ถ้าเรามีหนังสือที่มีรูปพระพุทธอยู่แล้วไม่ใช้แล้วควรทำอย่างไร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nonthakoch, 2 ตุลาคม 2005.

  1. nonthakoch

    nonthakoch สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +1
    ถ้าเรามีหนังสือที่มีรูปพระพุทธอยู่แล้วไม่ใช้แล้วควรทำอย่างไร
    เช่นพวกหนังสือพิมพ์ กระดาษใบปลิว จะทิ้งก็กลัวบาป จะเผาก็ไม่แน่ใจ ควรทำอย่างไรดีครับ เก็ยไว้ก็ไม่มีที่เก็บ
     
  2. อักขรสั จร

    อักขรสั จร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    220
    ค่าพลัง:
    +343
    เผาโดยตั้งจิตว่า บูชาด้วยไฟ
     
  3. Paravatee

    Paravatee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,391
    ค่าพลัง:
    +2,970
    บริจาค ธรรมะครับ
    การให้ธรรมเป็น ทานย่อยเหนือการให้ทั้งปวง
     
  4. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    809
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ห้ามเผาเด็ดขาดนะครับ
    อาจถึงขั้นบาป ทำลายพระศาสนาได้
    ควรบริจาคดีที่สุดครับ เหนังสือพระ มอบให้วัดหรือห้องสมุด หนังสือพิมพ์อาจมอบให้วัดก็ได้

    โมทนาครับ (ปลไม่รู้มาตอบช้าไปหรือเปล่า)
     
  5. sao-wanee

    sao-wanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +124
    <TABLE id=HB_Mail_Container height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 UNSELECTABLE="on"><TBODY><TR height="100%" UNSELECTABLE="on" width="100%"><TD id=HB_Focus_Element vAlign=top width="100%" background="" height=250 UNSELECTABLE="off">หากเป็นรูปพระพุทธรูป หากรูปยังสวย ก็ใส่กรอบซิค่ะ นำไปให้คนอื่น ก็จะดีกว่ามาก ๆ
    หากเป็นหนังสือ นิตยสาร สิ่งพิมพ์ ก็ส่งหอสมุดเลย
    </TD></TR><TR UNSELECTABLE="on" hb_tag="1"><TD style="FONT-SIZE: 1pt" height=1 UNSELECTABLE="on">
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. dongtan

    dongtan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +100
    พอดีหนังสือบทสวดมนต์ผมมีพิมพ์หลังปกหน้าไว้เลยว่า "โปรดเก็บไว้ในที่สูง จงอย่าทิ้งขว้างหนังสือนี้ ถ้าท่านไม่ใช้ควรสละให้กับผู้ที่สนใจเพื่อเป็นธรรมทานต่อไป" ครับ
     
  7. sanya

    sanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    455
    ค่าพลัง:
    +2,687
    แล้วหนังสือพิมพ์ลงเกือบทุกอาทิตย์เลย จะไปบริจาคเขาคงไม่เอา จะทิ้งก็ไม่ได้
    บูชาด้วยการเผาไม่ได้ แล้วจะทำอย่างไร หาทางออกให้หน่อยซิ
    เช่น ทุกวันอาทิตย์ จะมีภาพพระเครื่อง ยิ่งบางฉบับมีทุกวัน มีคำสอนด้วย
    ลำบากใจ ผู้รู้ทั้งหลาย โปรดชี้แนะด้วย
     
  8. Hades

    Hades เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    236
    ค่าพลัง:
    +199
    ถ้าเป็นหนังสือธรรมะ เอาไปบริจาคได้ก็จะเป็นธรรมทาน แต่ถ้าบริจาคไม่ได้จะทิ้งหรือจะเผาก็คงไม่เป็นไรมั้งครับ เพราะจริงๆแล้วก็เป็นเพียงแค่กระดาษ มีหมึกที่เป็นรูปพระติดอยู่ ประกอบขึ้นมาด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ พระพุทธศาสนาไม่เคยสอนให้คนเราไปยึดถือ หรือยึดติดอะไรแบบนี้ เพราะทำให้เกิดทุกข์ อย่างคุณ nonthakoch, sanya คงเกิดทุกข์(ความไม่สบายใจ)แล้วใช่ไหมครับ ถึงได้ต้องมาโพสต์ถามกัน

    ที่ผมบอกไม่เป็นไร ไม่ใช่ผมมั่วมานะครับ พระบรมศาสดาท่านทรงสอนว่า "เราตถาคตกล่าวว่าเจตนาเป็นตัวกรรม" นี่คือความมีเหตุผลของพระพุทธศาสนา กรรมอันเป็นบาปอกุศล จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเรามีเจตนาที่เป็นบาปอกุศล การที่เราทิ้งหรือเผาหนังสือธรรมะ รูปพระ ฯลฯ ถ้าเจตนาเราไม่ได้ทำเพื่อต้องการลบหลู่พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ แต่ทำเพราะว่ามันรกเนื่องจากนำไปทำประโยชน์อะไรไม่ได้แล้ว อันนี้ไม่บาปแน่ๆ
     
  9. Hades

    Hades เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    236
    ค่าพลัง:
    +199
    ผมมีบทความจากคุณebusiness ที่เคยโพสต์ไว้ในโต๊ะศาสนาที่พันธ์ทิพย์ มาให้อ่านประกอบครับ


    _________________________________________________


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=2><TBODY><TR><TD width="100%" bgColor=#204080 colSpan=2 rowSpan=2>
    • [​IMG] <!--WapAllow0=Yes--><!--pda content="begin"--><BIG><BIG><!--Topic-->ไม่เจตนาได้บาปไหม? </BIG></BIG>
      <!--MsgIDBody=0-->ความสงสัยของสมเด็จพระบรมกษัตริย์

      กาลเมื่อพระสังคีติกาจารย์เจ้าทั้งปวง ซึ่งมีพระเรวัตเถระเจ้า และพระสัพพกามีเถระเจ้า เป็นประธาน ได้พากันกระทำทุติยสังคายนาเสร็จแล้วและเล็งเห็นด้วยอนาคตังสญาณว่า
      "สืบไปภายหน้า เมื่อศาสนาแห่งองค์พระมิ่งมงกุฏโมลีศรีศากยมุนีโคดมบรมครูเจ้าแห่งเราทั้งหลายล่วงไปได้ ๒๑๘ ปี พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช จะทรงมีอำนาจใหญ่ในชมพูทวีป

      พระองค์ทรงมีพระราชหฤทัยศรัทธาเลื่อมใสพระบวรพุทธศาสนา ลาภสักการะเป็นอันมากจึกเกิดขึ้นในสังฆมณฑล พวกเดียรถีย์ขัดสนก็จักเข้าปลอมบวชเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา และจักแสดงลัทธิของตนต่าง ๆ อ้างว่าเป็นพระธรรมวินัย เมื่อเป็นเช่นนี้พระศาสนาจักเศร้าหมองไม่ผ่องใส จักได้ใคร่ที่สามารถชำระมลทินแห่งพระศาสนาในครั้งนี้ได้เล่า"

      พระอรหันตเถระเจ้าทั้งหลายพิจารณาไป ก็ไม่เห็นใครอื่นนอกจาก ติสสมหาพรหม โดยเห็นว่าท่านติสสมหาพรหมซึ่งสถิตอยู่ในพรหมโลกขณะนี้เป็นผู้สมควรที่จักชำระมลทินแห่งพระศาสนาได้

      จึงพากันขึ้นไปยังพรหมโลกด้วยอริยฤทธิ์ อาราธนาให้ติสสมหาพรหมรับแล้ว จึงมอบภารธุณะไว้แก่พระสิควะ และพระจันทวัชชี ผู้ยังชนชีพอยู่ต่อไปได้ถึงสมัยนั้นว่า

      เมื่อถึงกาลท่านติสสมหาพรหมจุติลงมาเกิดในตระกูลโมคคัลลีพราหมณ์ให้รูปหนึ่งพากุมารมาบวชให้จงได้ ให้อีกรูปหนึ่งจัดการสอนให้กุมารนั้นแตกฉานในพระบริยัติธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าให้จงได้ มองภารธุระให้ดังนี้แล้ว พระสังคีติกาจารย์เจ้าทั้งหลายก็ถึงความวางใจดำรงชีวิตอยู่ในโลกตราบเท่าสิ้นชนมายุแล้ว ต่างก็ดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานไป <!--MsgFile=0-->
      <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#204080 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#204080 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>จากคุณ : <!--MsgFrom=0-->ebusiness [​IMG] [​IMG] - [ <!--MsgTime=0-->9 ต.ค. 48 22:35:09 <!--MsgIP=0-->]
      [​IMG] <!--EcardSend=0--><!--pda content="end"--><!--Begin Console--><HR align=left width="93%" color=#e0e0e0 SIZE=1>
      <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="87%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD><!--// <td align="center">[​IMG]</td>//--><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
      <!--End Console-->
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><!--pda content="begin"-->
    <HR align=center width="90%" color=#f0f0f0><!--pda content="end"-->
      • <!--MsgIDTop=1-->

        <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=1><TBODY><TR><TD>
        • [​IMG] <!--WapAllow1=Yes--><!--pda content="begin"-->ความคิดเห็นที่ 1 <A href="javascript:eek:penInformWindow(1)">[​IMG] [​IMG] <!--EcardManage=1--><!--EcardSend=1-->

          <!--MsgIDBody=1-->ครั้นถึงสมัยท่านติสสมหาพรหมจุติจากพรหมโลก ลงมาเกิดเป็นมนุษย์ในตระกูลโมคคัลลีพราหมณ์แล้ว สองพระมหาเถระเจ้าคือพระสิควะและพระจันทวัชชี ก็กระทำตามมติมหาเถระปัญชา เริ่มด้วยพระมหาเถระสิควะไปกระทำอุบายพาเอาติสสกุมารให้เข้ามาบวชเป็นสามเณรจนได้แล้วก็สอนให้เจริญพระวิปัสสนากรรมฐาน จนสามเณรติสสะนั้นได้สำเร็จพระโสดาปัตติผลญาณ แล้วจึงส่งให้ไปอยู่ในสำนักแห่งพระจันทวัชชีตามแผนการ

          ฝ่ายพระจันทวัชชีมหาเถระก็ให้สามเณรนั้นเล่าเรียนพระสูตรและพระอภิธรรม ครั้นอายุครบบวชก็จัดการให้ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา แล้วก็ให้เล่าเรียนพระวินัยปิฏกต่อไปอีก

          เมื่อตัสสภิกษุนั้นเล่าเรียนพระวินัยจบลงแล้ว จึงเริ่มบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป ยังวิปัสสนาญาณให้เกิดโดยลำดับ ในที่สุดก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ซึ่งมีความชำนาญในอภิญญาและพระปฏิสัมภิทาญาน มีเกียรติคุณงดงามรุ่งเรืองดุจพระจันทร์และพระอาทิตย์ สัตว์ทั้งปวงต่างก็พากันเคารพนับถือบูชาปรากฏนามในพระพุทธศาสนาโดยสมญานามว่า พระโมคคัลลีบุตรเถระเจ้า เป็นสังฆปาโมกข์ใหญ่อยู่ในครั้งนั้น

          ครั้นถึงสมัยแห่งพระเจ้าศรีธรรมมาโศกราช มลทินก็บังเกิดขึ้นแก่พระบวรพุทธศาสนา ดุจดังที่พระสังคีติกาจารย์เจ้าทั้งหลายได้เล็งเห็นไว้แล้วทุกประการ

          กล่าวคือเดียรถีย์นิครนถ์ซึ่งเป็นนักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา ไม่มีคนศรัทธาเลื่อมใส จึงมาลาภสักการะอันเสื่อมสูญไป โดยที่สุดจนถึงขั้นข้าวจะบริโภคและผ้าที่จะใช้นุ่งห่มก็หาได้ยากนักหนา และบางคราก็หาไม่ได้เลย

          ต่างคนก็ต่างอัตคัดและซูบผอมลงไปทุกที เมื่อเหลี่ยวมามองดูทางพระพุทธศาสนาเห็นว่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยลาภสักกระเหลือคณนา จึงต่างก็เข้ามาปลอมบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาโดยปลงศีรษะบวชเอาเองบ้าง นุ่งผ้าเหลืงห่มผ้าเหลือง โดยไม่ต้องมีพระอุปัชฌายาจารย์บ้าง แล้วต่างก็แสดงลัทธิแห่งตนว่า สิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นวินัย ร่วมกับพระภิกษุทั้งหลาย กระทำสาละวนต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาหามีความละอายแต่ประการใดไม่ เหตุการณ์เช่นนี้ทำให้พระภิกษุสงฆ์ผู้มีศีลเป็นที่รัก ต่างก็พากันอัดอั้นตันใจและได้รับความเดือนร้อนเป็นหนักหนา

          กาลครั้งนั้น ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเจ้า ซึ่งเป็นองค์อรหันต์ประกอบด้วยฉฬังคุเบกขา มิได้หวาดหวั่นไหวไปในอำนาจแห่งโลกธรรม เมื่อพระผู้เป็นเจ้าเห็นว่าเหล่าโจรคือคนทุศีลบังเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนากระทำการอันหยาบช้าลามกยิ่งนัก ทำให้พระสงฆ์ผู้มีศีลเป็นที่รักได้รับความคับอกคับใจเช่นนั้น ท่านจึงพิจารณาดูความเป็นไปด้วยญาณวิเศษในที่สุดก็ทราบว่า

          " อีกช้านานนัก พระศาสนาอันเป็นที่รักจึงจักหมดมลทินและปราศจากพวกโจร คือคนทุศีลเหล่านี้ได้" เมื่อพระผู้เป็นเจ้าเห็นเหตุดั่งนี้ ก็คิดที่จะหลบลี้หนีไปอยู่ในที่สงบวิเวกชั่วคราว จึงมอบคณะสงฆ์ซึ่งเป็นศิษย์แห่งตนให้เป็นภารธุระของพระมหินทเถระเจ้าแล้ว แต่เพียงองค์เดียวเท่านั้น เดินทางมุ่งหน้าไปอาศัยอยู่ ณ อโธตังคบรรพต จำเริญวิเวกสมาบัติอยู่ที่นั้น จนสิ้นการนานนับได้ ๗ พรรษา

          ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายในอโศการาม ก็ปรากฏว่าลดน้อยถอยลงไปทุกวัน ในที่สุดจึงมีเหลืออยู่น้อยนักหนา เมื่อมีพวกน้อย ก็มิอาจที่จะห้ามและข่มชี่หมู่เดียรถีย์พวกมากนั้นได้

          จึงพากันงดไม่กระทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกับหมู่เดียรถีย์ใจบาปอีกต่อไป โดยคิดว่าจักเป็นไรก็ตามทีเถิด แต่การจักให่ร่วมสังฆกรรมกับอลัชชีผู้มีใขบาปทั้งหลายนั้นทำไม่ได้ ต่อมาไม่ช้า สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมาโศการาชผู้เป็นใหญ่ ได้ทรงสดับข่าวว่าพระสงฆ์ในอโศการามเกิดแตกแยกกัน มิได้กระทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกันจึงทรงมีพระบรมราชโองการตรัสใช้อำมาตย์ผู้หนึ่งว่า

          " ท่านจงออกไประงับอธิกรณ์ แล้วให้พระสงฆ์ทั้งปวงกระทำสังฆกรรมร่วมกัน"

          อำมาตย์ผู้นั้น รับพระราชโองการใส่เกล้าแล้ว บังเกิดมีความสงสัยในกระแสพระราชดำรัสอยู่ แต่ไม่ได้ทูลถามให้แจ่มกระจ่าง กลับนำเอาความสงสัยนั้นไปถามเพื่อนอำมาตย์ด้วยกันว่า

          " มีรับสั่งให้ข้าไประงับอธิกรณ์พระสงฆ์ในอโศการาม ให้พระสงฆ์กระทำสังฆกรรมร่วมกัน ในกรณีนี้ข้าจักทำประการใดดี?"

          อำมาตย์ผู้เป็นสหายกันนั้น เป็นคนหาปัญญามิได้ ก็บอกออกไปตามประสาโง่แห่งตนว่า

          "ธรรมดาผู้ไประงับโจรในปัจจันตประเทศนั้น ย่อมฆ่าเสียซึ่งโจรทั้งหลายผู้ไม่กระทำตามพระราชบัญญัติที่ตราไว้ ให้ถึงซึ่งความตาย ปฏิบัติการอย่างนี้เป็นฉันใด ท่านก็ควรจักฆ่าเสียซึ่งพระภิกษุทั้งหลาย ผู้มิได้กระทำตามพระราชบัญชาองค์พระมหากษัตราธิบดีเหมือนฉะนั้น เราเข้าใจในพระราชดำรัสสั่งที่ทรงให้แก่ท่านนั้น จักต้องหมายความว่าอย่างนี้"

          อำมาตย์โง่ได้ฟังสหายโง่แนะนำอย่างโง่ ๆ เช่นนั้น ก็พลันด่วนไปยังพระอารามให้บอกพระสงฆ์ทั้งปวงได้ยินทั่วกันว่า

          " ข้าแต่พระสงฆ์ทั้งปวง! ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจงพร้อมใจกันกระทำอุโบสถร่วมกัน ตามพระราชโองการที่เข้าพเจ้าประกาศนี้"

          พระสงฆ์ผู้มีศีลเป็นที่รัก จึงกล่างตอบขึ้นว่า

          " การที่จะให้อาตมาภาพทั้งปวงกระทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกับอลัชชีเดียรถีย์นั้นทำไม่ได้ ขอท่านจงหาอุบายระงับอธิกรณ์นี้ให้ดีเถิด จักเกิดกุศลแก่ตัวท่านเป็นอันมาก"

          " ทำไม่ได้ ก็ตายเสียเถิด" อำมาตย์โง่เขลาเบาปัญญาว่าด้วยความโกรธดังนี้แล้ว ก็เอาดาบตัดศีรษะพระมหาเถระ ซึ่งนั่งอยู่บนเถรอาสน์อันดับแรกเสียขาดกระเด็นแล้วขู่ตะคอกถามพระเถระองค์ที่สองรองลงมาว่า

          " ท่านเล่า! ท่านจะยอมทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกัน ตามพระราชโองการได้หรือไม่"

          " ไม่ได้! อาตมาภาพจะร่วมกับพวกอลัชชีเดียรถีย์ไม่ได้ เจริญพร" พระเถระเจ้าองค์ที่สองกล่าวยังไม่ทันจะสิ้นคำ ศีรษะของท่านก็ขาดกระเด็นไปอีกองค์หนึ่ง เพราะมีฝีมือของอำมาตย์โง่ผู้บ้าเลือดโมหันธ์

          ขณะนั้น ท่านพระติสสเถระซึ่งเป็นพระอนุชาแห่งองค์สมเด็จพระราชาธิบดี ซึ่งนั่งประซุมอยู่ในที่นั้น ครั้นได้ทอดทัศนาการเห็นอำมาตย์ผู้หาปัญญามิได้ กระทำกรรมอันป่าเถื่อนโหดร้ายเห็นปานนั้น ท่านก็รีบลุกจากอาสนะสุดท้ายที่ตนนั่ง แล้วเดินมาลงนั่งคั่นกลางในระหว่างพระเถระซึ่งจะต้องถูกตัดศรีษะเป็นลำดับต่อไป

          เมื่ออำมาตย์ฆ่าพระสงฆ์เงยหน้าขึ้นแลเห็นภิกษุพระอนุชาก็เกรงอยู่แก่พระราชอาญา ไม่อาจจะเอ่ยปากถามและไม่อาจจะตัดศรีษะเหมือนพระสงฆ์องค์อื่น ๆ ได้ จึงยับยั้งการระงับอธกรณ์ตามประสาบ้าเลือดแห่งตนไว้เพียงเท่านั้น


          มีข้อความที่ควรกล่าวแทรกไว้ในที่นี้ว่า พระติสสอนุชาผู้มีปัญญาไว ซึ่งใช้อุบายยับยั้งการกระทำอันบ้าเลือดของอำมาตย์ อันเป็นการช่วยชีวิตของพระสงฆ์ผู้มีศีลเป็นที่รักไว้ได้เป็นอันมากในครั้งนี้นั้น แต่ก่อนท่านดำรงพระยศเป็นถึงสมเด็จเจ้ามหาอุปราช พอสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชได้ราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แล้วไม่นาน ท่านก็กราบถวายบังคมทูลลามาผนวชอยู่ในสำนักแห่งพระธรรมรักขิตเถรเจ้า พร้อมกับเหล่าบุรุษผู้เป็นข้าที่จงรักภักดีหลายคนอุตสาห์บำเพ็ญสมณธรรมเรื่อยมา <!--MsgFile=1--><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>


          จากคุณ : <!--MsgFrom=1-->ebusiness [​IMG] [​IMG] - [ <!--MsgTime=1-->9 ต.ค. 48 22:36:08 <!--MsgIP=1-->] <!--pda content="end"-->
        </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
        <!--pda tag="<hr align=center width=90%>"--><!--MsgIDBottom=1--><!--MsgIDTop=2-->

        <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=1><TBODY><TR><TD>
        • [​IMG] <!--WapAllow2=Yes--><!--pda content="begin"-->ความคิดเห็นที่ 2 <A href="javascript:eek:penInformWindow(2)">[​IMG] [​IMG] <!--EcardManage=2--><!--EcardSend=2-->

          <!--MsgIDBody=2-->ฝ่ายอำมาตย์โง่ผู้ทำบาปหนัก เมื่อกลับจากอารามใหญ่ไปถึงที่เฝ้า องค์สมเด็จพระราชาธิบดีแล้ว ก็กราบทูลว่า

          " ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ! กระหม่อมฉันถือรับสั่งออกไประงับอธิกรณ์ให้พระสงฆ์กระทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกัน พระสงฆ์เหล่านั้นขัดรับสั่งไม่กระทำตาม กระหม่อมฉันจึงเอาดาบตัดศรีษะพระภิกษุเหล่านั้นเสียให้ล้มลงตามลับดับ นับแต่พระมหาเถระองค์ที่นั้งเป็นหัวหน้าลงมาจนกระทั้งถึงพระติสสะผู้เป็นพระอนุชา กระหม่อมฉันให้สงสัยมิอาจจะฆ่าได้ พระองค์จักทรงโปรดรับสั่งอีกประการใด จักทรงโปรดให้ไปฆ่าพระสงฆ์ตั้งแต่พระติสสะอนุชาเป็นต้นไปหรืออย่างไร หรือว่าจักเว้นพระอนุชาไว้แล้วเลยไปฆ่าพระวงฆ์องค์ที่นั่งถัดไปอีก พระเจ้าข้า"

          " หา ! ว่าอย่างไรนะ" สมเด็จพระราชาธิบดีตรัสถามด้วยความตกพระทัยแทบจักไม่เชื่อพระกรรณแห่งพระองค์เองด้วยซ้ำไปว่า จักได้สดับข่าวอันเป็นบาปหนักอย่างร้ายกาจเห็นปานนั้น ต่อเมื่อเจ้าอำมาตย์พาลนั้นกราบทูลอีกครั้งหนึ่งนั้นแล พระองค์จึงได้ทรงเชื่อว่าเหตุการณ์ร้ายนั้นได้เกิดขึ้นแล้วจริง ๆ จึงรีบเสด็จไปยังพระอารามโดยด่วน

          ทรงรับเป็นพระราชภาระจัดการพระราชทานเพลิงศพพระภิกษุสงฆ์ ผู้ซึ่งรักพระศาสนายิ่งกว่าชีบิตเหล่านั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงทรงมีพระกระแสรับสั่งให้เผดียงพระสงฆ์ทั้งหมดมาประชุมพร้อมกันแล้วทรงมีพระราชปุจฉาไต่ถามพระสงฆ์ทั้งหลายถึงข้อกังขาความสงสัยอันเป็นสลักปักแน่นในพระหฤทัยว่า

          "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งปวง! โยมนี้ได้ฟังข่าวพระผู้เป็นเจ้าในพระอารามนี้ ไม่มีความสามัคคีไม่กระทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกัน จึงใช้ให้อำมาตย์พาลมันมาระงับอธิกรณ์ช่วยเกลี้ยกล่อมให้สามัคคีกัน ด้วยความเคารพมั่นคงในพระบวรพุทธศาสนา แต่อำมาตย์ที่โยมไว้ใจใช้มา มันประพฤติการประหนึ่งเป็นบ้า เที่ยวฆ่าฟันพระผู้เป็นเจ้าเสียป่นปี้ โยมนี้เป็นทุกข์หนัก เกรงว่าจักได้บาปจึงใคร่ที่จะถามพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงว่าบาปกรรมที่กระทำลงไปในครั้งนี้ จะตกอยู่แก่โยม หรือว่าจตกอยู่แก่อำมาตย์ผู้โง่เขลานั้นแต่ผู้เดียว ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายได้โปรดเมตตากรุณาบอกให้โยมผู้กำลังทุกข์หนักนี้ทราบด้งยเถิด พระเข้าข้า"

          " ตกอยู่แกมหาบพิตร! คือว่าบาปกรรมที่ฆ่าพระสงฆ์ตาย อันบาปร้ายกาจในครั้งนี้ ตกอยู่แก่มหาบพิตรผู้บังคับใช้ และตกอยู่แก่อำมาตย์สันดานร้าย รวมทั้ง ๒ ด้วยกันนั้นแล ขอถวายพระพร" พระภิกษุพวกหนึ่งซึ่งยังเป็นปุถุชนหาปัญญามิได้ ซ้ำรู้สึกขัดเคืองใจในกรณีที่เกิดขึ้นกรุ่น ๆ อยู่ถวายพระพรไปอย่างพิกลดังนี้

          ฝ่ายภิกษุอีกพวกหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้มีปัญญา เมื่อเห็นได้ท่าแล้ว จึงตั้งตนเป็นผู้พิพากษาสอบสวนสมเด็จพระราชาธิบดีขึ้นว่า

          " ขอถวายพระพร เมื่อมหาบพิตรใช้อำมาตย์นั้น มหาบพิตรมีเจตนาจะฆ่าพระสงฆ์เสียด้วย การณ์เป็นดังนี้หรือว่าหามิได้"

          “หามิได้ โยมนี้ใช้ให้มันมายังอโศกการามนี้ ก็ด้วยความหวังดี จักให้มันช่วยชี้แจงอ้อนวอนให้พระสงฆ์บังเกิดความสมัครใจสโมสรสามัคคี กระทำสังฆกรรมด้วยกัน เพื่อความเรียบร้อยในสังฆมณฑล โยมมีจิตเป็นกุศลอย่างนี้แล้วใช้ให้มันมาต่างหาก

          “ ขอถวายพระพร ถ้าหากมหาบพิตรพระราชกุศลเจตนา หวังจักให้ประโยชน์แก่พระสงฆ์ดังว่า มิได้ปลงพระหฤทัยให้มาฆ่าพระสงฆ์จริงแล้ว

          มหาบพิตรก็หาบาปไม่ คือว่าบาปนี้มิได้ตกอยู่แก่มหาบพิตรเลย แต่ตกอยู่แก่อำมาตย์ผู้นอกรับสั่งบังอาจฆ่าพระสงฆ์ตามลำพังเพียงผู้เดียวขอถวายพระพร” พระภิกษุพวกที่มีปัญญาพากันถวายพระพรในพระราชปุจฉา ว่าดังนี้

          สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมมาโศกราชผุ้เป็นใหญ่ ครั้นได้ทรงฟังพระสงฆ์ ถวายวิสัชนาในราชปุจฉาแตกแยกเป็น ๒ ฝ่ายไปเช่นนี้ ก็ยิ่งทรงมีพระวิตกเป็นทุกข์และมีความสงสัยนักหนา ในที่สุด จึงตรัสถามพระสงฆ์ทั้งปวงอีกว่า

          “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งปวง โยมนี้ใคร่จักถามพระผู้เป็นเจ้าว่า ในพระศาสนาเวลานี้มีพระภิกษุรูปใดบ้าง ซึ่งเป็นผู้มีปรีชาวิสารทะแกล้วกล้าในพระไตรปิฏกธรรม อาจที่จักทำลายความสงสัยให้ออกไปจากใจแห่งโยมได้อย่างเด็ดขาด มีหรือไม่มี”

          พระสงฆ์ทั้งหลาย ก็พร้อมใจกันถวายพระพรว่า

          “ ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร เห็นมีอยู่แต่พระเดชพระคุณพระโมคคัลลีบุตรดิสสเถระ พระคุณเจ้าองค์นี้แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ที่มีปัญญาเปรื่องปราด สามารถที่จักตัดความสงสัยแห่งบพิตรในครั้งนี้ได้ อยู่ที่นี่ ท่านหลบลี้ไปเจริญวิเวกสมาบัติอยู่ ณ อโธตังคบรรพตโน้น ขอถวายพระพร”

          สมเด็จพระราชาธิบดีผู้มีความวิตกในพระหฤทัย ครั้นได้ทรงฟังดังนั้น ก็ดีพระทัยนัก จึงอารารธนาพระมหาเถระผู้เป็นพระธรรมกถึก ๔ รูป และเลือกอำมาตย์ผู้ชลาด ๔ คนกับทั้งบริวาร ให้พร้อมใจกันเดินทางไปอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระมาโดยเร็วไว เมื่อพระมหาเถระ ๔ รูป และอำมาตย์ ๔ คนไปถึงที่อยู่แห่งพระมหาเถระเจ้าแล้ว จึงรีบเข้าไปหาและอาราธนาว่า

          “ ข้าแต่พระเดชพระคุณบัดนี้สมเด็จพระราชาบดีทรงมีพระบรมราชโองการให้หา ขอพระเดชพระคุณจงรีบออกเดินทางไปพร้อมกับพวกข้าพเจ้าด้วยเถิดอย่าได้ช้า”

          พระมหาโมคคัลลาบุตร ผู้ทรงพระคุณสุดประเสริฐ ได้สดับคำอาราธนาดังนี้ ก็มีกิริยานิ่งเฉยอยู่หาได้เดินทางมาเฝ้าสมเด็จพระบรมกษัตริยาธิราชเจ้า พร้อมกับทูตฝีปากสามัญเหล่านั้นไม่ เมื่อทูตเหล่านั้นพากันกลับมาด้วยความผิดหวัง และเข้าไปกราบทูลให้สมเด็จพระราชาธิบดีทรงทราบแล้ว พระองค์จึงทรงอาราธนาพระมาหาเถระ ๘ รูป และจัดอำมาตย์ ๘ คน พร้อมกับบริวารให้ร่วมเป็นคณะทูตออกเดินทางไปอาราธนาอีก แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะพระผู้เป็นเจ้าหาเดินทางมากับคนเหล่านั้นไม่ ในที่สุดพระองค์จึงทรงมีพระราชปุจฉาตรัสถามพระสงฆ์ทั้งปวงว่า

          “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย เหตุผลเป็นประการใดเล่า โยมนี้ใช้ให้เหล่าคณะทูตแต่ล้วนฝีปากดี ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายคฤหัสถ์ให้เดินทางไปอาราธนาถึงสองครั้งสองหนแล้ว แต่ฝ่ายคุณเจ้าพระมหาโมคคัลลาบุตรผู้มีปัญญาบริสุทธิ์ก็ยังไม่มา ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเหตุดังฤๅ?”

          พระสงฆ์ทั้งปวงปรึกษาหารือ กันอยู่เป็นเวลานาน เมื่อปีที่ตกลงกันแล้ว จึงพร้อมใจกันถวายพระพรว่า

          “ การที่เป็นเช่นนี้ เหตุสำคัญอยู่คณะทูตผู้ไปนิมนต์ คือคณะทูตผู้ไปนิมนต์ พอไปถึงก็เข้าไปอาราธนาท่านว่าพระมหากษัตริย์รับสั่งให้หาท่านจึงไม่มา หากว่ามหาบพิตรจักอบรมสั่งสอนคณะทูตเสียใหม่ แล้วใช้ให้ไปอาราธนาว่า พระบวรพุทธศาสนาแห่งเรานี้จะทรุดจะเสื่อมไปแล้วขอนิมนต์พระผู้เป็นเจ้าลงมาเป็นเพื่อนโยม จะได้ช่วยกับยกย่องพระบวรพุทธศาสนาให้สถิตสถาพรตั้งมั่นตลอดไป ทรงใช้ให้ไปอาราธนาดั่งนี้ เห็นทีท่านจะด่วนจรรีบมาเป็นแท้ ขอถวายพระพร”

          สมเด็จพระมหากษัตราธิบดี ครั้นได้ทรงฟังพระสงฆ์ถวายพระพรชี้แจงดังนั้น ก็ทรงดีพระทัย มีรับสั่งแต่งตั้งให้พระมหาเถระซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่ ๑๖ รูป และอำมาตย์ผู้ใหญ่ ๑๖ คนพร้อมกับบริวารของตนให้เป็นคณะทูตไปอาราธนา แล้วทรงพระราชปุจฉาไต่ถามพระสงฆ์ขึ้นอีกว่า

          “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ อันว่าองค์พระโมคคัลลาบุตรผู้มีปัญญานี้ท่านหนุ่มหรือแก่”

          “ เฒ่าแล้ว ขอถวายพระพร องค์อรหันต์ท่านพระโมคคัลลาบุตรนั้นท่านเป็นพระมหาขีณาสพผู้เฒ่าแล้ว เกรงว่าท่านจะมิอาจขึ้นสู่ยวดยานคานหามได้ด้วยเหตุชราภาพแล้ว”

          ท้าวเธอจึงทรงออกคำสั่งแก่เจ้าพนักงานทั้งหลาย ซึ่งมีหน้าที่ต้องเดินทางไปกับคณะทูตนั้นว่า

          “ นี่แน่พนาย พวกเจ้าจงตระเตรียมผูกเรือขนานไปรับพระผู้เป็นเจ้ามาเถิดอย่าให้ท่านต้องขึ้นยวดยานคานหามมาให้เป็นการลำบากแก่ท่านเลย”

          ครั้นคณะทูตผู้ใหญ่นั้นเดินทางไปถึงที่อยู่แห่งพระผู้เป็นเจ้าโมคคัลลาบุตรผู้เฒ่าแล้ว จึงพากันเข้าไปกราบกราน และอาราธนาด้วยกถาถ้อยคำตามที่คณะสงฆ์ถวายพระพรแก่องค์สมเด็จพระราชาธิบดีนั้นทุกประการฝ่ายพระโมคคัลลาบุตรติสสเถระเจ้า

          เมื่อได้ฟังคำอาราธนาว่าจะให้ไปบำรุงยกย่องพระบวรพุทธศาสนาดังนั้น ก็พลันบังเกิดความโสมนัสว่า

          “ อาตมาได้บวชและได้เล่าเรียนพระธรรมวินัยในพระศาสนานี้ ก็เพื่อที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา อุตสาห์จุติจากพรหมโลกลงมาเกิดครั้งนี้ไม่เป็นการเสียทีเสียประโยชน์ เพราะมีโอกาสที่จักได้สนองคุณพระพุทธศาสนา กาลครั้งนี้ก็สมควรแล้วที่อาตมาจักรีบไป” ดำริด้วยความโสมนัสผ่องใสดังนี้แล้ว ท่านจึงสลัดหนึ่งนิสิทนสันถัต แล้วก็ลุกขึ้นรีบเดินทางมากับคณะทูตเหล่านั้นแต่ในเพลาราตรี

          ก็ในเพลาราตรีนั้น สมเด็จพระศรีธรรมาโศกราชบพิตร เมื่อทรงเข้าบรรทมแล้วก็ทรงพระสุบินนิมิตไปว่า มีช้างสารใหญ่เชือกหนึ่งเผือกผู้ขาวผ่องบริสุทธิ์ เข้ามาลูบคลำพระองค์แต่พระเศียรเกล้าลงหา แล้วก็จับเอาพระกรเบื้องขวาของพระองค์เป็นอัศจรรย์ ครั้นท้าวเธอตื่นจากบรรทมก็ทรงสดุ้งพระทัยรังเกียจ จึงตรัสถามพราหมณ์โหราในเพลาเช้าว่า สุบินนิมิตนี้จักดีร้ายเป็นประการใด

          พราหมณ์โหราจารย์ทั้งหลาย ก็กราบทูลถวายคำพยากรณ์ว่า

          “ ข้าพระองค์ผู้ทรงเป็นสมมติเทพ พระสุบินนิมิตนี้ จักให้จำเริญพระราชสิริสวัสดิ์แก่พระองค์ คือพระสุบินนิมิตที่ว่ามีพญาคชสารช้างใหญ่เผือกผุดผ่องลูบคลำพระองค์ แล้วจับเอาพระกรเบื้องขวาของพระองค์ไว้นั้น

          มีคำพยากรณ์ว่า จะมีพระมหาสมณะองค์หนึ่งซึ่งมีคุณวุฒิอันบริสุทธิ์ จักเดินทางมารักษาพระองค์โดยรอบคอบ แล้วจะมาเปลื้องเสียซึ่งความสงสัยแห่งพระองค์ให้หายไป และพระองค์จะทรงพระสุขสวัสดิ์สุนทรภาพยิ่งขึ้นไปเป็นแน่แท้ พระเจ้า” <!--MsgFile=2--><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>


          จากคุณ : <!--MsgFrom=2-->ebusiness [​IMG] [​IMG] - [ <!--MsgTime=2-->9 ต.ค. 48 22:38:28 <!--MsgIP=2-->] <!--pda content="end"-->
        </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
        <!--pda tag="<hr align=center width=90%>"--><!--MsgIDBottom=2--><!--MsgIDTop=3-->

        <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=1><TBODY><TR><TD>
        • [​IMG] <!--WapAllow3=Yes--><!--pda content="begin"-->ความคิดเห็นที่ 3 <A href="javascript:eek:penInformWindow(3)">[​IMG] [​IMG] <!--EcardManage=3--><!--EcardSend=3-->

          <!--MsgIDBody=3-->ครั้นได้ทรงสดับพราหม์โหราถวายคำพยากรณ์ดังนั้นแล้ว ก็ทรงดีพระทัยโสมนัสนัก ต่อมาไม่ช้าพอได้ยินข่าวว่าพระโมคคัลลีบุตรติสสมหาเถระเจ้าเดินทางมาถึง จึงเสด็จไปปัจจุคมนาการต้อนรับที่ริมฝั่งแม่น้ำ และทรงดำเนินลงไปในน้ำประมาณเพียงพระชานุ แล้วก็ยื่นพระกรให้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเจ้า และตรัสว่า

          “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงเมตตาสงเคราะห์แก่โยม จงจับเอาหัตถ์แห่งโยมนี้แล้วลงจากเรือขนานเถิด”

          พระโมคคัลลีบุตรเถระเจ้าผู้มากไปด้วยความกรุณา เมื่อจะกระทำการสงเคราะห์แก่องค์สมเด็จพระมหากษัตย์ผู้รักษาพระองค์ เห็นพระมหาเถระเจ้าจับคร่าพระหัตถ์ แห่งองค์สมเด็จพระบรมกษัตริย์ ซึ่งเป็นการผิดกฏธรรมเนียม ก็ชักดาบออกจากฝักคิดว่าจะฟันพระมหาเถระเจ้า ตามพระราชกำหนดกฏหมายสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินว่าไว้

          ก่อนที่จะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น ก็บังเอิญให้สมเด็จพระราชาธิบดีศรีธรรมโศกราชทรงเหลือบเห็นเงาของอำมาตย์รักษาพระองค์ชักดาบจะฟันพระมหาเถระเจ้าเข้าพอดี จึงมีพระทัยประกอบไปด้วยความพิโรธเป็นอันมาก ทรงหันขวับเหลี่ยวพักตร์มาประจันหน้ากับอำมาตย์ผู้รักษาพระองค์ในทันใด เล็งแลดูด้วยสายพระเนตรขุ่นเขียว และทรงตัชนาการตวาดพระสุรเสียงอันดังว่า

          “ กูได้รับความทุกข์เดือดร้อนแต่ก่อนมา ก็เพราะใช้อ้ายอำมาตย์หาปัญญามิได้ และมันไพล่อวดดีไปฆ่าพระสงฆ์เสียทีหนึ่งแล้ว บัดนี้อ้ายรักษาองค์ จะประทุษร้ายฟันพระมหาเถระเจ้าอีกเล่า จะวอนหัวขาดเสียเปล่า ๆ แล้ว อ้ายพวกเหล่านี้”

          สมเด็จพระราชาธิบดีผู้มีความเลื้อมใสเป็นอย่างในพระพุทธศาสนาเธอทรงตรัสนาการขู่ตระคอกแก่อำมาตย์ผู้รักษาพระองค์ด้วยความแค้นพระทัยดังนี้แล้ว ก็ทรงพระมหาเถระเจ้าเข้าไปสู่สวนอุทยานอันเป็นที่สำราญพระหฤทัย แล้วก็ทรงชำระบาทยุคลพระมหาเถระด้วยสุครธวารีรสโดยพระหัตถ์แห่งพระองค์เอง

          เสร็จแล้วจึงทาด้วยน้ำมัน ครั้นทรงปฏิบัติพระมหาเถระเจ้าที่พระองค์ทรงเลื้อมใสให้เป็นที่สบายเช่นนี้แล้ว ก็ประทับนั่ง ที่ใกล้ ๆ มีพระราชประสงค์ใคร่จะลองใจพระมหาเถระเจ้าให้แจ้งว่าพระผู้เป็นเจ้าองค์นี้จักมีความสามารถเพื่อที่จะระงับอธิกรณ์แห่งสงฆ์ แลยกย่องพระบวรพุทธศาสนาได้หรือประการใด จึงตรัสถามขึ้นก่อนว่า

          “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ พระมหาเถระเจ้าผู้ชำนาญอภิญญาให้สำเร็จสมมโนรถได้หรือไม่”

          “ มหาบพิตรใคร่จักเห็นอย่างไร” พระมหาเถระเจ้าผู้ชำนาญอภิญญาถวายพระพรถามขึ้น

          “ โยมใคร่จักเห็นแผ่นดินไหว” สมเด็จพระราชาธิบดีทรงตอบ

          “ จะให้ไหวทั่วแผ่นดินปฐพีทั้งสิ้นฤๅหรือว่าจะให้ไหวเป็นเอกเทศส่วนน้อยขอถวายพระพร”

          “อย่างไรยาก โยมใคร่อย่างนั้น”

          “ ไหวเฉพาะเอกเทศส่วนน้อยแล กระทำได้ยากกว่ากระทำให้ไหวทั่งทั้งแผ่นปฐพี” พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเจ้าองค์อรหันต์ผู้ชำนาญในโานอภิญญากล่าวตอบสมเด็จพระราชาธิบดีดังนี้แล้ว

          ก็ให้จัดแจงตั้งรถม้าและมนุษย์พร้อมกับถาดเต็มไปด้วยน้ำไว้ในท่ามกลางเขตแดนโยชน์หนึ่งในทิศทั้ง ๔ แล้ว เธอก็เข้าฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา แล้วก็อธิษฐานให้แผ่นปฐพีโยชน์หนึ่ง กับทั้งท้ายรถและท้ายม้าบาทามนุษย์และถาดอันเต็มไปด้วยน้ำให้ไหวแต่กึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งมิให้ไหว แสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏแก่พระเนตรสมเด็จพระมหากษัตย์สิ้นทั้ง ๔ ทิศนั้นเป็นอัศจรรย์

          สมเด็จพระศรีธรรมาโศกราชได้ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์ประจักษ์สิ้นด้วยกำลังอธิษฐานฤทธิ์แห่งพระมหาเถระเจ้าดังนั้น ก็ยิ่งทรงประกอบไปด้วยความเลื้อมใสดำริในพระแห่งอาตมา และสามารถจักยกย่องพระบวรพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองได้เป็นแน่แท้” แล้วจักเริ่มตรัสถามว่า

          “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ โยมนี้จักใคร่ถามความสงสัยอันปักอยู่ในดวงหฤทัยแห่งโยมมานานสักอย่างหนึ่ง คือว่าโยมนี้ได้ใช้ให้อำมาตย์ผู้หนึ่งไประงับอธิกรณ์แห่งสังฆกรรม แต่ว่าอำมาตย์ไร้ปัญญาผู้นั้นมันอวดดีประพฤตินอกคำสั่ง กระทำการประหารพระภิกษุสงฆ์เสียหลายองค์ บาปกรรมในเรื่องนี้จะตกอยู่กับโยมผู้ใช้ไป หรือว่าจะตกอยู่แก่บุรุษอำมาตย์ผู้ไปฆ่าพระภิกษุนั้นแต่เพียงผู้เดียวเป็นประการใด”

          องค์อรหันต์พระโมคคัลลาบุตรติสสเถระเจ้า ผู้เป็นนักปราชญ์เชี่ยวชาญในพระปริยัติ จึงถวายวิสัชนาว่า

          “ มหาบพิตรจะได้มีวธกเจตนาแกล้งใช้อำมาตย์โง่นั้นไปฆ่าพระสงฆ์เสียก็หามิได้ ฉนั้นบาปกรรมนี้จึงตกอยู่แก่อำมาตย์ผู้ไปฆ่าพระสงฆ์แต่ผู้เดียว จะได้ตกอยู่แก่มหาบพิตรด้วยนั้นย่อมเป็นไปมิได้เลย ทั้งนี้ก็เพราะองค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งเราทั้งหลาย ได้ทรงพระมหากรุณาตรัสเทศนาไว้ว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ โดยมีพระพุทธาธิบายว่า ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! เราตถาคตกล่าวว่าเจตนาเป็นตัวกรรม จะเป็นบาปเป็นกรรมได้นั้น ก็เพราะประกอบด้วยความเจตนาความจงใจกระทำ หากไม่มีเจตนาความจงใจกระทำแล้ว จะสำเร็จเป็นบาปเป็นกรรมก็หามิได้ มหาบพิตรใช้อำมาตย์ไประงับอธิกรณ์ เพื่อให้พระสงฆ์สามัคคีกระทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกัน ด้วยพระราชกุศลเจตนาอันเป็นบุญต่างหาก แต่อำมาตย์นั้นหาปัญญามิได้ ไปฆ่าพระสงฆ์ทั้งหลายเสียด้วยอกุศลเจตนา บาปกรรมก็ย่อมจะมีแก่อำมาตย์นั้นคนเดียว ขอถวายพระพร"

          ลับดับนั้น พระเถระเจ้าผู้มากไปด้วยความกรุณา ปรารถนาจักให้สมเด็จพระราชาธิบดีทรงมีพระทัยปราศจากความสงสัยยิ่งขึ้นไปอีกถวายวิสัชนาต่อไปอีกว่า

          "ขอถวายพระพรพระมหาบพิตร! สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาจารย์เจ้าแห่งเราทั้งหลาย ได้ทรงมีพุทธฏีกาตรัสเทศนาความเรื่องนี้ไว้ใน ติตติรชาดก* ซึ่งพอจะยกมาเป็นข้อเปียบเทียบกันกรณีนี้ได้ขอพระองค์จงตั้งพระทัยสดับด้วยดี" กล่าวดังนี้แล้ว พระมหาเถระเจ้าผู้มีปัญญาผ่องแผ่ว ก็ยกเอาติตติรชาดกมาถวายวิสัชนา ดังต่อไปนี้.. <!--MsgFile=3--><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>


          จากคุณ : <!--MsgFrom=3-->ebusiness [​IMG] [​IMG] - [ <!--MsgTime=3-->9 ต.ค. 48 22:42:19 <!--MsgIP=3-->] <!--pda content="end"-->
        </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
        <!--pda tag="<hr align=center width=90%>"--><!--MsgIDBottom=3--><!--MsgIDTop=4-->

        <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=1><TBODY><TR><TD>
        • [​IMG] <!--WapAllow4=Yes--><!--pda content="begin"-->ความคิดเห็นที่ 4 <A href="javascript:eek:penInformWindow(4)">[​IMG] [​IMG] <!--EcardManage=4--><!--EcardSend=4-->

          <!--MsgIDBody=4-->ติตติรชาดก : ความทุกข์ของนกกระทา

          อดีตกาลนานมาแล้ว ครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสมวยราชสมบัติอยู่กรุงพาราณสีนั้นพระบรมสัตว์เจ้าของเรา เสวยพระชาติเป็นพราหมณ์หนุ่มในตระกูลพราหมณ์แห่งหนึ่ง ครั้นจำเริญวัยวัฒนาแล้ว ก็ร่ำเรียนศิลปศาสตร์ไตรเทพในเมืองตักกศิลา ปรากฏว่าเรียนได้อย่างดีจนจบบริบูรณ์ยิ่งกว่าพราหมณ์ทั้งปวง แล้วจึงใช้ปัญญาพิจารณาดู เบื้องต้นท่ามกลาง และที่สุดแห่งศิลปศาสตร์ไตรเพท
          ก็เห็นว่าศิลปศาสตร์นี้หาแก่นสารอย่างแท้จริงมิได้ จึงออกจากเมืองตักกศิลา เข้าป่าไปบวชเป็นดาบสทรงพรตพิธี อยู่ในประเทศป่าหิมพานต์ กระทำความเพียรในกสิณบริกรรมภาวนา กาลต่อมาก็ได้สำเร็จอภิญญาและอัฏฐฌานสมาบัติทรงไว้ซึ่งคุณวิเศษเหนือมนุษย์ธรรมดาสามัญ

          คราวหนึ่งถึงฤดูวสันต์ จึงออกจากป่าใหญ่มาอาศัยอยู่ ณ ภูมิสถานชายป่าใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง เพื่อต้องการจะภิกขาจาร และบริโภคโภชนาหารเปรี้ยวเค็ม มนุษย์ชาวบ้านทั้งหลายได้เห็นพระดาบส ซึ่งบริบูรณ์ด้วยอินทรียสังวรก็เลื่อมใสจึงชวนกันสร้างบรรณศาลาหลังหนึ่ง นิมนต์พระดาบสนั้นให้อยู่ก็พร้อมใจกันอุปัฏฐากพระดาบสไว้ในฐานะเป็นที่เคารพบูชาประจำหมู่บ้าน ด้วยศรัทธาและคารวะเป็นอย่างยิ่ง

          กาลครั้งนั้น มีพรานนกผู้หนึ่งซึ่งมีอาชีพในทางต่อนกป่าเอามาฆ่าขายเลี้ยงบุตรภรรยา คือเดิมทีนั้น เขาเข้าไปในป่าจับนกกระทามาได้ตัวหนึ่ง จึงเอามาใส่ไว้ในกรงเฝ้าเลี้ยงรักษาด้วยความรักใคร่แล้วฝึกสอนให้มันขันตามวิสัย

          เมื่อเห็นว่ามันขันได้อย่างชำนิชำนาญดีแล้ว ก็หิ้วกรงไปตั้งต่อนกกระทาในป่า ครั้นเจ้านกต่อในกรงนั้นขันขึ้นแล้ว นกกระทาป่าทั้งหลายก็พากันเข้ามาติดข่ายที่พรานนกดักไว้เป็นอันมาก พรานนกต่อนั้นก็จับเอามาฆ่าขายเลี้ยงชีวิตตนและบุตรภรรยาเป็นนิตย์ทุกวันมา

          วันหนึ่งนกกระทาต่อเสียงดีตัวมีกรรม มีความดำริเกิดขึ้นว่า

          " ฝูงนกกระทาซึ่งเป็นญาติแห่งอาตมามากหลาย ได้ยินเสียงอาตมาขันเป็นต้นเหตุก็พากันเข้ามาติดข่ายที่นายพรานใจร้ายดักไว้ ได้รับความบหายล้มตายไปเพราะอาตมาผู้เดียวมากกว่ามาก บาปกรรมในกรณีนี้จะตกอยู่ที่ตัวอาตมาหรือเปล่า หรือว่าเป็นประการใด มันน่าเสียใจนักชะรอยว่าบาปนั้น คงจะตกอยู่แก่อาตมาเสียเป็นแน่แม้ อย่าเลย...ต่อไปนี้อาตมาจักไม่ขันอีกเลย"

          ดำริด้วยความทุกข์ดังนี้แล้ว นกต่อเสียงดีก็ประพฤติตนเป็นปักษีไร้เสียง คือไม่ขันต่อไปอีกเลยทั้งในบ้านและในป่า

          " ขันซิ ลูกรัก! ขันเถิด.....ได้เวลาที่เจ้าจะต้องขันด้วยสำเนียงอันไพเราะเจื้อยแจ้าแล้ว จงรีบขันเถิด กลับไปบ้านเราพ่อจักให้อาหารอันเป็นที่ชอบใจแก่เจ้าเป็นรางวัล" เสียงพรานนกกระซิบกระซาบใกล้กรง ยุยงให้ขันอยู่ที่พุ้มไม้แห่งหนึ่ง หลังจากที่นกต่อนั้นไม่ได้ขันมาหลายวัน

          แต่นกต่อตัวมีความวิตกกลัวบาปกรรมจักติดตามมาถึงตนนั้น มันจะได้ยินดีต่อคำปลอบโยนก็หาไม่ กลับประพฤติตนเป็นนกใจแข็งคงที่ ทำเป็นมิรู้มิชี้ บางทีก็แสดงกิริยาจิกเท้าจิกกรง บางทีก็แสดงอาการทำเป็นยืนงงซึ่มเซ่อย่างน่าหมั่นไส้"

          " ขันสิเว้ย เจ้านก[^_^]! เหตุไรมงจึงไม่ขัน" พรานนกโพร่งผรุสวาทออกมาด้วยความเดือดดาลใจ พร้อมกับเอาไม้ซีกเคาะศีรษะอันเล็กของเจ้านกกลัวบาปนั้นโดยแรง

          ถูกเคาะศีรษะด้วยซีกไม้อย่างเต็มที่ ได้รับความเจ็บปวดจนแทบจะสิ้นชีวีตเข้าดังนี้ นกต่อตัวมีกรรมถูกอาญาป่า จึงต้องก้มหน้าโก่งคอขันขึ้นด้วยความเดือดร้อนจำเป็นจำใจขัน ตั้งแต่นั้นมา เมื่อนายพรานนำเอาไม้ซีกเคาะศีรษะเพื่อให้สัญญาณนกนั้นกระทำการขันอยู่เนือง ๆ นกกระทาป่าได้ยินเสียงขันเข้าแล้ว ก็พากันมาติดข่ายถึงความวิบัติฉิบหายแห่งชีวิตมากขึ้น และมากขึ้นเรื่อย ๆ ไป

          เมื่อเหตุร้ายเป็นไปทำนองนี้นานวันเข้าความวิตกเศร้าหมองใจก็ยิ่งบังเกิดขึ้นในดวงใจของนกต่อเจ้ากรรมนั้นมากมายเป็นทับทวี"

          บาปกรรมอันนี้จะได้แก่ใคร จะตกอยู่แก่ตัวอาตมาฤๅหรือว่าหามิได้เป็นประการใด บาปกรรมอันนี้จะได้แก่ใคร

          และอาตมาจะได้ใครเล่าหนาที่จะมาตัดความสงสัยอันนี้ให้หมดไปได้" มันเฝ้าคร่ำครวญในใจอยู่อย่างนี้ทุกวันมาเป็นเวลาช้านาน <!--MsgFile=4--><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>


          จากคุณ : <!--MsgFrom=4-->ebusiness [​IMG] [​IMG] - [ <!--MsgTime=4-->9 ต.ค. 48 22:44:40 <!--MsgIP=4-->] <!--pda content="end"-->
        </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
        <!--pda tag="<hr align=center width=90%>"--><!--MsgIDBottom=4--><!--MsgIDTop=5-->

        <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=1><TBODY><TR><TD>
        • [​IMG] <!--WapAllow5=Yes--><!--pda content="begin"-->ความคิดเห็นที่ 5 <A href="javascript:eek:penInformWindow(5)">[​IMG] [​IMG] <!--EcardManage=5--><!--EcardSend=5-->

          <!--MsgIDBody=5-->กาลวันหนึ่ง พรานนกใจร้ายผู้มิรู้ความในอกแห่งนกต่อ ครั้นนำนกไปต่อในป่าได้นกกระทามาเต็มย่ามสมความปรารถนาแล้ว จึงเดินทางกลับผ่านทางบรรณศาลาซึ่งเป็นที่อยู่แห่งท่านดาบส ณ ภูมิสถานชายป่า แล้วเพื่อนก็เกิดคอแห่งกระหายน้ำขึ้นมา จึงแวะเข้าไปที่บรรณศาลาตั้งวางนกต่อไว้ในที่ใกล้พระดาบส แล้วก็เดินลงไปดื่มน้ำกินและลูบหน้าเป็นที่เย็นใจสบายแล้ว เมื่อเดินขึ้นมาแลเห็นทรายอ่อนสะอาดริมอาศรมบรรณศาลาน่านอนเล่นนัก เพราะอยู่ภายใต้ไม้ใหญ่ดกหนาน่ารื่นรมย์ใจ จึงล้มตัวลงนอนตั้งใจว่าจะพักผ่อนให้เป็นที่สำราญใจสักครู่ แต่เพราะเหตุที่ตนดั้นด้นเข้าป่าเที่ยวต่อนกได้รับความเหน็ดเหนื่อยมา ในไม่ช้าจึงเผลอม่อยหลับไป

          จะกล่าวฝ่ายนกกระทาต่อ ซึ่งมีจิตอันเต็มไปด้วยความสงสัย เมื่อเห็นพรานนกใจร้ายนั้นหลับถนัดดีแล้ว จึงคิดว่า " อาตมาควรจะถามความสงัสัยต่อท่านฤๅษีนี้ เห็นจะดีเป็นแน่ ท่านฤๅษีผู้น่าเลื่อมใสองค์นี้แล จักแก้ความสงสัยอันค้างใจของอาตมานานแล้ว ให้หมดไปได้ในวันนี้" ดำริดังนี้แล้ว นกกระทาในกรงซึ่งพรานป่าตั้งไว้ใกล้ ๆ พระดาบสสฤๅษี จึงค่อยเอ่ยพจีกล่าวว่า

          " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ! ขอพระผู้เป็นเจ้าจงกรุณาสละเวลาหันหน้ามาสนใจกับชีวิตของข้าพเจ้าสักหน่อยเถิด คือว่า ข้าพเจ้าทุกวันนี้มีชีวิตเป็นนกต่อ ตั้งอยู่ในที่เป็นอันตรายใกล้ต่อบาปกรรมที่สุด ถูกพรานมนุษย์ใจร้ายซึ่งกำลังนอนหลับ อยู่นั้นมันบังคับให้ขัน

          เมื่อข้าพเจ้าขันขึ้นแล้วหมู่ญาติของข้าพเจ้าก็พากันมาติดข่าย ถูกนายพรานฆ่าตายเหมือนกับพวกที่อยู่ในย่ามของเขานั้นแล คราใดที่ข้าพเจ้าไม่ขัน ครานั้นพรานใจร้ายก็เอาไม้เคาะศีรษะทำให้ได้รับความเจ็บปวดสาหัส แทบว่าจะขาดใจตายอยู่เนือง ๆ จึงจำเป็นจำใจต้องขัน การณ์เป็นอยู่เช่นนั้นนานวันมาแล้ว ถ้าข้าพเจ้าพ้นจากความเป็นนกต่อนี้เมื่อใด คงจะมีชีวิตอยู่ในโลกอันกว้างใหญ่อย่างนี้อย่างสุขนักหนา ทุกวันนี้วิตกทุกข์ใจถึงแต่บาปกรรมที่ตนทำไว้ ใคร่จักไต่ถามท่านผู้มีปัญญามานานนักหนาแล้วแต่ว่าไม่มีโอกาสเลย บัดนี้ได้โอากาสแล้ว จึงอยากจะกราบเรียนถามท่านว่า

          การที่พวกญาติของข้าพเจ้าทั้งหลายพากันมาล้มตายเพราะเสียงขันของข้าพเจ้าเป็นต้นเหตุนี้ ข้าพเจ้าขะได้บาปไดกรรมเป็นประการใด คติของข้าพเจ้าจะเป็นไฉน จะต้องถึงกับตกนรกหรือไม่ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงได้โปรดวิสัชนาแก้ความสงสัยข้าพเจ้าไปในกาลบัดนี้ด้วยเถิด พระเจ้าข้า"

          พระดาบสโพธิสัตว์ผู้บรรลุถึงฝั่งฌานแลอภิญญา มีคุณวิเศษเหนือมนุษย์ธรรมดาสามัญ สมมารถที่จะรู้ความหลายในภาษาแห่งบรรดาสรรพสัตว์ เมื่อได้สดับวาทะแห่งนกกระทาดั่งนั้น ก็พลันมีจิตกรุณาจึงสอบถามขึ้นว่า

          " ดูกรนกกระทาปักษาชาติเจ้าเอ๋ย! ในขณะที่เจ้าโก่งคอขันอยู่นั้น จิตของเจ้าหมายมั่นอยู่ว่า ขอให้นกป่าซึ่งเป็นญาติทั้งหลาย จงมาติดข่ายและได้รับความวิบัติฉิบหายถึงตาย เพราะได้ฟังเสียงอาตมาหรือเพราะได้เห็นรูปอาตมา เจ้ามาเจตนาหมายมั่นอันเป็นอกุศลดังนี้บ้างหรือไม่เล่าหา...เจ้านกกระทา"

          " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ในเวลาที่ขันอยู่นั้น ข้าพเจ้ามีเจตนาเป็นอกุศลหรือไม่ขอตอบว่าไม่มี! จิตเจตนาของข้าพเจ้าจะได้มั่นหมายใคร่จักให้เหล่าญาติพากันตายนั้น ไม่มีเลยแม้แต่สักนิดเดียว พระเจ้าข้า"

          "ดูกรเจ้านกกระทาปักษาชาติเจ้าเอ๋ย! ถ้ามาตรแม้นว่าเจตนาของเจ้าไม่มีแล้วไซร้ บาปนั้นก็ไม่มีแก่เจ้า "

          พระมหาสัตว์ให้นกกระทาเข้าใจแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ฝ่ายนกกระทานั้นก็ได้เป็นผู้หมดความรังเกียจสงสัย เพราะอาศัยพระมหาสัตว์นั้น.

          นายพรานตื่นนอนแล้วไหว้พระโพธิสัตว์ ถือเอากรงนกกระทาหลีกไป.

          พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า นกกระทาในครั้งนั้น ได้เป็นพระราหุลในบัดนี้ส่วนพระดาบสในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้ แล.

          พระโมคคัลลีบุตรเถระเจ้าผู้มีปัญญาไว ยกเอาชาดกมาเป็นเครื่องประกอบในการถวายวิสัชนาปัญญาแห่งสมเด็จพระราชาธิบดี จงลงดังนี้แล้ว จึงถวายพระพรต่อไปว่า

          "นี่แหละมหาบพิตรผู้ทรงพระคุณอันประเสร็ฐ! นกกระทาต่อนั้น ไม่ได้บาปไม่ได้กรรมเพราะไม่มีเจตนาฉันใด มหาพิตรนี้ ก็ไม่ได้บาปไม่ได้กรรมเพราะไม่มีเจตนาเป็นอกุศลเหมือนฉะนั้น ขอถวายพระพร"

          สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชบรมกษัตริย์ ได้ทรงฟังพระธรรมเทศนาของพระมหาเถระเจ้าองค์อรหันต์ผู้เฒ่าเช่นนั้น ก็ทรงมีพระหฤทัยยินดีปรีดาคาระวะเป็นกำลัง จึงอาราธนาให้พระผู้เป็นเจ้ายับยั้งอิริยาบถอยู่ในอุทยานนั้น

          แล้วจึงปรึกษาการที่จะสังคายนาพระธรรมวินัยอันเป็นการใหญ่ เพื่อยกย่องพระบวรพุทธศาสนาให้สถิตสถาพรตั้งมั่นโดยบริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากมลทินต่อไป

          พระมหาเถระเจ้ายึดเอาองค์สมเด็จพระบรมกษัตริย์ให้ประทับอยู่กับท่านในพระราชอุทยานนั้นสิ้น ๗ วัน แล้วสอนให้พระองค์เรียนเอาลัทธิสำคัญในทางพระพุทธศาสนา พอทรงทราบเป็นเค้า ๆ ไม่ผิดเพี้ยนได้แล้ว ก็เริ่มการที่จะชำระมลทินแห่งพระพุทธศาสนาต่อไป

          โดยมีพระราชกฏษฏีกาประกาศให้บรรดาพระภิกษุ ซึ่งอยู่ในแผ่นดินชมพูทวีปทั้งสิ้น จงพากันมาประชุม ณ อโศการามอันเป็นที่นัดประชุมพระสงฆ์ทั้งสิ้น

          สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินผู้มีน้ำพระทัยฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนา จึงเสด็จเข้าไปประทับ ณ ภายในม่าน พร้อมกับพระโมคคัลลีบุตรเถระเจ้าองค์อรหันต์ผู้เฒ่า แล้วก็ให้เรียกขานเหล่าภิกษุที่มีลัทธิพาหิวาทเป็นอันเดียวกันเป็นหนึ่ง ให้เข้าไปภายในม่าน ครั้นพระภิกษุเหล่านั้นเข้ามาใกล้แล้ว สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นศิษย์เพิ่งเรียนลัทธิสำคัญทางศาสนาในสำนักของพระโมคคัลลีบุตรสำเร็จใหม่ ๆ ก็ทรงมีพระราชปุชฉาไต่ถามพระภิกษุเหล่านั้นว่า

          "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งปวง! สมเด็จพระศรีสุคคตสัพัญญูเจ้าแห่งเราทั้งหลายนี้ พระองค์ทรงมีพระพุทธโอวาทตรัสสั่งสอนไว้เป็นถ้อยคำดังฤๅ ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงจงแถลงไปในกาลบัดนี้ เพราะโยมใคร่จักทราบว่าลัทธิสำคัญในทางพระบวรศาสนาแห่งเรานี้ มีเป็นประการใดบ้าง?"

          เหล่าพระภิกษุซึ่งเป็นเดียรถีย์ปลอมมาบวชก็ดี เหล่าภิกษุซึ่งเป็นอธรรมวาที กระทำการย่ำยีพระธรรมวินัยก็ดี ล้วนแต่เป็นผู้ไม่รูปในพระพุทธฏีกา เมื่อถูกสมเด็จพระราชาธิบดีตรัสถามดังนี้ ก็ถวายพระพรวิสันาไปตามลัทธิอันเป็นมิจฉาทิฐิแห่งตร ๆ มีสัสสตทิฐิและอุจเฉททิฐิเป็นต้น โดยกล่าตู่ว่าลัทธิอันเป็นมิจฉาทิฐิเหล่านี้ เป็นพระโอวาทนุสาสนีแห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า

          " ผิดมิใช่หรือ พระผู้เป็นเจ้า! ที่พระภิกษุเหล่านี้พากันตอบมานี้ผิดมิใช่หรือ" ศิษย์ใหม่องค์บรมกษัตริย์ทรงหันไปตรัสถามพระโมคคัลลีบุตรผู้เฒ่า ซึ่งนั่งเป็นองค์ปรึกษาและกำกับการอยู่ ณ ที่ใกล้ ๆ อย่างไม่ค่อยจะแน่พระทัยในความรู้ของพระองค์นัก เมื่อทรงได้รับคำรับรองจากองค์อรหันต์ว่า พระภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ในพระพุทธฏีกา เป็นผู้ทำพระศาสนาให้เสื่อมทรุดแน่แล้ว ก็ทรงมีพระบรมราชองการโปรดเกล้าฯ ให้สึกเสียจากพระพุทธศาสนา

          กล่าวกันว่า ในครั้งนั้นองค์สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมาโศกราผู้เป็นใปญ่รับสั่งให้นักบวชที่เป็นมลทินแห่งพระพุทธศาสนาสึกเสียมากมายนักหนา คณาได้ถึง ๑๐,๐๐๐ คนเป็นกำหนด ส่วนพระภิกษุผู้เป็นเจ้าเหล่าธรรมวาทีซึ่งมีศีลเป็นที่รัก เมื่อถูกองค์สมเด็จพระบรมกษัตริย์ตรัสเรียกเข้าไปซักถามในม่านในปัญหาเดียวกัน ค่อเรื่องลัทธิทางพระพุทธศาสนาที่องค์สมเด็จพระบรมศาสนาจารย์ตรัสสอนไว้ ก็พากันถวายพระพรวิสัชนาถูกต้องเป็นอันดีว่า

          " ขอถวายพระพรบพิตรราชสมภารเจ้า! สมเด็จพระศรีสุคตสัพัญญูพระองค์ทรงเป็นพระบรมครูเจ้าแห่งเราทั้งหลายนี้ ทรงมีพระพุทธฏีกาตรัสสอนเป็นวิสัชวาทีตรัสจำแนกพระธรรม มีขันธ์ ๕ เป็นอาทิ ขอถวายพระพร"

          สมเด็จพระมหากษัตริย์ได้ทรงสดับดังนี้ เพื่อให้แน่พระทัยก็หันไปตรัสถามพระโมคคัลลีบุตรติสสเถราจารย์เจ้าว่าถูกต้อมหรือไม่ เมื่อพระผู้เป็นเจ้าทูลรับรองว่าใช่แล้ว พระองค์ก็ทรงมีพระหฤทัยเต็มตื้นไปด้วยความเลื่อมใสปรีดาปราโมทย์ ยอหัตถ์ขึ้นนมัสการพระผู้เป็นเจ้าเหล่าธรรมวาทีเหล่านั้น แล้วตรัสว่า

          " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย! บัดนี้พระบวรพุทธศาสนาแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปราศจากมลทินและถึงความบริสุทธิ์เป็นอันดีแล้ว ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจงมีจิตผ่องแผ่วโสมนัส และกระทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกัน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเถิด"

          เมื่อพระบวรพุทธศาสนาปราศจากมลทินและถึงความบริสุทธิ์เป็นกันดีโดยพระบรมราโชบายแห่งองค์สมเด็จพระเจ้าษรีโศกราชเจ้า โปรดเกล้าฯ ให้จับเหล่าพระภิกษุผู้ทำลายศาสนาให้สึกเสียสิ้น คงไว้แต่พระภิกษุแท้ แลทรงอาราธนา ให้พระสงฆ์สมัครสมานพร้อมเพรียงกันกระทำอุโบสถสังฆกรรมเช่นนี้แล้วพระองค์ก็ทรงอาราธนาให้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเจ้ารับเป็นประธานในการทำสังคยนาพระธรรมวินัยต่อไป

          สาวกแห่งองค์สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐก็รับอาราธนาด้วยดี แล้วคัดเลือกพระภิกษุล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ มีญาณวิเศษธรรมไตรวิชชา แตกฉานในพระปฏิสัมภิทาฌาณชำนาญในพระไตรปิฏกธรรมเป็นจำนวนได้ถ้วน ๑,๐๐๐ รูป แล้วก็ช่วยกันกระทำการสังคายนาพระธรรมวินัย ณ อโศการาม กระทำอยู่เป็นเวลานานถึง ๙ เดือน จึงสำเร็จทั้งนี้โดยมีสมเด็จพระเจ้าศรีธรรมาโศการาชทรงเป็นองค์ศาสนานูปถัมภกอย่างใกล้ชิด ด้วยประการฉะนี้

          ความสงสัยแห่งองค์สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมโศกราชาธิบดี ในกรณีที่ใช้อำมาตย์ให้ไประงับอธิกรณ์พระองค์ แต่อำมาตย์ผู้นั้นกลับไปปลงชีวิตพระภิกษุทั้งหลายเสีย แต่อำมาตย์ผู้นั้นกลับไปปลงชีวิตพระภิกษุทั้งหลายเสีย เป็นเหตุให้พระองค์ทรงบังเกิดความกินแหนงแคลงพระหฤทัย ด้วยทรงเกรงไปว่าบาปกรรมจักมาตกอยู่แก่พระองค์ก็ดี

          ความสงสัยแห่งนกกระทา ซึ่งเป็นนกต่อเสียงดี ในกรณีที่ถูกพรานนกใจร้ายเคาะศีรษะบังคับให้โก่งคอขัน จนนกกระทาป่าพากันมาติดข่ายและล้มตายเสียมากมายหนักหนา เป็นเหตุให้นกกระทาเกิดความกินแหนงแคลงใจ ด้วยเกรงใจว่าบาปกรรมจักตกมาถึงตนก็ดี

          ความสงสัยเหล่านี้ ย่อมถูกถอนทิ้งออกไปจากดวงใจจนหมดสิ้นในเมื่อได้รับคำชี้แจงอันถูกต้องจากนักปราชญ์ผู้สันทัดกรณ์ว่า

          " ถ้าหากไม่มีเจตนาแล้ว ก็ไม่เป็นบาปเป็นกรรม"

          เมื่อกล่าวตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมจะเป็นดังเช่นนี้นักปราชญ์ผู้สันทัดกรณีได้ชี้แจงแก่สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมาโศการาช ในเรื่องนกกระทานั้นอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพราะว่าก่อนที่จักสำเร็จเป็นตัวกรรมขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมคือกรรมดี

          หรืออกุศลกรรมคือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมมีเจตนาเป็นบุพพภาคธรรม คือเป็นตัวบงการทั้งสิ้น หากว่าไม่เจตนาแล้วจักสำเร็จเป็นกรรมขึ้นมาไม่ได้เลยเป็นอันขาด ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงมีพระพุทธธฏีกาตรัสว่า " เราตถาคตกล่าวว่าเจตนาเป็นตัวกรรม" ดังนี้..... <!--MsgFile=5--><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>


          จากคุณ : <!--MsgFrom=5-->ebusiness [​IMG] [​IMG] - [ <!--MsgTime=5-->9 ต.ค. 48 22:45:39 <!--MsgIP=5-->] <!--pda content="end"-->
        </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
        <!--pda tag="<hr align=center width=90%>"--><!--MsgIDBottom=5--><!--MsgIDTop=6-->
        <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=1><TBODY><TR><TD>
        • [​IMG] <!--WapAllow6=Yes--><!--pda content="begin"-->ความคิดเห็นที่ 6 [​IMG] [​IMG] <!--EcardManage=6--><!--EcardSend=6-->

          <!--MsgIDBody=6-->ไม่เจตนาได้บาปไหม?

          เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม

          ขอขอบคุณ

          จากหนังสือกรรมทีปนี (พระพรหมโมลี วิลาศ ญาณวโร)
          ข้อมูลจาก http://larnbuddhism.net/buddha/godgram/g14.html
          ภาพสมาชิกพันทิป

          ติตติรชาดก ว่าด้วยบาปเกิดจากความจงใจ
          http://84000.org/tipitaka/atita100/s.php?B=27&A=2866&Z=2878

          อรรถกถา ติตติรชาดกที่ ๙
          http://84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270574 <!--MsgFile=6-->


          จากคุณ : <!--MsgFrom=6-->ebusiness [​IMG] [​IMG] - [ <!--MsgTime=6-->9 ต.ค. 48 22:46:21 <!--MsgIP=6-->] <!--pda content="end"-->
        </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. sanya

    sanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    455
    ค่าพลัง:
    +2,687
    ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...