ที่นี่...ลือลั่นเรื่องนรก/นรา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย tum399, 26 พฤษภาคม 2009.

  1. tum399

    tum399 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    732
    ค่าพลัง:
    +2,908
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ผมตั้งชื่อบทความชิ้นนี้ ชวนให้ตกนรกหมกไหม้อยู่สักหน่อย กล่าวคือ เจตนาจะเขียนถึงจิตรกรรมฝาผนัง วัดดุสิดาราม แต่ดันจั่วหัวไว้ดังที่เห็น ซึ่งอาจชวนให้เข้าใจผิดว่า ทางวัดมีภาพพจน์เสื่อมเสียติดลบ หรือมีกิจไม่ดีไม่งาม คลับคล้ายจะเป็นแหล่งอบายมุข

    ที่นี่...โด่งดังมีชื่อเสียงเรื่องนรกจริงๆ นะครับ แต่เป็นไปในความหมายเชิงบวก กล่าวคือ ภาพนรกภูมิวัดดุสิดาราม ได้รับการยกย่องว่า เขียนได้สยดสยองน่าสะพรึงกลัวดุเดือดเลือดพล่านมากสุด เปี่ยมด้วยความมีชีวิตชีวาสมจริง ไม่มีที่ไหนเทียบเคียงวาดได้ดีเท่าอีกแล้ว

    และร่ำลือกันว่า เมื่อครั้งอดีตครูช่างท่านใดก็ตาม หากจะทำการเขียนภาพนรกตามผนังโบสถ์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมาดูและศึกษาแบบอย่างจากที่นี่ ประมาณว่าเป็นขั้นตอน "ภาคบังคับ" หรือ "ภาพครู" เลยทีเดียว

    ผมเป็นคนกลัวที่คับแคบ, กลัวความสูง, กลัวหนู, กลัวผี และกลัวโดนสาวๆ หักอก (เรียงลำดับที่สุดจากหลังไปหน้านะครับ)

    เมื่อสดับรับฟังคำร่ำลือเกี่ยวกับภาพวาดนรกที่วัดดุสิดารามแล้ว ผมก็เกิดอาการลังเล ใจหนึ่งนั้นอยากดู ขณะเดียวกันก็ปอดแหกขวัญอ่อน นึกกลัวหัวโกร๋นจับไข้ล่วงหน้าตั้งแต่ยังไม่ทันเห็น

    อย่างไรก็ตาม จิตรกรรมฝาผนังที่วัดดุสิดาราม ไม่ได้โด่งดังแค่ภาพนรกเพียงอย่างเดียว แต่โดยรวมทั้งหมดในพระอุโบสถ ก็ขึ้นชื่อลือกระฉ่อนว่า เป็นงานชิ้นเอกระดับต้องดูและห้ามพลาดเด็ดขาด

    อาจารย์ศิลป์ พีระศรีเคยเขียนบทความยกย่องชื่นชมไว้ว่า จิตรกรรมฝาผนังวัดดุสิดาราม ฝีมืองามเยี่ยมยอดในระดับสูสีคู่คี่กับที่วัดสุวรรณาราม

    ความน่าสนใจอันดับแรกคือ เป็นภาพเขียนโดยครูช่างสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งหลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่ง และหาดูได้ยาก

    ประการถัดมา ในระหว่างที่ผมเข้าห้องสมุด เปิดดูหนังสือต่างๆ เกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนัง เพื่อค้นหาแหล่งที่น่าสนใจ มีภาพหนึ่งซึ่งสะดุดตาเหลือเกิน เห็นแล้วผมก็ชอบทันที นั่นคือ ภาพมารผจญที่วัดดุสิดาราม

    ภาพนี้แหละครับที่สวยเย้ายวน จนผมยินดีทำใจหักห้ามความกลัว (และเริ่มต้นสร้างภูมิต้านทาน ด้วยการส่องกระจกเงาดูหน้าตัวเองบ่อยๆ ให้คุ้นชินกับอารมณ์กุ๊ก...กุ๊ก...กรู๋...) จากนั้นก็ออกไปปฏิบัติการดูของจริง

    ผมไปดูภาพเขียนวัดดุสิดาราม เมื่อวันมาฆบูชาที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวาระสะดวกอย่างยิ่ง เนื่องจากโบสถ์ทุกแห่ง เปิดให้เข้าชม โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือขอกุญแจ (ช่วงเวลาที่เปิด มักจะได้แก่ ช่วงเช้าและหัวค่ำ)

    นับจากวันนั้น ผมก็ติดอกติดใจ เฝ้ารอวันสำคัญทางศาสนาให้มาถึงเร็วๆ ด้วยความรู้สึกจดจ่อรอคอยเร้าใจ และท่องคติเตือนตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่า there is not the only one monk day (วันพระไม่ได้มีหนเดียว)

    วัดดุสิดาราม อยู่ใกล้ไปมาสะดวก แค่นั่งรถเมล์จากฝั่งกรุงเทพฯ ข้ามสะพานพระปิ่นเกล้า แล้วลงป้ายแรก ก็จะพบซอยที่ตั้งของวัดพอดิบพอดี

    สันนิษฐานกันว่า น่าจะเป็นวัดราษฏร์ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดเสาประโคน"

    ในนิราศภูเขาทองของสุนทรภู่ (แต่งราวๆ ปี พ.ศ. 2371) กล่าวถึงวัดนี้ไว้ว่า

    "ถึงอารามนามวัดประโคนปัก

    ไม่เห็นหลักลือเล่าว่าเสาหิน

    เป็นสำคัญปันแดนในแผ่นดิน

    มิรู้สิ้นสุดชื่อที่ลือชา"

    คำว่า "ประโคน" สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสันนิษฐานว่า โคนน่าจะแปลว่า เสาหรือหลัก ตรงกับที่เคยมีคำบอกเล่าว่า วัดนี้เดิมมีเสาหินปักอยู่รอบพระอุโบสถ (แต่ได้สูญหายไปในภายหลัง)
    ล่วงมาถึงสมัยรัชกาลที่ 1 ตัววัดคงชำรุดทรุดโทรมมากหรืออาจจะมีสภาพรกร้าง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ (แจ่ม) พระราชธิดาพระองค์ที่ 5 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี จึงได้บูรณะ สร้างพระอุโบสถ พระระเบียง หอระฆัง และกุฏิขึ้นใหม่ พร้อมทั้งซ่อมแซมบางส่วนที่เป็นศาสนสถานของเดิม

    ภาพจิตรกรรมฝาผนังต่างๆ ก็น่าจะเขียนขึ้นในช่วงเวลานี้

    ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ทรงปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมต่อมาในบางส่วน จนแล้วเสร็จ พระราชทานนามวัดว่า "วัดดุสิดาราม"

    เท่าที่ผมจำได้ วัดดุสิดาราม เคยเป็นข่าวใหญ่พาดหัวหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ 2 ครั้ง

    หนแรกสมัยผมยังเรียนอยู่ชั้นประถม มีข่าวค้นพบเรือขุดโบราณหลายลำในบริเวณวัด จนผู้คนมากมายพากันแห่ไปดู (และตามมาด้วยการขัดถูหาตัวเลขไปแทงหวย)

    ผมจำได้ก็เพราะตอนนั้น เพื่อนมันชวนไปดูตอนเลิกเรียน เรือโบราณที่ว่า เป็นเรือขุดจากลำต้นไม้ขนาดใหญ่และยาวมาก (ปัจจุบันก็ยังจัดแสดงไว้บริเวณทางเข้าวัด) เห็นแล้วผมกับเพื่อนก็ตื่นเต้นฮือฮาไปตามๆ กัน

    ข่าวใหญ่ครั้งถัดมา เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2524 หนังสือพิมพ์มติชน พาดหัวรายงานข่าวความเสียหายของจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ ตามติดมาด้วยกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อต่างๆ กระทั่งกลายเป็นแรงขับเคลื่อนให้ได้รับการอนุรักษ์และซ่อมแซมอย่างถูกหลักวิธี โดยผู้เชี่ยวชาญของกรมศิลปากร (ซึ่งตอนนั้นโดนกระหน่ำเละเทะไปเลย)

    ภาพนรกภูมินั้นเขียนไว้ที่ผนังด้านหลังองค์พระประธาน จากขอบประตูลงมาถึงเบื้องล่าง ขนาดพื้นที่ค่อนใหญ่

    เหตุการณ์โดยรวมนั้น กล่าวถึงเมื่อครั้งที่พระเถระองค์หนึ่งชื่อ "พระมาลัย" อยู่ ณ โรหนคาม ในลังกาทวีป ท่านเป็นพระอรหันต์ที่มีฤทธิ์เดชมาก จึงมักไปโปรดสัตว์ในเมืองนรกอยู่เนืองๆ

    ครั้นเมื่อกลับมายังเมืองมนุษย์แล้ว ก็นำข่าวคราวของผู้อยู่ในเมืองนรก มาเล่าให้ญาติมิตรได้รับรู้ บรรดาญาติทั้งหลายจึงต่างทำบุญกุศลส่งไปให้

    ภาพนรกภูมิที่วัดดุสิดาราม วาดเป็นเหตุการณ์พระมาลัยโปรดสัตว์, จำแนกให้เห็นถึงนรกขุมต่างๆ, พระยมกำลังตัดสินโทษวิญญาณคนเพิ่งตาย และการทัณฑ์ด้วยรายละเอียดพิลึกพิลั่นพิสดารสารพัดอย่าง






    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
    25 พฤษภาคม 2552 12:16 น.

    </TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>






















































































































































































































































    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. tum399

    tum399 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    732
    ค่าพลัง:
    +2,908
    นรกภูมิประกอบไปด้วย ขุมนรกใหญ่ 8 ขุม คือ สัญชีพนรก, กาฬสุตตนรก, สังฆาฎนรก, โรวุนรก, มหาโรรุวนรก, ตาปนรก, มหาตาปนรก และมหาอเวจีนรก

    ภาพวาดเกี่ยวกับขุมนรก มักจะวาดเป็นตารางสี่เหลี่ยมจตุรัส มีใบหน้าผู้คนแออัดยัดเยียดทุกข์ทรมานอยู่ในนั้น
    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]



    เท่านั้นยังไม่พอ แต่ละขุมนรกยังแบ่งเป็นขุมย่อยๆ ซึ่งวาดเป็นรูปสี่เหลี่ยมห้อมล้อมภาพย่อหน้าที่แล้ว เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสแผ่ออกไป 4 ทิศ

    นรกที่วัดดุสิดาราม วาดไว้เพียงแค่ขุมเดียวคือ สัญชีพนรก ซึ่งถือกันว่ามีความโหด มัน ฮา ฮาร์ดคอร์หนักหนาสาหัสกว่าขุมอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนนรกที่เหลือทั้งหมด

    สภาพของรูปเขียนนรกภูมิที่ผมเห็นนั้น หลายจุดหลายส่วน ลบเลือนเสียหายไปแล้ว การดูในลักษณะภาพรวมจึงค่อนข้างลำบาก ได้แต่สังเกตุเฉพาะบริเวณที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งก็ค่อนข้างกระท่อนกระแท่น ไม่ปะติดปะต่อ

    อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกวูบแรกที่เห็น ผมยอมรับว่าน่ากลัวสมดังค่ำร่ำลือ และเมื่อนำภาพที่ถ่ายไว้มาอัดเพื่อดูเล่นไปทำไมก็ไม่รู้ ตามประสาคนกลัวผี แต่เป็นโรคจิตนิดๆ คือ ยิ่งกลัว ยิ่งอยากดู

    ระดับความสยองขวัญจากภาพถ่าย ลดทอนลงไปเยอะ แพ้ของจริงหลุดลุ่ยไม่เห็นฝุ่นเลย ภาพนรกวัดดุสิดาราม "ถ่ายรูปไม่ค่อยขึ้น" นะครับ ไม่ได้ feeling เท่ากับการดูสดๆ จะๆ ด้วยสายตาตนเอง

    บรรยากาศห้อมล้อมในโบสถ์อย่างหนึ่ง, สีสันในภาพถ่ายที่ผิดเพี้ยนจากของจริงอย่างหนึ่ง, และการวางเฟรมภาพจับระยะใกล้ ไม่เห็นภาพรวมทั้งหมดอีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ เหล่านี้มีส่วนทำให้การดูจากภาพถ่ายและของจริง ให้อารมณ์ความรู้สึกแตกต่างกันสุดขั้ว ราวกับดูหนังสยองขวัญคนละเรื่อง

    ความน่ากลัวอันดับแรกของภาพนรกวัดดุสิดาราม อยู่ที่การใช้สีในโทนสยอง พื้นเป็นน้ำตาลเข้มหนัก แตกต่างจากภาพอื่นๆ วาดผิวเนื้อคนกลมกลืนกับแบ็คกราวด์, ตัดเส้นขอบด้วยสีแดง (รวมทั้งมีเลือดและเปลวไฟตามเนื้อตัวของเหล่าเปรต) อารมณ์จึงมาทางดุดันน่าสะพรึงกลัว

    เคล็ดลับถัดมาในการดูให้ขนหัวลุกก็คือ เราๆ ท่านๆ ต้องปรับจินตนาการส่วนตัวสักเล็กน้อย

    ลองสมมตินะครับว่า เราดูภาพดังกล่าวในยุคสมัย ที่โลกนี้ยังไม่มีภาพยนตร์แนวสยองขวัญ, ไม่มีภาพข่าวอาชญากรรมแหวะๆ, ไม่เคยเห็นภาพวาดน่าเกลียดน่ากลัวจากโลกตะวันตก

    มองในมุมนี้ ผมเชื่อว่า คนโบร่ำโบราณ เห็นภาพที่วัดดุสิดารามแล้ว ก็คงสะดุ้งตกใจขวัญหนีดีฝ่อเอาได้ง่ายๆ

    ประการต่อมา ก่อนดูภาพนรกที่วัดดุสิดาราม ผมซ้อมสายตา ด้วยการหาภาพเดียวกันจากแหล่งอื่นๆ มาดูเทียบเคียง (ผมเชื่อว่า ขั้นตอนนี้เป็นหัวใจสำคัญสูงสุดในการดูจิตรกรรมฝาผนังระดับที่สามารถแยกแยะได้ว่า ภาพไหนสวยเป็นงานฝีมือชั้นครู ภาพไหนอยู่ในระดับธรรมดาดาดๆ)

    ภาพนรกส่วนใหญ่ที่ผมเห็นตามรูปถ่ายในหนังสือ ใช้สีโทนอ่อนและสว่างกว่านี้ ไม่ดุดันกดทับความรู้สึกเทียบเท่า เลือดและเปลวเพลิง เขียนเป็นลายหยิกๆ หยาบๆ (จนบางทีก็แทบไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นไฟ)

    เหนือสิ่งอื่นใด ความน่ากลัวมากสุดของภาพนรกภูมิที่วัดดุสิดาราม อยู่ที่กรรมวิธีการลงทัณฑ์ต่างๆ ในนรก ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ประหลาดหัวเป็นกบตัวเป็นคน, ภาพปีนต้นงิ้วในสภาพเปลือยเปล่าท่ามกลางหนามแหลมคม แล้วมีอีกาคอยจิกทิ้ง, ผู้คนลงไปแช่อยู่ในกะทะทองแดงที่เดือดพล่าน, สารรูปของเปรตที่อวัยวะสำคัญผิดรูปผิดร่างพิกลพิการ, การใช้คีมเหล็กคีบลิ้นและดึงออกมา, การใช้หอกแทงทะลวงเข้าไปในปากจนทะลุท้ายทอย

    ครูช่างที่เขียนภาพนรกวัดดุสิดาราม ท่านร่ำรวยจินตนาการ ช่างคิดสรรหากรรมวิธีลงโทษทั้งโหด โลดโผน วิตถาร และพิสดาร ได้อย่างหลากหลายไร้ขีดจำกัด

    พูดง่ายๆ ว่า เป็นภาพตรงข้ามกับจิตรกรรมฝาผนังส่วนใหญ่ ซึ่งเน้นความวิจิตรประณีต, ความงามในเชิงอุดมคติ, ความหรูหราอลังการ และยึดมั่นต่อขนบแบบแผน

    กล่าวคือ ภาพนรกนั้นเต็มไปด้วยลีลาน่าเกลียดน่ากลัว เขียนด้วยลายเส้นเป็นอิสระ ค่อนข้างมาทางสมจริง (หมายถึงรูปลักษณ์หน้าตาสรีระนะครับ ไม่ใช่วิธีลงโทษ ซึ่งเป็นจินตนาการล้วนๆ ที่เกินจริงไปเยอะ)

    อาจสรุปคร่าวๆ ได้ว่า ภาพนรกที่ยกย่องกันว่างาม คือ ภาพที่เขียนออกมาให้มุ่งไปในทาง "ไม่เจริญหูเจริญตา" มากสุดเท่าที่จะทำได้

    ขอสารภาพว่า เมื่อกลับจากการดูภาพนรกที่วัดดุสิดารามแล้ว คืนนั้นผมฝันร้าย พบว่าตัวเองกลายเป็นเด็กเปรต อยู่ในสภาพหิวโหยขาดอาหาร

    จะผิดธรรมเนียมอยู่บ้างตรงที่ ในฝันผมดันเป็นเด็กเปรตอ้วนๆ ยังไงชอบกลก็ไม่รู้

    สัปดาห์หน้าเด็กเปรตอ้วนๆ จะพาท่านผู้อ่านไปดูภาพมารผจญ วัดดุสิดารามนะครับ

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
    25 พฤษภาคม 2552 12:16 น.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 พฤษภาคม 2009
  3. อวิปลาส

    อวิปลาส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +353


    ใครว่าทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว

    นรก สวรรค์ ไม่มี...กรรรมหนักนะจ๊ะ...

    ขอเตือนด้วยความหวังดี


    :boo::boo:
     

แชร์หน้านี้

Loading...