ถกสุดยอดผู้นำพุทธศาสนาโลกประชุม 23 ประเทศ สร้างเอกภาพ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย paang, 7 พฤศจิกายน 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    [​IMG]


    "การประชุมสุดยอดผู้นำพุทธศาสนาแห่งโลก ครั้งที่ 4" ได้ฤกษ์เปิดการประชุมอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา ณ หอประชุมอาคารชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กองทัพเรือ กรุงเทพฯ

    เวลา 09.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในการประชุม โดยมีนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลรายงานเกี่ยวกับการจัดงานประชุมสุดยอดผู้นำพุทธศาสนาแห่งโลก ที่เกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มของคณะสงฆ์มหายานนิกายเนนบุทสุชุ แห่งประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปีพ.ศ.2541 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1-5 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยมีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เป็นเจ้าภาพดำเนินการ

    สำหรับการประชุมครั้งนี้ มีผู้แทนราชวงศ์จากประเทศภูฏาน กัมพูชา ผู้นำพุทธศาสนาและผู้แทนตลอดจนพุทธศาสนิกชนจาก 23 ประเทศ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป จำนวนประมาณ 3,700 รูป/คน เข้าร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพของพระพุทธศาสนาทั้งนิกายมหายาน และเถรวาท เผยแผ่หลักธรรมคำสอน พระวินัย แนวทางการศึกษาและปฏิบัติพิธีกรรมแก่ชาวโลก <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัสเปิดการประชุม มีใจความว่า "ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ข้าพเจ้าขอต้อนรับผู้นำประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาผู้นำชาวพุทธ ผู้แทน และผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นชาวต่างประเทศทุกท่านล้วนเป็นญาติทางธรรมของพวกเรา เพราะเราเป็นชาวพุทธด้วยกัน"

    "ข้าพเจ้ายินดีและทราบว่าผู้นำพุทธศาสนาจาก 23 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ มีทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ จากทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานได้มาร่วมประชุมกันเพื่อแสวงหาแนวทางร่วมกันในการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาสู่สังคมโลก โดยมุ่งที่จะให้ชาวโลกนำธรรมะในพระพุทธศาสนามาเป็นหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิตเพื่อที่ชาวโลกจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ และเอื้ออาทรต่อกัน ตามหลักอหิงสธรรมในพระพุทธศาสนา สมกับพระพุทธภาษิตที่ว่านัตถิ สันติ ปะรัง สุขัง สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบสุขไม่มี"

    ต่อจากนั้น พระองค์ทรงลั่นฆ้องชัย และทรงรับของที่ระลึกจากสมเด็จพระญาณวโรดม อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ผู้นำพุทธศาสนา <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ในฐานะตัวแทนผู้นำพุทธศาสนาในประเทศไทย และทรงมีพระราชปฏิสันถารกับผู้นำประเทศที่เข้าร่วมประชุม ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ

    สมเด็จพระญาณวโรดม อุปนายกสภา มมร. ได้อัญเชิญพระวรธรรมคติของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งได้ประทานในการประชุมครั้งนี้ ใจความตอนหนึ่งว่า การพัฒนาในความหมายทางพระพุทธศาสนา มีความหมายถึงการเสริมสร้างปรับปรุงให้ดีเจริญขึ้น เป็นกิจที่ควรทำ เพราะบ้านเมืองจะเกิดความเจริญก็ด้วยการพัฒนาในส่วนต่างๆ ที่ยังด้วยความเจริญอยู่ แต่ต้องพัฒนาคนด้วย ในการพัฒนาคน จำต้องพัฒนาให้ถึงจิตใจถ้าคนมีจิตใจไม่เจริญ ยากที่จะพัฒนาส่วนอื่นๆ ให้เกิดผลสำเร็จได้

    ทั้งนี้ กิจกรรมสำคัญในการประชุมครั้งนี้ คือผู้นำพุทธศาสนาทุกนิกายเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 60 ปี การนำเสนอสารจากผู้นำประเทศ สุนทรพจน์ บทความวิชาการ และการประชุมโต๊ะกรมเฉพาะผู้นำเพื่อแสวงหาแนวทางความร่วมมือกันในการเผยแผ่หลักธรรม

    ต่อมาเวลา 15.00 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางมาร่วมงานประชุมสุดยอดผู้นำพุทธศาสนาแห่งโลก และได้ขึ้นบนเวทีกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุม ว่า ก่อนที่จะเข้ามาสู่แวดวงการเมือง ได้เคยศึกษาหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ครั้นพอได้เข้ารับดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ระยะแรก เมื่อเกิดปัญหา ยังไม่สามารถจะจัดการกับปัญหาที่เข้ามาในชีวิตได้ทันที ต่อมา จึงได้นำหลักธรรมคำสอนมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต จึงอยากให้ทุกคนนำหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิตและช่วยกันเผยแผ่ศาสนา เพื่อให้เกิดสันติสุข ด้วยว่าพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เป็นมิตรกับศาสนาอื่นๆ ทั่วโลก อีกทั้งเราไม่เคยมองดูศาสนาอื่น เป็นศัตรู แต่มองดูและอยู่กันด้วยความเข้าใจ ด้วยความเป็นมิตร และอยากให้มีการแลกเปลี่ยนความคิด เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไปในอนาคต


    ที่มา http://www.matichon.co.th/khaosod/
     
  2. โลกันต์

    โลกันต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    357
    ค่าพลัง:
    +620
    ..

    โมทนา กับ การกระทำใดๆก็ตาม


    ที่เป็นไปเพื่อ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

    แม้ต่างชาติ ต่างศาสนา ต่างลัทธิ ต่างความเชื่อ


    แต่เพื่อสามัญสำนึก แห่ง สันติภาพ ที่ทุกชีวิตต้องการ
     

แชร์หน้านี้

Loading...