ถ้าเราไม่ฉลาดในวาระจิตผู้อื่นหรือทายใจของผู้อื่นได้ จะทำอย่างไร.?

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ไจโกะ, 21 กันยายน 2013.

  1. ไจโกะ

    ไจโกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +1,147
    .















    ภิกษุทั้งหลาย. ! ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น ไซร้,
    เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอพึงทำความสำเหนียกว่า

    "เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตน" ดังนี้เถิด.


    ภิกษุทั้งหลาย. ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตน เป็นอย่างไรเล่า?
    ภิกษุทั้งหลาย. ! เปรียบเหมือนชายหนุ่มหญิงสาว ที่ชอบแต่งตัว
    ส่องดูเงาหน้าของตนที่แว่นส่องหน้า หรือที่ภาชนะน้ำอันบริสุทธิ์หมดจดใสสะอาด
    ถ้าเห็นธุลีหรือต่อมที่หน้า ก็พยายามนำธุลีหรือต่อมนั้นออกเสีย ถ้าไม่เห็นธุลีหรือต่อม
    ก็ยินดีพอใจว่า เป็นลาภหนอ บริสุทธิ์ดีแล้วหนอ, ข้อนี้ฉันใด;
    ภิกษุทั้งหลาย. ! การพิจารณาของภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน


    คือจะมีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายในเมื่อเธอพิจารณาว่า :-
    “ เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีอภิชฌา หรือไม่มีอภิชฌา;
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีจิตพยาบาท หรือไม่มีจิตพยาบาท;
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีถีนมิทธะกลุ้มรุมอยู่ หรือปราศจากถีนมิทธะ;
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีความฟุ้งซ่านหรือไม่ฟุ้งซ่าน;
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีวิจิกิจฉา หรือหมดวิจิกิจฉา;
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย เป็นผู้มักโกรธ หรือไม่มักโกรธ;
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีจิตเศร้าหมอง หรือไม่มีจิตเศร้าหมอง;
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีกายอันเครียดครัดในการปฏิบัติธรรมหรือมีกายไม่เครียดครัด;
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย เป็ นผู้เกียจคร้าน หรือเป็ นผู้ปรารภความเพียร;
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีจิตตั้งมั่น หรือไม่มีจิตตั้งมั่น” ดังนี้.


    [​IMG]

    ภิกษุทั้งหลาย. ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า “เราอยู่โดยมาก โดยความ
    เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท ถีนมิทธะกลุ้มรุม ฟุ้งซ่าน มีวิจิกิจฉา
    มักโกรธ มีจิตเศร้าหมอง มีกายเครียดครัด เกียจคร้าน มีจิตไม่ตั้งมั่น” ดังนี้แล้ว,
    ภิกษุนั้น พึงกระทำซึ่งฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ
    และสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อละเสียซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
    เช่นเดียวกับบุคคลผู้มีเสื้อผ้าหรือศีรษะอันไฟลุกโพลงแล้ว จะพึงกระทำฉันทะ
    วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ อันแรงกล้า
    เพื่อจะดับไฟที่เสื้อผ้าหรือที่ศีรษะนั้นเสีย, ฉันใดก็ฉันนั้น.
    ภิกษุทั้งหลาย. ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า “เราอยู่โดยมาก โดยความ
    เป็นผู้ไม่มีอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท ปราศจากถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ฟุ้งซ่าน
    หมดวิจิกิจฉา ไม่มักโกรธ มีจิตไม่เศร้าหมอง มีกายไม่เครียดครัด ปรารภความเพียร
    มีจิตตั้งมั่น” ดังนี้แล้ว, ภิกษุนั้น พึงตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแหละ
    แล้วประกอบโยคกรรม๑ เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป.
    ทสก. อํ ๒๔/๙๗/๕๑.
     

แชร์หน้านี้

Loading...