ถ้าสวรรค์เลี้ยวซ้าย นิพพานเลี้ยวขวา : สิ้นสงสัย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สิ้นสงสัย, 3 ธันวาคม 2019.

  1. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    บักโงบะ เคยเป็น "แมงอย่างงี้ถูกปะ?"
    อะเป่า

    ถ้า บักโงบะเคยเป็น "แมงกะอย่างนี้
    ถูกปะฮับ?" สังเกตเข้าไป ตรงนั้น
    เลย ว่า....

    ทะลึ่ง ผูกตัวเองไว้แน่นหนา ด้วย
    "ธัมมุธธัจจะ"

    เพราะขณะนั้น เกิด โอภาส ความ
    สุขใจบางประการในการเห็น "บาง
    อย่างไหวๆ" แต่ แทนที่จะ มนสิการ
    อนุโลมญานนิ่งๆ ไว้ และโดดข้าม
    โคตรภูทันที ....

    ดันมีเพื่อน เฮียๆ ที่จะ คอยชงคำตอบ
    เวลาทำตัวเป็น "แมงกะรุอย่างนี้ ถูก
    ปะฮับ?"

    ตาย พากันไปตาย

    ของจริง หากสติเกิด ภพขาดกระเด็น
    ไม่มีหลอกจะมี คน มานั่งคอยรับคำ
    จ๊ะจ๋า "แมงกะรุอย่างนี้ถูกปะฮับ?"

    หากถูก ภพขาดกระเด็น ไม่ต้องถาม
    ใครแล้ว ถูกเป่า

    ขณะนั้น นิพพาน ทันที ที่ สติ มันเกิด

    คน สัตว์ เรา เขา จิตเล่นเกมส์กลับ
    บ้าน ไม่มี

    หากยังมี ฝุ้งธรรม ปัญญาค้างเติ่ง
    ล่วงหน้า ผูกตนไว้กับโลก(รูปนาม)
    คาอยู่ตรงนั้นแหละ

    หากมี เฮีย คอยรับคำด้วย โอยยยยยยยย.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2019
  2. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    บักโงบะ ต้องแยกให้ออก

    การเสวนาธรรม ตลอดกาล เป็นอัปมงคล

    กับ

    การเสวนา ตามกาล เป็นมงคล

    การเสวนาธรรม ที่ออกทาง จ๊ะจ๋า รับคำ
    ลูบหัว ลูบหาง อุปทานหมู่ มีเพื่อนสอง
    จัดเป็น เสวนาธรรมตลอดกาล เป็นอัปมงคล

    แต่ถ้า......

    สมัยใด มี ธรรมใดขยับ เห็นไหวๆ แล้ว.....
    ชี้ช่องรวยให้ เดินต่อ อย่าประมาท แม้นแต่
    วินาทีเดียว การสดับอริยสัจจ มีค่ากว่าจะ
    มาชวนหัว จุดไฟ ดับไฟบนหัว .....

    หรือ "แนะนำให้ยิ่งๆ ขึ้นไปว่า...... " มันจึง
    จะเป็น การเสวนาที่ต่าง ก็ กำหนดรู้ทุกข์
    และหาอุบายนำออกทั้ง คนแสดง และ
    คนรับ ( พ้น เพื่อนสอง ทุกขณะ )

    หลวงพ่อพุธ เป็น บุคคลธิษฐาน ที่ท่าน
    บรรลุธรรม ขณะเทศนา บนธรรมมาศ
     
  3. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    อุทธัจจะ คือ สังโยชน์ระดับละเอียดชนิดหนึ่ง
    ซึ่งแสดงออกมาในรูป "ความฟุ้งซ่าน"
    เนื่องจากความไม่แน่วแน่ของจิต ก็ดี
    ความไม่ชัดเจนของความคิด ก็ดี ความรู้ที่มากหรือจินตนาการที่มากเกินไป ก็ดี ฯลฯ
    ส่งผลให้เกิดความฟุ้งซ่าน
    แต่หากความฟุ้งซ่่านนั้นไม่พัวพันร้อยรัด
    ก็ไม่ใช่ "สังโยชน์" จะเป็นเพียงนิวรณ์
    เหมือนเมฆน้อยลอยมาบดบังดวงจันทร์
    เป็นครั้งคราว
    ฉะนั้น เกิดแล้วดับไปไม่เที่ยงตามเหตุปัจจัยหนุนนำ
    หากความฟุ้งซ่านเป็นเพียงนิวรณ์
    เป็นของไม่เที่ยง
    ไม่พัวพันร้อยรัดแล้ว อาศัยเพียง "ขณิกสมาธิ" คือ สมาธิเพียงเล็กน้อย
    ตื้นๆ ไม่ถึงขั้นมีฌาน ก็สามารถบรรลุธรรมได้ แต่หากความฟุ้งซ่านนั้นมีมากเกินไป
    จนกลายเป็นบ่วงร้อยรัด
    เป็นอุปสรรคขัดขวางการบรรลุธรรม ก็จะพัฒนาไปเป็น "อุทธัจจะ" ได้
    อนึ่ง พระอริยบุคคลที่หลุดพ้นอุทธัจจะได้
    คือ พระอรหันต์
    นอกจากนั้น ก็ไม่อาจหลุดพ้นอุทธัจจะ ดังนั้น การที่บุคคลทั่วไปมีความฟุ้งซ่าน
    ก็ไม่แปลก
    บ้างมีความฟุ้งซ่านไม่รุนแรง
    ไม่ถึงขั้นพัวพันร้อยรัดเป็นสังโยชน์ คือ จัดเป็นความฟุ้งซ่านระดับนิวรณ์เท่านั้นบ้างมีความฟุ้งซ่านรุนแรง พัวพันร้อยรัดจนเป็นสังโยชน์ที่เรียกว่า "อุทธัจจะ" ก็มี
    หากกลายเป็นอุทธัจจะแล้ว ก็ไม่สามาถ
    บรรลุธรรมได้
    จำต้องเอาตัวเองให้หลุดพ้นจากอุทธัจจะ
    นั้นให้ได้ก่อน จึงจะเข้าถึงธรรมได้
    ในที่สุด
     
  4. สิ้นสงสัย

    สิ้นสงสัย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +13
    สมาธิที่ดีต้องมี "สติ" อยู่ตลอดเวลา การปฏิบัติควรเจริญทั้ง 2 อย่างให้ทัดเทียมกัน สติ และสมาธิ ตั้งจิตอยู่ในความลึกที่พอดี ความพอดีนั้น หมายถึง การรู้ว่าการลงลึกไปกว่านี้เป็นการเข้าสู่อุปาทาน และความพอดีนั้น เกินกว่าที่ นิวรณ์จะเข้าถึงจิตได้ อาการในการฝึกสมาธิที่เกิดขึ้น หากจัดว่าเป็นนิวรณ์ ถือว่าหย่อนเกินไป หากเป็นอุปาทานถือว่าตึงเกินไป
    จริตของบุคคลนั้นต่างกัน วิธีการเพื่อตั้งมั่นในสัมมาสติและสัมมาสมาธิจึงมีหลายวิธี แต่ที่สุดแล้ว มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เพื่อตั้งจิตอยู่บนความไม่ประมาท

    ขยายความวิธีการที่แนะนำอยู่ในบทความ คือการนับเลขในใจเบื้องต้นจาก 1 - 1000 หากท่านลอง ทำตาม จะพบว่าไม่ง่ายเลย หรือจะนับไปมากกว่านั้น มากกว่า 1000 ก็ได้ ในช่วงวันแรกๆ แต่ห้ามลืมหรือลังเล ว่านับถึงเท่าไหร่แล้ว เพราะต้องกลับมาเริ่มนับ 1 ใหม่ จนถึง 1000 ถือว่าผ่านขั้นแรก วิธีการนี้จะช่วยให้ สติและสมาธิ ตั้งอยู่ได้

    ขั้นต่อมา นับแค่ 1ถึง10 ค่อยๆนับ ทีละลำดับช้าๆ มีลำดับลักษณะจิต คือ จิตตื่นขึ้นทุกครั้งที่ไปตามลำดับ หมายถึง "รู้" รู้ว่าพร้อมแล้ว รู้ว่าเหตุกำลังจะเกิด รู้ว่าเหตุเกิดแล้ว รู้ว่าสมบูรณ์แล้ว

    (พร้อมนับแล้ว) (จะเริ่มนับแล้ว) (นับ1) (นับ1แล้วอยู่ที่1สมบูรณ์แล้ว) (พร้อมนับต่อแล้ว) (จะนับต่อไปแล้ว) (นับ2) (นับ2แล้วอยู่ที่2สมบูรณ์แล้ว) (พร้อมนับต่อแล้ว) (จะนับต่อแล้ว) (นับ3) (นับ3แล้วอยู่ที่3สมบูรณ์แล้ว) (พร้อมนับต่อแล้ว) (จะเริ่มนับแล้ว) (นับ4) (นับ4แล้วอยู่ที่4สมบูรณ์แล้ว) (พร้อมนับต่อแล้ว) (จะนับต่อแล้ว) (นับ5) (นับ5แล้วอยู่ที่5สมบูรณ์แล้ว) (พร้อมนับต่อแล้ว) (จะนับต่อแล้ว) (นับ6) (นับ6แล้วอยู่ที่6สมบูรณ์แล้ว) (พร้อมนับต่อแล้ว) (จะนับต่อแล้ว) (นับ7) (นับ7แล้วอยู่ที่7สมบูรณ์แล้ว) (พร้อมนับต่อแล้ว) (จะนับต่อแล้ว) (นับ8) (นับ8แล้วอยู่ที่8สมบูรณ์แล้ว) (พร้อมนับต่อแล้ว) (จะนับต่อแล้ว) (นับ9) (นับ9แล้วอยู่ที่9สมบูรณ์แล้ว) (พร้อมนับต่อแล้ว) (จะเริ่มนับแล้ว) (นับ10) (นับ10แล้วอยู่ที่10สมบูรณ์แล้ว) (นับเสร็จสมบูรณ์แล้วไม่นับต่อแล้ว) ค้างสภาวะจิตไว้แบบนั้น รู้อย่างเดียวว่าไม่นับต่อแล้ว เพราะนับเสร็จสมบูรณ์แล้ว
    *ในวงเล็บไม่ใช่วิธีการแต่เป็นอาการของจิตที่ตื่นด้วยสติ ว่าเหตุกำลังเกิดขึ้นจริง เหตุเกิดแล้วจริง จบสมบูรณ์แล้วจริง จิตจะตื่นทุกครั้งเป็นภาวะ "รู้"

    ขั้นตอนที่ 3 (จะเริ่มนับแล้ว) (นับ1) (นับ1แล้วอยู่ที่1สมบูรณ์แล้ว)นับเพียง 1 ค้างไว้ ไม่นับต่อ รู้ว่านับ1สมบูรณ์แล้วจะไม่นับต่อแล้ว ขออยู่กับอาการจิตที่เกิดขึ้นอยู่แบบนี้ รู้แบบนี้ ปล่อยให้ว่างๆไว้แบบนี้ ไม่มีอะไรในนี้มีแต่ความว่าง สติและสมาธิวางไว้ระดับพอดี หมายถึง จิตต้องไม่เกิดวิตกและวิจารณ์(ลังเล สงสัย) มีแต่ ปิติ สุข เอกัคคตา ในความว่าง ให้คงอยู่ให้นานพอให้จิตปล่อยวางกลายเป็น "อุเบกขา"
    - เท่านี้ก็เพียงพอจะบอกได้ว่าเป็น สัมมาสติ สัมมาสมาธิ -

    หากเป็นอาณาปานสติ อาการคือ (ตื่นด้วยกำลังหายใจเข้า)ระลึก "พุทธ"เพื่อกำกับ (ตื่นด้วยหายใจเข้าแล้ว) (ตื่นด้วยกำลังหายใจออก)ระลึก"โท"เพื่อกำกับ (ตื่นด้วยหายใจออกแล้ว) หมายถึง จิตตื่นด้วยสติในสมาธิ ภาวะ "ตื่น"นั้นเมื่อชัดเจนพอจึงอยู่กับภาวะ "ตื่น" นั้น จึงปล่อยลมหายใจไป ลมหายใจจึงเป็นเพียงอุบายเท่านั้น ภาวะ"ตื่น"นั้นหาก ไม่เกิดวิตก วิจารณ์(ลังเล สงสัย) ถือว่าจิตมีกำลังพอแล้ว อยู่ให้นานพอที่จิตเป็น อุเบกขา และถือได้ว่าเป็น สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
    *รายละเอียดของวิธีอาณาปนสตินั้นอาจเขียนไม่ครบถ้วน เพราะเป็นวิธีที่ไม่ตรงจริต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2019
  5. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    ความพอดีของท่านอยู่ตรงไหน?..
     
  6. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    สมาธิของท่านมีความสงบของจิตหรืออารมณ์เป็นหนึ่งร่วมด้วยหรือเปล่า?
     
  7. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    ในช่วงที่ทำสมาธิจะแยกแยะนิวรณ์และอุปทานได้อย่างไร?..
     
  8. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    ความไม่ประมาทของท่านต้องทำยังไง?..
     
  9. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    ในช่วงที่นับเลขอยู่นั้นกริยาจิตทำงานอยู่ตลอดเวลาหรือไม?
     
  10. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    สติและสมาธิตั้งอยู่ตรงไหน?..
     
  11. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    จิตตื่นขึ้นตั้งแต่คิดว่าจะนับแล้วหรือเปล่า?
     
  12. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    พร้อมนับแล้ว...จะเริ่มนับแล้ว สองประโยคนี้ใครเป็นผู้สั่ง?
     
  13. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    เมื่อค้างสภาวะจิตไว้แบบนั้นแล้วเอาอะไรไปรู้ว่าไม่นับต่อแล้ว..เอาอะไรไปรู้ว่านับเสร็จสมบูรณ์แล้ว
     
  14. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    เหตุเกิดขึ้นตอนไหน?..
    จบสมบูรณ์ตอนไหน?..

    เหตุเกิดขึ้นตอนนับหนึ่งแล้วดับไปก่อนที่จะเริ่มนับสองใช่หรือเปล่า?..

    พอนับสองเหตุเกิดขึ้นแล้วและดับไปแล้วก่อนที่จะนับสามใช่หรือเปล่า?

    ถ้าใช่นั่นเป็นอดีตไปแล้วใช่หรือเปล่า?..

    แล้วอะไรคือปัจจุบัน?
     
  15. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    วิตก วิจารณ์ คืออาการของจิตที่จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกรู้ไม่ใช่หรือ?
     
  16. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    ปิติ สุข เอกัคคตา อาศัยอยู่ในความว่างได้ด้วยหรือ?

    ว่าง คือ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ได้ไม่ใช่หรือ?

    แล้วตอนนี้สติอยู่ตรงไหน?
     
  17. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    สติเป็นตัวปลุกจิตใช่หรือเปล่า?

    เมื่อมีสติจริงๆจิตจะไม่เคลื่อนออกจากฐาน/ไม่มีกริยาจิตไม่ใช่หรือ?
     
  18. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    อุเบกขาจัดว่าเป็นสัมมาสติ สัมมาสมาธิด้วยหรือ?

    สติ คือ รู้ตั้งมั่น/ สมาธิ คือการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ใช่หรือ?

    อุเบกขา คือ การวางเฉยไม่ใช่ใช่หรือ?

    ทั้งหมดที่ท่านอธิบายมาไม่เห็นมีสัมปะชัญญะตรงไหนเลย..

    เอาล่ะพอ..ขอบคุณมาก
     
  19. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    การเสวนาของท่านกับเราต้องเป็นการคุยกันตัวต่อตัว แนวทางการปฏิบัติเอาไว้ก่อนเราเอาตัวรอดได้ ถ้าจะแนะนำเราขอเป็นแนวทางปริยัติก็แล้วกันนะ..เราต้องการครูสอนปริยัติอยู่พอดีเลยเพราะเราอ่อนปริยัติ...นี่เราพูดจริงๆนะเรื่องปริยัติท่านเหมาะที่สุด
     
  20. สิ้นสงสัย

    สิ้นสงสัย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +13
    ปิติ สุข เอกัคคตา เป็นอารมณ์ของจิต เมื่อได้พบกับ ความว่าง

    ความว่างอยู่ในจิต ความว่างไม่มีอะไรตั้งอยู่ได้นั้นถูกแล้วเพราะอยู่ในสุด และจิตตั้งอยู่ในสติและสมาธิ สติและสมาธิจึงเป็นเหมือนกรอบให้จิตนั้นอยู่กับความว่าง
     

แชร์หน้านี้

Loading...