ทำไมธรรมะเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องสนใจมีคำตอบอยู่ในกระทู้

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ชานนคนไทย, 3 ธันวาคม 2008.

  1. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    อานิสงส์ปัญญาบารมี
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->อานิสงส์ปัญญาบารมี

    ในสมัยหนึ่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดา เสด็จประทับอยู่บนแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ชั้น
    ดาวดึงส์เทวสถาน ท้าวอมรินทราธิราช ได้ทูลถามถึงธรรมอันประเสริฐ ที่จะสามารถอำนวยมรรคผล
    ให้แก่ผู้ประพฤติปฏิบัติ ขจัดเสียซึ่งภัยอันตราย ที่เกิดขึ้นจากหมู่มนุษย์ และสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายให้
    พ่ายแพ้ไปด้วย อำนาจอานุภาพ ที่ได้ประพฤติปฏิบัติท่องบ่นสาธยายทรงจำไว้ ซึ่งธรรมจะมีอยู่หรือ
    พระพุทธเจ้าข้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรมหาราช ธรรมที่ยังผู้ปฏิบัติให้ประสบสุขเช่นนั้น
    มีอยู่ท้าวอมรินทราธิราชจึงทูลถามต่อไปว่าธรรมนี้ชื่ออะไร พระพุทธเจ้าข้าพระบรมครูจึงตรัสว่า

    พระธรรมนี้ชื่อว่าปัญญาบารมี

    ท้าวอมรินทราธิราช ทูลอาราธนาให้พระองค์ทรงแสดงพระสัทธรรมนี้
    พระบรมศาสดาทรงแสดงซึ่งปัญญาบารมี ที่พระองค์ได้เคยสร้างมาแล้วในอนันตะชาติว่าปัญญาบารมี
    30 ทัศนี้ เป็นยอดแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ทรงบำเพ็ญมาแล้วอย่างเต็มเปี่ยม จึงได้ตรัส
    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลใดได้เขียนไว้สักการบูชาก็ดี ได้สดับฟังทุกวันก็ดี ผู้นั้นจะเป็น
    ผู้มีสมบัติข้าวของมาก ผู้ใดได้ท่องบ่นทรงจำไว้สาธยายทุกวัน ผู้นั้นจะพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง
    ปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จดังความมุ่งหมาย เป็นที่รักแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งปวง เทวดาย่อมให้พรและ
    ตามรักษาบุคคลนั้น ผู้ใดได้ประพฤติบารมี 30 ทัศนี้ ให้บังเกิดมีแก่ตนย่อมประสบสมบัติ 3 ประการคือ
    มนุษย์สมบัติสวรรค์สมบัตินิพพานสมบัติแม้จะปรารถนาเป็นพุทธภูมิ ปัจเจกภูมิ สาวกภูมิอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ก็จะสำเร็จพระอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปัญญาบารมีจบลงแล้ว ท้าวอมรินทราธิราช
    แสดงตนเป็นอุบาสก น้อมเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีพ เหล่าเทวดาทั้งหลายได้บรรลุมรรคผล
    เป็นอันมาก


    ที่มาครับ : http://www.84000.org/anisong/02.html
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
    [​IMG] อย่ามองข้ามการทำดี แม้เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย
     
  2. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    สัจจบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับความอัศจรรย์แห่งพระบารมีของพระองค์
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG]

    สัจจบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    โดย พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์


    <HR width=500>​



    "สัจจบารมี" เป็นบารมีหนึ่งในทศบารมีซึ่งเป็นชาดกกล่าวถึงเรื่องของการเสวยพระชาติของพระพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อบำเพ็ญบารมีต่างๆ รวม ๑๐ ชาติ ก่อนที่จะเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วเสด็จออกบวชจนกระทั่งทรงบรรลุพระโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด คำว่า "สัจจะ" หมายถึง "จริงใจ คือ ความซื่อสัตย์", "จริงวาจา คือ พูดจริง" และ "จริงการ คือ ทำจริง" ส่วนคำว่า "บารมี" หรือ "ปารมี" มีความหมายอยู่ ๒ ประการ คือ "อย่างยิ่ง, เลิศประเสริฐที่สุด" และ "คุณธรรมที่ได้สั่งสมกันมาโดยลำดับ หรือ การสะสมคุณงามความดี ทำบุญกุศลกันโดยลำดับต่อเนื่อง

    " "สัจจบารมี" จึงหมายความว่า "บารมีที่เกิดขึ้นโดยวิธีการฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีความจริงใจ มีความซื่อสัตย์ พูดจริง กระทำจริง

    " นอกจาก "สัจจบารมี" แล้ว ยังมีอีกบารมีหนึ่งที่จำเป็นต้องบำเพ็ญควบคู่กันเสมือนพี่น้องฝาแฝด คือ "อธิษฐานบารมี"

    คำว่า "อธิษฐาน" หมายถึง "ความตั้งใจมั่น เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ ที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้บรรลุความมุ่งหมายของตน" คำนี้มักถูกนำมาใช้ควบคู่กับคำว่า "สัตย์" ซึ่งเรียกรวมกันว่า "สัตยาธิษฐาน หรือ ตั้งสัตย์อธิษฐาน"

    ในการตั้งสัตยาธิษฐานเพื่อให้บรรลุผลตามที่ได้ตั้งจิตปรารถนาไว้นั้น จะบังเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อในคำอธิษฐานนั้น ได้มีการกล่าวอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นความจริง และหรือ คุณธรรมที่ตนเชื่อมั่น และได้ถือปฏิบัติอย่างจริงจัง

    พระสูตร หรือ พระปริตร เป็นบทสวดมนต์ที่พระภิกษุสงฆ์นำมาสวด หรือ เจริญพระพุทธมนต์ในพิธีมงคลต่างๆเป็นการตั้งสัตยาธิษฐาน หรือ การกล่าวสัจจวาจาของผู้สวดเพื่ออวยพรแก่เจ้าภาพ และผู้ที่มาร่วมพิธี เช่น บทสวดที่ว่า
    นัตถิ เม สรณัง อัญญัง ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
    พุทโธ เม สรณัง วรัง พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ด้วยคำกล่าวสัตย์นี้ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ เป็นต้น


    อย่างไรก็ตาม ความศักดิ์สิทธิ์ของบทสวดมนต์จะปรากฏผลได้ ก็ต่อเมื่อผู้สวด ได้ถือปฏิบัติตามข้อความ หรือ สัจจวาจาที่ได้แสดงไว้ในบทสวดนั้นได้จริงๆ กล่าวคือ ผู้สวดจะ ต้องมีความเคารพ เชื่อมั่นในคุณพระรัตนตรัยจริงๆ มิใช่กล่าวออกไปเฉยๆ พอเป็นพิธีเท่านั้น

    การกล่าวสัจจวาจานั้น ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงคุณพระรัตนตรัยเสมอไป ผู้กล่าวจะอ้างอิงความจริงในเรื่องอื่นๆ ของตนก็ได้ เช่นอ้างเรื่องการบำเพ็ญบุญกิริยาของตน คือ การรักษาศีล การบริจาคทาน การภาวนา เป็นต้น เมื่อได้กล่าวอ้างอิงถึงความจริงแล้ว ก็ให้อธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาสิ่งที่พึงเป็นไปได้ไว้ในใจเช่น อธิษฐานขอความคุ้มครองให้ตนพ้นจากทุกข์โศกโรคภัย มีบทสวดมนต์บทหนึ่งในบทสวด ๗ และ ๑๒ ตำนาน คือ วัฏฏปริตร ซึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า อัตถิ โลเก สีเลคุโณ บทสวดนี้ เป็นที่รู้จัก และนับถือกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันว่า "คาถา(นกคุ่ม)ดับไฟ"

    บทสวดมนต์ หรือ คาถาดังกล่าวนี้มีตำนานว่า ครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จไปจำพรรษาที่ตำบลหนึ่งในแคว้นมคธ เช้าวันหนึ่ง ได้เสด็จออกบิณฑบาต ระหว่างทาง ได้เกิดไฟป่าลุกไหม้ และไฟได้ลามมาใกล้ที่ประทับของพระพุทธองค์ แต่ก็ได้ดับลงไปเองอย่างน่าอัศจรรย์ บรรดาพระภิกษุสงฆ์จึงได้ขอให้พระสาริบุตรทูลถาม พระพุทธองค์จึงได้ตรัสเล่าวัฏฏชาดกซึ่งเป็นเรื่องที่ได้เกิดมาแล้วในอดีตเมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้เสวยพระชาติเป็นลูกนกคุ่ม (บางทีเรียกว่า นกคุ่มไฟ) ว่า ครั้งหนึ่งได้เกิดไฟป่าไหม้มาโดยรอบรังนกที่อาศัยอยู่ในป่า และรังหนึ่งเป็นรังของนกคุ่มผัวเมีย มีลูกเล็กๆ อาศัยอยู่ด้วย เมื่อไฟป่าได้ลุกลามมาใกล้จะถึง บรรดานกทั้งหลายก็พากันบินหนี รวมทั้งนกคุ่มที่เป็นพ่อแม่ด้วย ปล่อยให้ลูกนกคุ่มที่ยังเดินไม่ได้ บินไม่ได้รอความตายอยู่ในรัง ลูกนกคุ่มนั้นจึงได้ตั้งสัจจกิริยา คือ การกล่าวสัจจวาจาโดยอ้างอิงถึงคุณของศีล รวมทั้งคุณธรรมอื่นที่มีอยู่ ที่ได้กระทำมาในอดีตชาติ คุณของพระพุทธเจ้า รวมทั้งความจริงที่เกี่ยวกับตัวเอง คือ มีปีกก็ยังบินไม่ได้ มีเท้าก็ยังเดินหนีไปไม่ได้ แล้วจึงอธิษฐานอยู่ในใจว่า ขอให้อำนาจแห่งความจริงต่างๆ ที่ตนได้กล่าวไว้จงดลบันดาลให้เกิดผลคือ ขอให้ไฟป่าที่กำลังลุกลามเข้ามาใกล้รอบตัวได้ดับลง

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชได้ทรงแปล มีข้อความตอนหนึ่งในบทสวดนี้ไว้ว่า "คุณแห่งศีลมีอยู่ในโลก ความสัตย์ความสะอาดและความเอ็นดูกรุณามีอยู่ในโลก ด้วยคำสัตย์นั้น ข้าพเจ้าจะทำสัจจกิริยาอันเยี่ยม ข้าพเจ้ารำลึกถึงกำลังแห่งธรรม รำลึกถึงพระชินเจ้าทั้งหลายในปางก่อน อาศัยกำลังแห่งสัจจะ ขอทำสัจจกิริยา ปีกทั้งหลายของข้าพเจ้ามีอยู่ แต่ก็ยังบินไปไม่ได้ เท้าทั้งหลายของข้าพเจ้ามีอยู่ก็ยังเดินไม่ได้ มารดาและบิดาของข้าพเจ้าก็ออกไปแล้ว ดูก่อนไฟป่า ขอท่านจงถอยไป ครั้นเมื่อสัจจะอันข้าพเจ้าทำแล้ว เปลวไฟอันลุกโพลงมากก็สงบ.
     
  3. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    ในหลวงจักได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้า ในอนาคตกาล!!
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->"ครูบาอาจารย์"กับ"ในหลวง"

    จากการที่ได้หาโอกาสศึกษาและมีวาสนาได้กราบไหว้ใกล้ชิดพระอัจฉริยเถราจารย์ผู้ทรงคุณธรรมเบื้องสูงจำนวนมาก ตลอดระยะเวลาอันยาวนานกว่า 2 ทศวรรษ ทำให้ได้รับการบอกกล่าวถึงเรื่องอันพิเศษๆเป็นอันมาก ที่นอกเหนือจากสามัญมนุษย์ทั่วไป ซึ่งไร้ซึ่งญาณปรีชาจะพึงทราบชัดให้ถูกถ้วนตามความเป็นจริงได้เป็นอันเอนกปริยาย ดังที่ได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะและความรู้รอบตัวต่างๆเป็นธรรมวิทยาทานมาโดยลำดับ ความย่อมเป็นที่แจ้งใจอยู่โดยทั่วไปแล้วนั้น

    บัดนี้ เป็นกาลอันสมควรแล้ว ที่จะได้นำเอาเรื่องราวที่บรรดาพระอริยคณาจารย์ทั้งหลาย ที่ได้เคยกล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาแสดง เพื่อน้อมถวายความจงรักภักดีแด่พระมหาธรรมราชา ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐแห่งประชาชาติไทยพระองค์นั้น และเพื่อยังความเป็นสวัสดิมงคลอันยิ่งให้บังเกิดขึ้นแก่แผ่นดินและมหาชนทั้งหลายสืบไปตราบชั่วจิรัฏฐิติกาล... <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    "ในหลวงพระองค์นี้ ท่านเป็นพระโพธิสัตว์น๊ะ..!!!!"
    พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต(ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    สำหรับปฐมเหตุที่ทำให้ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯกล่าวความเช่นนี้ ก็เกิดมาจากการที่ท่านได้กล่าวเตือนญาติโยมบางรายที่ไปนมัสการว่า
    "การที่คุณเอาธนบัตรที่มีรูปในหลวงไปใส่ไว้ในกระเป๋ากางเกงนั้น ไม่ดีเลย เพราะในหลวงท่านเป็นพระโพธิสัตว์ การเอาพระรูปของท่านไปไว้ในที่ต่ำอย่างนั้น ย่อมบังเกิดโทษเป็นอันมาก ทีหลังอย่าพากันทำ..!!?!" <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    และความเป็น"พระโพธิสัตว์"ของในหลวงนั้น ก็เป็นถึงระดับ"นิยตโพธิสัตว์"ผู้เที่ยงแท้ต่อพระโพธิญาณในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นอย่างแท้จริงด้วย สมจริงดังที่หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่ ได้กล่าวรับรองไว้ด้วยองค์เองทีเดียวว่า
    "ครูบาขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนามเคยเป็นช้างนาฬาคิริง ส่วนในหลวงองค์ปัจจุบันเป็นช้างป่าเลไลยก์นะ..!!!!!" <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    ภควา อันว่าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเรา ตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่า เมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระนามว่า พระติสสะสัพพัญญูพุทธเจ้า เสด็จล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานสิ้นกาลช้านานแล้ว ฯ
    ในลำดับนั้น อันว่าช้างปาลิไลยหัตถีตัวนี้ก็เป็นพระบรมโพธิสัตว์สร้างพระบารมีมาเป็นอันมาก จักได้ตรัสเป็นสมเด็จพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า พระสุมงคล ในอนาคตกาลพระสุมงคลทศพลญาณเจ้านั้น มีพระองค์สูงได้ ๖๐ ศอก พระชนมายุมีประมาณแสนปีเป็นกำหนด ไม้กากะทิงเป็นพระศรีมหาโพธิ ประดับด้วยพระพุทธรัศมีรุ่งเรืองสว่าง ดังสีทองเป็นอันงามประดุจกลางวัน แล้วจะบังเกิดมีไม้กัลปพฤกษ์ต้นหนึ่ง ห้อยย้อยไปด้วยสิ่งของเครื่องประดับ มีประการต่างๆ ด้วยพระพุทธานุภาพ ฝูงมนุษย์ทั้งหลายในพระศาสนาของพระสุมงคล มิได้กระทำซึ่งกสิกรรม วาณิชกรรม ได้อาศัยซึ่งต้นกัลปพฤกษ์นั้น ประพฤติเลี้ยงชีวิตแห่งอาตมา มนุษย์ทั้งหลายมีความผาสุกสบาย ขวนขวายแต่การเล่นเต้นรำแต่งตัวอยู่เป็นนิจ เสมอเหมือนเทพบุตร เทพธิดา ซึ่งได้ทิพยสมบัติในสวรรค์เทวโลกฯ สมเด็จพระสุมงคลทศพลญาณเจ้า ก่อสร้างพระบารมีมาทั้ง ๑๐ ประการ จึงสำเร็จแก่พระพุทธสมบัติเห็นปานดังนี้ ฯ อันว่ากองพระบารมีครั้งหนึ่ง พระองค์กระทำมาแต่ยังเป็นพระบรมโพธิสัตว์อยู่นั้น ปรากฏเป็นปรมัตถบารมีอันยิ่งยอดอย่างเอกอุดมทาน ฯ

    ดูก่อนสำแดงสารีบุตร แต่กาลก่อนล่วงลับไปแล้วช้านาน ช้างปาลิไลยตัวนี้เป็นพระบรมโพธิสัตว์ บังเกิดเป็นสมเด็จพระบรมจักรพรรตราธิราช ทรงพระนามว่าพระเจ้ามหาปนาทบรมจักร ในภัทรกัปป์อันนี้ และมีแก้ว
    ๗ ประการคือ จักรแก้ว ๑ นางแก้ว ๑ แก้วมณีโชติ ๑ ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ ปรินายกแก้ว ๑ คฤหบดีแก้ว ๑

    สมเด็จพระเจ้ามหาปนาทบรมจักร ได้เสวยศิริราชสมบัติอยู่ในทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒ พันเป็นบริวาร พระองค์ทรงพระสำราญอบู่เป็นปรกติ มาจนถึงกาลสมเด็จพระกุกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดในโลก กาลครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้ามหาปนาทบรมจักรได้ทรงทราบว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าได้ตรัสในโลกแล้ว

    จึงตรัสประกาศสั่งจักรแก้วว่า ดูก่อนจักรแก้วผู้เจริญ ท่านจงไปยังท้องพระมหาสมุทรถือเอาซึ่งดวงแก้วมณีมาให้แก่เรา จักรแก้วนั้นก็ไปยังท้องพระมหาสมุทร ดุจดังว่ามีจิตวิญญาณ นำเอาแก้วมณีมาถวาย ฯ

    แล้วอยู่มาภายหลังพระองค์จึงตรัสสั่งช้างแก้วว่า ดูก่อนช้างแก้วผู้เจริญ ท่านจงไปที่ฉัตรทันต์สระ แล้วพาช้างแก้วมาให้แก่เราฯ ครั้งนั้นช้างแก้วก็เหาะไปยังฉัตรทันต์สระ พาเอาช้างชาติฉัตรทันต์ทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่นมาถวาย ฯ

    แล้วพระองค์จึงตรัสสั่งกับม้าแก้วว่า ดูก่อนม้าแก้วผู้เจริญ ท่านจงไปยังท่าสินธพนที แล้วพาม้าแก้วทั้งหลายมาให้แก่เรา ม้าแก้วนั้นก็เหาะไปในอากาศ ถึงริมฝั่งสินธพนที แล้วพาม้าแก้วมาถวาย ฯ

    แล้วพระองค์จึงตรัสสั่งนางแก้วพระราชมเหสีนั้นว่า ภทฺเท ดูก่อนเจ้าผู้มีพักตร์อันเจริญ เจ้าจงไปยังแว่นแคว้นอุดรกุรุทวีปพานางแก้วทั้งหลายมาให้แก่เรา ฯ ขณะนั้นนางแก้วผู้เป็นพระราชมเหสีก็เหาะไปยังอุดรกุรุทวีป พาเอานางแก้วทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่นมาถวาย ฯ

    แล้วพระองค์จึงตรัสสั่งแก้วมณีโชติว่า ดูก่อนแก้วมณีโชติผู้เจริญ ท่านจงไปยังเขาวิบุลบรรพต นำเอาแก้วมณีมาให้แก่เรา ฯ อันว่าแก้วมณีโชติก็เลื่อนลอยไปยังเขาวิบุลบรรพตพาเอาแก้วมณีทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่นดวงมาถวาย ฯ

    แล้วพระองค์ตรัสสั่งปรินายกขุนพลแก้วของพระองค์ว่า ดูก่อนปรินายกแก้วผู้เจริญ ท่านจงไปยังอุดรกุรุทวีป และอมรโคยานทวีป และบุพพวิเทหทวีป ทั้ง ๓ ถอดเอาดวงแก้วในยอดเขากัมพูฉัตรมาให้แก่เรา ฯ ฝ่ายขุนพลแก้วผู้เป็นปรินายกรับพระราชโองการแล้ว ก็เหาะไปยังทวีปทั้ง ๓ จึงถอดเอาดวงแก้วมณีที่ยอดเศวตฉัตรแห่งมหากษัตริย์ผู้เสวยศิริราชสมบัติในทวีปทั้ง ๓ มาถวาย ฯ

    แล้วพระองค์ก็ตรัสสั่งคฤหบดีแก้วผู้เป็นขุนคลังว่า ดูก่อนคฤหบดีแก้ว ท่านจงไปในโสฬสมหานครใหญ่ทั้ง ๑๖ เมืองนั้น นำเอาดวงแก้วมณีมาให้แก่เรา ฯ คฤหบดีแก้วก็เหาะไปในโสฬสมหานคร ครั้นถึงแล้วได้ทัศนาการเห็นสมเด็จพระพุทธกุกกุสนธสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จยับยั้งอยู่ในพระวิหารในกาลนั้น คฤหบดีแก้วก็มิได้รู้จักซึ่งสมเด็จพระกุกกุสนธเจ้า ว่าเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทโธ จึงเข้าไปยังสำนักกุกกุสนธเจ้าแล้วถามว่า มณว ดูก่อนมาณพผู้เจริญ ตัวท่านนี้มีนามชื่อไร จึงมีรูปโฉมงามบริสุทธิ์เป็นอันดี ฯ

    ครั้งนั้นสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้า จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีแก้ว เราหรือมีนามชื่อว่าพระศาสดาจารย์ คฤหบดีจึงถามอีกว่า ฯ ดูก่อนมาณพผู้เจริญท่านมีนามชื่อว่าศาสดาจารย์ด้วยเหตุเป็นดังฤา ฯ จึงทรงพระมหากรุณาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีแก้ว เราชื่อพระศาสดาจารย์นั้นเพราะเหตุประกอบไปด้วยอาจริยคุณ ๓๑ ประการ ฯ

    คฤหบดีจึงถามว่า คุณ ๓๑ ประการแห่งท่านปรากฏเป็นประการใด จึงได้ชื่อว่าอาจริยคุณฯ สมเด็จพระกุกกุสนธเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีแก้ว คุณเป็นอาทิคือ อิติปิ โส ภควา นี่แหละเป็นคุณแห่งเรา ปรากฏกิตติศัพท์ไปทั่วโลก จึงมีนามว่า พระศาสดา จริยคุณทั้ง ๓๑ ประการ ฯ เมื่อคฤหบดีแก้วได้สดับพระพุทธวจนะดังนั้น จึงจารึกเอาพระอิติปิ โส ภควา เป็นอาทิ ลงไว้ในแผ่นทองเป็นตัวอักษรเสร็จแล้ว จึงถามพระผู้ทรงพระภาคเจ้าว่า ดูก่อนมาณพผู้เจริญ ท่านรู้คุณวิเศษมีประมาณเท่านี้แลหรือ หรือว่าคุณวิเศษอย่างอื่นยังมีอยู่เป็นประการใด ฯ

    จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่าดูก่อนคฤหบดีแก้ว อันว่าคุณวิเศษอย่างอื่นแห่งเรามีอยู่เป็นอันมาก ฯ คฤหบดีแก้วก็ให้พระกุกกุสันธเจ้าแสดงต่อไป ฯ สมเด็จพระพุทธเจ้าจึงตรัสพระสัทธรรมเทศนา ทรงแสดงซึ่งคุณในกายคตาสติกัมมัฏฐาน บอกอาการ ๓๒ มี เกศา โลมา เป็นอาทิ ให้แก่คฤหบดีแก้ว

    คฤหบดีแก้วก็จารึกพระรูปพระโฉมของสมเด็จพระกุกกุสนธเจ้าอันงาม พร้อมด้วยทวัตติงสมหาบุรุษลักษณะเป็นอันดีลงในแผ่นทอง แล้วจึงกำหนดพระองค์สูงประมาณ ๖๐ ศอก ลงในแผ่นทองทั้ง ๒ เสร็จแล้ว คฤหบดีแก้วก็เหาะนิวัตตนากลับมายังสำนักสมเด็จพระบรมจักรมหาปนาทถวายซึ่งแผ่นพระสุวรรณบัตร ให้ทอดพระเนตรพระรูปพระโฉมของสมเด็จพระกุกกุสนธเจ้า กับทั้งตัวอักษรที่จารึกพระพุทธคุณมานั้น ฯ

    ฝ่ายสมเด็จพระบรมจักรมหาปนาททอดพระเนตรพระอักษร ซึ่งจารึกพระพุทธคุณในแผ่นพระสุวรรณบัตรนั้น ฯ ทรงอ่านแล้วก็มิได้ทรงรู้จักว่าเป้นพระพุทธคุณจึงตรัสถามพราหมณ์ปุโรหิตว่า ดูก่อนท่านอาจารย์ อันว่าอักษรที่คฤหบดีจารึกมานั้น จะเป็นพระพุทธคุณจริงแลหรือประการใด ฝ่ายว่าพราหมณ์ปุรหิตนั้น เป็นผู้ทรงคุณวิชชาไสยศาสตร์ จึงกราบทูลว่า มหาราชข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐอันว่าอักษรนี้เป็นคุณอันวิเศษแน่แล้ว เป็นยอดคุณทั้งปวงสิ้น ก็คุณวิเศษอย่างอื่นๆ นั้นจะได้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้หาบ่มิได้ อักษรนี้เป็นพระพุทธคุณเที่ยงแล้ว สมเด็จพระบรมจักรมหาปนาทำด้ทรงฟังพราหมณ์ปุโรหิตกราบทูลดังนั้น ก็ทรงพระโสมนัส ปิติ ปลาบปลื้มพระทัย สลบลงกับที่ ฯ

    ครั้นพระองค์ฟื้นสมประดีแล้ว ตรัสถามพราหมณ์ปุโรหิตว่า ดูก่อนท่านอาจารย์ เราได้ฟังว่า คุณวิเศษนี้เป็นพระพุทธคุณจริงดังนั้นหรือประการใด ปุโรหิตก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ อันว่าคุณวิเศษนี้ พระองค์อย่าได้สงสัยในพระกมลหฤทัยเลย เป็นพระพุทธคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเที่ยงแท้แล้ว

    ครั้นได้ทรงสดับฟังพราหมณ์ปุโรหิตกราบทูลซ้ำอีกดังนั้น พระองค์ทรงปิติ ปลื้มพระทัย สลบลงอีกครั้งหนึ่งเป็นคำรบ ๒ แล้วพระองค์ก็ฟื้นขึ้น จึงตรัสถามปุโรหิตอีกว่ารูปภาพที่คฤหบดีแก้ววาดเขียนมานี้ เป็นอย่างพระพุทธรูปจริงหรือประการใด ปุโรหิตก็กราบทูลว่าพระรูปพระโฉมที่คฤหบดีแก้ววาดเขียนมานี้ คือ พระรูปพระโฉมของสมเด็จพระพุทธเจ้าเที่ยงแท้ พระองค์อย่าได้สงสัยเลย ฯ สมเด็จพระบรมจักรมหาปนาทได้ทรงฟังว่าเป็นพระพุทธรูปของสมเด็จพระพุทธเจ้าจริงแน่ ก็สลบสิ้นสติสมปฤดีไปอีกครั้งหนึ่งเป็นคำรบ ๓ ฯ

    ครั้นได้พระสติขึ้นมา จึงตรัสแก่คฤหบดีแก้วว่า บัดนี้เราได้ฟังประพฤติเหตุแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าอันเป็นดวงแก้วหาค่ามิได้ เพราะเหตุตัวของท่านอันเราใช้ไป เครื่องสักการบูชาสิ่งอื่นหาควรจะกระทำสักการบูชาแก่ท่านไม่ ด้วยท่านมีความชอบครั้งนี้แก่เราเป็นที่สุด เราจะยกสมบัติจักรพรรดิอันยิ่งในมนุษย์โลกนี้ กระทำสักการบูชาแก่ตัวท่าน ตรัสประภาษสรรเสริญคฤหบดีแก้วดังนี้แล้ว จึงอภิเษกคฤหบดีแก้วให้เสวยศิริราชสมบัติจักรวรรดิยศ ยกให้เป็นบำเหน็จความชอบแก่คฤหบดีแก้ว ในครั้งนั้นคฤหบดีแก้วก็ตั้งอยู่ในศิริราชสมบัติบรมจักร เสวยอิสริยยศสมบัติสืบต่อไป ฯ

    ส่วนสมเด็จพระบรมจักรมหาปนาทนั้นแต่พระองค์เดียว ก็เสด็จบทจรไต่เต้าไปตามมรรคาหนทางโดยทิศาภาค ในที่สถิตแห่งสมเด็จพระบรมครูกุกกุสนธเจ้านั้น ฯ ครั้นไปถึงมหานิโครธไทรใหญ่ต้นหนึ่ง ก็ทรงประทับนั่งอาศัยอยู่ใต้ต้นไทรนั้นพอหายเหนื่อยเป็นอันดีแล้ว ก็ยกอัญชลีประนมถวายนมัสการลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์อันได้สดับว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่ตรงนี้ ทรงกระทำอธิษฐานปรารถนาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระภาคเป็นอันงาม ความปิติโสมนัสแห่งข้าพระพุทธเจ้าบังเกิดมีในพระองค์แล้ว ด้วยเดชะความสัตย์นี้ ขอให้เครื่องอัฏฐบริขาร ๘ ประการ อันเป็นทรัพย์มรดกแห่งพระภิกษุสงฆ์ จงเลื่อนลอยมายังสำนักแห่งข้าพระพุทธเจ้า ด้วยเเถิด ฯ

    ครั้งนั้นสมเด็จพระกุกกุสนธสัพพัญญูทรงทราบวาระน้ำจิตแห่งบรมจักรมหาปนาท ปรารถนาจะบรรพชาบวชในพระพุทธศาสนา จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า “ดูก่อนอัฏฐบริขาร ๘ ประการ บัดนี้บุคคลมีชื่อโน้น ปรารถนาจะทรงบรรพชา ท่านจงไปยังสำนักแห่งบุคคลผู้นั้นเถิด ฯ” ขณะนั้นเครื่องอัฏฐบริขารทั้ง ๘ ประการ ก็ลอยมาตกลงตรงพระพักตร์แห่งสมเด็จพระเจ้ามหาปนาทด้วยพุทธานุภาพ ฯ

    ครั้นสมเด็จพระบรมจักรมหาปนาท ทรงเห็นเครื่องอัฏฐบริขาร ๘ ประการพร้อมแล้ว ด้วยพระเดชานุภาพแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก ก็ทรงยกเครื่องอัฏฐบริขารขึ้นทูนเหนือพระเศียรเกล้าแล้วออกพระวาจาว่า ดูก่อนอัฏฐบริขาร ๘ ประการผู้เจริญ เราอาศัยซึ่งท่านจักใคร่ออกจากสังสารทุกข์ ให้ได้พบเห็นพระนิพพานอันประเสริฐสุดโลกวิสัย ตรัสเท่านั้นแล้วก็เปลื้องเครื่องราชอาภรณ์ของพระองค์ออกจากพระสรีรกาย ทรงสบง จีวร สังฆาฏิ คาดกายพันมั่นคง ทรงบรรพชาเป็นพระภิกษุภาวะเสร็จแล้ว จึงเอาพระมงกุฎแก้ววางลงในฝ่าพระหัตถ์ตรัสว่า ดูก่อนมงกุฏแก้ว ท่านจงไปยังสำนักแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า กราบทูลแจ้งประพฤติเหตุข่าวศาสน์แก่พระองค์ว่า บัดนี้พระเจ้ามหาปนาทบรมจักร เสียสละศิริราชสมบัติออกทรงบรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว มีความปรารถนาเพื่อจะมายังสำนักสมเด็จพระทศพลญาณ ท่านจงไปกราบทูลศาสน์แด่องค์สมเด็จพระพุทธองค์ด้วยประการดังนี้ ฯ

    พระองค์ทรงพระอธิษฐานฉะนี้แล้ว มงกุฏแก้วก็ลอยเลื่อนไปในอากาศเวหาประดุจว่าพระยาสุวรรณราชหงส์ลงยังสำนักแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่แทบฝ่าพระบาท กราบทูลประพฤติเหตุดังนั้นแก่สมเด็จพระกุกกุสนธ ประดุจดังว่ามีจิตวิญญาณ สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์ก็มีพระพุทธฎีการับว่าสาธุ ฯ

    ลำดับนั้น พระยามหาปนาทซึ่งทรงเพศเป็นภิกษุ ก็เที่ยวโคจรบิณฑบาตไปตามบ้าน ได้อาหารพอเป็นยาปนมัตต์ บริโภคสำเร็จแล้วก็เจริญพระกัมมัฏฐานอยู่ในที่อันสมควร พิจารณาซึ่งพระพุทธคุณมีพระ อิติปิ โส ภควา เป็นอาทิ และพระกายคตาสติกัมมัฏฐาน มีเกศาเป็นต้น เจริญไปด้วยความอุตสาหะดังนั้น ยังโลกียฌานให้บังเกิดขึ้น

    ในขณะนั้นแล้วเหาะไปโดยอากาศเวหาถึงสำนักสมเด็จพระพุทธเจ้า ได้ทัศนาการพระรูปพระโฉมของสมเด็จพระกุกกุสนธ อันประดับไปด้วยพระทวัตติงสมหาบุรุษลักษณะ และพระอสีตยานุพยัญชนลักษณะ งามบริบูรณ์พร้อมทุกประการ ก็บังเกิดความปิติเต็มตื้นซาบทั่วสรรพางค์ ตลอดสิ้นสกลกายก็สลบลงในที่นั้น สมเด็จพระภควันตบพิตรเจ้าก็ทรงเอาอุทกวารีมาประพรมลงเหนือพระอุระ ก็ฟื้นสมปฤดีขึ้นมา แล้วถวายนมัสการกราบลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์แทบพระบาท กราบทูลอาราธนาให้สมเด็จพระพุทธองค์ทรงประทานพระสัทธรรมเทศนา ฯ

    ครั้งนั้นสมเด็จพระกุกกุสนธบรมทศพลญาณ ก็ทรงประทานพระสัทธรรมเทศนาว่า “ดูก่อนภิกษุ ท่านจงพิจารณาซึ่งสภาวธรรมที่จะนำตนไปสู่พระนิพพานเถิด” มีพระพุทธบรรหารตรัสดังนี้ ฝ่ายพระเจ้ามหาปนาทบรมพุทธางกูรได้ทรงสดับกระแสพระพุทธฎีกาตรัสเป็นนัย ดังนั้นพระองค์ก็มีปิติซาบซ่านทั่วสกลกาย จึงทรงพระอธิษฐานเด็ดพระเศียรเกล้าด้วยเล็บของพระองค์ ทรงกระทำสักการบูชาแทบพระบาทมูลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ฝ่ายพระเศียรเกล้านั้นจึงกราบทูลพระกรุณาว่า

    “ภนเต ภควา ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระภาคเจ้า พระองค์ได้โปรดฝูงสัตว์ทั้งหลายก่อนข้าพระบาท ข้าพระบาทก็มีความปรารถนาเป็นเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อภายหลัง ด้วยผลศีลทานของข้าพระบาทในครั้งนี้ ขอเชิญองค์อัครมุนีผู้ทรงพระภาคเจ้าจงเสด็จเข้าสู่พระนิพพานก่อนข้าพระบาทเถิด ข้าพระบาทขอตามเสด็จพระพุทธองค์เจ้าเข้าสู่พระนิพพานต่อภายหลัง” พอขาดคำลงแล้วพระเจ้ามหาปนาทก็ดับขันธ์สิ้นชีวิตอินทรีย์ ไปบังเกิดในดุสิตาสวรรค์ เสวยทิพยศิริสมบัติเป็นสุขสถาพร ไปในอนาคตกาลเบื้องหน้า จะได้ตรัสเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า พระสุมงคล ฯ
    ดูก่อนสำแดงสารีบุตร ฝูงสัตว์ทั้งหลายไม่ได้มรรคและผลธรรมวิเศษในศาสนาพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระตถาคตเป็นต้น มีพระติสสะเป็นปริโยสานแล้ว ก็ให้มหาชนปรารถนาไปให้พบเห็นพระศาสนาช้างปาลิไลยหัตถี ที่ได้เป็นพระบรมจักรมหาปนาทนี้ ซึ่งจะได้ตรัสเป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ทรงพระนามว่า พระสุมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะได้มรรคและผลธรรมอันวิเศษสิ้นสังสารทุกข์ทั้งปวง เข้าสู่พระอมตะมหานครนิพพาน ฯ
    ที่มา,คัมภีร์อนาคตวงศ์


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    เพราะด้วยเหตุที่ท่านเจ้าคุณพระญาณสิทธาจารย์(สิม พุทฺธาจาโร)ซึ่งเป็นพระขีณาสวสงฆ์ผู้ทรงญาณวิสัยอันลึกล้ำ สามารถแทงตลอดในการทุกสิ่งอัน และได้แจ้งในใจในพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในอนาคตวงศ์ภายภาคหน้าเป็นอย่างดีที่สุด หลวงปู่สิมจึงได้ถวายความจงรักภักดีในพระองค์ท่านอย่างยิ่ง แม้ตราบเท่าวาระสุดท้ายแห่งชีวิตท่านอย่างน่าซาบซึ้งประทับใจที่สุด ไม่มีใดจะเทียมทันได้ ซึ่งการทั้งปวง อาจเข้าไปชมได้ในหัวข้อ"จงรักภักดีด้วยชีวิต"
    (http://www.gmwebsite.com/Webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-071204131122160) ได้ตามอัธยาสัย
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    "พระองค์มัวแต่เป็นห่วงคนอื่น แต่ไม่ทรงห่วงพระองค์เองบ้างเลย.."
    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    ครั้งหนึ่ง มีผู้พูดถึง"ผู้ยิ่งใหญ่"ระดับประเทศบางท่านให้หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี พระมหาโพธิสัตว์ใหญ่ที่หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน นครราชสีมากล่าวรับรองไว้ด้วยองค์เองว่า"เป็นหนึ่งในสิบแห่งอนาคตพุทธวงศ์เบื้องหน้า"ฟัง สังเกตว่า ดูหลวงพ่ออุตตมะท่าน"เฉย"มากๆ ก่อนที่จะปรารภออกมาอย่างราบเรียบที่สุด เหมือนมิได้ไยดีใดๆว่า
    "เขาไม่ได้ทำประโยชน์อะไรมากเหมือนกับในหลวงหรอก..!!!!!" <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message -->
     
  4. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    [​IMG] พระนิพพาน จากคำครูอาจารย์
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->พระนิพพาน จากคำครูอาจารย์

    พระนิพพานบรมสุข องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระอรหันตเจ้าทั้งหลาย ณ เวลานี้ ทรงสถิตอยู่ ณ ที่ใด
    บางท่านว่า พระองค์ดับสูญ หมดความนึกคิด ไม่เหลืออะไรเลย
    ความสงสัยนี้ ยากที่ปุถุชน ผู้ศึกษา จะทำให้กระจ่างได้
    เว้นแต่พระสงฆ์ผู้มีญาณ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามพระธรรมคำสั่งสอน

    จึงพออธิบาย พระนิพพาน ให้กระจ่างได้
    ขอท่านจงเว้นการถกเถียง จนเกิดความหมอง เร่าร้อน ในดวงใจ

    โปรดจงสงบจิต ตั้งสติ อ่านคำสอนของพระครูอาจารย์ทั้งหลาย
    ที่มีจารึกลงในตำราหรือหนังสือ เป็นหลักฐาน ไว้ชัดเจนแล้ว ใช้ปัญญา

    พินิจพิจารณา ไม่มีอคติ ใน คำสอนของครูอาจารย์
    <CENTER>พระนิพพาน จากคำครูอาจารย์ (สรุปย่อ)

    </CENTER><CENTER><TABLE bgColor=#ffcc66><TBODY><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช
    "พระพุทธเจ้าท่านเพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น พระบารมีและคุณธรรมยังอยู่ ทรงเสด็จไปสอนด้วยพระพุทธบารมีได้"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช
    อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว)
    "สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด)
    "วิปัสสนาคือให้พิจารณาในทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนัตตา อนัตตาคือการเดินทางไปสู่โลกแห่งนิพพาน โลกเรานี้เป็นโลกแห่งอัตตา"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี
    "นิพพาน คือว่างจากกิเลส จิตวิญญาณของพระอรหันต์ไม่สูญ ที่วิญญาณสูญนั่นคือวิญญาณในขันธ์ ๕ เท่านั้น "</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย ์ สิริจนฺโท จันทร์
    "พระนิพพานเป็นพระมหานครอันใหญ่เป็นที่บรมสุขหาที่เปรียบมิได้ อย่าเข้าใจว่าจะไปนิพพานด้วยกำลังกาย"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ
    "สรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญอันตรธานไปไหน ยังปรากฏอยู่แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงอยู่เสมอ ผู้ใดยึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่า หรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้งสามก็ปรากฏแก่เราอยู่ทุกเมื่อ"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    ท่านเจ้าคุณธมฺมวิตกฺโก

    "ตายแล้วจิตยังติดต่อกันได้"
    </CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงพ่อเกษม เขมโก

    "พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ในโลกนี้ ท่านอยู่นอกโลก"
    </CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ
    "ส่วนกายพระอรหัต ถ้าถึงพระอรหัตละก็ นิจจัง สุขัง อัตตาแท้ๆ กายธรรมมีขันธ์เหมือนกัน แต่เป็นธรรมขันธ์ ท่านไม่เรียกเบญจขันธ์ เป็นธรรมขันธ์เสีย มีธาตุเหมือนกัน เป็นวิราคธาตุ เป็นวิราคธรรมม"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    "องค์สมเด็จพระบรมครูตรัสว่า ...โมกขราช เรากล่าวว่า นิพพานนั้นหมายถึงกิเลสดับ และขันธ์ ๕ ดับ... พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่า จิตดับ"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    อดีตพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)
    " พระธรรมกาย ได้เแก่พระกายอันบริสุทธิ์ ไม่สาธารณะแก่เทวา และมนุษย์ หมายถึงจิตที่พ้นจากกิเลสแล้ว เป็นพระกายที่เที่ยงแท้ไม่สูญสลาย อินทรีย์ของพระอรหันต์ประณีตสุขุม แม้ตาทิพย์ของเทวดาก็มองไม่เห็น"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    "พระนิพพานมีอยู่ไม่เสื่อมสูญ พระพุทธเจ้าเข้าพระนิพพานก็มีอยู่ในพระนิพพานนั้นแล ถ้าเราเป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันเมื่อไร เมื่อนั้นแหละจึงจะเห็นจะรู้ที่อยู่พระพุทธเจ้า ที่อยู่ของพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย"</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่บุดดา ถาวโร
    "นิพพานไม่สูญ เป็นแต่อาสวะกิเลสสูญ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม วิบาก มันสูญ แต่ สังคตะธรรม อสังคะธรรม วิราคะธรรม มันไม่ได้หมดไปด้วย"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ดูลย์ อตโล

    "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ขาว อนาลโย
    " อย่าไปยึดถือมัน ก็จิตนั่นแหละมันถือว่าตัวกู อยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี เราถือว่าเราเป็นผู้ชาย เราเป็นผู้หญิง ก็แม่นจิตนั้นแหละ เป็นผู้ว่า มันไม่มีตนมีตัวดอก แล้วพระพุทธเจ้าว่าให้วางเสียให้ดับวิญญาณเสีย ครั้นดับวิญญาณแล้ว ไม่ไปก่อภพก่อชาติอีก ก็นั่นแหละพระนิพพาน"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    "พระนิพพานอุปมาขนาดเท่าเส้นผม ผู้ที่จะผ่านพ้นในขั้นสุดท้ายไปได้หรอืไม่ได้อยู่เพียงนิดเดียวในการทำจิตตัดจุดนี้ได้หรือไม่เท่านั้น พระพุทธเจ้าตอนที่ท่านจะปรินิพพาน ท่านได้ปรินิพพานไประหว่างรูปฌานและอรูปฌาน เป็นการดับขันธ์ด้วยความบริสุทธิ์เหนือสมมติโดยสิ้นเชิง"</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    "ดวงจิตนี้ไม่เคยสูญ แดนพระนิพพานมีจริง หลวงปู่มั่นเล่าว่า พระพุทธเจ้าหลายพระองค์
    เสด็จมาเยี่ยมท่าน
    "
    </CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    "นิพพานไม่ได้สูญ ไม่ได้อยู่ตามที่โลกคาดคะเนหรือเดากัน ทำจริงจะได้เห็นของจริง รู้จริง และจะเห็นนิพพานเอง เห็นพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เห็นครูบาอาจารย์ที่ท่านบริสุทธิ์เอง และหายสงสัยโดยประการทั้งปวง"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระเทพสิทธิมุนี
    (พระอาจารย์โชฎก ญาณสิทธิ)
    " พระอรหันต์มี ความว่างจากตัวตน-ของตน โดยสิ้นเชิง มีอิสระเหนือทุกอย่าง ที่เรียกว่า "ว่าง" นี้ คือไม่ใช่ว่างชนิดที่เขาพูดกันว่า เช่นว่า จิตนึกคิดอะไรไม่ได้ กายก็แข็งทื่อเป็นท่อนไม้ แต่ที่ถูกนั้น เป็นความว่างจากกิเลส ว่างที่เฉลียวฉลาดที่สุด"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่อ่ำ พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต)
    "พระพุทธกัสสป เมื่อดับขันธ์ปรินิพพาน เข้าเมืองแสงใส ซึ่งก็คือเมืองแก้วแสงใส ชื่อไทยนี้ คนไทยคงเรียก นิพพาน มานานแล้ว ปราชญ์บัณฑิตโบราณาจารย์จึงกล่าวเสมอๆ เช่น ถึงเมืองแก้ว อันกล่าวแล้ว คือ อมตมหานครนฤพาน ดังใน มหาเวสสันดรเทศนา กุมารกัณฑ์"</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์
    (หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา)
    " นิพพานเป็นแดนแห่งความมั่นเที่ยง นิพพานแล้วเป็นสุข นิพพานมีสาระเป็นแก่นสาร นิพพานมีความเป็นสุขอย่างยิ่ง พระนิพพานไม่ใช่อัตตา พระนิพพานเป็นปัจจัตตัง"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    "จิตวิญญาณมันไม่ใช่ของแตกของทำลาย แลไม่ใช่ของสูญหาย พระพุทธเจ้าสอนให้จิตมันเที่ยง เหมือนพระนิพพานเป็นของเที่ยง ไม่แปรผัน ยักย้าย สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็ฯทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ "</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    " สูญในพระนิพพานมีขอบเขต สูญจากกิเลสเท่านั้น รสของพระนิพพานมีอยู่ พระนิพพาน ไม่เกิดไม่ดับไปไหน เป็นอนัตตาธรรม เราจะเอาพระนิพพานมาเป็นอนัตตา เหมือนขันธ์ ๕ และกิเลสทั้งหลายมันก็ไม่ถูก เรียกว่าแยกอนัตตาธรรมไม่ถูก"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ลี ธมมฺโร วัดอโศการาม
    " โลกนิพพาน ไม่มีทั้งเกิด ไม่มีทั้งตาย กายเป็นของสูญ จิตเป็นของไม่สูญ ไม่ตาย จิตที่ดับจากกาย ย่อมหายไป เหมือนกับไฟที่ดับจากเทียน"</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระนาคเสน มหาเถระ
    ผู้ตอบปัญหาพระเจ้ามิลินทราชา
    " ผู้ที่ยังไม่ได้นิพพานก็รู้ว่านิพพานเป็นสุข เพราะได้ยินเสียงพวกได้นิพพาน.....พระพุทธเจ้ามีจริง แต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเปลวไฟที่ดับแล้วก็ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น.........นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้วย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบประณีต อันเที่ยงตรง ไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    ไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท
    "พระพุทธเจ้าแลพระองค์ ๆ โปรดเทพยดามนุษย์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ผิวคณนาได้ ๒๔ อสงไขยแล ๑๑๖๐ โกฏิก็มี มิก ๑๐๖,๖๖๖ คนเป็นกำไรโสดเถิงนครนิพพานอันประเสริฐยิ่งภูมิทั้งหลาย ๓ นี้แล ฯ ทั้งอนันตจักรวาฬอันเป็นเอกาทสกจบโดยสังเขปแล ฯ ผู้ใดจะเถิงแก่มหานคยนิพพานบมิรู้ฉิบหาย บมิรู้แปรปรวนไปม "</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>

    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
    [​IMG]

    ผู้ปฏิบัติต้องหมั่นตามดูจิต รักษาจิต
     
  5. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE bgColor=#ccffff><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตโล)
    วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์

    .... การปฏิบัติ ให้มุ่งเน้นปฏิบัติเพื่อสำรวม เพื่อความละ เพื่อความคลายกำหนัดยินดี เพื่อความดับทุกข์ ไม่ใช่เพื่อเห็นสวรรค์วิมาน หรือแม้พระนิพพานก็ไม่ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อจะเห็นทั้งนั้น ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ไม่ต้องอยากเห็นอะไร เพราะนิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง......

    ดูเพิ่มเติมที่หนังสือ หลวงปู่ฝากไว้ รวบรวมโดย พระโพธินันทมุนี หน้า 82

    ....พระพุทธเจ้า พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนหรอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่งคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันปกติของมนุษย์ ครอบพร้อมทั้งสติ และสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดมาครอบงำอำพรางให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป้นภาวะแห่งตนเองอย่างสมบูรณ์ ภาวะนันเรียกว่า มหาสุญญตา หรือจักรวาลเดิม หรือเรียกกว่า นิพพาน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ......

    (หากท่านใดทราบชื่อหนังสื และหน้า ของคำกล่าวของหลวงปู่ท่อนนี้ กรุณาแจ้งให้ทราบด้วย)
    </TD><TD vAlign=top>[​IMG]
    หลวงปู่ดูลย์ กับ ในหลวงฯ

    <CENTER>[​IMG]
    พระธาตุหลวงปู่ดูลย์</CENTER>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- / message --><!-- sig -->
    __________________
    [​IMG]

    ผู้ปฏิบัติต้องหมั่นตามดูจิต รักษาจิต
     
  6. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE><TBODY><TR><TR><TD vAlign=top>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>อดีตพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) ศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    ....ในปกรณ์ของฝ่ายเถรวาท ท่านโบราณาจารย์แบ่งพระกายของพระพุทธเจ้าเป็น ๓ ภาค ดังนี้คือ

    ๑. พระรูปกาย เป็นพระกายซึ่งกำเนิดจากพระพุทธบิดาและพระพุทธมารดา ที่เป็นมนุษย์ธรรมดาประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔
    ๒. พระนามกาย เป็นพระกายซึ่งกำเนิดชั้นใน นามกายเป็นของมีทั่วไปแม้แต่สามัญมนุษย์ แต่ดีเลวกว่ากันด้วยอำนาจกุศลที่ตนทำไว้ก่อน ส่วน พระนามกายของพระพุทธเจ้า ท่านดีวิเศษกว่าสามัณมนุษย์ ด้วยอำนาจพระบุญญาบารมี ที่ทรงบำเพ็ญมาเป็นเวลาหลายอสงไขยกัป
    ๓. พระธรรมกาย ได้แก่พระกายอันบริสุทธิ์ ไม่สาธารณะทั่วไปแก่เทวดาและมนุษย์หมายถึงจิตที่พ้นจากกิเลสแล้ว เป็นจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง พระธรรมกายนี้เป็นพระพุทธเจ้าที่จริงแท้ เป็นพระกายที่พ้นเกิดแก่เจ็บตาย เป็นพระกายที่เที่ยงแท้ถาวรไม่สูญสลาย แต่ท่านมิได้บอกให้แจ้งชัดว่า พระธรรมกายนี้มีรูปพรรณสัญฐานเช่นไรหรือไม่

    อนึ่ง ความเชื่อว่าพระอรหันต์นิพพานแล้วยังมีอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นพระอรหันต์นิพพานแล้วยังมีอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นพระอรหันต์แท้ไม่สลายตามกาย คือความเป็นพระอรหันต์ ไม่สูญ ตัวอย่างเช่น พระยมกะ เมื่อยังไม่บรรลุอรหัตผลได้แสดงความเห็นว่า พระอรหันต์ตายแล้วสูญได้ถูก พระสารีบุตร สอบสวน เมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้ว จึงเห็นตามความจริงว่า “สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมเป็นไปตามปัจจัย คือสลายไป ส่วนพระอรหันต์มิใช่สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งจึงไม่สลายไป แปลว่า ไม่ตาย” ความเป็นพระอรหันต์นี้ ท่านก็จัดว่าเป็นอินทรีย์ชนิดหนึ่ง เรียกว่า “อัญญินทรีย์” พระผู้มีพระภาคเจ้าคงหมายถึงเอาอินทรีย์นี้เอง บัญญัติเรียกว่า “วิสุทธิเทพ” เป็นสภาพที่คล้ายคลึง “วิสุทธาพรหม” ในสุทธาวาสชั้นสูง (พรหมอนาคามี ชั้น ๑๒ - ๑๖ ) เป็นแต่บริสุทธิ์ยิ่งกว่าเท่านั้น อินทรีย์ของพระอรหันต์ประณีตสุขุม แม้แต่ตาทิพย์ของเทวดาสามัญก็มองไม่เห็น มนุษย์สามัญซึ่งมีตาหยาบ ๆ จะเห็นได้อย่างไร อินทรีย์ของพระอรหันต์นั้นแหละ เรียกว่า “อินทรีย์แก้ว” คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของท่านเป็นแก้ว คือใสบริสุทธิ์ดุจแก้ว มณีโชติ ผู้บรรลุถึงภูมิแก้วแล้ว ย่อมสามารถพบเห็น “พระแก้ว” คือพระอรหันต์ที่นิพพานแล้วได้...

    ความรู้เรื่องนี้ เป็นความรู้ลึกลับในพระธรรมวินัย ผู้สนใจพึงศึกษาค้นคว้าต่อไปถ้ายังรู้ไม่ถึงอย่าพึ่งค้าน อย่าพึงโมทนา เป็นแต่จดจำเอาไว้ เมื่อใดตนเองได้ษึกษาค้นคว้าแล้ว ได้ความรู้ได้เหตุผลที่ถูกต้องดีกว่า เมื่อนั้นจึงค้าน ถ้าได้เหตุผลลงกันจึงอนุโมทนา ถ้ารู้ไม่ถึงแล้ว ด่วนวิพากษ์วิจารณ์ติเตียนผู้พูดเรื่องเช่นนี้ จะเป็นไปเพื่อบอดตาบอดญาณตนเอง ยิ่งจะซึ้าร้ายใหญ่ ดังนี้</B>
    .....

    ดูเพิ่มเติมที่หนังสือ ทิพยอำนาจ อดีตพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message --><TABLE bgColor=#ffffcc><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]

    พระพุทธเจ้าท่านเพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น พระบารมีและคุณธรรมยังอยู่
    </TD><TD vAlign=top>สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    (ยมกสูตร) มีผู้หลงว่า พระอรหันต์ตายแล้วสูญ พระพุทธเจ้าจึงตอบว่า ขันธิ์ 5 ไม่ใช่เป็นพระอรหันต์ ดังนั้น พระอรหันต์ตายแล้วไม่สูญ แต่ไม่ควรถามว่าตายแล้วไปไหน เหมือนกับไฟดับแล้ว ก็ไม่ควรบอกว่าไฟสูญหรือถามว่าไฟดับแล้วไปไหน.....
    อ่านเพิ่มเติมที่ หนังสือ ๔๕ พรรษา ของพระพุทธเจ้า หน้า 125-126 พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 2532 ครั้งที่ 1 ปี 2510

    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วไม่ได้หายไปไหน พระพุทธบารมียังปกปักรักษาโลกอยู่ คนในโลกยังรับพระพุทธบารมีได้ มิได้แตกต่างไปจากเมื่อยังทรงดำรงพระชนม์อยู่ เพียงแต่ว่าจำเป็นต้องเปิดใจออกรับ มิฉะนั้นก็จะรับไม่ได้ พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารอีกต่อไป แต่พระพุทธบารมียังพรั่งพร้อม พระอาจารย์สำคัญองค์หนึ่งท่านเล่าไว้ว่าเมื่อท่านปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นอยู่ในป่าดงพงพีนั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปทรงสอนท่านด้วยพระพุทธบารมีเสมอ แล้วท่านพระอาจารย์องค์นั้น ต่อมาก็เป็นที่ศรัทธาเคารพของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ที่เชื่อมั่นว่าท่านปฏิบัติถึงจุดหมายปลายทางแล้ว พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ด้วยพระพุทธบารมีได้ เสด็จไปทรงแสดงธรรมโปรดพระอาจารย์องค์สำคัญให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ ไม่มีอะไรให้สงสัยว่าเป็นสิ่งสุดวิสัย เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เรื่องของท่านพระโมคคัลลาน์เป็นเครื่องให้ความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ่มชัดว่าพระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันตเจ้าก็ดี แม้ดับขันธปรินิพพานแล้ว ท่านก็เพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น บารมีและคุณธรรมทั้งปวงของท่านยังพรั่งพร้อมเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง......

    อ่านเพิ่มเติมที่ หนังสือ ชีวิตนี้สำคัญนัก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE bgColor=#ccffcc><TBODY><TR><TD vAlign=top><IMGSRC=PUTUAD.JPG></TD><TD vAlign=top>ไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท
    ทรงนิพนธ์เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ระกาศก ศักราชได้ ๒๓


    พระพุทธเจ้าแลพระองค์ ๆ โปรดเทพยดามนุษย์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ผิวคณนาได้ ๒๔ อสงไขยแล ๑๑๖๐ โกฏิก็มี มิก ๑๐๖,๖๖๖ คนเป็นกำไรโสดเถิงนครนิพพานอันประเสริฐยิ่งภูมิทั้งหลาย ๓ นี้แล ฯ ทั้งอนันตจักรวาฬอันเป็นเอกาทสกจบโดยสังเขปแล ฯ ผู้ใดจะเถิงแก่มหานคยนิพพานบมิรู้ฉิบหาย บมิรู้แปรปรวนไปมา แลฝูงสัตว์ทงหลายอยู่ในไตรภูมินี้แล ฯ กล่าวเถิงไตรภูมิกถามมหานิพพานแล ฯ

    เพิ่มเติมที่ พระนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง ฉบับพญาลิไท กล่าวถึงกามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
    และส่วนท้ายของหนังสือกล่าวถึงแดนพระนิพพาน (ข้อมูลจาก pantip.com)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE bgColor=#ffccff><TBODY><TR><TD vAlign=top width=214>[​IMG]
    บุคคลผู้ไม่รู้แจ้งในพระนิพพานไม่ควรสั่งสอนพระนิพพานแก่ผู้อื่น ถ้าขึ้นสั่งสอนก็จะพาหลงทาง เป็นบาปกรรมแก่ตน
    </TD><TD vAlign=top>พระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย ์( สิริจนฺโท จันทร์ )

    .... อันตัวที่ไม่ตายนั้นท่านให้ชื่อว่าโพธิสัตว์ พึงสันนิษฐานได้ว่าสัตว์นั้นแลคือตัวเรา เป็นผู้ไม่ตายเหมือนอย่างพระอริยเจ้ามีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เมื่อได้สำเร็จพระอรหัตตผลแล้ว ก็เป็นอันได้สำเร็จพระนิพพาน เมื่อท่านสำเร็จพระนิพพานแล้ว สัตว์ที่ตรัสรู้ที่ไม่เคยตายนั้น ก็ยังอยู่ไม่สูญไปข้างไหน สูญแต่กิเลสเครื่องก่อภพก่อชาติเท่านั้นเอง จึงพอสันนิษฐานเห็นได้ว่า พระนิพพานไม่สูญอย่างเอก แต่การที่จักทำให้สำเร็จ ต้องฝ่าฝืนอำนาจของพระยามาร ....

    เพิ่มเติมที่ แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 8 เรื่องมงคลกถา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2470 ในหนังสือพระธรรมเทศนา มงคลกถา 38 ธรรมวิจยานุศาสน์ คิริมานนทสูตร พร้อมด้วยอธาตุ ชุดพิเศษ เล่มที่ 5 หน้า 96-97

    ......บุคคลผู้มิได้พ้นจากิเลส ราคะ ตัณหา นั้นจะทำบุญให้ทานสร้างกุศลอย่างแข็งแรงเท่าใดก็ดี ก็จักได้เสวยความสุขในมนุษย์โลกแลเทวดาโลกเพียงเท่านั้น ที่จะได้เสวยความสุขในพระนิพพานนั้นเป็นอันไม่ได้ เลย ถ้าจะประสงค์ต่อพระนิพพานแท้ให้โกนเกล้เข้าบวชในพระศาสนา ในว่าบุรุษหญิงชายถ้าทำได้อย่างนี้ชื่อว่าปฏิบัติใกล้ต่อพระนิพพาน เพราะว่าเมืองพระนิพพานนั้นปราศจากกิเลสตัณหา เมืองมนุษย์แลเมืองสวรรค์เป็นที่ซึ่งทรงไว้กิเลสตัณหา ไม่เหมือนเมืองพระนิพพาน
    <TABLE><TBODY><TR><TD>........นิพฺพานํ นครํ นาม อันชื่อว่าเมืองพระนิพพาน ย่อมตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลก โลกมีทีสุดเพียงใด พระนิพพานก็ตั้งอยู่ที่สุดนั้น พระนิพพานเป็นพระมหานครอันใหญ่เป็นที่บรมสุขหาที่เปรียบมิได้ อย่าเข้าใจว่าจะไปนิพพานด้วยกำลังกาย หรือกำลังพาหนะมียานช้างม้าได้ อย่าเข้าใจว่านิพพานตั้งอยู่ในทีสุดโลกเหล่านั้น อย่าเข้าใจว่าตั้งอยู่ที่ใดเลย แต้ว่าพระนิพพานนั้นหากมีอยู่ในที่สุดของโลกเป็ของจริง ไม่ต้องสงสัย ให้ท่านทั้งหลายศึกษาให้เห็นโลกรู้โลกเสียให้ชัดเจน ก็จักเห็นพระนิพพาน พระนิพพานก็หากตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลกนั่นเอง

    ดูเพิ่มเติมที่ หนังสือ คิริมานนทสูตร และ อัตตปวัตติ หน้า ๑๐-๑๒ ISBN974-8239-69-1 สนพ.ดวงแก้ว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    [​IMG]
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message --><TABLE bgColor=#ccff66><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]
    [​IMG]
    หลวงปู่ขาว กับ ในหลวงฯ</TD><TD vAlign=top>หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี

    ....ให้มีสติคุมดวงจิต สัตว์นรกก็แม่นจิต สัตว์อเวจีก้แม่นจิต พระอินทร์ พระพรหมก็แม่นจิต ที่เข้าพระนิพพานก็แม่นจิต ไม่ใช่ใคร จิตไม่มีตัวมีตน จิตเหมือนลิงนี่แหละ แล้วแต่มันจะไป บังคับบัญชามมันไม่ได้ แล้วแต่มันจะปรุงแต่ง บอกไม่ได้ไหว้ไม่ฟัง เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าให้วางมันเสีย อย่าไปยึดถือมัน ก็จิตนั่นแหละมันถือว่าตัวกู อยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี เราถือว่าเราเป็นผู้ชาย เราเป็นผู้หญิง ก็แม่นจิตนั้นแหละ เป็นผู้ว่า มันไม่มีตนมีตัวดอก แล้วพระพุทธเจ้าว่าให้วางเสียให้ดับวิญญาณเสีย ครั้นดับวิญญาณแล้ว ไม่ไปก่อภพก่อชาติอีก ก็นั่นแหละพระนิพพาน พระพุทธเจ้าบอกอย่างนั้น มันไม่อยู่ที่อื่น นรกมันก็อยู่นี่ พระนิพพานก็อยู่นี่ อย่าไปค้นที่อื่น อย่าไปพิจารณาที่อื่นให้ค้นที่สกนธ์กายของตน ให้มันเห็นอสุภะ อสุภังให้เห็นเป็นของปฏิกูล ให้เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายมันนั่นแหละ แต่กี้มันห็นว่าเป้นของสวยของงามก็ดี ดวงจิตนั้นมีมีสติควบคุม มีสัมปชัญญะค้นหาเหตุผล ใครครวญอยู่มันเลยรู้เห็นว่า อัตภาพร่างกายนี้เป็นของปฏิกูลของเน่าเปือยผุพัง แล้วมันจะเกิดนิพพทาความเบื่อหน่าย จิตนั้นแหละเบื่อหน่าย จิตเบื่อหน่าย จิตไม่ยึดมั่นแล้วเรียนว่าจิตหลุดพ้น ถึงวิมุติ วิมุตติคือความหลุดพ้นจากความยึดถือ หลุดพ้นจาอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น พ้นจากภพจากชาติ ตั้งใจทำเอา ......

    (หากท่านใดทราบชื่อหนังสื และหน้า ของคำกล่าวของหลวงปู่ท่อนนี้ กรุณาแจ้งให้ทราบด้วย)

    <CENTER>[​IMG]
    พระธาตุหลวงปู่ขาว อนาลโย</CENTER>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE bgColor=#ffffff><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม

    .... เมื่อเป็นพระเจ้าแผ่นดินโลกุตตรมนุษย์ ได้เป็นพระอรหันต์เข้าพระนิพพานแล้ว พระนิพพานก็ยังมีอยู่ ไม่เสื่อมสูญ พระพุทธเจ้าเข้าพระนิพพานก็มีอยู่ในพระนิพพาน นั้นแล

    พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร พระอนุรุทธ พระอานนท์ เข้านิพพาน ก็มีอยู่พระนิพพานนั้นแล นางภิกษุณีทั้งหลายได้บวชกาย วาจา ใจ ใจก็เป็นพระนิพาน แล้วเข้าพระนิพพานได้ด้วย เหมือนพระจันทร์ พระจันทร์ไม่มีวันแก่ พระจันทร์ไม่มีวันเจ็บ พระจันทร์ไม่มีวันร้อนวันหนาว ดาวไม่มีเกิดไม่มีตาย

    คนเรานี้มันเป็นบ้าเป็นบอ คอยาว ตาขาว ลิ้นยาว ใช้ไม่ได้ ส่วนพระธรรมคำสั่งสอนเกิดจากหัวใจของพระพุทธเจ้า เกิดากหัวใจของพระอรหันต์ทั้งหลาย ทำไมพวกเราทั้งหลายและพวกท่านทั้งหลายจึงไม่รู้ เราจึงไม่เห็น ถ้าเราเป็นพระอรหันต์ เป็นพระโสดาบัน เป็นพระอนาคาเมื่อใด ก็เมื่อนั้นแหละ จึงจะเห็นจะรู้ที่อยู่พระพุทธเจ้า ที่อยู่ของพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย......

    อาจารีธัมโมทยาน พศ.๒๕๓๖ หน้า 127 หอรัตนชัยการพิพม์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE bgColor=#ffcc00><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อ.อุทัย อยุธยา

    ....พระนิพพานอุปมาขนาดเท่าเส้นผม ผู้ที่จะผ่านพ้นในขั้นสุดท้ายไปได้หรอืไม่ได้อยู่เพียงนิดเดียวในการทำจิตตัดจุดนี้ได้หรือไม่เท่านั้น พระพุทธเจ้าตอนที่ท่านจะปรินิพพาน ท่านได้ปรินิพพานไประหว่างรูปฌานและอรูปฌาน ผู้ที่ดับขันธ์ในระหว่างทรงรูปฌานย่อมได้เป็นรูปพรหมซึ่งยังไม่วิมุติหลุดพ้น ผู้ที่ดับขันธ์ในขณะทางอรูปฌาน ย่อมได้เป็นอรูปพรหม ซึ่งก็ยังเป็นสมมติอยู่เช่นกัน ส่วนพระพุทธเจ้าท่านดับขันธ์ระหว่างช่วงทั้งสอง เป็นการดับขันธ์ด้วยความบริสุทธิ์เหนือสมมติโดยสิ้นเชิง ไม่ติดอยู่ในรูปฌานและอรูปฌาน ซึ่งเป็นวิปัสนูกิเลสทั้งสองอย่าง พระอรหันต์บางประเภที่ไม่สามารถเจิรญอรูปสมาบัติ ท่านก็ดับขันธ์ไปด้วยความบริสุทธิ์เช่นกัน แม้อยู่ก็อยู่ด้วยจิตที่บริสุทธิ์ ไม่ติดในสมมติใดๆ เพราะความชำนาญในด้านสมาธิของพระอรหันต์แต่ละประเภทไม่เท่ากัน>......

    เพิ่มเติมที่ หนังสือไตรรัตน์ หน้า 51
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE bgColor=#ffcccc><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]
    [​IMG]</TD><TD vAlign=top>พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์)
    ท่านเจ้าคุณธมฺมวิตกฺโก ภิกขุ วัดเทพศิรินทร์ กทม.


    .....(พูดกับคุณโกศล ปัทมะสุนทร) โกศล ตายแล้วก็สามารถช่วยคนได้ดีกว่าอยู่อีกนะ ขอเพียงแต่เราอธิษฐานจิตถึงกันและกัน กระแสจิตเปรียบเหมือนเครื่องส่งวิทยุนะ ถ้าจูนเครื่องตรงกัน ก็สามารถติดต่อกันได้ ถ้าเครื่องส่งมีกำลังส่งมากเพียงไร แต่ถ้าเครื่องรับไม่จูนเครื่องให้ตรงกันก็ไม่สามารถรับได้ .....

    .....ร่างกายเป็นรังของโรค ต้องป่วยเจ็บอยู่เสมอเป็นธรรมดา เป็นเรื่องของการเกิดแก่เจ็บตาย อย่าเศร้าหมองตาการเจ็บป่วยนั้น ทำใจให้ปรอดโปร่ง และให้นึกเสมอว่าการเจ็บการตายไม่แน่นอน จะมาถึงเมื่อใดก็ได้อย่าประมาท อย่ารั้งรอตอ่การทำความดี ในขณะที่ยังมีโอกาสทำความดี จะได้ไม่ต้องเสียใจแม้ความตายจะมาถึงในวินาทีใดก็ตาม .....(แล้วท่านเจ้าคุณก็มักจะกล่าวกลอนนี้เสมอ)

    ถึงกายแพ้แต่ใจเราไม่แพ้
    ใจไม่แก่เจ็บตายตามกายหนา
    กายนี้มันจะเน่าเราก็ลา
    ไปสวรรค์ชั้นฟ้านิพพานเอย..
    .


    ท่านเจ้าคุณเป็นโรคมะเร็งที่ลำคอ จนมีขนาดดังรูป โดยท่านไม่เคยแสดงอาการเจ็บปวดให้ผู้ใดเห็น แม้พระราชิณีทรงประสงค์จะส่งหมอมารักษา ท่านก็ได้ปฏิเสธพระองค์ และมีแพทย์หลายท่านประสงค์ที่จะมาทำการรักษา ท่านก็บอกว่าปล่อยให้มะเร็งมันตายไปกับท่าน ภาพถ่ายนี้ถ่ายตอนนายแพทย์มาทำความสะอาดแผลมะเร็งที่แตกแล้ว โดยท่านเจ้าคุณบอกให้ถ่ายไว้

    เพิ่มเติมที่ หนังสือตามรอย ธมฺมวิตกฺโก พระอรหันต์กลางกรุง ธค.2546 หจก. ป.สัมพันธ์พาณิชย์ ISBN 974-91833-8-X
    </TD><TD vAlign=top>[​IMG]
    [​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]

    [​IMG]
    องค์หลวงตา กับ ในหลวง

    ดวงจิตนี้ไม่เคยสูญ แดนพระนิพพานมีจริง

    หลวงปู่มั่น ท่านเล่าว่า พระพุทธเจ้าหลายพระองค์ พร้อมด้วยพระสาวก เสด็จมาเยี่ยมท่าน
    </TD><TD vAlign=top>หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    .... นรกมี สวรรค์มี พรหมโลก นิพพานมี พระพุทธเจ้าของเราทรงยืนยันจิตวิญญาณคือใจของคนของสัตว์นี้มีมาดั้งเดิม ตั้งแต่กาลไหนๆ ไม่มีต้นไม่มีปลาย จิตดวงที่ไม่ตายนี้แล ไม่เคยฉิบหาย ไม่เคยสูญ........

    ดูเพิ่มเติมที่ [ตายแล้วย้อนกลับมาบ้านเรือน]

    จากนั้นบุญกุศลทั้งหลายที่เราสร้างอยู่ไม่หยุดไม่ถอย เพิ่มพูนขึ้นเป็นลำดับลำดาเลยสวรรค์ไป เลยพรหมโลกไป จนกระทั่งถึงนิพพาน ดับทุกข์โดยประการทั้งปวงโดยสิ้นเชิงตลอดไป ไม่มีคำว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา จะเข้าไปเกี่ยวข้องในเมืองนิพพานนั้นได้เลย เรียกว่าเมืองนิพพานก็ได้ มหาวิมุตติ มหานิพพาน หรือธรรมธาตุก็ได้ นี่เรียกว่าสถานที่ดับทุกข์โดยประการทั้งปวง จากความดีของเราที่ได้สร้างมามากน้อย ท่านจึงได้สอนไว้ พระพุทธเจ้าท่านทรงนิพพาน ทุกสิ่งทุกอย่างทรงผ่านไปหมดแล้ว การขึ้นลงสวรรค์ชั้นพรหมไม่มีใครเกินโพธิสัตว์ ที่ได้สร้างคุณงามความดีแล้วก็ไปเกิดในสวรรค์ชั้นนั้นๆ ควรแก่กาลเวลาแล้วก็ลงมาสร้างบารมี

    กฎอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปอย่างโลกทั่วๆ ไปอย่างนี้ ไม่มีในนิพพาน นิพพานสิ้นสุดยุติตั้งแต่ขณะท่านตรัสรู้ปึ๋งขึ้นมา พระอรหันต์ก็บรรลุธรรมปึ๋งขึ้นมา ทราบทันทีเลยว่าพ้นแล้วจากแดนแปรปรวน แดน ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา ถึงแล้วซึ่งพระนิพพาน เรียกว่าเมืองเที่ยงตรง เที่ยงไปตลอดอนันตกาล ไม่มีคำที่ว่าจะโยกย้ายผันแปรไปไหนอีกเลย แม้ขณะหนึ่งก็ไม่มีในแดนนิพพาน จึงเรียกว่าเป็นแดนแห่งความเลิศเลอของท่านผู้บรรลุธรรมอันเลิศเลอแล้วสถิตอยู่ในสถานที่นั้น ผู้อื่นผู้ใดไม่สามารถจะไปอยู่ในสถานที่นั้นได้ นอกจากผู้สิ้นกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้วเท่านั้น นี่ก็คือการสร้างบุญสร้างกุศล

    สำหรับเราพอทุกอย่าง เอาอะไรมาให้ก็ไม่เอา ปล่อยวางหมด เช่นทองคำทั้งแท่งกับอิฐก้อนหนึ่ง ราคาทองคำทั้งแท่งสูง อิฐก้อนหนึ่งราคาต่ำแต่มันมีน้ำหนักเท่ากัน เมื่อมีน้ำหนักเท่ากัน น้ำหนักนั้นแหละจะเป็นกองทุกข์แก่ผู้แบกหาม ปล่อยเสียทั้งหมด ทองคำก็ไม่เอา อิฐ-ปูนก็ไม่เอา ปล่อยแล้วไม่หนัก นี้ละธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ได้เข้าในหัวใจดวงใดแล้วปล่อยหมดโดยสิ้นเชิง มีแต่ความพอแล้วด้วยความเลิศเลอ ไม่ใช่พอธรรมดาอย่างโลกทั้งหลายพอกัน พอในธรรมทั้งหลายนี้พอด้วยความเลิศความเลอ ถ้าว่าสุขก็ไม่มีสุขใดเสมอเหมือน ว่าเลิศเลอก็หาอะไรไปเทียบไม่ได้ เพราะนั้นเป็นแดนวิมุตติ ไม่ใช่สมมุติพอจะมาเทียบมาเคียงตามสัดตามส่วนได้ นี่ละท่านว่าแดนแห่งความเลิศเลอ

    เทศน์อบรมพระสงฆ์และฆราวาส ณ ศาลาใหญ่วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๖ [บ่าย]
    ดูเพิ่มเติมที่ [เอาธรรมจักรเข้าไปผันหัวกิเลส]


    ใจนี้ไม่เคยตาย ตั้งกัปตั้งกัลป์ก็เป็นมาอย่างนี้ แม้จะไปตกนรกตั้งกี่กัปกี่กัลป์ก็ตาม การที่ว่าได้รับความทุกข์ในแดนนรกแต่ละหลุม ๆ นั้นยอมรับ ส่วนที่จะให้ใจนี้ฉิบหายไม่มี ทุกข์ขนาดไหนก็ยอมรับว่าทุกข์ แต่ไม่เคยฉิบหายคือใจดวงนี้ เวลาชำระสะสางแล้วด้วยอำนาจแห่งคุณงามความดีของเรา ก็ค่อยสงบผ่องใสได้บริสุทธิ์ขึ้นไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงขั้นความบริสุทธิ์เต็มที่แล้ว ดังพระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์ทั้งหลาย ท่านถึงนิพพานเลย นั่น ถึงนิพพานก็ไม่สิ้นสูญ ใจดวงนี้ไม่มีคำว่าสูญ ตกนรกก็ไม่สูญใจดวงนี้ จนกระทั่งบริสุทธิ์เต็มที่แล้วไปถึงนิพพานก็ไม่สูญ นี่แหละท่านว่านิพพานเที่ยง ก็คือจิตดวงที่ไม่สูญนี้แหละเป็นผู้บริสุทธิ์เต็มที่แล้ว เรียกว่าธรรมธาตุ อยู่ในแดนแห่งนิพพาน นี่แหละเป็นผู้เสวยความบรมสุขตลอดไป ท่านจึงเรียกว่านิพพานเที่ยง ๆ ก็เพราะจิตดวงนี้ไม่ตาย มีความเที่ยงตรงอยู่ด้วยบรมสุขตลอดไป นี่คือการสร้างความดีให้ผลแก่เราอย่างนี้ ให้พากันอุตส่าห์พยายามสร้างคุณงามความดี

    เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดเขาน้อยสามผาน จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๖ (บ่าย)
    ดูเพิ่มเติมที่ ความสุขอันแท้จริง

    นี่ละตัวพาให้เกิด ก็รู้ได้ชัดละซิ ทีนี้จะเอาอะไรไปเกิด เอ้า เห็นกันอยู่รู้กันอยู่ ตัวนี้จะไปเกิดที่ไหนที่นี่ เอ้า เกิดที่ไหนล่ะ อะไรพาให้เกิด ก็สิ่งที่ดับไปตะกี้นี้พาให้เกิด นั่นมันรู้ชัดขนาดนั้นนะ ทีนี้ไม่เกิดแล้วจะดับไหมจิตดวงนี้ จะเอาอะไรมาดับ นั่น ไม่เกิดด้วยไม่ดับด้วย ไม่มีคำว่าว่ามีอยู่แบบโลกด้วย ไม่สูญแบบโลกด้วย มีอยู่แบบความบริสุทธิ์ ถ้าว่าสูญก็สูญแบบความบริสุทธิ์ เหมือนอย่างที่ว่านิพพาน มีอยู่แบบนิพพาน สูญแบบนิพพาน ไม่ได้สูญแบบโลกสงสาร

    เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘
    ดูเพิ่มเติมที่ ความมุ่งมั่นของนักรบ


    ก็กิเลสมันไม่เคยเห็นมรรคผลนิพพาน เกิดมาเต็มอยู่ในหัวใจของสัตว์นับแต่โคตรแต่แซ่ของมันลงมา มันจะเอามรรคผลนิพพานมาอวดสัตว์โลกอย่างไร เพราะคำว่ามรรคผลนิพพานก็คือแดนสุดวิสัยของมันแล้ว มันเอื้อมไม่ถึง จิตดวงใดถ้าได้เข้าสู่แดนนิพพานแล้ว กิเลสประเภทต่าง ๆ เรียกว่ากิเลสมารสุดเอื้อมหมดหวัง หมดอาลัยตายอยากแล้ว มันจะอุตริไปสอนจิตดวงใดโลกใดสัตว์ตัวใดให้ไปสู่สวรรค์นิพพานเล่า นอกจากมันจะกว้านเข้ามาเพื่อผลรายได้ของมันโดยอุบายต่าง ๆ เท่านั้น เช่น บาปไม่มี บุญไม่มี นรกไม่มี สวรรค์ไม่มี นิพพานไม่มี นี่เป็นอุบายที่จะให้เกิดผลรายได้แก่มันโดยถ่ายเดียวเท่านั้น

    เพราะฉะนั้นหลักความจริงแล้วจึงไม่มีคำว่า พระพุทธเจ้านิพพานไปนานแสนนาน เป็นการตัดขาดจากมรรคผลนิพพาน ที่ทรงแสดงไว้แล้วโดยถูกต้องตามหลักสวากขาตธรรม การนิพพานเป็นเรื่องของพระองค์เท่านั้น และการนิพพานไปก็ไม่ใช่เป็นการขาดทุนสูญดอก สำหรับพระพุทธเจ้าเป็นการเปลี่ยนสภาพในทางธาตุทางขันธ์อันเป็นสมมุติเข้าสู่ตามสมมุติเดิมของตน โดยหมดความเยื่อใยตายอยาก ไม่ยึดมั่นถือมั่น โดยจิตที่บริสุทธิ์ล้วน ๆ แล้วเท่านั้น จิตที่บริสุทธิ์ล้วน ๆ แล้วอะไรไปเป็นข้าศึกไปทำลายให้พินาศฉิบหายได้ แม้แต่กิเลสก็ไม่สามารถ ไม่มีอำนาจวาสนาที่จะไปทำลายจิตที่บริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้าให้สูญให้อันตรธานไปได้ แล้วนิพพานจะสูญไปไหน จิตผู้บริสุทธิ์จะสูญไปได้อย่างไร เพราะธรรมชาตินี้นอกเหนือไปจากสมมุติทั้งมวลแล้ว จึงไม่มีอะไรที่จะเข้าไปทำลายจิตที่บริสุทธิ์แล้วให้สูญไปได้ ให้ฉิบหายไปได้

    เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๗ เพิ่มเติมที่ ความหวังของชาวพุทธ

    พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จอนุโมทนา พระอาจารย์มั่น

    หลังจากท่านเดินทางถึงแดนแห่งวิมุตติแล้ว คืนต่อ ๆ มามีพระพุทธเจ้าพร้อมพระสาวกจำนวนมากเสด็จมาอนุโมทนาวิมุตติธรรมกับท่านเสมอมิได้ขาด
     
  10. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE width="100%" bgColor=#ffffcc><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>หลวงปู่ลี ธมมฺโร วัดอโศการาม จ.สมุทธปราการ

    .... โลกมนุษย์มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย โลกของเทวดานันมีเกิดกับตาย ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ โลกนิพพาน ไม่มีทั้งเกิด ไม่มีทั้งตาย......
    .... กายเป็นของสูญ เปื่อยเน่า จิต เป็นของไม่สูญ ไม่ตาย ......
    .... จิตที่ดับจากกาย ย่อมหายไป เหมือนกับไฟที่ดับจากเทียน ไม่มีรูปร่างลักษณะให้ตาเนื้อของเราแลเห็น แต่ไฟนั้นก็มิได้สูญหายไปจากโลก......

    ดูเพิ่มเติมที่ ธัมมธโรวาท ใน หนังสือ ธรรมโอวาท ๙ หลวงปู่อริยสงฆ์ โดย ธรรมสภา ชมรมนักเรียนเก่าแอล เอส อี 2535

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%" bgColor=#ffcc00><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]
    หลวงปู่ฝั้น กับในหลวง
    </TD><TD vAlign=top>หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

    .... ความสุขใด เสมอจิตสงบไม่มี......
    .... จุติแปลว่าความเคลื่อน ภาษาเราว่าตาย แท้ที่จริงนั้นจิตวิญญาณมันไม่ใช่ของแตกของทำลาย แลไม่ใช่ของสูญหาย......
    .... ผู้รู้ ไม่ใช่ของแตก ของทำลาย ของตาย ของดับ......
    ..... เมื่อเราพิจารณาเห็นควมจริง แจ้งประจักษ์ อย่างนี้แล้วจิตมันก็เลยละได้ เมื่อจิตละได้แล้ว มันก็วางจากรูป วางจากรูปมันก็ถึงอรูปภพ อรูปภพคือเป็นอย่างไร คือจิตว่างหมดไม่มีอะไร แต่เหลือผู้รู้ ความรู้นี้แหละ เป็นของสำคัญที่เรียกว่า "พุทธ" คือผู้รู้......
    .... พระพุทธเจ้าสอนให้จิตมันเที่ยง เหมือนพระนิพพานเป็นของเที่ยง ไม่แปรผัน ยักย้าย ไม่มีอะไรทั้งนี้เราไม่เที่ยง เราถึงเป็นยังงี้ สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็ฯทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นก็ไม่ใช่ ตัวตน ท่านจึงสอนให้ทำจิตให้มันเที่ยง......

    ดูเพิ่มเติมที่ อาจารโรวาท ใน หนังสือ ธรรมโอวาท ๙ หลวงปู่อริยสงฆ์ โดย ธรรมสภา ชมรมนักเรียนเก่าแอล เอส อี 2535

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%" bgColor=#ffffcc><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

    .... พระนิพพานมิใช่ผู้รู้ เหนือผู้รู้ไปจนไม่มีที่หมาย พระนิพพานเหนือผู้รู้ไป จนไม่มีที่หมาย ถ้าหมายอยู่ก็พอเหมือนๆ นี่เอง ก็พอหมุนๆ นี่เอง มีปัญหาว่าถ้าอย่างนั้นก็สูญสิ แต่สูญในพระนิพพานมีขอบเขต สูญจากกิเลสเท่านั้น รสของพระนิพพานมีอยู่ ใครเป็นผู้ดื่มรสพระนิพพาน ก็พระนิพพานเท่านั้น จะได้รับรสพระนิพพาน ไม่เป็นหน้าที่ของสังขารจะไปก้าวก่าย พระนิพพานเป็นอนัตตาหรือไม่ พระนิพพานไม่ได้อยู่ในวงแขนของท่านผู้ใดโดยถ่ายเดียว เป็นของกลางอยู่อย่างนั้น ไม่เกิดไม่ดับไปไหน เป็นอนัตตาธรรม ที่ไม่เกิดไม่ดับไปไหน ไม่มีใครใส่ชื่อล้อนามให้ก็ตาม ก็เป็นจริงทางไม่เกิด ไม่ดับอยู่อย่างนั้น เราจะเอาพระนิพพานมาเป็นอนัตตา เหมือนขันธ์ ๕ และกิเลสทั้งหลายมันก็ไม่ถูก เรียกว่าแยกอนัตตาธรรมไม่ถูก เช่นผู้รู้ดังนี้ จะเอาผู้รู้พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเทียบกับพระปัจเจกๆ มาเที่ยบกับสาวก สาวิกา อรหันต์ก็เรียนกว่ายกตนเทียมท่าน สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ ชาวพุทธจะรู้เท่านั้น ......

    (หากท่านใดทราบชื่อหนังสือและหน้า ของคำสอนของหลวงปู่ โปรดช่วยระบุด้วยคับ)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top><IMGSRC=HTTP: target="_blank" href="http://www.asoke.info" < TD><TD vAlign=top>พระนาคเสน มหาเถระ พระอรหันต์สมัยพุทธปรินิพพานไป ๕๐๐ ปี ผู้ตอบปัญหาพระเจ้ามิลินทราชา

    ......ผู้ที่ยังไม่ได้นิพพานก็รู้ว่านิพพานเป็นสุข เพราะได้ยินเสียงพวกได้นิพพาน.....
    ..... พระพุทธเจ้ามีจริง แต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ด้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเปลวไฟที่ดับแล้วก็ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น........
    ..... นิพพานมีอยู่จริง แต่ว่าไม่มีใครอาจแสดงให้เห็ฯได้ว่า นิพพานมีสี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น อย่างไร เปรียบเหมือน ลม ที่มีอยู่จริง แต่ก็ไม่มีใครสามารถ แสดงลมให้เห็นด้วย สี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น ได้
    ...... นิพพานเป็นของไม่ควรกล่าวว่าเกิดขึ้นแล้ว หรือยังไม่เกิด จักต้องเกิด ไม่ควรกล่าวว่าเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ไม่ควรกล่าวว่า เป็นของต้องเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู รู้ด้วยจมูก ลิ้นกาย อย่างใดเลย.........
    ......นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้วย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบประณีต อันเที่ยงตรง ไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส ....
    ...... นิพพานไม่มีของเปรียบ ไม่อาจชี้รูป หรือสัณฐาน วัย ประมาณ แห่งนิพพานได้ด้วยอุปมา หรือด้วยเหตุ หรือด้วยปัจจัย หรือด้วยนัย .....
    ...... นิพพานธาตุ อันสงบ อันเป็นสุข อันประณีตนั้นมีอยู่ ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อพิจารณาสังขารตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็กระทำให้แจ้งนิพพานธาตุด้วยปัญญา.....
    ...... ที่ตั้งของนิพพานไม่มี นิพพานไม่ได้ตั้งอยู่ในทิศใด แต่นิพพานมี ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อเห็นความตั้งขึ้นและเสื่อมไปของสังขารทั้งหลายด้วยโยนิโสมนสิการแล้ว ก็กระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดังเช่น ไฟมีอยู่ แต่ที่ตั้งแห่งไฟไม่มี เมื่อบุคคลเอาไม้มาสีกันเข้าก็ได้ไฟฉันใด .....


    ดูเพิ่มเติมที่ หนังสือมิลินทปัญหา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <BGSOUND balance=0 src="http://watthummuangna.com/Audioindex.wma" volume=0 loop=infinite><!-- / message --><!-- sig -->
    __________________
    [​IMG]

    ผู้ปฏิบัติต้องหมั่นตามดูจิต รักษาจิต
     
  11. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE bgColor=#ccff66><TBODY><TR><TD vAlign=top width=170>[​IMG]

    สรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญอันตรธานไปไหน ยังปรากฏอยู่แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงอยู่เสมอ ผู้ใดยึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่า หรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้งสามก็ปรากฏแก่เราอยู่ทุกเมื่อ

    [​IMG]
    พระอัฐิธาตุหลวงปู่มั่น
    <TD width=10></TD><TD vAlign=top>พระเดชพระคุณพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ

    ๑๓. วิสุทธิเทวาเท่านั้นเป็นสันตบุคคลแท้
    อกุปฺปํ สพฺพธมฺเมสุ เญยฺยธมฺมา ปเวสฺสนฺโต บุคคลผู้มีจิตไม่กำเริบในกิเลสทั้งปวง รู้ธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นพหิทธาธรรม ทั้งที่เป็น อัชฌัตติกาธรรม สนฺโต จึงเป็นผู้สงบระงับ สันตบุคคลเช่นนี้แลที่จะบริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ มีธรรมบริสุทธิ์สะอาด มีใจมั่นคงเป็นสัตบุรุษผู้ทรงเทวธรรมตามความในพระคาถาว่า หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา สุกฺกธมฺมสมาหิตา สนฺโต สปฺปุริสา โลเก เทวธมฺมาติ วุจฺจเร อุปัตติเทวา ผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ วุ่นวายอยู่ด้วยกิเลส เหตุไฉนจึงจะเป็นสันตบุคคลได้ ความในพระคาถานี้ย่อมต้องหมายถึง วิสุทธิเทวา คือพระอรหันต์แน่นอน ท่านผู้เช่นนั้นเป็นสันตบุคคลแท้ สมควรจะเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ และ สุกฺกธรรม คือ ความบริสุทธิ์แท้

    ๑๔. อกิริยาเป็นที่สุดในโลก - สุดสมมติบัญญัติ
    สจฺจานํ จตุโร ปทา ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา สัจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ยังเป็นกิริยา เพราะแต่ละสัจจะๆ ย่อมมีอาการต้องทำคือ ทุกข์-ต้องกำหนดรู้ สมุทัย-ต้องละ นิโรธ-ต้องทำให้แจ้ง มรรค-ต้องเจริญให้มาก ดังนี้ล้วนเป็นอาการที่จะต้องทำทั้งหมด ถ้าเป็นอาการที่จะต้องทำ ก็ต้องเป็นกิริยาเพราะเหตุนั้นจึงรวมความได้ว่าสัจจะทั้ง ๔ เป็นกิริยา จึงสมกับบาทคาถาข้างต้นนั้น ความว่าสัจจะทั้ง ๔ เป็นเท้าหรือเป็นเครื่องเหยียบก้าวขึ้นไป หรือก้าวขึ้นไป ๔ พักจึงจะเสร็จกิจ ต่อจากนั้นไปจึงเรียกว่า อกิริยา อุปมา ดังเขียนเลข ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐ แล้วลบ ๑ ถึง ๙ ทิ้งเสีย เหลือแต่ ๐ (ศูนย์) ไม่เขียนอีกต่อไป คงอ่านว่า ศูนย์ แต่ไม่มีค่าอะไรเลย จะนำไปบวกลบคูณหารกับเลขจำนวนใดๆ ไม่ได้ทั้งสิ้น แต่จะปฏิเสธว่าไม่มีหาได้ไม่ เพราะปรากฏอยู่ว่า ๐ (ศูนย์) นี่แหละ คือปัญญารอบรู้ เพราะลายกิริยา คือ ความสมมติ หรือว่าลบสมมติลงเสียจนหมดสิ้น ไม่เข้าไปยึดถือสมมติทั้งหลาย คำว่าลบ คือทำลายกิริยา กล่าวคือ ความสมมติ มีปัญหาสอดขึ้นมาว่า เมื่อทำลายสมมติหมดแล้วจะไปอยู่ที่ไหน? แก้ว่า ไปอยู่ในที่ไม่สมมติ คือ อกิริยา นั่นเอง เนื้อความตอนนี้เป็นการอธิบายตามอาการของความจริง ซึ่งประจักษ์แก่ผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ อันผู้ไม่ปฏิบัติหาอาจรู้ได้ไม่ ต่อเมื่อไรฟังแล้วทำตามจนรู้เองเห็นเองนั่นแลจึงจะเข้าใจได้ ความแห่ง ๒ บาทคาถาต่อไปว่า พระขีณาสวเจ้าทั้งหลายดับโลกสามรุ่งโรจน์อยู่ คือทำการพิจารณาบำเพ็ยเพียรเป็น ภาวิโต พหุลีกโต คือทำให้มาก เจริญให้มาก จนจิตมีกำลังสามารถพิจารณาสมมติทั้งหลายทำลายสมมติทั้งหลายลงไปได้จนเป็นอกิริยาก็ย่อมดับโลกสามได้ การดับโลกสามนั้น ท่านขีณาสวเจ้าทั้งหลายมิได้เหาะขึ้นไปนกามโลก รูปโลก อรูปโลกเลยทีเดียว คงอยู่กับที่นั่นเอง แม้พระบรมศาสดาของเราก็เช่นเดียวกัน พระองค์ประทับนั่งอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์แห่งเดียวกัน เมื่อจะดับโลกสาม ก็มิได้เหาะขึ้นไปในโลกสาม คงดับอยู่ที่จิต ทิ่จิตนั้นเองเป็นโลกสาม ฉะนั้น ท่านผู้ต้องการดับโลกสาม พึงดับที่จิตของตนๆ จึงทำลายกิริยา คือตัวสมมติหมดสิ้นจากจิต
    ยังเหลือแต่อกิริยา เป็นฐีติจิต ฐีติธรรมอันไม่รู้จักตาย ฉะนี้แล

    ๑๕. สัตตาวาส ๙
    เทวาพิภพ มนุสสโลก อบายโลก จัดเป็นกามโลก ที่อยู่อาศัยของสัตว์เสพกามรวมเป็น ๑ รูปโลก ที่อยู่อาศัยของสัตว์ผู้สำเร็จรูปฌานมี ๔ อรูปโลก ที่อยู่อาศัยของสัตว์ผู้สำเร็จอรูปฌานมี ๔ รวมทั้งสิ้น ๙ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ผู้มารู้เท่าสัตตาวาส ๙ กล่าวคือ พระขีณาสวเจ้าทั้งหลาย ย่อมจากที่อยู่ของสัตว์ ไม่ต้องอยู่ในที่ ๙ แห่งนี้ และปรากฏในสามเณรปัญหาข้อสุดท้ายว่า ทส นาม กึ อะไรชื่อว่า ๑๐ แก้ว่า ทสหงฺ เคหิ สมนฺนาคโต พระขีณาสวเจ้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ย่อมพ้นจากสัตตาวาส ๙ ความข้อนี้คงเปรียบได้กับการเขียนเลข ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐ นั่นเอง ๑ ถึง ๙ เป็นจำนวนที่นับได้ อ่านได้ บวกลบคูณหารกันได้ ส่วน ๑๐ ก็คือ เลข ๑ กับ ๐ (ศูนย์) เราจะเอา ๐ (ศูนย์) ไปบวกลบคูณหารกับเลขจำนวนใดๆ ก็ไม่ทำให้เลขจำนวนนั้นมีค่าสูงขึ้น และ ๐ (ศูนย์) นี้เมื่ออยู่โดยลำพังก็ไม่มีค่าอะไร แต่จะว่าไม่มีก็ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งปรากฏอยู่ ความเปรียบนี้ฉันใด จิตใจก็ฉันนั้นเป็นธรรมชาติ มีลักษณะเหมือน ๐ (ศูนย์) เมื่อนำไปต่อเข้ากับเลขตัวใด ย่อมทำให้เลขตัวนั้นเพิ่มค่าขึ้นอีกมาก เช่น เลข ๑ เมื่อเอาศูนย์ต่อเข้า ก็กลายเป็น ๑๐ (สิบ) จิตใจเรานี้ก็เหมือนกัน เมื่อต่อเข้ากับสิ่งทั้งหลายก็เป็นของวิจิตรพิสดารมากมายขึ้นทันที แต่เมื่อได้รับการฝึกฝนอบรมจนฉลาดรอบรู้สรรพเญยฺยธรรมแล้วย่อมกลับคืนสู่สภาพ ๐ (ศูนย์) คือ ว่างโปร่งพ้นจากการนับการอ่านแล้ว มิได้อยู่ในที่ ๙ แห่งอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ แต่อยู่ในที่หมดสมมติบัญญัติคือ สภาพ ๐ (ศูนย์) หรืออกิริยาดังกล่าวในข้อ ๑๔ นั่นเอง

    ดูเพิ่มเติมที่หนังสือมุตโตทัย
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- / message --><!-- sig -->
    __________________
    [​IMG]

    ผู้ปฏิบัติต้องหมั่นตามดูจิต รักษาจิต
     
  12. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=heading vAlign=top width=476>มงคลที่ ๒ : การคบบัณฑิต

    [​IMG]
    มงคล 38 ประการ


    </TD><TD width=21> </TD></TR><TR><TD height=30></TD><TD vAlign=top>บัณฑิต หมายถึงผู้ทรงความรู้ มีปัญญา มีจิตใจที่งาม และมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้ดีรู้ชั่ว (ไม่ใช่คนที่จบปริญญาโดยนัย) มีลักษณะดังนี้คือ
    ๑. เป็นคนคิดดี คือการไม่คิดละโมบ ไม่พยาบาทปองร้ายใคร รู้จักให้อภัย เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความกตัญญูรู้คุณเป็นต้น
    ๒. เป็นคนพูดดี คือวจีสุจริต พูดจริง ทำจริงไม่โกหก ไม่พูดหยาบ ถากถาง นินทาว่าร้าย
    ๓. เป็นคนทำดี คือทำอาชีพสุจริต มีเมตตา ทำทานเป็นปกตินิสัย อยู่ในศีลธรรม ทำสมาธิภาวนา
    รูปแบบของบัณฑิต มีข้อควรสังเกตุคือ
    ๑. ชอบชักนำในทางที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการชักนำให้เลิกทำในสิ่งที่ผิด ตักเตือนให้ทำความดีอย่างเช่น ให้เลิกเล่นการพนันเป็นต้น
    ๒. ชอบทำในสิ่งที่เป็นธุระ อาทิเช่นการทำหน้าที่ของตนให้ลุล่วง และใช้เวลาที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ไม่ก้าวก่ายเรื่องของผู้อื่นเว้นแต่จะได้รับการร้องขอ
    ๓. ชอบทำและแนะนำสิ่งที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการพูดและทำอย่างตรงไปตรงมา แนะนำการทำทานที่ถูกต้อง ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น
    ๔. รับฟังดี ไม่โกรธ อาทิเช่นเมื่อมีคนมาว่ากล่าวก็ไม่ถือโทษ หรือโกรธ หรือทำอวดดี แต่จะรับฟังแล้วนำไปพิจารณาโดยยุติธรรม แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุง
    ๕. รู้ระเบียบ กฏกติกามรรยาทที่ดี อาทิเช่นการรักษาระเบียบวินัยขององค์กร เพื่อให้หมู่คณะมีความเป็นระเบียบ และการดำเนินงานไม่สับสน หรือการรักษาความสะอาด ปฏิบัติ และเคารพกฏของสถานที่ ไม่ทำตามอำเภอใจ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=heading vAlign=top width=476> มงคลที่ ๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

    [​IMG]
    มงคล 38 ประการ
    </TD><TD width=21> </TD></TR><TR><TD height=30></TD><TD vAlign=top>การบูชา คือการแสดงความเคารพบุคคลที่เรานับถือ ยกย่อง เลื่อมใสในบุคคลคนนั้น ซึ่งการบูชาแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ
    ๑. อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของเช่น การนำเงินให้พ่อแม่ไว้ใช้จ่าย หรือมอบทรัพย์สินให้พ่อแม่ หรือการนำดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชาพระก็ถือเป็นอามิสบูชาเป้นต้น
    ๒.ปฏิบัติบูชา คือการบูชาด้วยการเจริญสมาธิภาวนา การฝึกจิตให้ไม่ฟุ้งซ่าน เห็นความจริงในความเป็นไปของโลกเป็นต้น
    บุคคลที่ควรบูชา มีดังนี้คือ
    ๑.พระพุทธเจ้า (คงไม่ต้องอธิบาย)
    ๒.พระปัจเจกพระพุทธเจ้า หมายถึงพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
    ๓.พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม
    ๔.บิดามารดา
    ๕.ครูอาจารย์ ที่มีความรู้ดี มีความสามารถ และประพฤติดี
    ๖.อุปัชฌาย์ หรือผู้บังคับบัญชาที่มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในธรรม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=heading vAlign=top width=476>มงคลที่ ๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร

    [​IMG]
    มงคล 38 ประการ
    </TD><TD width=21> </TD></TR><TR><TD height=30></TD><TD vAlign=top>ถิ่นอันสมควรควรประกอบด้วยสิ่งแวดล้อม ๔ อย่างได้แก่
    ๑.อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึงอยู่แล้วสบาย เช่นสะอาด เดินทางไปมาสะดวก อากาศดี เป็นแหล่งชุมชน ไม่มีแหล่งอบายมุขเป็นต้น
    ๒.อาหารเป็นที่สบาย หมายถึงอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ เช่นมีแหล่งอาหารที่สามารถจัดซื้อหามาได้ง่าย เป็นต้น
    ๓.บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึงที่ที่มีคนดี จิตใจโอบอ้อมอารี ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีศีลธรรม ไม่มีโจร นักเลง หรือใกล้แหล่งอิทธิพลเป็นต้น
    ๔.ธรรมะเป็นที่สบาย หมายถึงมีที่พึ่งด้านธรรมะ มีที่ฟังธรรมเช่น มีวัดอยู่ในละแวกนั้น มีโรงเรียน หรือแหล่งศึกษาหาความรู้เป็นต้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=heading vAlign=top width=476>มงคลที่ ๕. เคยทำบุญมาก่อน

    [​IMG]
    มงคล 38 ประการ
    </TD><TD width=21> </TD></TR><TR><TD height=30></TD><TD vAlign=top>ขึ้นชื่อว่าบุญนั้น มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ
    ๑. ทำให้กาย วาจา และใจ สะอาดได้
    ๒. นำมาซึ่งความสุข
    ๓. ติดตามไปได้ หมายถึงบุญจะติดตัวเราไปได้ตลอดจนถึงชาติหน้า
    ๔. เป็นของเฉพาะตน หมายถึงขอยืม หรือแบ่งกันไม่ได้ ทำเองได้เอง
    ๕. เป็นที่มาของโภคทรัพย์ทั้งหลาย คือว่าผลของบุญจะบันดาลให้เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ได้หวังผล
    ๖. ให้มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ และนิพพานสมบัติแก่เราได้ หมายถึงความสมบูรณ์ตั้งแต่ทางโลก จนถึงนิพพานได้เลย
    ๗. เป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งนิพพาน ก็คือเป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้บรรลุถึงนิพพานได้เร็วขึ้นเมื่อปฏิบัติ
    ๘. เป็นเกราะป้องกันภัยในวัฏสังสาร หมายถึงในวงจรการเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือที่เรียกว่าเวียนว่ายตายเกิดนั้น บุญจะคุ้มครองให้ผู้นั้นเกิดในที่ดี อยู่อย่างมีความสุข หรือตายอย่างไม่ทรมาน ขึ้นอยู่กับกำลังบุญที่สร้างสมมา
    การทำบุญนั้นมีหลายวิธี แต่พอสรุปได้สั้นๆดังนี้คือ
    ๑.การทำทาน
    ๒.การรักษาศีล
    ๓.การเจริญภาวนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=heading vAlign=top width=476>[​IMG] มงคลที่ ๗. ความเป็นพหูสูตร

    [​IMG]
    มงคล 38 ประการ
    </TD><TD width=21> </TD></TR><TR><TD height=30></TD><TD vAlign=top>คือเป็นผู้ที่ฟังมาก เล่าเรียนมาก เป็นผู้รอบรู้ โดยมีลักษณะดังนี้คือ
    ๑.รู้ลึก คือการรู้ในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ อย่างหมดจดทุกแง่ทุกมุม อย่างมีเหตุมีผล รู้ถึงสาเหตุจนเรียกว่าความชำนาญ
    ๒.รู้รอบ คือการรู้จักช่างสังเกตในสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่นเหตุการณ์แวดล้อมเป็นต้น
    ๓.รู้กว้าง คือการรู้ในสิ่งใกล้เคียงกับเรื่องนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน สัมพันธ์กันเป็นต้น
    ๔.รู้ไกล คือการศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลในอนาคตเป็นต้น
    ถ้าอยากจะเป็นพหูสูตก็ควรต้องมีคุณสมบัติดังว่านี้คือ
    ๑.ความตั้งใจฟัง ก็คือชอบฟัง ชอบอ่านหาความรู้ และค้นคว้าเป็นต้น
    ๒.ความตั้งใจจำ ก็คือรู้จักวิธีจำ โดยตั้งใจอ่านหรือฟังในสิ่งนั้นๆ และจับใจความให้ได้
    ๓.ความตั้งใจท่อง ก็คือท่องให้รู้โดยอัตโนมัติ ไม่ลืม ในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ
    ๔.ความตั้งใจพิจารณา ก็คือการรู้จักพิจารณา ตรึกตรองในสิ่งนั้นๆอย่างทะลุปรุโปร่ง
    ๕.ความเข้าใจในปัญหา ก็คือการรู้อย่างแจ่มแจ้งในปัญหาอย่างถ่องแท้ด้วยปัญญา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=heading vAlign=top align=middle width=476>[​IMG] มงคลที่ ๘. การรอบรู้ในศิลปะ

    [​IMG]
    มงคล 38 ประการ

    </TD><TD width=21> </TD></TR><TR><TD height=30></TD><TD vAlign=top>ศิลปะ คือสิ่งที่แสดงออกถึงความงดงาม และมีความสุนทรีย์ โดยลักษณะของมันมีดังนี้คือ
    ๑.มีความปราณีต
    ๒.ทำให้ของดูมีค่ามากขึ้น
    ๓.ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
    ๔.ไม่ทำให้เกิดกามกำเริบ
    ๕.ไม่ทำให้เกิดความพยาบาท
    ๖.ไม่ทำให้เกิดความเบียดเบียน
    ถ้าท่านอยากเป็นคนมีศิลปะ ควรต้องฝึกให้มีคุณสมบัติเหล่านี้ไว้ในตัวคือ
    ๑.มีศรัทธาในความงดงามของสิ่งต่างๆ
    ๒.หมั่นสังเกตและพิจารณา
    ๓.มีความปราณีต อารมณ์ละเอียดอ่อน
    ๔.เป็นคนสุขุม มีความคิดสร้างสรรค
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=heading vAlign=top width=476>[​IMG] มงคลที่ ๙. มีวินัยที่ดี

    [​IMG]
    มงคล 38 ประการ
    </TD><TD width=21> </TD></TR><TR><TD height=30></TD><TD vAlign=top>วินัย ก็คือข้อกำหนด ข้อบังคับ กฏเกณฑ์เพื่อควบคุมให้มีความเป็นระเบียบนั่นเอง มีทั้งวินัยของสงฆ์และของคนทั่วไป สำหรับของสงฆ์นั้นมีทั้งหมด ๗ อย่างหรือเรียกว่า อนาคาริยวินัย ส่วนของบุคคลทั่วไปก็มี ๑๐ อย่าง คือการละเว้นจากอกุศลกรรม ๑๐ ประการ
    อนาคาริยวินัยของพระมีดังนี้
    ๑.ปาฏิโมกขสังวร คือการอยู่ในศีลทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ การผิดศีลข้อใดข้อหนึ่งก็ถือว่าต้องโทษแล้วแต่ความหนักเบา เรียงลำดับกันไปตั้งแต่ ขั้นปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต เป็นต้น (ความหมายของแต่ละคำมันต้องอธิบายเยอะ จะไม่กล่าวในที่นี้)
    ๒.อินทรียสังวร คือการสำรวมอายตนะทั้ง ๕ และกาย วาจา ใจ ให้อยู่กับร่องกับรอย โดยอย่าไปเพลิดเพลินติดกับสิ่งที่มาสัมผัสเหล่านั้น
    ๓.อาชีวปาริสุทธิสังวร คือการหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ นั่นก็คือการออกบิณฑบาตร ไม่ได้เรียกร้อง เรี่ยไรหรือเที่ยวขอเงินชาวบ้านมาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของตัวเอง
    ๔.ปัจจยปัจจเวกขณะ คือการพิจารณาในสิ่งของทั้งหลายถึงคุณประโยชน์โดยเนื้อแท้ของสิ่งของเหล่านั้นอย่างแท้จริง โดยใช้เพื่อบริโภค เพื่อประโยชน์ ความอยู่รอด และความเป็นไปของชีวิตเท่านั้น
    วินัยสำหรับฆราวาส หรือบุคคลทั่วไป เรียกว่าอาคาริยวินัย มีดังนี้ (อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ)
    ๑.ไม่ฆ่าชีวิตคน หรือสัตว์ไม่ว่าน้อย ใหญ่
    ๒.ไม่ลักทรัพย์ ยักยอกเงิน สิ่งของมาเป็นของตัว
    ๓.ไม่ประพฤติผิดในกาม ผิดลูกผิดเมีย ข่มขืนกระทำชำเรา
    ๔.ไม่พูดโกหก หลอกลวงให้หลงเชื่อ หรือชวนเชื่อ
    ๕.ไม่พูดส่อเสียด นินทาว่าร้าย ยุยงให้คนแตกแยกกัน
    ๖.ไม่พูดจาหยาบคาย ให้เป็นที่แสลงหูคนอื่น
    ๗.ไม่พูดจาไร้สาระ หรือที่เรียกว่าพูดจาเพ้อเจ้อไม่มีสาระ เหตุผล หรือประโยชน์อันใด
    ๘.ไม่โลภอยากได้ของเขา คือมีความคิดอยากเอาของคนอื่นมาเป็นของเรา
    ๙.ไม่คิดร้าย ผูกใจเจ็บ แค้น ปองร้ายคนอื่น
    ๑๐.ไม่เห็นผิดเป็นชอบ เช่น เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีความสำคัญ บุญหรือกรรมไม่มีจริงเป็นต้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=heading vAlign=top width=476>[​IMG] มงคลที่ ๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต

    [​IMG]
    มงคล 38 ประการ
    </TD><TD width=21> </TD></TR><TR><TD height=30></TD><TD vAlign=top>คำว่าวาจาอันเป็นสุภาษิตในที่นี้มิได้หมายถึงเพียงว่าต้องเป็นคำร้อยกรอง ร้อยแก้ว เป็นคำคมบาดใจมีความหมายลึกซึ้งเท่านั้น แต่รวมถึงคำพูดที่ดี มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง ซึ่งสรุปว่าประกอบด้วยลักษณะดังนี้
    ๑.ต้องเป็นคำจริง คือข้อมูลที่ถูกต้อง มีหลักฐานอ้างอิงได้ ไม่ได้ปั้นแต่งขึ้นมาพูด
    ๒.ต้องเป็นคำสุภาพ คือพูดด้วยภาษาที่สุภาพ มีความไพเราะในถ้อยคำ ไม่มีคำหยาบโลน หรือคำด่า
    ๓.พูดแล้วมีประโยชน์ คือมีประโยชน์ต่อผู้ฟังถ้าหากนำแนวทางไปคิด หรือปฏิบัติในทางสร้างสรรค์
    ๔.พูดด้วยจิตที่มีเมตตา คือพูดด้วยจิตใจที่มีความปรารถนาดีต่อผู้ฟัง มีความจริงใจต่อผู้ฟัง
    ๕.พูดได้ถูกกาลเทศะ คือพูดในสถานที่เหมาะสม และในเวลาที่เหมาะสม โดยความเหมาะสมจะมีมากน้อยเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่พู
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=heading vAlign=top width=476>[​IMG] มงคลที่ ๑๑.การบำรุงบิดามารดา

    [​IMG]
    มงคล 38 ประการ
    </TD><TD width=21> </TD></TR><TR><TD height=30></TD><TD vAlign=top>ท่านว่าพ่อแม่นั้นเปรียบได้เป็นทั้ง ครูของลูก เทวดาของลูก พรหมของลูก และอรหันต์ของลูก ความหมายโดยละเอียดมีดังต่อไปนี้คือ
    ที่ว่าเป็นครูของลูก เพราะว่าท่านได้คอยอบรมสั่งสอนลูก เป็นคนแรกก่อนคนอื่นใดในโลก
    ที่ว่าเป็นเทวดาของลูก เพราะว่าท่านจะคอยปกป้อง คุ้มครอง เลี้ยงดู ประคบประหงมมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก บำรุงให้เติบใหญ่เป็นอย่างดี ไม่ให้เกิดอันตรายต่อลูกในทุกด้าน
    ที่ว่าเป็นพรหมของลูก เพราะว่าท่านมีพรหมวิหาร ๔ นั่นก็คือ มีเมตตา หมายถึงความเอ็นดู ความปรารถนาดีต่อลูกในทุกๆด้าน ไม่มีที่สิ้นสุด มีกรุณา หมายถึงให้ความกรุณาต่อลูก ลูกอยากได้อะไรก็หามาให้ลูก ให้การศึกษาเล่าเรียน ส่งเสียเท่าที่มีความสามารถจะให้ได้ มีมุทิตา หมายถึงความรักที่ยอมสละได้แม้ชีวิตของตัวเองเพื่อลูก ยอมเสียสละได้ทุกอย่าง และมีอุเบกขา หมายถึงการวางเฉย ไม่ถือโกรธเมื่อลูกประมาท ซน ทำผิดพลาดเพราะความไร้เดียงสา หรือเพราะความไม่รู้
    ที่ว่าเป็นอรหันต์ของลูก เพราะว่าท่านมีคุณธรรม ๔ ประการอันได้แก่
    เป็นผู้มีอุปการะคุณต่อลูก คืออุปการะเลี้ยงดูมาด้วยความเหนื่อยยาก กว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่
    เป็นผู้มีพระเดชพระคุณต่อลูก คือให้ความอบอุ่นเลี้ยงดู ปกป้องจากภยันตรายต่างๆ นานา
    เป็นเนื้อนาบุญของลูก คือลูกเป็นส่วนหนึ่งของกรรมดีที่พ่อแม่ได้ทำไว้ และเป็นผู้รับผลบุญ ที่พ่อแม่ได้สร้างไว้แล้วทางตรง
    เป็นอาหุไนยบุคคล คือเป็นเหมือนพระที่ควรแก่การเคารพนับถือและรับของบูชา เพื่อเทอดทูนไว้เป็นแบบอย่าง
    การทดแทนพระคุณบิดามารดาท่านสามารถทำได้ดังนี้
    ระหว่างเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็เลี้ยงดูท่านเป็นการตอบแทน ช่วยเหลือเป็นธุระเรื่องการงานให้ท่าน ดำรงวงศ์ตระกูลให้สืบไปไม่ทำเรื่องเสื่อมเสีย รวมทั้งประพฤติตนให้ควรแก่การเป็นสืบทอดมรดกจากท่าน ครั้นเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศกุศลให้ท่าน ส่วนการเป็นลูกกตัญญูต่อพ่อแม่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าไว้ดังนี้
    ๑.ถ้าท่านยังไม่มีศรัทธา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือพยายามให้ท่านมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เชื่อในเรื่องการทำดี
    ๒.ถ้าท่านยังไม่มีศีล ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศีล คือพยายามให้ท่านเป็นผู้รักษาศีล ๕ ให้ได้
    ๓.ถ้าท่านเป็นคนตระหนี่ ให้ท่านถึงพร้อมด้วยการให้ทาน คือพยายามให้ท่านรู้จักการให้ด้วยเมตตาโดยไม่หวังผลตอบแทน
    ๔.ถ้าท่านยังไม่ทำสมาธิภาวนา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยปัญญา คือพยายามให้ท่านหัดนั่งทำสมาธิภาวนาให้ได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...