ที่มาของศาสนา และความรู้เกี่ยวกับวัด

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย thanan, 16 มีนาคม 2005.

  1. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,666
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,210
    ศาสนาคือที่รวมแห่งความเคารพนับถืออันสูงสุดของมนุษย์ชาติเป็นที่พึ่งทางใจ ซึ่งมนุษย์ส่วนมากเลือกยึดเหนี่ยว ความพอใจและความเหมาะสมแก่เหตุของตน คือคำสอนอันว่าด้วยระเบียบศีลธรรมและอุดมคติสูงสุดของชีวิต ของบุคคลรวมทั้งแนวความเชื่อถือและแนวการปฏิบัติต่าง ๆ กัน ตามคติของแต่ละศาสนา พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนด้วยความจริง ซึ่งมีเหตุผลคงทนต่อการพิสูจน์เข้ากับหลักวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี เช่น หลักธรรมที่ว่า ผลย่อมมาจากเหตุ หัวใจของพระพุทธศาสนาประกอบไปด้วย การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้สมบูรณ์การทำจิตให้ผ่องใสหรือผ่องแผ้ว

    <u>วัด</u>

    วัดจึงเป็นสถานที่ทางศาสนา ตามปกติจะมีอาคารถาวรวัตถุต่าง ๆ เป็นที่พำนักอยู่อาศัย ศึกษาปฏิบัติพระธรรมวินัย และประกอบศาสนกิจของพระภิกษุสงฆ์ ตลอดจนเป็นที่บำเพ็ญการกุศลต่าง ๆ ของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป วัดตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2505 มาตรา 31 แก้ไขปี 2535 บัญญัติว่า วัดมี สองอย่าง หนึ่ง วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และสอง สำนักสงฆ์

    1. สำนักสงฆ์ ได้แก่ วัดที่ที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งวัดแล้ว แต่ยังมิได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา รวมถึงวัดที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ซึ่งยังมิได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาด้วย นับว่าเป็นวัดที่สมบูรณ์ด้วย ฐานะทางกฎหมายแล้ว ปัจจุบันสำนักสงฆ์มีประมาณ 14,389 แห่ง

    2. วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาได้แก่วัดที่เลื่อนฐานะมาจากสำนักสงฆ์ โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เพื่อประโยชน์แก่สังฆกรรม ตามพระวินัย สำหรับพระสงฆ์ ตามที่ได้เคยบัญญัติไว้ในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 ที่เรียกว่าอาราม เป็นวัดที่สมบูรณ์ด้วยทางกฏหมายและทางวินัยทุกประการ

    วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาปรากฎในกฎกระทรวงฉบับที่ 1 พ.ศ. 2507 ข้อ 11 (ออกตามความในพ.ร.บ. คณะสงฆ์ 2505) ความว่า
    ก. ได้สร้างขึ้นหรือปฏิสังขรณ์ขึ้นเป็นหลักฐานถาวร
    ข. มีพระภิกษุพำนักอยู่ไม่น้อยกว่า 5 รูป ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ระยะเวลา 5 ปีมิให้ใช้บังคับแก่วัดที่ได้สร้างอุโบสถเสร็จเรียบร้อยแล้ว
    ค. เมื่อได้ความเห็นชอบจากเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะจังหวัดแล้ว เสนอให้กรรมการศาสนาพิจารณา เมื่อกรรมการศาสนาพิจารณาเห็นสมควรแล้วให้กราบทูลสมเด็จพระสังฆราชเพื่อทรงอนุมัติ แล้วเสนอกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานวิสุงคามสีมาต่อไป เมื่อพระราชทานวิสุงคามสีมาแก่วัดใดแล้ว ให้นายอำเภอท้องที่ที่วัดนั้นตั้งอยู่ดำเนินการปักหมายเขตที่ดินตามที่ได้พระราชทานต่อไป

    <u>ประเภทของวัด</u>

    ถ้าแบ่งตามสภาพ มี 3 ประเภทคือ

    1. พระอารามหลวง
    2. วัดราษฎร์
    3. วัดร้าง

    <u>1. พระอารามหลวง</u> เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์ เป็นการส่วนพระองค์ก็ดี พระราชทานเพื่อเป็นเกียรติยศแก่ผู้ต่ำศักดิ์ลงมา เพื่อแก่วัดก็ดี มีอยู่จำนวนหนึ่งที่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริภารผู้ใหญ่ทรงสร้างหรือสร้างขึ้น หรือทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์และสร้างขึ้นแล้วน้อมเกล้าถวายเป็นพระอารามหลวงรวมทั้งวัดที่ประชาชนสร้างหรือปฏิสังขรณ์และทรงรับใช้เป็นพระอารามหลวงแล้ว ชั้นแห่งพระอารามหลวงแบ่งตามลำดับความสำคัญเป็น 3 ชั้น

    1. ชั้นเอก ได้แก่วัดที่มีเจดีย์สถานสำคัญ วัดที่บรรจุบรมอัฐิ หรือวัดที่มีเกียรติอย่างสูงมี 3 ชนิด คือ

    &middot; ราชวรมหาวิหาร

    &middot; ราชวรวิหาร

    &middot; วรมหาวิหาร

    2. ชั้นโท ได้แก่วัดที่มีเจดีย์สถานสำคัญหรือวัดที่มีเกียรติ มี 4 ชนิด คือ

    &middot; ราชวรมหาวิหาร

    &middot; ราชวรวิหาร

    &middot; วรมหาวิหาร

    &middot; วรวิหาร

    3. ชั้นตรี ได้แก่ วัดมีเกียรติ วัดประจำหัวเมือง หรือวัดสามัญ มี 3 ชนิดคือ

    &middot; ราชวรวิหาร

    &middot; วรวิหาร

    &middot; สามัญ

    <u>2. วัดราษฎร์</u> เป็นวัดที่ประชาชนทั่วไปสร้างหรือปฏิสังขรณ์ซึ่งได้รับอนุญาตให้สร้างวัดและประกาศตั้งวัด โดยถูกต้องตามกฎหมาย จากทางราชการ และช่วยกันทะนุบำรุงวัดสืบต่อกันมาตามลำดับ วัดราษฎร์หมายถึงวัดทั้งชนิดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและสำนักสงฆ์ซึ่งมิได้นับเข้าเป็นพระอารามหลวงการที่บุคคลจะสร้างวัดต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวงฉบับที่ 1 พ.ศ.2507 ออกตามใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 หมวด 1 ซึ่งมีหลักสำคัญว่า ถ้าบุคคลใดประสงค์จะสร้างวัดให้ยื่นคำขออนุญาตต่อนายอำเภอท้องที่ที่จะสร้างวัดพร้อมด้วยรายการและเอกสาร คือหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินที่จะยกใหสร้างวัดและที่ดินนั้นต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 6 ไร่ จำนวนเลินและสุมภาระที่จะใช้ในการสร้างวัดในระยะแรก ต้องมีราคารวมกันไม่น้อยกว่า 50,000 บาท เมื่อนายอำเภอได้รับคำขออนุญาตสร้างวัดและพิจารณาเห็นสมควรแล้ว ให้นำปรึกษาเจ้าคณะอำเภอ แล้วเสนอเรื่องและความเห็นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาเห็นแล้วให้นำปรึกษาเจ้าคณะจังหวัด แล้วส่งเรื่องและความเห็นไปยังกรมการศาสนา เมื่อกรมการศาสนาพิจารณาเห็นสมควรให้สร้างวัดได้แล้วให้รายงานกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอรับความเห็นชอบ แล้วนำเสนอมหาเถรสมาคม เมื่อมหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว ให้กรมการศาสนาออกหนังสืออนุญาตให้สร้างวัดได้

    <u> 3.วัดร้าง</u> ได้แก่วัดที่ไม่มีพระภิกษุสงฆ์พำนักอาศัยประจำซึ่งทางราชการจะขึ้นทะเบียนเป็นวัดร้างไว้ โดยกรรมการศาสนาหรือจังหวัดซึ่งกรมการศาสนามอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรักษาวัดที่ร้าง เอาโดยสภาพยังเป็นนิติบุคคลอยู่โดยสมบูรณ์ และมีโอกาสที่จะเป็นวัดมีพระสงฆ์ได้อีก ทั้งนี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์มาตรา 32 ทวิ ที่เพิ่มเข้ามาใหม่เมื่อปี 2535 ว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...