ติดอาวุธ "ตำรวจไทย" ไล่ล่าอาชญากรไซเบอร์

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 23 กันยายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    ติดอาวุธ "ตำรวจไทย" ไล่ล่าอาชญากรไซเบอร์

    Cyber crime หรือปัญหาอาชญากรรมบนโลกอินเทอร์เน็ต นับวันก็ยิ่งรุนแรงขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการโจมตีในรูปแบบของการปลอมแปลงอีเมล์ (E-mail spoofing) และสร้างเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกลวงให้เหยื่อหรือผู้รับอีเมล์เปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงินหรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ ร้ายแรงไปกว่านั้นยังมาเป็นรูปแบบของการแปลงหน้าตาให้เหมือนเว็บไซต์ของสถาบันการเงินการธนาคาร ซึ่งหลอกลวงได้ง่ายดาย ส่วนปัญหาที่รุนแรงที่สุดในปัจจุบัน คงเป็นบอตเน็ต Botnet ผู้ร้ายสามารถสั่งงานไวรัสจากการสั่งการระยะไกลและแฮกข้อมูลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งบนโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย

    ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้มีมูลค่ามหาศาลจนไม่สามารถประเมินเป็นตัวเลขได้

    ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อปัญหานี้ ตระหนักถึงผลร้ายที่เกิดขึ้น พยายามตั้งหน่วยงานกลางป้องกัน ปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ไปทั่วทุกมุมโลก หนึ่งในนั้นคือ สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย (ILEA) เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและอเมริกา เพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วทั้งโลกให้มีความรู้และมาตรฐานในการปราบปรามกับเหล่าอาชญากรรมที่มีความรู้และก่ออาชญากรรมที่รุนแรงขึ้น หนึ่งในหลักสูตรก็คือเรื่องการจัดการกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือ cyber crime

    โดยงานนี้ "ไมโครซอฟท์" ในฐานะผู้ผลิตซอตฟ์แวร์รายใหญ่ระดับโลกเข้าร่วมสนับสนุนโครงการอย่างเต็มที่ เพื่อให้ข้อมูลและอบรมความรู้ด้านเทคโนโลยีล่าสุดแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อใช้ในการติดตามและหาหลักฐานเอาผิดกับอาชญากรไซเบอร์

    ครูผู้ฝึกอบรมประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยสืบสวนของรัฐบาล หรือเอฟบีไอ หน่วยสืบราชการพิเศษ สภาคณะกรรมการแห่งยุโรป อัยการสากล และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคจากไมโครซอฟท์ เป็นต้น

    การอบรมครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจสำเร็จหลักสูตร 50 คน จาก 10 ประเทศ โดยเป็นนายตำรวจไทย 6 คน

    ด้าน พ.ต.ต.ดร.กฤษณะ พัฒนเจริญ เจ้าหน้าที่ประจำสถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กล่าวว่า การอบรมนอกจากจะได้รับความรู้และมุมมองใหม่ต่อปัญหาอาชญากรรมบนโลกอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังทำให้เกิดเครือข่ายตำรวจระหว่างประเทศที่ได้จากการฝึกอบรมร่วมกัน ทำให้ทำงานประสานกันได้รวดเร็วและง่ายขึ้น

    เนื่องจากสภาพปัญหาของอาชญากรรมบนไซเบอร์มักต้องเชื่อมโยงหลายประเทศ เช่น ผู้กระทำผิดอยู่ประเทศหนึ่ง เซิร์ฟเวอร์อยู่อีกประเทศหนึ่ง และผู้ถูกกระทำอยู่อีกประเทศหนึ่ง ทำให้การตามจับยาก หากไม่มีเครือข่ายระหว่างตำรวจของแต่ละประเทศก็จะติดตามได้ลำบาก

    "สภาพปัญหาที่ผ่านมาของประเทศไทย ในการแก้ไขปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์ คือ ความล่าช้าของการออกกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์, ความไม่เพียงพอของตำรวจไฮเทค ซึ่งปัจจุบันมีไม่ถึง 1,000 นาย ขณะที่มีคดีความเกิดขึ้นทุกวัน รวมถึงหลักเกณฑ์ในการรวบรวมหลักฐานและเอาความผิดระหว่างประเทศ ไม่เท่าเทียมกันอีกด้วย" พ.ต.ต.ดร.กฤษณะกล่าวและว่า

    แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนต้องประกอบด้วยหลายส่วน ตั้งแต่เรื่องการออกกฎหมายรองรับและการบังคับใช้กฎหมายต้องมีประสิทธิภาพ พร้อมๆ กับการให้ความรู้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล เจ้าหน้าที่ด้านไอที เพื่อป้องกันภัยก่อนเกิดปัญหา ซึ่งทุกหน่วยงานต้องทำไปด้วยกัน ไม่ใช่ตำรวจทำอย่างเดียว หากจะให้เห็นผลจริงต้องทำให้ครบวงจร



    ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ
    http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02com06210949&day=2006/09/21
     

แชร์หน้านี้

Loading...