ทดลองการวัดมุมเอียงของโลก

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Eric99, 1 มกราคม 2014.

  1. Eric99

    Eric99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2013
    โพสต์:
    466
    ค่าพลัง:
    +1,098
    อุปกรณ์มีดังต่อไปนี้ แท่งไม้ความยาวระหว่าง 30 - 60 cm , ตลับเมตรหรือไม้บรรทัด
    วิธีการทดลอง ให้เทียบเวลากับ กรีนิช ICT แล้วกะให้เวลาตรงกับ 12.00 เที่ยงของบ้านเรา เมื่อถึงเวลาให้วางไม้ตั้งฉากกับพื้น แล้วเอาตลับเมตรไปทาบกับเงาที่เกิดขึ้นบนพื้น สมมุติเราให้ ไม้ยาว A ส่วนเงายาว B ให้หา ArcTan B/A จะได้หน่วยเป็นองศา สมมุติเป็น X
    เสร็จแล้วให้หา ละติจูดที่เราทดลองจาก Google map เป็น Y ดังนั้น มุมเอียงของโลกที่เราวัดได้ก็คือ X-Y , ผมได้ทำการทดลองวันนี้ตอนเที่ยง สามารถวัดได้ 22.4 - 23 องศา ซึ่งต่างจากค่าจริงในหนังสือคือ 23.5 องศา , ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อน อาจจะเกิดได้จากความคลาดเคลื่อน ที่เราวัดความยาวไม้หรือเงา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2014
  2. fluke892541

    fluke892541 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +42
    ขอบคุณครับ ความรู้ใหม่
     
  3. roumjai

    roumjai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +72
    เวลา 12:00 ในขณะที่โลกโครจรรอบดวงอาทิตย์ ในแต่ละเดือนดวงอาทิตย์หาใช่อยู่แหน่งเดิมไม่ โปรดพิจรณา

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=R2lP146KA5A"]http://www.youtube.com/watch?v=R2lP146KA5A[/ame]



    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=OR8EQ0DWpPw"]http://www.youtube.com/watch?v=OR8EQ0DWpPw[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2014
  4. Eric99

    Eric99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2013
    โพสต์:
    466
    ค่าพลัง:
    +1,098
    การทดลองนี้ เอาไว้สำหรับทำในขณะนี้ครับ คือหน้าหนาว ช่วงวันที่ 1 มกราคม ส่วนถ้าทำในหน้าร้อน คือวันที่ 1 มิถุนายน ทุกอย่างจะทำเหมือนกันหมด แต่มุมเอียงของโลกจะเป็น X+Y
     
  5. roumjai

    roumjai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +72

    รับทราบครับท่าน เพียงสงสัยว่าทำไมต้องเป็นวันที่ 1 มค แต่ละปีจะเป็นวันอื่นหรือไม่ เพราะจากบางแหล่งข้อมูลบอกวันที่ควรทำการวัดมี 2 ช่วง

    1 ช่วงกลางวันยาวที่สุด เมื่อแสงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลก ณ ซีกโลกด้านเหนือ นักดาราศาสตร์เรียกจุดนี้ว่า Topic of Cancer ตรงกับวันที่ 21-22 มิถุนายน

    2 ช่วงกลางวันสั้นที่สุด (สำหรับซีกโลกด้านเหนือ) เมื่อแสงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลก ณ ซีกโลกด้านใต้ จุดนี้มีชื่อว่า Topic of Capricorns กลางวันสั้นที่สุด และกลางคืนยาวที่สุดสำหรับซีกโลกนี้ ตรงกับวันที่ 21-22 ธันวาคม


    [​IMG]



    [​IMG]


    [​IMG]


    เครดิต: วัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว



    เพิ่มเติม : http://scienceblogs.com/startswitha...-of-the-earth-on-the-solstice-this-wednesday/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2014
  6. Eric99

    Eric99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2013
    โพสต์:
    466
    ค่าพลัง:
    +1,098
    เรื่องวันที่ ผมไม่ได้เน้นครับว่าเป็นวันที่เท่าไหร่ เพียงต้องการบอกว่าเป็นช่วงๆ ช่วงหน้าหนาว ประเทศไทย จะมีมุมยกที่สูงกว่าดวงอาทิตย์ หน้าร้อน จะกลายเป็นมุมกดแทน ส่วน มีนา กับ กันยา จะหันแกนด้านข้างเข้าหาดวงอาทิตย์
    ใน link ที่ยกมา กับที่ผมคิด เป็นวิธีเดียวกันครับ ที่เขาต้องการวัดช่วงเดือน มีนา กับ กันยา เป้นการหาค่า ละติจูดเท่านั้น แต่ถ้าเรารู้ ละติจูดอยู่แล้ว เช่นจาก google map เราก็สามารถหามุมเอียงของโลก ได้เสร็จภายในวันเดียว ไม่จำเป็นต้องรออีก 3 เดือน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...