ทั้งชีวิตขอเรื่องเดียว

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 19 เมษายน 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    จริงๆเราไม่อยากบอกเรื่องนี้ ไหนๆก็ไหนๆแล้ว สำหรับมนุษย์ธรรมดา เราไม่ห่วงเท่าไหร่?

    Stefa Stefa เราเป็นผู้รู้เห็นและพูดคุยกับญิบีล ซึ่งนำอาชูร่อมาป้อนเรา พร้อมกับให้ผลึกสีเขียว3ก้อนขนาดเล็กเท่าปลายนิ้วก้อย สิบปีต่อมา ขยายเป็นขนาดเท่ากำปั้นและหลายก้อนเป็นเต็มกระบุง วันที่เราแยกร่างเป็นยักษ์ มีหนุ่มISLAmมาขอคืน แต่เราให้ไปแค่อันเดียว และเราเป็นผู้รู้จักโลกบัรซัรเพียงคนเดียวใน 3 จชต.ว่าอยู่ไหน แน่นอน เราเป็นผู้รู้คัมภีร์ทั้ง 4 และคัมภีร์ของGOD ที่ไม่ใช่ของที่เหมือนกับ ที่ตีพิมพ์จารึกในโลกมนุษย์ เราคือ อดีต MUHAMMAD AKIRA มูฮัมหมัดคนสุดท้าย ผู้ขอทำพันธะสัญญากับGOD ให้ตนเองทนทุกข์ทรมาน ในนรกอย่างเจ็บปวดที่สุด แม้ ดัจญัลและอิบลีสก็ไม่อาจสู้เราได้ ในเรื่องความทุกข์ทรมานในญะฮันนัม

    นี่คือเรื่องจริง แต่เราไม่อยากฆ่าใครทำลายใคร? เราเป็นผู้ต้อยต่ำที่สุดในศาสนา เป็นผู้ไร้บ้าน เป็นผู้ที่ถูกบันทึกไว้เป็นสิ่งเร้นลับ เราถูกสร้างมาแบบนี้ หากStefa Stefa มีสติปัญญามากพอที่จะเข้าใจ

    เราไม่อยากเป็นตกกรรมสิทธิ์ของใคร?
    ถ้าเรากลับไปเป็นเหมือนเดิม จะมีหายนะเกิดขึ้นกับมนุษย์นอกศาสนาของเธอ Stefa ครั้งใหญ่ที่สุดด้วย

    แน่นอนถ้าเราเดินทางไปบอกแก่พวกเขาเหล่านั้น ณ ที่นั่น ประเทศไทย(พุทธ) โดยเฉพาะ 3 จชต จะโกลาหล จะมีคนไทยถูกฆ่าตายเป็นเบือ เพราะมีพวกพลีชีพแนวหน้าเกิดขึ้นทันที (อัซซาบิกูน)ความลับนี้อยู่ที่เรา คนที่เราสังหารไป ระดับผู้นำ เขายังต้องซอลลุลลอฮฺแก่เรา ด้วยความเคารพ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2015
  2. บางเบา

    บางเบา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    349
    ค่าพลัง:
    +88
    คุณจ่ายักษ์ เปิดปูมตัวเอง
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ต้องลองดู แล้วจะรู้ ดีชั่วอย่าคาดหวัง ความจริงเผยก็รู้เอง เพราะอย่างนั้น ก็อย่าสนใจเลย ถ้าคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเท็จ ไปอ่านเรื่องอื่นเถอะ! อย่าให้ความสนใจเลย อย่าให้เราซิเกร์เพื่อการอื่นเลย เรื่องชิเฮร์ทั้ง๒ ขาวและดำน่ะ สบายมากสำหรับเรา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2015
  4. บางเบา

    บางเบา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    349
    ค่าพลัง:
    +88
    ไม่บอกก็ไม่รู้ บอกแล้ว ก็อยากรู้ต่อ
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ด้วยกำลังของมาร พระปัจเจกยังหนีไม่พ้น

    อรรถกถา ขทิรังคารชาดก
    ว่าด้วย มีจิตมั่นคง
    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภทานของอนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นามํ ปตามิ นิรยํ ดังนี้.
    ความพิศดารว่า ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีปรารภเฉพาะวิหารเท่านั้น เรี่ยรายทรัพย์ ๕๔โกฏิไว้ในพระพุทธศาสนา มิได้ทำความสำคัญในสิ่งอื่น ว่าเป็นรัตนะนอกจากรัตนะทั้ง ๓ ให้เกิดเลย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ย่อมไปยังที่บำรุงใหญ่ ๓ ครั้งทุกวัน ตอนเช้าตรู่ไปครั้งหนึ่ง รับประทานอาหารเช้าแล้วไปครั้งหนึ่ง เวลาเย็นไปครั้งหนึ่ง ที่บำรุงในระหว่าง แม้แห่งอื่นก็มีเหมือนกัน.
    ก็เมื่อจะไป ไม่เคยมีมือเปล่าไป ด้วยคิดว่า สามเณรหรือภิกษุหนุ่มทั้งหลาย จะพึงแลดูแม้มือของเรา ด้วยคิดว่า ท่านเศรษฐีถืออะไรมาหนอ เมื่อไปตอนเช้า ให้คนถือข้าวยาคูไป รับประทานอาหารเช้า แล้วเมื่อจะไป ให้คนถือเอาเนยใส เนยข้น นํ้าผึ้ง และนํ้าอ้อยเป็นต้นไป เมื่อจะไปเวลาเย็น ถือของหอม ดอกไม้และผ้าไป. ก็เมื่อท่านเศรษฐีนั้นบริจาคอยู่อย่างนี้ทุกวันๆ ประมาณในการบริจาค ย่อมไม่มี.
    ฝ่ายคนผู้อาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพเป็นอันมาก ทำหนังสือให้ไว้กับมือของท่านเศรษฐี กู้เอาทรัพย์ไปนับได้ ๑๘ โกฏิ. ท่านเศรษฐีให้ทวงเอาทรัพย์ของคนเหล่านั้นมา อนึ่ง ทรัพย์ ๑๘ โกฏิจำนวนอื่นซึ่งเป็นของประจำตระกูลของท่านเศรษฐีนั้น ฝังไว้ที่ฝั่งแม่นํ้า เมื่อฝั่งแม่นํ้าถูกนํ้าในแม่นํ้าอจิรวดีเซาะพังทลาย ก็เคลื่อนลงมหาสมุทรไป. ตุ่มโลหะ (ที่บรรจุทรัพย์) ตามที่ปิดไว้และประทับตราไว้นั้น ก็กลิ้งไปในท้องทะเล.
    ก็ในเรือนของท่านเศรษฐีนั้น ยังคงมีนิตยภัตเป็นประจำสำหรับภิกษุ ๕๐๐ รูป. จริงอยู่ เรือนของท่านเศรษฐีเป็นเช่นกับสระโบกขรณีที่ขุดไว้ในหนทาง ๔ แพร่งสำหรับภิกษุสงฆ์ ตั้งอยู่ในฐานะบิดามารดาของภิกษุทั้งปวง ด้วยเหตุนั้น แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จไปเรือนของท่านเศรษฐีนั้น ฝ่ายพระมหาเถระทั้ง ๘๐ องค์ก็ไปเหมือนกัน. ส่วนภิกษุทั้งหลายที่เหลือ ต่างมาๆ ไปๆ หาประมาณมิได้.
    ก็เรือนนั้นมี ๗ ชั้น ประดับด้วยซุ้มประตู ๗ ซุ้ม มีเทวดาผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิองค์หนึ่ง สิงอยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๔ ของเรือนนั้น. เทวดานั้น เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเข้าเรือน และเสด็จออกไป ไม่อาจดำรงอยู่ในวิมานของตน จับเอาทารกลงมายืนอยู่เฉพาะบนภาคพื้น แม้เมื่อพระมหาเถระทั้ง ๘๐ องค์เข้าไปและออกมา ก็กระทำเหมือนอย่างนั้น.
    เทวดานั้นคิดว่า ก็เมื่อพระสมณโคดมและเหล่าสาวกของพระสมณโคดมนั้น ยังคงเข้าเรือนนี้อยู่ ชื่อว่าความสุขของเราย่อมไม่มี เราจักไม่อาจลงมายืนอยู่บนภาคพื้น ตลอดกาลเป็นนิตย์ได้ เรากระทำโดยประการที่พระสมณะเหล่านี้เข้ามายังเรือนนี้ไม่ได้ จึงจะควร.
    อยู่มาวันหนึ่ง เทวดานั้นไปยังสำนักของผู้เป็นมหากัมมันติกะ (ผู้อำนวยการ) ผู้กำลังเข้านอนแล้วได้ยืนแผ่โอภาสสว่างไสว และเมื่อท่านผู้เป็นมหากัมมันติกะกล่าวว่า ใครอยู่ที่นี่. จึงกล่าวว่า เราเป็นเทวดา ผู้บังเกิดอยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๔. มหากัมมันติกะกล่าวว่า ท่านมาเพราะเหตุอะไร. เทวดากล่าวว่า ท่านไม่เห็นการกระทำของท่านเศรษฐีหรือ. ท่านเศรษฐีไม่มองดู กาลอันจะมีมาภายหลังของตน นำทรัพย์ออกถม เฉพาะพระสมณโคดมเท่านั้น ให้เต็มบริบูรณ์ ไม่ประกอบการค้าขาย ไม่ริเริ่มการงาน ท่านจงโอวาทท่านเศรษฐี ท่านจงกระทำโดยประการที่ท่านเศรษฐีจะทำการงานของตน และพระสมณโคดมพร้อมทั้งสาวกจะไม่เข้ามายังเรือนนี้.
    ลำดับนั้น ท่านมหากัมมันติกะนั้นได้กล่าวกะเทวดานั้นว่า ดูก่อนเทวดาพาล ท่านเศรษฐี เมื่อสละทรัพย์ ก็สละในพระพุทธศาสนา อันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ท่านเศรษฐีนั้น ถ้าจักจับเราที่มวยผมเอาไปขาย เราจักไม่กล่าวอะไรๆ เลย ท่านจงไปเสียเถิด. อีกวันหนึ่ง เทวดานั้นเข้าไปหาบุตรชายคนใหญ่ของท่านเศรษฐี แล้วกล่าวสอนเหมือนอย่างนั้น. ฝ่ายบุตรชายท่านเศรษฐีก็คุกคามเทวดานั้น โดยนัยอันมีในก่อนนั่นแหละ. แต่เทวดานั้นไม่อาจกล่าวกับท่านเศรษฐีได้เลย.
    ฝ่ายท่านเศรษฐีให้ทานอยู่ไม่ขาดสาย ไม่กระทำการค้าขาย เมื่อทรัพย์สมบัติมีน้อย ทรัพย์ก็ได้ถึงการหมดสิ้นไป. ครั้งเมื่อท่านเศรษฐีนั้นถึงความยากจนเข้าโดยลำดับ ผ้าสาฎก ที่นอน และภาชนะอันเป็นเครื่องบริโภคใช้สอย ไม่ได้เป็นเหมือนดังแต่ก่อน. ท่านเศรษฐี แม้จะเป็นอย่างนี้ ก็ยังคงให้ทานแก่ภิกษุสงฆ์ แต่ไม่อาจทำให้ประณีตแล้วถวาย.
    ครั้นวันหนึ่ง พระศาสดาตรัสถามเศรษฐีนั้น ผู้ถวายบังคม แล้วนั่งอยู่ว่า ดูก่อนคฤหบดี ก็ทานในตระกูล ท่านยังให้อยู่หรือ?. เศรษฐีนั้นกราบทูลว่า ยังให้อยู่พระเจ้าข้า แต่ว่า ทานนั้นเศร้าหมอง เป็นข้าวปลายเกรียนมีนํ้าผักดองเป็นที่สอง.
    ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเศรษฐีนั้นว่า คฤหบดี ท่านอย่าทำจิตให้ยุ่งยากว่า เราให้ทานเศร้าหมองเลย เพราะว่า เมื่อจิตประณีต ทานที่ถวายให้แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลาย ย่อมไม่ชื่อว่า เศร้าหมอง.
    เพราะเหตุไร.
    เพราะมีผลมาก. ก็ข้อนี้ ควรจะทราบอย่างนี้ว่า ก็เมื่อสามารถทำจิตให้ประณีต ทาน ชื่อว่าเศร้าหมอง ย่อมไม่มี
    และว่า

    เมื่อจิตผ่องใสแล้ว ทักษิณา การทำบุญในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามีประมาณน้อย ย่อมไม่มี.
    ได้ยินมาว่า การบำเรอในพระอโนมทัสสีพุทธเจ้าทั้งหลาย มีผลน้อย ย่อมไม่มี ท่านจงเห็นผลของก้อนข้าวกุมมาส อันเศร้าหมองและไม่เค็มเถิด.


    แม้อีกข้อหนึ่ง พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ก่อนอื่น ท่านเมื่อให้ทานเศร้าหมอง ยังได้ให้แก่พระอริยบุคคล ๘ จำพวก เราครั้งเป็นเวลามพราหมณ์ ให้รัตนะทั้ง ๗ กระทำชมพูทวีปทั้งสิ้น ให้ไม่ต้องทำไร่ไถนา ยังมหาทานให้เป็นไป ดุจทำแม่นํ้าใหญ่ทั้ง ๕ สายให้เต็มเป็นห้วงเดียวกัน ก็ไม่ได้ใครๆ ผู้ถึงสรณะ ๓ หรือผู้รักษาศีล ๕ ชื่อว่า บุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา หาได้ยากอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท่านอย่าได้ทำจิตให้ยุ่งยาก ว่า ทานของเราเศร้าหมอง ก็แหละ ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัส เวลามสูตร.
    ครั้งนั้นแล เทวดานั้นไม่อาจกล่าวกับเศรษฐีในกาลที่ ท่านเศรษฐียังเป็นใหญ่ สำคัญว่า บัดนี้ เศรษฐีนี้จักเชื่อถือคำของเรา เพราะเป็นผู้ตกยาก ในเวลาเที่ยงคืน จึงเข้าไปยังห้องอันเป็นสิริ ได้แผ่แสงสว่างยืนอยู่ในอากาศ. เศรษฐีเห็นดังนั้น จึงกล่าวว่า นั้นใคร. เทวดานั้นกล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐี ข้าพเจ้าเป็นเทวดาผู้สิงอยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๔. เศรษฐีกล่าวว่า ท่านมาเพื่ออะไร. เทวดากล่าวว่า ข้าพเจ้าประสงค์จะกล่าวโอวาทท่าน จึงได้มา.
    เศรษฐีกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงกล่าว.
    เทวดากล่าวว่า มหาเศรษฐี ท่านไม่คิดถึงเวลาหลัง ไม่เห็นแก่บุตรธิดา เรี่ยรายทรัพย์เป็นอันมากลงในศาสนาของพระสมณโคดม ท่านนั้นเกิดเป็นคนยากไร้ เพราะอาศัยพระสมณโคดม โดยสละทรัพย์เกินขอบเขต หรือโดยไม่ทำการค้าขายและการงาน ท่านถึงแม้จะเป็นอย่างนี้ก็ยังไม่ปล่อยพระสมณโคดม แม้ทุกวันนี้ สมณะเหล่านั้นก็ยังเข้าเรือนอยู่นั่นแหละ ทรัพย์ที่พวกสมณะเหล่านั้นนำออกไปแล้ว ใครๆ ไม่อาจให้นำกลับมาได้ ย่อมเป็นอันถือเอาเลย ก็ตั้งแต่นี้ไป ตัวท่านเองก็อย่าได้ไปสำนักของพระสมณโคดม ทั้งอย่าได้ให้สาวกทั้งหลายของพระโคดมนั้น เข้ามายังเรือนนี้ ท่านแม้ให้พระสมณโคดมกลับไปแล้ว ก็อย่าได้เหลียวแล จงกระทำคดีฟ้องร้องและการค้าขายของตน รวบรวมทรัพย์สมบัติ.
    เศรษฐีนั้นจึงกล่าวกะเทวดานั้น อย่างนี้ว่า นี้เป็นโอวาทที่ท่านให้เราหรือ.
    เทวดากล่าวว่า จ้ะ นี้เป็นโอวาท.
    ท่านเศรษฐีกล่าวว่า เราอันพระทศพลทรงกระทำให้เป็นผู้อันพวกเทวดา เช่นท่านตั้งร้อยก็ดี พันก็ดี แสนก็ก็ดี ให้หวั่นไหวไม่ได้ และศรัทธาของเราไม่คลอนแคลน ตั้งมั่นดีแล้ว ดุจภูเขาสิเนรุ เราสละทรัพย์ในรัตนศาสนา อันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ท่านพูดคำอันไม่ควร ท่านผู้ไม่มีอาจาระ ทุศีล เป็นกาลกิณี เห็นปานนี้ ให้การประหารพระพุทธศาสนา เราไม่มีกิจ คือการอยู่ในเรือนเดียวกันกับท่าน ท่านจงรีบออกจากเรือนของเราไปอยู่ที่อื่น.
    เทวดานั้นได้ฟังคำของพระอริยสาวกผู้โสดาบัน ไม่อาจดำรงอยู่ได้ จึงไปยังที่อยู่ของตน แล้วเอามือจับทารกออกไป ก็แหละครั้นออกไปแล้ว ไม่ได้ที่อยู่ในที่อื่น คิดว่า จักให้เศรษฐีอดโทษแล้ว อยู่ที่ซุ้มประตูนั้นนั่นแหละ จึงไปยังสำนักของเทวบุตรผู้รักษาพระนคร ไหว้เทวบุตรนั้นแล้วยืนอยู่ และอันเทวบุตรผู้รักษาพระนคร กล่าวว่า ท่านมา เพราะต้องการอะไร. จึงกล่าวว่า นาย ข้าพเจ้าไม่ได้ใคร่ครวญ พูดกับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้นโกรธเรา ฉุดคร่าเราออกจากที่อยู่ ท่านจงนำข้าพเจ้าไปยังสำนักของท่านเศรษฐี ให้ท่านอดโทษแล้วให้ที่อยู่แก่ข้าพเจ้า.
    เทวบุตรผู้รักษาพระนครถามว่า ก็ท่านพูดกะท่านเศรษฐีอย่างไร?
    เทวดานั้นกล่าวว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้ากล่าวกะท่านเศรษฐี อย่างนี้ว่า นาย ตั้งแต่นี้ ท่านอย่ากระทำการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ท่านอย่าให้พระสมณโคดมเข้าไปในเรือน.
    เทวบุตรผู้รักษาพระนครกล่าวว่า ท่านกล่าวคำอันไม่สมควร ท่านให้การประหารในพระศาสนา เราไม่อาจพาท่านไปยังสำนักของท่านเศรษฐี.
    เทวดานั้นไม่ได้การช่วยเหลือจากสำนักของเทวบุตรนั้น จึงได้ไปยังสำนักของท้าวมหาราชทั้ง ๔ แม้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้นก็ปฏิเสธเหมือนอย่างนั้น จึงเข้าไปเฝ้าท้าวสักกเทวราช กราบทูลเรื่องราวนั้น แล้วอ้อนวอนอย่างดีว่า ข้าแต่เทวราช ข้าพระองค์ไม่ได้ที่อยู่ จูงทารกเป็นคนอนาถาเที่ยวไป ขอพระองค์จงยังเศรษฐีให้ให้ที่อยู่แก่ข้าพระองค์ ด้วยสิริของพระองค์.
    แม้ท้าวสักกะนั้นก็ตรัสกะเทวดานั้นว่า ท่านกระทำกรรมอันไม่สมควร ท่านให้การประหารในศาสนาของพระชินเจ้า แม้เราก็ไม่อาจกล่าวกับเศรษฐี เหตุอาศัยท่าน แต่เราจะบอกอุบายให้ ท่านเศรษฐีนั้นอดโทษแก่ท่านสักอย่างหนึ่ง.
    เทวดานั้นกราบทูลว่า สาธุ ข้าแต่เทวะ ขอพระองค์จงตรัสบอก.
    ท้าวสักกะตรัสว่า คนทั้งหลายทำหนังสือไว้กับมือของท่านเศรษฐี ถือเอาทรัพย์ไปนับได้ ๑๘ โกฏิ มีอยู่. ท่านจงแปลงเพศเป็นคนเก็บส่วยของท่านเศรษฐีนั้น อย่าให้ใครๆ รู้จัก ถือเอาหนังสือเหล่านั้น อันพวกยักษ์หนุ่มๆ ๒-๓ คนห้อมล้อม มือหนึ่งถือหนังสือ (สัญญา) มือหนึ่งถือเครื่องเขียน ไปเรือนของคนเหล่านั้น ยืนอยู่ในท่ามกลางเรือน ทำคนเหล่านั้นให้สะดุ้งกลัว ด้วยอานุภาพแห่งยักษ์ของตน แล้วชำระเงิน ๑๘ โกฏิ ทำคลังเปล่าของเศรษฐีให้เต็ม ทรัพย์ที่ฝังไว้ริมฝั่งแม่นํ้าอจิรวดีอีกแห่งหนึ่ง เมื่อฝั่งแม่นํ้าพัง จึงเลื่อนลงสู่สมุทร มีอยู่. จงนำเอาทรัพย์แม้นั้นมา ด้วยอานุภาพของตน แล้วทำคลังให้เต็ม ทรัพย์แม้อีกแห่งหนึ่งประมาณ ๑๘ โกฏิไม่มีเจ้าของหวงแหน มีอยู่ในที่ชื่อโน้น จงนำเอาทรัพย์แม้นั้นมา ทำคลังเปล่าให้เต็ม ท่านจงทำคลังเปล่าอันเต็มด้วยทรัพย์ ๕๔ โกฏินี้ ให้เป็นทัณฑกรรม แล้วให้มหาเศรษฐีอดโทษ.
    เทวดานั้นรับคำของท้าวสักกะนั้นว่า ดีละ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ แล้วนำทรัพย์ทั้งหมดมา โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. ในเวลาเที่ยงคืน จึงเข้าไปห้องอันประกอบด้วยสิริของเศรษฐี ได้แผ่แสงสว่างยืนอยู่ในอากาศ
    เมื่อเศรษฐีกล่าวว่า นั่นใคร.
    จึงกล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐี ข้าพเจ้าเป็นเทวดา ซึ่งสิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๔ ของท่าน ข้าพเจ้าผู้หลงเพราะโมหะใหญ่ ไม่รู้จักคุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้กล่าวคำอะไรๆ กับท่านในวันก่อนๆ มีอยู่ ท่านจงอดโทษนั้นแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้านำทรัพย์ ๕๔ โกฏิ มาตามพระดำรัสของท้าวสักกะเทวราช คือทรัพย์ ๑๘ โกฏิโดยชำระสะสางหนี้ของท่าน (และ) ทรัพย์ ๑๘ โกฏิของคน ผู้ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ ในที่นั้นๆ กระทำทัณฑกรรมโดยทำคลังว่างเปล่าให้เต็ม ทรัพย์ที่ถึงความสิ้นไป เพราะปรารภ (การสร้าง) พระวิหารเชตวัน ข้าพเจ้าได้รวบรวมมาทั้งหมด ข้าพเจ้าเมื่อไม่ได้ที่อยู่ย่อมลำบาก ข้าแต่ท่านมหาเศรษฐี ท่านอย่าใส่ใจคำที่ข้าพเจ้ากล่าว เพราะความไม่รู้ จงอดโทษด้วยเถิด.
    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ฟังคำของเทวดานั้น แล้วคิดว่า เทวดานี้กล่าวว่า ก็ข้าพเจ้าได้ทำทัณฑกรรมแล้ว และปฏิญญายอมรับรู้โทษของตน พระศาสดาจักทรงแนะนำเทวดานี้ แล้วให้รู้จักคุณของตน ก็เราจักแสดง (เทวดานี้) แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
    ลำดับนั้น ท่านมหาเศรษฐีจึงกล่าวกะเทวดานั้นว่า ดูก่อนเทวดาผู้สหาย ถึงแม้ท่านจักให้เราอดโทษ จงให้อดโทษในสำนักของพระศาสดา.
    เทวดานั้นกล่าวว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักกระทำอย่างนั้น อนึ่ง ท่านจงพาเราไปยังสำนักของพระศาสดาเถิด.
    มหาเศรษฐีนั้นกล่าวว่า ดีละ เมื่อราตรีสว่างแล้ว จึงพาเทวดานั้นไปยังสำนักของพระศาสดา แต่เช้าตรู่ แล้วกราบทูล กรรมที่เทวดานั้นกระทำทั้งหมดแก่พระตถาคต.
    พระศาสดาได้ทรงสดับคำของท่านมหาเศรษฐีนั้นแล้ว จึงตรัสว่า
    ดูก่อนคฤหบดี แม้บุคคลผู้ลามกในโลกนี้ ย่อมเห็นกรรมอันเจริญ ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล ก็เมื่อใด บาปย่อมให้ผลแก่บุคคลผู้ลามกนั้น เมื่อนั้น บุคคลผู้ลามกนั้นย่อมเห็นแต่บาปเท่านั้น. ฝ่ายบุคคลผู้เจริญย่อมเห็นบาปทั้งหลาย ตราบเท่าที่กรรมอันเจริญยังไม่ให้ผล ก็ในกาลใด กรรมอันเจริญย่อมให้ผลแก่บุคคลผู้เจริญนั้น ในกาลนั้น บุคคลผู้เจริญนั้นย่อมเห็นแต่กรรมอันเจริญเท่านั้น.
    แล้วได้ตรัสคาถา ๒ คาถาในพระธรรมบท ดังนี้ว่า

    แม้บุคคลผู้ลามกย่อมเห็นกรรมอันเจริญ ตราบเท่าที่ กรรมอันลามกยังไม่ให้ผล ก็ในกาลใด กรรมอันลามกย่อมให้ผล ในกาลนั้น บุคคลผู้ลามกนั้นย่อมเห็นกรรมอันลามกทั้งหลาย
    ฝ่ายบุคคลผู้เจริญย่อมเห็นกรรมอันลามก ตราบเท่าที่ กรรมอันเจริญยังไม่ให้ผล ก็ในกาลใด กรรมอันเจริญย่อมให้ผล ในกาลนั้น บุคคลผู้เจริญนั้น ย่อมเห็นกรรมอันเจริญทั้งหลาย.


    ก็แหละในเวลาจบคาถาเหล่านี้ เทวดานั้นตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล. เทวดานั้นหมอบลงที่พระบาททั้งสองของพระศาสดา อันเรี่ยรายด้วยจักร ให้พระศาสดาทรงอดโทษว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อันราคะย้อมแล้ว อันโทสะประทุษร้ายแล้ว หลงแล้วด้วยโมหะ มืดมนเพราะอวิชชา ไม่รู้คุณทั้งหลายของพระองค์ ได้กล่าวคำอันลามก ขอพระองค์จงอดโทษคำนั้นแก่ข้าพระองค์ แล้วยังมหาเศรษฐีให้อดโทษ.
    สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีกล่าวคุณของตนเบื้องพระพักตร์ของพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดานี้ แม้จะห้ามอยู่ว่า จงอย่ากระทำการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าเป็นต้น ก็ไม่อาจห้ามพระองค์ได้ ข้าพระองค์ แม้ถูกเทวดานี้ห้ามอยู่ว่า ไม่ควรให้ทาน ก็ได้ให้อยู่ นั่นแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คุณของข้าพระองค์ มิใช่หรือ.
    พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านแลเป็นพระอริยสาวกผู้โสดาบัน มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีทัสสนะอันหมดจด ความที่ท่านถูกเทวดาผู้มีศักดิ์น้อยนี้ห้ามอยู่ ก็ห้ามไม่ได้ ไม่น่าอัศจรรย์ ก็ข้อที่บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อน เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น ดำรงอยู่ในญาณอันยังไม่แก่กล้า ถูกมารผู้เป็นใหญ่ในกามาวจรภพยืนอยู่ในอากาศ แสดงหลุมถ่านเพลิงลึก ๘๐ ศอก โดยกล่าวว่า ถ้าท่านจักให้ทานไซร้ ท่านจักไหม้ในนรกนี้ แล้วห้ามว่า ท่านอย่าได้ให้ทาน ก็ได้ยืนอยู่ ในท่ามกลางฝักดอกปทุม ให้ทาน นี้น่าอัศจรรย์.
    อันท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลอ้อนวอน จึงทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไป.
    ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐีในนครพาราณสี อันญาติทั้งหลายให้เจริญ พร้อมด้วยเครื่องอุปกรณ์ทั้งปวงมีประการต่างๆ ดุจเทพกุมาร ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาโดยลำดับ ในเวลามีอายุ ๑๖ ปีเท่านั้น ก็ถึงความสำเร็จในศิลปะทั้งปวง เมื่อบิดาล่วงไป พระโพธิสัตว์นั้นดำรงอยู่ในตำแหน่งเศรษฐี ให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ประตู ๔ โรงทาน ท่ามกลางพระนคร ๑ โรงทาน ที่ประตูนิเวศน์ของตน ๑ โรงทาน แล้วให้มหาทาน รักษาศีล รักษาอุโบสถกรรม
    อยู่มาวันหนึ่ง ในเวลาอาหารเช้า เมื่อคนใช้นำเอาโภชนะ อันเป็นที่ชอบใจมีรสเลิศต่างๆ เข้าไปให้พระโพธิสัตว์. พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เมื่อล่วงไป ๗ วัน ได้ออกจากนิโรธสมาบัติ กำหนดเวลาภิกขาจารแล้ว คิดว่า วันนี้ เราไปยังประตูเรือนของพาราณสีเศรษฐี จึงควร. จึงเคี้ยวไม้ชำระฟันชื่อนี้นาคลดา [นาคลตาทนฺตกฏฺฐํ] ล้างหน้าที่สระอโนดาต ยืนที่พื้นมโนศิลา นุ่งแล้วผูกรัดประคด ห่มจีวร ถือบาตรดินอันสำเร็จด้วยฤทธิ์มาทางอากาศ พอคนใช้นำภัตเข้าไปให้พระโพธิสัตว์ ก็ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือน พระโพธิสัตว์พอเห็นดังนั้น ก็ลุกจากอาสนะ แสดงอาการนอบน้อม แล้วแลดูบุรุษผู้ทำการงาน เมื่อบุรุษผู้ทำการงาน กล่าวว่า กระผมจะทำอะไร ขอรับนาย. จึงกล่าวว่า ท่านจงนำบาตรของพระผู้เป็นเจ้ามา.
    ทันใดนั้น มารผู้มีบาปสั่นสะท้านลุกขึ้นแล้ว คิดว่าพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ไม่ได้อาหารมา ๗ วันแล้วจากวันนี้ไป วันนี้เมื่อไม่ได้จักฉิบหาย เราจักทำพระปักเจกพุทธเจ้านี้ให้พินาศและจักทำอันตรายแก่ทานของเศรษฐีจึงมาในขณะนั้นทันที แล้วเนรมิตหลุมถ่านเพลิงไม้ตะเคียน ๘๐ ศอก ในระหว่างวัตถุสถานที่ตั้งหลุมถ่านเพลิงนั้นเต็มด้วยถ่านเพลิงไม้ตะเคียน ไฟลุกโพลงมีแสงโชติช่วง ปรากฏเหมือนอเวจีมหานรก.
    ก็ครั้นเนรมิตหลุมถ่านเพลิงนั้นแล้ว ตนเองได้ยืนอยู่ในอากาศ บุรุษผู้มาเพื่อจะรับบาตรเห็นดังนั้น ได้รับความกลัวอย่างใหญ่หลวง จึงกลับไป.
    พระโพธิสัตว์ถามว่า พ่อ เธอกลับมาแล้วหรือ?
    บุรุษนั้นกล่าวว่า นาย หลุมถ่านเพลิงใหญ่นี้ไฟติดโพลง มีแสงโชติช่วง มีอยู่ในระหว่างสถานที่ตั้ง เมื่อเป็นเช่นนั้นคนอื่นๆ ไปบ้าง รวมความว่า คนผู้มาแล้วๆ แม้ทั้งหมด ก็ถึงซึ่งความกลัว รีบหนีไปโดยเร็ว.
    พระโพธิสัตว์คิดว่า วันนี้ วสวัตดีมารผู้ประสงค์จะทำอันตรายแก่ทานของเรา จักเป็นผู้ประกอบขึ้น แต่วสวัตดีมารนั้นย่อมไม่รู้ว่า เราเป็นผู้อันร้อยมาร พันมาร แม้แสนมารให้หวั่นไหวไม่ได้ วันนี้ เราจักรู้ว่า เราหรือมาร มีกำลังมาก มีอานุภาพมาก.
    ครั้นคิดแล้ว ตนเองจึงถือเอาถาดภัตตามที่เขาตระเตรียมไว้นั้นนั่นแหละ ออกไปจากเรือน ยืนอยู่ฝั่งของหลุมถ่านเพลิง แล้วแลดูอากาศเห็นมาร จึงกล่าวว่า ท่านเป็นใคร.
    มารกล่าวว่า เราเป็นมาร.
    พระโพธิสัตว์ถามว่า หลุมถ่านเพลิงนี้ ท่านเนรมิตไว้หรือ?
    มารกล่าวว่า เออ เราเนรมิต.
    พระโพธิสัตว์ถามว่า เพื่อต้องการอะไร?
    มารกล่าวว่า เพื่อต้องการทำอันตรายแก่ทานของท่าน และเพื่อต้องการให้ชีวิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าพินาศ.

    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เราจักไม่ให้ท่านทำอันตรายทานของตน และจักไม่ให้ท่านทำอันตรายแก่ชีวิตของพระปัจเจกพุทธเจ้า วันนี้ เราจักรู้ว่า เราหรือท่าน มีกำลังมาก มีอานุภาพมาก จึงยืนที่ฝั่งหลุมถ่านเพลิง แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้า แม้จะมีหัวลง ตกไปในหลุมถ่านเพลิงแม้นี้ ก็จักไม่หวนกลับหลัง ขอท่านจงรับโภชนะที่ข้าพเจ้าถวายอย่างเดียว แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
    ข้าพเจ้าจะตกนรก มีเท้าขึ้นเบื้องบน มีศีรษะลงเบื้องล่างก็ตาม ข้าพเจ้าจักไม่ทำกรรมอันไม่ประเสริฐ ขอนิมนต์ท่านรับก้อนข้าวเถิด.
    ในคาถานั้น มีประมวลความดังต่อไปนี้ว่า
    ท่านผู้เจริญ ถ้าข้าพเจ้า เมื่อจะถวายบิณฑบาตแก่ท่าน จะเป็นผู้มีศีรษะลงเบื้องล่าง มีเท้าขึ้นเบื้องบน ตกลงไปยังนรกนี้โดยแน่แท้ แม้ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้าจักไม่กระทำการไม่ให้ทาน และการไม่รักษาศีลซึ่งเรียกว่า อนริยะ ไม่ประเสริฐ เพราะท่านผู้ประเสริฐไม่กระทำ แต่ผู้ไม่ประเสริฐกระทำนั้น ขอนิมนต์ท่านรับก้อนข้าวที่ข้าพเจ้าถวายอยู่นี้เถิด. ก็ศัพท์ว่า หนฺท ในคาถานี้ เป็นนิบาตใช้ในอรรถแห่งอุปสรรค.
    พระโพธิสัตว์ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว มีการสมาทานอย่างมั่นคง ถือถาดภัตแล่นไปทางเบื้องบนหลุมถ่านเพลิง ทันใดนั้นเอง มหาปทุมดอกหนึ่งบานเต็มที่เกิดขึ้นเป็นชั้นๆ จากพื้นหลุมถ่านเพลิงอันลึก ๘๐ ศอก ผุดขึ้นรับเท้าทั้งสองของพระโพธิสัตว์ แต่นั้น เกสรมีขนาดเท่าทะนานใหญ่ ผุดขึ้นตั้งอยู่เหนือศีรษะของพระมหาสัตว์ แล้วร่วงลงมาได้กระทำร่างกายทั้งสิ้นให้เป็นเสมือน โปรยด้วยละอองทอง.
    พระโพธิสัตว์นั้นยืนอยู่ที่ฝักดอกปทุม ยังโภชนะมีรสเลิศต่างๆ ให้ประดิษฐานลงในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นรับโภชนะนั้น แล้วกระทำอนุโมทนา โยนบาตรขึ้นในอากาศ เมื่อมหาชนเห็นอยู่นั่นแล แม้ตนเองก็เหาะขึ้นสู่เวหาส ตรงไปป่าหิมพานต์ เหมือนเหยียบยํ่ากลีบเมฆฝน มีประการต่างๆ ไปฉะนั้น.
    ฝ่ายมารแพ้แล้ว ก็ถึงความโทมนัสไปยังสถานที่อยู่ของตนนั่นเอง.
    ส่วนพระโพธิสัตว์ยืนอยู่บนฝักดอกปทุม แสดงธรรมแก่มหาชน โดยพรรณนาถึงทานและศีล อันมหาชนแวดล้อมเข้าไปยังนิเวศน์ของตน กระทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ตลอดชีวิตแล้ว ไปตามยถากรรม.
    พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ข้อที่ท่านผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะอย่างนี้ อันเทวดาให้หวั่นไหวไม่ได้ในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์ สิ่งที่บัณฑิตทั้งหลายได้กระทำไว้ แม้ในกาลก่อนเท่านั้น น่าอัศจรรย์.
    ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า
    พระปัจเจกพุทธเจ้าในกาลนั้นได้ปรินิพพานแล้วแล้ว ณ ที่นั้นเอง
    ส่วนพาราณสีเศรษฐีผู้ทำมารให้พ่ายแพ้ ยืนอยู่บนฝักดอกปทุมแล้วถวายบิณฑบาตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า คือ เราเอง แล.


    จบอรรถกถาขทิรังคารชาดกที่ ๑๐
    จบ กุลาวกวรรคที่ ๔.
    -----------------------------------------------------
     
  6. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,756
    ค่าพลัง:
    +1,919
    กับอีกเหตุผลหลัก ในความสงสัยของคนที่ว่า โลกนี้จักรวาลนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ใครเป็นคนสร้าง

    ถ้าบอกว่า พระเจ้าสร้างโลก+คน > โอเคถ้าจะคิดอย่างงั้น
    แล้วถ้าถามกลับว่า แล้วใคร สร้างพระเจ้า หละ ก็คงตอบกลับได้ ว่า คน
    แล้วถ้า ขบคิด ต่อไป ว่าพระเจ้าสร้างคน สร้างโลกจริงหรอ ก็คงจะได้เห็นความขัดแย้งกับความเป็นจริงทุกวันนี้

    แล้วก็มีความเป็นไปได้อีกว่า ใน กลุ่มคน ที่มีความเชื่อถือ ตามคำสอนลัทธิอื่น พอตายไป อาจจะด้วยผลบุญ หรือ ผลสมาธิ ไปเกิดเป็น สิ่งมีจิต ชนิดหนึ่ง พร้อมด้วยฤทธิ์เดชอำนาจ
    แล้วหันมาช่วยเหลือ พวกพ้อง หรือคนที่เชื่อถือแบบตนเองอีก

    อีกกรณี สิ่งมีจิต อาจเคยมีเหตุเกี่ยวข้องกับบุคลบางคน ที่เคยเกี่ยวเนื่องกันมาในอดีตชาติ เลยสามารถพูดคุยติดต่อสื่อสารกับ บุคคลนั้นได้ และเล็งเห็นภัยที่กำลังจะเกิดขึ้นมาได้
    บุคคลนั้นก็อาจจะมองเป็นว่า พระเจ้ามาบอก เช่น โนอา โมเสส เป็นต้น

    ปล.วันก่อนพรึ่งดูหนังเรื่อง exodus แล้วก็คิดขำๆ
    ว่าทำไมๆ ชาวยิวต้องรอ เป็นทาสถึง 400 ปีกว่า พระเจ้าถึงมาช่วย กลับกัน ทำไมอียิปต์โดนภัยซะหนัก

    หรือเพราะชาวยิวบางพวกตายไปเกิด ภพภูมิที่ดี แล้วกลับมาช่วยพวกตนเอง+เล่นงานอียิปต์คืน
    หรือมี สิ่งมีจิต ภพภูมิอื่น เคยเกี่ยวเนื่องกับโมเสส + เห็นใจ สงสารพวกทาส เลยชี้ทางให้โมเสส แล้วก็นำภัยพิบัติถาโถมสู่อียิปต์
     
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    อัคคัญญสูตร
    บทกำเนิดโลกของศาสนาพุทธ แต่ที่ต่างคือ มีสหโลกธาตุ และกาลเวลา อสงไขย อจิณไตย จึงกว้างกว่ามาก แม้แต่การกำเนิดมนุษย์ อะไรเกิดก่อน ละเอียดกว่ามาก

    อย่าลืมว่าหลายภพหลายชาติ มนุษย์เราต่างเวียนว่ายตายเกิดมาหลายเผ่าพันธุ์หลายเชื้อชาติ แม้แต่เราก็เคยเป็นบุคคลระดับสูงในเดียร์ถีย์มาก่อน อย่าว่าแต่เราเลย หลายคนในที่นี้ก็เหมือนกัน แต่ในความเชื่อของศาสนาอื่น *ตรงนี้ ไม่มีหลักการเวียนว่ายตายเกิด จึงต่างกับ พระพุทธศาสนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2015
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    แม้แต่พรหมก็ไม่เหลือ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


    [๕๕๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยหนึ่ง เราอยู่
    ที่โคนต้นรังใหญ่ในสุภควัน ใกล้เมืองอุกกัฏฐา. ก็สมัยนั้นแลพกพรหมมีทิฏฐิอันลามกเห็นปาน
    ฉะนี้ เกิดขึ้นว่า พรหมสถานนี้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา
    พรหมสถานนี้แล ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แหละเหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์
    อย่างยิ่งนอกจากพรหมสถานนี้ไม่มี ดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เรารู้ความปริวิตกแห่งใจ
    พกพรหมด้วยใจแล้ว จึงหายไปที่โคนต้นรังใหญ่ ในสุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐา ไปปรากฏในพรหม
    โลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษที่มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น. ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย พกพรหมได้เห็นเราผู้มาแต่ไกล แล้วได้พูดกะเราว่า ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ เชิญมาเถิด
    ท่านมาดีแล้ว นานทีเดียวที่ท่านเพิ่งทำปริยายเพื่อจะมาในที่นี้ ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ พรหมสถานนี้
    เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา พรหมสถานนี้แลไม่เกิด ไม่แก่
    ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แหละเหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่ง นอกจากพรหมสถานนี้ไม่มี.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะพกพรหมว่า ดูกรท่านผู้เจริญ
    พกพรหมไปในอวิชชาแล้วหนอ พกพรหมไปในอวิชชาแล้วหนอ เพราะว่าพกพรหมกล่าวสิ่งที่ไม่
    เที่ยงนั่นแลว่า เที่ยง กล่าวสิ่งที่ไม่ยั่งยืนนั่นแลว่า ยั่งยืน กล่าวสิ่งที่ไม่มั่นคงนั่นแลว่า มั่นคง
    กล่าวสิ่งที่ไม่แข็งแรงนั่นแลว่า แข็งแรง กล่าวสิ่งที่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดานั่นแลว่า มีความ
    ไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา ก็แหละสัตว์ทั้งเกิด ทั้งแก่ ทั้งตาย ทั้งจุติ ทั้งอุบัติอยู่ในพรหมสถานใด
    พกพรหมก็กล่าวพรหมสถานนั้นอย่างนั้นว่า พรหมสถานนี้แล ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ
    ไม่อุบัติ และกล่าวเหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นอันมีอยู่ว่า เหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์
    อย่างยิ่งอื่นไม่มี.
    มารเข้าสิงกายพรหม
    [๕๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มารผู้ลามกเข้าสิงกายของพรหมปาริสัชชะผู้หนึ่ง
    แล้ว กล่าวกะเราว่า ดูกรภิกษุๆ อย่ารุกรานพกพรหมนี้เลย อย่ารุกรานพกพรหมนี้เลย ดูกรภิกษุ
    เพราะว่า พรหมผู้นี้เป็นมหาพรหมเป็นใหญ่ (ปกครองคณะพรหม) อันคณะพรหมไม่ฝ่าฝืนได้
    โดยที่แท้เป็นผู้ดูทั่วไป ยังสรรพสัตว์ให้เป็นไปในอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้างโลก นิรมิตโลก
    เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้แต่งสัตว์ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นบิดาของเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วและกำลังจะ
    เกิด. ดูกรภิกษุ สมณะและพราหมณ์พวกก่อนท่าน เป็นผู้ติเตียนดิน เกลียดดิน เป็นผู้ติเตียนน้ำ
    เกลียดน้ำ เป็นผู้ติเตียนไฟ เกลียดไฟ เป็นผู้ติเตียนลม เกลียดลม เป็นผู้ติเตียนสัตว์ เกลียดสัตว์
    เป็นผู้ติเตียนเทวดา เกลียดเทวดา เป็นผู้ติเตียนปชาบดี เกลียดปชาบดี เป็นผู้ติเตียนพรหม
    เกลียดพรหมในโลก (ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา) สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น
    เมื่อกายแตกขาดจากลมปราณ ต้องไปเกิดในหีนกาย. (จตุราบาย) ดูกรภิกษุ ส่วนสมณพราหมณ์
    พวกก่อนท่าน เป็นผู้สรรเสริญดิน ชมเชยดิน เป็นผู้สรรเสริญน้ำ ชมเชยน้ำ เป็นผู้สรรเสริญไฟ
    ชมเชยไฟ เป็นผู้สรรเสริญลม ชมเชยลม เป็นผู้สรรเสริญสัตว์ ชมเชยสัตว์ เป็นผู้สรรเสริญ
    เทวดาชมเชยเทวดา เป็นผู้สรรเสริญปชาบดี ชมเชยปชาบดี เป็นผู้สรรเสริญพรหม ชมเชยพรหม
    สมณพราหมณ์เหล่านั้น เมื่อกายแตกขาดจากลมปราณ ก็ไปเกิดในกายที่ประณีต. (พรหมโลก)
    ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้น เราจึงขอบอกกะท่านอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ เชิญเถิด ท่านจงทำ
    ตามคำที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น ท่านจงอย่าฝ่าฝืนคำของพรหมเลย ดูกรภิกษุถ้าท่านจักฝ่าฝืน
    คำของพรหม. โทษจักมีแก่ท่าน เปรียบเหมือนบุรุษเอาท่อนไม้ตีไล่ศิริที่มาหา หรือเปรียบเหมือน
    บุรุษผู้จะตกเหวที่ลึก ชักมือและเท้าให้ห่างแผ่นดินเสีย ฉะนั้น. ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ เชิญเถิด
    ท่านจงทำตามคำที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น ท่านจงอย่าฝ่าฝืนคำของพรหมเลย ดูกรภิกษุท่านย่อม
    เห็นพรหมบริษัทประชุมกันแล้วมิใช่หรือ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารผู้ลามกย่อมเปรียบเทียบเรากะ-
    *พรหมบริษัทดังนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะมารผู้ลามก
    นั้นว่าแน่ะมาร เราย่อมรู้จักท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่า พระสมณะไม่รู้จักเรา แน่ะมาร ท่านเป็นมาร
    พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัทก็ดี พวกพรหมปาริสัชชะก็ดี ทั้งหมดนั่นแลอยู่ในมือของท่าน
    ตกอยู่ในอำนาจของท่าน และท่านมีความดำริว่า แม้สมณะก็ต้องอยู่ในมือของเราต้องตกอยู่
    ในอำนาจของเรา ก็แต่ว่า เราไม่ได้อยู่ในมือของท่าน ไม่ได้ตกอยู่ในอำนาจของท่าน.
    พกพรหมหายไปจากพระผู้มีพระภาค
    [๕๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พกพรหมได้กล่าวว่า ดูกรท่านผู้
    นฤทุกข์ ก็เรากล่าวสิ่งที่เที่ยงนั่นแลว่า เที่ยง กล่าวสิ่งที่มั่นคงนั่นแลว่า มั่นคง กล่าวสิ่งที่ยั่งยืน
    นั่นแลว่า ยั่งยืน กล่าวสิ่งที่แข็งแรงนั่นแลว่า แข็งแรง กล่าวสิ่งที่ไม่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดา
    นั่นแลว่า ไม่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดา. ก็แหละสัตว์ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ
    ในพรหมสถานใด เรากล่าวพรหมสถานนั้นแหละว่า พรหมสถานนี้แล ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
    ไม่จุติ ไม่อุบัติ และกล่าวเหตุที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งอื่น ไม่มีว่า เหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์
    อย่างยิ่งอื่นไม่มี. ดูกรภิกษุ สมณะและพราหมณ์พวกที่มีก่อนท่านได้มีแล้วในโลก อายุทั้งสิ้นของ
    ท่านเท่าไร กรรมที่ทำด้วยตบะของท่านมีเท่านั้น. สมณะและพราหมณ์เหล่านั้นแล พึงรู้ซึ่งเหตุ
    เป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นมีอยู่ว่า เหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นมีอยู่ หรือพึงรู้ซึ่ง
    เหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นไม่มีอยู่ว่า เหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นไม่มีอยู่.
    ดูกรภิกษุ เพราะเหตุไรเราจึงกล่าวกะท่านอย่างนี้ เพราะว่าท่านจักไม่เห็นเหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์
    อย่างยิ่งอื่นเลย และท่านจักเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบาก แห่งความคับแค้นอย่างเดียวเท่านั้น.
    ดูกรภิกษุ ถ้าแลท่านจักกลืนกินแผ่นดินได้ไซร้ ท่านก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้เรา นอนในที่อยู่
    ของเรา เราพึงทำได้ตามประสงค์ เราพึงห้ามได้. ถ้าและท่านจักกลืนกินน้ำ ไฟลม เหล่าสัตว์
    เทวดา ปชาบดี พรหมได้ไซร้ ท่านก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้เรา นอนในที่อยู่ของเรา เราพึงทำ
    ได้ตามประสงค์ เราพึงห้ามได้ ดังนี้. เรากล่าวว่า ดูกรพรหม แม้เราแลย่อมรู้เหตุนี้. ถ้าเราจักกลืน
    กินแผ่นดินได้ไซร้ เราก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้ท่าน นอนในที่อยู่ของท่าน ท่านพึงทำได้ตาม
    ประสงค์ ท่านพึงห้ามได้. ถ้าและเราจักกลืนกินน้ำ ไฟ ลม เหล่าสัตว์ เทวดา ปชาบดี พรหม
    ได้ไซร้ เราก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้ท่าน นอนในที่อยู่ของท่าน ท่านพึงทำได้ตามประสงค์ ท่าน
    พึงห้ามได้. ดูกรพรหม ใช่แต่เท่านั้น เราย่อมรู้ความสำเร็จ และย่อมรู้อานุภาพของท่านว่า
    พกพรหมมีฤทธิ์มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมากอย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้. พกพรหม
    ถามเราว่า ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ ก็ท่านย่อมรู้ความสำเร็จ และย่อมรู้อานุภาพของเราว่า พกพรหม
    มีฤทธิ์มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมากอย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้อย่างไร? เรากล่าวว่า
    ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมโคจรส่องทิศให้สว่างอยู่เท่าใด
    อำนาจของท่านย่อมเป็นไปในพันจักรวาลเท่านั้น ท่านย่อมรู้จัก
    สัตว์ที่เลวและสัตว์ที่ประณีต รู้จักสัตว์ที่มีราคะและสัตว์ที่ไม่มี
    ราคะ รู้จักจักรวาลนี้และจักรวาลอื่น และรู้จักความมาและ
    ความไปของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้.
    ดูกรพรหม เราย่อมรู้ความสำเร็จ และย่อมรู้อานุภาพของท่านอย่างนี้ว่า พกพรหมมีฤทธิ์
    มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมากอย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้. ดูกรพรหม กาย ๓
    อย่างอื่นมีอยู่ ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นในกาย ๓ อย่างนั้น เราย่อมรู้ ย่อมเห็นกายเหล่านั้น. ดูกรพรหม
    กายชื่ออาภัสสระมีอยู่. ท่านเคลื่อนแล้วจากที่ใด มาอุบัติแล้วในที่นี้ ท่านมีสติหลงลืมไปเพราะ
    ความอยู่อาศัยนานนัก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่รู้ไม่เห็นกายนั้น เราย่อมรู้ ย่อมเห็นกายนั้น.
    ดูกรพรหม เราเป็นผู้ไม่สม่ำเสมอกับท่านด้วยความรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมี
    แต่ที่ไหน โดยที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน. ดูกรพรหม กายชื่อสุภกิณหะ กายชื่อเวหัป-
    *ผละมีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นกายนั้น เราย่อมรู้ ย่อมเห็นกายนั้น. ดูกรพรหม เราเป็น
    ผู้ไม่สม่ำเสมอกับท่านด้วยความรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้
    เรานี่แหละเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน. ดูกรพรหม เรารู้จักดินแลโดยความเป็นดิน รู้จักนิพพานอันสัตว์
    เสวยไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน แล้วไม่เป็นดิน ไม่ได้มีแล้วในดิน ไม่ได้มีแล้วแต่ดิน ไม่ได้
    มีแล้วว่าดินของเรา ไม่ได้กล่าวเฉพาะดิน. ดูกรพรหมเราเป็นผู้ไม่สม่ำเสมอกับท่านด้วยความรู้
    ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้สูงกว่าท่าน.
    ดูกรพรหม เรารู้จักน้ำ ... ดูกรพรหม เรารู้จักไฟ ... ดูกรพรหม เรารู้จักลม ... ดูกรพรหม เรารู้จักเหล่า
    สัตว์ ... ดูกรพรหม เรารู้จักเทวดา ... ดูกรพรหม เรารู้จักปชาบดี ... ดูกรพรหม เรารู้จักพรหม ... ดูกรพรหม
    เรารู้จักพวกอาภัสสรพรหม ... ดูกรพรหม เรารู้จักพวกสุภกิณหพรหม ... ดูกรพรหม เรารู้จักพวก
    เวหัปผลพรหม ... ดูกรพรหม เรารู้จักอภิภูพรหม ... ดูกรพรหม เรารู้จักสิ่งทั้งปวงโดยความเป็นสิ่ง
    ทั้งปวง รู้จักนิพพานอันสัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง แล้วไม่เป็นสิ่งทั้งปวง
    ไม่ได้มีแล้วในสิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีแล้วแต่สิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีแล้วว่าสิ่งทั้งปวงของเรา ไม่ได้กล่าว
    เฉพาะสิ่งทั้งปวง. ดูกรพรหม เราเป็นผู้ไม่สม่ำเสมอกับท่านด้วยความรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เรา
    เป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้สูงกว่าท่าน. พกพรหมกล่าวกะเราว่า
    ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ ถ้าแลเพราะท่านรู้นิพพานที่สัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง
    ถ้อยคำของท่านอย่าได้ว่างเสียเลย อย่าได้เปล่าเสียเลย. นิพพานอันผู้บรรลุพึงรู้แจ้งได้ เป็นอนิ-
    *ทัสสนะ (ไม่เห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ) เป็นอนันตะ (ไม่มีที่สุด หรือ หายไปจากความเกิดขึ้นและ
    ความเสื่อม) มีรัศมีในที่ทั้งปวง อันสัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน โดยความที่น้ำเป็นน้ำ
    โดยความที่ไฟเป็นไฟ โดยความที่ลมเป็นลม โดยความที่เหล่าสัตว์เป็นเหล่าสัตว์ โดยความที่เทวดา
    เป็นเทวดา โดยความที่ปชาบดีเป็นปชาบดี โดยความที่พรหมเป็นพรหม โดยความที่เป็นอาภัสสร-
    *พรหมเป็นอาภัสสรพรหม โดยความที่สุภกิณหพรหมเป็นสุภกิณหพรหม โดยความที่เวหัปผลพรหม
    เป็นเวหัปผลพรหม โดยความที่อภิภูพรหมเป็นอภิภูพรหม โดยความที่สิ่งทั้งปวง เป็นสิ่งทั้งปวง.
    พกพรหมกล่าวกะเราว่า ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ มิฉะนั้น บัดนี้เราจะหายไปจากท่าน. เรากล่าวว่า
    ดูกรพรหม ผิฉะนั้น บัดนี้ ถ้าท่านอาจจะหายไปได้ ก็จงหายไปเถิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ครั้งนั้นแล พกพรหมกล่าวว่า เราจักหายไปจากพระสมณโคดม เราจักหายไปจากพระสมณโคดม
    แต่ก็ไม่อาจหายไปจากเราได้โดยแท้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้
    กล่าวกะพกพรหมว่า ดูกรพรหมผิฉะนั้น บัดนี้ เราจะหายไปจากท่าน. พกพรหมกล่าวว่า ดูกร
    ท่านผู้นฤทุกข์ ผิฉะนั้น บัดนี้ ถ้าท่านอาจหายไปได้ ก็จงหายไปเถิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น
    เราบันดาลอิทธาภิสังขารให้เป็นเหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัท
    ก็ดี พวกพรหมปาริสัชชะก็ดี ย่อมได้ยินเสียงเรา แต่มิได้เห็นตัวเรา ดังนี้. เราหายไปแล้ว ได้
    กล่าวคาถานี้ว่า:-
    เราเห็นภัยในภพ และเห็นภพของสัตว์ผู้แสวง
    หาที่ปราศจากภพแล้ว ไม่กล่าวยกย่องภพ
    อะไรเลย ทั้งไม่ยังนันทิให้เกิดขึ้นด้วย ดังนี้.
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    มารมีฤทธิ์มีอิทธิพลยิ่งใหญ่มาก แม้แต่พระอินทร์ พอมารมา ก็หนีไม่รอหน้า ไปหลบอยู่สุดขอบจักรวาล พระพรหมก็หลีกเลี่ยง
    บางคราวมารก็ขึ้นไปรังควานถึงพรหมโลกซึ่งเป็นชั้นรูปาวจรสูงกว่าระดับของตน พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "บรรดาผู้ยิ่งใหญ่ มารเป็นเลิศ"
    แม้ มารจะมีอำนาจยิ่งใหญ่ถึงอย่างนี้ แต่มนุษย์ผู้ฝึกอบรมดีแล้ว ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ก็พิชิตมารได้ด้วยคุณธรรมของตน และมนุษย์ที่มีคุณธรรมสูงเช่นนี้ เทพเจ้าทั้งปวงตลอดถึงพรหมย่อมนบไหว้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2015
  10. บางเบา

    บางเบา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    349
    ค่าพลัง:
    +88
    ชอบคำว่า " ละเอียด "
    คำๆนี้ สำคัญมาก
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    เราไม่มีอะไรจะพูดต่อ แม้แต่เราก็รอเวลา ถ้าจุติธรรมเมื่อไหร่ พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ดั้งเดิม หรือ ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม ที่ไหนหรือที่ใครสักคน สถานการณ์จะพลิกทันที คัมภีร์อักขระพยัญชนะมาร หรือ อหังการวิเศษมาร ย่อมจะต้องพ่ายแพ้ดังเดิม ดั่งในเรื่อง การแสดงยมกปาฎิหาริย์ เป็นต้น จนฝ่ายนั้นบันทึกลงคัมภีร์ไปเลย

    รอคอย ผู้เป็นพระผู้ช่วยผู้นั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2015
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ใช่ สิ่งหนึ่งที่ยังซ่อนเร้นการตีความในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง กับ สิ่งหนึ่งที่เปิดเผยหมดจดแล้วในเรื่องนั้นๆ สิ่งใดเล่า จะละเอียดกว่า


    ไม่แน่ว่า การล่มสลายของนาลันทา ก็เป็นเพราะเหตุผลเดียวที่เรารู้นี้

    ตำราบันทึกพระธรรมคัมภีร์จึงสูญหาย ซึ่งพระสูตรต่างๆถูกทำลายไปมาก จนไม่หลงเหลือ ขนาดจารึกสักลงบน ผิวหนังของตนเอง ยังไม่พอที่จะรอดพ้นได้เลยเผากันเป็นเดือนยังไม่หมด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2015
  13. บางเบา

    บางเบา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    349
    ค่าพลัง:
    +88
    ความละเอียด
    มักทำให้เรื้องราวกระจ่าง ชัดเจน

    ตวามจริงมักปรากฎ ตรงความละเอียด " แบบยุติธรรม "
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ถ้าใครได้รู้ได้เห็นเหมือนเรา เขาก็จะได้เป็น" เคาะลีฟะฮ์ "ที่แท้จริง โดยตามที่เขาปราถนา และหากปราถนา ไม่ต้องพูดถึงจุฬาราชมนตรีนะ คนละเรื่อง!
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    พอละ ! จงรักษาธรรมและรอคอย คงพูดได้แค่คำเดียวในตอนนี้ เพราะเรารู้ว่าเรื่องที่เรากำลังเปิดเผย และกำลังบอกอยู่ตอนนี้ตรงนี้ มันเกินวิสัยของมนุษย์ปุถุชน ตลอดจนคนธรรมดาสามัญจะเข้าใจได้ และเกินวิสัยของพุทธบริษัทมหาชน โดยส่วนมากที่จะล่วงรู้และเข้าถึง เพราะนี่ ไม่ใช่เรื่อง โลกียะญาณ โลกุตระญาณ หรือ มรรคผลต่างๆ การทำสมาธิ รักษาศีล หรืออะไรที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติธรรม การสำเร็จธรรม หรือการได้รู้ได้เห็น ได้มีฤทธานุภาพ เหาะเหินเดินอากาศ หรือ พระธรรมคำสอนใดๆ ที่ให้มรรคผล ให้สามัญผล

    แต่เรากล่าวถึงภัยที่ ๕ คือหายนะที่กำลังจะเกิดขึ้น

    มันเป็นเรื่องเหนือโลกธรรม ๘ แล้ว

    อย่าลืมว่า ในยุทธจักรคู่ต่อสู้ที่น่ากลัวมักจะไม่เปิดเผย

    ข้อควรนำไปคิด เพื่อแปลงสภาพ ภาวะฐานะธรรม
    "ถ้าเราท่านมีพลังฝีมือ และมียอดวิชา ที่ตัวเองถนัดอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ทว่ามีอุปสรรคบางอย่าง ทำให้ไปไม่ถึงไหน อาศัยแต่ทริกเล็กๆ หลอกขู่คนอื่นไปได้ แต่ถ้าเจอของจริงที่จับสังเกตุได้ เราท่านนี้ก็อาจจะสู้ไม่ได้ อย่างง่ายดายเหมือนกัน" เรื่องแพ้-ชนะแล้วจะได้อะไร? ค่อยว่ากันอีกที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2015
  16. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,756
    ค่าพลัง:
    +1,919
    แล้วเรื่องเครื่องบินละครับ
    ก่อนหน้าเห็นพูดถึงเรื่องภัยที่ ๕ แล้วมีพูดแว่วๆว่าเครื่องบิน
    ใบ้ให้หน่อยดิครับว่า เห็นเครื่องบินยังไงแบบไหน บินในประเทศ หรือ บินนอกประเทศ
    หรือของต่างประเทศบินข้ามประเทศ

    แล้ว ภัยที่ ๕ เป็นยังไงมั้งครับ (พอดียังไล่ๆอ่านไม่หมด) เกิดภัย 5 อย่างหรือครับ ?
    หรืออย่างไร แล้วมีเป็นภัยอะไรบ้างครับ ?
     
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    บินนอกประเทศครับ พวกผู้นำระดับสูงของโลกเลย เผลอๆออกจากไทยไปตก

    ๙. ตติยอนาคตสูตร
    ว่าด้วยภัยในอนาคต ๕ ประการ
    [๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่บังเกิด
    ในปัจจุบัน แต่จะบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
    ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ภัยในอนาคต ๕ ประการเป็นไฉน
    คือ


    ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต
    ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
    จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิ-

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 194
    ศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้น ก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล
    ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต
    ไม่อบรมปัญญา ก็จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้
    กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรม
    กาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เพราะเหตุดังนี้แล การลบ
    ล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้าง
    วินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย


    ภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้
    แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึง
    พยายามเพื่อละภัยนั้น.
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลาย จักไม่อบรมกาย ไม่
    อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล
    ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถ
    แนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็
    จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรม
    กาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา ก็จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่า
    อื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
    แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรม
    ปัญญา เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การ
    ลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย


    ภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอ
    ทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรม
    ศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรม

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 195
    จิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อแสดงอภิธรรมกถา เวทัลลกถา หยั่งลงสู่ธรรมที่ผิด
    ก็จักไม่รู้สึก เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม
    การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรม
    ศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรม
    จิต ไม่อบรมปัญญา พระสูตรต่าง ๆ ที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ เป็นสูตรลึกซึ้ง
    มีอรรถลึกซึ้งเป็นโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาธรรม เมื่อพระสูตรเหล่านั้น
    อันบุคคลแสดงอยู่ก็จักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ จักไม่ตั้งจิตเพื่อรู้
    จักไม่ใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน แต่ว่าสูตรต่าง ๆ ที่นักกวี
    แต่งไว้ ประพันธ์เป็นบทกวี มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะสละสลวย เป็น
    พาหิรกถา เป็นสาวกภาษิต เมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่ ก็จัก
    ฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักตั้งจิตเพื่อรู้ จักฝักใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่า
    ควรศึกษาเล่าเรียน เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้าง
    ธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อ
    นี้เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรม-
    ศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต
    ไม่อบรมปัญญา ภิกษุผู้เถระก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็น
    หัวหน้าในความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อ

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 196
    ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง
    ไม่ได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนรุ่นหลังก็จักถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง แม้
    ประชุมชนนั้นก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าใน
    ความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม
    ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้
    แจ้ง เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบ
    ล้างธรรมย่อมมี เพราะการลบล้างวินัย

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อัน
    เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิด
    ในบัดนี้ แต่จะบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
    ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น.
    จบตติยอนาคตสูตรที่ ๙



    อรรถกถาตติยอนาคตสูตร
    พึงทราบวินิจฉัยในตติยอนาคตสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า ธมฺมสนฺโทสา วินยสนฺโทโส ได้แก่ การเสียวินัยย่อมมี
    เพราะเสียธรรม. ถามว่า ก็เมื่อธรรมเสีย วินัยชื่อว่า เสียอย่างไร. ตอบว่า
    เมื่อธรรมคือสมถวิปัสสนาไม่ตั้งท้อง วินัย ๕ อย่างก็ไม่มี. เมื่อธรรมเสียอย่างนี้
    วินัยก็ชื่อว่าเสีย ส่วนสำหรับภิกษุผู้ทุศีล ชื่อว่าสังวรวินัยไม่มี เมื่อสังวรวินัย
    นั้นไม่มี สมถะและวิปัสสนา ก็ไม่ตั้งท้อง. การเสียธรรมแม้เพราะเสียวินัย
    ก็พึงทราบโดยนัยอย่างนี้.

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 197
    บทว่า อภิธมฺมกถ ได้แก่ กถาว่าด้วยธรรมสูงสุด มีศีลเป็นต้น.
    บทว่า เวทลฺลกถ ได้แก่ กถาเจือด้วยญาณที่ประกอบด้วยความรู้.
    บทว่า กณฺห ธมฺม โอกฺกมมนา ได้แก่ ก้าวลงสู่กรรมฝ่ายดำ โดยการ
    แสวงหาด้วยการแข่งดี เพราะแส่หาความผิดเขา. อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย กระทบ
    บุคคลด้วยจิตคิดร้ายก็ดี สร้างกรรมฝ่ายดำนั้น สำหรับตนก็ดี กล่าวเพื่อลาภ-
    สักการะก็ดี. ชื่อว่า ก้าวลงสู่ธรรมฝ่ายดำเหมือนกัน.
    บทว่า คมฺภีรา ได้แก่ ลึกโดยบาลี. บทว่า คมฺภีรตฺถา ได้แก่
    ลึกโดยอรรถ. บทว่า โลกุตฺตรา ได้แก่ แสดงโลกุตรธรรม. บทว่า
    สุญฺตรปฏิสยุตฺตา ได้แก่ ประกอบด้วยขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ.
    บทว่า น อญฺาจิตฺต อุปฏฺเปสฺสนฺติ แปลว่า จักไม่ตั้งจิตไว้เพื่อรู้.
    บทว่า อุคฺคเหตพฺพ ปริยาปุณิตพฺพ ได้แก่ พึงศึกษา พึงเล่าเรียน.
    บทว่า กวิกตา ได้แก่ ที่กวีแต่งโดยผูกเป็นโศลกเป็นต้น. บทว่า กาเวยฺยา
    เป็นไวพจน์ของคำว่า กวิกตา นั้นนั่นแหละ. บทว่า พาหิรกา ได้แก่
    ที่ตั้งอยู่ภายนอกพระศาสนา. บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่สาวกภายนอก
    [พระศาสนา] กล่าวไว้. คำที่เหลือในสูตรนี้ มีความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัย
    ที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง และเพราะรู้ได้ง่าย.
    จบอรรถกถาตติยอนาคตสูตรที่ ๙

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 198
    ๑๐. จตุตถอนาคตสูตร
    ว่าด้วยภัยในอนาคต ๕ ประการ
    [๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ซึ่งยังไม่
    บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้
    เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบจีวรดีงาม เมื่อชอบจีวรดีงาม
    ก็จักละความเป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและ
    ป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคมและราชธานี และจักถึงการแสวงหาไม่
    สมควร อันไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุจีวร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยใน
    อนาคตข้อที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้น
    อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาต
    ที่ดีงาม เมื่อชอบบิณฑบาตที่ดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็น
    วัตร ละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และ
    ราชธานี แสวงหาบิณฑบาตที่มีรสอันเลิศด้วยปลายลิ้น และจักถึงการแสวงหา
    อันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดใน
    กาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละ
    ภัยนั้น.
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะ
    ดีงาม เมื่อชอบเสนาสนะดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ละ
    เสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 199
    และจักถึงการแสวงหาอันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุแห่ง
    เสนาสนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดใน
    บัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว
    พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วย
    ภิกษุณี นางสิกขมานา และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยภิกษุณี นาง-
    สิกขมานา และสมณุทเทส พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ไม่ยินดี
    ประพฤติพรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอกคืนสิกขา
    เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่ง
    ยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้
    ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้คลุกคลีด้วยอารา-
    มิกบุรุษ และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยอารามิกบุรุษ และสมณุทเทส
    พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ประกอบการบริโภคของที่สะสมไว้มี
    ประการต่าง ๆ จักกระทำนิมิตแม้อย่างหยาบที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียว
    บ้าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้
    แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึง
    พยายามเพื่อละภัยนั้น.


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิด
    ในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
    ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น.

    ตรัสซ้ำนะครับ มหาภัยเลยจะบอกให้

    จบจตุตถอนาคตสูตรที่ ๑๐
    จบโยธาชีววรรคที่ ๓

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 200
    อรรถกถาจตุตถอนาคตสูตร
    พึงทราบวินิจฉัยในจตุตถอนาคตสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า กลฺยาณกามา แปลว่า ผู้มีความต้องการอันดี. บทว่า
    รสคฺคานิ ได้แก่ รสยอดเยี่ยม. บทว่า สสฏฺา วิหริสฺสนฺติ ได้แก่
    จักอยู่ระคนด้วยสังสัคคะการระคน ๕ อย่าง. บทว่า สนฺธิธิการปริโภค ได้แก่
    บริโภคของที่ทำสันนิธิ [สั่งสมไว้ผิดวินัย]. ในบทว่า โอฬาริกปิ นิมิตฺต
    นี้ ภิกษุขุดดินเองก็ดี ใช้ให้เขาขุดก็ดี ชื่อว่า ทำนิมิตอย่างหยาบในแผ่นดิน.
    ภิกษุตัดเองก็ดี ใช้ให้เขาตัดก็ดี ซึ่งหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ชื่อว่า ทำนิมิตอย่าง
    หยาบในของสดเขียว. ภิกษุให้เขาถือเอาใบไม้และผักเป็นต้น เก็บไว้เองก็ดี
    ใช้ให้เขาเก็บไว้ก็ดี ซึ่งผลไม้เพื่อเลี้ยงชีพ ก็ไม่จำต้องกล่าวกันละ. ในพระสูตร
    ทั้ง ๔ นี้ พร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2015
  18. บางเบา

    บางเบา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    349
    ค่าพลัง:
    +88
    หายนะ คือ ผล

    ปลาฉลาม ปกติเป็นเพชรฆาต
    ปลาฉลาม เจอปลาเก๋ายักษ์ แน่นอนปลาเก๋าย่อมเก๋ากว่าแน่นอน
    ปลาฉลาม ถูกปลาเก๋ายักษ์เขมือบ

    ปลาฉลามเจอ "หายนะ " เพราะผลจากการกระทำของตนเอง

    ฉลามคือ ใคร

    เก๋าคือ ใคร
     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ผมจะบอกอะไรนะครับ ถ้าเป็นเรื่องระหว่างศาสนา ไม่เอาตามหลักวิทยาศาสตร์ สายฟ้า หรือฟ้าร้องฟ้าผ่าที่เราท่านได้เห็นมาตลอดชีวิต นั่นคือ เกิดจากฤทธิ์เดชและอำนาจของ
    อหังการวิเศษมาร หรือ คัมภีร์อักขระพยัญชนะมาร ซึ่งเป็นอาวุธและเป็นของร้อนที่เกิดจาก คำสั่งสอนของมาร ซึ่งพวกเขาหวาดกลัวกันมาก กลัวที่สุดเพราะนี่เป็นอำนาจนาจของGOD
    ผ่าลงผืนดินแต่ละครั้ง อย่าคิดนะครับว่าไม่มีอะไร?

    ในทางพระพุทธศาสนาไม่มีครับ จะเอาแบบฟ้าร้องฟ้าผ่าแบบนี้ มีแต่ของเย็นครับ เช่น ฝนโบกขพรรษ ทิพยดนตรี ฯลฯ และมีที่แสดงการต่อสู้ต่อต้านกันไว้ด้วย ดูจากพระสูตรนี้

    ทุติยปัณณาสก์
    [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก
    ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์
    เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ๒ จำ
    พวกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ
    ประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่
    ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
    [๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก
    ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมา-
    *สัมพุทธเจ้า ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล
    เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ ฯ
    [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยาของบุคคล ๒ จำพวกนี้ เป็นความ
    เดือดร้อนแก่ชนเป็นอันมาก กาลกิริยาของบุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ของ
    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    กาลกิริยาของบุคคล ๒ จำพวกนี้แล เป็นความเดือดร้อนแก่ชนเป็นอันมาก ฯ
    [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็น
    ไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ฯ
    [๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็น
    ไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้แล ฯ
    [๓๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำ
    พวกเป็นไฉน คือ พระภิกษุขีณาสพ ๑ ช้างอาชาไนย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ฯ

    [๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำ
    พวกเป็นไฉน คือ พระภิกษุขีณาสพ ๑ ม้าอาชาไนย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ฯ

    [๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำ
    พวกเป็นไฉน คือ พระภิกษุขีณาสพ ๑ สีหมฤคราช ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ฯ

    [๓๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กินนรเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้
    จึงไม่พูดภาษามนุษย์ อำนาจประโยชน์ ๒ ประการเป็นไฉน คือ เราอย่าพูดเท็จ ๑
    เราอย่าพูดตู่ผู้อื่นด้วยคำไม่จริง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กินนรเห็นอำนาจประโยชน์
    ๒ ประการนี้แล จึงไม่พูดภาษามนุษย์ ฯ
    [๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการ
    ทำกาลกิริยา ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ การเสพเมถุนธรรม ๑ การคลอด
    บุตร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการนี้แล
    ทำกาลกิริยา ฯ


    [๓๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการอยู่ร่วมของอสัตบุรุษ ๑
    การอยู่ร่วมของสัตบุรุษ ๑ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
    จักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ก็การอยู่ร่วมของอสัตบุรุษเป็นอย่างไร และอสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วม
    อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เป็นเถระในธรรมวินัยนี้ ย่อมคิดเช่นนี้ว่า ถึง
    ภิกษุที่เป็นเถระก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึง
    ภิกษุที่เป็นนวกะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา แม้เราก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ภิกษุ
    ที่เป็นมัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึง
    ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เรา
    พึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้เห็นอยู่
    ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา แม้หากภิกษุที่เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็
    พึงปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าว
    เรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง แม้เรา
    เห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะ จะพึงว่ากล่าวเรา
    ไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่า
    กล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้จะ
    เห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา แม้ภิกษุที่มัชฌิมะก็คิดอย่างนี้ ฯลฯ แม้ภิกษุที่
    นวกะก็คิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุที่เป็นเถระก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็ไม่
    ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นนวกะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา แม้เราก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุที่
    เป็นเถระ ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเรา
    ไซร้ ก็พึงปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา
    เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้จะเห็นอยู่ก็
    ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ... ถ้าแม้
    ภิกษุที่เป็นนวกะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่
    ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็
    พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้จะเห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา ดูกรภิกษุทั้ง-
    *หลาย การอยู่ร่วมของอสัตบุรุษเป็นเช่นนี้แล และอสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วมเช่นนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอยู่ร่วมของสัตบุรุษเป็นอย่างไร และสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วม
    อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เป็นเถระในธรรมวินัยนี้ ย่อมคิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุ
    ที่เป็นเถระก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็น
    นวกะก็พึงว่ากล่าวเรา แม้เราก็พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ
    ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาสิ่งที่
    เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะ
    เขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราก็ไม่พึงเบียดเบียนเขา เราแม้เห็นอยู่ ก็ควรทำตาม
    ถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ... ถ้าแม้ภิกษุที่เป็น
    นวกะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนา
    สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราก็ไม่พึง
    เบียดเบียนเขา เราแม้เห็นอยู่ ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา แม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ
    ก็คิดเช่นนี้ ฯลฯ แม้ภิกษุที่เป็นนวกะก็คิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุที่เป็นเถระก็พึงว่า
    กล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นนวกะก็พึงว่า
    กล่าวเรา เราก็พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ที่เป็นมัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าแม้
    ภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเรา ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนา
    สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราก็
    ไม่พึงเบียดเบียนเขา เราแม้เห็นอยู่ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่
    เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ... ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็
    พึงปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่ากล่าว
    เรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราไม่พึงเบียดเบียนเขา เราแม้
    เห็นอยู่ ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอยู่ร่วมของ
    สัตบุรุษเป็นเช่นนี้แล และสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วมเช่นนี้ ฯ


    [๓๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด การด่าโต้ตอบกัน ความ
    แข่งดีกันเพราะทิฐิ ความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด ยังไม่สงบ
    ระงับไป ณ ภายใน ความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์นั้น จักเป็นไปเพื่อความเป็น
    อธิกรณ์ยืดเยื้อ กล้าแข็งร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์ใดแล การด่าโต้ตอบกัน ความแข่งดีกันเพราะทิฐิ
    ความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด สงบระงับดีแล้ว ณ ภายใน
    ความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์นั้น จักไม่เป็นไปเพื่อความเป็นอธิกรณ์ยืดเยื้อ กล้าแข็ง
    ร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่เป็นผาสุก ฯ
    จบปุคคลวรรคที่ ๑

    ต่อต้านกันมานานแล้วครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2015
  20. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,756
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ภัย 5 อย่างนี้ แบ่งเป็นอย่างละ 1000 ปีหรือเปล่าครับ ?
    แต่เท่าที่อ่านดู เหมือนสังคมปัจจุบันจะเป็นแบบนั้นไปเยอะแล้วส่วนมาก ทั้งที่แค่ผ่านมาได้แค่ 1/2 ของ 5000 เอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2015

แชร์หน้านี้

Loading...