ต้นวงศ์แห่งคณะธรรมยุติกนิกาย

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 29 พฤศจิกายน 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody> <tr><td class="cattitle">ต้นวงศ์แห่งคณะธรรมยุติกนิกาย </td> <td class="itemsubsub">
    </td></tr></tbody></table>
    [​IMG] <table style="font-weight: bold; margin-bottom: 5px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td width="70">
    </td> <td>
    </td></tr></tbody></table> พระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ธรรมยุต” นั้น เป็นผลจากการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและการแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชอยู่

    ต้นวงศ์แห่งคณะธรรมยุติกนิกาย

    พระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ธรรมยุต” นั้น เป็นผลจากการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและการแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชอยู่ กล่าวคือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะเมื่องงทรงผนวชอยู่นั้น ได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉาน

    ทำให้ทรงมีพระวิจารญาณเกี่ยวกับฃวามเป็นมาของพระพุทธศาสนาและความประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นเหตุให้ทรงมีพระราชดำริในอันที่จะฟื้นฟูการสั่งสอนพระพุทธศาสนาและการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ตามที่ได้ทรงศึกษาและทรงพิจารณาสอบสวยจนเป็นที่แน่แก่พระราชหฤทัยว่าถูกต้องเป็นจริงอย่าง แล้วพระองค์ได้ทรงนำประพฤติปฏิบัติขึ้นก่อน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทรงเริ่มแก้ไขที่พระองฃ์เองเป็นอันดับแรกต่อมาเมื่อมีบุคคลอื่นเห็นชอบและนิยมตาม จึงได้มีผู้ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์ขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ จนเกิดเป็นพระสงฆ์หมู่หนึ่ง หรือนิกายหนึ่งที่ได้ชื่อในภายหลังว่า “ธรรมยุติกนิกาย” หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ธรรมยุต” อันมีความว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม หรือชอบด้วยธรรม หรือยุติตามธรรม ทั้งนี้ก็เพราะว่า พระสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่าข้อใดเป็นธรรมเป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ (คือคำสั่งสอนของพระศาสดา) แล้วปฏิบัติข้อนั้น เว้นข้อที่ไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัยไม่เป็นสัตถุสาสน์แม้จะเป็นอาจิณปฏิบัติ(ข้อปฏิบัติที่ประพฤติตามกันมาแต่ผิดพระธรรมวินัย) พระสงฆ์ธรรมยุติกนิกายเกิดขึ้นเมื่อทางตำนานท่านแสดงไว้ดังนี้

    (๑) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับเอาวินัยวงศ์ คือ ธรรมเนียมประพฤติปฏิบัติทางพระวินัยแบบรามัญมาเป็นข้อปฏิบัติเป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. ๑๑๘๗ ตรงกับ พ.ศ.๒๓๖๘ อันเป็นปีที่ ๒ แห่งการทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับเอาวินัยวงศ์แบบรามัญนิกายมาเป็นแบบปฏิบัตินั้นเป็นการเริ่มต้นแก้ไขการประพฤติปฏิบัติตามวินัยของพระองค์ซึ่งยังผลให้มีผู้ประพฤติปฏิบัติตามจนเกิดเป็นพระสงฆ์คณะหนึ่งในเวลาต่อมา

    (๒) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งเป็นพระเถระชั้นเดิมแห่งคณะธรรมยุตพระองค์หนึ่ง ทรงแสดงพระมติไว้ว่า “อันที่จริงคณะธรรมยุตค่อยเป็นมาโดยลำดับ ปีที่ออกหน้า ควรจะกำหนดว่าเป็นปีที่ ตั้งนั้น คือ ค.ศ. ๑๑๙๑ “ ปีนี้นั้น ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๒ อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชได้ ๖ พรรษา และเสด็จจากวัดมหาธาตุกับไปประทับ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงสะดวกในการที่จะปรับปรุงแก้ไข การประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยในส่วนพระองค์เองได้โดย สะดวกพระทัย เพราะการประทับอยู่ในวัดมหาธาตุอันเป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช และทรงเป็นพระราชอุปัชยาจารย์ของพระองค์ด้วยนั้น คง ทรงเห็นว่า ไม่เป็นการเหมาะสมที่จะพฤติปฏิบัติวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่แปลกจากธรรมเนียมปฏิบัติที่เคยเป็นมา ฉะนั้น การเสด็จกลับไปประทับที่วัดสมอรายจึงเท่ากับเป็นการเริ่มต้นการปรับปรุงแก้วไขวัตรปฏิบัติทรงพระธรรมวินัย ของพระองค์ พร้อมทั้งคณะศิษย์ซึ่งมีจำนานเพื่อขึ้นอย่างจริงจัง

    (๓) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแสดงพระมติไว้ตามที่ปรากฏในลายพระหัตถ์ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “วันพรุ่งนี้ (คือวัน ๑๑ มกราคม ) เป็นวันที่คณะธรรมยุตและวัดบวรนิเวศ ตั้งมาได้ครบ ๖๐ รอบปีบริบูรณ์” ตามความในลายพระหัตถ์ ดังกล่าวนี้ หมายความว่า ทรงถือเอาวันที่ ๑๑ มกราคม ร.ศ. ๕๕ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๙) อันเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากวัดสมอรายมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นวันตั้งคณะธรรมยุต และเป็นวันตั้งวัดบวรนิเวศวิหาร ตามความในพระราชประวัติแสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเริ่มปรับปรุงแก้ไขการประพฤติปฏิบัติ พระธรรมวินัยในส่วนพระองค์เพื่อให้ถูกต้องตามที่ได้ทรงศึกษาพิจารณามาตั้งแต่ทรงผนวชได้ ๒ พรรษา ขณะที่ยังประทับอยู่วัดมหาธาตุและเริ่มมีสหธรรมิกอื่นๆ นิยมปฏิบัติตามอย่างพระองค์ขึ้นบ้างแล้ว แต่ยังคงไม่มากนัก

    ครั้นปี พ.ศ. ๒๓๗๒ อันเป็นปีที่ทรงผนวชได้ ๖ พรรษา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะ มาถึงระยะนี้ คงมีภิกษุสามเณรที่นิยมการปฏิบัติตามอย่างพระองค์ และมาถวายตัวเป็นศิษย์มากขึ้น จึงได้เสด็จจากวัดมหาธาตุกลับไปประทับที่วัดสมอราย อันเป็นนอกกำแพงพระนครและเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี หรือป่า ที่มีชื่อยู่ในขณะนั้น ทั้งนี้ก็คงเพื่อความสะดวกพระทัยในอันที่พระองค์พร้อมทั้งคณะศิษย์จะได้ประพฤติปฏิบัติและบำเพ็ญกิจวัตรต่างๆ ทางพระธรรมวินัยที่เห็นว่าถูกว่าควรได้ตามประสงค์ แต่ศิษย์บางส่วนก็ยังคงอยู่ที่วัดมหาธาตุต่อมา

    แม้เมื่อเสด็จมาประทับที่วัดสมอรายแล้วการปรับปรุงแก้ไขวัตรปฏิบัติต่างๆ ในคณะของพระองค์ก็คงยังดำเนินไปได้ไม่ค่อยสะดวก นั้นเพราะพระองค์มิได้ทรงเป็นอธิบดีสงฆ์แห่งสำนักนั้น ฉะนั้น ในขณะเมื่อประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุก็ดี ที่วัดสมอรายก็ดี ธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ ที่พระองค์ได้ทรงพระราชดำริปรับปรุงแก้ไขขึ้นใหม่คงยังไม่ได้มีกำหนดเป็นรูปแบบที่ชัดเจนบริบูรณ์ ต่อเมื่อเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ แล้ว จึงปรากฏหลักฐานว่าทรงตั้งธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์ธรรมยุตขึ้นอย่างไรบ้าง ดังที่ปรากฏในตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นต้น

    โดยที่พระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย เกิดขึ้นจากผลของการแสวงหาความถูกต้องตามพระธรรมวินัย เริ่มแต่การทรงศึกษาสอบสวนของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดมาจนถึงการศึกษาสอบสวนของพระเถรานุเถระผู้เป็นบูรพาจารย์แห่งคณะธรรมยุตเป็นลำดับมา ดังนั้น ธรรมเนียมปฏิบัติของคณะสงฆ์ธรรมยุตในด้านต่างๆ จึงเกิดขึ้นเป็นลำดับมาตามลำดับกาล..
     

แชร์หน้านี้

Loading...