ทางสายเอก โดยพระราชพรหมยาน ตอน พิสูจน์ด้วยปฏิบัติ..อย่านึก

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 29 พฤศจิกายน 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    ทางสายเอก โดยพระราชพรหมยาน ตอน พิสูจน์ด้วยปฏิบัติ..อย่านึก
    [​IMG]
    วิชาของพระพุทธเจ้าอย่ารับฟังแล้วคิดเฉยๆ นะ ถ้ารับฟังแล้วคิดเฉยๆ นี่ไม่มีผล และหนักเข้าเราเองจะกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ เราต้องดูหลักสูตรหลักเกณฑ์ที่พระองค์ทรงวางไว้ว่าให้ปฏิบัติอย่างไรบ้าง ต้องพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติ ไม่ใช่พิสูจน์ด้วยการคำนึงคิด นั่งนึกนึกแต่อารมณ์

    ไอ้คนกินเหล้านี่ พอเขาบอกน้ำหวานมันไม่เคยกินน้ำหวาน มันนึกว่าน้ำหวานรสเหมือนเหล้าใช่ไหม ไอ้คนกินแต่น้ำหวานไม่รู้จักเหล้า นี่มีสภาพฉันใด ถ้าจิตใจเรายังเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน แล้วจะเกิดผลอย่างไรก็ตาม ถ้าเราใช้อารมณ์ธรรมดาเข้าไปวินิจฉัยคำสอนของพระพุทธเจ้า จะไม่มีทางเข้าใจได้

    อธิโมกขศรัทธา

    ในสมัยครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าประชุมสงฆ์ เมื่อเทศน์โปรดแล้วพระพุทธเจ้าถามพระสารีบุตรว่า
    “...สารีบุตร ถ้อยคำสอนของพระตถาคตที่พูดมาแล้วนี่ สารีบุตรเชื่อไหม...”
    พระสารีบุตรบอก “...ข้าพระพุทธเจ้าไม่เชื่อพระพุทธเจ้าข้า...”
    เล่นเอาพระทั้งหลายเหล่านั้นมองพระสารีบุตรตาบูดตาเบี้ยวไปตามๆ กัน คิดว่าพระสารีบุตรนี่อวดดี

    พระพุทธเจ้าตั้งให้เป็นอัครสาวกก็ยังอวดดี ใช้ไม่ได้เสียแล้ว นี่สำหรับจิตใจพระที่เป็นปุถุชน แต่ว่าพระพุทธเจ้าก็ไม่ว่าอะไร ถามต่อไปว่า “...สารีบุตร ทำไมเธอจึงไม่เชื่อ...”
    พระสารีบุตรบอกว่า ก่อนที่ข้าพระพุทธเจ้าจะเชื่อต้องทดสอบถ้อยคำสอนของพระพุทธองค์ก่อน พระพุทธเจ้าข้า นี่หมายความว่าต้องปฏิบัติ ถ้ามีผลตามนั้นพระสารีบุตรจึงจะเชื่อ
    พระพุทธเจ้ายกมือขึ้นสาธุว่า “...ดีแล้ว สารีบุตรดีแล้วๆ อักขาตาโร ตถาคตา ตถาคตนี่เป็นแต่เพียงคนบอก เมื่อบอกแล้วถ้าใครหลงเชื่อสนิทว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง คนนั้นจัดว่าเป็นอธิโมกขศรัทธา น้อมใจเชื่อ ตถาคตไม่สรรเสริญ

    เมื่อฟังแล้วต้องนำไปประพฤติปฏิบัติ พิสูจน์ความจริงจากคำสอนของตถาคตก่อน จนกว่าจะเกิดผลแล้วจึงเชื่ออย่างนี้ตถาคตสรรเสริญ สารีบุตรเป็นคนดี...” นี่เป็นอย่างนี้เสียอีก นี่คติของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างนั้น ที่ฉันพูดฉันเล่าอะไรมาให้ฟังตั้งแต่ต้นนี่ ท่านผู้ฟังทั้งหมดอย่าเชื่อฉันนะ ว่าอะไรก็ตามถ้าฉันกล่าวไปแล้วมีผลเป็นอย่างนั้นมีผลเป็นอย่างนี้

    ก็พยายามทำกันให้ได้ พยายามศึกษากันก่อน ปฏิบัติกันก่อน แล้วปฏิบัตินี่ต้องปฏิบัติขั้นเอาชีวิตเข้าแลกกันทีเดียวนะ ไอ้แบบชนิดที่เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อน่ะฉันไม่ใช้ คนประเภทนี้ไม่คบ คนชนิดนี้พูดให้ฟังก็เหนื่อยเปล่า ไม่เกิดประโยชน์

    ทุกอย่างต้องแก้ที่ใจเรา

    คนที่มีความวุ่นวายติโน่นตินี่ ไอ้โน่นไม่ดี ไอ้นี่เสีย คนประเภทนี้ก็คือคนที่ไม่รู้จักธรรมดา พูดภาษาไทยๆ เขาเรียกว่ากิเลสมันยังเลยหัวอยู่ ปลดอารมณ์นั้นเสีย ถ้าจิตของเรายอมรับนับถือกฎของธรรมดา อะไรมันจะมาก็ถือว่าเป็นเรื่องของมันอย่างนั้น ไม่ต้องไปติ สิ่งใดที่แก้ไขไม่ได้อย่าไปแก้มัน

    อย่าไปแก้ที่วัตถุ อย่าไปแก้ที่บุคคล มาแก้ที่ใจเรา ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นธรรมดา ทำไมเราจึงต้องเดือดร้อน ทำไมเราจึงจะต้องดิ้นรน อย่าเป็นคนช่างติ ถ้าจะติก็ติตัวเรา ตามที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทความชั่วของตัวเองไว้ให้เป็นปกติ

    ติตนเอง

    หมายความว่า เราต้องดูว่าเราเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทานมากหรือน้อย ก็ต้องดูใจของเราว่ายังติดหรือผิดศีลหรือเปล่า พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนว่า เอ้อ..ลูกเอ้ย หนูเอ๋ย ถ้าเอ็งจะดีต้องติชาวบ้านเขานะ นึกถึงกฎของความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตำหนิใคร เพราะท่านรู้ว่าทุกคนที่เกิดมาแล้ว ที่เกิดมาเป็นตัวนี่มันไม่ใช่คนดีนะ คนเลว

    พูดตามภาษาชาวบ้านแต่ความจริงและแท้จริงแล้วมันไม่ได้เลว ที่มันเลวเพราะมันมีเจ้านายต่างหาก เจ้านายมันเลว เจ้านายนี่ไม่ใช่ผู้บังคับการฝูงนะ เจ้านายคือกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม ที่มันสั่งสมสืบกันมา เราจึงต้องเกิด ไม่เช่นนั้นเราก็ไปนิพพานแล้ว ถ้าดีจริงๆ แล้วก็ต้องไปนิพพานแล้ว เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงไม่ประณามว่าชั่ว

    แต่ว่าจะชั่วหรือดีอยู่ที่การปฏิบัติ เมื่อรับคำแนะนำแล้วยังไม่ปฏิบัติตาม ทีนี่แหละถือว่าชั่วแล้ว หรือว่าเขาชี้บอกว่านี่ขนม นี่กับข้าว นี่น้ำนะ เรานั่งหิวแทบตายแต่เราไม่กินก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร ถ้าเราไม่เลวแล้วเราจะเลวเมื่อไร อีทีนี้ต้องยอมเลวน่ะ นี่ที่ว่ายอมเลวเพราะอะไร ก็เพราะว่าเขาให้เรากิน เขาบอกเราแล้วแต่เราไม่กิน ถ้าเราไม่กินหิวขึ้นมาแล้วเราจะไปโทษใคร ต้องโทษตัวเราเอง

    ในเมื่อพระพุทธเจ้าท่านทรงทราบ ท่านไม่ทรงตำหนิ เห็นไหมท่านไม่ตำหนิแต่ท่านเตือนไว้ว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเอง และกล่าวโทษโจทความผิดของตนเอง ท่านไม่ได้บอกกล่าวโทษผิดติชาวบ้านเขา บอกให้ติตัวเอง ติตัวเองก็คือติอารมณ์ใจ ให้ดูอารมณ์ใจ

    จิตสัตว์โลก

    “...คือมีคนสงสัยนะคะว่า คนเรานี่มีจิตมีดวงวิญญาณใช่ไหมคะ แล้วสัตว์นี่มีจิตมีดวงวิญญาณหรือเปล่าคะ...
    “...ต้องไปถามสัตว์ดู (หัวเราะ)...”

    “...เคยได้ยินมาว่าถ้าหากว่าเราทำความชั่วจะลงอบายภูมิ ทำไมถึงลงล่ะคะ แล้วจะต้องไปเกิดเป็นสัตว์หรือะไรสักอย่างหนึ่งนะคะ แล้วทีนี้ถ้าเผื่อว่าความจริงอันนี้นะคะ ในสภาพที่เราเป็นสัตว์นี่ จิตวิญญาณเราจะอยู่ที่ไหนคะ หนูอยากจะทราบอันนี้ค่ะ...”
    “...อันนี้คุณจะต้องทำตัวให้เป็นสัตว์เสียก่อนจะได้หมดสงสัย (หัวเราะ) ไม่งั้นพูดไปไม่จบหรอก ทำได้ไหม

    ไอ้จิตนี่มันไปเข้าอะไรมันก็เป็นอย่างนั้น จิตนี่มันมาเข้าร่างของคนมันก็เป็นคน ถ้าไปเข้าร่างของสัตว์มันก็เป็นสัตว์ คือสัตว์กับคนก็จิตอันเดียวกัน คนก็ไปเกิดเป็นสัตว์ใช่ไหม สัตว์นี่ก็ถือว่าเป็นประเภทที่อยู่ในอบายภูมิ ในอบายภูมินี่มันมีทุกข ไอ้สัตว์นี่ถ้าเราจะมีความเมตตาปรานีกับมันอย่างไรก็ตามมันก็ลำบาก เราจะอ้างไอ้สัตว์ตัวนี้มันชอบเนื้อต้องซื้อเฉพาะเนื้อดิบ

    แต่ความจริงสัตว์มันก็ชอบอย่างอื่นบ้าง มันก็บอกไม่ได้ ไอ้เราก็นึกว่ามันชอบ ทั้งๆ ที่มันเบื่อแสนเบื่อ มันไม่มีอะไรจะกินมันก็ต้องกิน มีความปรารถนาไม่สมหวังใช่ไหม ถ้าบอกอย่างนี้คุณไม่แน่ใจคุณก็ลองดูนะ...”
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างกำแพงถวายวัดกุฏีทอง-รับพระผงกริ่งนาคราช.557837/
     

แชร์หน้านี้

Loading...