ทำความเข้าใจความหมายของ จิต และ เจตสิก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยอดคะน้า, 29 สิงหาคม 2011.

แท็ก: แก้ไข
  1. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    (๑๑) โมหวิเฉทนี: ปกิรณกกถา<!-- google_ad_section_end -->

















    ปกิรณกกถา

    [๕๗] เราทั้งหลาย พึงตั้งอยู่ในจิตตุปปาทกัณฑ์นี้ ประมวลธรรม คือ
    จิตและเจตสิกทั้งสิ้น โดยสังคหะ มีชาติสังคหะ เป็นต้น กล่าวปกิรณกกถา

    ๑. จิต
    ก็จิตตามที่กล่าวแล้ว :
    กุศล ๒๑ ดวง,
    อกุศล ๑๒ ดวง,
    วิบาก ๓๖ ดวง,
    และกิริยา ๒๐ ดวง;
    รวมเบ็ดเสร็จเป็น ๘๙ ดวง;
    หรือเป็น ๑๒๑ ดวง
    เพราะโลกกุตตรจิตเดิม ๘ ดวงนับเป็น ๔๐ ดวง
    โดยความต่างแห่งการประกอบด้วยองค์ฌาน (๘x๕=๔๐).
    บรรดาจิต ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวงนั้น
    จิต ๕๔ ดวงเป็นกามาวจร,
    ๑๕ ดวงเป็นรูปาวจร,
    ๑๒ ดวงเป็นอรูปาวจร,
    ๘ หรือ ๔๐ ดวงเป็นโลกุตตร.

    อนึ่ง บรรดากามาวจรจิต, (๕๔ ดวง) จิต ๘ ดวงเป็นกุศล,
    < ๑๒ ดวงเป็นอกุศล, > ๒๓ ดวงเป็นวิบาก, ๑๑ ดวงเป็นกิริยา.
    จิต ๑๘ ดวงเป็นอเหตุกะ;
    ส่วนจิตที่เหลือเป็นสเหตุกะเป็นไปในภูมิ ๔.
    ก็การนับจิตโดยชาติในอเหตุกจิตและสเหตุกจิตเหล่านั้น
    ได้กล่าวไว้ในเบื้องต้นแล้ว.


    ๒. เจตสิก

    [๕๘] ส่วนเจตสิก เป็นธรรม ๕๒ คือ
    (๑) ศรัทธา ความเชื่อ

    (๒) สติ ความระลึกได้

    (๓) หิริ ความละอายต่อบาป

    (๔) โอตตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาป

    (๕) อโลภะ ความไม่อยากได้อารมณ์
    (๖) อโทสะ ความไม่ประทุษร้าย
    (๗) กายปัสสัทธิ ความสงบของเจตสิก
    (๘) จิตตปัสสัทธิ ความสงบของจิต
    (๙) กายลหุตา ความเบาของเจตสิก
    (๑๐) จิตตลหุตา ความเบาของจิต
    (๑๑) กายมุทุตา ความอ่อนของเจตสิก
    (๑๒) จิตตมุทุตา ความอ่อนของจิต
    (๑๓) กายกัมมัญญตา ความควรแก่การงานของเจตสิก
    (๑๔) จิตตกัมมัญญตา ความควรแก่การงานของจิต
    (๑๕) กายปาคุญญตา ความคล่องแคล่วของเจตสิก
    (๑๖) จิตตปาคุญญตา ความคล่องแคล่วของจิต
    (๑๗) กายุชุกตา ความตรงของเจตสิก
    (๑๘) จิตตุชุกตา ความตริงของจิต
    (๑๙) ตัตรมัชฌัตตา ความเป็นกลางในธรรมนั้นๆ






    (๑๙นี้ในอภิธรรมมัตถสังคหะเรียกว่า โสภณสาธารณเจตสิก)



    (๒๐) อโมหะ ความไม่หลง (ตรงกับปัญญินทรีย์ในอภิธัมมัตถสังคหะ)



    อัปปมัญญา ๒ คือ


    (๒๑) กรุณา ความสงสารสัตว์ที่ได้ทุกข์

    (๒๒) มุฑิตา ความยินดีต่อสัตว์ที่ได้สุข





    วิรัติ ๓ คือ


    (๒๓) สัมมาวาจา วาจาชอบคือเว้นจากวจีทุจริต ๔

    (๒๔) สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือ เว้นจากายทุจริต ๓

    (๒๕) สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือเว้นจากวจีทุจริต ๔ และกายทุจริต ๓






    (๑-๒๕ นี้ในอภิธัมมัตถสังคหะเรียกว่า โสภณเจตสิก)



    (๒๖) โมหะ ความหลง

    (๒๗) อหิริกะ ความไม่ละอายต่อบาป

    (๒๘) อโนตตัปปะ ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป
    (๒๙) อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
    (๓๐) โลภะ ความอยากได้อารมณ์
    (๓๑) ทิฏฐิ ความเห็นผิด
    (๓๒) โทสะ ความประทุษร้าย
    (๓๓) วิจิกิจฉา ความสงสัย
    (๓๔) มานะ ความถือตัว
    (๓๕) อิสสา ความริษยา
    (๓๖) มัจฉริยะ ความตระหนี่
    (๓๗) กุกกุจจะ ความร้อนใจ
    (๓๘) ถีนะ ความหดหู่
    (๓๙) มิทธะ ความง่วงเหงา







    (๒๖-๓๙ นี้ในอภิธัมมัตถสังคหะเรียกว่า อกุศลเจตสิก)



    (๔๐) ผัสสะ ความกระทบอารมณ์

    (๔๑) เวทนา ความเสวยอารมณ์

    (๔๒) สัญญา ความจำอารมณ์
    (๔๓) เจตนา ความแสวงหาอารมณ์
    (๔๔) เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว
    (๔๕) ชีวิตินทรีย์ สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง
    (๔๗) มนสิการ ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ







    (๔๐-๔๖ นี้ในอภิธัมมัตถสังคหะเรียกว่า สัพพจิตตสาธารณเจตสิก)



    (๔๗) วิตก ความตรึกตรองอารมณ์

    (๔๘) วิจาร ความพิจารณาอารมณ์

    (๔๙) ปีติ ความปลาบปลื้มใจในอารมณ์
    (๕๐) วิริยะ ความเพียร
    (๕๑) ฉันทะ ความพอใจในอารมณ์
    (๕๒) อธิโมกข์ ความตัดสินอารมณ์โดยเด็ดขาด






    (๔๗-๕๒ นี้ในอภิธัมมัตถสังคหะเรียกว่า ปกิณกเจตสิก).






    บรรดาเจตสิกธรรม ๕๒ นั้น
    ธรรม ๑๒ คือ
    ตัตรมัชฌัตตตา,
    อัปปมัญญา ๒,
    ธรรม ๖ มีมานะเป็นต้น,
    มนสิการ,
    ฉันทะ,
    และอธิโมกข์เป็นธรรมที่ทรงแสดงโดยเยวาปนกนัย ตามฐานะนั่นเทียว;
    วิรัติ ๓ และอุทธัจจะ เป็นธรรมที่ทรงแสดงโดยเยวาปนกนัยในจิตบางดวง,

    อนึ่ง
    บรรดาธรรมที่ทรงแสดงโดยเยวาปนกนัยรวม ๑๖ นั้น
    ธรรม ๘ ที่เหลือเว้นธรรมเหล่านี้ คือ
    ตัตรมัชฌัตตตา, มนสิการ, ฉันทะ, อธิโมกข์, อุทธัจจัะ,
    และวิรัติ ๓ เป็นธรรมไม่แน่นอน ตามฐานะ.
    อนึ่ง
    วิรัติ ๓ เป็นธรรมไม่แน่นอนในจิตบางดวง,
    ส่วนธรรม ๔๑ ที่เหลือเว้นธรรม ๑๑ เหล่านี้ เป็นธรรมแน่นอนทั้งสิ้น.



    [๕๙] บรรดาเจตสิกธรรม ๕๒ นั้น

    ธรรม ๒๕ มีศรัทธาเป็นต้น (๑-๒๕) พึงทราบว่าเป็นกุศลและอัพยากฤติเท่านั้น

    ธรรม ๑๔ มีโมหะเป็นต้น (๒๖-๓๙) พึงทราบว่าเป็นอกุศลอย่างเดียว

    ธรรม ๑๓ มีผัสสะเป็นต้น ( ๔๐-๔๒)
    พึงทราบว่าเป็นกุศล อกุศลและอัพยากฤต.
    แท้จริง ธรรมที่เป็นกุศลหรืออัพยากฤตโดยส่วนเดียวไม่มี.
    แต่เป็นกุศลในสมัยที่สัมปยุตด้วยกุศลจิต,
    และเป็นอัพยากฤตในสมัยที่สัมปยุตด้วยอัพยากฤตจิต.

    ส่วนธรรมมีโมหะเป็นต้น (๒๖-๓๙)เป็นอกุศลโดยรูปของตนทีเดียว
    และธรรมนอกนี้ เป็นกุศล อกุศล หรืออัพยากฤต
    โดยการประกอบด้วยกุศลจิตเป็นต้นนั้น.

    อนึ่ง
    เจตสิกธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมด พึงทราบว่า
    เป็นธรรม มีประเภทโดยความต่างแห่งจิตที่ตนสัมปยุต.

    ดังจะกล่าวโดยพิสดาร:
    บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรม ๑๙ มีศรัทธาเป็นต้น (๑-๑๙)
    บังเกิดในจิต ๕๙ ดวง คือ
    ในกุศลจิตทุกดวง (๒๑ ดวง)
    [กุศลจิต ๒๑ ดวง: กามาวจรกุศล ๘, รูปาวจรกุศล ๕,
    อรูปาวจรกุศล ๔ และโลกุตตรกุศล ๔.]

    และในบรรดาจิตที่เป็นสเหตุกอัพยากฤต (๓๘ ดวง)
    [สเหตุกอัพยากฤต ๓๘ ดวง: สเหตุกกามาวจรวิบาก ๘, รูปาวจรวิบาก ๕, อรูปาวจรวิบาก ๔, โลกุตตรวิบาก ๔, สเหตุกกามาวจรกิริยา ๘,
    รูปาวจรกิริยา ๕, อรูปาวจรกิริยา ๔ ]

    เพราะเหตุนั้น

    ธรรมแต่ละอย่างจึงเป็น ๕๙ ประเภท.
    แม้ธรรมอื่นก็พึงทราบอย่างนี้.
    อโมหะ (ธรรมที่ ๒๐) บังเกิด - บรรดาจิต ๕๙ ดวงนั้น
    ในจิตที่เหลือเว้นจากจิต ๑๒ ดวงที่วิปปยุต (พราก) จากวิญญาณ.
    อัปปมัญญา (ธรรมที่ ๒๑,๒๒) บังเกิดในจิต ๒๘ ดวง คือ
    ในกามาวจรสเหตุกกิริยา (๘ ดวง) กามาวจรกุศล (๘ดวง)
    และรูปาวจรจิต (กุศล วิบาก กิริยา) เว้นฌานที่ ๕ (๑๒ ดวง).

    ส่วนวิรัติ (ธรรมที่ ๒๓-๒๕) บังเกิดในจิต ๑๖ ดวง คือ
    ในกามาวจรกุศล (๘ ดวง) และในโลกุตตรจิต (๘ ดวง).
    ธรรม ๒๕ เหล่านี้ [ ธรรม ๒๕ เหล่านี้ คือ เจตสิกธรรมที่ ๑-๒๕. ]
    เกิดเป็นธรรมชื่อว่า "กุศลาพยากฤต"
    เพราะบังเกิดในกุศลจิตและอัพยากฤติจิต ด้วยประการฉะนี้.



    ส่วนบรรดาเจตสิกธรรมที่เป็นอกุศลธรรม ๔ มีโมหะ เป็นต้น (๒๖-๒๙)
    บังเกิดในอกุศลจิตแม้ทั้ง ๑๒ ดวง.

    โลภะ (ธรรมที่ ๓๐) บังเกิดในโลภมูลจิต ๘ ดวง.

    ทิฏฐิ (ธรรมที่ ๓๑) บังเกิดในโลภมูลจิตนั้น
    เฉพาะที่สัมปยุต (ประกอบ) ด้วยทิฏฐิ (๔ ดวง)

    มานะ (ธรรมที่ ๓๔) บังเกิดในโลภมูลจิตนั้น
    เฉพาะที่วิปยุต (พราก)จากทิฏฐิ (๔ ดวง).

    โทสะ (ธรรมที่ ๓๒ ) อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ (ธรรมที่ ๓๕-๓๗)
    บังเกิดในอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยปฏิฆะ (๒ดวง).

    ถีนะ มิทธะ (ธรรมที่ ๓๘,๓๙) เกิดในอกุศลจิตที่เป็นสสังขาริก ๕ ดวง.

    วิจิกิจฉา (ธรรมที่ ๓๓ ) บังเกิดในอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาเท่านั้น
    ฉะนี้ แล้ว
    ธรรมแม้ทั้ง ๑๔ นี้ (๒๖-๓๙) ชื่อว่า อกุศล
    เพราะเป็นอกุศลเอง และบังเกิดแต่ในอกุศลจิตเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้


    ส่วนบรรดาธรรมนอกนี้ ธรรม ๗ มีผัสสะเป็นต้น (๔๐-๔๖)
    บังเกิดในจิตทุกดวง;
    อันจิตที่เว้นจากธรรมเหล่านี้แม้เพียงอย่างเดียวเกิดขึ้นไม่มีเลย;

    แท้จริง
    ธรรมเหล่านี้เป็นสัพพัตถกะ -เป็นประโยชน์ในจิตทั้งปวง.

    ส่วนธรรมมีวิตกเป็นต้น (๔๗-๕๒) เป็นยถาโยคิกะ
    เป็นไปในจิตตามที่ควร. ดังจะกล่าวโดยพิสดาร:

    บรรดาธรรมเหล่านั้น
    วิตก (ธรรมที่ ๔๗) ก่อน บังเกิดในจิต ๕๕ ดวง คือ
    ในกามาวจรจิต เว้นวิญญาณห้าทั้งสอง
    (กามาวจรจิตมีจำนวน ๕๔ ดวงเมื่อเว้นวิญญาห้าทั้งสองเสียจึงเหลือ ๔๔ ดวง)

    และ
    ในจิตที่เป็นรูปาวจรและโลกุตตรเฉพาะที่เป็นปฐมฌาน ๑๑ ดวง
    (รูปาจวรกุศล-วิบาก-กิริยารวม ๓,โลกุตตรมรรค ๔,ผล ๔).

    ส่วนวิจาร (ธรรมที่ ๔๘) บังเกิดในจิต ๖๖ ดวงคือในจิต ๕๕ ดวงนั้น
    และในจิตที่เป็นไปในทุติยฌาน (๑๑ ดวง).

    ปีติ (ธรรมที่ ๔๙) เป็นไปในจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส
    เว้นจิตที่เป็นไปในจตุตถฌาน.

    วิริยะ (ธรรมที่ ๕๐) บังเกิดในจิตเว้นวิญญาณห้า มโนธาตุและสันตีรณทั้งสาม.

    ฉันทะ (ธรรมที่ ๕๑) บังเกิดในจิตเว้นอเหตุกจิต และโลหมูลจิต.

    อธิโมกข์ (ธรรมที่ ๕๒) บังเกิดในจิตเว้นปัญจวิญญาณทั้งสอง
    และจิตที่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา.
    ธรรมเหล่านี้เกิดเป็นธรรมชื่อว่า "ติชาติกะ - มีชาติ ๓"
    เพราะบังเกิดในกุศลจิต อกุศลจิตและอัพยากฤตจิต ด้วยประการฉะนี้.

    อนึ่ง

    แม้ความต่างแห่งจำนวนของธรรมเหล่านั้น แต่ละอย่าง
    ก็พึงทราบโดยความต่างแห่งจิตที่ธรรมนั้นๆ สัมปยุต.

    เหมือนอย่างจิต แม้เป็นอย่างเดียวโดยลักษณะ
    ก็ยังแตกต่างกันโดยประเภท - มีสัมปโยคและอวัตถาเป็นต้น ฉันใด,
    แม้เจตสิกทั้งหลายแต่ละอย่างก็พึงทราบว่าแตกต่างกันฉันนั้น;
    แต่จิตและเจตสิกเหล่านั้นก็มีความต่างกัน ดังจักกล่าวต่อไป:

    อ่านต่อ วัตถุสังคหะ

    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2011
  2. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    ๓. วัตถุสังคหะ
    [ ๖๐] ก็ในวัตถุสังคหะ บรรดาจิตและเจตสิกเหล่านั้น
    บรรดาจิตทั้งหลายก่อน จิต ๔๓ ดวงคือ
    กามาวจรวิบาก (๒๓ ดวง)
    มโนธาตุ (ดวง ๑ คือปัญจทวาราวัชชนะ)
    หสิตุปปาท (ดวง ๑)
    ปฏิฆะอันประกอบในดทสมูลจิต (๒ ดวง)
    รูปาวจรจิต (๑๕ ดวง)
    และปฐมมรรคจิต (ดวง ๑)
    อาศัยวัตถุ*
    (*วัตถุมี ๖ อย่าง คือจักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และหทยวัตถุ)
    ตามที่เป็นของตนเท่านั้น จึงบังเกิดขึ้นได้ตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง.

    ส่วนอรูปาวจรวิบาก (๔ ดวง) ไม่อาศัยวัตถุเลย บังเกิดขึ้นได้.

    จิต ๔๒ ดวงที่เหลือ *
    [คือกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง, อรูปาวจรกุศลจิต ๔ ดวง, อกุศลจิต ๑๐ ดวง(เว้นโทสมูลจิต ๒) , กิริยาจิต ๑๓ ดวง (เว้นปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ รูปาวจรกิริยาจิต ๕), และโลกุตตรจิต ๗ ดวง(เว้นปฐมมรรคจิต)]
    อาศัยวัตถุจึงบังเกิดขึ้นได้บ้าง,
    ไม่อาศัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะบังเกิดแม้ในอรูปทั้งหลายบ้าง.

    แท้จริง
    วัตถุแม้ทั้ง ๖ ไม่มีแก่พรหมผู้ไม่มีรูปทั้งหลาย ไม่มีวัตถุ ๓ มีฆานะเป็นต้น.

    แม้วิญญาณอันแน่นอน (ในที่ทั้งปวง)
    ก็ไม่มีแก่พรหมผู้เว้นจากวัตถุนั้นๆ.

    ส่วนอสัญญีสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีวัตถุ และวิญญาณแม้ทั้งสิ้น;
    แท้จริง รูปคือชีวิตนวกะนั้นเทียวเป็นปฏิสนธิ,
    เป็นภวังค์ในปวัตติกาล,
    และเป็นจุติในมรณกาล,
    เป็นไปแก่อสัญญีสัตว์เหล่านั้น.


    ก็ในวัตถุสังคหะนี้ จิตเป็นฉันใด,
    ความต่างแห่งสังคหะโดยวัตถุแม้แห่งเจตสิกที่สัมปยุตด้วยจิตนั้น
    ก็พึงทราบเหมือนฉะนั้น.

    ส่วนความต่างกันมีดังนี้
    บรรดาเจตสิกธรรมเหล่านั้น
    โทสะ อิสสา มัจฉริยะ และกุกกุจจะ
    อาศัยหทัยวัตถุบังเกิดขึ้นได้ในกามโลกเท่านั้น.
    กรุณาและมุทิตา บังเกิดขึ้นได้แม้ในรูปโลก;
    แต่ไม่บังเกิดในอรูป,
    เพราะ
    แม้รูปาวจรฌานอันเป็นบุพพภาค ก็ไม่บังเกิดในอรูปโลกนั้น.
    ส่วนธรรมที่เหลือทั้งสิ้นอาศัยวัตถุบ้าง ไม่อาศัยบ้าง
    บังเกิดขึ้นในภพ ๓
    แม้บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรม ๗ มีผัสสะเป็นต้น
    อาศัยวัตถุแม้ทั้ง ๖ บังเกิดขึ้น;
    ส่วนธรรมนอกนี้ อาศัยหทัยเท่านั้น ฉะนี้แล.
    คำอธิบายอันเหลือเหมือนกันกับจิต


    ๔. กิจจทวารสังคหะ


    [๖๑ ] ส่วนในกิจจสังคหะ และทวารสังคหะ
    พึงทราบลำดับของความเป็นไปโดยกิจ ๑๔
    (กิจ ๑๔ ปฏิสนธิ,ภวังค์,อาวัชชนะ, ทัสสนะ, สวนะ, ฆายนะ, สายนะ, ผุสนะ,สัมปฏิจฉนะ, สันตีรณะ,
    โวฏฐวนะ, ชวนะ ตฑาลัมพนะ และจุติ.)
    โดยความเป็นธรรมเป็นไปในทวาร ๖

    และพ้นจากทวารแห่งเจตสิกธรรมเหล่านั้น ราวกะจิต ดังนี้:-

    ๔.๑ ปฏิสนธิ -ภวังค-จุติกิจ


    ก็ในกาลใด สัตว์ทั้งหลายจะเกิดในภพ ๓
    ด้วยกำลังกุศลหรืออกุศล,
    ในกาลนั้นจิต ๑๙ ดวง คือ
    มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก
    อเหตุกะที่สหรคตด้วยอุเบกขา ๒ ดวง*
    [อกุศลวิบากดวง ๑ และกุศลวิบากอเหตุกะดวง ๑ เรียกชื่ออย่างเดียวกันว่า สันตีรณะอันสหรคตด้วยอุเบกขา]
    มหาวิบาก ๘ ดวง และรูปา-อรูปาวจรวิบาก ๙ ดวง,

    ถือเอากรรม กรรมนิมิต หรือคตินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ที่ปรากฏ
    ในทวาร ๖
    ทวารใดทวารหนึ่ง
    โดยมากในกาลเป็นที่ตายของสัตว์เหล่านั้น
    เป็นปฏิสนธิบังเกิดขึ้นในภูมิตามที่เป็นของตน
    ตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง;
    จิตเหล่านั้นแหละเป็นจิตที่ชื่อว่าพ้นจากทวาร
    เกิดโดยเป็นภวังคและจุติ.


    ๔.๑.๑ ว่าด้วยจุติ


    ดังจะกล่าวโดยพิสดาร:
    ในเวลาจะตาย
    กรรมที่ล่วงแล้วอันแต่ปฏิสนธิในภพอื่นหรือ
    อารมณ์ที่สมมติว่า กรรมนิมิต
    อันต่างโดยประเภท
    มีอารมณ์ที่ล่วงแล้วเป็นต้น
    และ
    อันพ้นจากกาล
    แม้ทั้ง ๖ อย่าง มีรูปเป็นต้น,
    หรือ
    คตินิมิตมีต้นกัลปพฤกษ์
    ท้องมารดา และไฟนรกเป็นต้น

    อันสมควรแก่ภพที่จะบังเกิด
    แฝงในจิตสันดานปรากฏ
    แก่สัตว์ทั้งหลาย
    เว้นอสัญญีสัตว์ ในทวาร ๖
    ทวารใดทวารหนึ่ง
    ตามควร ด้วยกำลังของกรรม
    ราวกะว่า
    เงาภูเขา
    ปรากฏที่แผ่นดินในเวลาเย็นฉะนั้น.
    และ
    จุติจิตเกิดแก่สัตว์นั้นๆ
    ผู้มีจิตตสันดานอันเป็นไปอยู่
    หาระหว่างคั่นมิได้
    ด้วยกำลังแห่งกรรม
    ผู้มีมรณะกระชั้นชิดโดยสิ้นอายุ
    หรือ
    สิ้นกรรม
    หรือ
    สิ้นทั้งสอง
    หรือ
    โดยอุปัจเฉทกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ในลำดับวิถีจิตและภวังค์ใน
    เพราะอารมณ์นั้น
    ที่ปรากฏแล้วอย่างนั้น.




    ๔.๑.๒ ว่าด้วยปฏิสนธิ



    ในลำดับแห่งจุติจิตนั้น


    ปฏิสนธิจิตอย่างใดอย่างหนึ่ง


    ปรารภอารมณ์มีกรรม


    และกรรมนิมิตเป็นต้น


    ตามที่ตนถือเอาแล้ว


    เป็นจิตดวงแรกเกิดในภพอื่น


    ในภพ ๓ ตามควร.


    ก็บรรดาจิต (๑๙ ดวงนั้น)



    กามาวจรปฏิสนธิเท่านั้น


    เกิดได้ในลำดับ


    ของ


    ทุเหตุกะ-อเหตุกจุติ;



    ปฏิสนธินอกนี้เกิดไม่ได้.


    ปฏิสนธิแม้ทั้งสิ้น


    เกิดได้ในลำดับของจุติ


    ที่เป็นกามาวจรติเหตุกะ.


    ส่วนปฏิสนธิที่เหลือ


    เว้น อเหตุกปฏิสนธิ


    เกิดได้ในลำดับของรูปาวจรจุติ.


    อรูปาวจรปฏิสนธิเว้นอรูปปะเบื้องล่าง และ


    กามาวจรจุติเหตุกะปฏิสนธิ


    เกิดในลำดับของจุติที่


    เป็นอรูปาวจร. แต่


    กามาวจรปฏิสนธิเว้นอเหตุกะเท่านั้น



    ปรารภอารมณ์มีกรรมเป็นต้น


    ที่เคยถือเอาเกิดได้ในภพอื่นเบื้องหน้า


    แต่รูปจุติของอสัญญีสัตว์ทั้งหลาย; ปฏิสนธินอกนี้เกิดไม่ได้.


    ก็ปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสทั้งหลาย



    ไม่เกิดแก่ปุถุชน


    แก่พระโสดาบัน และแก่พระสกทาคามี.



    ปฏิสนธิขอสัญญีสัตว์ที่เป็นทวิเหตุกะ


    ก็เหมือนกัน คือ


    ไม่เกิดแก่พระเสขะทั้งหลาย.


    อนึ่ง ปฏิสนธิแม้ทั้งสิ้น


    ไม่เกิดแก่พระอเสขะทั้งหลาย


    เพราะ


    พระอเสขะทั้งหลายนั้น


    เป็นผู้ถึงอนุปาทาปรินิพพาน


    โดยนิรุปธิเสสนิพพาน


    เบื้องหน้าแต่จุติจิต.








    ๔.๑.๓ ว่าด้วยภวังค์


    เบื้องหน้าแต่ความดับแห่งปฏิสนธิ
    ที่ถือเอาแล้วอย่างนั้น จิตนั้นนั่นเทียว
    เป็นภวังค์ มีจุติเป็นปริโยสาน,
    เมื่อความบังเกิดขึ้นแห่งวิถีจิตยังไม่มี ย่อมไม่เห็นแม้สุบิน
    เป็นจิตที่แม้จะนับก็หาประมาณมิได้
    เป็นไปหาระหว่างมิได้
    ดุจกระแสของแม่น้ำ
    ในเวลาที่ก้าวลงสู่ความหลับเป็นต้น
    ในเพราะอารมณ์นั้นนั่นแล.


    ลำดับของความเป็นไป
    แห่งวิญญาน ๑๙ โดยเป็นปฏิสนธิ ภวังค์,และจุติ พึงทราบด้วยประการฉะนี้












    ๔.๒ กิจที่เหลือมีอาวัชชนะเป็นต้น

    [๖๒] ก็ครั้นเมื่อความสืบต่อแห่งภวังค์เป็นไปอยู่อย่างนี้,
    ในกาลใด รูปารมณ์ที่ยาวยิ่ง (อติมหันตะ)
    ประกอบด้วยปัจจัยอื่นที่เป็นสภาค
    อาศัยความแก่รอบแห่งอินทรีย์กระทบที่จักขุทวาร,
    ในกาลนั้น
    เกิดภวังคจลนะ (ความไหวแห่งภวังค์)
    ในเพราะอารมณ์นั้น ๒ ครั้ง
    ด้วยอานุภาพแห่งการกระทบ
    ลำดับนั้น
    กิริยามโนธาตุ
    ตัดกระแสภวังค์ ยัง อาวัชชนกิจ (การพิจารณาอารมณ์ใหม่)
    ให้สำเร็จอยู่เกิดขึ้นในเพราะรูปารมณ์นั้นแล้วดับไป.
    ลำดับนั้น
    จักษุวิญญาณ ๒ (กุศลวิบากและอกุศลวิบาก)
    เฉพาะอย่างเดียวตามควร ยัง ทัสสนกิจ (การเห็นรูป)
    ให้สำเร็จอยู่เกิดขึ้นแล้วดับไป.
    ลำดับนั้น
    วิปากมโนธาตุ(สัมปฏิจฉนะ) ๒ (กุศลและอกุศล)
    อย่างใดอย่างหนึ่ง ยังสัมปฏิจฉนกิจ (การรับอารมณ์)
    ให้สำเร็จอยู่เกิดขึ้นแล้วดับไป.
    ลำดับนั้น
    วิปากมโนวิญญาณธาตุ (สันตีรณะ) ๓ (กุศล ๒ อกุศล, ๑)
    อย่างใด อย่างหนึ่ง ยัง สันตีรณกิจ (การพิจารณาอารมณ์)
    ให้สำเร็จอยู่เกิดขึ้นแล้วดับไป.
    ลำดับนั้น
    กิริยาอเหตุก มโนวิญญาณธาตุสหรคตด้วยอุเบกขา
    (โวฏฐปนะ) ยัง โวฏฐปนกิจ (การตัดสินอารมณ์)
    ให้สำเร็จอยู่เกิดขึ้นแล้วดับไป.
    ลำดับนั้น
    กามาวจรชวนะ ๒๙ ดวง
    (กามาวจรชวนะ ๒๙ คือ อกุศล ๑๒, มหากุศล ๘ ,มหากิริยา ๘, และหสิตุปปาทะ ๑)

    ดวงใดดวงหนึ่ง ตามควร ยังชวนกิจ ให้สำเร็จอยู่เกิดขึ้นแล้วดับไป ๗ ครั้ง, ๖ ครั้ง หรือ
    เพียง ๕ ครั้งในสมัยพิเศษมีเวลาจะตาย เป็นต้น.
    ลำดับนั้น
    บรรดามหาวิบากและสันตีรณะอันมี
    ตฑาลัมพนะเป็นกิจ ๑๑ ดวง
    (มหาวิบาก ๘ สันตีรณะ ๓ รวมเป็น ๑๑ ดวง)

    ดวงเดียวตามควร ยัง ตฑาลัมพนกิจ ให้สำเร็จอยู่
    เกิดขึ้นแล้วดับไปครั้งหนึ่งหรือ ๒ ครั้ง.
    ลำดับนั้น
    ความสืบต่อแห่งภวังค์นั่นแลเป็นไปอยู่.
    จิต ๔๖ ดวง
    [จิต ๔๖ ดวง. กิริยามโนธาตุ (ปัญจทวาราวัชชนะ) ๑, จักขุวิญญาณ ๒ (กุศล-อกุศลวิบาก, วิปากมโนธาตุ (สัมปฏิจฉนะ) ๒, วิปากมโนวิญญาณธาตุ (สันตีรณะ)๓ (กุศลวิบาก ๒ อกุศลวิบาก ๑), กิริยา - อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ (โวฏฐปนะ) สหรคตด้วยอุเบกขา ๑ , กามาวจรชวนะ ๒๙, และมหาวิบาก ๘.]

    อันมีกิจ ๗ อย่าง
    [กิจ ๗ มีอาวัชชนกิจเป็นต้นดังกล่าวมาโดยลำดับ]
    เกิดในจักขุทวารด้วยประการฉะนี้.
    อนึ่ง
    แม้ในเวลาที่สัมมารมณ์เป็นต้น
    กระทบที่โสตทวารเป็นต้น
    ตามนัยที่กล่าวแล้ว
    จิต ๔๖ ดวงก็เกิดในแต่ละทวารดุจในจักขุทวาร
    เพียงแต่ในโสตทวารเป็นต้นนี้
    โสตวิญญาณเป็นต้นทั้งสองฝ่าย (กุศลวิบากและอกุศลวิบาก)
    ยังสวนกิจเป็นต้นให้สำเร็จอยู่ บังเกิดขึ้นตามลำดับ
    ในลำดับแห่งอาวัชชนะเท่านั้น.
    กามาวจรจิตทั้ง ๕๔ ดวงนั่นแล เกิดในเพราะอารมณ์ ๕ ที่ยาวยิ่ง
    (อติมหันตารมณ์) ในปัญจทวารด้วยประการฉะนี้.


    ก็ในอธิการนี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
    "สสังขาริกชวนะทั้งหลายไม่บังเกิดในปัญจทวาร
    เพราะ
    ความไม่เกิดแห่งบุรพประโยค;

    สสังขาริกชวนะเหล่านั้น บังเกิดได้แต่ในมโนทวารเท่านั้น".

    อนึ่ง
    ในเพราะอารมณ์ที่ยาว (มหันตารมณ์)
    จิตทั้งหลายเว้นตทาลัพนเกิดได้,
    ภวังค์เกิดในที่สุดแห่งชวนะ
    เพราะวิสัย (อารมณ์) ล่วงไปแล้ว ร่วมเวลากับชวนะทีเดียว.
    ส่วนในเพราะอารมณ์ที่สั้น (ปริตตารมณ์) แม้ชวนะก็ไม่มี
    เพราะในวาระนี้ โวฏฐปนะตั้งอยู่ในฐานะแห่งชวนะเป็นไป ๒ ครั้งแล้วดับไป; เบื้องหน้าแต่นั้นเป็นภวังค์.
    ก็วาระนี้ได้ในเวลาเป็นที่กล่าวว่า
    "คลับคล้ายข้าพเจ้าเห็น, คลับคล้ายข้าพเจ้าได้ยิน" ดังนี้เป็นต้น.

    อนึ่ง
    ในเพราะอารมณ์ที่สั้นยิ่ง (อติปริตตารมณ์)
    มีเพียงภวังคจลนะเท่านั้น;
    อาวัชชนะเป็นต้นไม่มี
    เพราะ ไม่ดำรงอยู่ได้แม้แค่ความบังเกิดแห่งโวฏฐปนะ.
    แท้จริง
    ครั้นเมื่อภวังค์อันอาวัชชนะผันมาแล้ว จิตยังไม่ถึงโวฏฐปนะ
    จักหยั่งลงสู่ภวังค์เสียในลำดับแห่งจักขุวิญญาณในระหว่าง;
    ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
    วิถีจิตอันเป็นไปในทวาร ๕ แม้จะเป็นไปในเมื่อวิสัย (อารมณ์)
    ไม่เป็นไปอยู่ ก็ไม่ได้ ฉะนี้แล.
    นี้เป็นความนิยมแห่งความเป็นไปของจิต
    โดยความต่างแห่งความเป็นไปของวิสัยในทวาร ๕.
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2011
  3. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    [๖๓] ส่วนในมโนทวาร,
    ครั้นเมื่ออารมณ์ ๖ มาสู่คลองแล้ว,
    ณ ลำดับของการไหวแห่งภวังค์ตามนัยที่กล่าวแล้ว
    และของมโนทวาราวัชชนะ
    บรรดาจิตที่ทำหน้าที่ชวนะ ๕๕ ดวง
    คือ
    อกุศลจิต (๒๑ ดวง)
    อกุศลจิต (๑๒ ดวง)
    ผลจิต (โลกุตตรผล ๔ ดวง)
    กิริยาจิต (๑๘ ดวง-เว้นอาวัชชนะทั้ง ๒)
    กามาวจรชวนะ ดวงใดดวงหนึ่ง ปรารภอารมณ์ตามควรเป็นไป.
    จำเดิมแต่นั้น ตฑาลัมพนะเกิดในเพราะอารมณ์อันเป็นกามาวจร;
    แต่
    ไม่เกิดในเพราะอารมณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง (อวิภูตารมณ์).
    ต่อไปนี้เป็นลำดับของความเป็นไปในอัปปนาชวนะนอกนี้:

    ก็เมื่อพระโยคาวจรผู้ทำกรรมฐานทางสมถะ
    หรือ
    ทางวิปัสสนา
    เป็นผู้มีภาวนาที่เป็นบุรพภาคอันให้บังเกิดขึ้นแล้ว
    ในเพราะอารมณ์ตาทางของตน,
    ณ ที่สุดแห่งภวังคจลนะ
    และ
    อาวัชชนะอันเป็นนิมิตว่า "อัปปนาจักบังเกิด ณ บัดนี้."

    ครั้นเมื่อชวนะดวงใดดวงหนึ่งในบรรดาญาณสัมปยุตตกามาวจรชวนะ
    เกิดขึ้นแล้วดับไป ๔ ครั้งหรือ ๓ ครั้งเท่านั้น
    โดยชื่อว่า
    บริกรรม อุปจาร อนุโลมและโคตรภูตามควร,
    ชวนะดวงใดดวงหนึ่งในบรรดามหัคคตชวนะ
    เป็นอภิญญาที่สำเร็จครั้งแรก แล่นไปครั้งเดียวเท่านั้น
    นับเป็นที่ ๔ หรือที่ ๕,
    เป็นฌานหรือสมาบัติแล่นไปได้ แม้ตลอดอนันตวาระ.

    ส่วนในนิโรธสมาบัติ,
    เมื่อพระอริยเจ้าเข้าฌานด้วยสามารถแห่งจิต
    มีอาวัชชนะและบริกรรมเป็นต้นนั่นแลตามลำดับ
    ตั้งแต่ปฐมฌานจนถึงอากิญจัญญายตนะ (อรูปฌานที่ ๓)
    ด้วยสามารถอนุปุพพนิโรธออกแล้ว (จากอากิญญจัญญายตนะ),
    ครั้นเมื่อชวนะ
    คือ
    อรูปที่ ๔ แล่นไปในลำดับถัดจากโคตรภูแล้วดับไป ๒ ครั้ง,
    จิตยังไม่บังเกิดตลอดเวลาที่กำหนดไว้.
    ในเวลาเป็นที่ออก อนาคามิผล หรืออรหัตตผล
    เกิดขึ้นวาระเดียวเท่านั้นตามควร โดยจิตตนิยมของอาวัชชนะและบริกรรม

    อนึ่ง
    บรรดาอัปปนาชวนะเหล่านั้น กุศล
    [หมายถึงกุศลอัปปนาชวนจิต ๒๙ ดวง คือ ๑. มหัคคตกุศลจิต ๙ดวง (รูปฌาน ๕ อรูปฌาน๔), ๒.โลกุตตรกุศลจิต ๒๐ ดวง (ใรรค ๔ คูณด้วยรูปฌาน ๕)]

    และผล ๓
    [หมายถึงโสดาปัตติผล, สกทาคามิผล และอนาคามิผล.]

    ข้างต้นเท่านั้น ย่อมแนบแน่น (เกิด) ในลำดับถัดจากโคตรภูที่เป็นกุศล:
    [หมายถึงญาณสัมปยุตตกามาวจรชวนกุศลจิตที่ชื่อว่า โคตรภู]

    กิริยา [หมายถึงมหัคคกิริยาจิต ๙ ดวง (รูปฌาน ๕ อรูปฌาน ๔)]

    และอรหัตผล ย่อมแนบแน่นในลำดับถัดจากกิริยาโคตรภู
    [หมายถึง ญาณสัมปยุตตกามาขวนกิริยาจิตที่มีชื่อว่า โคตรภู]

    แม้บรรดาอัปปนาชวนะเหล่านั้น อัปปนาชวนะที่สหรคตด้วยโสมนัสเท่านั้น ย่อมแนบแน่นในลำดับถัดจากโคตรภูที่สหรคตด้วยโสมนัส,
    อัปปนาชวนะที่สหรคตด้วยอุเบกขา
    ย่อมแน่นในลำดับถัดจากโคตรภูที่สหรคตด้วยอุเบกขา.
    อนึ่ง
    บรรดาชวนะเหล่านี้ อรหัตตผล กิริยาชวนะเกิดแก่พระอเสขะเท่านั้น;
    โลกุตตระที่เหลือเกิดแก่พระเสขะเท่านั้น ตามคุณของตน,
    กุศลและอกุศลเกิดแก่พระเสขะและปุถุชนเท่านั้น.
    อัปปนาเกิดแก่บุคคลที่เป็นติเหตุกะเท่านั้น นี้เป็นชวนนิยม.

    [๖๔] ส่วนตฑาลัมพนะไม่มีในเบื้องหน้าแต่อัปปนาชวนะ.
    ดังจะกล่าวโดยพิสดาร:
    บรรดาชวนะและอาลัมพนะเฉพาะที่เป็นกามาวจร
    ตฑาลัมพนะเกิดแก่บุคคลผู้มีปฏิสนธิเป็นกามาวจรเท่านั้น
    ในเพราะอติมหันตารมณ์และวิภูตารมณ์.
    อนึ่ง
    สันตีรณะ,
    กริยาชวนะและตฑาลัมพนะเป็นจิตสหรคตด้วยโสมนัส
    เกิดในเพราะอารมณ์ที่น่าปรารถนายิ่ง;
    เป็นจิตสหรคตด้วยอุเบกขาเกิดได้ในเพราะอารมณ์ที่น่าปรารถนาอย่างกลางๆ และ ที่ไม่น่าปรารถนา.

    ก็ในกาลใด เมื่อปฏิฆะแล่นไปแล้ว
    ตทาลัมพนะและภวังค์ไม่บังเกิดขึ้นแก่บุคคล
    ผู้มีปฏิสนธิสหรคตด้วยโสมนัส
    ในเพราะอารมณ์ที่น่าปรารถนายิ่งเป็นต้น
    เพราะท่านห้ามโสมนัสในลำดับแห่งโทมนัสไว้ในปัฏฐานง
    ในกาลนั้น
    สันตีรณะอันสหรคตด้วยอุเบกขาปรารภปริตตารมณ์ที่เคยชินอื่น
    แม้เป็นจิตไม่มีอาวัชชนะก็บังเกิดขึ้นได้ในระหว่าง
    ราวกะสามัญญผลบังเกิดแก่พระอริยเจ้าผู้ออกจากนิโรธฉะนั้น;
    ภวังค์เกิดต่อสันตีรณะนั้นได้ฉะนี้แล. นี้เป็นตฑาลัมพนะนิยม.


    ก็วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น เป็นไปในทวาร ๖
    ในลำดับแห่งภวังค์อย่างนี้.
    จิตทั้งหลายเป็นไปไม่ขาดสายโดยนิยามของจิต
    โดยลำดับนี้แล ตลอดอายุด้วยประการแะนนี้.

    ส่วนจิตดวงสุดท้ายของจิตทั้งหมด
    เกิดในลำดับแห่งวิถีจิตบ้างในลำดับแห่งภวังค์บ้าง;
    นั้นคือ
    ภวังค์ ๑๙
    [ ภวังค์ ๑๙อย่างคือ อุเปกขาสันตีรณะ ๒ ดวง, มหาวิบากจิต ๘ ดวง, มหัคคตวิปากจิต ๙ ดวง ]
    อย่างนั่นเอง
    ยังจุติกิจให้สำเร็จอยู่เป็นไปในเพราะอารมณ์นั้นนั่นแล.

    ครั้นเมื่อจิตดวงนั้นดับแล้ว
    สัตว์เป็นผู้ชื่อว่าเคลื่อนแล้ว (จุโต).
    แม้เบื้องหน้าแต่จุตินั้นก็เกิดปฏิสนธิ ภวังค์วิถี และจุติอีกเล่า;
    ความสืบต่อแห่งจิตเป็นไปไม่ขาดสายในภพเป็นต้น แล้วๆ เล่าๆ อย่างนี้
    ด้วยประการฉะนี้
    ราวกะโคที่เทียมไว้ในยนต์ฉะนั้น
    ตราบเท่าที่จิตยังไม่พ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น.
    ก็ในความสืบต่อแห่งจิตอันเป็นไปอยู่อย่างนี้
    ไม่มีสภาวะชื่อว่าผู้ทำ ที่เป็นผู้กำหนดโดยนัยเป็นต้นว่า
    "เจ้าจงเกิดเป็นจิตชื่อว่า ภวังค์,
    เจ้าจงเกิดเป็นจิตชื่อว่าอาวัชชนะ ต่อภวังค์นั้น ฯลฯ
    เจ้าจงเกิดเป็นจิตที่ชื่อว่าตฑารัมมณะ ต่อชวนะนั้น,
    ส่วนเจ้าจงเป็นภวังค์."
    ความสืบต่อแห่งจิตนี้เป็นไปโดยจิตตนิยามเท่านั้น.

    [๖๕ ] แท้จริง นิยามมี ๕ อย่างคือ
    พีชนิยาม,
    อุตุนิยาม,
    กรรมนิยาม,
    ธรรมนิยาม,
    จิตตนิยาม.
    บรรดานิยาม ๕ นั้น
    การให้ผลเช่นกับคนในสันตติวงศ์ มี ต้นไม้ หญ้า กอไม้และเครือเขาเป็นต้น
    อันไม่เหมือนกันและกัน แห่งพืชนั้นๆ
    โดยลำดับมีหน่อใบ ก้าน ดอกและผลเป็นต้น ชื่อว่า
    พีชนิยาม.


    การที่ต้นไม้... เหล่านั้นๆ ผลิดอกออกผลแตกใบอ่อน
    สพรึบพร้อมกันในสมัยนั้นๆ ชื่อว่า อุตุนิยาม.


    การให้วิบากอันเป็นรูปหรืออรูปเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันกับกรรมนั้นๆ
    และการให้วิบากอันคล้ายกรรม ของกรรมอันเป็นกุศล
    หรืออกุศลนั้นๆ ชื่อว่า กรรมนิยาม.


    บุพพนิมิต ๓๒ ในการถือปฏิสนธิของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย,
    ในการเสด็จออกจากพระครรภ์พระมารดา,
    ในการตรัสรู้ยิ่งและการยังพระธรรมจักรให้เป็นไปเป็นต้น ชื่อว่า ธรรมนิยาม.


    ความเป็นไปแห่งจิตโดยลำดับแห่งกิจมีภวังค์และอาวัชชนะเป็นต้น
    โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่า จิตตนิยาม


    ก็ความสืบต่อแห่งจิตนั้น เป็นไปโดยจิตตนิยาม ด้วยจิตตนิยามนี้

    อนึ่ง
    บรรดาจิตซึ่งมีกิจตามลำดับเหล่านี้
    ปัญจวิญญาณ ๒ ฝ่าย,
    มโนธาตุ,
    และ
    ชวนะมีกิจฐานะอันเดียวตามความเกิด;
    ส่วนจิตที่เหลือมีกิจฐาน ๒ บ้าง
    ๓ บ้าง
    ๔ บ้าง
    ๕ บ้าง.
    ก็จิตเหล่านั้นได้กล่าวแล้วในกาลก่อน
    และพึงเข้าใจง่าย,
    จิตมีทวารเดียวเป็นต้นก็อย่างนี้.

    [๖๖] ก็จิต สงเคราะห์โดยกิจและทวารฉันใด,
    แม้เจตสิกที่สัมปยุตด้วยจิตนั้น
    ก็พึงทราบว่าสงเคราะห์โดยกิจและทวารฉันนั้น;
    แต่มีความแปลกกันดังนี้:
    แม้โดยกิจ เจตสิกอย่างกล่าวโดยรวมยอดทั้งหมดก่อน
    ก็ทำกิจ ๑๔ ราวกะจิตของสัตว์;
    แต่เจตสิก ๓คือ วิตก วิจารและอธิโมกข์ทำกิจ ๙
    เว้นกิจ ๕ มีทัสสนะเป็นต้น;

    วิริยะทำกิจ ๗ เว้นสัมปฏิจฉนกิจและสันตีรณกิจ;

    ปีติ ทำกิจ ๖ กับทั้งสันตีรณะ เว้นโวฏฐปนและอาวัชชนะด้วย;

    ส่วนกุศลาพยากฤตเจตสิก ๒๐ เว้นวิรัติ,และอัปมัญญา, และฉันทะ
    ทำกิจ ๕ เว้นสันตีรณะด้วย;

    อัปปมัญญาทำกิจ ๔ เว้นตฑารัมมณะด้วย;
    ส่วนวิรัติที่เป็นกุศลทำชวนกิจเท่านั้น.
    ส่วนโดยทวาร วิรัติเป็นไปในมโนทวารเท่านั้น.
    กรุณาและมุทิตาก็เหมือนกัน;
    แต่ ก็เป็นธรรมพ้นจากทวารด้วย.

    แท้จริง

    การเว้นจากทุจริตและการถือเอาบัญญัติว่าสัตว์
    เกิดในมโนทวารเท่านั้น.
    ส่วนอกุศลเจตสิกเป็นไปในทวาร ๖.
    อนึ่ง
    อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
    บรรดาอกุศลเจตสิกเหล่านัน
    มานะ อิสสา มัจฉริยะและกุกกุจจะ
    เป็นไปในมโนทวารเท่านั้น

    เจตสิกที่เหลือเป็นไปในทวาร ๖
    และ
    เป็นธรรมพ้นจากทวาร.
    คำอธิบายที่เหลือก็เช่นเดียวกันกับจิตนั่นแล.
    การสงเคราะห์จิตและเจตสิกเหล่านั้นโดยอารมณ์
    จักอธิบายในปริตตารัมมณติกะ.

    นี้เป็นปกิรณกกถา.
    จิตตุปาทกัณฑ์ จบ.


    จากท่านสมาชิก anand ผู้เอื้อเฟื้อพิมพ์
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2011
  4. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    หมดหรือยังครับ?

    เข้ามาอ่านเพื่อทำความเข้าใจเรื่องจิต เจตสิก(ตาลายเลย) แบบว่าจิตเกิดดับแบบนี้ แล้วก็เป็นดวงๆ แบบนี้ ผมเข้าใจนะ แต่มีตรงไหนไหมครับที่บอกว่าจิตคือขันธ์ ๕ บ้างครับ

    ผมอ่านไม่เจอหรือว่าผมอ่านข้ามไปหรือเปล่า?
     
  5. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    อนุโมทนากับ จขกท ครับ

    [​IMG]


    <DD><CENTER>ขันธ์ ๕</CENTER><DD>ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ [วิภังคปกรณ์ ขันธวิภังค์ ข้อ ๑] <DD>ปรมัตถธรรม ๔ โดยขันธ์ คือ

    <DD>จิต เป็นวิญญาณขันธ์ <DD>เจตสิก เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ <DD>รูป เป็นรูปขันธ์ <DD>นิพพาน ไม่ใช่ขันธ์ นิพพานเป็นขันธวิมุตติ คือ พ้นจากขันธ์

    </DD>​
    <DD>
    </DD>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2011
  6. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    โมทนาที่เข้ามาอ่านครับ ตาลายเลยเน๊าะ :cool:

    เดี๋ยว นำมาเรื่อยๆครับ ให้อ่านซ้ำๆ เล่นๆ แต่เรื่อยๆ บ่อยๆ ไม่เครียด

    ขอบคุณแปะ ที่นำภาพมาประกอบครับ
    .........................................................................

    สำหรับว่า ผู้ใดจะเข้าใจว่า จิตเป็นขันธ์ ๕ หรือไม่นั้น
    ก็อยู่ที่ แต่ละคนจะทำความเข้าใจจนเห็นได้เอง
    เข้าใจด้วยตัวเองมากน้อยแค่ไหน

    โดยส่วนตัว

    ผมเข้าใจ ว่า ขันธ์ ๕ มันก็มีอยู่ ที่จิต

    เมื่อก่อน มีความคิดว่า ร่างกาย นี้เป็นรูป
    นามขันธ์ ๔ อยู่ที่จิต
    แต่พอ ปฏิบัติไป

    เห็นตัวเองแยกเป็น 2 ร่าง

    อีกร่างนึง มองดูอีกร่างที่ไม่รับรู้อะไร
    แต่ความรู้สึก กับมาอยู่อีกร่างที่เป็นผู้มองร่างที่ไม่รู้สึกอะไร

    มองเห็นทางตา สัมผัสความเย็นได้ มีชุดเหมือนกับร่างอีกร่างเหมือนกัน

    จึงได้ทำความเข้าใจว่า ที่เรียกว่า ขันธ์ ๕ จริงๆมันอยู่ที่จิต


    ทีนี้ มันก็ขึ้นอยู่ที่ การดำริออก
    ว่า
    จะเป็นไปในทางไหน
    วางความเข้าใจไปในทางไหน
    วางแนวทางปฏิบัติไปในทางไหน

    หากจะบอกว่า ใบไม้ มันก็มีกิ่งก้านมารับไปยังลำต้น
    หากไม่มีกิ่งก้านมารับใบไม้ ใบไม้มันก็ไม่มีที่ตั้งอยู่ได้
     
  7. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    พอจะขยายความได้ไหมครับ
     
  8. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711

    ภาษาชาวบ้านที่เข้าใจง่ายๆ

    บ้างก็เรียกว่า การถอดจิต

    บ้างก็เรียกว่า ถอดกายทิพย์ครับ
     
  9. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ตรงร่างที่เป็นผู้ดู ทราบได้อย่างไรครับ ว่าเหมือนกับร่างที่ไม่รู้สึกอะไร

    ที่ผมเองเคยคิดเอาว่า ถอดจิต จะแค่เห็น ร่างตัวเองนอน อยู่ แต่อาการรับรู้ ว่ามีกายลอยอยู่นั้น ไม่สามารถรับรู้ว่า เป็นอะไรยังไง
    เพียงแค่ รู้สึกลอยอยู่ นอกกายเนื้อ เท่านั้นครับ คือไม่สามารถมองกายที่ถอดออกมาได้
     
  10. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711

    อันนี้ผมดูตัวที่ออกมาด้วยครับ แบมือดูก็เห็น
    เราใส่ชุดยังไง ก็เป็นตามนั้นครับ
     
  11. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    เข้าใจละครับ ขอบคุณครับผม
     
  12. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    ตามที่ผมเห็น ว่ามีกายอีกกายเป็นแ้ก้วใสมีเครื่องทรงดั่งเทวดาซ้อนกายเนื้อ ภาษาบาลีเรียกว่า "อทิสสมานกาย"

    เห็นวิญญาณกว้างใหญ่ไพศาลหาที่สุึดไม่ได้

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ได้เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของเรา แต่เราคือจิตที่ยังโง่ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่านี่คือเรา เป็นส่วนหนึ่งของเรา ผมเข้าใจอย่างนี้ครับ

    แต่ก็นะ เราไม่สามารถเอาความเห็นของตัวเองมาเปลี่ยนให้คนอื่นเห็นอย่างเราได้ ก็ทำๆ กันไปนะครับ ไม่มีใครผิด แค่เห็นยังไม่ครบมากกว่านะผมว่า
     
  13. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    งืมๆ กายใสเป็นแก้วมีเครื่องทรงนี่ ผมไม่เคยเห็น

    รูปกายตัวเองที่ออกไป มันตัวโปร่งแสง เวลาเดินไปมามันเบาๆ
    เหมือนไม่ค่อยมีน้ำหนัก

    แต่รูปกายที่มีเครื่องทรงอื่นๆที่เห็น ก็มี รูปกายสีดำมีเครื่องประดับ
    รูปกายผิวดั่งทองมีเครื่องประดับ รูปกายสีเขียวมีเครื่องประดับ
    เห็นแต่แบบนี้ แต่เป็นรูปกายคนอื่น

    ............ส่วนคำว่า " เรา " อันนี้ ทำให้หลายคนติดขัด ชงัก ดีนักแล

    เป็น นะจังงัง ได้อุปเท่ห์ทีเดียว :cool:
     
  14. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    ยินดีในบุญที่เข้ามาอ่านพระไตรฯครับ
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เมื่อยกมาแล้ว ก็น่าจะอธิบายต่อไปว่า

    เจตสิกคืออะไร?

    เจตสิกอยู่ๆก็โผล่มาจากไหน?

    หน้าที่ๆแท้จริงของเจตสิกคืออะไร?

    ส่วนที่พูดเรื่องถอดจิตนั้น ถอดจิตออกมาจากรูป-นามขันธ์๕ใช่หรือไม่?

    หรือถอดจิตออกจากรูป-นามขันธ์๕ จนเหลือเพียงแค่รูปนามขันธ์๔เท่านั้น?

    ถ้าจิตเป็นวิญญาณขันธ์แล้วไซร์ เมื่อจิตถูกถอดแยกออกมาจากรูปนามขันธ์๕

    ก็ต้องเหลือเพียงแค่รูปนามขันธ์๔ใช่หรือไม่? ใช่เพราะอะไร ไม่ใช่เพราะอะไร?

    ตอบสั้นๆกระชับๆ ก็ดีนะ เพราะบางที่ยกมา ยาวมากอ่านไม่ไหวจริง สายตาไม่คอยอำนวยแล้ว

    เพื่อสังคมคุณภาพออนไลน์
     
  16. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,209
    ค่าพลัง:
    +3,129
    ถอดจิต มายืนมองตัวเองเสียบ้างก็ดีค่ะ เพราะมุมมองของเรามองแต่ผู้อื่น
    เปลี่ยนมุมมองมาดูตัวเอง ก็เก๋ไม่เบาค่ะ บางทีเราอาจจะหมั่นใส้ตัวเอง
    มากขึ้นอีก โข เลย
     
  17. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ใครสนใจเรื่องจิต
    เว็บนี้เขาสรุปมาให้สั้นกระชับขึ้น
    แนวคิดเรื่องจิต
    แนวคิดเรื่องเจตสิก(ส่วนประกอบของจิต)
    แนวคิดเรื่องรูป

    แต่ถ้าสนใจรายละเอียด เข้าที่ Home
    ไปที่ หัวข้อธรรม สังคหะบาลี
    หรือจะเข้าไปศึกษาอภิธรรมในเว็บ
    ค่อนข้างย่นย่อและทำให้ง่าย
    (เพียงแต่ว่าเรื่องจิตนี้ไม่ง่ายเท่านั้นเอง ใครสนใจก็ต้องช่วยตัวเองบ้างนะ)

    http://www.abhidhamonline.org/thesis/thesis2.files/thesis2.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2011
  18. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    สวัสดีครับพี่ภูติ
    จะเริ่มประเด็นไหนก่อนครับ

    เจตสิกคืออะไร? คือ สิ่งที่ประกอบกับจิต

    เจตสิกอยู่ๆก็โผล่มาจากไหน? โผล่มาจากเหตุปัจจัยครับ

    หน้าที่ๆแท้จริงของเจตสิกคืออะไร? หน้าที่ที่แท้ก็ทำตามเหตุปัจจัยครับ



    ส่วนที่พูดเรื่องถอดจิตนั้น ถอดจิตออกมาจากรูป-นามขันธ์๕ใช่หรือไม่?

    กรณีนี้พี่ภูติ ต้องดูว่า เข้าใจตรงกันไหม ที่ว่า รูป นามขันธ์ ๕
    พี่ภูติเข้าใจ ว่าเป็น ร่างกายที่ประชุมไปด้วย ก้อนเนื้อ น้ำเหลือง น้ำเลือด ลม ไฟนี้หรือเปล่า

    ทีนี้ หาก ยึดถือเอาตรงนี้ ว่าเป็นขันธ์ ๕ โดยอาศัยเข้าใจ ว่า
    มีรูป มีเวทนา มีสังขาร มีสัญญา มีวิญญาณ แล้ว รวมเรียกว่า ขันธ์ ๕
    ประชุมรวมอยู่ในกายนี้

    ทีนี้ ในประเด็น ที่ผมพูด กล่าวถึง กรณีที่ จิต ออกจากร่างกายนี้

    และมันก็มี รูปกายให้เห็นเหมือนกัน มีความคิด รับรู้ความรู้สึกเหมือนกัน มีความจำได้หมายรู้เหมือนกัน มีสังขารเหมือนกัน มีวิญญาณเหมือนกัน
    ผมจึงได้ อธิบายไปว่า ขันธ์ ๕ มันอยู่ที่จิต


    หรือถอดจิตออกจากรูป-นามขันธ์๕ จนเหลือเพียงแค่รูปนามขันธ์๔เท่านั้น?
    ข้อนี้ อยู่ที่การได้เจอด้วยตัวเอง หาก จะกล่าวด้วยว่า เหลือเพียงแค่
    ขันธ์ ๔ คือ มี เวทนา สังขาร สัญญา วิญญาณ
    จะกล่าวแบบนี้ ก็ไม่ผิด เพราะ
    อาศัยคำว่ารูปที่ประกอบด้วยธาตุหยาบมันไม่มี
    มีแต่รูปที่ประกอบด้วยธาตุละเอียด
    เป็นสังขาร ในส่วนจิตสังขารที่ปรุงแต่งเป็นรูปละเอียด


    ถ้าจิตเป็นวิญญาณขันธ์แล้วไซร์ เมื่อจิตถูกถอดแยกออกมาจากรูปนามขันธ์๕

    ก็ต้องเหลือเพียงแค่รูปนามขันธ์๔ใช่หรือไม่? ใช่เพราะอะไร ไม่ใช่เพราะอะไร?

    คำถามนี้
    เหมือนกับ ใบไม้จะไปเรียกว่าต้นไม้มันก็ไม่ถูก
    ไม่มีเหตุปัจจัยด้วยลำต้นกิ่งก้าน ใบไม้ก็ไม่มีที่ตั้ง


    วันไหน ว่างๆก็ลองอ่านดูมั่งครับ ถึงจะยาว
    คงไม่ทำให้ผู้ที่ได้สมาธินั้นขี้เกียจเป็นแน่
    ผู้ได้สมาธิจะทำให้ขยันขึ้น
     
  19. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    เวลาที่หลุดออกมาจากร่างแล้ว จะมีสภาพของวิญญาณ ซึ่งวิญญาณเป็นการปรุงแต่งของจิตสำนึก

    หรือจะเรียกความเคยชินที่มี ที่ติดอยู่กับร่างกาย เมื่อหลุดออกมาแล้วจะเห็นว่ามีร่างคล้ายกับร่างกายเนื้อ

    และสามารถเห็นร่างของวิญญาณได้ แต่คำถามว่า อะไรละที่เห็นร่างของวิญญาณ คุณยอดคะน้า ตอบด้วยครับ

    และร่างของวิญญาณสามารถเปลี่ยนไปได้อีกนับไม่ถ้วน แล้วแต่ความเคยชิน(จิตสำนึก)ที่มี

    จะปรุงแต่งให้เป็นไปในรูปแบบไหน จิตก็สามารถปรุงแต่งให้เป็นเช่นนั้นได้
     
  20. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711

    ก็ ร่างที่แยกออก มันทำหน้าที่เหมือนร่างที่นอนอยู่เกือบทุกอย่างครับ

    หากถามว่า เอาอะไรเห็น ก็ตามองนี่ละครับ
    แต่เป็น ตาที่อยู่กับร่างที่แยกออก
     

แชร์หน้านี้

Loading...