ทุกข์สุขกับเพลง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 20 มิถุนายน 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    เมื่อเสียงความถี่หนึ่งเปลี่ยนไปสู่เสียงอีกความถี่หนึ่งย่อมเกิดความต่างระดับของเสียงทั้งสองขึ้นมา ถ้าให้เสียงนี้เปลี่ยนระดับความถี่ไปมา สูงบ้างต่ำบ้างก็จะกลายเป็นคลื่นเสียงที่มนุษย์เราเอามาใช้สื่อสารกันได้ ถ้าประดิษฐ์ความต่างระดับของเสียงให้ได้จังหวะคาบเวลาที่พอเหมาะแก่การหน่วงจำของสมองที่รับเสียงเข้ามาทางหูก็สร้างความไพเราะขึ้นมาได้

    ความไพเราะของเสียงเพลงจริงๆแล้วก็คือกระบวนการทำงานของสัญญาขันธ์และวิญญาณขันธ์ ที่หน่วงจำเอาระดับของเมโลดี้สัญญาณเสียงต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไปมาไว้ชั่วคราว....แล้วปรุงแต่งเปรียบเทียบความต่างของเสียงแต่ละห้วงขณะ ให้เกิดเป็นความพอใจในการเปลี่ยนแปลงของเมโลดี้นั้นๆขึ้นมา

    ดังนั้นถ้าเราสามารถฟังก็สักแต่ว่าฟังไม่ให้ความหน่วงจำในความถี่เสียงของจิตทำงาน รับฟังเข้ามาแล้วไม่ปรุงแต่ง ...เสียงเพลงนั้นๆก็ไม่อาจสร้างความชอบหรือไม่ชอบให้แก่จิตใจได้....เหมือนคำที่ท่านกล่าวว่า
    <center>"ฟังอย่าให้ติดหู.....ดูอย่าให้ติดตา...
    ....ข้าวสารถั่วงา อย่าให้ติดลิ้น"</center>

    กระบวนการเกิดของสุข-ทุกข์ที่มีแก่ใจก็เช่นเดียวกัน มันเกิดได้จากการที่เราไปยึดมั่นเอาความรู้สึกของจิตใจที่มีต่อเหตุการณ์หนึ่ง มาเปรียบเทียบกับอีกสภาวะหนึ่งเมื่อมันเกิดความแตกต่างของสองสภาวะขึ้นมา แล้วจิตไปปรุงแต่งเปรียบเทียบกันให้มีสิ่งหนึ่งดีกว่าอีกสิ่งหนึ่ง ถ้าเปลี่ยนไปในทางที่จิตชอบก็เป็นผลให้เกิดสุข ถ้าเปลี่ยนไปในทางที่จิตไม่ชอบก็เป็นผลให้เกิดทุกข์.......
    สรุปแล้วถ้าเราสามารถดูก็สักแต่ว่าดู...ฟังก็สักแต่ว่าฟัง...ได้กลิ่นก็สักแต่ว่าได้กลิ่น...กินก็สักแต่ว่ากิน...สัมผัสก็สักแต่ว่าสัมผัส........หรือที่ครูบาอาจารย์กล่าวกันว่า"เพียงแต่รับรู้เฉยๆ" ไม่ให้สัญญาขันธ์ทำงาน ไม่ให้เกิดการปรุงแต่งของจิต ไม่ให้เกิดการเปรียบเทียบของสองสภาวะ....ถ้าทำได้ดังนี้ก็คือการมีสติสัปชัญญะอย่างเต็มพร้อมนั่นเอง

    ทั้งการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียงและเหตุการณ์ต่างๆท่านกล่าวว่าคือ..."อนิจจัง"

    เพราะการเปรียบเทียบในระดับเสียงและการเปรียบเทียบในเหตุการณ์ทั้งหลายทำให้เกิดความพอใจและไม่พอใจท่านกล่าวว่าคือ..."ทุกขัง"

    เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งและการเปลี่ยนแปลงนั้นสร้างความพอใจและไม่พอใจให้ปุถุชนตราบเท่าที่การเปลี่ยนแปลงนั้นยังคงอยู่ จึงไม่มีอะไรที่มีตัวตนที่แท้จริง ทุกอย่างเป็นแค่กิริยาการสืบต่อของการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น ท่านจึงกล่าวว่าคือ..."อนัตตา"

    "สุขและทุกข์ล้วนเกิดจากการยึดมั่นในสภาวะเท่านั้นเอง".
     

แชร์หน้านี้

Loading...