เรื่องเด่น ท่านที่คล่องตัวในการทรงฌานจริง ๆ สามารถใช้ผิวหนังทุกส่วนหายใจแทนจมูกได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Saber, 20 พฤษภาคม 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    jFzbApaokjzfd1-aeeNonlN5&_nc_ohc=asjruIc4npkAX9ZtTNM&tn=32SMgKculfo9F24p&_nc_ht=scontent.fbkk2-6.jpg


    ถาม :
    เวลาเรานั่งสมาธิ เราใช้สะดือหายใจได้หรือเปล่าคะ ?
    ตอบ : จริง ๆ แล้วไม่ใช่สะดือโดยตรง ต่ำกว่าสะดือลงไปหน่อยหนึ่ง

    ถาม : หายใจทางผิวหนังหรือคะ ?
    ตอบ : ตรงจะเป็นจุดศูนย์รวม ถ้าเป็นพวกฝึกจักระ จะเป็นจุดจักกระสำคัญ ซึ่งสามารถใช้ตรงนั้นหายใจแทนจมูกได้ ถ้าสังเกตเด็ก ๆ ที่เพิ่งเกิดมาใหม่ ๆ เวลานอนแล้วเขาหายใจ ตรงจุดนั้นจะบุ๋มกว่าเพื่อน เพราะเขาเคยชินกับตอนที่อยู่ในท้องแม่ ที่ไม่ได้ใช้จมูกหายใจ แต่ถ้าเป็นท่านที่คล่องตัวในการทรงฌานจริง ๆ สามารถใช้ผิวหนังทุกส่วนหายใจแทนจมูกได้

    ถาม : แล้วสมาธิระดับไหนจึงจะไม่ต้องหายใจ ?
    ตอบ : ฌานสองขึ้นไป ความจริงยังหายใจอยู่ แต่จิตเราหยาบเกินไปจึงไม่รู้ถึงลมหายใจซึ่งเป็นปราณละเอียด

    ถาม : ทำไมฌานสี่จึงรู้ว่าไม่ใช่จมูกหายใจ แต่เป็นตรงนั้นหายใจแทน ?
    ตอบ : ถ้าหากคล่องตัวแล้วอย่างไรก็รู้ได้ ถ้ายังไม่คล่องตัวก็จะนิ่งเป็นตอไม้ไปเฉย ๆ

    ถาม : ก็คือฌานใช้งานหรือคะ ?
    ตอบ : ถูกต้อง

    ถาม : แบบนี้ถ้าเราโดนฝังดินเราก็ไม่ตายสิคะ ?
    ตอบ : ถ้าทำได้ก็ไม่ตาย พวกโยคีเขาให้ทดสอบด้วยการเอาฝังดินเป็นวัน ๆ เขาตายไหมเล่า ?

    https://watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=2399&page=2&langid=1
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ถาม : หายใจทางผิวหนังได้หรือคะ ?
    ตอบ : ได้...ขอยืนยัน ถ้าหากว่าใครทรงฌานได้ โอกาสหายใจทางผิวหนังมีเยอะมาก ถึงเวลาแล้วสภาพร่างกายของเราไม่ใช่แท่งทึบนะ แบบเดียวกับพวกต้นเสา เราเห็นว่ามันทึบ แต่ในสายตาของโลกทิพย์ที่ละเอียด เขาจะเห็นว่าช่องโหว่ของวัตถุนี่ใหญ่ขนาด ๑๐ ล้อวิ่งผ่านได้เลย ไม่ต้องแปลกใจว่าพวกที่ได้อภิญญาเดินทะลุกำแพงไปได้ ก็แค่ลอดช่องว่างนั้นไป ฉะนั้น...เรื่องที่ไม่ใช้จมูกหายใจถือเป็นเรื่องปกติของเขา

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    (หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน)
    เก็บตกจากบ้านเติมบุญ ต้นเดือนสิงหาคม ๒๕๖๑
     
  3. Picolo Fanta

    Picolo Fanta ต้นคต ปลายตรง ไม่มี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,086
    ค่าพลัง:
    +651
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    ตัณหา เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา หมายถึง ความติดใจอยาก ความยินดี ยินร้าย หรือติดในรสอร่อยของโลก ประกอบด้วย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ และ ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้ประพฤติประมาท ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดังนั้น ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาไม่ได้

    ในหลักปฏิจจสมุปบาท ตัณหาเกิดจากเวทนาเป็นปัจจัย โดยมี อวิชชาเป็นมูลราก ควรเห็นตัณหา เป็นดังเครือเถาที่เกิดขึ้น แล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญา
     
  5. Picolo Fanta

    Picolo Fanta ต้นคต ปลายตรง ไม่มี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,086
    ค่าพลัง:
    +651
    แหม่ .ขอบคุณครับ
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

    [​IMG]
    [๔๐๖] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า
    จักระงับกายสังขารหายใจเข้า อย่างไร ฯ

    กายสังขารเป็นไฉน ลมหายใจออกยาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้
    เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้
    เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร บุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น
    ศึกษาอยู่ ลมหายใจออกสั้น ลมหายใจเข้าสั้น ลมที่บุคคลรู้แจ้งกองลมทั้งปวง
    หายใจออก เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร บุคคล
    ระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น ศึกษาอยู่ ความอ่อนไป ความน้อมไป
    ความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความดิ้นรน ความโยก ความโคลง
    แห่งกาย มีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกาย
    สังขารหายใจออก ศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ความไม่อ่อนไป
    ความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความ
    ไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลง แห่งกาย มีอยู่เพราะกายสังขารเห็น
    ปานใด บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจออก ศึกษา
    อยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจเข้า ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคล
    ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขาร
    หายใจเข้า เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ไม่ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ไม่
    ปรากฏ อานาปาณสติก็ไม่ปรากฏ อานาปาณสติสมาธิก็ไม่ปรากฏ และบัณฑิต
    ทั้งหลายแม้จะเข้าแม้จะออกสมาบัตินั้นก็หามิได้ ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคลศึกษา
    อยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า
    เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปาณ
    สติก็ปรากฏ อานาปาณสติสมาธิก็ปรากฏ และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าและย่อม
    ออกสมาบัตินั้น ข้อนั้นเหมือนอะไร เหมือนเมื่อบุคคลตีกังสดาลเสียงดังย่อม
    เป็นไปก่อนตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงดัง เมื่อเสียงดัง
    ค่อยลง ต่อมาเสียงค่อยก็เป็นไปภายหลังตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่ง
    เสียงค่อย และเมื่อเสียงค่อยดับลง ต่อมาจิตย่อมเป็นไปในภายหลัง แม้เพราะ
    นิมิตแห่งเสียงค่อยเป็นอารมณ์ ข้อนี้ก็เหมือนกันฉะนั้น ลมหายใจออกและลม
    หายใจเข้าที่หยาบ ย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย นึกทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลม
    หายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบ เมื่อลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบ
    เบาลง ต่อมาลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียด ย่อมเป็นไปในภายหลัง
    ตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่
    ละเอียด และเมื่อลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียดเบาลงอีก ต่อมาจิตย่อม
    ไม่ถึงความฟุ้งซ่านในภายหลัง แม้เพราะความที่นิมิตแห่งลมหายใจออกลมหายใจ
    เข้าที่ละเอียดเป็นอารมณ์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมอัสสาสะ
    ปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปานสติก็ปรากฏ อานาปานสติสมาธิก็ปรากฏ และบัณฑิต
    ทั้งหลายย่อมเข้าและออกสมาบัตินั้นๆ กายคือความที่บุคคลระงับกายสังขาร
    หายใจออกหายใจเข้าปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ
    สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณ
    นั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกาย
    ในกาย ฯ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...