ต้องไม่พลาด ไหว้พระพุทธสิหิงค์ รับมงคลปี 2555 และงานพิธีวันคล้ายวันสวรรคตพระปิ่นเกล้า

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 8 มกราคม 2012.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระปางห้ามสมุทรองค์นี้มีความเป็นมาตามรายละเอียดแนบครับ..

    ภาพจิตรกรรมฝาผนังก็ได้รับการยอมรับว่างดงามมาก ภาพเหตุการณ์อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ก็อยู่ในรายละเอียดเช่นกัน

    โพสโดยคุณ:::เพชร:::


    [​IMG]
    [​IMG]


    [​IMG]
    รูปการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประวัติพระพุทธสิหิงค์

    [SIZE=+1][SIZE=+1] <dd>เป็น พระพุทธรูปหล่อหุ้มทอง ปางสมาธิ ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้ากรุงลังกาองค์หนึ่งได้สร้างขึ้นไว้ ต่อมาเจ้านครศรีธรรมราช ได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้มีผู้นำไปไว้ที่ เมืองกำแพงเพชร และที่เชียงราย เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานที่เชียงใหม่ พร้อมกับพระแก้วมรกต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๕ ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา ๑๐๕ ปี เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ชาวเชียงใหม่ซึ่งสมัยนั้นยังอยู่ข้างพม่า ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่</dd>[/SIZE]<dd>เมื่อ มณฑลพายัพได้กลับมาเป็นของไทย ในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท จึงได้โปรดให้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๘ โดยประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบวรราชวัง</dd>[/SIZE]


    -http://www1.mod.go.th/heritage/religion/pra/index02.htm-

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประวัติพระพุทธชินสีห์

    [SIZE=+1][SIZE=+1] <dd>สร้าง ขึ้นคราวเดียวกันกับพระพุทธชินราช และพระศาสดา เป็นพระพุทธรูปสำคัญพระองค์หนึ่งของหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารด้านเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกมาแต่ต้น ต่อมาพระวิหารชำรุดทรุดโทรมลง ขาดการปฏิสังขรณ์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒ โดยประดิษฐานไว้มุขหลังของพระอุโบสถที่เป็นจตุรมุข ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยเมื่อยังทรงผนวช และครองวัดบวรนิเวศวิหารอยู่ ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาเป็นพระประธานในพระอุโบสถ</dd>[/SIZE]<dd>พระ บาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคารพนับถือพระพุทธชินสีห์มาก ได้โปรดให้กะไหล่รัศมีองค์พระด้วยทองคำ ฝังพระเนตรฝังเพชรที่พระอุณาโลม แล้วปิดทองทั้งองค์พระ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๓ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๗ ได้โปรดให้หล่อฐานด้วยทองสัมฤทธิ์ ปิดทองใหม่ทั้งองค์พระและฐาน แล้วให้มีการสมโภช ๕ วัน</dd>[/SIZE]


    -http://www1.mod.go.th/heritage/religion/pra/index02.htm-

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ตำนานพระพุทธสิหิงค์


    1. หลักฐานในตำนาน
    ตำนานพระพุทธสิหิงค์ (สิหลพุทธรูปนิทาน) รจนาขึ้น เป็นภาษาบาลี โดยพระโพธิรังสีที่เชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. 1945 - 2000 มีความตอนหล่อพระพุทธรูปนี้ในเกาะลังกาว่า



    ครั้นพระพุทธรูปเบ้าเนื้อทองละลายหายมลทินแล้ว ก็เอาคีมใหญ่ เบ้านั้นไปเทในปากพิมพ์หุ่น
    ณ ขณะนั้นพระราชองค์หนึ่ง ทรงถือมีนทัณฑ์ (คงเป็นไม้รูปปลา) เสด็จไป ๆ มา ๆ อยู่ที่นั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นนายช่่างหล่อคนหนึ่ง ไม่สามารถจะทำตามพระอนุมัติของพระองค์ได้ ก็ทรงพระพิโรธ หวดด้วยไม้มีนทัณฑ์ ถูกนิ้วมือนายช่างนั้น (ให้ได้รับโทมนาการ) ด้วยนิมิตเหตุมีประการเท่านี้ พระพุทธรูปของพระสัพพัญญูเจ้า เมื่อหล่อสำเร็จแล้ว นิ้วพระหัตถ์ไม่บริสุทธิ์พิรุธไปน้ิวหนึ่ง เมื่อพระราชา ทั้งหลาย ได้ทอดพระเนตรเห็น ก็ปรึกษากันว่า เราทั้งหลายจักควรทำลาย นิ้วพระหัตถ์ที่ไม่บริสุทธิ์นั้นออกเสียด้วยเครื่องมือ แล้วจึงประกอบเนื้อทองคำสำริดอื่นเข้าไว้
    จึงพระอรหันต์เจ้าทั้ง หลายก็ทูลทัดไว้ว่า ไปภายหน้าพระพุทธรูปนี้ จะเสด็จไปชมพูทวีป เมื่อพระพุทธรูปจะไปนั้น ก็จะไปโดยสายน้ำ พัดทวนกระแสไปเหนือน้ำจนถึงที่สุดแดนน้ำในประเทศนั้น จนมีพระราชา องค์หนึ่ง ทรงพระศรัทธาอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธรูปนี้ และพระราชานั้น จะตัดนิ้วพระพุทธรูปนี้ออกเสีย แล้วทำให้บริสุทธิ์ดีขึ้น ก็เมื่อกาลใด พระพุทธศาสนาถ้วน 2000 ปีแล้ว พระเจ้าธรรมิกราช จะเกิดขึ้นในเกาะสีหฬ กษัตริย์จะเชิญพระพุทธรูปนี้ กลับมาในเมื่องนี้อีก มหาชนทั้งหลายมีพระราชาและพระยุพราชทั้งหลายเป็นประธาน ได้ฟังพระอรหันต์เจ้าทั้งหลายทำนายดังนี้แล้ว ต่าง ๆ ก็พากันชื่นชมยินดี จัดการขัดถู ทำให้พระพุทธรูปบริสุทธิ์สะอาดงามดี แล้วเชิญขึ้นตั้ง เหนือบัลลังก์อันประเสริฐ ประดิษฐานอยู่ ณ ท่ามกลางมณฑล แล้วก็จัดการบูชาด้วยเครื่องบูชาสักการ มีประทีป ธูปเทียน ของหอม ต่าง ๆ เป็นต้น แล้วทำมหกรรมการฉลองตลอด 7 ทิวาราตรีกาล ต่อมาตำนานกล่าวถึงการเสด็จพระพุทธรูปจากลังกาสู่ สิริธมฺมนคร (นครศรีธรรมราช ? หรือ สุธมฺมนคร/สะเธิม/Thaton ในเมืองมอญ ?) สุโขทัย อยุทธยา กำแพงเพชร จนรอดถึงแดน ล้านนา ของท้าวมาหพรหมราชา
    พระมหาพรหมราชเชิญพระพุทธสิหิงค์นั้น ไปสู่พระนครของพระองค์ แล้วก็จัดการมหกรรมสักการบูชา ให้ตั้งบัลลังก์พระกลางแม่น้ำอุรังคมาลี (ประดับตกแต่งเป็นอันดี ด้วยนานาบูชาสักการ) ด้วยราชานุภาพแล้ว เชิญพระพุทธสิหิงค์ให้ทรงนีสีทนาการ (นั่ง) แล้ว ส่วนพระองค์ ก็ยกประทีปขึ้นบูชาเหนือพระเศียรเกล้า ถ้วนครบ 7 วัน แล้วจึงเชิญเข้าสู่พระนคร จึงรับสั่งให้ช่างตัดนิ้วพระหัตถ์พระพุทธสิหิงค์ ที่พิรุธ (คือไม่สมบูรณ์ = นิ้วขาด) มาแต่เดิมนั้นออกเสีย แล้วปั้นหุ่นขี้ผึ้ง เทเบ้าด้วยเนื้อทองสำริดติดเข้าใหม่ ทำให้บริสุทธิ์ดีแล้ว เชิญขึ้นประดิษฐานไว้ในรุจนวิหาร
    ตำนานฯ ก็จบลงด้วยคำทำนายว่า
    เมื่อพระพุทธศาสนา ของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเราทั้งหลาย บรรจบครบจำนวนถ้วน 2000 พรรษาลงกาลเมื่อใด ในกาลนั้น ก็จะมีพระเจ้าธรรมิกราชพระองค์หนึ่งเกิดในสิหฬทวีป (คือเกาะลังกา) แล้วพระองค์ก็เชิญพระพุทธสิหิงค์พุทธรูป ไปประดิษฐานไว้ในชาติภูมิ ของพระพุทธสิหิงค์เจ้าในสีหฬทวีปตามเดิม คำทำนายนี้ พระปรัมปราจารย์ ได้อ้างว่า พระอรหันต์ 20 องค์ ได้พยากรณ์ไว้ เพราะเหตุนั้น พระสังคาหิกาจารย์ เพื่อจะสำแดงอรรถให้ชัดความ จึงกล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์เจ้า ได้เสด็จมาชมพูทวีปแต่กาลใด จะได้เสื่อมจากยศก็หาไม่ พระองค์ย่อมเป็นที่นับถือบูชายิ่ง ของพระเจ้าราชาธิราชด้วยบูชาวิเศษเป็นอันมาก ได้เสด็จไปเมืองเหนือ ถึงกลางแม่น้ำอุรังคมาลี แล้วกลับมาภายในเมือง แล้วมาเมืองเชียงใหม่นี้ ได้สำเร็จนิวาสวิหารอยู่ในกุลวาสวิหาร ซึ่งพระมหากษัตริย์เจ้า ได้สร้างอุทิศถวายภิกษุสงฆ์และประชุมชน ก็ได้ปฏิบัติบูชาด้วยอเนกบูชา- สักการ มีค่าอันประเสริฐ เราจึงกล่าวว่า พระสิหิงค์สุมพุทธรูป ทรงยศทรงเดชอันเลิศแล ฯ

    2. ปริศนาพระพุทธรูปองค์หนึ่งในลังกา
    ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงโคลัมโบ มีพระพุทธรูปสำริด องค์หนึ่ง เรียกว่า The Toluvila Image เพราะอ้างว่าพบที่วัด Toluvila ในกรุงอนุราธปุระ ปัญหามีว่า พระพุทธรูปองค์นี้ เป็น "สมบัติเดิม" ของพิพิธภัณฑ์ ไม่แจ้งว่าใครพบเมื่อไร ขุดพบจากใต้ดิน (อยู่ในไหหรือฝังดินเปล่า ๆ ?) หรือพบเหนือดิน ?
    พระพุทธรูป Toluvila นี้หล่อเป็นสำริดทึบ สูงทั้งหมด 31-32 เซนติเมตร ท่านมีพุทธลักษณะงดงามยิ่ง ตามคตินิยมลังกา คือ 1. นั่งสมาธิราบ 2. แสดงธยานิมุทรา 3. มีสังฆาฏิยาวลงมาถึงสะดือ 4. จีวรห่มเฉียง คลุมเพียงหัวเข่าให้เห็นสบงคลุมถึงข้อเท้า (ก็ดูคล้ายพระพุทธสิหิงค์ในวิหารพุทไธสวรรย์ กรุงเทพฯ ต่างกันที่จีวร ของเขา (ลังกา) มีริ้ว ของเราเรียบ)
    ว่าโดยสรุป พระพุทธรูป Toluvila เป็นปฏิมากรรม แบบ อนุราธปุระ แท้ ๆ มีการกะอายุต่าง ๆ กันตั้งแต่คริสต์ศตวรรษ 5-9 แต่ไม่ต้องสงสัยว่า ทำขึ้นในที่อื่นใดนอกจากลังกา
    สิ่งเดียวที่สะดุดตาคือ ที่ฐานบัวหงายด้านหลังมี "ห่วง" หรือ "กระบอก" (Socket) เนื้อโลหะสำหรับเสียบคันฉัตร และคันฉัตรนั้น มีลักษณะงอให้ตัวฉัตรตั้งอยู่เหนือเศียรพระพอดี
    ปัญหามีอยู่ว่า
    ก. ไม่เคยพบพระพุทธรูปองค์อื่นในลังกา ที่ติดห่วงรับฉัตร ด้านหลัง
    ข. เท่าที่สังเกต ตามประเพณีลังกา พม่า และเขมร (โบราณ) ถ้าจะถวายฉัตร ก็มักทำห้องลงมาจากข้างบน หรือตั้งข้างเคียง ทั้งนี้ เพราะถือว่า ฉัตร (และคันฉัตร) เป็นสัญลักษณ์ หลักโลก จึงงอไม่ได้
    ค. มีแต่คนในโลกไทย-ลาวเท่านั้น ที่ทำคันฉัตรงอ ทั้งนี้ เพราะเขาถือพระพุทธรูปเป็นหลักโลก จึงงอคันฉัตร ใ้ห้ตัวคันฉัตร ตั้งตรงเหนือองค์พระ
    ทั้งชวนให้สงสัยว่า พระพุทธรูป Toluvila อาาจะเป็น "พระพุทธสิหิงหค์" ที่อ้างถึงในตำนานของไทย คือพระองค์ เสด็จมาสยามประเทศแล้วได้รับการแก้ตำหนิที่พระหัตถ์ โดยท้าวมหาพรหมราชา ดังว่าในตำนาน นอกจากนี้ พระองค์ ยังได้รับถวายติดตั้งฉัตรตามคติไทย-ลาว แล้วเสด็จกลับลังกา ตรงตามที่ตำนานฯ "ทำนาย" ไว้


    [​IMG]
    พระพุทธรูป Toluvila ในศรีลังกา


    -http://allknowledges.tripod.com/buddhasihink.html-

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ตำนานพระพุทธสิหิงค์


    <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr><td colspan="2" bgcolor="#FFFFFF">
    เมื่อถึงวันสงกรานต์ครั้งใด กิจกรรมอย่างหนึ่งที่จะมีขึ้นทุกครั้งก็คือการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาเพื่อ ให้ประชาชนได้สักการะและสรงน้ำ เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะเคยได้ยินชื่อของพระพุทธสิหิงค์อยู่บ่อยๆ รวมทั้งอาจจะเคยได้มีโอกาสสรงน้ำท่านแล้ว โดยอาจไม่ทราบถึงความเป็นมาของท่านมาก่อน แต่มีคำกล่าวกันว่า นอกจากพระพุทธชินราชที่จังหวัดพิษณุโลกแล้ว จะหาพระพุทธรูปโบราณที่มีอยู่ในประเทศไทยที่มีความงดงามเทียบกับพระพุทธสิ หิงค์นั้นไม่มีเลย แสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปองค์นี้ย่อมต้องมีความงดงามเป็นอันมาก และความเป็นมาของท่านนั้นก็มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

    ตำนานของพระพุทธสิหิงค์นี้ มีผู้เรียบเรียงไว้หลายคน เช่น พระโพธิรังษี ปราชญ์เชียงใหม่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และหลวงวิจิตรวาทการ โดยได้เล่าประวัติไว้ว่า พระพุทธสิหิงค์นั้นสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 700 โดยพระมหากษัตริย์ลังกา 3 พระองค์ พร้อมกับพระอรหันต์ในเกาะลังกา

    เล่ากันว่า ในการสร้างนั้น ผู้สร้างตั้งใจจะให้พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปที่เหมือนองค์พระพุทธเจ้า จริงๆ จึงให้พญานาคที่เคยเห็นพระพุทธองค์แปลงกายมาเป็นแบบให้ ในขณะหล่อนั้น ช่างหล่อคนหนึ่งทำไม่ถูกพระทัยเจ้าองค์หนึ่ง จึงถูกหวดด้วยไม้ถูกนิ้วของช่างบาดเจ็บ ครั้นพอหล่อพระพุทธสิหิงค์เสร็จเรียบร้อย ปรากฏว่านิ้วของพระพุทธสิหิงค์มีรอยชำรุดไปนิ้วหนึ่งเช่นกัน

    พระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่ที่กรุงลังกาเป็นเวลาถึง 1,150 ปี และเมื่อถึงสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงได้ทราบถึงลักษณะที่งดงามของพระพุทธสิหิงค์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยานครศรีธรรมราชแต่งทูตเชิญพระราชสาสน์ไปขอประทานมาจากพระเจ้ากรุง ลังกา พระพุทธสิหิงค์จึงได้มาประดิษฐานที่กรุงสุโขทัยเป็นเวลา 70 ปี

    หลังจากนั้นพระพุทธสิหิงค์ก็ได้ย้ายไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ ในอาณาจักรไทย ไม่ว่าจะเป็นที่เมืองพิษณุโลก กรุงศรีอยุธยา เมืองกำแพงเพชร เมืองเชียงราย เมืองเชียงใหม่ จนเมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระพุทธสิหิงค์ได้มาประดิษฐานยังกรุงเทพเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2338 และได้ประดิษฐานอยู่ที่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์มาจนทุกวันนี้ หากจะนับเวลาตั้งแต่เมื่อครั้งที่อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากกรุงลงกามายัง สุโขทัย จนมาประดิษฐานอยู่ในกรุงเทพปัจจุบันนี้ก็เป็นเวลาถึง 698 ปี ทีเดียว

    สำหรับในประเทศไทย มีพระพุทธรูปที่มีนามว่าพระพุทธสิหิงค์อยู่ 3 องค์ด้วยกัน คือองค์ที่อยู่ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เป็นองค์ดั้งเดิมที่กล่าวถึงข้างต้น ส่วนอีก 2 องค์อยู่ที่หอพระสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ เชื่อว่าเป็นองค์จำลอง

    สำหรับธรรมเนียมปฏิบัติที่มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาให้ประชาชนได้ สักการะและสรงน้ำบริเวณท้องสนามหลวงนั้น ได้เริ่มมีขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2477 ในสมัยที่พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี และธรรมเนียมประเพณีนั้นก็ได้ปฏิบัติกันต่อมาจนถึงทุกวันนี้

    พระโพธิรังษี ปราชญ์เชียงใหม่ ได้กล่าวไว้ว่า พระพุทธสิหิงค์เสด็จประทับอยู่ในที่ใดๆ ย่อมทรงทำให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองดังดวงประทีป เหมือนหนึ่งว่าพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่” ส่วนหลวงวิจิตรวาทการกล่าวไว้ว่า “อานุภาพแห่งพระพุทธสิหิงค์สามารถบำบัดความทุกข์ร้อนในใจให้เหือดหาย ผู้ที่หมดมานะ ท้อถอย เมื่อได้มาสักการะ ดวงจิตที่เหี่ยวแห้งก็จะกลับสดชื่นและมีความเข้มแข็งขึ้น จิตที่หวาดกลัวก็กลับกล้าหาญ ดวงจิตที่เกียจคร้านก็จะมีวิริยะ ผู้หมดหวังก็จะมีกำลังใจขึ้นใหม่” ดังนั้นสำหรับในปีนี้ จึงขอเชิญทุกท่านมาร่วมสร้างสิริมงคลให้แก่ตนเองในวันสงกรานต์ ด้วยการสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ในวันที่ 13 เมษายนนี้ ณ ท้องสนามหลวง

    ข้อมูลจาก: ข่าววัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ​
    </td> </tr> <tr> <td>From : Fortune Stars</td> <td>
    </td></tr></tbody></table>

    -http://www.board.fortunestars.com/board.php?newsId=734-

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วัดบวรสถานสุทธาวาส
    (วัดในวัง สมัยรัตนโกสินทร์)


    [​IMG]

    เดิม ณ สถานที่นี้ ครั้ง ที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (กรมพระราชวังบวรในสมัยรัชกาลที่ 1) ทรงสถาปนา บริเวณนี้เป็นสวนที่ประพาส มีตำหนักสร้างไว้ในสวนนั้นหลังหนึ่ง ต่อมาทรงพระราชอุทิศให้เป็นบริเวณที่หลวงชีจำศีลภาวนา เหตุเพราะมารดาของนักองค์อี ธิดาสมเด็จพระอุไทยราชาพระเจ้ากรุงกัมพูชา ซึ่งเป็นสนมเอก ชื่อนักนางแม้น บวชเป็นรูปชี เรียกกันว่า นักชี เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ จึงโปรดให้มาอยู่ในพระบวรราชวังฯ กับพวกหลวงชีที่เป็นบริษัท ที่ตรงนั้นจึงเลยเรียกกันว่า“วัดหลวงชี” ต่อมาเมื่อกรม พระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสิ้นพระชนม์ลง กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ (กรมพระราชวังบวร ในรัชกาลที่ 2) ได้เข้าครอบครองพระบวรราชวัง ซึ่งขณะนั้น บริเวณวัดหลวงชีก็ไม่มีหลวงชีอยู่ดังแต่ก่อน กุฏิหลวงชีร้างชำรุดทรุดโทรมจึงโปรดให้รื้อกุฏิหลวงชีเสียหมด ทำที่นั้นเป็น สวนเลี้ยงกระต่าย (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพผู้ทรงรวบรวมประชุมพงศาวดาร กล่าวไว้ว่าแต่เดิมตรงนี้ก็เห็นจะเป็นสวนเลี้ยงกระต่าย เอาอย่างพระราชวังหลวงที่กรุงเก่าจึงปรากฏว่ามีตำหนักอยู่ในนั้น กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเห็นจะทรงพระราชอุทิศพระราชทานให้เป็นวัดหลวง ชีต่อภายหลัง)
    กรมพระราช วังบวรมหาเสนานุรักษ์ ครองวังหน้าอยู่ 8 ปี ประชวรเป็นพระยอดตรงที่ประทับ ให้ผ่าพระยอดนั้นเลยเกิดบาดพิษสิ้นพระชนม์ลง วังหน้าว่างอยู่ 7 ปีด้วยไม่ทรงตั้งพระมหาอุปราชมาจนตลอดรัชกาลที่ 2 เจ้านายฝ่ายในพระราชวังบวรฯ รัชกาลที่ 1 และ 2 เสด็จลงมาอยู่ตำหนักในพระราชวังหลวงหลายพระองค์ แต่พระองค์เจ้าดาราวดี พระราชธิดากรมพระราชวังบวรรัชกาลที่ 1 นั้น พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นศักดิ์พลเสพทูลขอไปเป็นพระชายา ดังนั้นจึงนับได้ว่าทรงเป็นพระราชบุตรเขยของกรมพระราชวังบวร ในรัชกาลที่ 1
    เมื่อพระ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ราชสมบัติ ทรงพระราชดำริว่า กรมหมื่นศักดิพลเสพ มีบำเหน็จความชอบมากทั้งยังทรงเป็นพระราชบุตรเขย กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พ้นข้อรังเกียจที่กล่าวกันว่าทรงแช่งสาปไว้แต่ก่อน จึงโปรดให้เสด็จไปเฉลิมพระราชมณเฑียรประทับอยู่ในพระราชวังบวร ได้ทำการพระราชพิธีอุปราชาภิเษก เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 แรม 6 ค่ำ
    กรมพระราชวัง บวรมหาศักดิพลเสพ ได้ทรงสถาปนาการในพระราชวังบวรฯ หลายอย่าง สิ่งสำคัญที่ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ คือวัดบวรสถานสุทธาวาส ซึ่งเรียกกันเป็นสามัญว่า วัดพระแก้ววังหน้า เพราะอยู่ในวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง
    ทรงอุทิศสวน กระต่ายเดิม สร้างวัดถวายเป็นพุทธบูชา เหตุที่จะสร้าง เล่ากันมาหลายประการ เป็นต้นว่าทรงสร้างแก้บนครั้งเสด็จยกกองทัพไปปราบกบฏเวียงจันทน์ (เจ้าอนุวงศ์) และเล่ากันอีกอย่างหนึ่งว่า แต่เดิมจะทรงสร้างเป็นยอดปราสาทจนปรุงตัวไม้แล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบมีรับสั่งห้ามว่าในพระราชวังบวรฯ ไม่มีธรรมเนียมที่จะมีปราสาท กล่าวกันว่าเป็นเหตุให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพน้อยพระทัยมาก จึงโปรดให้แก้เป็นหลังคาจตุรมุขอย่างเช่นปรากฏอยู่ทุกวันนี้
    รูปแบบเครื่องไม้ ที่เป็นเครื่องยอดประสาท อาทิ นาคปัก นาคเบือน ยังเป็นตัวไม้ที่ใช้เป็นแบบอย่าง แม้ในการบูรณะยุคปัจจุบัน ก็ยังคงรักษาไว้ ส่วนเครื่องยอดปราสาทนั้นโปรดให้ไปสร้างมณฑปถวายไว้ที่วัดมหาธาตุฯ ภายหลังเกิดเพลิงไหม้แก้ไขเป็นรูปวิมาน (ทรงหลังคา) ตามที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
    กรมพระราชวัง บวรมหาศักดิพลเสพ ทรงสร้างวัดบวรสถานสุทธาวาสโดยประณีตบรรจง ทรงเสาะหาพระพุทธรูปที่เป็นงามของแปลกและเครื่องศิลาโบราณต่าง ๆ มาตกแต่ง พระเจดีย์ก็ถ่ายแบบเจดีย์สำคัญ เช่น พระธาตุพนม เป็นต้น มาสร้างหลายองค์ แต่การสร้างวัดบวรสถานสุทธาวาสไม่ทันแล้วสำเร็จ ที่เล่ากันมาเป็นแน่นอนนั้น ว่า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงสร้างพระพุทธรูปยืนองค์หนึ่ง สำหรับประดิษฐานที่ในพระอุโบสถ ยังไม่ทันแล้วพอประชวรหนักใกล้จะสวรรคตจึงทรงจบพระหัตถ์ผ้าห่ม ประทานพระองค์เจ้าดาราวดีไว้ดำรัสสั่งว่า ต่อไปท่านใดเป็นใหญ่ได้ทรงบูรณะวัดนั้นให้ถวายผ้าผืนนี้ ทูลขอให้ช่วยทรงพระให้ด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับผ้าผืนนั้น ทรงพระพุทธรูปถวายสมดังพระราชอุทิศของกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ในกาลต่อมา
    มพระราชวัง บวรมหาศักดิพลเสพ ดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราชอยู่ 8 ปี ประชวรพระโรคมานน้ำสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2375 พระชมมายุได้ 48 พรรษา วังหน้าทิ้งว่างอยู่อีก 18 ปี
    พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเสวยราชสมบัติ โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจุฑามณีกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระมหาอุปราช แต่ให้พระเกียรติยศเป็นอย่างพระเจ้าแผ่นดิน เสมือนเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกย่องสมเด็จพระเอกาทศรถ
    พระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงต้องบูรณะพระบวรราชวังเป็นการใหญ่ เพราะสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ชำรุดทรุดโทรมไปมาก ในส่วนของวัดบวรสถานสุทธาวาส พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริจะเชิญพระพุทธสิหิงค์ ไปประดิษฐานเป็นประธานในพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส เช่นเดียวกับพระแก้วมรกตเป็นประธานในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง โปรดให้ก่อฐานชุกชีที่จะตั้งบุษบกกลางพระอุโบสถ (ฐานนี้ได้รื้อออกในคราวบูรณะราวปี พ.ศ. 2507-2509) ฝาผนังในระดับหน้าต่างเขียนเรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ ส่วนด้านบนเขียนภาพพุทธประวัติ บานหน้าต่าง-ประตูเขียนรูปเทพเจ้าต่าง ๆ แต่การค้างอยู่จนสิ้นรัชกาลที่ 4 จึงหาได้เชิญพระพุทธสิหิงค์ไปไม่
    ถึงรัชกาลพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงรับตำแหน่งวังหน้า ครั้นสิ้นพระชนม์แล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราช ทรงปรับปรุงพระบวรราชวัง โปรดให้รื้อกำแพงพระบวรราชวังด้านหน้าปรับปรุงเป็นสนามหลวง
    ในส่วนของ วัดบวรสถานสุทธาวาส โปรดให้แต่งพระอุโบสถเป็นพระเมรุพิมาน ที่ประดิษฐานพระบรมศพเวลาสมโภช และทรงบำเพ็ญพระราชกุศล แทนพระเมรุใหญ่ท้องสนามหลวงอย่างแต่ก่อน ปลูกพระเมรุน้อยที่พระราชทานเพลิง ต่อออกมาข้างเหนือ จึงเปลี่ยนนามเรียกว่า พระเมรุพิมาน” โปรดให้ทำการพระศพสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวเรศวริยาลงกรณ์ พระบรมราชอุปัชฌายาจารย์ก่อน ตามด้วยงานพระบรมศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
    ต่อมางานพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์และเจ้าฟ้าศิราภรณโสภณ งานพระศพสมเด็จพระมาดามไหยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักพรรดิพงษ์ ซึ่งเป็นงานพระบรมศพและพระศพในปีเดียวกันนั้น ซึ่งประดิษฐานพระบรมศพ พระศพในพระเมรุพิมานนี้
    หลังจากนั้น บริเวณวัดบวรสถานสุทธาวาส ก็ได้ทิ้งร้างชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งคือ บริเวณพระวิมานทั้งหมด รวมทั้ง วัดบวรสถานสุทธาวาส เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำหรับพระนคร ในปี พ.ศ. 2477 จึงได้ก่อตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางค์ขึ้น และพัฒนาเสมอมา เป็นโรงเรียนนาฏศิลปกรมศิลปากร และวิทยาลัยนาฏศิลปกรุงเทพในที่สุด

    (ปรเมษฐ์ บุณยะชัย 2542:5-7)
    ปรเมษฐ์ บุณยะชัย. “วัดบวรสถานสุทธาวาส.” วารสารวังหน้า. 2,3 (ประจำภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2542) : 5-8.

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .



    สักการะ 9 สิ่งมงคล ในงานสมโภช 175 ปี วัดบวรนิเวศวิหาร <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">6 มกราคม 2555 13:55 น.</td> </tr></tbody></table>

    [​IMG] <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="300"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="300"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา พระประธานในอุโบสถวัดบวรนิเวศฯ</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> วัด บวรนิเวศวิหารเตรียมจัด “งานสมโภช 175 ปี วัดบวรนิเวศวิหาร” ชวนประชาชนร่วมสร้างกุศลเสริมสิริมงคลรับปีพุทธศักราชใหม่ 2555 บูชาสักการะพระพุทธรูปสำคัญของชาติ และสิ่งมงคลคู่แผ่นดินภายในวัดบวรนิเวศวิหารทั้ง 9 แห่ง ร่วมพิธีสมโภชพระเกศรัศมีทองคำลงยาราชาวดีพระพุทธชินสีห์ ร่วมเขียนบัตรถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมชมการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงและการแสดงพื้นบ้านต่าง 11-14 ม.ค. นี้

    ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการโครงการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า คณะกรรมการวัดบวรนิเวศวิหาร และคณะกรรมการโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ เตรียมจัดงานสมโภช 175 ปี วัดบวรนิเวศวิหาร หลังจากได้ได้ดำเนินการบูรณะแล้วเสร็จสมบูรณ์ และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

    ในพิธีงานสมโภช 175 ปี วัดบวรนิเวศวิหารนี้ คณะกรรมการวัดบวรนิเวศวิหาร และคณะกรรมการโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารได้ขอพระราชทานทูลเชิญ เสด็จ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชพระรัศมีทองคำลองยาราชาวดีพระ พุทธชินสีห์ และทรงสมโภชพระอาราม ในวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2555 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

    ด้านนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและอดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณากลั่นกรองรูปแบบการจัดงานสมโภช 157 ปี วัดบวรนิเวศวิหารกล่าวว่า ในงานสมโภชครั้งนี้ ได้มีการจัดกิจกรรมที่สำคัญขึ้นภายในและบริเวณโดยรอบวัดบวรนิเวศวิหาร โดยภายในเขตพุทธาวาสนั้น ได้เปิดสถานที่สำคัญให้พุทธศาสนิกชนได้ร่วมบูชาพระพุทธรูปสำคัญของชาติ และสิ่งมงคลสักการะ ทั้ง 9 แห่ง เพื่อความเป็นสิริมงคลต้อนรับปีใหม่พุทธศักราช 2555 ประกอบด้วย 1.ไหว้พระคู่บวร ณ พระอุโบสถ 2.ขอพรพระบรมสารีริกธาตุ บูชาพระไพรีพินาศ ณ พระเจดีย์ 3.อภิวาทพระศรีศาสดา ณ พระวิหารพระศาสดา 4.วันทาพระพุทธรูปคู่พระบารมีฯ ณ พระวิหารเก๋ง 5.บูชาพระพุทธรูปศิลา ณ โพธิฆระ 6.ไหว้พระพุทธรูปปางลีลา ณ ศาลาการเปรียญ 7.สักการะรอยพระพุทธบาทโบราณ ณ ศาลาพระพุทธบาท 8.ไหว้พระพุทธรูปโบราณที่ซุ้มปรางค์ (ด้านซ้าย) ข้างพระอุโบสถ 9.ไหว้พระพุทธรูปโบราณที่ซุ้มปรางค์ (ด้านขวา) ข้างพระอุโบสถ

    งานสมโภช 175 ปี จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-14 มกราคม 2555 เวลา 19.00 น. - 21.00 น. ณ วัดบวรนิเวศวิหาร นอกจากนี้ท่านผู้มีจิตศรัทธาบูชาพระพุทธรูปสำคัญของชาติ และสิ่งมงคลครบทั้ง 9 แห่งจะได้รับสิ่งมงคลสักการะที่ระลึก คือ พระพุทธชินสีห์ เนื้อผง ด้านหลังประดิษฐานตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2555 สำหรับผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2281-5052


    -http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000002072-

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  12. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    โมทนา สาธุ ๆ
    ในบุญกุศลทุกอย่างด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...