"ท้อนเงิน" พลิกชีวิตแม่หญิงลาว

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 18 ธันวาคม 2005.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,123
    กระทู้เรื่องเด่น:
    348
    ค่าพลัง:
    +64,476
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>

    -เสาวภา อักษรเนียม





    </TD><TD vAlign=top align=right>
    [​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]


    30 กว่ากิโลจากเวียงจันทน์ สภาพความเป็นอยู่ของคนเมืองนาทรายทองไม่ต่างจากชีวิตชนบทในเมืองเกษตรกรรมทั่วไป ความหวังต้องฝากไว้กับสภาพดินฟ้าอากาศ หลังฤดูทำนาก็อาศัยอาชีพเสริมตามความถนัด การทำนาเพียงหนเดียวไม่เพียงพอในการใช้จ่าย ต้องอาศัยกู้หนี้ยืมสินนอกระบบซึ่งมีดอกราคาแพง หลายครั้งต้องขายข้าวเขียวในท้องนา ทั้งที่รู้ว่าราคาต่ำกว่าข้าวเปลือกมากกว่าครึ่ง ชาวบ้านหลายหลังคาเรือนต้องแบกรับกับภาระหนี้สินโดยไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะปลดหนี้ได้หมด

    รัฐบาลลาวคิดแก้ปัญหาด้วยการส่งเสริมให้ชาวบ้านพึ่งตนเองด้วยการอดออม ตั้งเป็นกองทุนในการผลิตของหมู่บ้านเรียกว่า "กลุ่มท้อนเงิน"

    ต่อมาสหพันธ์แม่หญิงลาว ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.)จากไทย และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาชนบท หรือเอฟซีดี เข้าไปส่งเสริมกลุ่มท้อนเงิน เริ่มที่เมืองปากงึม จากนั้นขยายไปสู่เมืองสังข์ทอง และเมืองนาทรายทอง

    การท้อนเงินมีส่วนพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ให้ดีขึ้น โดยนำไปเป็นทุนรอนทำอาชีพต่างๆ ทั้งการเกษตร ทอผ้า หัตกรรมจักสาน ทำลูกแป้งต้มเหล้า รวมทั้งแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งคิดดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 15-30 ต่อเดือน ขณะที่กลุ่มท้อนเงินคิดดอกเเพียงร้อยละ 3-5



    เมืองนาทรายทองถือเป็นเมืองที่มีสมาชิกกลุ่มท้อนเงินมากที่สุด คือ 6,128 คน ใน 56 หมู่บ้าน นางมล ศิริจักร ชาวบ้านนาคูนเหนือ เมืองนาทรายทอง หนึ่งในผู้ที่เข้าร่วมกลุ่มท้อนเงิน เล่าว่า มีอาชีพหลักคือทำนา แต่ช่วงว่างก็จะทอผ้า ส่วนใหญ่ทอเป็นตีนซิ่น โดยเงินทุนกู้มาจากกลุ่มท้อนเงิน ทอเสร็จก็จะมีแม่ค้ามารับซื้อถึงบ้านนำไปวางขายตลาดเช้าในเวียงจันทน์ ต่อวันได้กำไรประมาณ 5,000 กีบ ปัจจุบันออมเงินได้ 10,000 กีบต่อเดือน

    ไม่เพียงแต่สภาพความเป็นอยู่เริ่มดีขึ้น เงินจากกลุ่มท้อนเงินนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาไปสู่การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการของหมู่บ้าน

    นางสายคำ แสงกา ประธานสหพันธ์แม่หญิงเมืองนาทรายทอง บอกว่า เงินทุนสวัสดิการก้อนนี้มาจากการจัดสรรผลกำไรจากกลุ่มท้อนเงินร่วมกับเงินสมทบของสมาชิก ช่วยเหลือสมาชิกตั้งแต่เกิดจนตาย สมาชิกคนใดคลอดลูกหรือนำไปเป็นทุนการศึกษาให้ลูกสามารถมากู้ยืมเงินส่วนนี้ได้ ช่วยให้มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น และการที่ชาวบ้านอดออมทำให้มีเงินฝากในกองทุนเป็นของตัวเอง สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

    ในส่วนของเมืองปากงึมและเมืองสังข์ทองก็มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นเหมือนกับเมืองนาทรายทอง ปัจจุบัน 3 เมืองนี้มีกลุ่มท้อนเงินเกิดขึ้นถึง 123 กลุ่ม ใน 121 หมู่บ้าน มีสมาชิกถึง 20,232 ครอบครัว รวมเงินท้อนกว่า 6,000 ล้านกีบ

    จริงๆ แล้วสิ่งที่ชาวบ้านได้รับมากกว่าในการอดออมก็คือ ก่อให้เกิดการรวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหาสังคมด้วยตนเองโดยมีหน่วยงานต่างๆ เป็นเพียงผู้สนับสนุน

    5 ปีแห่งการดำเนินงาน วันนี้หลายประเทศเข้ามาเยี่ยมชมความพร้อม รวมทั้งเกิดการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อให้การท้อนเงินได้รับการพัฒนาไปอีกขั้น



    บรรยากาศการแลกเปลี่ยนประสบการณ์นานาชาติทั้งไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และอินเดีย ที่หอวัฒนธรรมแห่งชาติ เวียงจันทน์นั้น แต่ละประเทศนำสภาพปัญหาและวิธีจัดการกับปัญหาของตนนำเสนอ แลกเปลี่ยน เพื่อเป็นบทเรียนแก่มิตรประเทศนำไปพัฒนาต่อ

    "กลุ่มท้อนเงิน"ทำให้นานาประเทศที่มาเยี่ยมชมได้เห็นการพัฒนาไปอีกก้าวของลาว สอดคล้องกับคำประกาศของท่านทองลุน สีสุริด รองนายกฯลาว ที่ว่า ลาววางเป้าไว้ว่าจะเปลี่ยนจากประเทศด้อยพัฒนาเป็นประเทศพัฒนาให้ได้ภายในปีค.ศ.2020

    และในอนาคตกลุ่มท้อนเงินยังมีโอกาสขยายไปสู่เมืองอื่นๆ อีก 8 เมือง 4 แขวง คือ จำปาสัก หลวงพระบาง พงสาลี และบ่อแก้ว

    ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด โดยชาวบ้านคิดและทำเอง รัฐหรือองค์กรต่างๆ คอยสนับสนุนอยู่ข้างหลัง








    ที่มา: matichon.co.th


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2005
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,123
    กระทู้เรื่องเด่น:
    348
    ค่าพลัง:
    +64,476
    [​IMG]


    [​IMG]



    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2005

แชร์หน้านี้

Loading...