และไม่นานก็แทรกด้วยเดลตา และจ่อด้วย เอปซิลอน B.1.429 (S13I, W152C, L452R ที่ spike) ที่กลายเป็นสายที่ต้องวิตกกังวลแล้ว

    และสายเดลตา ก็แน่นอนชุกชุมขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็ได้รับการขยายความอธิบายสรรพคุณได้มากขึ้น


    โดยมีการไขความลับสายเดลตา โดยการที่ไวรัสดึงให้เซลล์ที่ติดเชื้อให้ไปแนบชิดกับเซลล์อื่น โดยไม่ต้องหลุดออกมาจากเซลล์เดิม เพื่อทะยานไปหาเซลล์ใหม่ ดังนั้น ระบบภูมิคุ้มกันในน้ำเหลือง หรือที่ในเยื่อบุ ทั้งจากสร้างในร่างกายและจากวัคซีนเองเช่นจาก mRNA จะไม่เห็นและขัดขวางไม่ได้

    ดังนั้น อาจจะเป็นเครื่องอธิบายว่าทำไมถึงติดต่อได้เร็ว และทำไมถึงอาการของโรคจึงรุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นแต่คณะผู้รายงานยังเชื่อว่าวัคซีนก็ยังลดความรุนแรงได้ (รายงานจาก Markus Hoffman of Georg-August-University Göttingen in Germany) แต่คงไม่นานก็คงจะมีเดลตาพลัส ซึ่งบรรจุลักษณะเด่นของสายแอฟริกาเข้าด้วย

    สรุป...มันจะสายพันธุ์อะไรก็แล้วแต่

    ประการที่หนึ่งการรักษา ขณะนี้วิกฤติแล้ว มาระยะหนึ่งแล้ว


    ประการที่สอง ขณะนี้การระบาดของโควิดเพิ่งเงยหัว ตัวยังไม่มาเลย ที่ยังไม่ได้ตรวจ และตัวเลขที่ต้องรอที่บ้าน ทั้งที่รู้ว่าตัวเองติดแล้ว (จากการตรวจ) และที่รู้ว่าตัวเองติดแน่ เพราะคนรอบตัวและทั้งบ้านติดไปหมดแล้วแต่ยังไม่ได้ตรวจ เพราะไม่มีที่ไหนรับตรวจ ยังมีอยู่มาก

    ประการที่สาม วัคซีนที่ใช้ขณะนี้ประสิทธิภาพจำกัดคือ ซิโนแวค มีจำนวนมากที่ระดับภูมิในการยับยั้งไวรัสไม่ให้ติดสูงไม่มากพอ และหมอพยาบาล เจ้าหน้าที่หลังฉีดวัคซีนแล้ว ครบหนึ่งเดือน ติดไปแล้ว แม้อาการอาจไม่มาก แต่ที่น่ากลัวกลับกลายเป็นคนแพร่เชื้อที่ทรงประสิทธิภาพ ไปยังเพื่อนร่วมงานและไปยังผู้ป่วยได้

    ประการที่สี่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เรียกร้องวัคซีนยี่ห้ออื่นซ้ำต่อจากที่ฉีดไปแล้ว ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นคนไทยที่มีอภิสิทธิ์ แต่เพราะเรากลัวจะแพร่ไปหาคนอื่นอย่างกว้างขวาง และนี่เป็นเหตุผลที่เราเรียกร้องให้มีวัคซีนหลากหลายและมีจำนวนพอเพียง และไม่ใช่แต่เราที่เรียกร้อง แต่จากคนไทยทั้งประเทศ


    ประการที่ห้า การให้ไปรักษาที่บ้าน ต้องทำให้เป็นรูปธรรม “โดยด่วน” ทั้งนี้ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องได้รับการพิสูจน์ก่อนว่าติดและมีเชื้อ เนื่องจากหาที่ตรวจไม่ได้และถ้าสัมผัสกับคนที่ติดจริงหรือติดกันทั้งบ้าน น่าจะอนุโลมให้เข้าข่ายนี้ด้วย

    ประการที่หก ทั้งนี้ จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ ฟ้าทะลายโจรให้เลย ส่วนประชาชนจะหายาฆ่าพยาธิมาใช้วันละหนึ่งเม็ดขนาด 12 มิลลิกรัมไปห้าวัน ใช้เมื่อมีอาการแล้ว ก็ไม่น่าผิด และจะควบกับน้ำมันกัญชาของ อาจารย์เดชาที่ถูกกฎหมายก็ไม่น่าผิดเช่นกันเพราะช่วยลดการอักเสบและการปวดทรมานของร่างกาย

    ประการที่เจ็ด เรื่องยาฆ่าพยาธิ ไอเวอเมคติน ได้เคยเขียนในไทยรัฐ ตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 และจนปัจจุบันมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากขึ้นเรื่อยๆจากการใช้จริง และประเทศอังกฤษเริ่มบรรจุเข้าในการวิจัยจริงจัง

    แต่...จะรอสรุป และโต้เถียงกันอีกกี่เดือน ทั้งนี้ ยาปลอดภัย และถูก สามารถใช้ตั้งแต่เริ่มอาการเล็กๆน้อยๆ แบบฟ้าทะลายโจร

    นี่คือภาวะสงคราม ไม่ใช่วิจัยตีพิมพ์ก่อนแล้วค่อยประกาศ

    ไปแอบดูห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลไหนก็ได้ แล้วจะเห็นความจริงครับ ว่าคนป่วยที่รอเตียงจนอาการหนักขึ้นต้องบากหน้ามาที่ห้องฉุกเฉินหวังว่าจะได้รับการรักษามีจริงหรือไม่

    ประการที่แปด ถ้าปล่อยให้ประชาชนอยู่ร่วมกันโดยไม่รู้ว่าใครติด ใครไม่ติด คงไม่มีทางระงับการแพร่กระจายของโรคระบาดนี้ได้ ชุมชนแรงงาน แคมป์แรงงาน ไม่ใช่เป็นขุมรังโรคอย่างเดียวตามที่คิด เพราะเชื้อแพร่ไปตามบ้านเรือนไปนานพอสมควรแล้ว ที่สมาชิกในครอบครัวต้องทำงานนอกบ้าน


    และ...ในที่สุดกลับมาแพร่เชื้อในบ้านต่อ การตรวจคัดกรองที่เข้าถึงได้ยังไม่มี

    ประการที่เก้า ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยได้ทำการเรียกร้องการจัดการ รวมทั้งการจัดหาวัคซีนหลาก หลายไปแล้ว คงไม่ต้องทำวิจัยหรืออ่านตำรามาแสดงดูสถานการณ์ที่เป็นอยู่ขณะนี้ซึ่งเป็นโรคและโลกแห่งความเป็นจริงคงจะทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

    ประการที่สิบ ชัดเจนแล้วเด็กเล็ก เด็กโตติดกันหนาแน่นในประเทศไทย จนพ่อแม่อยู่ในห้องความดันลบ ลูกน้อยที่ติดเชื้อต้องนอนอยู่ในห้องเดียวกัน ถึงเวลาแล้วหรือไม่ ที่จะใช้วัคซีนเชื้อตายที่ถึงแม้ประสิทธิภาพจะไม่สูงเยี่ยมเทียมเท่ากับวัคซีนชนิดอื่นมาให้เด็กทั้งหมด

    โดยที่ประเทศจีนใช้วัคซีนแล้วในเด็กตั้งแต่อายุสามขวบจนถึงผู้ใหญ่ เนื่องจากวัคซีนเชื้อตายก็เป็นเหมือนเช่นวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าที่สามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็กจนถึงแก่ แม้กระทั่งคนที่กำลังตั้งท้อง

    เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะมานั่งเพ่งพินิจ พิจารณาอยู่บนภูเขาหรือชายหาดโก้เก๋ ลองใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์มานั่งอยู่ในห้องฉุกเฉิน ลงมาตรวจ ลงมาพูดคุยกับผู้ป่วยและครอบครัวคงจะทำให้เห็นสถานการณ์ได้ดีขึ้นเป็นแน่แท้.

    หมอดื้อ

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สู้โควิด!! จุฬาฯ ทดสอบ“วัคซีนใบยา”ในคน กันยานี้ คาดพร้อมฉีดกลางปี2565 โดสละ 300 บาท

    เผยแพร่: 20 ก.ค. 2564
    โดย: ผู้จัดการออนไลน์

    เภสัชฯ จุฬาฯ เตรียมทดสอบ “วัคซีนใบยา” ป้องกันโควิด-19 วัคซีนสัญชาติไทยแท้ โดย“ใบยาไฟโตฟาร์ม”สตาร์ทอัพสังกัดจุฬาฯ ปลื้มต้นแบบโรงงานผลิตวัคซีนจากพืชสำหรับใช้ในมนุษย์แห่งแรกในเอเชียเปิดใช้แล้ว วางแผนพิสูจน์ประสิทธิภาพกับอาสาสมัครเดือนกันยายนนี้ พร้อมเดินหน้าวิจัยวัคซีนรุ่น 2 รองรับไวรัสกลายพันธุ์ เชิญชวนบริจาคเพื่อสนับสนุนการพัฒนา คาดฉีดให้คนไทยกลางปี 2565 ในราคาต้นทุนโดสละ 300 - 500 บาท

    สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทวีความรุนแรงขึ้นด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิต ที่ไต่ระดับสูงขึ้นรายวัน “วัคซีน” เป็นหนึ่งในความหวังที่จะช่วยชะลอและลดการแพร่ระบาดของโรคและอัตราการเสียชีวิตได้ ที่ผ่านมา นักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้คิดค้นพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 โดยตลอด ทั้ง ChulaCov19 วัคซีนชนิด mRNA ที่พัฒนาโดยศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และอีกหนึ่งความหวังของคนไทย “วัคซีนใบยา” ที่พร้อมพิสูจน์ฝีมือคนไทยเดือนกันยายนนี้
    “วัคซีนใบยา” ป้องกันโควิด-19 ผลิตจากใบพืช เป็นผลงานสตาร์ทอัพแห่งจุฬาฯ บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด (ภายใต้ CU Enterprise) โดยสองนักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ และรองศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู พูลเจริญ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ

    “วัคซีนใบยาเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด subunit vaccine ซึ่งต่างประเทศมีการผลิตวัคซีนชนิดนี้มานานแล้วโดยผลิตจากหลายแหล่ง เช่น พืช แมลง ฯลฯ ขณะที่หลายประเทศผลิต subunit vaccine จากใบพืช เช่น แคนาดา และเกาหลีใต้” ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา CEO และ Co-founder บริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด กล่าว

    “วัคซีนใบยาใช้ใบยาสูบสายพันธุ์ดั้งเดิมจากออสเตรเลีย ทำหน้าที่เสมือนโรงงานผลิตชิ้นส่วนของไวรัสซึ่งเป็นไวรัสที่ไม่ก่อให้เกิดโรค เมื่อฉีดวัคซีนใบยาเข้าไปในร่างกาย วัคซีนจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเรา หากติดเชื้อโควิด-19 ก็จะป้องกันได้”

    ๐ Timeline วัคซีนใบยา พร้อมทดสอบกันยายนนี้

    ภายหลังได้รับวัคซีนต้นแบบตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการทดสอบวัคซีนใบยากับสัตว์ทดลอง เช่น หนูขาวและลิงซึ่งแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2563 ซึ่งพบว่าวัคซีนสามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองได้ผลสูง หลังจากนั้น ในเดือนตุลาคม 2563 จึงเริ่มสร้างโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนที่อาคารจุฬาพัฒน์ 14 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2564 โรงงานเนื้อที่ 1,200 ตร.ม. มีกำลังการผลิตวัคซีนเดือนละ 1 - 5 ล้านโดส

    “สิงหาคม 2564 เราจะเปิดรับอาสาสมัครเพื่อทดสอบวัคซีนกลุ่มแรกจำนวน 50 คน อายุ 18 - 60 ปีโดยอาสาสมัครต้องมีสุขภาพแข็งแรงและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน การทดสอบวัคซีนจะเริ่มในเดือนกันยายน อาสาสมัครจะได้รับการฉีดวัคซีนจำนวนสองเข็ม เว้นระยะเวลาห่างกัน 3 สัปดาห์ เมื่อทดสอบกับอาสาสมัครกลุ่มแรกเสร็จเราก็จะทดสอบวัคซีนกับอาสาสมัครกลุ่มอายุ 60–75 ปี ต่อไป”ผศ.ภญ.ดร.สุธีรากล่าว และคาดว่าวัคซีนใบยาจะพร้อมฉีดให้คนไทยช่วงกลางปี 2565 ในราคาต้นทุนโดสละ 300 - 500 บาท

    นอกจากนี้ คณะนักวิจัยยังได้พัฒนาวัคซีนใบยารุ่นที่ 2 เพื่อรับมือการกลายพันธุ์ของเชื้อ โควิด-19 ซึ่งคาดว่าจะพร้อมทดสอบกับอาสาสมัครปลายปี 2564 โดยจะปรับปรุงศักยภาพของวัคซีนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันดีขึ้นด้วย

    ๐ วัคซีนใบยาโดยนักวิจัยไทยเพื่อคนไทย

    ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา ทิ้งท้ายถึงคุณค่าของโครงการวิจัยนี้ นั่นคือวัคซีนใบยาเป็นวัคซีนฝีมือคนไทยโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ใช้นักวิจัยคนไทยกว่า 50 ชีวิต และผู้สนับสนุนอีกนับร้อย

    “การผลิตวัคซีนโควิดได้เองส่งผลให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านสุขภาพ สามารถต่อยอดงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อประชาชนได้ และเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมยาในประเทศไทยด้วย” ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าวด้วยความภาคภูมิใจ

    ทั้งนี้ ขอเชิญชวนผู้สนใจบริจาคเพื่อสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนใบยา โปรดดูรายละเอียดได้ที่https://www.cuenterprise.co.th/ หรือ Facebook: CUEnterprise

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สรุปการบริหารจัดการเชิงรุก

    แยกตัวก่อน ในชุมชนแออัด และค่อยคัดกรอง
    ไม่ใช่คัดกรองแล้วแยกตัว

    ชุดตรวจเร็ว สำหรับทุกคน 8.5 ล้าน ชุดอาจจะไม่พอ ทั้งนี้ ทุกคนเสี่ยงและต้องการตรวจ และทุกคนไม่อยากเป็น และไม่อยากแพร่

    วัคซีนเข้าไปฉีดถึงที่เลย

    โรงพยาบาลสนามสำหรับแดงและแดงแจ๋ 

    อินโดนีเชีย ชิโนแวค 2 เข็ม จนท สาธารณสุข เอาไม่อยู่ เพราะเสี่ยงเชื้อตลอดเวลา เสียชีวิต พิจารณา โมเดนา

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ขอรายงานสายตรงของน้องหมอเมด ที่ไปช่วยงานโรงพยาบาลสนามบุษราคัม ต่อจากสัปดาห์ก่อนครับ

    ข้อมูล ณ วันที่ 19/07/2564

    ยอดเตียงรวม 3,700 เตียง เท่าเดิม

    - ICU 12 เตียง : ETT 8 เตียง, HFNC 4 เตียง
    * จุดประสงค์เพื่อเอาไว้ดูแลเคสเพื่อรอ refer แต่การ refer ยากมา กลายมาเป็น refer ไม่ออกเลย
    **มีการคุยกันเรื่องที่จะสร้าง ICU แยกออกมาอีกส่วน เพื่อให้ดูคนไข้ได้มากยิ่งขึ้น อาจต้องมีการแยกทีม ICU ออกมาต่างห่าง ส่วนตัวคิดว่ามันน่าจะดีกับผู้ป่วยถ้าทำได้จริง แต่มันเป็นการเพิ่มอะไรไปเรื่อย โดยที่ทรัพยากรเท่าเดิม ไม่ได้ตระหนักถึงศักยภาพที่แท้จริงของทรัพยากร และบุคลากรเลย

    - HFNC 209 เตียง : ซึ่งมีจำนวน High Setting ที่มากขึ้น รวมทั้งมีการ advance care plan ในคนไข้ที่มีโรคประจำตัวเยอะ อายุเยอะ เพราะถ้า on ETT ไม่มีที่ refer ก็ดูแลไม่ไหวอยู่ดีครับ

    - ที่เหลือ เป็น ผู้ป่วยสีเหลือง และสีเขียว (ไม่ทราบว่าอย่างละเท่าไหร่ครับ)

    สถานที่ และ บุคลากรเฉพาะแพทย์ - ยังเหมือนเดิม

    จากที่เคยเล่าให้อาจารย์ฟังเมื่อรอบที่แล้ว
    1. เรื่องคนไข้เสียชีวิต : ปัจจุบันมีการคุยเรื่อว advance care plan ในคนไข้ที่ดูหนักเกินศักยภาพ แต่เมื่อเสียชีวิตก็ส่งตัวไปที่พระนั่งเกล้า เพื่อจัดการด้านหลังการเสียชีวิตที่พระนั่งเกล้าตามระบบครับ เข้าใจว่าจะได้ไม่ต้องมาสร้างระบบจัดการเรื่องหลังการเสียชีวิตที่นี่ครับ
    2. ค่าตอบแทน : มีการประชุมในวันที่อาจารย์โพสต์ใน FB คืนนั้นเลยครับ และมีประกาศแจ้งมาอีกประปราย โดยสรุปว่า
    - ยืนค่าเสี่ยงภัยได้ทุกเวร แต่ก็ยังให้คำตอบไม่ได้ว่าได้เมื่อไหร่
    - ค่า OT : ให้เบิกจากจำนวนเวรที่อยู่ทั้งหมด ที่อยู่เกินจากเวลาราชการ โดยครั้งแรกแจ้งว่าได้ 750 บาท/8 ชม.แต่มีคนไปดูระเบียบมาว่าจริง ๆ ต้องได้ 1,800 บาท/8 ชม. สุดท้ายจึงมาเปลี่ยนว่าให้ 1,800 บาท/8 ชม. ก็เลยคิดว่าในเมื่อระเบียบมีแต่แรก ทำไมต้องมาลดค่า OT เราในการแจ้งครั้งแรก
    - ค่าที่พัก / ค่าเดินทาง : ค่าที่พักเบิกได้ แต่สำหรับคนที่ไม่อยู่ที่พักที่จัดให้ จะให้เบิกค่าเดินทาง จากเดิมที่แจ้งที่กระทรวงว่าวันละ ไม่เกิน 600 บาทตามระเบียบ เป็นได้เท่าอัตรารถประจำทาง ค่าโดยสารเที่ยวละ 8 บาท (แม้ว่าบางทีเราออกเวรเที่ยงคืน ในยามที่ห้ามออกจากเคหะสถาน)
    *อาจารย์ที่มาประชุมบอกว่าในรายละเอียดวันที่มีคนแจ้งที่กระทรวงอาจารย์ไม่ทราบ เพราะอาจารย์ไม่ได้ไปร่วมที่กระทรวงในวันนั้นครับ (แสดงให้เห็นอะไรบางอย่างครับ )
    - เบี้ยเลี้ยงเบิกไม่ได้ เพราะที่ รพ.บุษราคัม มีอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น ครับ วันไหนที่ไม่ได้อยู่เวรก็ให้นั่งรถมากินข้าวที่ รพ. (ระยะทาง 7.1 กม. ตาม google MAP)
    3. ระยะเวลาการทำงาน : ทำงานที่นี่ต่อในเดือน สิงหาคม ส่วนหลังจากนั้นยังไม่ทราบ ต้องรอเบื้องบนสั่งการมา ยังไม่มีระบบการหมุนเวียนอายุรแพทย์กลุ่มอื่นมาช่วย ต้องรอคำสั่ง ทุกอย่างรอเสนอ และรอตอบรับ รอ รอ รอ รอ รอ รอ ซึ่งต้นสังกัดบางแห่งที่ผู้ป่วย และภาระงานหนักได้มีการท้วงติงเรื่องนี้แล้ว แต่ก็ยังยืนยันว่าพวกเราต้องอยู่ต่อครับ

    ปัญหาเพิ่มเติม
    1. เคสหนักมากขึ้น จึงมีความต้องการเพิ่มอะไรไปเรื่อย ๆ ตามความหนัก โดยบุคลากรเท่าเดิม มีการคาดหวังให้ทีมพวกเราไปเติมเต็มในงานที่จะเพิ่มขึ้น และส่วนที่ขาด เช่น ทีม MERT ที่ต้องเข้าไปดูแลคนไข้ด้านในมีปัญหา ก็มีการถามว่าพวกเราจะทำอย่างไรดี ซึ่งส่วนตัวสุดท้ายคิดว่าเหมือนมีคนไข้เป็นตัวประกัน ถ้าคนไข้หนัก ทีม MERT ไม่มี แล้วอย่างไร คำตอบก็คือคนที่มีอยู่ ซึ่งจะใครถ้าไม่ใช่พวกเรา
    2. ทีมแพทย์หมุนเวียนจากต่างจังหวัดมีช่องว่างในการหมุนเวียน ทำให้บางช่วงมีแค่พวกเราที่ทำงานครับ ครั้งละ 1-2 วัน / รอบ 2 สัปดาห์ ซึ่งวันนั้น ๆ ทำให้พวกเราหนักเอาเรื่องเลยครับ
    3. ปัญหาคนไข้ที่ครบกำหนดกลับบ้านบางส่วนไม่ยอมกลับ โดยบอกว่ากลับไปแล้วจะให้ผมไปทำอะไร ไม่มีงาน ไม่มีกิน อันนี้เริ่มเจอมากขึ้นเรื่อยๆครับ สุดท้ายก็เกิดปัญหาเตียงเต็ม
    4. การทำงานด้วยระบบราชการ คือ ประชุมขอความเห็น นำไปเสนอข้างบน รอข้างบนตอบ เอามาเล่าให้ฟังว่าโอเคไหม แล้วก็นำกลับไปเสนอ ไป ๆ มา ๆ รอคนมีอำนาจ และมีอำนาจเหนืออำนาจอีกชั้นนึง
    5. ทีมงานบางคนที่มีความจำเป็นในด้านอื่นนอกจากการทำงาน ไม่ว่าจะครอบครัว หรือ ส่วนตัว เริ่มมีการหาลู่ทางในการลาออกจากราชการแบบจริงจังกันแล้วพอสมควรครับ มีการพูดถึงความไม่แน่นอนในการทำงานที่นี่ตลอดเวลาครับ
    6. บางคนพูดว่าการทำงานไม่ได้ทำด้วยความสบายใจแล้วครับ มันคือการบังคับ บนคำว่า ขอความร่วมมือ เหมือนมีจรรยาบรรณ และสังคมมาเป็นกรอบที่พวกเราต้องทำ ๆ ไป ไม่ได้มีแผนการ

    *** สุดท้ายมีคนถามเรื่องวัคซีน คำตอบคือ เป็นเรื่องที่เกินกว่าจะนำมาพูดได้ในที่นี้อย่างที่เรารู้ ๆ กัน

    น้องหมอเมดรายงานผ่านผม พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์โดยตรง โดยผมไม่ได้ตัดแต่งหรือเพิ่มเติมเนื้อหาอะไรทั้งสิ้น เพื่อให้ทราบถึงข้อเท็จจริงจากหน้างานโดยตรงครับ

    ขอส่งกำลังใจให้น้อง ๆ และบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนครับ ฝากผู้เกี่ยวข้องช่วยดูแลก่อนทุกคนจะหมดกำลังใจด้วย

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    แฝดไฟเซอร์" จีนเตรียมฉีดวัคซีน mRNA ผลิตร่วมกับเยอรมันไฟเซอร์ ฉีดฟรีเพิ่มภูมิฯ ประชาชน

    เผยแพร่: 16 ก.ค. 2564
    โดย: ผู้จัดการออนไลน์

    วัคซีนใช้ชื่อทางการค้าว่า Comirnaty ในภาษาจีนคือ “ฟู่ปี้ไท่” ผลิตโดยบริษัทไบโอเอนเทคของเยอรมนี ที่ร่วมผลิตวัคซีนกับไฟเซอร์ของสหรัฐ
    วัคซีนใช้ชื่อทางการค้าว่า Comirnaty ในภาษาจีนคือ “ฟู่ปี้ไท่” ผลิตโดยบริษัทไบโอเอนเทคของเยอรมนี ที่ร่วมผลิตวัคซีนกับไฟเซอร์ของสหรัฐ

    สื่อจีนรายงาน (16 ก.ค.) จีนเตรียมฉีดวัคซีน mRNA ผลิตร่วมกับเยอรมันไฟเซอร์ ฉีดฟรีเพิ่มภูมิฯ ประชาชน โดยวัคซีนใช้ชื่อทางการค้าว่า Comirnaty ในภาษาจีนคือ “ฟู่ปี้ไท่” 复必泰 ผลิตโดยบริษัทไบโอเอนเทคของเยอรมนี ที่ร่วมผลิตวัคซีนกับไฟเซอร์ของสหรัฐ แต่ครั้งนั้นเป็นการร่วมผลิตกับบริษัทฟอซันฟาร์มา 复星医药 ของจีน

    รายงานข่าวกล่าวว่า วัคซีนนี้มีคุณสมบัติเหมือนกับของไฟเซอร์ทุกประการ จนเรียกได้ว่าเป็น “คู่แฝด” โดยอู๋อี่ฟัง CEO ของฟอซันฟาร์มา เปิดเผยว่า ขณะนี้วัคซีน Comirnaty เสร็จสิ้นการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญแล้ว และกำลังยื่นขออนุมัติใช้งานกับทางการจีน

    ในระหว่างนี้ไบโอเอนเทคได้เริ่มติดตั้งสายการผลิตที่โรงงานในเซี่ยงไฮ้ และคาดว่าจะเริ่มทำการผลิตได้ภายในสิ้นเดือนสิงหาคม โรงงานแห่งนี้มีกำลังการผลิตวัคซีน 1,000 ล้านโดสต่อปีภายในสิ้นปีนี้ และหากพ่วงการผลิตของโรงงานอื่น ๆ ในเครือฝอซันจะขยายการผลิตได้เป็น 100-200 ล้านโดสต่อเดือน

    รัฐบาลจีนมีแผนจะใช้วัคซีน mRNA ตัวนี้ฉีดเป็นเข็มกระตุ้นให้กับประชาชนที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคและซิโนฟาร์มไปก่อนหน้านี้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

    มหาวิทยาลัยในจีนและฮ่องกงยังศึกษาการผสมวัคซีน 2 ชนิด คือComirnaty กับซิโนแวค พบว่าเพิ่มภูมิคุ้นกันได้เป็นอย่างดี

    ในประเทศจีนแทบไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศต่อเนื่องมานานแล้ว การควบคุมโรคของจีนไม่ได้พึ่งพาวัคซีนเพียงอย่างเดียว แต่ใช้การตรวจหาเชื้ออย่างรวดเร็ว ครอบคลุม ทั่วถึง และใช้เทคโนโลยีเพื่อจำกัดเส้นทางการระบาด

    ขณะนี้จีนฉีดวัคซีนแล้วกว่า 1,400 ล้านโดส ครอบคลุมประชากรกว่าครึ่งประเทศ แต่การระบาดของเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ ทำให้ทางการต้องเร่งการฉีดวัคซีนมากขึ้นอีก คาดว่าจีนจะฉีดวัคซีนให้ประชากรได้อย่างน้อยร้อยละ 70 ภายในสิ้นปี 2564 และฉีดวัคซีนให้ทุกคนที่ต้องการเสร็จสิ้นภายในต้นปี 2565

    https://mgronline.com/china/detail/9640000069429

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Jul 22, 2021 ด่วน! ไทยติดเชื้อรายใหม่ 13,655 ราย มากสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ ตาย 87 ราย เตรียมแซงประเทศโบลิเวียในวันพรุ่งนี้

    วันนี้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่พุ่งทะยานถึง 13,655 ราย ไม่เพียงทำสถิติติดเชื้อรายวันสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หรือนับตั้งแต่ติดเชื้อในประเทศไทยเป็นต้นมา แต่ยังทำสถิติเป็นวันที่ 6 ที่ไทยติดเชื้อรายวันเกินกว่า 10,000 ราย สำหรับจำนวนผู้ติดเชื้อ 13,655 รายนั้น ซึ่งพุ่งทะยานถึง 653 รายจากเมื่อวานนี้(21) ส่งผลจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมพุ่งเป็น 453,132 ราย ขยับเพิ่มขึ้น 1 อันดับโลก โดยแซงประเทศปารากวัย ขึ้นมาอยู่อันดับที่ 50 ของโลก

    สำหรับสถิติเดิมเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน 9,635 ราย ในวันนั้นนับเป็นสถิติติดรายวันมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และเป็นครั้งแรกที่เกินกว่า 9,000 ราย

    สำหรับจำนวนติดเชื้อ 13,655 ราย ประกอบด้วย ยอดติดรายวัน 13,644 ราย หรือ 96% ทำสถิติยอดติดเชื้อรายวันที่อยู่นอกเรือนจำมากสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ ส่วนยอดผู้ติดเชื้อรายวันในเรือนจำมี 545 ราย หรือ 4% ของจำนวนติดรายวันทั้งหมด และติดจากต่างประเทศจำนวน 11 ราย

    ส่วนยอดเสียชีวิตโควิด-19 รายใหม่จำนวน 87 ราย ยอดเสียชีวิตรายใหม่ดังกล่าวลดลง 21 รายจากเมื่อวานนี้(21) ขณะที่ ยอดเสียชีวิตสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 3,697 ราย

    ขณะนี้ 22 กรกฎาคม 2564 ไทยซึ่งอยู่ในอันดับที่ 50 ของโลก มีผู้ติดเชื้อสะสมห่างจากประเทศโบลิเวียซึ่งอยู่ในอันดับที่ 49 จำนวน 11,045 ราย ประเทศไทยจะขยับขึ้นแซงประเทศโบลิเวียขึ้นมาอยู่อันดับที่ 49 ของโลกภายในวันพรุ่งนี้ที่ 23 กรกฎาคม 2564

    #โควิดวันนี้ #โควิด19 #โควิด19เราต้องรอด #กรุงเทพ #ศบค #BTimes
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ผมลองเอาค่าตัวเลขของ Sinovac มารวมกับเพื่อนๆคนอื่นๆครับ จะเห็นการเปรียบเทียบที่ชัดขึ้น เรื่องตัวเลขของใครตรงหรือไม่ตรงคงไม่วิพากษ์วิจารณ์ครับ แต่จากข้อมูลนี้อาจดูขัดจากข้อเท็จจริงไปมากสักหน่อย เราไม่ต้องรอ AZ แล้วหรือครับ?

    ที่มาของกราฟ
    https://www.nejm.org/doi/full/10.10...SC9gy2aMx50eWG1HMGSLuN5wfNu7yQS0KmWN6uKFlFWn0

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Jul 22, 2021 นิวไฮลาว! สปป.ลาวฉีดวัคซีนครบ 2 โดสมั่นใจแตะ 50% ของคนทั้งประเทศปีนี้ ยอดติดโควิด-19 รายใหม่พุ่ง 256 มากสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่

    นายกรัฐมนตรีสปป.ลาว นายพันคำ วิพาวัน กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลเร่งฉีดวัคซีนครบทั้ง 2 โดสให้ประชาชนขาวสปป.ลาวได้ถึง 27% ของประชาชนทั้งประเทศ หลังจากที่สปป.ลาวได้รับวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ยี่ห้อจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน จำนวน 1,008,000 โดสจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเมื่อต้านสัปดาห์นี้ จะทำให้จำนวนผู้ได้รับการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านคนเศษ ดังนั้น จำนวนประชาชนที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสจะมีสัดส่วนเพิ่มเป็น 40% ของประชาชนทั้งประเทศสปป.ลาว นายกรัฐมนตรีสปป.ลาว มั่นใจและยืนยันว่า สปป.ลาว จะบรรลุเป้าหมายการฉีดวัคซีนให้ถึง 50% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศในปีนี้

    ด้านกระทรวงสาธารณสุข สปป.ลาว เปิดเผยว่า จำนวนผู้ติดโรคโควิด-19 ในรอบ 24 ชั่วโมงถึงวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 พบว่ามีจำนวนผู้ติดโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้น 256 ราย ไม่เพียงทำสถิติจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หรือนับตั้งแต่เกิดการระบาดในประเทศเป็นต้นมา แต่ที่สำคัญ ยังเป็นวันแรกที่มีผู้ติดเชื้อรายวันมากกว่า 200 รายขึ้นไป ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมพุ่งเป็น 4,119 ราย ทำสถิติเป็นวันแรกที่สปป.ลาวมียอดติดเชื้อสะสมแตะ 4,000 ราย ขณะนี้ สปป.ลาว อยู่อันดับที่ 181 ของโลก และอยู่อันดับที่ 10 ของอาเซียน ขณะที่ไม่พบจำนวนผู้เสียชีวิตรายใหม่ ส่งผลยอดเสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 5 ราย เป็นอันดับที่ 10 ในอาเซียน

    สาเหตุสำคัญของการกลับมาระบาดครั้งใหม่นับตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่าแรงงานชาวลาวเดินทางกลับจากประเทศไทยซึ่งติดโรคระบาดโควิด-19 เป็นจำนวนมาก ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ตรวจพบที่สะหวันนะเขต 128 ราย และเป็นวันแรกที่มีผู้ติดเชื้อเกินกว่า 100 รายที่สะหวันนะเขต โดยทั้งหมดแรงงานชาวสปป.ลาวที่เดินทางกลับจากประเทศไทย จำปาสัก 85 ราย ในจำนวนดังกล่าวมี 83 รายเป็นแรงงานสปป.ลาวกลับจากประเทศไทย สาละวัน 16 ราย คำม่วน 14 ราย และนครหลวงเวียงจันทน์ 13 ราย

    ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข สปป.ลาว เปิดเผยว่า จำนวนประชาชนชาวสปป.ลาวที่เดินทางกลับจากประเทศ จะมีถึง 15% ที่ติดโรคระบาดโควิด-19 จากประเทศไทย ที่สำคัญในกลุ่มผู้ติดเชื้อ 15% ดังกล่าวยังพบว่ามีถึง 85% ติดโรคระบาดโควิด-19 สายพันธ์ุเดลต้า หรืออินเดีย

    #ลาว #ไฟเซอร์ #จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน #สักยา #อาเซียน #โควิด19 #covid19 #btimes #วัคซีนโควิด19

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Jul 22,2021 ไม่ไหวแล้ว! สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยเสนอรัฐอุ้ม! สินเชื่อ Soft Loan 100,000 ล้าน พักต้นพักดอก เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs
    .
    นายแสงชัย ธีรกลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ออกแถลงการณ์เสนอแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการ และแรงงานในกลุ่มเอสเอ็มอี จากที่รัฐได้ประกาศล็อคดาวน์ ทางผู้ประกอบการเอสเอ็มอีพร้อมปฏิบัติตาม แต่ขณะเดียวกันได้ส่งผลกระทบต่อเอสเอ็มอีในวงกว้างทั้งเรื่องนี้สิน การเลิกจ้าง การปิดกิจการ การฟ้องร้อง รวมถึงการถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด
    .
    ที่ประชุมสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จึงได้มีมติเสนอ 6 มาตรการแก่รัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย ให้พักต้นและพักดอก เป็นเวลา 6 เดือน และหยุดคิดดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาการพักต้น ให้ลดดอกเบี้ยเงินกู้จาก 5% เหลือ 4% คงที่นาน 2 ปี และอนุมัติสินเชื่อ Soft Loan 1 แสนล้าน ให้กู้ไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยไม่นำงบมาเป็นเกณฑ์วิเคราะห์ในการให้สินเชื่อ ยกเว้นตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร 2 ปี และให้เร่งผลักดันกองทุนพัฒนาวิสาหกิจ และกองทุนฟื้นฟู NPL ซึ่งปัจจุบันมีเอสเอ็มอี ติดกับดักทางการเงินเป็น NPL กว่า 241,734 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.34 ของวงเงินสินเชื่อทั้งระบบ
    .
    ทั้งนี้หากการแพร่ระบาดโควิด-19 ยืดเยื้อถึงเดือน ส.ค. 64 และยังมีการสั่งล็อคดาวน์ โดยไม่มีมาตการช่วยเหลือเอสเอ็มอี อาจทำให้เอสเอ็มอีที่มีอยู่กว่า 3 ล้านราย เหลืออยู่รอดได้ ไม่ถึง 0.5% เท่านั้น

    #เอสเอ็มอี #ล็อคดาวน์ #สินเชื่อSoftLoan #เครดิตบูโร #กองทุน #Btimes

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Jul 22, 2021 ถังแตกนะ! วิทยุการบินช็อตสภาพคล่อง ไม่สามารถช่วยเหลือ 7 สายการบินในไทย

    นายทินกร ชูวงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ รักษาการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บวท. ชี้แจงถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ต่อเนื่องมานับตั้งแต่ต้นปี 2563 และมีแนวโน้มการระบาดที่รุนแรงขึ้น ซึ่งทำให้ภาครัฐต้องดำเนินการเพื่อควบคุมการระบาดอย่างรัดกุม โดยได้ออกมาตรการในการเดินทางอย่างเข้มงวด ส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารและปริมาณเที่ยวบินทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศลดลงเป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการธุรกิจการบิน รวมถึงหน่วยงานด้านธุรกิจการบินในประเทศ ต่างประสบปัญหาภาวะวิกฤติทางการเงิน โดยที่ผ่านมา บวท. ได้ให้ความร่วมมือภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือสายการบินที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด -19 ตามมติคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ดังนี้

    • มีนาคม – กันยายน 2563 บวท. ได้ยกเว้นค่าปรับจากการชำระล่าช้าของสายการบินผู้ถือหุ้นสำหรับค่าบริการควบคุมจราจรทางอากาศ และกลุ่มลูกค้าธุรกิจการบินสำหรับค่าเช่าและค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์สื่อสาร ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 24 ล้านบาท

    • เมษายน - ธันวาคม 2563 ได้ปรับลดค่าบริการการเดินอากาศลง 50% สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ และ 20% สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 500 ล้านบาท

    • มกราคม – มิถุนายน 2564 บวท. เรียกเก็บค่าบริการสำหรับเที่ยวบินทั้งในและต่างประเทศเต็มจำนวน โดยเรียกเก็บเพียง 50% ก่อน และขยายเวลาชำระหนี้ในส่วนที่เหลืออีก 50% ออกไปเป็นระยะเวลา 6 รอบบิล ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของ บวท. ด้วยเช่นกัน

    บวท. ได้ให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือผู้ประกอบการสายการบินอย่างเต็มกำลังความสามารถ ภายใต้สภาพคล่องที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยปัจจุบัน บวท. เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง

    เนื่องจากรายได้หลักของ บวท. มาจากการให้บริการการเดินอากาศ เมื่อปริมาณเที่ยวบินลดลงอย่างต่อเนื่อง รายได้จึงลดลงเช่นกัน ทั้งนี้แม้ว่า บวท. จะมีมาตรการปรับลดค่าใช้จ่ายในองค์กร ที่ไม่กระทบต่อภาคความปลอดภัยในการให้บริการแล้วก็ตาม แต่รายได้ก็ยังคงไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

    เมื่อดูจากสถิติการให้บริการจราจรทางอากาศเที่ยวบินพาณิชย์ ที่ทำการบินเข้า-ออก ผ่านน่านฟ้าไทย ตั้งแต่ ตุลาคม 2563 - มิถุนายน 2564 มีปริมาณเที่ยวบินลดลงร้อยละ 56 และหากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวของปี 2562 ก่อนสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ปริมาณเที่ยวบินลดลงสูงถึงร้อยละ 72

    จากตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้รายได้ของ บวท. ลดลงเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ บวท. ได้คาดการณ์ปริมาณเที่ยวบินในปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) ว่าจะมีปริมาณเที่ยวบินลดลงจากปี 2563 ถึงร้อยละ 56

    ทำให้ปี 2564 บวท. จะมีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายกว่า 6,600 ล้านบาท และจากสถานการณ์การระบาดที่ยังคงรุนแรงต่อเนื่อง บวท. คาดการณ์ว่าจะส่งผลกระทบไปถึงปี 2565 ประกอบกับสายการบินมีการชำระหนี้เฉลี่ยเพียงร้อยละ 52 ของหนี้ที่ครบกำหนดชำระ

    จึงทำให้ ปัจจุบัน บวท. ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องเช่นกัน บวท. จึงไม่มีความสามารถให้ความช่วยเหลือสายการบินตามมาตรการช่วยเหลือต่อไปได้ โดย บวท. จำเป็นต้องจัดหาแหล่งเงินกู้ระยะสั้นเพิ่มเติม เพื่อเสริมสภาพคล่องในปี 2564 - 2565 ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ตามกรอบแผนบริหารหนี้ที่ได้รับอนุมัติ

    ทั้งนี้ ตามมติ กบร. ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ปัจจุบัน บวท.อยู่ระหว่างรอความชัดเจนเรื่องการขอรับเงินสนับสนุนรัฐวิสาหกิจ (Public Service Obligation: PSO) เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ในขณะเดียวกัน บวท. ยังคงดำเนินการตามมาตรการควบคุมค่าใช้จ่าย และรักษาวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้

    #สายการบิน #วิทยุการบิน #เที่ยวบิน #ล็อกดาวน์ #โควิด19 #covid19 #เดินทาง #Btimes

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Jul 22, 2021 ไม่ถึง 1%! ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์หั่นเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือโต 0.9% หดมากถึง 1% ต้องรอ 8 เดือนถึงจะเห็นติดเชื้อเหลือวันละ 100 คน ทุบมูลค่าเอกชนบริโภคกว่า 700,000 ล้านบาท

    EIC ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจปี 2021 ลงจากเดิม 1.9% มาอยู่ที่ 0.9% เป็นผลจากการระบาดของ COVID-19 ในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและขยายตัวในวงกว้าง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคค่อนข้างมาก ทั้งจากมาตรการล็อกดาวน์ ความกังวลของประชาชนในการใช้จ่ายภายใต้ความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น และแผลเป็นเศรษฐกิจไทยที่ลึกขึ้น ขณะที่เม็ดเงินช่วยเหลือจากภาครัฐที่ออกมายังไม่เพียงพอและทั่วถึง จึงช่วยบรรเทาผลกระทบได้เพียงบางส่วนเท่านั้น

    EIC มองการบริโภคภาคเอกชนจะถูกกระทบค่อนข้างรุนแรงในช่วงไตรมาสที่ 3 ก่อนฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ในช่วงปลายปี โดยการระบาดในประเทศที่อยู่ในภาวะวิกฤติ สะท้อนจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน ผู้ป่วยอาการหนัก และผู้เสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการฉีดวัคซีนที่มีความล่าช้ากว่าแผน และมีประสิทธิภาพน้อยลงในการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าที่มีอัตราการแพร่ระบาดสูง จึงทำให้ EIC คาดว่าจะต้องใช้เวลาถึงช่วงสิ้นเดือนพฤศจิกายนที่จำนวนผู้ติดเชื้อจะปรับลดลงต่ำกว่า 100 ราย/วัน ซึ่งใช้เวลากว่า 8 เดือนตั้งแต่มีการระบาดในเดือนเมษายน เดิมคาดการณ์เดิมใช้เวลาแค่ 4 เดือนในควบคุมโรคดังกล่าว

    โดยมีแนวโน้มสร้างความเสียหายต่อการบริโภคภาคเอกชนกว่า 7.7 แสนล้านบาท หรือราว 4.8% ของจีดีพีไทย ซึ่งมีสาเหตุหลักทั้งจากผลของมาตรการล็อกดาวน์ ความกังวลของประชาชนต่อการติดเชื้อ และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นมาก ตลอดจนรายได้ของผู้ประกอบการและแรงงานในหลายภาคธุรกิจที่จะปรับลดลงมาก แม้ภาคธุรกิจและผู้บริโภคบางส่วนจะหันไปใช้ธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบได้บางส่วน ทั้งนี้ผลกระทบของการระบาดที่ลากยาวจะทำให้แผลเป็นเศรษฐกิจมีโอกาสปรับลึกขึ้นอีก ทั้งในส่วนของการเปิดปิดกิจการที่แย่ลง ภาวะตลาดแรงงานที่เปราะบางมากขึ้น รวมถึงภาคครัวเรือนจะต้องแบกหนี้ครัวเรือนในระดับสูงและเผชิญกับภาวะของการมีหนี้สูงจนเป็นปัญหาต่อการใช้จ่ายในอนาคตเป็นเวลานานขึ้น ซึ่งแผลเป็นที่ลึกขึ้นจะเป็นอุปสรรคหลักต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป

    ด้านแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ยังเป็นการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง แต่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากการระบาดของ COVID-19 ที่อาจทำให้เกิดการสะดุดหยุดลงของกำลังภาคบริการ และในการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในภาพรวม แม้การค้าโลกจะปรับชะลอลงบ้าง แต่ยังขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีตามการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว สอดคล้องกับดัชนี Global PMI: Export orders และมูลค่าการส่งออกของประเทศในภูมิภาคที่ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ทำให้ EIC ยังคงคาดการณ์ส่งออกไทยที่ 15.0% ในปีนี้ แต่ต้องจับตาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะปัญหา supply disruption ที่เกิดจากการปิดโรงงานจากการระบาดทั้งในไทยและประเทศอื่น ๆ ที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตเดียวกับไทย ผลกระทบด้านอุปสงค์จากการระบาดในเศรษฐกิจประเทศอาเซียนที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย ตลอดจนการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ทำให้ค่าระวางเรือยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องและการขาดแคลนชิปที่อาจกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์

    สำหรับการท่องเที่ยวนั้น เปิดประเทศให้กับนักท่องเที่ยวต่างประเทศจะยังไม่สามารถช่วยฟื้นธุรกิจท่องเที่ยวได้มากนักในปีนี้ภายใต้ภาวะการระบาดที่รุนแรงขึ้น โดยการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวในโครงการนำร่องอย่าง ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ และสมุยพลัส จะมีข้อดีด้านการวางรากฐานโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อรองรับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในระยะต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องของกระบวนการตรวจคัดกรองนักท่องเที่ยว การจัดทำ vaccine passport และการสร้างความพร้อมของภาคธุรกิจในการฟื้นฟูเปิดกิจการรองรับนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี การเปิดรับนักท่องเที่ยวอาจจะยังไม่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาได้มากนักในปีนี้ เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ที่เป็นแหล่งนักท่องเที่ยวต่างชาติหลักของไทยยังมีนโยบายการเปิดเดินทางเข้าออกประเทศที่ค่อนข้างระมัดระวังจากความกังวลของการระบาดสายพันธุ์ใหม่ ประกอบกับสถานการณ์ระบาดในไทยที่ปรับแย่ลง ก็มีส่วนทำให้นักท่องเที่ยวกังวลที่จะเดินทางเข้าไทย จึงทำให้ EIC จึงปรับลดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้เหลือ 3 แสนคน จากเดิมที่คาดไว้ 4 แสนคน

    มาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการประคับประคองเศรษฐกิจและลดแผลเป็นทางเศรษฐกิจ แม้ภาครัฐจะพยายามออกมาตรการเยียวยาควบคู่ไปกับมาตรการล็อกดาวน์ อย่างไรก็ดี มาตรการภาครัฐที่ออกมาจนถึงปัจจุบันยังไม่เพียงพอทั้งในเชิงพื้นที่ ระยะเวลา และปริมาณเงินรวม กล่าวคือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกระจายไปยังทุกจังหวัดทั่วประเทศ สะท้อนจากการเดินทางและกิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับลงทุกจังหวัด แม้ไม่โดนล็อกดาวน์ เนื่องจากประชาชนมีความกังวลกับการติดเชื้อจึงลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจลง ขณะที่ระยะเวลาที่ได้รับผลกระทบก็มีแนวโน้มยาวนานอย่างน้อยในช่วงไตรมาสที่ 3 ดังนั้น มาตรการชดเชยรายได้แรงงานและผู้ประกอบการล่าสุดที่ครอบคลุมแค่จังหวัดที่โดนล็อกดาวน์และชดเชยเพียง 1 เดือน จึงไม่น่าเพียงพอที่จะชดเชยผลกระทบทางเศรษฐกิจในภาพรวมได้

    EIC คาดว่า ในกรณีฐาน ภาครัฐจะออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากปัจจุบันอย่างน้อยอีกราว 1.5 แสนล้านบาท รวมเป็นใช้เม็ดเงินจาก พรก. กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ราว 2 แสนล้านบาทในปีนี้ และภาครัฐอาจพิจารณาการใช้จ่ายเพิ่มเติมหากการระบาดยืดเยื้อกว่าที่คาด ทั้งนี้มาตรการที่ภาครัฐควรเร่งรัด ได้แก่ 1. มาตรการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการเร่งจัดหาและฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วและทั่วถึง การเพิ่มการเข้าถึงการตรวจหาเชื้อเพื่อแยกผู้ป่วยออกจากคนปกติ ตลอดจนการจัดหายา อุปกรณ์การแพทย์ สถานพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้น ในประเด็นการกระจายวัคซีน นอกเหนือจากกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มเปราะบางต่างๆ แล้ว ภาครัฐควรจัดสรรวัคซีนให้กับกลุ่มแรงงานในคลัสเตอร์โรงงานอุตสาหกรรมให้เพียงพอด้วย เพื่อป้องกันปัญหาการระบาดที่จะกลายเป็น supply disruption กระทบต่อห่วงโซ่การผลิตสำคัญทั้งการส่งออกและการอุปโภคในประเทศด้วย

    และ 2. มาตรการเยียวยาและฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ นอกจากเม็ดเงินเยียวยาที่ตรงจุด เพียงพอ และขยายเวลาออกไปอย่างน้อยในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งการระบาดน่าจะยังอยู่ในระดับสูง เพื่อช่วยประคับประคองการใช้จ่ายของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ภาครัฐควรมีมาตรการสนับสนุนสภาพคล่องและการจ้างงานของภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการว่างงานและการทำงานที่ต่ำกว่าศักยภาพในภาคนอกระบบที่อาจเพิ่มขึ้นในวงกว้าง ควบคู่กับการปรับทักษะแรงงาน และการส่งเสริม SMEs ให้สามารถปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทั้งด้านการผลิตและช่องทางการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการแข่งขันของแรงงานและธุรกิจในโลก New normal อีกด้วย

    #เศรษฐกิจ #ธุรกิจ #แรงงาน #ว่างงาน #สาธารณสุข #วัคซีนโควิด #ล็อกดาวน์ #ศูนย์วิจัยไทย #พาณิชย์ #Btimes

     

แชร์หน้านี้

Loading...