ต่างชาติทึ่งฝีมือเณรร.ร.พระปริยัติสามัญฯ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 28 มกราคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    เมื่อวันที่ 28 ม.ค. ที่วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อ.ภูเพียง จ.น่าน มีการประกวดแข่งขันพัฒนาทักษะทางวิชาการโรงเรียนะระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ระดับประเทศ ครั้งที่ 11 โดยสมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) ในฐานะประธานกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา มีบัญชาให้พระเทพเวที (พล อาภากโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม รักษาการเจ้าคณะภาค 6 เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-29 ม.ค. โดยมีพระภิกษุสามเณรจากโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กว่า 2,500รูปจากทั่วประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน

    0b895e0b8b4e0b897e0b8b6e0b988e0b887e0b89de0b8b5e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b980e0b893e0b8a3e0b8a3-e0b8a3.jpg

    โดยนายณรงค์ ทรงอารมณ์ รักษาการผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวว่า การแข่งขันทักษะวิชาการประกอบด้วย การเรียงความแก้กระทู้ธรรม ตอบปัญหาบาลี การแข่งขันวิชาการตาม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การบรรยายธรรมเป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ การวาดภาพ การประกวดภาพยนต์สั้น แต่งบทกลอน การปั้นปฏิมากรรมลอยตัว การจัดขวดแก้ว โครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนได้นำความรู้มาทดสอบ เพื่อพัฒนา ยกระดับมาตรฐาน และเผยแพร่ผลงานของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาต่อไป

    ทั้งนี้นอกจากการแข่งขันทักษะทางวิชาการแล้ว ยังมีการจัดนิทรรศการผลงานของกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 6 โดยนิทรรศการที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก คือ นิทรรศการเครื่องเคลือบเวียงกาหลงของโรงเรียนวัดนองบัวพิทยา โดยพระครูโฆษิตสมณคุณ ผอ.โรงเรียนวัดหนองบัวพิทยา ต.เวียงกาหลง อ.เวียงปาเป้า จ.เชียงราย กล่าวว่า เครื่องเคลือบลายเวียงกาหลง เป็นลวดลายที่มีเอกลักษณ์ แต่ขาดการสานต่อ ทำให้กำลังจะสูญหายไป ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำหลักสูตรสอนทำเครื่องเคลือบเวียงกาหลงมาตั้งแต่ปี 2555 จนทำให้สามารถผลิตเครื่องเคลือบออกวางจำหน่ายนำรายได้เข้าสู่โรงเรียน ทั้งยังได้รับความสนใจจากชาวเยอรมนี สั่งซื้อไปทำเครื่องประดับเฉลี่ยเดือนละกว่า 3,000 ชิ้นด้วย นอกจากนี้นักเรียนยังนำความรู้ไปสอนชาวบ้าน ทำให้เครื่องเคลือบเวียงกาหลงกลายเป็นสินค้าโอทอปของต.เวียงกาหลงด้วย

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/education/754374
     

แชร์หน้านี้

Loading...