ถามครับ จำเป็นไหมที่นักปฏิบัติทุกคนเวลาสมาธิต้องเกิดปิติ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย KamenRiderFourze, 16 ธันวาคม 2011.

  1. KamenRiderFourze

    KamenRiderFourze สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +22
    ผมกำลังศึกษาอยู่น่ะครับ หลังจากได้ลองทำสมาธิอย่างง่ายๆที่บ้านพบว่าตัวเองไม่เกิดปิตินะครับ ทั้ง 5 อาการเลย การที่ไม่เกิดแบบนั้นทำให้ผมรู้สึกว่า
    1.ปฏิบัติผิดพลาด
    2.มันเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่ามันอยู่ในลักษณะใด
    ทำให้ผมต้องหาคำตอบครับ ว่ามันจำเป็นหรือเปล่าครับ

    ป.ล ระหว่างนั่งสมาธิมีเสียงจากข้างบ้านมาดังไปหมด ในบ้านก็ด้วย แต่ไม่รำคาญยังคงภวานาต่อไปครับ

    ขอบคุณมากๆเลยครับ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ก็อันนี้แหละครับ ปิติ มันเกิดแล้ว

    ถ้า ปิติ ไม่เกิดนะ ตัดนิวรณ์(รำคาญใจ)ที่แฝงมากับเสียงไม่ได้หรอก

    ทีนี้ คุณอย่าไปควานหาว่า ปิติ มันหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะเราจะหา
    ไม่เจอตรงๆ เพราะ มันเป็น "นามธรรม" คือ มีเหตุก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ หมด
    เหตุก็ดับไป เวลามันเกิด แล้ว เราไปดู นี่เราไปดับเหตุมันไปแล้ว ทำให้
    ปิติที่กำลังไม่แก่กล้ามันดับไป เลยมองไม่เห็น

    คราวนี้ หากคุณจะพิจารณา ปิติ เราก็ไม่ต้องไปมองตรงๆ ในทางพุทธ
    นั้น เราจะมี "สัจจญาณ" "กิจญาณ" และ "กตญาณ"

    คือ การรู้ลักษณะเฉพาะ ที่จำแนกได้ชัดว่าคืออะไร นี่ สัจจญาณ

    ส่วน กิจญาณ คือ มันทำหน้าที่อะไร เกิดมาเพื่อทำหน้าที่อย่างไร

    และ กตญาณ คือ ผลของการเกิด มันให้ผลอะไรกับเรา

    ก็จะเห็นว่า ตะกี้ ผมพาดูที่คุณปรารภถึง ไม่รำคาญเสียงรอบด้าน นี่
    คือ เราพิจารณาเอาจาก "กตญาณ" ซึ่งก็พอแล้วที่จะทำให้ทราบว่า
    มี "ปิติ" อยู่จริง

    ซึ่ง ให้พิจารณาตรงนี้ไปก่อน จนกว่า จิตจะยอมรับว่า เออ อย่างนี้นะ
    แปลว่ามี "ปิติ" แล้วจิตที่ได้รับการอบรมเนืองๆ ก็จะสวนกระแสไปพิจารณา
    "กิจ" ของมัน ขณะปรากฏ แล้วพอเห็น "กิจ" ก็จะทำให้ อ๋อ ปัดติโถ
    นี่่เรารู้จัก "ปิติ" แล้วนี่ เห็น "สัจจะ" นิยาม ที่เขาเรียกกันว่า "ปิติ" แล้ว

    ที่เหลือคือ วิเศษลักษณะ คือ ความปลิกย่อย ซึ่ง ท่านว่า มี5 อาการใหญ่ๆ

    เราก็ค่อยพิจารณาไป แต่ จำเป็นไหมที่จะต้องเห็น ครบ 5

    อันนี้ ต้องกลับมาที่ เรารู้หน้าที่ของมันหรือเปล่า หากเรารู้หน้าที่ของมัน แล้ว
    เรารู้หน้าที่ของเราหรือเปล่า หากเรารู้หน้าที่ของเราว่า เราจะอาศัยระลึกปิติ
    เพื่อข่มนิวรณ์5 ไม่ให้ขวางการเห็นอันยอดเยี่ยม ที่จะต้องอบรมเพิ่มต่อจากการ
    ทำสมาธิ พูดง่ายๆ ฝึกสมาธิแล้วก็ต้องน้อมไปพิจารณา ต้องพิจารณา เพื่อ
    ยกจิตขึ้นสู่ ภูมิวิปัสสนา เราก็จะรู้ถึง ความพอเพียง ปฏิบัติแบบพอเพียง

    หรือรู้ ทางสายกลาง ที่เหมาะกับตน เหมาะกับกาล เหมาะกับสถาณที่ ใน
    ปัจจุบันธรรมนั้นๆ
     
  3. apichan

    apichan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    825
    ค่าพลัง:
    +4,424
    รู้สึกว่าปีติจะมีได้หลายอย่างนะครับ ไม่จำเป็นต้องตัวพองหรือน้ำตาไหลก็ได้ เจริญในธรรมครับ :)
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ปิติจะเกิดขึ้นได้เมื่อจิตได้ทรงอยู่ใน อุปจารสมาธิ นะครับ...สูงกว่านั้น ต่ำกว่านั้น....ก็ไม่เกิด....

    แต่จริงๆแล้วไม่มีเหตุจำเป็นต้องไปรอปิติหลอกนะครับ....ถ้ามีเหตุเขาก็มาของเขาเอง....ถ้ามัวไปรอจะฟุ้งซ่านเสียเปล่า.....
     
  5. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    แล้วถ้าฌาน2 หรือต่ำว่านั้น คือ ขณิกสมาธิล่ะ ท่านพานุเดช

    ทำไมต้องเฉพาะ อุปจาระสมาธิ..?
     
  6. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,430
    ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้นั้น คือโพชฌงค์ทั้งเจ็ด หนึ่งในนั้นคือ ปิติ ครับ
    ถ้าไม่มีปิติ ก็ไม่มีแรงศรัทธา หรือ เชื่อมั่นในข้อธรรมที่พระองค์ทรงพิจารณา ถ้าจะเจริญกรรมฐานจะต้องมีครับ เพราะพระองค์ทรงยืนยันว่า เมื่อ ใจ สงบ จะมีความเบากาย เบาใจ ถ้าไม่มีแสดงว่าเดินมาได้ไม่ไกลครับ

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  7. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,430
    การแนะนำผู้เจริญกรรมฐานควรอ้างอิงคำสอนที่ถูกต้องนะครับ ไม่ใช่เอาความรู้สึกส่วนตัวนั้นมาอ้าง เพราะผู้เจริญกรรมฐานจะหลงทางได้ครับ

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    รู้สึกว่าจะมีคนให้ความสนใจผมเป็นกรณีพิเศษนะครับ....

    คือต้องบอกก่อนที่ผมไม่ยกข้อความมานั้น เพราะว่า ท่าน จขกท. ท่านมีความเข้าใจแล้วในเรื่องของปิติและอาการของปิติ....ซึ่งสามารถที่จะดูจากทำถามของท่านได้.....ผมเลยไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องยกมาตอบอีก...เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะเป็นการซ้ำซ้อน...ถ้าถามหาผมก็จัดให้ได้ครับ....

    ................................................................

    อาการปิติเป็นอาการที่ถามกันมาก.....ซึ่งผู้ปฏิบัติมักจะข้องใจเมื่อเกิดอาการนี้....
    <O:p</O:p

    <TABLE style="WIDTH: 45%; mso-cellspacing: 1.5pt; mso-yfti-tbllook: 1184" class=MsoNormalTable border=1 cellPadding=0 width="45%"><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: #f0f0f0; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: #f0f0f0; PADDING-LEFT: 0.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-RIGHT-COLOR: #f0f0f0; BORDER-LEFT-COLOR: #f0f0f0; PADDING-TOP: 0.75pt">
    อาการและอารมณ์ของอุปจารสมาธิ<O:p</O:p

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <O:p</O:p
    อาการของอุปจารสมาธิคือปีติได้แก่อารมณ์ความอิ่มใจเมื่อทำมาถึงตอนนี้อารมณ์
    จะชุ่มชื่นมาก อารมณ์สะอาดเยือกเย็น มีความเป็นสุขอย่างยอดเยี่ยมไม่เคยพบความสุข
    อย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิตตอนนี้เวลาภาวนาลมหายใจจะเบากว่าปกติมาก อารมณ์เป็นสุข
    ร่างกายของนักปฏิบัติที่เข้าถึงระดับนี้ผิวหนังจะนวลขึ้นเพราะอารมณ์ที่มีความสุขแต่อาการ
    ทางร่างกายนี่สิที่ทำให้นักปฏิบัติตกใจกันมากนั่นก็คือ
    ๑.อาการขนลุกซู่ซ่าเมื่อเกิดอาการอย่างนี้หรืออย่างอื่นที่กล่าวถึงต่อไปจะมีอารมณ์
    ใจเป็นสุขขอให้ทุกท่านปล่อยอาการอย่างนั้นไปตามสภาพของร่างกาย จงอย่าสนใจเมื่อสมาธิ
    สูงขึ้นหรือลดตัวลงต่ำกว่านั้น อาการอย่างนั้นก็จะหมดไปเองอาการขนลุกพองถ้ามีขึ้นพึงควร
    ภูมิใจว่าเราเข้าถึงอาการของปีติระดับหนึ่งแล้ว อย่ากังวลอาการของร่างกาย
    ๒. อาการของปีติขั้นที่ ๒ได้แก่อาการน้ำตาไหล
    ๓.อาการของปีติขั้นที่ ๓คือร่างกายโยกโคลงโยกไปข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้าง
    บางคราวโยกแรง จนศีรษะใกล้ถึงพื้น
    ๔.อาการของปีติขั้นที่ ๔ตามตำราท่านว่าตัวลอยขึ้นบนอากาศแต่ผลของการปฏิบัติ
    ไม่แน่นัก บางรายก็เต้นเหมือนปลุกตัว บางรายก็ตัวลอยขึ้นบนอากาศเมื่อลอยไปแล้ว ถ้าสมาธิ
    คลายตัวก็กลับมาที่เดิมเอง(อย่าตกใจ)
    ๕. อาการของปีติขั้นที่ ๕คือมีอาการแผ่ซ่านในร่างกายซู่ซ่าเหมือนมีลมไหลออก
    ในที่สุดเหมือนตัวใหญ่และสูงขึ้นหน้าใหญ่แล้วมีอาการเหมือนลมไหลออกจากกายในที่สุด
    ก็มีความรู้สึกว่าตัวหายไปเหลือแต่ท่อนหัว
    อาการทั้งหมดนี้ เมื่อเกิดขึ้นอารมณ์ใจจะมีความสุข ฉะนั้นนักปฏิบัติให้ถืออารมณ์ใจ
    เป็นสำคัญอย่าตกใจในอาการตามที่กล่าวมาแล้วนั้นพอสมาธิสูงถึงระดับฌานก็จะสลายตัว
    ไปเองปีตินี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วอารมณ์จะเป็นสุขคือถึงระดับที่สี่ ที่จะเข้าถึงปฐมฌาน ต่อไปก็
    เป็นปฐมฌานเพราะอยู่ชิดกัน

    <O:p</O:p**************************************************<O:p</O:p

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ( ฤาษีลิงดำ )...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7 <O:p</O:p<!-- google_ad_section_end -->
     
  9. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    แสดงว่าพี่พานุเดช ศึกษาธรรมแต่เฉพาะหลวงพ่อฤาษี เราสาธุนะหลวงพ่อฤาษี

    แต่ควรลองศึกษาธรรม จากครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆประกอบด้วย เพื่อไม่จมปรัก มีทัสสนะที่เปิดกว้างขึ้นมาหน่อย

    ปิติทั้ง5 ในขั้นของขณิกสมาธิก็มี เคยได้สดับหรือป่าว
    การเข้าสับ เข้าคืบ เข้าวัดออกวัดสะกด เป็นอนุโลม ปฏิโลม ของสมเด็จสุก ไก่เถื่อน

    แต่ทีนี้ ในขั้นของฌาน2 ท่านเส็ง ปุสโส ได้กล่าวไว้เช่นกัน ในอารมณ์ของปิติทั้ง5 ก็มีอยู่ในฌาน2 คือองค์ฌาน

    ส่วนหลวงพ่อฤาษี ท่านกล่าวไว้ปิติทั้ง5 อยู่ในขั้นของอุปจาระสมาธิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2011
  10. KamenRiderFourze

    KamenRiderFourze สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +22
    แสดงว่า ปิตินั้นมีมากมาย บอกคนอาจจะไม่ได้แสดงออกมาทางกาย
    หรืออย่างไรครับ?
     
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ออ...อย่างนั้นเหรอครับ.....ผมไม่ทราบได้หลอกว่าสำนักอื่นเขาจะกล่าวแบ่งละเอียดอะไรอย่างไร.....เพราะผมไม่ได้ศึกษา และตอนนี้ผมก็ไม่คิดที่จะไปศึกษาเพิ่มเติมอีกแล้ว...เพราะว่าครูบาอาจารย์แต่ละที่ท่านก็อาจพูดไว้ต่างกันบ้างในรายละเอียด...ผมว่าส่วนตัวผมจับหลักแล้วปฏิบัติให้เห็นจะเป็นเรื่องที่สำคัญกว่าการเปรียบเทียบคำสอน เพราะว่าบางครั้งอาจเป็นเหตุให้วุ่นวายมากกว่าที่จะสงบ....ผมยึดแบบหลวงพ่อฤาษีท่านเป็นแบบการปฏิบัติ...และได้ผลตามนั้น....ผมก็นำมาเสนอต่อครับ.....

    สำนักอื่นเขาจะกล่าวอย่างไรนั้นก็คงต้องยกให้เป็นเรื่องของเขานะครับ....ถ้าท่านโมทนาสาธุในธรรมของครูบาอาจารย์ผมว่าท่านก็คงเข้าใจนะครับ.....
     
  12. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    ก็แสดงว่ายังไม่ครอบ ตรงนี้เรากำลังพูดถึงการเปิดกว้างนะ อย่าเข้าใจไปอย่างอื่น

    แต่ถ้าเป็นการปฏิบัติ ก็ต้องหาที่สงัดวิเวกบำเพ็ญเพียร นั่นเรื่องของการปฏิบัติ

    ที่ว่าเป็นข่าวดังๆนั่น ผมยังไปหาฟังเลย พระเกษม ท่านพูดถึงเรื่องอนัตตา ในยูทูบ

    ก็ อืม..! ท่านก็กล่าวดีนะ โดยส่วนตัว

    แต่ใครอยากหลุดพ้นเร็วๆ มุ่งไปเลยศึกษา ในธรรมของครูบาอาจารย์ โดดๆ ไปเลย ที่เราศรัทธาเฉพาะ นี้ถูกต้อง
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    เอ่อ พี่ฮับๆ แล้วที่ พี่ทำตะกี้

    กับ ทำแบบตะกี้กับอีกหลายๆที่ เรียกว่า อะไร ฮับ
     
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    การที่เราศึกษามาได้มากๆนั้น บางครั้งอาจไม่ใช่จุดที่จะเป็นการหลุดพ้นหรือเข้าใจอะไรมากขึ้นกว่าเดิมหลอกนะครับ บางครั้งอาจเป็นเหตุให้สับสนยิ่งกว่าเดิมด้วยซ้ำไป....ถ้าท่านสัมผัสได้ท่านจะรู้ว่ามันวุ่นวาย....

    ธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นปัตจัตตังนะครับ....ธรรมของพระพุทธเจ้าจริงแล้วเป็นภาษาปฏิบัตินะครับ.... ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นของเย็น....

    ถ้าท่านเข้าใจแล้ว...ก็ยินดีด้วยนะครับ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2011
  15. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    ปีติมันสำคัญมากอยู่ ถ้าไม่มีปีติตัวนี้มันจะเห็นธรรมไม่ได้เลย วิปัสสนาญาณเกิดไม่
    ได้ อานาปานสติยังมีข้อปีติปฏิสังเวที คือรู้พร้อมอาการของปีติ
     
  16. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    แต่สำหรับผม ไม่ถือว่าเป็นการสับสน แต่อย่าเลียนแบบ

    จะสับสนก็เพราะ คนข้างบนก่อนพี่พานุเดช นั่นล่ะ ฮาา..! :boo:

    13 อาถรรพ์
     
  17. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    งั้นก็คงต้องตามสบายท่านทั้งหลายหละนะครับ....

    ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ท่านทั้งหลาย....
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    มาๆ ลอง พิจารณาดู แล้วลองไตร่ตรองว่า จะเอาอันนี้เป็น สิ่งที่
    ทำให้ไม่ขัดแย้งกันได้ไหม

    มาเริ่มกันก่อน

    ที่ต้องยอมรับว่า โลกนี้มันมี ฌาณแบบฤาษีกิ๊กก๊อกอยู่มาก่อน เวลาพูดอะไร
    ที่เกี่ยวกับการทำ กรรมฐาน ไอ้ฌาณฤาษีนี่มันกวาดเรียบ กวาดทิฏฐิไปหมด

    ดังนั้น เราจะแก้อย่างไร

    ท่านผู้ฉลาดทางธรรม เขาก็แก้ว่า ให้เรียกกรรมฐานสองอย่างคือ สมถะ กับ วิปัสสนา

    ถ้า กรรมฐานใดมีแต่ "สมถะ" ไม่มี วิปัสสนา ผู้นั้นก็ชื่อว่า "ทำฌาณแบบฤาษี" เรียก
    แบบนี้บางคนก็สะดิ้ง ตกอกตกใจ ก็เรียกเสียใหม่ว่า "อารัมณูปณิชฌาณ" ซ่ึงก็จะ
    ประกอบด้วย ฌาณ1 2 3 4 5 6 7 8 ไปตามเรื่อง ใช้คำเดิมๆที่เขาใช้กันอยู่แล้ว

    แต่ถ้า กรรมฐานใด มีสมถะและวิปัสสนา จำแนกได้ว่ามีอยู่ และเคียงคู่กัน ผู้นั้น
    ก็ชื่อว่า "ทำฌาณแบบพุทธ" เรียกแบบนี้บางคนก็สะดิ้ง ตกอกตกใจ ก็เรียกเสีย
    ใหม่ว่า "ลักขณูปณิชฌาณ" ซ่ึงก็จะมี ขณิก อุปจาร และ อัปปนา ( นี่ 3 คำ
    นี้ ท่านผู้ฉลาดท่าน สร้างขึ้นใหม่ให้ใช้ บางคนเลยตีว่า ไม่ใช่พุทธวัจนะ ไม่ยอม
    รับ )

    แต่ถ้ายอมรับเสียหน่อย ก็ไม่มีปัญหา

    แล้วไอ้ ขณิก อุปจาร อัปปนา มันก็จะมี ฌาณ1 2 3 4 5 6 7 8 และ 9
    รวมอยู่แล้ว ตั้งแต่ที่กล่าวถึง ขณิก เพียงแต่ไม่แนบแน่นลงเป็น "สมาบัติ"

    เพราะ สมาธิทางพุทธ ไม่ได้เน้นเอาสมาบัติ เน้นเพื่ออาศัยระลึก เป็นใหญ่
    เมื่อไหร่ที่มันรวมเป็น สมาบัติ หากมันเป็น มรรค มันก็จะให้ ผล

    ซึ่งต่างจาก สมาบัติของอารัมณูปณิชฌาณ ที่รวมลงเป็นสมาบัติ แต่ไม่ใช่
    มรรค รวมเท่าไหร่ ก็ไม่เกิด ผล ( ไม่งั้น พระพุทธเจ้า มีก่อนหน้าพระสมณ
    โคดมไปเยอะแล้ว )


    เมื่อยอมรับแบบนี้ ก็จะหมด สงสัย ว่า ทำไม ปิติ สมาธิแบบ พุทธ จึงบอก
    ว่ามีตั้งแต่ เป็น ขณิกสมาธิแล้ว ส่วนใคร ปฏิเสธการใช้ศัพท์แบบสมัยใหม่
    เขาจะพูดว่า ปิติไม่มีที่ขณิก ไปตามลักษณะของการปฏิเสธการฟังธรรม ซึ่ง
    จะไปโทษก็ไม่ได้ หากเขายืนยันกระต่ายขาเดียว ไม่ยอมรับ การแบ่งแยกศัพท์
    สมัยใหม่ (แต่อดไม่ได้ที่จะเอาไปใช้บ้าง) ก็ว่ากันไปตามประสา คนรับไปใช้เรียก
    เอาโก้ๆ แต่ไม่เข้าใจว่า เขาแบ่งขึ้นใหม่เพราะอะไร
     
  19. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,430
    ดีครับ ที่อยากรู้ ขออธิบายง่ายๆแล้วกันครับ
    ภวังค์ แปลว่า จิตดวงเดิม คือ จิตเมื่อแรกเข้าสู่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จิตตั้งภวังค์ขึ้นมาเป็นตัวภพ จิตมีหน้าที่ทำการสร้างภพ ไม่ทำการรับรู้รับเห็นในทางตา ทางหู ทางจมูก อื่นๆ ช่วงขณะจิตจะมี17 ขณะ มันจะเป็นเรื่องที่จิตออกเร็ว เข้าเร็วมากที่สุดและออกอยู่ทุกเวลา เข้าอยู่ทุกเวลาที่กระพริบตา การเกิดปิติก็คือการรวมจิต ในชั่วขณะใดขณะหนึ่งครับ

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  20. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    ถ้าเรื่องการปฏิบัติสมาธิ คงต้องยกให้ "พี่คุรุวาโร" :cool:

    กูรูตัดแปะ "พี่นิวรณ์" เท่านั้น เป็นหนึ่งชัดเจน ^^ แบ่งๆกันมั่ง

    คือพอรู้ได้ว่า บางคนพิมพ์อะไรออกมานี่ พอรู้ได้เลยว่า

    คนนั้นคนนี้ มาจากกิ่งกิ่งก้านสาขาใด ไม้เลื้อยกาฝากใด

    พอพูดอย่างนี้ ก็จะเข้าแก็ปไปอีกว่า ทำไมไม่มาพิจารณาตนเอง แล้วคุณจะรู้กับผมหรอ

    งั้นจะให้ความสวัสดิ์ จงมีแก่ท่านพานุเดช
     

แชร์หน้านี้

Loading...