ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ “เส้นทางแห่งพุทธศาสนา” ในปากีสถาน

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 23 กรกฎาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b8b5e0b988e0b8a2e0b8a7e0b980e0b88ae0b8b4e0b887e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8.jpg
    Shaheen Buneri (Pakistan, 2011)

    ก่อนหน้านี้ “ประชาชาติธุรกิจ” ได้มีโอกาสพูดคุยกับ “อาซิม อิฟติกาห์ อาหมัด” เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ประจำประเทศไทย เกี่ยวกับเรื่องทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-ปากีสถาน รวมไปถึงภาคการท่องเที่ยว โดยท่านทูตฯ ต้องการจะยกระดับความเข้าใจตั้งแต่ภาคประชาชนจนถึงระดับรัฐ และมองว่าการท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่สามารถสื่อสารสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนคนไทยได้มากขึ้น

    และเมื่อเร็วๆ นี้ สถานเอกอัครราชทูตปากีสถานประจำประเทศไทย ได้ร่วมกับสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงานเสวนาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในประเทศปากีสถาน โดยมีการเชิญเจ้าชายอัดนัน โอรังเซบ (Prince Adnan Aurangzeb) และศาสตราจารย์ ดร.มูฮัมหมัด อัชราฟ ข่าน (Prof Dr. Muhammad Ashraf Khan) เป็นผู้บรรยายในหัวข้อเรื่อง “แหล่งกำเนิดของอารยธรรมพุทธศาสนา”

    “เจ้าชายอัดนัน โอรังเซบ” ได้กล่าวถึง “มรดกพระพุทธศาสนาแห่งปากีสถาน” โดยย้ำว่าแม้ประชากรส่วนใหญ่กว่า 200 ล้านคนในปากีสถานจะนับถือศาสนาอิสลาม แต่ปากีสถานก็ถือว่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางศาสนาของโลกเช่นกัน โดยที่ผ่านมามีการพบหลักฐานทางอารยธรรมมากมาย ชี้ชัดว่า ปากีสถานเป็นศูนย์กลางและเป็นอีกหนึ่งแหล่งต้นกำเนิดของพุทธศาสนาในยุคสมัยที่เคยรุ่งเรืองในอดีตกาล โดย “เมืองตักศิลา” แคว้นปัญจาบ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโกแล้ว

    ทั้งนี้ ได้กล่าวถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์หลายแห่ง หนึ่งในนั้นก็คือ พิพิธภัณฑ์ตักศิลา ซึ่งได้เก็บรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับความเป็นอยู่และภูมิปัญญาของชาวตักศิลายุคต่างๆ เอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น ซากสถูปเจดีย์ วัดวาอาราม และปฏิมากรรม แบบศิลปะคันธาระ เป็นจำนวนมาก

    [​IMG] [​IMG]
    b8b5e0b988e0b8a2e0b8a7e0b980e0b88ae0b8b4e0b887e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8-1.jpg
    www.thehindu.com

    เจ้าชายอัดนัน เป็นหลานชายของมูฮัมหมัด อายุบ ข่าน (Mohammad Ayub Khan) อดีตประธานาธิบดีแห่งปากีสถาน ซึ่งในราชตระกูลปกครองพื้นที่ใน “สวัต” (Swat) ในปากีสถานมานาน ภายใต้การปกครองของอังกฤษ (British Raj) สวัตเป็นรัฐที่มีอำนาจปกครองตนเองครอบคลุมพื้นที่ 8,000 ตร.กม. ขณะที่เจ้าชายอัดนันได้ดำรงตำแหน่ง “วาลิแห่งสวัต” (Wali of Swat) ตามธรรมเนียมการปกครองแบบดั้งเดิม

    b8b5e0b988e0b8a2e0b8a7e0b980e0b88ae0b8b4e0b887e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8-2.jpg

    ด้วยความสนใจของเจ้าชายอัดนัน โดยเฉพาะด้านพุทธศาสนา จึงได้เดินทางเยือนประเทศพุทธศาสนาจำนวนมาก รวมทั้งประเทศไทย โดยจะเน้นที่การบรรยายเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ของปากีสถานและอัฟกานิสถานตะวันออก นอกจากนี้ ยังกล่าวถึง “อารยธรรมคันธาระ” (Gandhara) และความเป็นมาของพุทธศาสนานิกายตันตระจากอาณาจักรอุดยานะ (Udyana) ในอดีตสู่ดินแดนสวัตในปัจจุบัน ซึ่งรุ่งเรืองเหนือดินแดนแถบเทือกเขาหิมาลัยและเป็นรากฐานของพุทธศาสนาแบบทิเบตในปัจจุบันด้วย

    b8b5e0b988e0b8a2e0b8a7e0b980e0b88ae0b8b4e0b887e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8-3.jpg
    หุบเขาสวัต ในแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา ของปากีสถาน

    นอกจากนี้ ยังมีผู้เชี่ยวชาญอีกหนึ่งท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.มูฮัมหมัด อัชราฟ ข่าน ซึ่งได้กล่าวบรรยายถึงเรื่อง “มรดกพระพุทธศาสนาแห่งคันธาระและอิทธิพลต่อพุทธศิลป์ในตะวันใกล้และตะวันออกไกล”

    “คันธาระ” แปลว่า “ดินแดนที่มีกลิ่นหอม” เป็นชื่อเรียกดินแดนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสินธุ ซึ่งในปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่หุบเขาเปศวาร์ (Peshawar valley) เขตสวัต เขตบูเนอร์ (Buner) และเขตบาโจร์ (Bajaur) จังหวัดไคเบอร์ปัคตูนควา (Khyber Pakhtunkhwa) ของปากีสถาน ซึ่งเป็นดินแดนที่รุ่มรวยอย่างมาก มีแม่น้ำหุบเขาและสภาพอากาศที่งดงาม และด้วยตำแหน่งที่ตั้งซึ่งอยู่ตรงชายแดนของอนุทวีปอินเดีย-ปากีสถาน และเอเชียตะวันตก

    ดังนั้น คันธาระ จึงมีส่วนในการแผ่อิทธิพลต่อดินแดนโดยรอบ โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เพราะมีการขุดค้นของนักโบราณคดี ซึ่งค้นพบพระพุทธรูปอันงดงามในพื้นที่อารามและสถูปของพุทธศาสนา

    ศาสตราจารย์ ดร.มูฮัมหมัด เป็นอดีตผู้อำนวยการสถาบันตักศิลาของอารยธรรมเอเชีย แห่งมหาวิทยาลัยคูอิด อซาม (Quaid Azam) ในกรุงอิสลามาบัด ซึ่งเคยได้ร่วมขุดค้นและดูแลรักษาพื้นที่อารามของพุทธศาสนาหลายแห่งในปากีสถาน อีกทั้งยังมีผลงานการวิจัยหลายชิ้นเกี่ยวกับศิลปะและโบราณวัตถุแห่งคันธาระ

    b8b5e0b988e0b8a2e0b8a7e0b980e0b88ae0b8b4e0b887e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8-4.jpg

    ทั้งนี้ ดร.มูฮัมหมัด กล่าวด้วยว่า “พุทธศาสนาในแคว้นคันธาระ” มีอิทธิพลและส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญของพุทธศิลป์แบบคันธาระ ไม่แค่เพียงมีอิทธิพลต่ออนุทวีปอินเดีย แต่ยังเผยแพร่อิทธิพลไปยังหลายๆ พื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศทิเบต ศรีลังกา เมียนมา ไทย อินโดนีเซีย รวมถึงตะวันออกกลาง จีน เกาหลี และญี่ปุ่นด้วย

    หนึ่งในคำกล่าวของ เอกอัครราชทูต อาซิม เมื่อครั้งที่เคยกล่าวกับประชาชาติธุรกิจ ระบุว่า “อยากสร้างการรับรู้ให้กับเพื่อนคนไทย ปากีสถานไม่ได้มีดีแค่การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเท่านั้น แต่เรายังมีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งการเดินทางท่องเที่ยวในเมืองตักศิลาในปัจจุบันถือว่าไม่ยากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว อยู่ห่างจากกรุงอิสลามาบัดแค่ 32 กิโลเมตรเท่านั้น โดยถนนหนทางก็สะดวกสบาย รถยนต์จะวิ่งผ่านถนนสาย Grand Trunk Road (GT Rd.) ซึ่งบริเวณรอบๆ ข้างทางเส้นทางนี้ ถือว่ามีชื่อเสียงของปากีสถานเช่นกันด้วยความงามตามธรรมชาติ”

    “คนปากีสถานแทบจะไม่แตกต่างจากคนไทยเลย มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ชอบช่วยเหลือ เป็นเจ้าบ้านที่ดี ที่สำคัญเรื่องความปลอดภัยซึ่งเชื่อว่ามีหลายๆ คนที่ยังกังวล ผมพูดได้ว่าปากีสถานเป็นประเทศที่ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ในปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนประเทศจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นชาวยุโรป ดังนั้น ผมจึงหวังว่าการสร้างการรับรู้ที่ดีต่อคนไทยจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ให้กับปากีสถานต่อชนชาวไทยที่อยากมาเที่ยวปากีสถานได้” ท่านทูต อาซิม กล่าวทิ้งท้าย

    b8b5e0b988e0b8a2e0b8a7e0b980e0b88ae0b8b4e0b887e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8-5.jpg

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.prachachat.net/foreign-soft-news/news-352730
     

แชร์หน้านี้

Loading...