ถ้าเกิดเวทนาขณะนั่งสมาธิจะถอนสมาธิเลย หรือทนกับเวทนาต่อไปดีคะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ppsinee, 18 มิถุนายน 2018.

  1. ppsinee

    ppsinee สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +15
    ขณะนั่งสมาธิแล้วแล้วเกิดเวทนาขึ้นมาคือ เกิดความปวดเมื่อยตามร่างกายจะถอนสมาธิเลย หรือ ทรงสมาธิต่อไปเพื่อดูเวทนานั้นคะ

    ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ทำต่อไป

    ถ้าจิตรวมลงสมาธิ เราจะไม่มีเวทนา

    ถ้าจิตเรายังไม่รวมลงสมาธิ เราก็ต้องสู้กับเวทนา ใครจะแพ้ ชนะ อยู่ที่กำลังของจิต ครับ

    ถ้าจิตเรามีกำลัง เวทนา อาการทางกายเราจะทนได้ .เมื่อเราทนไปเรื่อยๆ จนถึงจุดนึงเราจะระงับเวทนาทางกายได้ เพราะจิตเรามีกำลัง

    เวทนาทางกายมันเป็นแค่กายหยาบ

    ฝึกทนเวทนาบ่อยๆ ให้ทนได้จิตมีกำลังครับ

    เกิดวันไหนเราเจ็บป่วย หรือกำลังจะตายเกิดเวทนาขึ้นมา.จิตเราจะได้มีกำลังเกาะบุญกุศลไม่ไปเกิดอบายภูมิ เพราะเราระงับเวทนาได้เพราะฝึกมา จะช่วยได้เพราะจิตเราสงบจากการปฏิบัติ

    เราพิจารณาเวททนาที่เกิด ถ้าถึงที่สุด เราจะระงับเวทนาได้ ตัดเวทนาที่เกิดได้ จิตรวมลงสมาธิ ครับ

    เมื่อจิตเข้าสมาธิ ถ้าจิตเราเป็นผู้รู้ จิตทรงสมาธิ ฌาน ได้ เราสามารถ วิปัสสนา ธรรม เวทนานุสติปัฏฐาน ต่อได้ ภายในจิตที่มีฐานเป็นสมาธิ เพื่อมรรคผลนิพพาน ต่อไปได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2018
  3. ppsinee

    ppsinee สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +15
    เข้าใจขึ้นเยอะเลยค่ะ จะพยายามทนความเจ็บความเมื่อยให้ได้ค่ะ ขอบคุณนะค่ะ:)
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    แนะนำ 2 สาย ในการปฏิบัติ

    1.เกาะคำบริกรรมในกรรมฐานที่ปฏิบัติไม่ให้ขาดสาย จิตเราเสวยอารมณ์ได้เพียงทีละหนึ่ง เท่านั้น เรายึดคำบริกรรมไม่ให้ขาดสาย ไม่ให้อารมณ์เวทนาที่เกิดเข้ามาแทรกได้ บริกรรมไปเรื่อยๆ จิตเริ่มสงบ จิตรวมลงสมาธิ จิตเป็นสมาธิ เข้าสมาธิ เราจักระงับเวทนาทางกาย ไม่รับรู้เวทนาทางกาย เพราะจิตเราลงเป็นสมาธิ ครับ มันจะกายอยู่ส่วนกาย จิตอยู่ส่วนจิต แยกออกจากกัน เมื่อจิตเป็นสมาธิ เราก็จะ บริกรรมต่อ หรือ จะ วิปัสสนาต่อไป ก็ตามสะดวก


    2.ให้พิจารณา เวทนาที่เกิด ด้วยธรรมที่เรามีภูมิ คือการพิจารณาภายนอก พิจารณาเวทนาไปเรื่อยๆ พิจารณาเวทนาไล่ไปเรื่อยๆ ถ้าไล่ไปจนถึงที่สุด เมื่อจิตเราระงับความฟุ้งซ่าน ระงับจากนิวรณ์ 5 ได้ จิตเราจะเริ่มสงบลง จิตเราจะรวมลงสมาธิ เราก็จะระงับเวทนาทางกาย เวทนาจะหายไป ไม่รับรู้เวทนาที่เกิดกับร่างกาย ได้เหมือนกันเพราะจิตเราเข้าสมาธิ จิตกับกาย แยกออกจากกัน เมื่อจิตรวมลงสมาธิ ครับ

    เวลาปฏิบัติ เราต้องเลือกสายใด สายนึง ในการปฏิบัติ ไม่เปลี่ยนไปมา แต่เอาแค่หนึ่ง เพราะเราต้องรักษาอารมณ์หนึ่ง เพื่อให้จิตสงบ ลงสมาธิ ครับ
     
  5. แนน จันทบุรี

    แนน จันทบุรี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2018
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +82
    ....๑.จิตส่งออกนอก นอกจากคำบริกรรม ..๒.จิตตามความนึกคิดที่ไม่ใช่คำบริกรรม...๓.อารมณ์จิตติดกับความนึกคิดเรื่องนั้นๆ จนเกิดวิตกวิจารณ์ (เช่น เมื่อยขา ชา แล้วคิดแต่เรื่องเมื่อยชาแล้วแวบไปคิดเรื่องอื่นต่อ ตอบกับตัวเองจะนั่งต่อหรืออะไรทำนองนี้) ...๔...ทนทำสมาธิต่อไปจนบางทีคล้ายกับว่าคิดก็คิด ไม่คิดก็ช่าง แล้วแว้บนึงจิตนิ่ง ว่างอยู่...๕..ทราบถึงความสงบ อารมณ์สมาธิ จิต เพราะฉะนั้นสำคัญที่สติจดจ่ออยู่กับจิต ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด แล้วจะรู้ว่าจิตพุทธะเป็นอย่างไร..
     
  6. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    เวทนาเกิด ก็รับรู้ว่าเวทนาเกิด เวทนาอะไรบ้าง แต่ก็ยังรับรู้ลมเหมือนเดิม ก็คือสนใจทั้ง 2 จุด
    ถ้ารับรู้เวทนาได้น้อยลง และรับรู้ลมได้ชัดขึ้นเรื่อยๆ ต่อไปจะเข้าฌาน

    แต่ถ้า รับรู้ได้ทั้ง 2 จุด แต่เหมือนไม่ได้รับรู้ลมชัดขึ้น ควรพิจารณา ไปเรื่อยๆ โดยที่ยังรับรู้ทั้งเวทนาและลม
    ว่า มีร่างกาย จึงมีเวทนา มีเวทนา ทำให้ทุกข์ พิจารณาไปเรื่อยๆ

    ถ้าเจ็บปวดมากจนทนไม่ไหว ให้ถอนการรับรู้เวทนาลง มารับรู้ลม และพิจารณาทุกข์
    พอรู้สึกว่าเต็มอิ่มอยากออกสมาธิ ให้ข่มใจอยูในสมาธิต่ออีกนิด
    ถ้าอยากออกสมาธิอีก ค่อยคลายสมาธิ ทำความรู้สึกทั่วตัว แผ่เมตตา อุทิศบุญกุศล แล้วออก
     
  7. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ปกติทั่วไปถ้าตัดนิวรณ์ ๕ ได้ขาดจริงๆ
    ในขณะนั่งสมาธิมักจะไม่เกิดเวทนาครับ
    โดยเฉพาะเรื่องที่มีเหตุมาจากในอดีต
    ยกเว้นหลังเลิกนั่ง เป็นเหน๊บบ้าง ชาบ้าง
    เป็นเรื่องธรรมดาของร่างกายครับ.....


    ยังไงให้ดูระเบียบร่างกายด้วยนะครับ....
    เช่น ท่านั่งขาซ้อนทับกันดีหรือเปล่าซึ่งช่วยได้
    ถ้ามีเบาะหนาพอสมควรมาหนุน
    หรือว่าเรา หลังตรงดีหรือเปล่า นั่งๆไปหลังโค้งลงไหม
    ดูระบบหายใจของเราว่า หายใจเข้าออกลึกท้องไหม
    และหยุดระลึกรู้ลมหายใจเข้าและออกที่ปลายจมูกได้ไหม
    และสายตาปกติเวลานั่งโน้มลงมามองที่ลิ้นปี่
    เพื่อตัดระบบความคิดหรือยัง..

    อีกอย่างหนึ่งที่เป็นเหตุ
    ก็คือ การใช้ความคิดในขณะที่นั่ง
    คือถ้าเกิดมีความคิดในอดีตขึ้นมา โดยมาเป็นสัญญา
    ความจำได้ ที่มาจากการอ่านและได้ยินได้ฟังมา
    โดยเฉพาะความรู้ทาง ด้านสมาธิ เวลานั้งให้ลืมไปเลยนะครับ
    อย่าไปสนใจมันนะครับ เพราะนี่เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง........

    ทั่วไปกำลังในระดับปฐมฌาน
    ก็พอจะผ่านได้แล้วหละครับเวทนาเนี่ย ...
    ยังไง ดูองค์ประกอบอื่นๆร่วมด้วยนะครับ.......
    ว่าเป็นไปตามข้างบนไหม
    แล้วค่อยมาดูเรื่อง การพิจารณาเวทนานะครับ
    เพราะ เราจะยังพิจารณาอะไรยังไม่เกิดผลได้ ณ เวลานี้นะครับ
    หากว่า จิตเรามันยังไม่เข้าใจกิริยา
    '' ว่างรับรู้อยู่ภายในอย่างนั้นครับ'' และไม่เข้าใจคำว่า
    ''การวางอารมย์เรื่องที่จะพิจาณาครับ''
    ว่างคือ จิตไม่เกิด ณ ขณะนั้น เหมือน นิ่งๆ
    แต่มีสติคอยควบคุม โดยไม่มีความคิดใดๆ
    เข้าไปแทรกแซงครับ
    ไม่งั้นเสียเวลานั่งเฉยๆครับ.......
     
  8. poon-pan

    poon-pan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,292
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,115
    มีเพื่อนผมได้สมาธิตอนหลังผ่าตัดหลัง เขามาเล่าให้ฟังว่า เจ็บแผลมาก ถึงมากที่สุด
    พอตามดู จิตรวมปุ๊บ เหมือนเข้าไปอยู่อีกโลกนึงครับ เข้าสมาธิได้ประมาณ 1 ชั่วโมงกว่าๆ
    พอออกจากสมาธิ กลับมาเจ็บทรมานเหมือนเดิม

    ...เพราะ...
    ...เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
    ...เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
    ...เพราะ...
     
  9. poon-pan

    poon-pan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,292
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,115
    ผมยังตอบไม่ตรงกับคำถาม
    ตอน 1


    ตามที่ผมเคยฝึกมา ถูกผิดอย่างไรต้องกราบขออภัยด้วยครับ

    - ช่วงแรกๆตอนฝึกใหม่ๆ ทนได้ยากครับ เรื่องความเจ็บปวด ส่วนมากจะแพ้มากกว่าชนะ

    -พอเราได้ฝึกบ่อยๆขึ้น เราก็จะค่อยๆรู้สึกว่าที่เราเคยรู้สึกเจ็บปวดมากตอนฝึกใหม่ๆนั้น เราจะเริ่มรู้สึกว่าความเจ็บปวดลดน้อยลงเมื่อเราเทียบกับเวลาที่นั่งเท่าๆกัน แต่เมื่อเรานั่งได้นานขึ้นเป็นเพราะเราฝึกบ่อยๆ ขนาดความเจ็บปวดมันก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เราก็ยังแพ้มากกว่าชนะอยู่ดี ตอนนั้นผมก็เคยคิดเหมือนกันว่าเราก็ยังแพ้อยู่อีกเช่นเดิม เคยถามครูบาอาจารย์ว่า ผมสามารถขยับขาได้หรือไม่เวลาที่เรารู้สึกว่าไม่ไหวจริงๆ ท่านก็ตอบมาว่า ขยับได้แต่ให้ขยับแบบมีสติ เราก็สบายเลย หายทุกข์ โล่งเลย เพราะครูบาอาจารย์บอกว่าให้ขยับได้ ( เรามาได้คิดทีหลังว่า ตอนนั้นยังใหม่ๆ ถ้าครูบาอาจารย์บอกไม่ให้ขยับ สงสัยเราคงจะต้องลาจากไปเป็นแน่)

    - พอเราฝึกมาเรื่อยๆ มีความถี่มากขึ้น ประกอบกับการศึกษาแนวทางการปฏิบัติของครูบาอาจารย์พร้อมทั้งอ่านตำรา (ทฤษฎี)อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้รู้และเข้าใจว่า ที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนลูกศิษย์ที่เป็นนักบวชนั้น ท่านจะสอนแบบอุกฤษฏ์คือตายเป็นตาย นั่งสมาธิแล้วรู้สึกเจ็บปวดท่านก็บอกว่าให้นั่งเจ็บไปจนตายไปเลย แต่เรายังไม่ถึงขั้นนั่น พอเรานั่งแล้วเจ็บปวดก็ต้องถอนก่อน ถอนแล้วก็นั่งเข้าสมาธิใหม่ ทำอย่างนี้บ่อยๆ มันก็ดีขึ้นนั่งทนเจ็บได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน คำว่าทนเจ็บนี้ ไม่ได้หมายความว่า จะต้องมีหน้าตาบูดเบี้ยว กัดฟันกรอดๆนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2018
  10. poon-pan

    poon-pan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,292
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,115
    ผมยังตอบไม่ตรงกับคำถาม
    ตอน 2


    ที่ว่าทนเจ็บได้มากขึ้นเพราะเรามีสติดีขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้เรามีความสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงในความเจ็บปวดอันนั้น (ผัสสะ คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง หย่อน) ชัดขึ้น จิตมันก็เริ่มเข้าใจและยอมรับได้มากขึ้น ว่ามันก็เป็นเช่นนั้นเอง แต่ระดับของความเจ็บปวดมันต้องไม่เกินกำลังของสติ ถ้าขนาดความเจ็บปวดมันมากขึ้นเกินระดับของสติของเรา เราก็ต้องทนไม่ไหว ขอถอนก่อน พักก่อน แล้วจึงค่อยเริ่มทำใหม่ ก็เหมือนกับตอนที่เราทำซ้ำตอนฝึกใหม่ๆ

    ผมขอขยายความ ที่ว่า
    มันก็เป็นเช่นนั้นเอง ตามที่ผมเข้าใจนะครับ ขอเน้นแค่องค์สามจากสิบสามของปฏิจสมุปบาท

    ?temp_hash=b7e1f3bf4a9b91759d427f03e7224883.jpg



    มันก็เป็นเช่นนั้นเองก็คือ ตามความผมเข้าใจของผมว่า เวลาเรานั่งสมาธิแล้วอย่าให้มีตัณหาเกิดขึ้น เหมือนกับคำของหลวงปู่สังวาลย์ ท่านเทศน์สอนการปฏิบัติ ว่าให้ รู้เฉย รู้เฉย รู้เฉย

    ไม่รู้ว่าจะตรงกับสิ่งที่ถามหรือไม่ครับ

    ถ้าสิ่งที่ข้าพเจ้าได้พูดและมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดผิดพลาดไปโดยที่ข้าพเจ้าไม่ได้มีเจตนา
    ข้าพเจ้ากราบขอขมาต่อพระธรรม


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p8.jpg
      p8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.4 KB
      เปิดดู:
      77
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2018
  11. ppsinee

    ppsinee สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +15
    ขอบคุณนะค่ะได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลย
     
  12. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    จริงๆทริคมันไม่มีอะไรมากหรอกครับ....มันแค่เรื่องสิวๆ...
    ไม่ต้องไปใช้สัญญา ความรู้อะไรทางโลกหรอกครับ
    ยิ่งอ่านมาก รู้มาก พอไปปฏิบัติ ยิ่งเฟื่อ ยิ่งเพ้อ ไม่พ้นการมโนครับ...
    เวลาปฏิบัติจำไว้ ยิ่งโง่ ยิ่งไม่รู้อะไรเลย ยิ่งไปได้เร็วครับ
    แต่อย่าเป็น บุคคลขี้สงสัย ในกิริยานามธรรมระหว่างทาง
    ให้ อเมริกัน ลูกทุ่ง ลุยไปก่อน อย่าไปยึดไปสนใจ
    ทุกๆกิริยาระหว่างทางก็พอครับ

    เพียงแต่ที่ไม่อยากแนะนำ เพราะเคยเห็นนักปฏิบัติหลายคน
    พอผ่านไปถึงขั้นที่มันเกิดการระเบิดเสียงดังมากกว่าระเบิด
    รวมทั้ง พบแสงสว่างจร้า ออกมาลุกเดินป๋อได้ปกติ ไม่เจ๊บอะไรแล้ว
    มักคิดว่า ตนเองบรรลุคุณธรรม มักคิดว่าเป็นสภาวะที่มันวิเศษวิโส
    ทั้งๆที่ มันเป็นเพียงสภาวะที่ทำให้เราตัดร่างกายได้ในระดับละเอียดขึ้นแค่นั้นเองครับ.....
    ถ้า จขกท คิดว่าในอนาคตจะไม่หลงสภาวะหลงตัวเอง ก็จะแนะทริคง่ายๆให้ดังนี้...

    การเตรียมความพร้อม
    ให้ดูว่า เราตัดนิวรณ์ ๕ ได้จริงๆไหม(ปกติถ้าตัดได้
    นั่งให้ตายก็มักจะไม่เกิดเวทนาอะไร ยกเว้นเลิกนั่งแล้วเป็นเหน๊บรับประทาน)
    และก็ดูระบบหายใจพื้นฐานเราว่าพร้อมหรือยัง
    ตลอดจนสำรวจท่านั่งของเราว่า หลังตรงดีไหม มีหมอนรองสูงเพียงพอตอนนั่งไหม
    ถ้าคิอว่าพร้อมแล้วก็ไปต่อได้....


    วิธีแรก
    ๑.เป็นการตัดเวทนาได้ชั่วคราว
    ซึ่งสามารถใช้ได้แม้กระทั่งลืมตาปกติ
    ก็คือ การฝึกตัดระบบลมหายใจเข้าและออก
    ก่อนที่มันจะมาหยุดที่ปลายจมูกให้ได้หลายๆรอบ
    หลักการนี้ใช้ได้ทั่วไป แต่ระงับได้เพียงชั่วคราว
    แต่ถ้า พื้นฐานลมหายใจเข้าและออกยังไม่หยุดที่ปลายจมูก
    และยังไม่ลึกถึงท้อง จะทำแบบนี้ไม่ได้ เพราะจะไม่เข้าใจ....
    ทริคนี้เหมาะสำหรับ

    ในระดับกำลังสมาธิไม่มาก
    ถ้าหากเกิดเวทนาทางกายขึ้นมา
    ถ้าทำได้ จิตจะไม่สนกาย และจะลืมเวทนานั้น
    และทำได้ต่อเนื่องมันจะไป ข้อต่อไปคือ

    ๒. เด่วมันจะก้าวข้ามไปของมันได้เองอัตโนมัติ
    แต่ต้องมีกำลังสมาธิสะสมและกำลังสติเพียงพอ
    (ต้องอาศัยการเจริญสติในชีวิตประจำวันให้ต่อเนื่องจริงๆเป็นทุน)
    เพราะไม่งั้นถ้า มันข้ามในขั้นที่ ๑ ไปได้แล้ว ตัวจิตมันจะไม่อยู่
    ในร่างกาย มันจะ สิบเอด รด ออกไป เที่ยวข้างนอกแทน
    เพราะมันเป็นกมลสันดาน ปกติของจิตที่ชอบท่องเที่ยวครับ.....


    จนกระทั่ง มีกำลังมากพอ ที่จะควบคุมมันให้อยู่ในร่างกายได้
    เด่วจิตจะพลิก จากการ ไป สิบเอด รด ข้างนอก
    เปลี่ยนวิ่งเข้ามา ดูภายในร่างกายของเราได้เอง
    พูดง่ายๆว่า เราจะมองเห็นอวัยวะภายในร่างกายเราได้นั่นหละ
    บางทีมันก็ แรด วิ่งไปตามเส้นเลือดเราก็ยังไง.....

    อานิสงค์อย่างหนึ่ง หากว่า มันได้วิ่งไปยังอวัยวะส่วนไหนของ
    ร่างกาย จนเกิดการระเบิดได้แล้ว.....อวัยวะส่วนนั้นที่เคยพร่อง
    มันจะสามารถหายได้อย่างน่าประหลาดใจ ถ้าเราลืมตาออกมา
    ใช้ชีวิตปกติ ไม่ว่าเราจะเคยเป็นมาแล้วกี่ปีก็ตาม มันก็หายได้อย่างประหลาด
    นี่เป็น ผลที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่งเป็นปกติของมัน
    จนกระทั่ง มันจะวิ่งไปจนเบื่อ และก็ดูของมันไป
    จนกระทั่งรู้เห็นของมัน จนเกิดการระเบิดอีกครั้ง
    เสียงดังกว่าระเบิด ประกอบด้วยสีขาวสว่างโล่ง
    นั่นคือ จิตมันเริ่มรู้ว่า การเกิดร่างกายนี้มัน ไม่เที่ยงแล้ว
    เราก็จะได้ อานิสงค์ เรื่องการยึดติดในร่างกายตนเอง


    ตรงนี้ที่พอได้ประโยชน์ จากมัน
    สังเกตุว่า มันไม่ได้เกี่ยวกับการบรรลุคุณธรรมระดับสูงอะไรเลย
    มันไม่ได้ ทำให้บุคคลนั้นๆ มีคุณวิเศษอะไรเลย
    แต่มันเป็นฐาน ให้บุคคลนั้น ไปเดินปัญญาต่อ
    เพื่อให้ไม่ยินดี ในกามารมย์ ไม่ชื่นชมในกามคุณ
    และไม่ยึดติด ได้ ทั้งรูป และทั้งนามธรรมทั้งหลาย
    เป็นเหตุให้ความเข้าใจทางธรรมเราดีขึ้น
    เนื่องจาก อารมย์ กิเลส ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นนามธรรม

    มันพอได้ผลมาอย่างที่เล่าให้ฟังข้างบนนั่นหละครับ
    เพียงแต่ว่า มันต้องอาศัยกำลังสมาธิที่สูงหน่อย


    โดยมา นักปฏิบัติ มักจะติดในระดับปฐมฌาน
    พอเกิดเวทนา ก็ไม่รู้ว่าจะไปไงต่อ เพราะทนต่อเวทนาไม่ได้
    ไม่ให้ทริค ในการมาระลึกลมหายใจ
    พอมีความคิดผุดก็ไปต่อไปได้อีก ไปพยายาม
    ที่จะวางมัน ไปพิจารณามัน
    ไปพยายามดูมัน รู้มัน ก็เลยไม่ก้าวหน้าซักที
    แทนที่จะมาสร้างกำลังสมาธิสะสม เพื่อก้าวข้าม
    มันไปให้ได้ แต่ไปติดกับ พวกความคิดผุดเหล่านั้น
    ที่มันขึ้นมาหลอกให้เราใช้สัญญาไปดับมัน
    หรือหลอกให้เราไปพิจารณามัน ทั้งๆที่จิต
    เรายังไม่เป็นกลางครับ.....

    ปล. แค่เพียงแต่เล่าให้ฟัง.....
     
  13. poon-pan

    poon-pan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,292
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,115
    ปริยัติ ปฏิบัติ ปริเวธ คือหนึ่งเดียวกัน
     
  14. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ตอนแรก จะไม่อ้างแระ
    แต่เจอไอ้แต๋วแตก
    พ่อจอมถนัด วิเคราะห์ ตำรา
    ไอ้ปริยัติ อาพาธ เป็นผู้ชายแท้
    หรือเปล่า ถึงได้ตั้งกระทู้
    ใหม่ เน้นสีแดง แล้วล็อกกระทู้
    เพื่อเอาตำรามา เน้นสีชัดเจน
    เอาฟาดฟันคนอื่นๆ ไอ้มุขเสี่ยวๆ
    ตามตำรา อาจจะขู่คนอื่นๆได้หรอกนะ ไอ้แต๋ว
    แต่ใช้กับข้าพเจ้า
    ไม่ได้ผลหรอกนะ
    การปฎิบัติมัน คิดวิเคราะห์
    เอาไม่ได้หรอก ไม่มีใครสำเร็จได้จากการอ่านหรอกนะ ๕๕๕
    อย่ามาทำเก่ง วิเคราะห์
    พอโดนแหย่
    ดิ้นพล่านถึงขั้นตั้งกระทู้ใหม่
    ๕๕๕



    ปริยัติ อาพาธ เพราะคิด วิพากษ์ วิจารณ์วิเคราะห์ แยกแยะ ตีความ ตามความเข้าใจ
    ตามกิเลส
    หาได้มาจากปฎิบัติ

    ปฎิบัติ อาเพธ เพราะเอาสัญญาความจำได้เป็นตัวนำ เอาโมหะเป็นตัวนำในการปฎิบัติ
    จนลืมหลักสำคัญว่าพุทธศาสนาเน้นเพื่ออะไร

    ปฎิเวธ อาภัพ เพราะปริยัติตีความ ปฎิบัติตีความเพราะยังไม่เคยผ่านหรือมีประสบการณ์มาก่อน

    กลายเป็นที่มา
    ของ ฝึกกรรมฐานอะไร
    ก็ไม่เคยสำเร็จและใช้งานได้ซักอย่าง

    และฝึกเดินปัญญามา แต่ความเข้าใจทางนามธรรม ไม่ดีขึ้น องค์ความรู้ไม่แจ้งแทง
    ตลอดเพื่อการละคลาย

    จิตก็ไม่พัฒนาในทางการ
    ลด ละคลาย
    สิ่งยึดเกาะต่างๆ
    ตลอดจนจิตไม่เคยคลายตัวเองได้ตามธรรมชาติของมันเองในระหว่างวัน


    คนจะปฎิบัติได้ดี
    เริ่มต้นปฎิบัติต้องโง่ให้เป็น
    อย่าติดหล่อ ติดเท่ห์
    อย่าติดการได้รับการยอมรับ
    ว่าตนไปไหนจะได้รับการต้อนรับ

    ทิ้งทิฐิมานะให้เป็น
    แล้วมาปฎิบัติให้เข้าถึง
    ให้รู้ เมื่อรู้แล้วก็ต้องวางเป็น.
    ปริยัติถึงจะไม่ป่วย
    ปฎิบัติถึงจะไม่อาเพธ
    ปฎิเวธจะตามมาเอง

    ไม่งั้นการปฎิบัติก็จะ
    อยู่ระหว่างทางของ
    กิริยาที่เกิดได้ปกติ
    แต่จะคิดว่าตนวิเศษเหนือใคร
    ทั้งๆที่ไม่มีความสามารถ
    ทางจิตใดๆ

    เดินปัญญาก็จะคิดว่า
    ที่ตนรู้ ที่ตนเห็น
    เป็นเครื่องรู้ ตัวรู้ ผู้รู้
    หรือเห็นผู้ดูเป็นผู้รู้
    ทั้งที่มันเป็นแค่กระบวนการปรุงแต่งที่ไม่รู้
    อะไรเลย

    เพียงแต่รู้ในสิ่งที่กระทบที่มาจากสัญญาความจำได้ในจิตตนเอง และก็จะหลง

    ว่าตนวิเศษ บรรลุคุณธรรม
    ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

    ทั้งที่ยังไม่เห็น
    เหตุที่ทำให้เกิด
    กระบวนการเกิด
    และเหตุที่ทำให้เกิด
    กระบวนการดับ

    เห็นแต่กระบวนการ
    ที่เกิดไปแล้วแค่ครึ่งๆ
    ไปเผลอว่าคือ การรู้
    ปริยัติ อาพาธ เพราะคิด วิพากษ์ วิจารณ์วิเคราะห์ แยกแยะ ตีความ ตามความเข้าใจ
    หาได้มาจากปฎิบัติ

    ปฎิบัติ อาเพธ เพราะเอาสัญญาความจำได้เป็นตัวนำ เอาโมหะเป็นนำในการปฎิบัติ
    จนลืมหลักสำคัญว่าเน้นเพื่ออะไร

    ปฎิเวธ อาภัพ เพราะปริยัติตีความ ปฎิบัติตีความเพราะยังไม่เคยผ่านหรือมีประสบการณ์มาก่อน

    กลายเป็นที่มา ฝึกกรรมฐานอะไร
    ก็ไม่เคยสำเร็จและใช้งานได้ซักอย่าง

    และฝึกเดินปัญญามา แต่ความเข้าใจทางนามธรรม ไม่ดีขึ้น องค์ความรู้ไม่แจ้งแทง
    ตลอดเพื่อการละคลาย
    จิตก็ไม่พัฒนาในทางการ ลด ละคลาย
    สิ่งยึดเกาะต่างๆ
    ตลอดจนจิตไม่เคยคลายตัวเองได้ตามธรรมชาติของมันเองในระหว่างวัน


    คนจะปฎิบัติได้ดี เริ่มต้นปฎิบัติต้องโง่ให้เป็น
    ทิ้งทิฐิมานะให้เป็น แล้วมาปฎิบัติให้เข้าถึง
    ให้รู้ เมื่อรู้แล้วก็ต้องวางเป็น.
    ปริยัติถึงจะไม่ป่วย
    ปฎิบัติถึงจะไม่อาเพธ
    ปฎิเวธจะตามมาเอง

    ไม่งั้นการปฎิบัติก็จะ
    อยู่ระหว่างทางของกิริยาที่เกิดได้ปกติ
    แต่จะคิดว่าตนวิเศษเหนือใคร
    ทั้งๆที่ไม่มีความสามารถทางจิตใดๆ

    เดินปัญญาก็จะคิดว่า
    ที่ตนรู้ ที่ตนเห็น
    เป็นเครื่องรู้ ตัวรู้ ผู้รู้
    หรือเห็นผู้ดูเป็นผู้รู้
    ทั้งที่มันเป็นแค่กระบวนการปรุงแต่งที่ไม่รู้อะไรเลย เพียงแต่รู้ในสิ่งที่กระทบที่มาจากสัญญาความจำได้ในจิตตนเอง และก็จะหลง
    ว่าตนวิเศษ บรรลุคุณธรรม

    ทั้งที่ยังไม่เห็นเหตุที่ทำให้เกิด
    กระบวนการเกิด
    และเหตุที่ทำให้เกิด
    กระบวนการดับ

    เห็นแต่กระบวนการที่เกิดไปแล้วแค่ครึ่งๆ
    แต่จะเผลอคิดว่าตนบรรลุ
    มีคุณธรรม มีคุณวิเศษ
    อย่างไม่น่าเชื่อ


    กลับตัวฉุกคิดได้ ยังพอจะทำ
    คนจะเก่ง ต้องเก่งนอกบ้าน
    ไม่อยู่ในบ้าน แล้วประกาศ
    ให้คนนอกบ้านได้ยิน
    แต่ไม่กล้าออกนอกบ้าน
    เพื่อพิสูจน์ความเป็นจริง


    ปล แค่เพียงแต่เล่าให้ฟัง
    ธรรมะและการปฎิบัติเป็นสากล
    สากลคือไปได้ทุกที่ ทุกสถานครับ
    แต่จะเผลอคิดว่าตนบรรลุ
    มีคุณธรรม มีคุณวิเศษ


    กลับตัวฉุกคิดได้ ยังพอจะทัน
    คนจะเก่ง ต้องเก่งนอกบ้าน
    ไม่ใช่อยู่ในบ้าน แล้วประกาศ
    ให้คนนอกบ้านได้ยินว่าตนเก่ง
    แต่ไม่กล้าออกนอกบ้าน
    เพื่อพิสูจน์ความเป็นจริง


    ปล แค่เพียงแต่เล่าให้ฟัง
    ธรรมะและการปฎิบัติเป็นสากล
    สากลคือไปได้ทุกที่
    ทุกสถานครับ.

    ความสามารถทางสมาธิ
    และทางปัญญาไม่แน่จริง
    แนะนำทำตัวอ่อนน้อมและสุภาพ
    เอาไว้ อนาคตจะดีขึ้นเอง

    ปล ฝากถึงแต๋ว ปริยัติ อาพาธ
    พอดีกระทู้ล็อก ^_^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2018
  15. ppsinee

    ppsinee สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +15
    ขอบคุณค่ะสงสัยต้องแกล้งโง่แล้วเพราะไปจำในหนังสือมาเยอะ55 มีประโยชน์มากเลยคะแล้วจะทำตามนะคะ
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    การภาวนา ก้ เหมือนการ คบเพื่อน

    เพือน มีนิสัย ยังไง หากกำหนดรู้ได้แล้ว ก้ คบต่อ

    ไม่ใช่ พอเหนการอ่านหนังสือมาก มันก้ำเกิน
    การภาวนา ก้ เอาหนังสือใส่ลิ้นชักไขกุญแจ
    ไม่ให้มันออกมา

    เพื่อน มี นิสัยยังไง เรารู้ เราก้ คบต่อ ปฏิโลมบ้าง
    อนุโลมบ้าง เปนเพื่อนกันไป ไม่โทษ ขันธ์5

    ตำราเขียนผิดหรือถูก ก้ใช้ ประกาศการมีอยู่
    จริงของ พระผู้มีพระภาคได้หมด แม้น เหลือ
    อักขระบาลี อักษรเดียวใต้ฐานพระพุทธรูป

    ความเพลิน ใน การคบ
    ความเพลิน ใน การไม่คบ

    ต่างหาก ที่ทำให้ ตัณหา สบช่อง
     

แชร์หน้านี้

Loading...