ทีฆายุโก โหตุ สงฺฆราชา ทรงพระเจริญ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 28 กันยายน 2011.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]


    พระประวัติ
    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    (สุวัฑฒนมหาเถระ เจริญ คชวัตร)


    <TABLE style="WIDTH: 100%" border=1 cellSpacing=1 cellPadding=1><TBODY><TR><TD>
    วันที่ ๓ ตุลาคม เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของปวงพุทธศาสนิกชนชาวไทย เป็นวันคล้ายวันประสูติของเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์พระประมุขแห่งสังฆมณฑลและปวงพุทธศาสนิกบริษัทของไทย เมื่อวาระดิถีเช่นนี้เวียนมาถึง จึงเป็นที่ปลื้มปีติและเป็นโอกาสที่ปวงพุทธศาสนิกชนจะได้ถวายมุทิตาสักการะ และถวายพระกุศล ถวายพระพร เพื่อความเป็นสิริมงคลตามประเพณีนิยม

    [​IMG]

    เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (สุวัฑฒนมหาเถระ)มีพระนามเดิมว่า เจริญ นามสกุล คชวัตร ทรงมีพระชาติภูมิ ณ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ณ วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี แล้วเข้ามาอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนพระชนมายุครบอุปสมบท และทรงอุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๖ โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง วชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ประทับอยู่ศึกษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดมาจนกระทั่งสอบได้เป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๘๔

    เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ทรงดำรงสมณศักดิ์มาโดยลำดับดังนี้ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ พระราชาคณะชั้นราช และพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระโศภณคณาภรณ์ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวราภรณ์ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร และทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๒ นับเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    [​IMG]

    เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ทรงเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ทรงมีพระอัธยาศัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนมาตั้งแต่ทรงเป็นพระเปรียญ โดยเฉพาะในด้านภาษา ทรงศึกษาภาษาต่าง ๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และ สันสกฤต จนสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี กระทั่งเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระอุปัชฌาย์ของพระองค์ทรงเห็นว่า จะเพลินในการศึกษามากไป วันหนึ่งทรงเตือนว่า ควรทำกรรมฐานเสียบ้าง เป็นเหตุให้พระองค์ทรงเริ่มทำกรรมฐานมาแต่บัดนั้น และทำตลอดมาอย่างต่อเนื่อง จึงทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงภูมิธรรมทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติ เนื่องจากทรงรอบรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี จึงทรงศึกษาหาความรู้สมัยใหม่ด้วยการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ ทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม เป็นเหตุให้ทรงมีทัศนะกว้างขวาง ทันต่อเหตุการณ์บ้านเมือง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสั่งสอนและเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้ทรงนิพนธ์หนังสือทางพระพุทธศาสนาได้อย่างสมสมัย เหมาะแก่บุคคลและสถานการณ์ในยุคปัจจุบัน และทรงสั่งสอนพระพุทธศาสนาทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ

    ในด้านการศึกษา ได้ทรงมีพระดำริทางการศึกษาที่กว้างไกล ทรงมีส่วนร่วมในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของไทย คือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมาแต่ต้น ทรงริเริ่มให้มีสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อฝึกอบรมพระธรรมทูตไทยที่จะไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ
    ทรงเป็นพระมหาเถระไทยรูปแรกที่ได้ดำเนินงานพระธรรมทูตในต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยเริ่มจากทรงเป็นประธานกรรมการอำนวยการสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศเป็นรูปแรก เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ในพิธีเปิดวัดไทยแห่งแรกในทวีปยุโรป คือวัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ทรงนำพระพุทธศาสนาเถรวาทไปสู่ทวีปออสเตรเลียเป็นครั้งแรก โดยการสร้างวัดพุทธรังษีขึ้น ณ นครซิดนีย์ ทรงให้กำเนิดคณะสงฆ์เถรวาทขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย ทรงช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศเนปาล โดยเสด็จไปให้การบรรพชาแก่ศากยะกุลบุตรในประเทศเนปาลเป็นครั้งแรก ทำให้ประเพณีการบวชฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเนปาลยุคปัจจุบัน ทรงเจริญศาสนไมตรีกับองค์ทะไล ลามะ กระทั่งเป็นที่ทรงคุ้นเคยและได้วิสาสะกันหลายครั้ง และทรงเป็นพระประมุขแห่งศาสนจักรพระองค์แรกที่ได้รับทูลเชิญให้เสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการในประวัติศาสตร์จีน

    เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเป็นเอนกประการ ทรงเป็นนักวิชาการและนักวิเคราะห์ธรรมตามหลักการของพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า ธัมมวิจยะ หรือธัมมวิจัย เพื่อแสดงให้เห็นว่า พุทธธรรมนั้นสามารถประยุกต์ใช้กับกิจกรรมของชีวิตได้ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูงสุด ทรงมีผลงานด้านพระนิพนธ์ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษจำนวนกว่า ๑๐๐ เรื่อง ประกอบด้วยพระนิพนธ์แสดงคำสอนทางพระพุทธศาสนาทั้งระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง รวมถึงความเรียงเชิงศาสนคดีอีกจำนวนมาก ซึ่งล้วนมีคุณค่าควรแก่การศึกษา สถาบันการศึกษาของชาติหลายแห่งตระหนักถึงพระปรีชาสามารถและคุณค่าแห่งงานพระนิพนธ์ ตลอดถึงพระกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติ จึงได้ทูลถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เป็นการเทิดพระเกียรติหลายสาขา

    [​IMG]
    นอกจากพระกรณียกิจตามหน้าที่ตำแหน่งแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ยังได้ทรงปฏิบัติหน้าที่พิเศษ อันมีความสำคัญยิ่งอีกหลายวาระ กล่าวคือ ทรงเป็นพระอภิบาลในพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เมื่อครั้งเสด็จออกทรงพระผนวช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๙ พร้อมทั้งทรงถวายความรู้ในพระธรรมวินัยตลอดระยะเวลาแห่งการทรงพระผนวช ทรงเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อครั้งเสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๑

    เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ทรงดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญทางการคณะสงฆ์ในด้านต่าง ๆ มาเป็นลำดับ เป็นเหตุให้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเป็นประโยชน์ต่อพระศาสนา ประเทศชาติ และประชาชน เป็นเอนกประการ นับได้ว่าทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงเพียบพร้อมด้วยอัตตสมบัติและปรหิตปฏิบัติ และทรงเป็นครุฐานียบุคคลของชาติ ทั้งในด้านพุทธจักรและอาณาจักร

    เนื่องในวโรกาสคล้ายวันประสูติ ๙๘ ปี ในวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔ นี้ ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย น้อมเกล้า ฯ ถวายพระกุศลถวายพระพร ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและพระกุศลบารมีที่ได้ทรงบำเพ็ญมาแล้ว จงอำนวยให้ทรงมีพระสุขพลานามัยสมบูรณ์ ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน เสด็จสถิตเป็นสิริมิ่งมงคลแก่ปวงพุทธบริษัทและปวงชนทั่วไป ตลอดกาลนานเทอญ ฯ

    <TABLE style="WIDTH: 100%" border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE style="WIDTH: 100%" border=1 cellSpacing=1 cellPadding=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=3006&Itemid=1&limit=1&limitstart=1
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2011
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ลำดับที่ ๖

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif][​IMG]


    ครั้นออกพรรษาแล้วก็ยังเพลินอยู่ในชีวิตพรหมจรรย์หลวงพ่อจึงชักชวนให้ไปเรียนภาษาบาลีคือเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดเสน่หาในจังหวัดนครปฐมหลวงพ่อบอกว่า“เพื่อว่าต่อไปจะได้กลับมาสอนที่วัดเทวสังฆารามและจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้”เมื่อสามเณรและญาติโยมยินยอมหลวงพ่อจึงได้พาเจ้าพระคุณสมเด็จฯไปฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย(อาจ)เจ้าอาวาสวัดเสน่หาเมือวันที่๒๐มิถุนายนพ.ศ.๒๔๗๐ เจ้าพระคุณสมเด็จฯจึงได้เริ่มเรียนบาลีไวยากรณ์ที่วัดเสน่หาในพรรษาศกนั้นโดยมีพระเปรียญจากวัดมกุฎกษัตริยารามกรุงเทพฯไปเป็นอาจารย์สอนเมื่อออกพรรษาแล้วอาจารย์สอน
    [/FONT]


    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ภาษาบาลีที่วัดเสน่หาเห็นแววของเจ้าพระคุณสมเด็จฯว่าจะเจริญก้าวหน้าในทางการศึกษาต่อไปจึงชักชวนให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯไปอยู่วัดมกุฎกษัตริยารามเพื่อจักได้เล่าเรียนได้สูงๆยิ่งขึ้นไป และอาจารย์ท่านนั้นก็ได้ติดต่อทางวัดมกุฎกษัตริย์ไว้ให้เรียบร้อยแล้วด้วยแต่เมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯนำเรื่องนี้ไปปรึกษาหลวงพ่อที่วัดเหนือหลวงพ่อไม่เห็นด้วยเพราะหลวงพ่อคิดไว้ว่าจะพาเจ้าพระคุณสมเด็จฯไปฝากไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหารอยู่แล้วจึงเป็นอันยกเลิกที่จะไปอยู่วัดมกุฎกษัตริย์เจ้าพระคุณสมเด็จฯจึงอยู่จำพรรษาเรียนบาลีต่อไปที่วัดเสน่หาอีกหนึ่งพรรษา[/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๔๗๒ หลังออกพรรษาแล้วเจ้าพระคุณสมเด็จฯได้กลับไปพักณวัดเทวสังฆารามชั่วระยะเวลาหนึ่งเพื่อเตรียมตัวเข้าไปอยู่กรุงเทพฯ[/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]วันที่ ๙ มิถุนายนพ.ศ.๒๔๗๒ หลวงพ่อวัดเหนือได้พาเจ้าพระคุณสมเด็จฯ โดยสารรถไฟจากกาญจนบุรีมากรุงเทพฯแล้วพาไปยังวัดบวรนิเวศวิหารแล้วนำเจ้าพระคุณสมเด็จฯขึ้นเฝ้าถวายตัวต่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารเพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหารต่อไปสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯได้ทรงพระเมตตารับไว้และทรงมอบให้อยู่ในความปกครองของพระครูพุทธมนต์ปรีชา(เฉลิมโรจนศิริภายหลังลาสิกขา)หลังจากทรงเข้ามาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารได้ไม่นานทรงปฏิบัติตามกฎกติกาของวัดครบถ้วนแล้วก็ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราช เจ้าฯว่า“สุวฑฒโน”ซึ่งมีความหมายว่า“ผู้เจริญดี”[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]

    [​IMG]
    [/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]เจ้าพระคุณสมเด็จฯได้ทรงบันทึกเล่าเหตุการณ์เกี่ยวกับการเข้ามาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารของพระองค์ไว้อย่างน่าสนใจยิ่งบันทึกของพระองค์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าพระองค์ประสบความสำเร็จในช่วงต้นของชีวิตพรหมจรรย์และการศึกษาก็เพราะทรงได้พระอาจารย์และผู้ปกครองที่ดีพระอาจารย์ของพระองค์ในช่วงนี้ก็คือพระครูพุทธมนต์ปรีชา(เฉลิม)ส่วนผู้ปกครองของพระองค์ในช่วงนี้ก็คือสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ดังที่ทรงกล่าวถึงท่านทั้งสองไว้ว่าพระครูพุทธมนต์ปรีชาเป็นผู้มีกิริยาวาจาอ่อนหวานใจแข็งรู้จักกาละเทศะรู้จักการควรไม่ควรมีเชาว์ไวไหวพริบมีคารวะต่อผู้ใหญ่ไม่ตีตัวเสมอแม้กับผู้ใหญ่ที่คุ้นเคยเป็นกันเองรู้จักพูดให้ผู้ใหญ่เชื่อเมื่อถึงคราวต้องเป็นหัวหน้าจัดการงานวางตนเป็นผู้ใหญ่เต็มที่สมแก่ฐานะมีความสามารถในการจัดการงานให้สำเร็จฉลาดในการปฏิสันถารในการทำงานจะไม่ปล่อยให้ศิษย์ทำในสิ่งที่ไม่แน่ใจว่าศิษย์จะทำได้ดีเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับศิษย์ของตนแนะนำสั่งสอนศิษย์ให้รู้จักวางตัวให้พอเหมาะยกย่องศิษย์ให้เป็นที่ปรากฏในหมู่เพื่อนฝูงกล่าวโดยสรุปก็คือเป็นผู้มีน้ำใจและมีสัปปุริสธรรมควรเอาเป็นแบบอย่างในทางดีได้[/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ส่วนสมเด็จพระสัฆราชเจ้าฯนั้นทรงมีพระเมตตาต่อภิกษุสามเณรทั่วไปโดยเฉพาะสามเณรที่มาจากบ้านนอกดูจะมีพระเมตตาเป็นพิเศษสามเณรทุกรูปจะต้องถูกจัดเวรอยู่ปฏิบัติถวายงานสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯสับเปลี่ยนกันไปทุกวันสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ทรงมีวิธีที่จะฝึกสอนสามเณรให้มีความรู้ความฉลาดในเรื่องต่างๆด้วยพระเมตตาเสมอเช่นทรงฝึกให้สามเณรอ่านหนังสือพิมพ์หากสามเณรรูปใดอ่านไม่คล่องหรือไม่ถูกก็จะทรงอ่านให้ฟังเสียเองทรงฝึกให้สามเณรหัดคิดหัดสังเกตและหัดทำสิ่งต่างๆที่จะเป็นการฝึกความเฉลียวฉลาดหากสามเณรทำผิดหรือทำไม่ถูกพระองค์ก็จะทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่างเจ้าพระคุณสมเด็จฯก็ทรงถูกฝึกในลักษณะดังกล่าวนี้อยู่บ่อยๆเช่นทรงเล่าว่าครั้งหนึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯรับสั่งให้เอากระดาษทำลองข้างในขวดแต่เจ้าพระคุณสมเด็จฯไม่เข้าพระทัยเอากระดาษไปรองก้นขวดพอทอดพระเนตรเห็นเข้าก็รับสั่งว่า“เณรนี่ก็โง่เหมือนกัน”แล้วก็ทรงทำให้ดูจากการแนะนำสั่งสอนและการปฏิบัติพระองค์และปฏิบัติตนให้เห็นเป็นตัวอย่างของพระอาจารย์ทั้งสองท่านดังกล่าวแล้วทำให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯรู้จักคิดรู้จักสังเกตและจดจำเอามาเป็นเยี่ยงอย่างในการพัฒนาพระองค์เอง[/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]การศึกษา[/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ในปีแรกที่เข้ามาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารเจ้าพระคุณสมเด็จฯก็ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรี พ.ศ.๒๔๗๓ ทรงสอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม๓ประโยคพระองค์ทรงบันทึกเกี่ยวกับความรู้สึกเมื่อทรงสอบเปรียญธรรม๓ประโยคได้ว่า“ไม่มีปีใดที่ให้ความสุขกายสุขใจมากเท่ากับคราวที่สอบป.ธ.๓ได้” [/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๔๗๔ ทรงตั้งใจเรียนประโยค๔ด้วยความมุ่งหวังอย่างสูงพร้อมทั้งทรงเตรียมประโยคเก็งหรือว่าเก็งข้อสอบที่คาดว่าน่าจะออกไว้ด้วยความมั่นใจเมื่อถึงคราวสอบกลับปรากฏว่าข้อสอบไม่ได้ออกประโยคเก็งหรือประโยคยากๆที่ทรงเตรียมไว้แต่กลับออกประโยคง่ายๆที่ไม่ได้สนใจเตรียมแต่ก็ทรงรู้สึกว่าข้อสอบง่ยมากทำไปด้วยความมั่นพระทัยแต่ผลสอบปรากฏว่าพระองค์สอบตกประโยค ๔ ได้ทรงบันทึกถึงความรู้สึกเมื่อทรงสอบตกคราวนั้นไว้ว่าทรงรู้สึกเสียใจและท้อแท้ใจมากถึงกับทรงคิดว่าพระองค์คงจะหมดวาสนาในทางพระศาสนาเสียแล้วเพราะมานะพยายามและตั้งใจขนาดนี้ยังสอบตกแต่หลังจากทรงคิดทบทวนและไตร่ตรองดูว่าทำไมพระองค์จึงสอบตกก็ทรงได้พบความจริงด้วยพระองค์เองว่าการสอบตกนั้นเป็นผลของความประมาทโดยแท้กล่าวคือ [/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]

    ประการแรกทรงพบว่าพระองค์ทรงหยิ่งทนงในความรู้ของตนเองมากเกินไปจนทำให้เห็นไปว่าทำอย่างไรก็สอบได้แน่เมื่อถึงเวลาสอบจึงทำข้อสอบด้วยความหละหลวมไม่พิจารณาให้รอบคอบด้วยสำคัญผิดว่าตนรู้ดีแล้วจึงทำข้อสอบผิดพลาดมากถึงกับได้คะแนนสูญ[/FONT]​


    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ประการที่สองทรงพบว่าพระองค์ทรงอยู่ในความประมาท ที่ไม่ดูตำรับตำราให้ทั่วถึงมุ่งดูแต่เฉพาะที่เห็นว่ายากและคาดคะเนหรือเก็งว่าจะออกเป็นข้อสอบเท่านั้นเมื่อข้อสอบออกไม่ตรงตามที่เก็งไว้จึงทำข้อสอบผิดพลาดโดยไม่รู้ตัวว่าทำผิด [/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ประการที่สามทำให้ทรงเห็นว่าการเรียนแบบสนใจเรียนหรือสนใจดูเฉพาะที่เก็งว่าจะออกสอบเท่านั้นไม่ใช่วิธีการเรียนที่ถูกต้องเพราะไม่ทำให้เกิดความรู้อย่างแท้จริงและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระองค์สอบตก[/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๔๗๕ ทรงเรียนซ้ำประโยค๔อีกครั้งและทรงเตรียมสอบนักธรรมชั้นเอกด้วยและในปีนี้ทรงเลิกวิธีการเรียนแบบเก็งข้อสอบแต่ทรงเรียนแบบสม่ำเสมอและทั่วถึงผลการสอบปรากฏว่าสอบได้ทั้งนักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม๔ประโยค[/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]กล่าวได้ว่าชีวิตในปฐมวัยของเจ้าพระคุณสมเด็จฯนั้นดำเนินไปด้วยความราบรื่นประสบความสำเร็จโดยมีปัจจัยแวดล้อมเป็นตัวเสริมที่สำคัญคือผู้ปกครองและครูอาจารย์ที่ดีที่คอยให้คำแนะนำและชักนำไปในทางที่ดีประกอบกับในส่วนพระองค์เองก็ทรงมีพื้นอัธยาศัย ที่ดีคือมีพระอัธยาศัยโน้มเอียงไปในทางพระศาสนาเป็นทุนอยู่แล้วการชี้นำของผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงช่วยส่งให้พระองค์ดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องตรงตามพื้นเพของพระอัธยาสัยเป็นเหตุให้พระองค์ประสบความสำเร็จในชีวิตวัยเด็ก[/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]สรุปได้ว่าชีวิตในปฐมวัยของเจ้าพระคุณสมเด็จฯในฐานะที่ทรงดำเนินชีวิตในเพศพรหมจรรย์นั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีปัจจัยสำคัญที่ทำให้พระองค์ประสบความสำเร็จในวัยนี้มีทั้งปัจจัยภายนอกคือบุคคลแวดล้อมและปัจจัยภายในคือพระอัธยาศัยและคุณสมบัติส่วนพระองค์เองประกอบกัน [/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๔๗๖ เจ้าพระคุณสมเด็จฯทรงมีพระชนมายุครบอุปสมบทเป็นพระภิกษุทรงกลับไปอุปสมบทณวัดเทวสังฆารามกาญจนบุรีสำนักเดิมของพระองค์เมื่อครั้งทรงบรรพชาเป็นสามเณรทั้งนี้ก็เพื่ออยู่ช่วยสอนพระปริยัติธรรมสนองพระคุณของหลวงพ่อตามคำที่หลวงพ่อเคยพูดไว้เมื่อก่อนที่จะนำพระองค์มาฝากให้อยู่เรียนภาษาบาลีที่วัดเสน่หาเป็นครั้งแรกว่าเพื่อจะได้กลับมาสอนที่วัดเทวสังฆารามแล้วจะสร้างโรงเรียนเตรียมไว้ให้และก็ปรากฏว่าหลวงพ่อได้ทำอย่างที่ท่านพูดไว้ จริงๆคือท่านได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นหลังหนึ่งชื่อว่าโรงเรียนเทวานุกูลเป็นตึกคอนกรีต ๒ ชั้นเตรียมไว้ตั้งแต่พ.ศ.๒๔๗๓[/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]เจ้าพระคุณสมเด็จฯได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุณวัดเทวสังฆารามเมื่อวันที่๑๒มิถุนายนพ.ศ.๒๔๗๖โดยพระครูอดุลยสมณกิจ(หลวงพ่อวัดเหนือ)เป็นพระอุปัชฌาย์พระครูนิวิฐสมาจาร(หลวงพ่อวัดหนองบัว)เป็นพระกรรมวาจาจารย์พระปลัดหรุงเจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอเป็นพระอนุสาวนาจารย์เมื่อทรงอุปสมบทแล้วได้อยู่จำพรรษาณวัดเทวสังฆารามนั้นเพื่อช่วยหลวงพ่อสอนพระปริยัติธรรมตามความมุ่งหมายของท่าน๑พรรษา[/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ครั้นออกพรรษาแล้วเจ้าพระคุณสมเด็จฯได้กลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารตามเดิมและได้ทรงทำญัตติกรรมคืออุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุติที่วัดบวรนิเวศวิหารอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่๑๕กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๔๗๖ ศกเดียวกัน(สมัยนั้นขึ้นพ.ศ.ใหม่เดือนเมษายนฉะนั้นเดือนมิถุนายนจึงเป็นต้นปีเดือนกุมภาพันธ์เป็นปลายปี) โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์พระรัตนธัชชมุนี(จูอิสสรญาโณ)เป็นพระกรรมวาจาจารย์ทั้งนี้เพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไปและในปีพ.ศ.๒๔๗๖นี้ทรงสอบได้เปรียญธรรม๕ประโยค[/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]แม้จะกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารแล้วเจ้าพระคุณสมเด็จฯก็ยังทรงเวียนไปมาช่วยสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามกาญจนบุรีสนองพระคุณหลวงพ่อต่อเนื่องกันมาอีก๒ปีส่วนการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระองค์ก็เจริญก้าวไปหน้าไปตามลำดับกล่าวคือ[/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๔๗๗ ทรงสอบได้เปรียญธรรม๖ประโยค[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๔๗๘ ทรงสอบได้เปรียญธรรม๗ประโยค[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๔๘๑ ทรงสอบได้เปรียญธรรม๘ประโยค[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๔๘๔ ทรงสอบได้เปรียญธรรม๙ประโยค[/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]เจ้าพระคุณสมเด็จฯทรงเป็นผู้ใคร่ในการศึกษาหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือทรงมีพระอัธยาศัยใฝ่รู้โดยเฉพาะในด้านภาษาเมื่อพ.ศ.๒๔๗๕ได้มีนักบวชฮินดูท่านหนึ่งเข้ามาศึกษาและส่งเสริมความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับอินเดียนักบวชท่านนี้คือสวามีสัตยานันทปุรีซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านศาสนาและปรัชญาของอินเดียรวมทั้งเชี่ยวชาญทางภาษาสันสกฤษและภาษาอังกฤษด้วยท่านสวามีได้ตั้งธรรมาศรมขึ้นณตึกหอสมุดมหามกุฎราชวิทยาลัยซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนพระสุเมรุหน้าวัดบวรนิเวศวิหารมีการออกนิตยสารชื่อเสียงตะวันออกซึ่งมีทั้งภาคภาษาอังกฤษและภาคภาษาไทยมีการจัดสนทนาธรรมทุกวันอาทิตย์รวมทั้งมีการสอนภาษาสันสกฤตและภาษาอังกฤษแก่ภิกษุสามเณรและผู้สนใจด้วยกล่าวได้ว่าสำนักธรรมาศรมของสวามีสัตยานันทปุรีดังกล่าวได้เป็นศูนย์กลางสำหรับการสังสรรเสวนาของหมู่นักปราชญ์ราชบัณฑิตของไทยในครั้งนั้นท่านสวามีได้พำนักอยู่ในประเทศไทยราว๑๐ปีกระทั่งเสียชีวิตในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ [/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]

    [​IMG]
    [/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]เมื่อพ.ศ.๒๔๘๕ เนื่องจากเครื่องบินตกขณะมีอายุได้เพียง ๔๐ ปี อาจกล่าวได้ว่าสวามีสัตยานันทปุรี ได้เป็นก่อให้เกิดความตื่นตัวในการศึกษาปรัชญาและศาสนาขึ้นในหมู่ผู้รู้ของไทย พร้อมทั้งได้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนาตะวันออกเป็นภาษาไทยไว้หลายเล่ม[/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ในระหว่างพ.ศ.๒๔๗๗-๗๘ นั้นเองเจ้าพระคุณสมเด็จฯซึ่งทรงเป็นพระเปรียญ ๖-๗ประโยคพร้อมทั้งพระเปรียญหนุ่มอื่นๆอีกหลายรูปได้เรียนภาษาสันสกฤตและภาษาอังกฤษกับสวามี สัตยานันทปุรีแต่การเรียนของเจ้าพระคุณสมเด็จฯไม่ค่อยสะดวกนักเพราะทรงมีภาระต้องเป็นครูสอนนักธรรมบ้างสอนบาลีบ้างในสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารจึงทรงเรียนได้เฉพาะวันที่มีเวลาว่างเท่านั้นทรงเรียนอยู่ราว๒ปีก็ต้องเลิกไปเพราะทรงมีภารกิจด้านต่างๆมากขึ้นแต่การเรียนกับสวามีสัตยานันทปุรีได้เป็นพื้นฐานให้พระองค์ทรงศึกษาด้วยพระองค์ต่อไปวิธีการเรียนภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เองก็คือการอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฟังวิทยุภาคภาษาอังกฤษของบีบีซีและอ่านหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษโดยเฉพาะหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนานั้นหากมีข้อความใดสำคัญหรือทรงประทับใจก็จะทรงจดจำไว้สำหรับเป็นแบบอย่างหรือนำมาใช้ในเวลาต้องการด้วยวิธีการทรงศึกษาด้วยพระองค์เองอย่างต่อเนื่องนี้เองทำให้พระองค์สามารถใช้ประโยชน์จากภาษาอังกฤษได้ดีทั้งการพูดการอ่านและการเขียน ความรู้ภาษาอังกฤษนับว่ามีประโยชน์ต่อการปฏิบัติภารกิจของพระองค์ในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก[/FONT]


    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ต่อมาเจ้าพระคุณสมเด็จฯยังสนพระทัยศึกษาภาษาเยอรมันและภาษาฝรั่งเศสโดยทรงศึกษากับครูไทยที่ทรงรู้จักมักคุ้นกันโดยครูได้มาสอนที่กุฏิในเวลาค่ำบ้างกลางคืนบ้างวันละชั่วโมงสองชั่วโมงสุดแต่จะสะดวกทรงเรียนต่อเนื่องมานานพอควรจนทรงสามารถอ่านเขียนได้พอสมควรแต่ในที่สุดก็เลิกลาไปเพราะเวลาไม่อำนวยทั้งฝ่ายผู้สอนและฝ่ายผู้เรียน[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]และในระยะใกล้กันนี้มีผู้รู้ภาษาจีนมาอุปสมบทเป็นพระนวกะ(พระใหม่) อยู่ในความปกครองของพระองค์เจ้าพระคุณสมเด็จฯก็ทรงถือโอกาสเรียนภาษาจีนกับท่านผู้นั้นด้วยแม้พระนวกะนั้นลาสิกขาไปแล้วก็ยังมาสอนภาษาจีนถวายแต่ครูภาษาจีนได้ถึงแก่กรรมในเวลาต่อมาไม่นานการเรียนภาษาจีนจึงเป็นอันยุติเมื่อทรงเล่าถึงการเรียนภาษาจีนของพระองค์ก็ทรงเล่าอย่างขบขันว่าเรียนจนครูตายเลยต้องเลิก[/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]นอกจากความสนพระทัยในการเรียนภาษาต่างๆแล้วเจ้าพระคุณสมเด็จฯยังไฝ่พระทัยในการแสวงหาความรู้อยู่เสมอวิธีการแสวงหาความรู้ของพระองค์ก็คือการอ่านหนังสือทรงอ่านทั้งหนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษและมิได้ทรงจำกัดการอ่านเฉพาะหนังสือทางพระพุทธศาสนาเท่านั้นแต่รวมทั้งหนังสือที่เป็นความรู้ทั่วไปๆไปด้วย[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ชีวิตในมัชฌิมวัยของเจ้าพระคุณสมเด็จฯนั้นกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาของการเรียนและการแสวงหาความรู้[/FONT]


    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ด้านการปกครอง[/FONT]

    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]เจ้าพระคุณสมเด็จฯทรงเริ่มมีหน้าที่ทางการปกครองคณะสงฆ์นับแต่พ.ศ.๒๕๐๓ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมวราภรณ์เป็นต้นมาและทรงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆทางการปกครองคณะสงฆ์เพิ่มขึ้นเป็นลำดับมากล่าวคือ[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครองตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.๒๔๘๔ ซึ่งมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์(จวนอุฏฺฐายีต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช)เป็นสังฆนายกมีหน้าที่บริหารปกครองคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตทั่วราชอาณาจักร[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๕๐๔ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระสาสนโสภณเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารและเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตทุกภาคทั่วราชอาณาจักร[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๕๐๕ มีการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติคณะสงฆ์คือเลิกพระราชบัญญัติคณสงฆ์พ.ศ.๒๔๘๔ ใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แทนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้มหาเถรสมาคมมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานบริหารปกครองคณะสงฆ์เจ้าพระคุณสมเด็จฯขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระสาสนโสภณทรงได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมชุดแรกตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับนี้เมื่อพ.ศ.๒๕๐๖ และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมตลอดมาทุกสมัย[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดทางการปกครองของคณะสงฆ์[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]นอกจากนี้ยังทรงเป็นประธานอนุกรรมการและเป็นอนุกรรมการของมหาเถรสมาคมคณะต่างๆอีกหลายคณะต่อเนื่องมาโดยตลอด[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ในส่วนการปกครองในคณะธรรมยุตนั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯก็ทรงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆมาโดยลำดับคือ[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๔๙๓ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระโศภนคณาภรณ์เป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุตประเภทชั่วคราว[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๔๙๗ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระโศภนคณาภรณ์(พระราชาคณะชั้นราช)เป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุตประเภทถาวร[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๕๐๐ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมวราภรณ์เป็นกรรมการพิจาณาร่างระเบียบบริหารวัดธรรมยุต[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๕๐๑ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมวราภรณ์เป็นกรรมการคณะธรรมยุต[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๕๑๗ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระญาณสังวรเป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุต[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๕๓๑ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระญาณสังวรรักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกและทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต[/FONT]
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]พ.ศ.๒๕๑๖ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระญาณสังวรในฐานะที่ทรงเป็นรองประธานกรรมการคณะธรรมยุตได้รับฉันทานุมัติจากกรรมการคณะธรรมยุตให้เดินทางไปตรวจการคณะสงฆ์และเยี่ยมพุทธศาสนิกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๙ จังหวัดคือจังหวัดนครราชสีมาสุรินทร์บุรีรัมย์อุบลราชธานียโสธรร้อยเอ็ดมหาสารคามกาฬสินธุ์และขอนแก่นรวมเวลา ๑๐ วันทรงเยี่ยมเยียนวัดต่างๆ๓๗วัดรวมทั้งโรงเรียนและสถานที่ราชการต่างๆอีกหลายแห่งได้ประทานพระโอวาทแก่ภิกษุสมาเณรพุทธศาสนิกชนและข้าราชการทั้งทหารตำรวจและข้าราชการพลเรือนในทุกที่ที่ทรงเยี่ยมเยียนก่อให้เกิดความตื่นตัวในการศึกษาปฏิบัติธรรม และการศึกษาพระพุทธศาสนาในหมู่ภิกษุสามเณรและพุทธสาสนิกชนเป็นอันมาก[/FONT]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2011
  4. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ด้านการสั่งสอนเผยแผ่

    การสั่งสอนเผยแผ่นับเป็นหน้าที่หลักประการหนึ่งของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นหน้าที่ที่พระพุทธเจ้าทรงมอบหมายแก่พระสงฆ์สาวกให้ช่วยกันปฏิบัติตั้งแต่เริ่มแรกก่อตั้งพระพุทธศาสนาเพราะเป็นหน้าที่ที่จะสร้างประโยชน์สุขให้แก่ชาวโลกหรือกล่าวอย่างรวมๆก็คือเป็นหน้าที่เพื่อการอนุเคราะห์โลกดังจะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดมีพระสงฆ์สาวกที่เป็นพระอรหันต์ชุดแรกขึ้น ๖๐ รูป หลังจากพระพุทธเจ้าเริ่มประกาศพระศาสนาเพียง๕เดือนพระพุทธองค์ก็ทรงส่งพระสงฆ์สาวกชุดแรกนั้นออกไปประกาศพระศาสนาหรือสั่งสอนเผยแผ่พระศาสนาทันทีโดยตรัสบอกถึงวัตถุประสงค์ของการออกไปสั่งสอนเผยแผ่แก่พระสงฆ์สาวกเหล่านั้นว่า“เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มากเพื่ออนุเคราะห์โลกเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”

    ลักษณะการสั่งสอนของพระพุทธศาสนานั้นเป็นการเผยแผ่คือนำความจริงมาเปิดมาแสดงให้ผู้ฟังเห็นตามที่เป็นจริงฉะนั้นการสั่งสอนของพระพุทธศาสนาตามหลักการที่พระพุทธองค์ได้ทรงวางไว้จึงมิได้มุ่งให้ผู้ฟังเชื่อตามแต่มุ่งให้ผู้ฟังเกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่สอนอย่างถูกต้องตามเป็นจริงส่วนผู้ฟังจะเชื่อหรือไม่เชื่อนั้นขึ้นอยู่กับสติปัญญาของเขาเองหากเขาพิจารณาไตร่ตรองจนเห็นจริงเห็นคุณค่าและประโยชน์ของสิ่งที่สอนเขาก็ย่อมจะเชื่อเองและนำไปใช้นำไปปฏิบัติเองโดยที่ผู้สอนไม่จำต้องบังคับขู่เข็ญบูรพาจารย์ทางพระพุทธศาสนาของไทยซึ่งเข้าใจในหลักการสั่งสอนของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดีเมื่อพูดถึงการสั่งสอนพระพุทธศาสนาหรือการประกาศพระพุทธศาสนาท่านจึงใช้คำว่าเผยแผ่พระพุทธศาสนาเช่นองค์การเผยแผ่นักเผยแผ่เป็นต้นท่านไม่ใช้คำว่าเผยแพร่ซึ่งมีความหมายเหมือนกับการแพร่ระบาดของโรคฉะนั้นเรื่องนี้จึงน่าทำความเข้าใจไว้ก่อนแต่เบื้องต้น

    เจ้าพระคุณสมเด็จฯทรงทำหน้าที่ด้านการสั่งสอนเผยแผ่อย่างกว้างขวางการสั่งสอนเผยแผ่ที่นับว่าเป็นภารกิจประจำก็คือการอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณรในฐานะที่ทรงเป็นพระอุปัชณาย์อาจารย์อันเป็นส่วนหนึ่งของการให้การศึกษาดังกล่าวมาแล้วในตอนต้นการเทศนาสั่งสอนอุบาสกอุบาสิกาและพุทธศาสนิกชนในวันธรรมสวนะหรือวันพระและในโอกาสต่างๆดังกล่าวแล้วเช่นกัน

    นอกจากที่กล่าวแล้วการสั่งสอนเผยแผ่อีกลักษณะหนึ่งที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระสานโสภณได้ทรงดำริจัดขึ้นที่วัดบวรนิเวศวิหารก็คือการแสดงธรรมหรือว่าเทศน์แก่ชาวต่างประเทศในวันอาทิตย์โดยเริ่มขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๑๒ ที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร และทรงมอบให้พระที่จบการฝึกอบรมจากสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศบ้างพระชาวต่างประเทศที่จำพรรษาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารบ้างผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้แสดงธรรม ปรากฏว่าชาวต่างประเทศและชาวไทยให้ความสนใจมาร่วมฟังธรรมกันคราวละมากๆแต่กิจกรรมนี้ดำเนินไปได้ไม่นานก็เลิกลาไปเพราะขาดแคลนพระสงฆ์ไทยที่ชำนาญภาษาอังกฤษถึงขั้นสามารถแสดงธรรมแก่ชาวต่างประเทศได้

    [​IMG]
    แต่พระดำริในเรื่องการสั่งสอนเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวต่างประเทศผู้สนใจของเจ้าพระคุณสมเด็จฯมิได้พลอยเหือดหายไปด้วยถึงปี พ.ศ.๒๕๑๔ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงพื้นกิจกรรมดังกล่าวขึ้นอีกครั้งหนึ่งโดยทรงสอนด้วยพระองค์เองเนื่องจากในระยะนี้มีชาวต่างประเทศทั้งยุโรปอเมริกาและเอเชียเข้ามาบรรพชาอุปสมบทเพื่อศึกษาปฏิบัติพระพุทธศาสนาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆพร้อมทั้งมีชาวต่างประเทศที่เป็นคฤหัสถ์แสดงความสนใจที่จะศึกษาพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะเรื่องการฝึกปฏิบัติสมาธิกรรมฐานเพิ่มมากขึ้นบางคนก็มาขอสนทนาศึกษาด้วยเป็นการส่วนตัวเช่นนางโยเซฟีนสแตนตันภรรยาอดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย(ซึ่งเริ่มมาศึกษาตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๑๒) เพื่อเป็นการส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและเพื่อสนองกุศลเจตนาของผู้สนใจเจ้าพระคุณสมเด็จฯจึงได้จัดให้มี “DHAMMACLASS”ขึ้นที่กุฏิที่พำนักของพระองค์เอง(คือที่ห้องหน้ามุขชั้นล่างของตำหนักคอยท่าปราโมชในบัดนี้)

    DHAMMA CLASS ที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯจัดขึ้นนี้มีชาวต่างประเทศทั้งที่เป็นพระและคฤหัสถ์มาร่วมฟังเจ้าพระคุณสมเด็จฯทรงสอนเป็นภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เองโดยมีพระชาวต่างประเทศช่วยบ้างเป็นลักษณะการบรรยายและซักถามแล้วฝึกนั่งสมาธิในการสอนแต่ละครั้งเจ้าพระคุณสมเด็จฯได้ทรงเตรียมบทบรรยายประกอบการสอนเป็นภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เองทุกครั้ง(บทบรรยายดังกล่าวได้มีการจัดพิมพ์เผยแพร่ในเวลาต่อมาด้วย) ในระยะแรกมีชาวต่างประเทศมาร่วมฟังการสอนไม่มากนักและค่อยเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนต้องย้ายที่สอนจากภายในที่พำนักของพระองค์ไปใช้สถานที่ที่กว้างขวางยิ่งขึ้นพอเพียงแก่ผู้ร่วมฟังการสอนจำนวนมากกิจกรรมนี้ได้ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๗ จึงได้เลิกไปเพราะเจ้าพระคุณสมเด็จฯทรงมีภารกิจด้านอื่นๆมากขึ้นและขาดพระผู้สามารถที่จะรับช่วงกิจกรรมนี้ต่อไปในโอกาสที่องค์ดาไลลามะประมุขแห่งศาสนจักรของธิเบตเสด็จเยือนประเทศไทยครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน

    พ.ศ.๒๕๑๐ และได้เสด็จเยือนวัดบวรนิเวศวิหารด้วยครั้งนั้นองค์ดาไลลามะทรงปรารภกับเจ้าพระคุณสมเด็จฯซึ่งขณะนั้นทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระสาสนโสภณว่าอยากศึกษาการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานแบบเถรวาทเจ้าหน้าที่จัดการรับเสด็จจึงได้จัดให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯถวายคำแนะนำในการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานแบบเถรวาทแก่องค์ดาไลลามะตามพระประสงค์ณสำนักสงฆ์แห่งหนึ่งองค์ดาไลลามะเสด็จเยือนประเทศไทยหลายครั้งและทุกครั้งได้เสด็จเยือนวัดบวรนิเวศวิหารและทรงพบปะสนทนากับเจ้าพระคุณสมเด็จฯด้วยจึงทรงคุ้นเคยกับเจ้าพระคุณสมเด็จฯเป็นอย่างดีในการเสด็จประเทศไทยครั้งล่าสุด

    เมื่อเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ.๒๕๓๖ และประทับแรมที่วัดบวรนิเวศวิหารคำแรกที่องค์ดาไลลามะตรัสทักทายเจ้าพระคุณสมเด็จฯเมื่อทรงพบกันในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารก็คือ“พี่ชายคนโตของข้าพเจ้า”อันแสดงถึงความเคารพรักที่ทรงมีต่อกันเพียงไร

    [​IMG]

    นอกจากการสั่งสอนเผยแผ่อันเป็นกิจกรรมภายในวัด/ภายในประเทศดังกล่าวแล้วเจ้าพระคุณสมเด็จฯยังทรงมีภาระหน้าที่รับผิดชอบกิจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศอีกหลายด้านนับแต่ทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระสาสนโสภณเป็นต้นมากล่าวคือ

    พ.ศ.๒๕๐๙ ในฐานะทรงเป็นประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศเสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ในพิธีเปิดวัดพุทธปทีปอันเป็นวัดไทยแห่งแรกในประเทศอังกฤษและในทวีปยุโรปซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่๑สิงหาคมพ.ศ.๒๕๐๙ในโอกาสเดียวกันนี้เจ้าพระคุณสมเด็จฯได้ดูกิจการพระธรรมทูตและกิจการพระศาสนาในประเทศอังกฤษและในประเทศอิตาลีด้วย

    พ.ศ.๒๕๑๐ในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคมและประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศได้ตามเสด็จสมเด็จพระสังฆราช(อุฏฺฐายีมหาเถร)วัดมกุฎกษัตริยารามเสด็จเยือนประเทศศรีลังกาอย่างเป็นทางการเพื่อเจริญศาสนไมตรีและดูกิจการพระศาสนาในประเทศนั้น

    พ.ศ.๒๕๑๑ในฐานะประธานสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย(ปัจจุบันเรียกว่ามหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย)โดยอนุมัติของมหาเถรสมาคมได้เสร็จไปดูการพระศาสนาและการศึกษาทางพระพุทธศาสนาณประเทศอินโดนีเซียออสเตรเลียและฟิลิปปินส์ผลจากการเดินทางครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดผลดีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศนั้นๆคือ

    ในประเทศอินโดนีเชียหัวหน้าชาวพุทธในประเทศนั้นพร้อมด้วยชาวพุทธต่างปลื้มปิติและได้เจรจาขอให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศช่วยจัดส่งพระธรรมทูตไทยออกไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศนั้นในปีต่อมา(พ.ศ.๒๕๑๒)สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตฯและกรมการศาสนาจึงได้ดำเนินการจัดส่งพระธรรมทูตไทย๔ รูปออกไปปฏิบัติศาสนกิจฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซียพระธรรมทูตไทยได้ผลัดเปลี่ยนกันไปปฏิบัติศาสนกิจในประเทศอินโดนีเชียหลายชุดต่อเนื่องกันมาเป็นเวลากว่า๑๐ปียังผลให้พระพุทธศาสนาเถรวาทประดิษฐานมั่นคงขึ้นในประเทศอินโดนีเชียอย่างรวดเร็วกระทั่งปัจจุบันได้มีวัดพระพุทธศาสนาแผ่กระจายไปทั่วประเทศอินโดนีเชียอีกครั้งหนึ่งเหมือนที่เคยมีมาเมื่อ๕๐๐ปีก่อนและมีคณะสงฆ์เถรวาทอินโดนีเชียที่มั่นคงเป็นหลักฐาน

    ในระหว่างที่มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินโดนีเชียนั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระสาสนโสภณได้เสด็จไปให้การบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวอินโดนีเชียเป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ.๒๕๑๓ ณมหาเจดีย์บุโรพุทโธหรือบุโรบูดูเป็นการปลูกสมณวงศ์แบบสยามวงศ์ขึ้นในประเทศอินโดนีเชียเป็นครั้งแรกและได้เสด็จไปให้การบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรอินโดนีเชียในเวลาต่อมาอีกหลายครั้งเจ้าพระคุณสมเด็จฯจึงทรงเป็นผู้ก่อกำเนิดสมณวงศ์หรือคณะสงฆ์เถรวาทขึ้นในประเทศอินโดนีเชียยุคปัจจุบัน

    ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีผู้นับถือพระพุทธศาสนาและใสใจพระพุทธศาสนาอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวพุทธในประเทศนั้นแสดงความประสงค์ใคร่มีวัดและพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศนั้นและได้ขอให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ช่วยอนุเคราะห์เพื่อให้มีวัดไทยและพระสงฆ์ไทยอยู่สั่งสอนพระพุทธศาสนาในออสเตรเรียเจ้าพระคุณสมเด็จฯในฐานะผู้อำนวยการมูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย(ในขณะนั้น)จึงทรงอำนาจการให้จัดตั้งสำนักสงฆ์ในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัยขึ้นที่นครชิดนีย์ประเทศออสเตรเลียในปีพ.ศ.๒๕๑๖ พร้อมทั้งได้จัดส่งพระสงฆ์ไทยและพระสงฆ์ชาวต่างประเทศที่บวชศึกษาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารออกไปอยู่จำพรรษาเพื่อสั่งสอนพระพุทธศาสนาณสำนักสงฆ์นั้นในปีเดียวกัน สำนักสงฆ์แห่งนี้ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นโดยลำดับจนตั้งเป็นวัดขึ้นเมื่อพ.ศ.๒๕๑๘ และได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า“วัดพุทธรังษี”นับเป็นวัดไทยแห่งแรกในทวีปออสเตรเลียสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเป็นวัดพุทธรังษีนี้ในปีเดียวกันจากจุดเริ่มต้นของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในออสเตรเลียที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯได้ทรง

    เริ่มขึ้นเมื่อพ.ศ.๒๕๑๖ ยังผลให้เกิดวัดพระพุทธศาสนาขึ้นในออสเตรเลียและแผ่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศในเวลาต่อมาปัจจุบันมีวัดไทยและพระสงฆ์ในประเทศออสเตรเลียเป็นจำนวนมาก

    พ.ศ.๒๕๑๔ ในฐานะประธานสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัยได้เสด็จไปดูการพระศาสนาและการศึกษาทางพระพุทธศาสนาณประเทศปากีสถานประเทศอินเดียและประเทศเนปาลพร้อมทั้งทรงได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคมให้เป็นผู้แทนคณะสงฆ์ไทยไปเยี่ยมคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวปากีสถานตะวันออก(ปัจจุบันคือประเทศบังคลาเทศ) ซึ่งประสบวาตภัยครั้งใหญ่ในปีนั้นด้วย

    ผลจากการเดินทางครั้งนี้ทำให้ทรงทราบสถานการณ์ของพระพุทธศาสนาในประเทศนั้นๆ ว่ากำลังได้รับการฟื้นฟูและต้องการความช่วยเหลือจากชาวพุทธด้วยกันเป็นอันมากโดยเฉพาะในประเทศเนปาลซึ่งพระพุทธศาสนาได้เสื่อมสูญไปเป็นเวลาหลายร้อยปีและเพิ่งได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งหนึ่งเริ่มแต่ปีพ.ศ.๒๔๗๓ เป็นต้นมาจึงมีความต้องการความอนุเคราะห์ร่วมมือในการฟื้นฟูเป็นอันมากเจ้าพระคุณสมเด็จฯในฐานะประธานสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัยจึงทรงตอบสนองความต้องการของคณะสงฆ์เนปาลในเวลานั้นโดยทรงดำเนินการให้สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัยให้ทุนการศึกษาแก่ภิกษุสามเณรเนปาล๒ทุนเพื่นอยู่ศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยเป็นการเริ่มต้นและวัดบวรนิเวศวิหารรับภิกษุสามเณรทั้ง๒รูปให้พำนักอยู่ในวัดบวรนิเวศวิหารจนจบการศึกษาศาสนสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเนปาลจึงได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาและมีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นตามลำดับทั้งฝ่ายคณะสงฆ์และฝ่ายพุทธศาสนิกชนทั่วไปในเวลาต่อมาคณะสงฆ์เนปาลก็ได้จัดส่งภิกษุสามเณรเนปาลเข้ามาอยู่ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบันภิกษุสามเณรเหล่านี้เมื่อจบการศึกษาแล้วก็กลับไปช่วยกิจการคณะสงฆ์ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศของตนให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯจึงทรงเป็นผุ้เริ่มสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนไทยกับเนปาลขึ้นเป็นครั้งแรกและทรงเป็นผู้นำพลังเกื้อหนุนจากพุทธศาสนิกชนชาวไทยไปสู่การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศเนปาลตั้งแต่บัดนั้นต่อเนื่องมาจวบจนบัดนี้อย่างไม่ขาดสาย

    นอกจากนี้เจ้าพระคุณสมเด็จฯขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระญาณสังวรยังได้เสด็จไปให้การบรรพชาแก่กุลบุตรชาวเนปาลณนครกาฐมัณฑุครั้งหนึ่งเมื่อพ.ศ.๒๕๒๘ ซึ่งยังผลให้เกิดความตื่นตัวในการบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติพระพุทธศาสนาและการส่งเสริมฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นในหมู่ชาวเนปาลอย่างกว้างขวาง

    พ.ศ.๒๕๒๓ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระญาณสังวรเสด็จไปดูการพระศาสนาและการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศต่างๆในทวีปยุโรปเป็นเวลา ๑ เดือน

    พ.ศ.๒๕๓๖ เจ้าพระคุณสมเด็จฯเสด็จเยือนประเทศสาธารรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลจีนเป็นเวลา๑๒วันนับเป็นประมุขแห่งศาสนจักรพระองค์แรกในประวัติศาสตร์จีนที่รัฐบาลจีนกราบทูลให้เสด็จเยือนจีนอย่างเป็นทางการในการเสด็จเยือนจีนครั้งนี้เจ้าพระคุณสมเด็จฯได้ทรงพบปะกับผู้นำของประเทศผู้นำของมณฑลต่างๆที่เสด็จเยือนผู้นำของชาวพุทธในเมืองนั้นๆตลอดถึงเสด็จเยี่ยมเยียนวัดพระพุทธศาสนาพบปะภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนจำนวนมากพระจริยาวัตรของเจ้าพระคุณสมเด็จฯเป็นที่ประทับใจของพุทธศาสนิกชนชาวจีนมากทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์เพราะภาพของ“พระสงฆ์”เช่นเจ้าพระคุณสมเด็จฯนั้นพวกเขาไม่เคยรู้จักหรือไม่เคยเห็นมาก่อนเลยผลของการเสด็จเยือยจีนของเจ้าพระคุณสมเด็จฯครั้งนั้นก่อให้เกิดความตื่นตัวในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศจีนขึ้นในหมู่ชาวพุทธจีนเป็นอย่างมาก


    http://www.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=3006&Itemid=1&limit=1&limitstart=2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2011
  5. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]


    ฑีฆายุโกโหตุสังฆราชา<o></o>
    นโมฯ ขอนอบน้อมทูลคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลจักรวาลทรงอภิบาลบริบูรณ์พระธาตุขันธ์ฯ



    ขอพระองค์ท่านเจริญเพียบพร้อมด้วยพระพลาญาณมัย เสด็จสถิตเป็นบุณยฐานและเป็นประทีปธรรมยาวนาน <o></o>





    [​IMG]
    <o></o>



    กราบถวายนมัสการ ญาณพระบารมีเจ้าค่ะ



    <o>[MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1699001/[/MUSIC]</o>


    พระสุรเสียงประทานพระธรรมเทศนา ชุด "สูญญตา ๗ วิธีฟังธรรม วิธีปฏิบัติธรรม"<o></o>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...