ธรรมกาย4 : ธรรมกายไม่มีวิปัสสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Sonny, 30 กันยายน 2006.

  1. Sonny

    Sonny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +156
    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านแสดงไว้ว่า
    ตั้งแต่กายมนุษย์จนถึงกายอรูปพรหมละเอียดเป็นสมถะ
    กายโคตรภูถึงกายพระอรหัตเป็นวิปัสสนา
    ถ้าลองพิจารณารายละเอียดของแต่ละกาย ทั้งที่เป็นสมถะและวิปัสสนา
    จะพบความต่างอยู่ที่ขนาดหน้าตักของรูปนิมิต และความใส เท่านั้น การฟังธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ มีข้อต้องระวังอย่างหนึ่งครับ
    คือท่านยืมศัพท์ทางพุทธศาสนา มาใช้อธิบายสภาวะที่ปรากฏเอาอย่างอัตโนมัติ
    เหมือนที่ยืมคำว่า ธรรมกายอันหมายถึงพระพุทธเจ้า
    มาเป็นชื่อวิชชาของท่าน
    ดังที่ผมยกตัวอย่างการอธิบายขันธ์ 5 ไว้ในกระทู้ข้างล่างคราวหนึ่งแล้ว

    ในกระทู้นี้ผมจะลองนำคำอธิบายศัพท์ของชาวธรรมกายมาให้ชมอีกสักคำหนึ่ง
    คือคำว่าปฏิจจสมุปบาท มีการสอนกันในสำนักธรรมกายว่า

    "ที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาทนั้น หมายถึงธรรมที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่
    เป็นปัจจัยติดต่อกันไปไม่ขาดสาย
    คืออวิชชา สังขาร ...ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

    อวิชชา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขุ่นมัว ไม่ผ่องใส
    เล็กเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

    สังขาร มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์
    ซ้อนอยู่ชั้นในของอวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ"

    ยกมาพอเป็นตัวอย่างนะครับ เพื่อแสดงให้เห็นว่า
    วิชชาธรรมกายนำศัพท์บัญญัติของพระพุทธเจ้าไปอธิบายถึงสิ่งอื่น
    ทั้งที่ศัพท์แต่ละตัวในทางพระพุทธศาสนานั้น
    มีวิเสสลักษณะ หรือคำอธิบายลักษณะเฉพาะไว้อย่างชัดเจน
    อย่างอวิชชานั้น ในทางพระพุทธศาสนาคือความไม่รู้อริยสัจจ์
    ไม่ใช่ลูกกลมสีขาวขุ่นอะไรนั่น

    ดังนั้น เมื่ออ่านคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำเกี่ยวกับวิชชาธรรมกาย
    แล้วเห็นท่านพูดเรื่องกิเลสชนิดต่างๆ หรืออริยสัจจ์ ปฏิจจสมุปบาท
    ธาตุ ขันธ์ อายตนะ ฯลฯ
    อย่าสำคัญมั่นหมายเอาง่ายๆ ว่า วิชชาธรรมกายเหมือนกับพระพุทธศาสนา
    เพราะวิเสสลักษณะของสภาวะแต่ละตัว ไม่ตรงกับวิเสสลักษณะของธรรมะที่แท้จริง

    ยกตัวอย่างอย่างเชน หรือชินะ นั้น เขาก็มีคำว่านิพพานเหมือนกัน
    ถ้าอ่านเจอว่า เชนพูดถึงนิพพาน ก็สรุปว่าพุทธกับเชนเป็นอันเดียวกัน
    อันนั้นไม่คำนึงถึงวิเสสลักษณะของนิพพานที่แตกต่างกัน
    และจัดว่าสรุปผิดในสาระสำคัญ
    หรืออย่างสมมุติว่า พี่เจ้าชาติเกิดเอ็นดูผมเป็นพิเศษ
    เอาชื่อสันตินันท์ไปตั้งเป็นชื่อแมวที่บ้าน
    แมวสันตินันท์ กับนายสันตินันท์ ชื่อเดียวกัน แต่เนื้อหาต่างกัน เป็นต้น

    การนำศัพท์บัญญัติที่มีสภาวะรองรับที่ชัดเจนของพระพุทธศาสนาไปใช้ในวิชชาธรรมกาย
    จึงไม่ได้ทำให้วิชชาธรรมกายกลายเป็นพุทธศาสนาขึ้นมาได้เลย
    ยิ่งเอาวิเสสลักษณะของธรรมคำเดียวกันมาไล่ยันกันทีละตัว
    จะพบว่า เป็นคนละเรื่องกันเลย
    เอวังก็มี ด้วยประการฉะนี้ครับ
    [21 พ.ค. 2542]

    http://www.bangkokmap.com/pm/index.php?option=com_content&task=view&id=83&Itemid=40&PHPSESSID=9c62958396c6aaaf12de35747f76e6bd
     
  2. UFO99

    UFO99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2005
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +983
    นี่เป็นบันทึกของหลวงพ่อจรัญฯ

    ในข้อความตอนหนึ่ง หลวงพ่อจรัญฯท่านได้บันทึกว่า "อาตมาได้ฟังเทศน์ลำดับญาณโดยอาจารย์พม่ามาเทศน์ และมีทูตมาแปลเป็นภาษาไทยพร้อมกับหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ เดิมทีอาตมาไม่ทราบว่าท่านมานั่งกรรมฐานที่วัดมหาธาตุฯ พอดีท่านเจ้าคุณอาจารย์ไปสอบอารมณ์ อาตมาก็ตามไปฟัง หลวงพ่อสดบอกอาตมาว่า เราเป็นขี้ข้าเขามาหลายสิบปีมีแต่นิมิตเครื่องหมายมากมาย และติดนิมิต พอกำหนด เห็นหนอๆ นิมิตธรรมกายหายไป ปัญญาเกิด และเข้าผลสมาบัติได้ถึง 84 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็เข้านิโรธสมาบัติได้ด้วย อันนี้ขอเปิดเผยเพราะท่านมรณภาพไปแล้วและท่านยังบอกอาตมาอีกว่า ถ้าเราอยู่เราจะสอนอย่างนี้ต่อไป แต่ถ้าเราจะหมดอายุเราก็ขอแค่ตัวเราพ้นทุกข์"
     
  3. poramase

    poramase เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +592
    เคยอ่านเจอเช่นเดียวกันครับ อันนี้มีในหนังสือหลวงพ่อ เลยมาช่วยยืนยันครับ
     
  4. jomr0547

    jomr0547 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2006
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +261
    อย่าเพิ่งสรุปว่าไม่ใช่
    หลวงพ่อฤาษีบอกว่า อะไรก็แล้วแต่ถ้าน้อมมาทาง กรรมฐาน40 ได้ถือว่าไม่ผิด
    วิชชาธรรมการ คือ กสิณ1ใน 10 อย่าง

    และอยากทราบความเห็นของเจ้าของกระทู้ว่า นิพพานสูญหรือไม่สูญครับ??

    (โดยส่วนตัวแล้ว เคยไปวัดธรรมกายแล้ว แต่ไม่ประทับใจเท่า วัดท่าซุง เนื่องจากไม่ได้เป็นศิษย์กับหลวงพ่อวัดธรรมกาย มาในกาลก่อน)
     
  5. Sonny

    Sonny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +156
    ชาวพุทธเรามักสนใจและถกเถียงกันอยู่เสมอว่า นิพพานเป็นอย่างไร เรื่องนี้ผมไม่ค่อยได้พูดถึง เพราะเห็นว่าสิ่งที่เราน่าจะสนใจในเบื้องแรก คือธรรมต้นทางของการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงพระนิพพาน ถ้าตั้งต้นการปฏิบัติถุกต้อง ก็จะไปถึงปลายทางที่ถูกต้องเช่นกัน

    นิพพานนั้นเป็นธรรมชาติของจริง หรือปรมัตถธรรมอันหนึ่ง เช่นเดียวกับจิต เจตสิก และรูป ซึ่งต่างก็เป็นปรมัตถธรรมคนละอย่างกัน ในความหมายทางตำรา นิพพานเป็นธรรมชาติของความดับทุกข์ดับกิเลสสิ้นเชิง นิพพานเป็นธรรมชาติที่พ้นจากรูปนามสิ้นเชิง นิพพานเป็นธรรมชาติของความว่างอย่างยิ่ง นิพพานเป็นบรมสุข นิพพานเป็นอนัตตา สำหรับครูบาอาจารย์บางองค์ก็สอนว่านิพพานเป็นอนัตตา บางองค์สอนว่าไม่ควรกล่าวว่านิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา เพราะนิพพานเป็นธรรมที่เหนือสมมุติบัญญัติ จึงไม่ควรแขวนป้ายว่า นิพพานเป็นอะไร อย่างไร

    ในพระไตรปิฎกท่านแบ่งนิพพานเป็น 2 ประเภท คือประเภทนิพพานกิเลส แต่ขันธ์ยังอยู่ กับประเภทนิพพานขันธ์ ไม่มีขันธ์เหลืออยู่ กระทั่งจิตก็ดับไป เหมือนไฟที่ดับไปฉะนั้น

    นิพพานนั้นไม่ใช่รูป ไม่ใช่นาม แต่ก็เป็นอารมณ์ของจิตได้เช่นเดียวกับรูปและนาม ซึ่งอารมณ์นิพพานจะปรากฏเมื่อจิตเข้าถึง มรรค ผล นิโรธสมาบัติ และนิพพาน อย่างไรก็ตามสำนักปฏิบัติบางแห่งซึ่งเชี่ยวชาญอภิธรรมด้วย มักระบุว่า ในขณะที่เข้าสูมรรค ผล และนิโรธสมาบัติ อันมีอารมณ์นิพพานนั้นไม่มีจิต

    ผมมีความเห็นว่า ในขณะที่บรรลุมรรค ผล นั้น มีจิต (ส่วนนิโรธสมาบัตินั้น ผมขอแขวนไว้ก่อน เพราะยังเกินความรู้) ซึ่งความเห็นนี้ก็สอดคล้องกับคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะด้วย เพราะในคัมภีร์นั้นเองระบุถึงจิตประเภทหนึ่ง เรียกว่าโลกุตรจิต ประกอบด้วยมรรคจิต 4 ดวง ผลจิต 4 ดวง รวม 8 ดวง (ซึ่งหากแจกแจงอย่างละเอียด โดยนำเอารูปฌาน 5 ชั้น เข้าไปประกอบกับมรรคจิต ผลจิตแต่ละดวง ก็จะมีมรรคจิต 20 ดวง ผลจิต 20 ดวง รวม 40 ดวง) เมื่อมีตำรายืนยันชัดเจนขนาดนี้ ผมจึงเห็นว่า ในขณะที่บรรลุมรรค ผล นั้น มีจิตแน่นอน แต่จิตไปรู้อารมณ์นิพพาน ซึ่งเหนือกว่ารูปและนาม

    อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงวาระแห่งการทิ้งขันธ์ของพระอรหันต์ ผมไม่เชื่อว่า จิตจะดำรงอยู่อย่างเป็นอมตะ เพราะจิตไม่เคยเป็นอมตะ ทั้งพระพุทธเจ้าก็ทรงสอนว่า จิตพระอรหันต์ที่นิพพานนั้น มีสภาพเหมือนไฟที่ดับไป

    ไฟที่ดับไป หายไปไหน / สูญไปหรือ? หรือไม่ได้หายไปไหน / เที่ยงอยู่หรือ? นี่ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องคิดมากเลยครับ เพราะถ้าคิดทีไร ก็อดตกลงไปสู่ความสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้

    http://www.bangkokmap.com/pm/index.php?option=com_content&task=view&id=228&Itemid=41&PHPSESSID=10c61a9339748eeebe7e6f98dbe19b08
     
  6. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    วิชชาธรรมกาย : ภาคพิจารณา วิปัสสนาภูมิ

    วิชชาธรรมกาย : ภาคพิจารณา วิปัสสนาภูมิ


    พรรณนาชั้นวิปัสสนาภูมิและโลกุตรภูมิ

    วิปัสสนา แปลว่า เห็นแจ้ง เห็นต่าง ๆ เห็นวิเศษ รู้วิเศษ เห็นวิภาคเป็นส่วน ๆ ในขันธ์ ๕ – อายตนะ ๑๒ – ธาตุ ๑๘ – อินทรีย์ ๒๒ – อริยสัจจธรรม ๔ – ปฏิจจสมุปบาท ๑๒


    พระบัญญัติ ๖ ประการ ตรงกับภูมิวิปัสสนา คือ

    (๑) ขันธบัญญัติ ตรงกับขันธ์ ๕

    (๒) อายตนะบัญญัติ ตรงกับอายตนะ ๑๒

    (๓) ธาตุบัญญัติ ตรงกับธาตุ ๑๘

    (๔) สัจจบัญญัติ ตรงกับอริยสัจ ๔

    (๕) อินทรีย์บัญญัติ ตรงกับอินทรีย์ ๑๙ ยกเสีย ๓
    (คือ อนญญฺตญฺญสฺสามิตินฺทริยํอญฺญินฺทฺริยํ และอญฺญาตาวินฺทรฺริยํ)

    (๖) ปุคคลบัญญัติ ตรงกับกองอนัญญตัญญัสสามิตินทรียัง อัญญินทรียัง อัญญาตาวินทรียัง ซึ่งได้แก่พระอริยบุคคล ๘


    กายธรรม

    มีพระโสดาปัตติมรรคเป็นเบื้องต้น จนถึงพระอรหัตผลเป็นที่สุด วิปัสสนาภูมินี้สำเร็จด้วยกายธรรม กายธรรมนี้กำจัดกิเลสคือ อนุสัย ๓ ได้แก่ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย มีปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา มีอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา มีพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ญาณรัตนะ และมีประชุมปิฎกทั้ง ๓ คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก รวมลงในกายนี้ เรียกว่า “กายธรรม” เป็นกายชั้นโลกุตรภูมิและชั้นวิปัสสนาภูมิ


    • เมื่อจะพิจารณาอะไรทั้งหมดในชั้นวิปัสสนาภูมินี้ มีพิจารณา ขันธ์ ๕ – อายตนะ ๑๒ –
    ธาตุ ๑๘ – อินทรีย์ ๒๒ – อริยสัจ ๔ – ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ เป็นต้น ต้องใช้ตาธรรมกายดูจึงจะเห็น เพราะเป็นกายละเอียด อายตนะและเห็น – จำ – คิด – รู้ ก็ละเอียด จึงจะดูของละเอียดได้


    กายธรรมนี้ถอดแล้วไปอายตนะนิพพานก็ได้ ส่วนกายมนุษย์ กายทิพย์กายปฐมวิญญาณ
    หยาบ (กายรูปพรหม) และกายปฐมวิญญาณละเอียด (กายอรูปพรหม) ทั้ง ๔ กายนี้อยู่ในชั้นโลกีย์ และชั้นสมถะ จะตรวจดูอะไรต่าง ๆ ในชั้นโลกุตระและวิปัสสนาไม่ได้ เพราะขึ้นไม่ถึงชั้นนี้
     
  7. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    การเดินวิชชาธรรมกายตามแนว สติปัฏฐาน ๔


    * สติปัฏฐาน ๔ คืออะไร ? จงอธิบายทั้งความรู้ปริยัติ และความรู้ปฏิบัติ


    - สติปัฏฐาน ๔ คือ กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา


    - สติ คือ การระลึกรู้ คือการระลึกได้ การขาดสติ คือ การระลึกไม่ได้ จำไม่ได้ ลืมเสียแล้ว นึกอะไรไม่ได้ เป็นลักษณะของคนเหม่อใจลอย ปล่อยใจล่องลอยไปตามอารมณ์ ไม่รู้จักระวังใจ เรียกว่าเป็นคนสติไม่มั่นคง


    - ท่านสอนให้เรากำหนดสติ คือให้เราตั้งใจพิจารณา พิจารณาเพื่อให้เกิดความรู้ขึ้นมาให้จงได้ ถ้าเราคุมใจไม่ได้ คือ เราคุมสติตัวเองไม่ได้ เราก็พิจารณาอะไรไม่ได้ เพราะใจอยู่ในลักษณะของความไม่พร้อมที่จะทำงานนั่นเอง เป็นใจที่เราบังคับไม่ได้เสียแล้ว แต่กิเลสมันบังคับได้ กิเลสเขาบังคับให้ล่องลอยไปตามกระแสร้อยแปด


    - ท่านให้พิจารณาอะไรหรือ ? ตอบว่าให้พิจารณา ๔ อย่าง คือ พิจารณา กาย – เวทนา – จิต – ธรรม


    กาย คือ ตัวตนของเรา

    เวทนา คือ อารมณ์ทางใจ ๓ อย่าง คือ สุข ทุกข์ ไม่สุขและก็ไม่ทุกข์ (กลางๆ) ผ่องใสก็ไม่ใช่จะว่าขุ่นมัวก็ไม่ชัด

    จิต คือ ลักษณะใจที่ผ่องใส ขุ่นมัว หรือสภาพที่ใจเป็นกลางๆ จะว่าผ่องใสก็ไม่ใช่จะว่าขุ่นมัวก็ไม่ชัด
    ธรรม ในที่นี้หมายถึง ธรรม ๓ ฝ่าย คือธรรมฝ่ายกุศล ธรรมฝ่ายอกุศล ธรรมฝ่ายกลาง (อัพยากตาธัมมา)


    - การพิจารณาจะต้องให้เกิดความเห็นจริงทางใจ คือ เกิดเป็นกัมมัฏฐานทางใจ นี่คือ ความ
    มุ่งหวังของหลักสูตร


    - คราวนี้ก็มาถึงอีกความรู้หนึ่ง ท่านให้พิจารณากายในกาย คำว่า “กายในกาย” หมายถึง ท่าน
    ที่เป็นธรรมกาย อย่างน้อยท่านก็รู้จักกาย ๑๘ กาย คนที่ไม่เป็นธรรมกายก็พิจารณาไม่ได้ เพราะท่านรู้จักแต่กายมนุษย์กายเดียวเท่านั้น จึงไปพิจารณากายในกายไม่ได้ และเมื่อไม่รู้จักกายในกายแล้ว ก็ไม่รู้เวทนาในเวทนา ไม่รู้จิตในจิต ไม่รู้ธรรมในธรรม เป็นอันว่าคนที่ไม่เป็นวิชา ๑๘ นั้นจึงหมดโอกาสเรียนวิชาสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง


    - ต่อมาก็มาถึงอีกความรู้หนึ่ง เป็นความรู้ละเอียดขึ้น คือ มีกายที่ไหนก็มีใจครองเสมอไป เมื่อ
    มีใจแล้ว เราก็มาดูว่า เราเอาใจของเราพิจารณากาย พิจารณาใจ (สุข ทุกข์ ไม่สุขและไม่ทุกข์) พิจารณาจิต (ผ่องใส ไม่ผ่องใส หรือกลาง ว่าจะผ่องใสก็ไม่ใช่จะว่าขุ่นมัวก็ไม่เชิง) พิจารณาธรรม ๓ ฝ่ายว่าเป็นธรรมฝ่ายกุศล ฝ่ายอกุศล หรือเป็นอัพยากตาธัมมา นี่คือบทเรียนที่เขากำหนดให้เราเรียน เราจะต้องทำให้ได้ตามที่ตำราเขาสั่งให้จงได้


    ++ ปัญหาที่ว่า ทำไมต้องให้พิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ? นี่คือความรู้ใหญ่ที่ไม่มีใครตอบได้


    ++ วิธีแก้ให้ กาย – เวทนา – จิต – ธรรม เกิดความใสสว่างนั้นเป็นความรู้สำคัญ หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    ท่านได้สอนความรู้นี้ไว้แล้ว พวกเราต้องเรียนรู้ให้จงได้



    ++ ปัญหาที่ว่า ทำไมต้องให้พิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ? นี่คือความรู้ใหญ่ที่ไม่มีใครตอบได้


    ++ วิธีแก้ให้ กาย – เวทนา – จิต – ธรรม เกิดความใสสว่างนั้นเป็นความรู้สำคัญ หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    ท่านได้สอนความรู้นี้ไว้แล้ว พวกเราต้องเรียนรู้ให้จงได้


    ความรู้สำคัญที่ต้องเรียนรู้ก่อนการพิจารณา

    (๑) กายคืออะไร ? กายหยาบ คือ กายมนุษย์ที่เราเห็นนี้ กายละเอียดต่อจากกายมนุษย์ไปนั้น มีกาย
    อะไรบ้าง ? ท่านต้องเรียนรู้ก่อน เราก็ตอบว่ากายละเอียดที่ต่อจากกายมนุษย์ไปนั้น คือ

    ๑. กายมนุษย์ (หยาบ)
    ๒. กายมนุษย์ละเอียด (กายฝัน)

    ๓. กายทิพย์หยาบ
    ๔. กายทิพย์ละเอียด

    ๕. กายพรหมหยาบ
    ๖. กายพรหมละเอียด

    ๗. กายอรูปพรหมหยาบ
    ๘. กายอรูปพรหมละเอียด

    ๙. กายธรรมโคตรภูหยาบ
    ๑๐. กายธรรมโคตรภูละเอียด

    ๑๑. กายธรรมพระโสดาหยาบ
    ๑๒. กายธรรมพระโสดาละเอียด

    ๑๓. กายธรรมพระสกิทาคามีหยาบ
    ๑๔. กายธรรมพระสกิทาคามีละเอียด

    ๑๕. กายธรรมพระอนาคามีหยอบ
    ๑๖. กายธรรมพระอนาคามีละเอียด

    ๑๗. กายธรรมพระอรหัตต์หยาบ
    ๑๘. กายธรรมพระอรหัตต์ละเอียด


    รวม ๑๘ กาย ยังไม่นับกายสุดละเอียด เอาแค่ ๑๘ กายก่อน เราก็ต้องพิจารณาไปทีละกาย จึงจะเรียกว่ากายในกาย


    (๒) ความรู้ที่จะพิจารณานั้นคือ ความรู้อะไรบ้าง ? นี่คือหลักสูตรแห่งการเรียนหากท่านตอบไม่ได้ ก็
    แปลว่า ไม่รู้เรื่องอะไร ? การเรียนก็ล้มเหลว ต้องตอบได้ดังนี้


    (๓) การพิจารณานั้น ต้องใช้กายธรรมมาพิจารณาที่ดวงธรรมของกายทั้ง ๑๘ กาย โดยทำไปทีละกาย
    เช่น พิจารณาดูกายมนุษย์ แล้วก็พิจารณา ๔ อย่าง คือ กาย – เวทนา – จิต – ธรรม เราต้องหาความรู้ก่อนว่า กาย – เวทนา – จิต – ธรรม คืออะไร ? มีอยู่อย่างไร ? เราจึงจะพิจารณาได้


    (ก) ที่ดวงปฐมมรรคของกายต่าง ๆ นั้น มีดวงกาย – ดวงเวทนา – ดวงจิต – ดวงธรรม ดวง
    เหล่านี้มีลักษณะเป็นดวงใส คือดวงกายเป็นที่ตั้งของดวงใจ ดวงใจก็คือดวงเห็น – ดวงจำ – ดวงคิด – ดวงรู้ (เห็น – จำ – คิด – รู้ รวม ๔ อย่าง เรียกว่า ใจ)

    คำว่า “ใจ” นั้น มีใจหยาบและใจละเอียด ใจหยาบเรียกว่า เวทนา ส่วนใจละเอียดเรียกว่า
    จิต


    คำว่าธรรมนั้น หมายถึง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย


    นี่คือเรารู้จักดวงกาย ดวงเวทนา (คือใจหยาบ) ดวงจิต (คือใจละเอียด) และดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย (การเกิดกายนั้น เกิดจากดวงใสดวงนี้ ดวงใสดวงนี้ เรียกว่า ดวงปฐมมรรค หรือดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน หรือเรียกทั่วไปว่า ดวงธรรม)


    (ข) ต่อมาท่านต้องรู้จักหน้าตาลักษณะของธรรม 3 ฝ่าย คือ ธรรมฝ่ายกุศล ธรรมฝ่ายอกุศล
    ธรรมฝ่ายอัพยากตาธัมมา (หรือธรรมฝ่ายกลาง) ดังนี้

    ธรรมฝ่ายกุศล กายขาวใส กาย ๑๘ กายขาวใสทั้งหมด ดวงธรรมก็ขาวใสทั้งหมด

    ธรรมฝ่ายอกุศล กายขุ่นกายดำ กาย ๑๘ กายขุ่นและดำทั้งหมด ดวงธรรมก็ขุ่นและดำหรือสีตะกั่ว

    ธรรมฝ่ายกลาง กายสีน้ำตาล กาย ๑๘ กายสีน้ำตาล กายสีใดดวงธรรมก็สีนั้น


    (ค) อานุภาพของธรรมแต่ละฝ่าย ให้ผลต่างกันอย่างไร?

    ธรรมฝ่ายกุศล ให้ผลเป็นสุขทั้งหมด

    ธรรมฝ่ายอกุศล ให้ผลเป็นทุกข์ทั้งหมด มี แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น

    ธรรมฝ่ายกลาง ให้ผลเป็นกลาง ๆ ไม่ทุกข์และก็ไม่สุข



    เหตุใดจึงต้องพิจารณาสติปัฎฐาน ๔ เป็นคำถามที่ผู้รู้จะตอบคำถามนี้อย่างไร?


    - พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า
    คือใจทำหน้าที่เป็นประธานใหญ่ ใจเป็นผู้สั่งการ ใจเป็นผู้ปกครอง นี่คือความหมาย


    - ปัญหาจึงมีว่า ใจ ของเรานั้นเป็นใจของธาตุธรรมฝ่ายใด? ต้องตอบคำถามนี้ก่อน เพราะ
    บางเวลาอารมณ์ของเราบันเทิง บางเวลาใจหงุดหงิด บางเวลาเราอยากจะฆ่าแกง บางโอกาสใจของเราก็เฉย ๆ ไม่ยินดียินร้าย คนเดียวนี่เอง เหตุใดใจของเราจึงมีสภาพใจเป็นธาตุธรรม ๓ ฝาย ? คือ ใจบันเทิงเป็นใจของธรรมภาคกุศล ใจหงุดหงิดจะฆ่าแกง เป็นใจของอกุศล ใจเฉย ๆ บุญไม่ทำกรรมไม่ก่อ เป็นใจของธรรมภาคกลาง


    - นั่นคือ ธรรมทุกฝ่ายแสวงหาอาณานิคม แสวงหาเมืองขึ้น แสวงหาอำนาจปกครองเข้ามา
    ยึดใจของมนุษย์ ธรรมฝ่ายใดมีกำลังมาก? ธรรมฝ่ายนั้นก็เข้ายึดใจได้ เมื่อยึดใจได้แล้วก็แสดงอานุภาพแห่งธาตุธรรมนั้น ๆ ให้ปรากฏ เช่น ธาตุธรรมฝ่ายกุศลยึดอำนาจได้ เราก็มีใจบันเทิง หากภาคกิเลสคือภาคมารยึดได้ เราก็หงุดหงิด อยากจะล้างแค้น หากธรรมภาคกลางยึดได้ เราก็มีสภาพใจเฉย ๆ


    - การที่ท่านสอนให้เราพิจารณาสติปัฎฐาน ๔ ก็เพื่อให้เราชำระใจไม่ให้ภาคกิเลสหรือภาค
    มารครอบครอง เพราะให้ผลเป็นทุกข์แก่เรา หากเราไม่พิจารณาก็เหมือนกับเราไม่อาบน้ำชำระร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายสกปรกเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค จะทำให้เราเป็นโรคนั่นเอง

    วิธีการพิจารณาให้ทำดังนี้


    *เดินวิชา ๑๘ กายเป็นอนุโลมปฏิโลมจนกว่ากายและดวงธรรมจะมีความใสจนถึงขั้นใจของเราเกิดอารมณ์บันเทิงใจ จากนั้น อาราธนากายธรรมพระอรหัตต์เดินวิชาถอยหลังเป็นปฏิโลมกลับมาถึงกายมนุษย์ กายธรรมเข้าสู่ในท้องของกายมนุษย์ การเข้าสู่กายใด? ต้องเข้ามาตามฐาน คือ ตั้งแต่ฐานที่ ๑-๗ ครั้นกายธรรมเข้าสู่ฐานที่ ๗ แล้ว ให้นึกอาราธนากายธรรมส่งรู้ส่งญาณมองดูดวงธรรมในท้องกายมนุษย์ ครั้นเห็นดวงธรรมแล้วประคองใจให้นิ่ง ท่องใจ หยุดในหยุดเข้าไว้ เห็นดวงธรรมชัดเจนแล้ว จะดูอะไร? ต้องเจาะไปทีละอย่างให้แจ้งใจไปทีละอย่าง ต้องนึกถึงสิ่งที่จะดูนั้นเพียงอย่างเดียว แล้วจะเห็นสิ่งนั้น เมื่อเห็นแล้วจึงพิจารณาไปตามบทบัญญัติแห่งหลักสูตรนั้น ๆ เช่น


    ๑. จงพิจารณากาย ท่องใจหยุดในหยุดแล้วนิ่งใจจรดลงกลางดวงธรรม นึกดูดวงกาย แล้วเราก็ เห็นดวงกาย ดวงกายเป็นดวงใสรองรับใจ (ใจ คือ เห็น-จำ-คิด-รู้) นึกดูศูนย์กลางกายของดวงกาย เราก็เห็นว่า ดวงกายนี้มีดวงแก่-ดวงเจ็บ-ดวงตาย มาหุ้มเป็นชั้น ๆ ดวงแก่สีน้ำตาล ดวงเจ็บเป็นดวงขุ่นต่อไปก็ดำ ดวงตายเป็นดวงดำประดุจนิล ดวงเหล่านี้มาหุ้มแล้ว ส่งผลให้กายมนุษย์ต้องแก่ ต้องเจ็บ และตาย ดวงเหล่านี้ทำหน้าที่เผาผลาญ


    เมื่อเราส่งใจกายธรรมจรดลงไปกลางดวงกาย เราก็เห็นความแปรปรวนของกายว่ากายนี้ประกอบด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน-น้ำ-ไฟ-ลม ประกอบเป็นร่างกายของเราขึ้นมาเห็นความเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นคนมีอายุ แล้วก็ตายไปเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านจึงกล่าวว่าไม่ให้เรายึดมั่นกาย เพราะเราบังคับไม่ได้ มีแต่แก่-เจ็บ-ตาย กายธรรมต่อรู้ต่อญาณให้เราจึงเห็นไปตามที่กายธรรมท่านทำให้


    ๒. พิจารณาเวทนา เมื่อดูดวงกายเสร็จแล้ว เราก็อธิษฐานใจต่อกายธรรมว่า ขอพิจารณาเวทนา
    บ้าง ท่องใจหยุดในหยุดกลางดวงปฐมมรรคของกายมนุษย์ เห็นจุดใสเท่าปลายเข็ม พอจุดใสเท่าปลายเข็มว่างออก ก็อธิษฐานดูดวง “เวทนา” เวทนานี้ก็คือใจนั่นเอง เพราะใจมี ต้น-กลาง-ปลาย ใจเบื้องต้นคือใจ ใจชั้นกลาง คือ จิต ใจชั้นปลายคือ วิญญาณ ใจประกอบด้วย ดวงเห็น-ดวงจำ-ดวงคิด-ดวงรู้ ซ้อนกัน พอเราจรดใจลงที่ดวงเวทนา เราจะเห็นอะไรบ้าง? เราก็เห็นดวงใจเป็นดวงใส นิ่งกลางใจก็เห็นจุดใสเท่าปลายเข็ม ส่งใจนิ่งกลางจุดใสเท่าปลายเข็มแล้วนิ่งดูต่อไป


    (ก) ถ้าจุดใสเท่าปลายเข็มมีความใส เราจะรู้สึกว่าเกิดความสุขทางใจ

    (ข) ถ้าจุดใสเท่าปลายเข็มมีความขุ่น เราจะรู้สึกว่าไม่เป็นสุข ถ้าความขุ่นกระเดียดไปเป็นดำ
    เราจะทุกข์ใจมาก

    (ค) ถ้าจุดใสเท่าปลายเข็มมีสีน้ำตาล เราจะรู้สึกเฉย ๆ บุญไม่ทำกรรมไม่สร้าง จะว่าสุขก็
    ไม่ใช่จะว่าทุกข์ก็ไม่เชิง

    การพิจารณาจนถึงขั้นเป็นอารมณ์ทางใจเกิดแก่เรา 3 อย่าง คือ อารมณ์เป็นสุข (อารมณ์ของฝ่ายกุศล) อารมณ์เป็นทุกข์ (อารมณ์ฝ่ายอกุศล) อารมณ์เป็นกลาง ๆ (อารมณ์ของฝ่ายอัพยากตาธัมมา) หมายความว่า ธรรมฝ่ายใดมีอำนาจกว่า? ธรรมฝ่ายนั้นก็เข้ามาปกครองใจของเรา เราจึงมีอารมณ์ไปตามธรรมของฝ่ายนั้น ๆ เพราะเหตุนี้พระพุทธองค์จึงสอนให้เราทำใจให้สว่างใสเข้าไว้ เพื่อเราจะได้เกิดความสุขทางใจ เพราะการทำใจให้ใสนั้นเป็นธรรมของฝ่ายกุศล ธรรมของฝ่ายกุศลส่งผลให้สุขทุกสถาน หากเป็นธรรมของฝ่ายอกุศลแล้ว ให้ผลเป็นทุกข์ทั้งนั้น และหากเป็นธรรมของฝ่ายกลางแล้ว ส่งผลให้ไม่สุขและไม่ทุกข์คือเป็นกลาง ๆ เสมอไป


    ๓. พิจารณาจิต จิต คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ ที่ละเอียดไปอีกระดับหนึ่งพอเราพิจารณาเวทนาเสร็จแล้ว
    เราก็อธิษฐานใจต่อกายธรรมขอพิจารณา “จิต” ต่อไป เราก็เห็นดวงใสเล็กอีกลักษณะหนึ่ง นั่นคือ ดวงจิตส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงจิตนั้น เห็นจุดใสเท่าปลายเข็มกลางดวงจิตนั้น หากจุดใส่เท่าปลายเข็มมีความใส เราก็รู้สึกว่าเรามีใจผ่องใสบันเทิง หากจุดใสมีความขุ่น อารมณ์ของเราไม่ผ่องใสใจคอหงุดหงิด หากจุดใสเท่าปลายเข็มมีสีน้ำตาล อารมณ์ของเราจะเฉย ๆ ไม่ยินดียินร้าย นี่คือธาตุธรรม 3 ฝ่าย เข้ามาปกครองใจเรา เช่นเดียวกับพิจารณาเวทนานั้น เพราะเหตุนี้เอง พระพุทธองค์จึงสอนให้เราทำใจให้สว่างใสเข้าไว้ เพราะการทำใจให้ใสเป็นธรรมฝ่ายกุศล ส่งผลให้อารมณ์ของเราผ่องใสบันเทิง


    ๔. พิจารณาธรรม ธรรมในที่นี้เป็นดวงกลมขาวใส เป็นดวงธรรมประจำกาย เรียกว่า ดวงปฐม
    มรรคหรือดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน เรียกย่อว่า ดวงธรรม ดวงธรรมของธรรม ๓ ฝ่ายมีลักษณะต่างกัน มีสีสันต่างกัน มีอานุภาพต่างกัน ดังนี้

    ธรรมฝ่ายกุศล ดวงธรรมขาว กายธรรมขาว ให้ผลเป็นสุขสถานเดียว

    ธรรมฝ่ายอกุศล ดวงธรรมดำหรือสีตะกั่ว กายธรรมดำหรือสีตะกั่ว ให้ผลเป็นทุกข์สถานเดียว

    ธรรมฝ่ายกลาง (อัพยากตาธัมมา) ดวงธรรมสีน้ำตาล กายธรรมสีน้ำตาลให้ผลกลาง ๆ คือไม่
    ทุกข์และไม่สุข (จะว่าทุกข์ก็ไม่ใช่จะว่าสุขก็ไม่เชิง เป็นกลาง ๆ )


    กล่าวถึงการพิจารณา เราก็อธิษฐานต่อกายธรรม ขอพิจารณา “ธรรม” ส่งใจนิ่งดูกลางดวงธรรมนั้น เห็นจุดใสเท่าปลายเข็ม ส่งใจนิ่งกลางจุดใสเท่าปลายเข็มนั้น แล้วก็ดูว่าที่จุดใสเท่าปลายเข็มมีสีของธาตุธรรมใดมาหุ้ม? หากจุดใสเท่าปลายเข็มสว่างตลอดไป แปลว่าธาตุธรรมฝ่ายกุศล ส่งผลให้เราเจริญรุ่งเรือง หากจุดใสเท่าปลายเข็มมีสีดำมาหุ้มหรือสีปรอทมาหุ้มส่งผลให้เราไม่เจริญรุ่งเรือง มีเรื่องมีราวเกิดทุกข์ร้อน หากเป็นสีน้ำตาลมาหุ้มจุดใสเท่าปลายเข็ม ส่งผลให้เราอยู่ในสภาพเดิม ไม่ดีขึ้นและไม่เสื่อมลง ดังนั้นชีวิตของเราเป็นไปตามการบังคับของธรรมภาคต่าง ๆ ใครทำกรรมดีไว้? ธรรมฝ่ายกุศลก็ส่งผลให้เจริญ ใครทำกรรมชั่วไว้? ธรรมฝ่ายอกุศลก็ส่งผลให้ทุกข์ร้อน เพราะเหตุนี้พระพุทธองค์จึงสอนให้มนุษย์ทำกุศล เว้นการทำบาป ทำใจให้สว่างใส เพื่อเราจะได้ไม่ทุกข์ นั่นเอง


    ** สรุปการพิจารณา **


    - ในการปฏิบัติจริง ตามที่บรรยายมานี้ เป็นการพิจารณา กาย-เวทนา-จิต-ธรรม ในกายมนุษย์ มี
    วิธีพิจารณาอย่างไร? ใช้กายธรรมพิจารณาอย่างไร? อธิบายมาชัดเจนแล้ว


    ** ต่อไปเราจะพิจารณา กาย-เวทนา-จิต-ธรรม ในกายใดอีก? และที่กล่าวว่าพิจารณากายในกาย

    เวทนาในเวทนา จิตใจจิต ธรรมในธรรม คืออย่างไร? จงอธิบาย


    - งานต่อไปที่เราต้องพิจารณา กาย-เวทนา-จิต-ธรรม ก็คือ เราไปพิจารณาให้แก่กายมนุษย์ละเอียด คือการพิจารณาให้แก่กายฝัน คือกายที่ละเอียดต่อจากกายมนุษย์ กายมนุษย์และเอียดหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กายฝัน คือกายที่ทำหน้าที่ฝันเมื่อกายมนุษย์หลับ นั่นคือกายธรรมมาหยุดนิ่งกลางดวงธรรมของกายมนุษย์ละเอียด แล้วก็พิจารณา กาย-เวทนา-จิต-ธรรม เหมือนดังที่เราพิจารณากายมนุษย์


    - งานต่อไป เราก็พิจารณาให้แก่กายทิพย์หยาบ กายทิพย์ละเอียด กายพรหมหยาบ กายพรหม
    ละเอียด.......กายธรรมพระอรหัตต์ละเอียด รวม ๑๘ กายต่อไป


    - ทุกกายต่างก็มีดวงกาย-ดวงเวทนา-ดวงจิต-ดวงธรรมในกายนั้น ๆ โดยเหตุที่เรามีกายมาก คือมี
    กายมนุษย์ และมีกายลำดับไปถึงกายธรรมพระอรหัตต์ละเอียดรวม ๑๘ กายนั้น การพิจารณาสติปัฎฐาน ๔ ในกายต่าง ๆ ตั้งแต่กายหยาบไปถึงกายละเอียด จึงเรียกว่าพิจารณาภายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แต่เป็นเพราะเรามีกายมาก ตั้งแต่กายมนุษย์ไปถึงกายธรรมพระอรหัตต์ละเอียด เราจึงต้องพิจารณาสติปัฎฐาน ๔ ละเอียดไปตามลำดับของกาย


    ** การพิจารณาต้องใช้กายธรรมพิจารณา ไม่ใช้กายธรรมพิจารณาได้หรือไม่? จงอธิบาย


    กายพิจารณาต้องใช้กายธรรมพิจารณา เพราะกายธรรมมีรู้มีญาณทัสสนะลึกซึ้งกว่ากายมนุษย์ หากใช้กายมนุษย์พิจารณาก็ไม่ใช่ขั้นเห็นแจ้งเห็นจริง แต่เป็นเพียงนิสัยปัจจัยเท่านั้น เพราะกายมนุษย์เป็นกายโลกีย์ยังมีกิเลสอยู่มาก ไม่เหมือนกายธรรมซึ่งแทบไม่มีกิเลส โดยเฉพาะกายธรรมพระอรหัตต์ละเอียดไม่มีกิเลสเลย


    - สรุปแล้ว ความรู้เรื่องสติปัฎฐาน ๔ เป็นตำราเรียนในพระพุทธศาสนาอยู่ในหนังสือนวโกวาท
    เป็นหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี นั่นคือความรู้ปริยัติส่วนหนึ่ง เรียนเพื่อรู้เบื้องต้น แต่การปฏิบัติยังไม่มีใครปฏิบัติได้ เพราะยังไม่มีใครทำใจให้สว่างใสได้ ซึ่งเรื่องการทำใจให้สว่างใสตามคำสอนของพระพุทธองค์ข้อ ๓ ที่ว่า “สจิตฺตปริโยทปนํ” นั้น เมื่อทำใจให้สว่างใสได้แล้ว จะเห็นดวงปฐมมรรคในท้องของตนเอง แล้วเห็นกายละเอียดเป็นลำดับไป ในที่สุดก็เห็นกายธรรม เบ็ดเสร็จเห็นกาย ๑๘ กาย ตามที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนนั้น เมื่อเห็นกายธรรมแล้ว ใช้กายธรรมพิจารณาความรู้เรื่องสติปัฎฐาน ๔ ได้ เรื่องมันยากอย่างนี้


    จึงขอให้ผู้ศึกษาเล่าเรียนอ่านให้เข้าใจ เวลานี้ไม่มีใครอธิบายความรู้เรื่องสติปัฎฐาน ๔ ได้ เพราะเป็นความรู้ทางปฏิบัติ ความรู้ปริยัติมีกล่าวไว้นิดเดียว ผู้เรียนก็ท่องตำราไปตามนั้น แต่ถึงเวลาปฏิบัติก็ทำอะไรไม่ถูก? เพราะตำราไม่กล่าวอะไรไว้เลย? ได้แต่กล่าวความรู้ปริยัติไว้หน่อยเดียว อ่านแล้วก็ไม่รู้อะไร? นี่คือ ทางตัน!


    - การพิจารณาสติปัฎฐาน ๔ ได้แก่ การพิจารณากาย ตำราสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น เพราะกายมี
    การแตกดับคือตายได้ เมื่อเราพิจารณาเห็นว่ากายเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ช่วยให้เราไม่ประมาท ความไม่ประมาทจะช่วยให้เราเร่งสร้างกุศลคือเร่งสร้าง ทาน-ศีล-ภาวนา อันเป็นสุดยอดของกุศล


    - การพิจารณาเวทนา สอนให้เราฝึกทำใจให้สว่างใส วิธีทำใจให้สว่างใสมีอย่างนั้น? เราฝึกกัน
    แล้วตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงขั้นเราเรียนเดินวิชาเป็นอนุโลม ปฏิโลมวิชา ๑๘ กาย เป็นการรักษาใจ ไม่ให้ใจเกิดความทุกข์ หากใจเกิดความทุกข์ แปลว่า ธรรมภาคมารเข้าปกครองใจเพราะเราไม่ทำใจให้สว่างใสนั่นเอง


    - การพิจารณาจิต คือ การพิจารณาใจอีกแนวหนึ่ง ให้ใจสว่างใสเข้าไว้ ใจจะได้ไม่ขุ่นมัว หากใจ
    ขุ่นมัว นั่นคือ ธรรมภาคมารเข้าปกครองใจแล้ว


    - การพิจารณาธรรม คือ การรักษาดวงธรรมให้สว่างใส ธรรมไม่สว่างใสแปลว่า ธรรมภาคมารเข้าครอบงำ จะส่งผลให้เกิดทุกข์
    <!-- / message -->
     
  8. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    "รู้วิธีเดินอริยสัจ"


    ที่ว่า "รู้วิธีเดินอริยสัจ" นั้น เดินอย่างไร


    ใช้ตา(ญาณ)พระธรรมกาย ดูอริยสัจของกายมนุษย์ให้เห็นจริงว่า ความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ของมนุษย์เป็นทุกข์ สิ่งที่เรียกว่าเป็นความเกิดนั้น มีลักษณะเป็นดวงกลมใสขนาดเล็กเท่าเมล็ดโพธิ์ขนาดโตเท่าดวงจันทร์สีขาวบริสุทธิ์ ดวงเกิดนี้จะเริ่มมาจดศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ในเวลาที่กายมนุษย์มีอายุครบ ๑๔ ปี ดวงนี้เองเป็นดวงเริ่มเกิดของมนุษย์ทุกคน ถ้าดวงนี้ไม่มาจดกลางดวงธรรมของมนุษย์ กายมนุษย์ก็จะมาเกิดไม่ได้ กายธรรมดูความเกิด ดูเหตุที่จะทำให้เกิดเห็นตลอดแล้วก็ดูความแก่ต่อไป ความแก่นี้ซ้อนอยู่ในกลางดวงของความเกิด เป็นดวงกลมขนาดโตเท่าดวงจันทร์ขนาดเล็กก็เท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ สีดำเป็นนิลแต่ไม่ใส เวลาที่ดวงแก่นี้ยังเล็กก็เป็นเวลาที่เริ่มแก่ ถ้าดวงแก่นี้ยิ่งโตขึ้นกายก็ยิ่งแก่เข้าทุกที ดวงแก่นี้เองที่เป็นเหตุให้ร่างกายทรุดโทรม เมื่อแก่มากขึ้นแล้วก็ต้องมีเจ็บ เพราะดวงเจ็บมาซ้อนอยู่ในกลางดวงแก่นั่นเอง เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กับดวงเกิด ดวงเจ็บสีดำเข้มยิ่งกว่าดวงแก่ ขณะเมื่อดวงเจ็บนี้ มาจดเข้าในศูนย์กลางดวงแก่เข้าเวลาใด กายมนุษย์ก็จะต้องเจ็บทันที เมื่อดวงเจ็บนี้มาจดหนักเข้า ดวงตายก็ซ้อนเข้าอยู่กลางดวงเจ็บเป็นดวงกลมขนาดเล็กโตเท่าๆ กับดวงเจ็บ แต่มีสีดำใสประดุจนิลทีเดียว เมื่อดวงนี้เข้ามาจดกลางดวงเจ็บแล้ว จดตรงหัวต่อของกายมนุษย์กับกายทิพย์พอมาจดเข้าเท่านั้น หัวต่อของมนุษย์กับทิพย์ก็ขาดจากกัน เมื่อกายมนุษย์ไม่เนื่องกับกายทิพย์ได้แล้ว กายมนุษย์ก็จะต้องตายทันที เมื่อเห็นด้วยตาธรรมกายและรู้ด้วยญาณของธรรมกายว่า ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้ไม่เที่ยง ไม่แน่นอนจริงแล้ว รู้เห็นตามจริงเช่นนี้ ชื่อว่า สัจจญาณ เมื่อตาธรรมกายเห็นว่าความเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง เป็นสิ่งสมควรรู้ชื่อว่า บรรลุกิจจญาณ และความทุกข์ทั้งหมดเหล่านี้เราก็ได้พิจารณาเห็นชัดเจนมาแล้ว ชื่อว่า บรรลุกตญาณ เช่นนี้เรียกว่า พิจารณาทุกขสัจซึ่งเป็นไปในญาณ ๓


    ส่วนดวงสมุทัยนั้นมีอยู่ ๓ ดวง อยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ขนาดโตเท่าดวงพระจันทร์และขนาดเล็กเท่าเมล็ดโพธิ์ เหมือนกันทั้งหมด ซ้อนกันอยู่ สำหรับดวงข้างนอกมีสีดำเข้ม แต่อีก ๒ ดวงนั้น ก็ยิ่งมีความละเอียดและความความดำมากกว่ากันเข้าไปเป็นชั้นๆ เมื่อเห็นด้วยตาและรู้ด้วยญาณของธรรมกายเช่นนี้ รู้ว่าเพราะสมุทัยนี้จึงทำให้ทุกข์เกิดเป็นของจริงเช่นนี้ เรียกว่า สัจจญาณ เมื่อรู้แล้วพากเพียรละ เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งควรละเช่นนี้ เรียกว่า กิจจญาณ เมื่อละสมุทัยได้ขาดแล้ว ชื่อว่า กตญาณ เช่นนี้ เรียกว่า พิจารณาสมุทัยซึ่งเป็นไปในญาณ ๓


    เมื่อมีสมุทัยเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องดูให้รู้ถึงวิธีดับเหตุแห่งทุกข์อันนี้ให้ได้ตลอด ที่เรียกว่านิโรธ นิโรธนี้เป็นดวงกลมใสอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ขนาดวัดตัดกลาง ๕ วา ขณะเมื่อมีนิโรธแล้วสมุทัยย่อมหมดไป เหมือนรัศมีของพระอาทิตย์ที่ขจัดความมืดให้หายไปฉะนั้น เมื่อเห็นด้วยตาและรู้ด้วยญาณธรรมกายว่า ความดับไปแห่งสมุทัยเป็นนิโรธจริงชื่อว่า สัจจญาณ และนิโรธนี้เป็นสิ่งควรทำให้แจ้งชื่อว่าเป็นกิจจญาณ เมื่อรู้เห็นตลอดแล้วชื่อว่าทำให้แจ้งซึ่งนิโรธแล้วจัดเป็น กตญาณ เช่นนี้ เรียกว่า ได้พิจารณาซึ่งนิโรธอันเป็นไปในญาณ ๓


    เมื่อทำนิโรธความดับให้แจ้งได้แล้ว ก็จะพึงทำมรรคให้เกิดขึ้น มรรคนี้ก็คือ ดวงศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง มีสัณฐานกลมใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก ขนาดเท่ากันกับหน้าตักของธรรมกาย เมื่อได้เห็นด้วยตา ได้รู้ด้วยญาณของธรรมกายแน่ชัดแล้ว รู้แน่ว่าสิ่งนี้เป็นมรรคจริง ชื่อว่าเป็น สัจจญาณ เมื่อมรรคนี้เป็นของจริง ก็เป็นทางควรดำเนินให้เจริญขึ้น ชื่อว่าเป็น กิจจญาณ เมื่อได้รู้เห็นตลอดด้วยตาและญาณของธรรมกายถึงมรรคนี้ว่า ได้ดำเนินให้เจริญขึ้นแล้วนี้ชื่อว่าเป็น กตญาณ เช่นนี้ชื่อว่าได้เห็นมรรค พร้อมทั้งรู้ เป็นไปในญาณ ๓ ฉะนี้


    เดินฌาณสมาบัติเข้ามรรคผล

    ให้ตา(ญาณ) พระธรรมกายแทงตลอดอริยสัจที่กลางกายมนุษย์ เห็นอริสัจเหล่านี้พร้อมกับเดินสมาบัติ เมื่อถูกส่วนเข้าธรรมกายก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลาง ๕ วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นก็กลับเป็น ธรรมกายหน้าตักกว้าง ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม นี้เป็นพระโสดา


    แล้วธรรมกายพระโสดานั้นเข้าฌาณ ดูอริยสัจของกายทิพย์ให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว เมื่อถูกส่วนเข้าธรรมกายพระโสดาก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลางได้ ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นพระสกิทาคามี


    แล้วธรรมกายพระสกิทาคามีนั้นเข้าฌาณ ดูอริยสัจของกายรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้าธรรมกายพระสกิทาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใสวัดผ่าศูนย์กลางได้ ๑๕ วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นก็กลับเป็นธรรมกาย หน้าตักกว้าง ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นพระอนาคามี


    แล้วธรรมกายพระอนาคามีนั้นเข้าฌาณ ดูอริยสัจของกายอรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้าธรรมกายพระอนาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลางได้ ๒๐ วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นก็กลับเป็น ธรรมกาย หน้าตักกว้าง ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นพระอรหัตต์แล้ว


    เมื่อได้กายพระอรหัตแล้ว ให้เดินละเอียดเข้าไปจนกายนั้นพิสดารมากขึ้นเป็น เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด จองถนน พิสดาร ปาฏิหาริย์ ทับทวี ให้คำนวณเข้ามาทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต ทับทวีต่อไปหลายชนเท่า นับอสงไขย อายุธาตุ อายุบารมี ไม่ถ้วน


    สรุป การแทงตลอดอริยสัจ ทำให้มีปัญญารู้ญาณ ๓ ญาณ คือ

    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้ไม่เที่ยงไม่แน่นอนจริง รู้ว่าสมุทัยทำให้เกิดทุกข์จริง นิโรธสามารถดับทุกข์ได้จริง มรรคเป็นทางหลุดพ้นได้จริง เรียกว่า สัจจญาณ

    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง เป็นสิ่งควรรู้ รู้ว่าสมุทัยเป็นสิ่งควรละ รู้ว่านิโรธเป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง และรู้ว่ามรรคเป็นทางที่ควรเจริญ เรียกว่า กิจจญาณ

    มีปัญญารู้ว่า ได้รู้ทุกข์ชัดเจนแล้ว ละสมุทัยได้ขาดแล้ว สามารถทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว และสามารถทำมรรคให้เจริญได้แล้ว เรียกว่า กตญาณ


    ในการปฏิบัติจริงๆ เมื่อปฏิบัติถึงดวงทุกข์ก็จะกำหนดรู้ทุกข์ทั้งในแง่ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ เมื่อถึงสมุทัย นิโรธ มรรค ก็จะกำหนดรู้ได้เช่นเดียวกัน ญาณทั้งสามนี้เป็นปัญญาที่ผุดขึ้นมาเองในระหว่างการปฏิบัติ เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจจธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกทางไม่ท้อถอยก็จะพ้นจากทุกข์ได้ ญาณทั้งสามกลุ่มรวม ๑๒ ญาณของอริยสัจในตอนนี้เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ในการขุดพื้นดินเพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่นิพพิทาญาณ ที่นั้น ญาณทั้ง ๑๒ ญาณของอริยสัจจะวิวัฒนาการเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ (โปรดดูปฏิสัมภิทามรรคมหาวรรคญาณกถา ข้อ ๑๐ ถึงข้อ ๒๙) ทำให้สามารถกำหนดรู้อนิจจังและสมุทัยซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้อริยสัจและพระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ซึ่งเป็นธรรมาวุธอันคมกล้าปหานสังโยชน์พินาศไปในพริบตา


    ญาณทั้งสามกลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ หรือ อริยสัจ ๑๒ นี้ จะเห็นและกำหนดรู้ได้ก็โดยทางเจโตสมาธิ หรือ วิชชาธรรมกายเท่านั้น ในพระไตรปิฎกมีระบุอย่างชัดแจ้งไว้ในธรรมจักกัปปวัตตนสูตรปฐมเทศนา พระวินัยปิฎกข้อ ๑๕ และ ๑๖ ว่า เป็นญาณทัสสนะมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒


    ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ที่เคยปฏิบัติสมถะมาก่อนกำหนดรู้ญาณทั้งสามนี้ได้เมื่ออุทยัพพยญาณเกิด จะต้องแทงตลอดอริยสัจขั้นหยาบนี้ก่อน ภังคญาณจึงจะเกิดตามมา.
    <!-- / message -->
     
  9. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    วิชชาธรรมกาย : วิธีทดลองจิตว่าอาสวะจะสิ้นเพียงไหน



    วิชชาธรรมกาย : วิธีทดลองจิตว่าอาสวะจะสิ้นเพียงไหน


    บทนี้เป็นบทสอบสวนตัวเอง ว่ายังมีกิเลสอยู่หรือไม่ คำว่า “อาสวะ” แปลว่า กิเลส คือ กิเลสที่ใจ การสอบสวนหรือการตรวจสอบให้สอบสวนที่ใจ


    กามคุณ ๕ คือความยินดีในกาม ได้แก่ การยินดีใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส หมายความว่า เรายินดีในรูปร่างของสตรี เรายินดีในเสียงที่ไพเราะ เช่นเสียงของนักร้อง เรายินดีในกลิ่น เช่น กลิ่นน้ำหอม เรายินดีในรส ได้แก่ รสแห่งกาม เรายินดีในการได้สัมผัสกาย ได้ลูบไล้กาย ได้กอดจูบ ลูบคลำ รวมเรียกว่ากามคุณ ๕ เรายินดีหรือไม่ นี่คือเรื่องกามคุณของมนุษย์ กามคุณในทิพย์นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือในทิพย์เขาก็มีกามคุณ แต่เบาบางกว่ามนุษย์ อย่างที่เขาพูดว่านางฟ้า นางสวรรค์ ถามว่าเรายินดีหรือไม่


    เรื่องของอยากมี อยากเป็น ยังมีความอยากอยู่หรือไม่ ถ้าเขาให้เราเป็น เทวดา อินทร์ พรหม บรมกษัตริย์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี อยากหรือไม่อยากคราวนี้มาถึงอยากมีบ้าง คือ อยากรวย อยากมีสมบัติมาก ๆ อยากมีลาภ อยากมียศศักดิ์ อยากให้เขายกย่องสรรเสริญ อยากมีความสุขสารพัด นี่คือเรื่องของ “ภวตัณหา”


    คราวนี้มาถึงเรื่อง “วิภวตัณหา” บ้าง ได้แก่ ความอยากให้สิ่งที่เราชอบเราพอใจ คงสภาพอยู่ ไม่ให้เสื่อมสลาย พัสดุกามก็คือทุกชนิดที่เป็นวัตถุส่งเสริมให้กิเลสกามคงสภาพอยู่ เช่น สาวงามของเรา อย่าให้เธอต้องแก่เฒ่าเลย เพื่อสภาพแห่งกามจะได้ไม่เสื่อมคลาย น้ำหอมยี่ห้อที่เราได้กลิ่นแล้วส่งเสริมให้กามกิเลสคงมั่น ขอให้น้ำหอมยี่ห้อนี้อย่าได้หมดไปจากตลาดเลย สรีระของคุณเธอจงเต่งตึงอย่าเ***่ยวย่นได้ไหม ยาสมุนไพรขนานที่กินแล้วส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศ ตัวอย่างที่กล่าวนี้ เป็นพัสดุกามทั้งนั้น โจทย์เขาถามว่าเราอยากให้สิ่งเหล่านี้คงสภาพอยู่ไหม?


    คำตอบอยู่ที่ใจเรา หากเรายังยินดีอยู่ ตำราเขาบอกว่ายังมี “รส” คำว่ารสเป็นความรู้ทางวิชชาธรรมกาย หมายถึง เราติดใจรส เราอร่อยในรส เรายังยินดีในรส แปลว่า กิเลสหรืออาสวะยังไม่สิ้น หากเราไม่ยินดีในรส แปลว่า “จืด” แต่นี่แสดงว่า รสยังไม่จืดคือรสยังโอชาอยู่ เมื่อรสยังมีอยู่ชาติเกิดตามทันที ชาติสนับสนุนทันที


    คำว่า “ชาติ” หรือ “ชาต” แปลว่า เกิด คือการการเวียนว่าย หลวงพ่อท่านพูดว่า ยังมีรสมีชาติ คือถ้ารสไม่จืด ชาติก็ตามมาเพราะรสกับชาติเกี่ยวข้องกัน เมื่อมีรสก็ต้องมีชาติเสมอไป


    ปัญหาอยู่ที่ว่า เราจะตรวจสอบใจของเราอย่างไร?


    o วิธีสอบท่านให้ทำ ๓ สถาน คือ ขณะที่ใจหมกมุ่น ๑ ขณะที่สภาพใจสงบ ๑ และขณะที่
    ใจอยู่กับกายธรรม ๑ หากใจของเราให้คำตอบตรงกันใน ๓ วาระจึงจะฟังได้


    แม้ใจของเราจะตอบอย่างไร อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะเราหลอกตัวเองมาแล้ว ท่านให้เดินวิชาตรวจสอบเสียก่อน ดังนี้

    แนวเดินวิชา

    ลำดับแรก


    เดินวิชาถอยหลังจากกายธรรมย้อนมาหากายมนุษย์ หยุดกลางดวงธรรมของกายมนุษย์ เพื่อดูทุกข์และสมุทัย ให้ดูที่ทุกข์และสมุทัยนั้น ว่าดวงตัณหาขุ่นมัวหรือจางหายไป หากจางหาย แปลว่า ตัณหาเบาบางลงแล้ว หากยังขุ่นมัวพึงทราบเถิดว่า ตัณหายังมีบริบูรณ์ เมื่อตัณหามีขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ อุปาทาน ภพ ชาติ ตามแนวการเดินวิชาว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทนั้น


    ลำดับสอง

    การเดินวิชาบทนี้ เมื่อเห็นดวงตัณหา พึงส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงตัณหาให้เห็น ดวงเห็น จำ คิด รู้ ของตัณหานั้น เมื่อเห็นแล้วนึกรวมเห็น จำ คิด รู้ ให้เป็นหนึ่ง แล้วเราก็นิ่งลงไปกลางดวงนั้น เราก็เห็นว่า ดวงตัณหาซ้อนในเห็น จำ คิด รู้ และในเห็น จำ คิด รู้ นั้นมีอายตนะ ๑๒ เมื่อมีอายตนะ ๑๒ ย่อมมี “ผัสสะ” ตัวผัสสะยังอำนวยการให้มีการรับส่งของอายตนะ นั่นคือ ตัณหาเกิดขึ้นได้เสมอ หากมีอะไรมากระทบอายตนะ


    อย่าลืมเดินวิชา เรามุ่งภาคปฏิบัติ ว่าเราปฏิบัติได้หรือไม่ หากเรามุ่งอ่านตำราได้แต่จำได้ พูดได้เท่านั้น แต่ทำไม่ได้ แล้วจะเกิดประโยชน์อะไรกัน ดังนั้นขอให้มุ่งปฏิบัติทุกเรื่อง ดูบทบัญญัติทุกเรื่อง อ่านคำอธิบายเสร็จแล้วเดินวิชาทันทีอย่าอ่านเพื่อรู้ ขอให้อ่านเพื่อปฏิบัติ วิชาธรรมกายของเราจะสูญต่อเมื่อเราอ่านเพื่อรู้ หากรูปการเป็นอย่างนี้ วิชาธรรมกายจะสูญในเร็ววัน ต่อไป เราจะพบแต่คนท่องวิชาได้ แต่หาคนทำวิชาเป็นไม่ได้



    กิเลสตระกูลต่าง ๆ ที่อยู่ในใจสัตว์โลก มีดังนี้


    อาสวะ คือ กิเลสที่หมักดองใจ

    - กามาสวะ เครื่องหมักดองสันดานสัตว์ เป็นเหตุให้อยากได้กามหนึ่ง
    - ภาวสวะ เครื่องหมักดองสันดานสัตว์ เป็นเหตุให้อยากมีอยากเป็นหนึ่ง
    - อวิชชาสวะ เครื่องหมักดองสันดานสัตว์ เป็นเหตุให้มืด ทำให้โง่เขลาหนึ่ง


    อนุสัย คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน

    - กามราคานุสัย คือความยินดีในกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส ธรรมารมณ์
    - ปฏิมานุสัย คือความไม่พอใจแล้วผูกใจเจ็บจนถึงขั้นจองเวร
    - อวิชชานุสัย คือความมืด ความบอด ความโง่เขลา การไม่เห็นธรรม การไม่รู้ธรรม


    สัญโญชน์ แปลว่า เครื่องร้อยรัดสัตว์ให้ข้องอยู่ในวัฎสงสาร

    - กามราคสัญโญชน์ มีอารมณ์ยินดีในกามคุณ
    - ปฏิฆสัญโญชน์ ไม่ชอบอารมณ์ใด ๆ โดยไม่มีเหตุผล
    - อวิชชาสัญโญชน์ ไม่รู้ธรรม ไม่เห็นธรรม


    นิวรณ์ แปลว่า เครื่องสกัดกั้นความดี

    - กามฉันทนิวรณ์ ความยินดีในอารมณ์กามคุณ
    - พยาปาทนิวรณ์ ความไม่พอใจในอารมณ์ต่าง ๆ
    - อวิชชานิวรณ์ ความไม่รู้สัจธรรม


    โยคะ แปลว่า เครื่องประกอบสัตว์ให้ติดภพภูมิ

    - กามโยคะ ความยินดีในกามคุณ
    - ภาวโยคะ ความยินดีในภพภูมิต่าง ๆ
    - อวิชชาโยคะ ความยินดีในความรู้ที่ไม่ตรงความจริง


    โอฆะ แปลว่า ห้วงน้ำทำให้สัตว์จมอยู่ในสังสารวัฎ

    - กามโมฆะ ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ
    - ภโวฆะ ความยินดีในภพภูมิ
    - ทิฏโฐฆะ ความยินดีในความเห็นผิด
    - อวิชโชฆะ ความยินดีในความรู้ที่ไม่จริง


    คันถะ แปลว่า เครื่องผูกสัตว์ไม่ให้หลุดไปจากโลก

    อุปาทาน แปลว่า ยึดมั่นถือมั่น

    กิเลส แปลว่า เครื่องเศร้าหมอง



    กองทัพกิเลสชุดใหญ่หรือเรียกว่า ปิฎกธาตุปิฎกธรรมของฝ่ายอกุศลที่เข้ามาสวมซ้อนในใจและกายของเราทุกกาย มีดังนี้

    อภิชญา พยายาท มิจฉาทิฎฐิ

    โลภะ โทสะ โมหะ

    ราคะ โทสะ โมหะ

    กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย

    สักกายทิฎฐิ สีลัพพตปรามาส วิจิกิจฉา

    กามราคะ พยาบาท รูปราคะ อรูปราคะ

    มานะ อุทธัจจะ อวิชชา



    สังโยชน์ คือ กิเลสเครื่องผูกรัดใจสัตว์มี ๑๐ อย่าง

    ๑. สักกายทิฎฐิ ความเห็นผิดเป็นเหตุให้ถือตัวตน

    ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในปฏิปทา

    ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือศีลพรตนอกธรรม

    ๔. กามราคะ ความติดในกิเลสตาม

    ๕. ปฏิฆะ ความหงุดหงิด

    ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม

    ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม

    ๘. มานะ ความสำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่

    ๙. อุทธัจจะ ความคิดพล่าน

    ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง




    จะเห็นว่า กิเลสเหล่านี้ มีอวิชชากำกับอยู่ท้าย เหมือนกับเรื่องอาสวะและเหมือนกับเรื่องอนุสัยนั้น แต่ละชื่อของกิเลส มีความหมายคล้ายกัน สรุปแล้วก็เรื่อง กามคุณ เรื่องอารมณ์ความไม่พอใจ เรื่องอวิชชา


    กิเลสแต่ละตัวทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน รวมทั้งอวิชชาที่กำกับกิเลสตัวนั้นก็ทำหน้าที่ไม่เหมือนกันด้วย ทั้งสัญโญชน์ นิวรณ์ โยคะ โอฆะ มีอวิชชากำกับไว้ทั้งนั้น


    ดูไปแล้วคล้ายสุนัขไล่เนื้อ อวิชชาคือหัวฝูง พอหัวฝูงเห่าให้สัญญาณ ลูกฝูงจะออกไล่สัตว์ทันที ตัวหนึ่งปัสสาวะ สัตว์ใดเข้าแนวเขตปัสสาวะจะตาฟาง ตัวหนึ่งกัดที่เอ็นขา เพื่อให้สัตว์เดินไม่ได้ ตัวหนึ่งขึ้นขี่หลังเพื่อให้สัตว์เกิดกังวลใจ ตัวหนึ่งกัดที่ตา ตัวหนึ่งกัดที่ท้อง สุดท้ายสัตว์เก้งกวางล้มลง แล้วมันก็ช่วยกันรุมจนถึงแก่ความตาย แล้วก็ช่วยกันกินเนื้อกินไส้


    ไม่ผิดอะไรกับมนุษย์ กิเลสร้อยแปดรุมจิตใจเรา เพราะมันอยู่ที่ใจของเราอยู่แล้ว โบราณเขาพูดว่า กิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปด ก็คือกิเลสมากมายและตัณหาก็มีรูปแบบนานานั่นเอง


    มีกิเลสร้ายอยู่ ๒ ตัว คือเรื่องกิเลส ๑๐ นั้น มุ่งมาที่ “อหิริกกิเลส” คือความไม่ละลายต่อบาป และ “อโนตตัปกิเลส” คือ ความไม่กลัวบาป หากกิเลส ๒ ตัวนี้เจริญขึ้นในใจเมื่อไร จะสามารถทำลายล้างได้หมด เพราะตัวอื่นเป็นเชื้อมาก่อน คือ โลภะ (ความโลภ) โทสะ (ความโกรธ) โมหะ (ความหลง)


    กิเลสมีทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียด กิเลสประเภทที่มีอวิชชากำกับ เป็นกิเลสละเอียดยากต่อการกำจัดต้องใช้วิชาธรรมกายระดับสูง กิเลสบางอย่าง เพียงเรารักษาศีลก็แก้กันได้ กิเลสบางอย่างต้องแก้โดยสมาธิภาวนา แต่การแก้กิเลสประเภทที่มีอวิชชากำกับ แก้ยากมาก ต้องใช้วิชาธรรมกายชั้นสูง เพราะอะไรจึงยาก เหตุที่ยากเพราะกิเลสตระกูลนั้นขยายงานเป็นปฏิจจสมุบาท แยกเป็นทีมงาน รับส่งกันไม่สิ้นสุด คือ


    เมื่อมีอวิชชา จะต้องมีสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เกี่ยวข้องกันเป็นลูกโซ่ กิเลสแต่ละตัวเขาก็มีนิพพาน ภพ ๓ โลกันต์ของเขา เขามีการส่งวิชากันไม่ขาดระยะ เขาทำงานมีประสิทธิภาพ สัตว์โลกเกิดเท่าไร ตายเท่านั้น ไม่รอดเลย แม้แต่หนึ่งเดียว


     
  10. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ธรรมกายในพระไตรปิฎก

    (๑) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์เป็นธรรมกาย
    “ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ”

    “วาเสฏฐะและภารทวาชะ คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี
    ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต”

    ที.ปา.11/55/92


    (๒) พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระอรหันต์ แสดงว่าตนเป็นธรรมกาย
    “อหํ สุคต เต มาตา
    สทฺธมฺมสุขโท นาถ
    สํวทฺธิโตยํ สุคต
    อานนฺทิโย ธมฺมกาโย
    มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ
    ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ
    พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ ตุวํ ธีร ปิตา มม
    ตยา ชาตมฺหิ โคตม.
    รูปกาโย มยา ตว
    มม สํวทฺธิโต ตยา.
    ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา
    ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา.
    อนโณ ตฺวํ มหามุเน.”
    “ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์
    ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด.
    ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต.
    ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว.
    หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนมคือพระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว.
    ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน.”

    ขุ.อป.๓๓/๑๕๓/๒๘๔


    (๓) พระสรภังคเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์ กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ว่า ทรงอุบัติเป็นธรรมกาย ผู้คงที่
    “เมื่อก่อนเราผู้ชื่อว่าสรภังคะ ไม่เคยได้เห็นโรคคืออุปาทานขันธ์ ๕ ได้ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น. โรคนั้นอันเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ได้เสด็จไปแล้วโดยทางนั้น. พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้โดย ** ธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรมคืออริยสัจ ๔ อันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตกและเพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี. เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.”
    (๔) ตรัสว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีธรรมกายมาก
    ได้ตรัสแก่พระอานนท์เวเทหมุนี ซึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อประทับอยู่ในวิหารเชตวันว่า “ได้ทราบว่า พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ ?” ว่า

    “วิสุทฺธสีลา ... มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา ...”

    “นักปราชญ์เหล่าใด มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา... ไม่บรรลุความเป็นสาวกในพระศาสนาของพระชินเจ้า (นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นสยัมภูปัจเจกชินเจ้า) มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก...”

    ขุ.อป.๓๒/๒/๒๐


    (๕) กล่าวถึงผู้ที่ได้เห็นธรรมกาย ย่อมปราบปลื้มยินดี
    "ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺตี โก ทิสฺวา นปฺปสิทติฯ"

    "บุคคลใดยังธรรมกายให้สว่างแล้วทั้งสิ้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้ ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้นไม่มี"

    ขุ.อป.๓๒/๑๓๙/๒๔๓



    คำอธิบายเพิ่มเติม...


    อานาปนัสสติ ผู้ฝึกธรรมกายสามารถฝึกได้ทุกคน เพราะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เห็นพระธรรมกายนั่นเอง แม้แต่กัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ วิธี ที่พระพุทธเจ้ารับรองก็สามารถฝึกเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายได้ทั้งหมด อย่าสับสนระหว่างการฝึกอานาปานัสสติ กับการฝึกเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย เพราะผู้ฝึกแบบอานาปานัสสติก็สามารถเข้าถึงพระธรรมกายได้เช่นกัน

    ขอเรียนว่าเรื่องอานาปานัสสติที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น เป็นเรื่องเดียวกับฐานของใจทั้ง 7 ฐาน คืออย่างนี้ครับ

    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านก็ปฏิบัติแบบอาณาปานัสสติ คือกำหนดลมหายใจเข้าออก เมื่อท่านปฏิบัติจริงจังโดยอธิษฐานขอเอาชีวิตเข้าแลก ณ วัดโบสถ์บน บางคูเวียง หลวงพ่อฯก็ใช้วิธีแบบอาณาปานัสสติ แต่มีช่วงนึงลมหายใจเข้ากับลมหายใจออกยาวเท่ากัน ก็จะเห็นดวงปฐมมรรคแวบนึง เป็นอย่างนี้อยู่หลายครา หลวงพ่อจึงไม่เอาใจวิ่งเข้าวิ่งออกตามลมหายใจอีก โดยเอาใจนิ่งที่ดวงที่เห็นอย่างเดียว และในที่สุดหลวงพ่อเห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็มกลางดวงใส แล้วจึงเห็นวิชชาความรู้ต่างๆ ขึ้นมา

    ซึ่งเมื่อมาเปรียบโดยหลักวิชชาแล้ว อานาปานัสสติคือการกำหนดลมหายใจเข้าออกนี้ ลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกครบทั้ง 7 ฐานทุกครั้ง หลวงพ่อฯจึงได้ความรู้เพิ่มอีกว่า ทั้ง 7 ฐานนี่ เป็นทางไปเกิดมาเกิดของสัตว์ดโลกด้วย เป็นที่หลับที่ตื่นของสัตว์โลกด้วย หลวงพ่อท่านจึงใช้ฐานที่ตั้งถึง 7 ฐาน จะเรียกว่าฐานของลมหายใจ 7 ฐานก็ได้ ถามว่าทำไมไม่มีบัญญัติไว้ในสมัยพุทธกาล เพราะเหตุว่าการกำหนดอานาปานัสสติครอบคลุมเรื่องฐานของใจทั้ง 7 ฐานอยู่แล้ว เพียงแต่ยุคนี้หลวงพ่อท่านทำให้ชัดเจนขึ้น และแทนที่หลวงพ่อจะสอนแบบกำหนดลมหายใจแบบอาณาปานัสสติ หลวงพ่อก็มาสอนแบบอาโลกสิณ(กสิณแสงสว่าง) และแสดงทางเดินของใจถึง 7 ฐาน เพราะเหมาะกับคนทุกจริตนั่นเอง

    โดยหลักการบำเพ็ญภาวนานั้นต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือบริกรรมนิมิต บริกรรมภาวนา และที่ตั้งของใจ ถ้าเป็นอานาปานัสสติ บริกรรมนิมิต คือ ลมหายใจ บริกรรมภาวนาจะเป็นอะไรก็ได้ เช่น พุทโธ ที่ตั้งของใจก็คือลมวิ่งเข้าวิ่งออก ลมวิ่งออกจากจุดไหน ลมวิ่งเข้ามาถึงจึดไหน นั่นก็คือที่ตั้งของใจนั่นเอง ในกาลก่อนมีพระอริยสงฆ์หลายท่านก็ปฏิบัติแบบอาณาปานัสสติจนเห็นดวงปฐมมรรคเช่นกัน เช่น สมเด็จโตฯ ครูบาศรีวิชัย หลวงปู่มั่น ฯลฯ เพียงแต่ท่านปฏิบัติได้แล้วท่านก็ไปกำหนดจิตตรงว่างใสในดวงนั้น ก็ส่งผลให้รู้เห็นอะไรต่ออะไรได้ด้วยญาณทัสสนะ เพียงแต่หลวงพ่อวัดปากน้ำโชคดีกว่าตรงที่หลวงพ่อ เข้ากลางของกลางได้ เพราะหลวงพ่อละจากดวงใสแรก โดยเข้ากลางของกลางจนไปเห็นเรื่องกายในกาย

    จึงขอให้เข้าใจเถิดว่า อานาปานัสสตินั่นแหละที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ไม่ผิด สามารถเห็นกายในกายได้เหมือนกัน พระพุทธเจ้าเพียงเป็นผู้บอกทาง เมื่อเราปฏิบัติแล้ว ผลจะเกิดกับเราเอง
    ******


    คำกล่าวข้างบนนี้ เป็นเรื่องของผู้ไม่เข้าใจวิชชาธรรมกาย แต่พยายามดลความน่าเชื่อถือให้วิชชาธรรมกายอย่างช่ำชอง เพราะท่านเหล่านั้นมีความรู้อยู่ในทางอื่นเป็นทุนแต่พยายามใช้ความรู้นั้นมาลกความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิชชาธรรมกาย เพื่อให้เกิดความไขว้เขว หรืออย่างน้อยก็ความเรรวนในผู้ที่มีความรู้น้อย หรือไม่มีพื้นความรู้ในวิชชาธรรมกายเลยเป็นทุนอยู่แล้วนั่นเอง

    <!-- / message -->
    <!-- / message -->
     
  11. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    มีคนโจทย์กันว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำเลิกฝึก "ธรรมกาย" จริงหรือ?


    พระดร.มหาทวนชัย อธิจิตโต


    ขอย้อนไปเมื่อหลวงพ่อมาอยู่ใหม่ๆ มีปัญหามากคือญาติโยมบริเวณวัดไม่ศรัทธา ไม่มีใครเข้าวัด ตอนที่ท่านเล่าให้ฟัง แล้วรองเจ้าอาวาสก็เล่าให้ฟัง อดีตก่อนที่อาตมาจะเข้าไป มีปัญหาแม้กระทั่งญาติโยมที่ไม่พอใจ คนต่างจังหวัดมาทำบุญมากๆ เขาอิจฉา เขาหาว่าหลวงพ่อจะมาทำอะไรที่ล้ำหน้า แล้วก็เจริญเกินไป พอเด่นขึ้นมาจะต้องมีคนอิจฉา ถึงขนาดที่ว่ายิงท่าน ทำร้ายท่าน ใช้ปืนยิง ทะลุจีวรตามที่ทราบมา แต่หลวงพ่อก็ไม่เป็นอะไรหรอก หลวงพ่อก็อดทนตลอดมา ตั้งใจที่จะมาฟื้นฟูที่นี่ให้เป็นแดนพระพุทธศาสนา เป็นแดนศักดิ์สิทธิ์ แล้วก็เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาซึ่งก็เป็นจริงในปัจจุบันนี้ วัดปากน้ำก็มีชื่อเสียง และเป็นศูนย์กลางและเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของพระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาเป็นจำนวนมาก


    หลวงพ่อท่านจะไม่เหมือนคนทั่วไป ปกติท่านจะอยู่ในฌาณ ท่านมีฌาณสูงมากเลย การปฏิบัติของท่านคือท่านจะอยู่ในธรรมกาย จิตของท่านอยู่ในธรรมกายจะอยู่ในฌาณอยู่ในสมาบัติ ท่านไม่ใช่พระธรรมดา ท่านอยู่ในสมาธิ อันนี้เท่าที่อาตมาวัดได้นะ เพราะว่าท่านจะไม่มีการขาดสติ การทำอะไรโดยขาดสติจะไม่มี จะเป็นคล้ายๆ พระอรหันต์งั้นแหละ หลวงพ่อท่านเดินก็มีสติ เอี้ยวแขนก็มีสติ นอนก็มีสติ จะนั่ง จะฉัน จะเดิน จะทำอะไรรู้สึกว่าท่านมีสติเต็มบริบูรณ์ สิ่งนี้อาตมารู้สึกประทับใจแล้วก็เห็นว่าเป็นสิ่งที่แปลก ซึ่งไม่เห็นจากพระองค์อื่นๆ เราเป็นเณร เราก็ช่างสังเกตนะ พระองค์อื่นตลกคะนอง หัวเราะเอิ๊กอ๊าก อยากหัวเราะก็หัวเราะ อยากกระโดด หรือวิ่ง หรืออะไร บางทีมันขาดสตินะ หลวงพ่อไม่มี เดินนี้คล้ายพระอรหันต์ เหมือนพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เรื่องนี้แปลก อาตมามารู้ทีหลังตอนเรียนปริยัติแล้วว่า พระอรหันต์คือผู้ไม่ขาดสติ ทำอะไรทำด้วยสติ มาเจอกับหลวงพ่อวัดปากน้ำนี่แหละ


    สมัยที่อยู่ในโบสถ์รุ่นแรกๆ นั้น ในโบสถ์ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม คือเวลา ๑ ทุ่ม จะมีทั้งญาติโยม ทั้งพระเณรที่รักการปฏิบัติธรรมกาย จะมารวมกันเพื่อนั่งสมาธิ อาตมาก็นอนที่นั่น อยู่ที่นั่น ทำงานที่ในโบสถ์นั้น ก็ใช้เวลาส่วนมาก ทุกวันไม่ว่างเว้น ก็ต้องทำด้านสมาธิ ตามหลักการที่ทำในวันพฤหัส หรือสอนในโบสถ์ทุกเช้า หรือมีพระผู้ใหญ่ เช่น มหาโชดก ขอโยงซะเลย เพราะว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุด


    มหาโชดก เป็นพระผู้ใหญ่ และมีตำแหน่งใหญ่ ควบคุมวัดปากน้ำด้วยในสมัยนั้น ท่านได้ไปเรียนกรรมฐานแบบสายยุบหนอ พองหนอ มาจากประเทศพม่า แล้วท่านก็จะมาเปลี่ยนแปลง หมายความว่า จะมาล้างสมองหลวงพ่อวัดปากน้ำ โดยท่านมีความเข้าใจว่า การปฏิบัติสายวัดปากน้ำ มันไม่ใช่พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ทางวิปัสสนา ไม่ใช่ทางหลุดพ้น และก็ไม่ใช่ทางที่ถูกต้อง ที่ท่านไปได้มาจากพม่า สายยุบหนอ พองหนอ ท่านก็เดินทางไปปราบหลวงพ่อวัดปากน้ำ สมัยนั้น อาตมามีชีวิตอยู่ในเหตุการณ์เดียวกัน อยู่ในโบสถ์ หลวงพ่อก็ให้โอกาสพระผู้ใหญ่ โดยตำแหน่ง โดยยศแล้ว ท่านมหาโชดกใหญ่กว่า หลวงพ่อเราก็อ่อนน้อมถ่อมตน ก็นัดพบกันในโบสถ์เวลาบ่ายนะ จำได้ภาพยังปรากฏอยู่ในความทรงจำ เราก็ปูอาสนะสองที่ไว้ในโบสถ์ ต่อหน้าพระพุทธรูป ให้ท่านได้โต้ตอบกัน เรียกว่า เสือเจอสิงห์ แล้วเราก็ปิดประตูให้ท่านคุยกัน แล้วเจ้าคุณโชดกมาทราบทีหลังว่า ต้องการอยากจะไปปรับการสอนธรรมะ หรือการปฏิบัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำให้เปลี่ยนแปลง ให้มาใช้สายวิปัสสนาแบบยุบหนอ พองหนอ ท่านอ้างว่า มันมีมาในพระไตรปิฎก มันถูกต้อง ส่วนสายธรรมกาย มันเพี้ยน มันไม่ถูกต้อง มันไม่มี อะไรทำนองนั้น


    เสร็จแล้วท่านก็ถกเถียงกัน เราก็อยู่ข้างนอก คอยปิดประตูโบสถ์ไม่ให้ใครเข้าไปก่อความรำคาญ ท่านก็เจอกันอย่างนี้อยู่หลายวัน เราก็ไม่ทราบผล ได้ผลยังไง ใครปราบใครยังไง เสร็จแล้วมารู้ทีหลังว่า หลวงพ่อด้วยความเกรงใจก็เลยให้รูปอันใหญ่ไปอันหนึ่ง ให้เจ้าคุณโชดก พร้อมทั้งเขียนข้อความว่า รูปนี้ให้ไว้เป็นที่ระลึก เนื่องในโอกาสพระเดชพระคุณได้มาสอนวิปัสสนากรรมฐานให้กระผม ซึ่งเห็นว่าถูกต้องทุกอย่าง


    ด้วยมารยาทและเป็นผู้น้อย หลวงพ่อก็ชมเชย และยอมก้มหัวให้ว่าของท่านโชดกถูกต้อง อันนี้เป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่ง ซึ่งหลวงพ่อรู้จักวางตัวให้เกียรติกับพระเถระ ไม่ไปขัดข้องกับผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นสังฆาธิการปกครองเราด้วย หลวงพ่อถึงกราบก่อน ทั้งที่จริง อายุพรรษาของหลวงพ่อนั้นมากกว่า แต่เจ้าคุณโชดกเป็นรุ่นลูกรุ่นหลาน แต่เขาเป็นผู้ใหญ่ เขามาหลวงพ่อก็กราบ แล้วเจ้าคุณโชดกก็กราบคืนนะ มาทราบว่าเป็นอย่างนั้น


    ก็มีปัญหาต่อมาว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำยอมสละทิ้งหลักการจริงหรือไม่ อาตมาบอกว่าไม่จริง ฝ่ายตรงข้ามบอกว่า ฝ่ายมหาโชดกเป็นฝ่ายชนะ โดยที่หลวงพ่อรับว่าตัวเอง ยอมรับนับถือฝ่ายการปฏิบัติสายยุบหนอ พองหนอ อันนี้จะตัดสินอย่างไร ในความคิดเห็นของอาตมามีความเห็นว่า ไม่ใช่ หลวงพ่อไม่เคยทิ้งหลักการวิชชาธรรมกาย สั่งสอนมาตลอด ไม่มีเทปม้วนไหน ไม่มีคำพูดใดเลยที่หลวงพ่อบอกว่า ของเรามันผิดนะลูกทั้งหลาย ให้เลิกนะ หันไปนับถือสายยุบหนอพองหนอ ทำแบบวัดมหาธาตุนะ ไม่มี แต่ฝ่ายทางโน้น เอาหลักเกณฑ์ เอาคำพูดที่หลวงพ่อให้เกียรติท่านเจ้าคุณโชดกนี้เป็นตัวตั้ง เสร็จแล้วก็โพนทะนาว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำทิ้งหลักการ และก็ยกย่องฝ่ายยุบหนอ พองหนอว่าถูกต้อง ธรรมกายผิดพลาด นี่เขาพูดเอาเอง ตามความรู้สึกของอาตมา ยืนยัน นั่งยัน นอนยันได้เลยว่า ที่พูดของเขามันก็ไม่ถูกเหมือนกัน เขาไม่ได้ชนะหลวงพ่อก็ไม่ได้แพ้ และก็ไม่ได้ทิ้งหลักการ หลวงพ่อวัดปากน้ำก็ไม่ได้สอนธรรมะใหม่ สอนการปฏิบัติใหม่แต่อย่างใด


    อาตมาลาสิกขาตอนอายุ ๒๕ ปี ไปเรียนนิติศาสตร์ รามคำแหง พอจบปริญญาตรีก็ไปต่อปริญญาโท ปริญญาเอกด้านกฏหมายที่มหาวิทยาลัยอิลินอย สหรัฐอเมริกา แล้วกลับมาบวชอีกครั้ง ในปี ๒๕๓๘ มีหลวงพ่อพระเทพกิตติปัญญาคุณบวชให้ ปัจจุบันอาตมาอายุ ๖๒ ปี ก็ขอทำหน้าที่ลูกศิษย์ทายาทธรรมของหลวงพ่อให้ดีที่สุด
    พระดร.มหาทวนชัย อธิจิตโต



    ******************************************************



    ในช่วงปี 2490-2497 ชื่อเสียงของหลวงพ่อวัดปากน้ำซึ่งมิได้มีเปรียญธรรมชั้นใด แต่กลับมีผู้คนศรัทธากราบไหว้มากกว่าพระมหาเถระรูปใดๆ ในประเทศไทย


    เวลานั้น คนที่อิจฉาท่านก็ออกมาโจมตีว่า ท่านสอนผิดๆ ทั้งยังมีข่าวลืออกุศลว่าที่วัดมีแม่ชีมาก และไปทำวิชากัน เขาก็ลือกันไปในทางเสียหาย แม้แต่พระสังฆราชในเวลานั้น (ถ้าจำไม่ผิด)คือกรมหลวงวชิรญาณวัดบวรฯ ท่านได้ข่าวอกุศลนี้เช่นกันจึงได้นิมนต์ให้พระอริยคุณาธาร(เส็ง ปุณโส) ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ลูกศิษย์รุ่นแรกๆของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเชี่ยวชาญทั้งปริยัติ และปฏิบัติ เป็นสปายไปสืบเรื่องหลวงพ่อฯ


    ต่อมาท่านก็ได้ตระหนักถึงบุญบารมีของลพ.วัดปากน้ำว่าเป็นนักสมาธิจริงๆ มีความสนใจเฉพาะเรื่องของการปฏิบัติธรรม จึงนำความไปกราบทูลพระสังฆราช ข่าวอกุศลก็ดับไป


    ต่อมา พระพิมลธรรม (อาจ อาสภเถระ) อธิบดีสงฆ์ วัดมหาธาตุ ซึ่งกำลังสนใจเรื่องอภิธรรมที่ได้รับจากพระพม่า อีกทั้งท่านยังเป็นเจ้าคณะพระนคร คุมวัดปากน้ำด้วย ท่านต้องการให้พระในสังกัดท่านสนใจเรียนอภิธรรมเพื่อให้วิชาอภิธรรมแพร่หลาย จึงไปกราบอาราธนาลพ.วัดปากน้ำให้มาฝึกวิชานี้ด้วย


    อันลพ.วัดปากน้ำเป็นผู้มีนิสัยใฝ่ศึกษามาแต่ครั้งยังเยาว์และท่านก็เคยเรียนสมาธิในทางอื่นมาก่อนทั้งพุทโธ และสติปัฎฐาน ทั้งท่านก็ให้ความนับถือเจ้าคุณวัดมหาธาตุดี เคยไปเทศน์ให้วัดมหาธาตุ ตามที่ท่านเจ้าคุณอาราธนาอยู่บ่อยครั้ง จึงรับที่จะเรียนวิชายุบหนอพองหนอ ท่านเจ้าคุณอาสภะให้ท่านเจ้าคุณโชดกมาสอนวิชายุบหนอกับหลวงพ่อ หลวงพ่อก็เรียนอยู่ราวสองสัปดาห์ ภายหลังเมื่อเรียนแล้วท่านก็ให้ความนับถือวิชายุบหนอของวัดมหาธาตุเช่นกัน


    ท่านอจ.โชดกได้ขอให้หลวงพ่อเขียนวิจารณ์สิ่งที่ท่านได้เรียน หลวงพ่อก็เขียนจดหมายสั้นๆ ดูเหมือนจะมีภาพลพ.ด้วย ว่าวิชาที่เรียนตรงกับหลักสติปัฏฐานทุกประการ เรื่องก็มีเท่านี้


    แต่ผมไม่เข้าใจว่าสำนักเรียนวัดมหาธาตุรวมทั้งศิษยานุศิษย์สายนี้เขามีเจตนาอย่างไรแน่จึงนำหนังสือที่ลพ.เขียนรับรองมาลงพิมพ์
    รวมทั้งที่หน้าวัดอัมพวันของหลวงพ่อจรัล ก็เอาภาพนี้มาติดไว้ด้วย
    ภาพนี้อ่านดูอย่างไรไม่สามารถแปลได้ว่าลพ.วัดปากน้ำได้เลิกวิชาธรรมกาย หรือแปลว่ายุบหนอเหนือกว่าวิชาธรรมกายตามที่ฝ่ายผู้เรียนวิชายุบหนอพองหนอพยายามจะกล่าวอ้างและบิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างน่าเกลียด


    อันที่จริงพระพิมลธรรมท่านก็เป็นพระแท้มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย แต่ความเคร่งครัดนำมาซึ่งพระเดช การใช้อำนาจต่อพระอริยสงฆ์อย่างลพ.วัดปากน้ำทั้งที่พระพิมลธรรมเป็นพระเด็กแต่ได้เปรียญธรรมก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกไม่ควร ความดีและไม่ดีของท่านก็เป็นกรรมที่สนองท่านเองในเวลาต่อมา


    วันที่ 21 เม.ย.2505 ท่านถูกใส่ร้ายและถูกจอมพลสฤษดิ์ฯ สั่งให้จับกุม คุมขัง และจับท่านสึกหาลาเพศ แต่ท่านไม่ยอมเปล่งวาจาสึกท่านต้องโทษทัณฑ์จากทางการอยู่สิบปี ในที่สุดศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้ท่านพ้นผิด โดยในคดีนั้นปรากฏว่ามีความอิจฉาริษยากันในหมู่สงฆ์ และพระสังฆราชพระองค์หนึ่งมีความเกี่ยวข้องกับคดีนี้เช่นกันศาลได้กล่าวในตอนหนึ่งว่ากรรมที่ท่านถูกใส่ร้ายก็ขอให้เป็นอโหสิกรรมแก่กัน


    เมื่อพระพิมลธรรมพ้นโทษแล้วก็ได้รับสมณศักดิ์คืน จนได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์วัดมหาธาตุ แต่ภายหลังท่านควรได้เป็นพระสังฆราช แต่ท่านก็ไม่ได้เป็นตำแหน่งพระสังฆราชตกแก่พระญาณสังวร โดยที่ท่านอาสภะเถระได้ขอถอนตัวโดยเห็นแก่ความสามัคคีแห่งสังฆมณฑล เมื่อใกล้มรณภาพ เลขาของท่านยังต้องคดีปาราชิก ทำให้ตำรวจมาค้นกุฏิท่าน แต่ก็ไม่ได้พบอะไรที่ผิดปก แน่นอนชื่อของท่านก็มามีมลทินเพราะพระเลขาสมีเจี๊ยบแท้ๆ ตราบจนท่านมรณภาพไป



    ตัวอย่างชีวิตของท่าน เป็นตัวอย่างพระที่มีทั้งสุขและทุกข์โคจรมา
    สำหรับหลวงพ่อจรัลนั้นก็เคยไปฝึกวิชาธรรมกายกับหลวงพ่อวัดปากน้ำแต่ไม่ถูกอัธยาศรัย จึงเปลี่ยนมาฝึกยุบหนอพองหนอ ซึ่งท่านก็ได้รับผลสำเร็จตามส่วนแห่งธรรม


    หลวงพ่อวัดปากน้ำเป็นผู้มีเมตตา อัธยาศรัยดีและใจกว้างมาก ศิษย์หลายคนได้เปลี่ยนไปเรียนกับครูท่านอื่น อาทิ แม่ชีกบิล วรมัย กบิลสิงห์ ได้ย้ายไปเรียนวิชาที่วัดโสมนัส แล้วคิดว่าตนเองบรรลุธรรมจึงมากราบเรียนแนะหลวงพ่อ หลวงพ่อฟังโดยสงบ และกล่าวสั้นๆ ว่า เอ็งยังเห็นดวงธรรมในท้องหรือเปล่า เมื่อแม่ชีบอกว่าเห็น หลวงพ่อก็พูดว่า เออ ดีแล้ว ขอให้เห็นดวงธรรมในท้องเอ็งจะไปเรียนวิชาอะไรก็ช่างเถอะ หลวงพ่อฤษีลิงดำ หลวงพ่อจรัลเหล่านี้ล้วนเคยเรียนวิชากับท่านมาทั้งนั้น ภายหลังไปเรียนวิชาอื่น ท่านก็ไม่ว่ากล่าวใคร



    คุณเคยได้ยินชื่อหลวงพ่อบุดดา ถาวโร วัดศรีประจันต์ จ.สิงห์บุรีหรือไม่ คนเขาลือว่าหลวงปู่เป็นพระอรหันต์แล้ว เมื่อหลวงปู่มรณภาพคนเขาไปรื้อย่ามท่าน มีพระอยู่องค์หนึ่งคือ พระของขวัญวัดปากน้ำรุ่นหนึ่ง


    นายมหา

    *********************************************

    ป้าฉลวย สมบัติสุข

    หลวงพ่อท่านบอกว่าต้องการช่วยคนให้พ้นทุกข์ทำได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำจะว่าใจดีก็ใจดี จะว่าดุก็ดุและท่านเป็นคนตรง ถ้าเห็นว่าเป็นอย่างนี้ก็ต้องเป็นอย่างนี้ ขนาดสมเด็จวัดโพธิ์เป็นหลานของท่าน ท่านบอก "เฮ้ย ของเรามันถูกอยู่แล้วแน่นอนอยู่แล้วจะไปกลัวอะไร"

    อย่างท่านบอกว่าสมเด็จวัดโพธิ์จะได้เป็นสังฆราช ไม่น่าเชื่อไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นจริง เพราะว่าคนที่รอจะขึ้นเป็นสังฆราชมีอยู่อีกองค์คือพระพิมลธรรม วัดมหาธาตุ ถ้าสังฆราชองค์เก่าสิ้น พระวัดมหาธาตุต้องได้ขึ้นแน่นอนแต่พอดีมีเรื่องเกิดขึ้น ก็มาเป็นวัดโพธิ์ ท่านจะพูดเฉพาะเรื่องที่จำเป็น คิดไม่ถึง ถึงเวลาจริงๆ คาดไม่ถึงว่าจะเป็นไปได้

    สมัยตอนหลวงพ่อมาอยู่วัดปากน้ำแรกๆ หลวงพ่อมาอยู้ท่านก็ทำตามความถูกต้อง ไม่มีอะไรกับใคร แต่คนที่มาอยู่รุ่นเก่า ที่เขาอยู่แถวนั้นก็มีบารมีเป็นที่นับถือ อาจจะไม่ชอบใจ เวลาหลวงพ่อท่านทำอะไรลงไปก็จะเป็นข่าวโจมตี แต่ยิ่งว่าไม่ดียิ่งดัง ของเรามันดีอยู่แล้วไม่ได้ไปทำความเสียหายอะไร คล้ายๆ กลองยิ่งตีมันยิ่งดัง แทนที่คนเขาว่าจะทำให้เสื่อมเสียหาย แต่กลับเป็นตรงกันข้าม

    ***********************************************

    แม่ชีรัมภา โพธิ์คำฉาย

    วิชชาในโรงงาน หลวงพ่อจะเป็นคนสั่งวิชชา พูดผ่านฝากระดานที่กั้นไว้ ชีแถบหนึ่ง พระอยู่อีกแถบหนึ่ง มีที่กั้นแยกกันชัดเจน หลวงพ่อสอนทุกๆ คนเหมือนกัน ไม่มีใครพิเศษกว่าใคร มีครั้งหนึ่งตอนท่านป่วยหนักเป็นปีที่ ๑๓ ที่ฉันมาอยู่กับหลวงพ่อ วันนั้นท่านให้คนมาเรียก ท่านถามว่า "เอ้าสั่นหายหรือยัง" สั่นก็คือไม่สบาย ฉันก็ตอบว่าค่อยยังชั่วแล้ว ท่านบอกว่า "ทำวิชชาไว้นะ ทำได้เป็นของเรา ถ้าเราไม่ทำ เราจะไม่ได้" สั่งคำนี้ ท่านสั่งไว้ ชีวิตจิตใจของหลวงพ่อไม่มีอะไรมากไปกว่าวิชชา ๒๔ ชั่วโมง หลวงพ่อไม่เคยห่าง ทำวิชชาตลอด หลวงพ่อจะทดลองวิชชาอยู่เรื่อย มีครั้งหนึ่งมีญาติโยมมานั่งกันเต็ม ช่วงกลางคืน คืนนั้นดาวเต็มท้องฟ้า ท่านก็ให้เณรที่อยู่ใกล้ๆ ท่าน(หลวงพ่อเล็ก) ดับดาวบนท้องฟ้า จะเห็นดาวดับเป็นแถบๆ เลย เพื่อให้รู้ว่าวิชชาธรรมกายสามารถทำได้ ไม่ใช่เพื่อเหตุผลอย่างอื่น

    ************************************************

    ลุงประคอง ทับจ้อย

    วิชชาของหลวงพ่อวัดปากน้ำนี่ท่านดีจริง ถ้าวิชชาของหลวงพ่อไม่แน่ ตอนนี้วัดปากน้ำเหลือแต่ดุ้นฟืน เพราะตามหลักจริงๆ แล้ววัดปากน้ำเป็นจุดระเบิด ที่ระเบิดลงเลยแหละ ธรรมดาตามหลักประตูน้ำ บางคลองนี้ไม่มีเหลือ ตั้งแต่ประตูน้ำบางนกแสก ประตูน้ำอ่างทอง ประตูบางยาง เหลือแต่ประตูน้ำภาษีเจริญที่ไม่เป็นอะไรเลย ไปถามเลยวัดวาอารามอยู่ที่ไหนไม่มีเหลือ ถูกทิ้งระเบิดหมดเลย ช่วงนั้นหลวงพ่ออยู่ในโบสถ์ ไม่ออกจากโบสถ์เลย นั่งทำวิชชาของท่านอย่างเดียว นั่งปัดลูกระเบิดอย่างเดียว แล้วบางคนก็จะวิ่งมาอยู่ที่วัดปากน้ำ เพราะมั่นใจว่ายังไงก็ปลอดภัยที่สุด สงครามเกิดขึ้นปี ๒๔๘๕ (สงครามโลกครั้งที่ ๒)

    **************************************************

    พระอาจารย์สุวิชา เปสโล คณะเนกขัมม์ วัดปากน้ำ


    หลวงพ่อมีลูกศิษย์ลูกหาอยู่ทั่วประเทศ สมัยนั้นพระเณรหลวงพ่อไม่ให้มีวิทยุ โทรทัศน์ ไม่ให้จับเงิน จับทอง แต่ก่อนพระเณรที่มาอยู่กับหลวงพ่อให้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ไม่ต้องห่วงเรื่องอาหาร หลวงพ่อมีโรงครัวเลี้ยง มีพระจบเปรียญกันมากมายจากวัดปากน้ำ หลวงพ่อสด ท่านสอนว่าใครจะโจมตีเรายังไงก็แล้วแต่ ท่านให้เราเป็นเสาหิน เรียกว่าจะมีพายุทั้ง ๔ ด้านมาเราก็เฉย มีครั้งหนึ่งมีคนมาด่าหลวงพ่อที่หน้าโบสถ์ ขณะหลวงพ่อกำลังเทศน์อยู่ หรือมีคนเอาปืนมาลอบยิงท่าน ท่านก็ไม่ว่าอะไร อยากจะทำก็ทำไป เพราะเขาอิจฉาหลวงพ่อ หลวงพ่อท่านบอกว่า เราหยุด หยุดเป็นพระ ชนะเป็นมาร เราไม่หนี เราไม่สู้ แต่เราปฏิบัติ เราก็ทำความดีของเราเรื่อย เดี๋ยวไอพวกมาร พวกอิจฉาก็หายไปเอง เรานั่งเฉย ไม่ต้องไปโต้ตอบอะไร เขาด่าเราภายใน ๗ วัน เหนื่อยมันก็หยุดไปเอง ไม่โต้ตอบ ชนะด้วยความดี


    ในการมาเรียนพระปริยัติธรรม แต่ก่อนมีพระเณรมาเรียนกันมาก มีถึง ๖๐๐ กว่าองค์ หลวงพ่อบอกว่าเลี้ยงไหว ท่านบอกว่าเมื่อจั้งใจมาเรียนแล้ว แม้จะคับที่ก็ขอให้อยู่ได้ อัศจรรย์อย่างหนึ่ง คือหลวงพ่อเลี้ยงอาหารไหวตลอด เดี๋ยวก็มีคนเอาข้าว เอาอะไรต่ออะไรมาถวายทีหนึ่งก็เป็นลำเรือ

    ********************************************

    พระมหาวิชัย วุฑฺฒสีโล


    เพื่อทราบความเป็นมา ในการที่พระคุณท่านได้มาทำการปกครองวัดปากน้ำภาษีเจริญ ตั้งแต่ต้นมาจนถึงปุจจุบัน ข้าพเจ้าจะได้บรรยายถึงวัดปากน้ำภาษีเจริญ สมัยก่อนที่พระคุณท่านจะได้มาทำการปกครอง เท่าที่พอจะสืบทราบได้ไว้สักเล็กน้อย เพื่อประกอบเรื่องของท่าน

    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ปรากฏในตำนานเล่มหนึ่งกล่าวว่า เป็นพระอารามหลวงมาแต่โบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลักฐานที่ควรเชื่อถือได้นั้นคือ พระพุทธรูปทุกองค์ในพระอุโบสถ (เว้นพระพุทธรูปสี่องค์ที่สร้างขึ้นใหม่ในสมัยเมื่อไม่นานมานี้) นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นาพระพุทธรูปสมัยอยุธยาทั้งสิ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้น วัดนี้ท่านเจ้าคุณพระสุธรรมมุนีวัดพระเชตุพนฯ ได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ตั้งแต่สมัยพระครูสมณธรรมสมาทาน(แสง)เป็นเจ้าอาวาสมีการปกครองเหลวแหลกมาก หลังจากท่านพระครูสมณธรรมสมาทานมรณภาพแล้ว ท่านพระครูพุทธพยากรณ์เจ้าอาวาสวัดอัปสรสวรรค์เจ้าคณะตำบลเป็นผู้รักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ พระภิกษุสามเณรโดยมากเป็นพระเณรในท้องถิ่นนั้น มีพระจรมาอยู่น้อยเนื่องจากการศึกษาเล่าเรียนไม่มี ความประพฤติย่อหย่อนต่อพระธรรมวินัยมาก ด้วยเหตุนี้ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก(เผื่อน)พระอาจารย์ของท่าน จึงได้อ้อนวอนแกมบังคับให้ท่านมาอยู่วัดปากน้ำสัก ๓ เดือนแล้วก็จะกลับ เมื่อท่านมาอยู่แล้ว ท่านเจ้าคุณธรรมปิฎกได้แต่งตั้งสมณศักดิ์ให้เป็นพระครูสมุห์ฐานานุกรมของท่านและสั่งกำชับซ้ำอีกว่า "ถ้าแผ่นดินยังไม่กลบหน้าแกอย่ากลับมา" ทั้งนี้ก็เท่ากับบังคับให้เป็นเจ้าอาวาส


    ต่อจากนั้นท่านก็เริ่มปราบปรามเหล่าภิกษุที่มีความประพฤติเหลวแหลกต่างๆ พระคุณท่านเคยเล่าว่า กว่าจะผ่ากระดานหมากรุกให้หมดได้ก็อ่อนใจ จึงเป็นเรื่องกระทบกระเทือนเจ้าคุณตำบลและพระภิกษุที่เคยอยู่มาก่อน ซึ่งเป็นผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในถิ่นนั้น การปกครองเป็นไปด้วยความยากลำบาก แม้แต่ชาวบ้านในแถวนั้นก็พากันเป็นศัตรูอย่างร้ายแรงกับท่านด้วย พวกที่เลื่อมใสในท่านก็มีบ้างเป็นส่วนน้อย พวกที่ตั้งตัวเป็นศัตรูได้ช่วยกันแพร่ข่าวอกุศลทับถมพระคุณท่านด้วยประการต่างๆ บางพวกก็เมาเอะอะอาละวาดในวัด บ้างก็ดักทำร้ายท่านถึงกับขึ้นโรงศาลก็มี บางพวกถึงกับคิดปล้นทำร้ายท่านก็มี ครั้งหนึ่งคนร้ายได้บุกขึ้นไปบนหน้าศาลาหาเรื่องต่างๆ ขณะพระภิกษุกำลังประชุมกันอยู่ เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ ท่านถือเสียว่าเป็นการเพิ่มพูนบารมีให้แก่ท่าน ท่านมีคติว่า "พระเราต้องไม่สู้ ต้องไม่หนี ชนะทุกที" ดังเช่นครั้งหนึ่งมีคนร้ายประมาณ ๘ คน มีอาวุธครบมือเข้าลอบทำร้าย และจะทำร้ายท่านในเวลากลางคืนขณะที่ท่านอยู่ในห้องกรรมฐาน พอดีพระมหาแจ้ง (พระครูสถิตย์บุญญาธร) ซึ่งคอยคุ้มภัยให้ท่านอยู่แล้ว ได้ฉวยดาบเข้าป้องกัน ท่านได้เห็นเข้าก็ออกมาห้ามว่า "แจ้งอย่าๆ พระเราต้องไม่สู้ไม่หนี" ผู้ร้ายเห็นท่าไม่เข้าทีก็หลบหนีไป เรื่องราวต่างๆ ที่จะทำให้ท่านต้องเดือดร้อนรำคาญมีมากยิ่งกว่านี้ เหลือที่จะพรรณา แต่ท่านก็พยายามต่อสู้ด้วยความสงบ ผ่านพ้นอุปสรรคนานาประการ ทำความเจริญให้แก่พระศาสนาอยู่ตลอดมาจนทุกวันนี้ ลำดับต่อจากนั้นมาเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๖๔ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสมณธรรมสมาทาน


    ตั้งแต่ท่านได้มารับตำแหน่งเป็นผู้ปกครองวัดปากน้ำ ท่านได้ดำเนินการค้นคว้าหลักวิปัสสนาธุระและทำการเผยแพร่อยู่เรื่อยๆ มิได้มีการหยุดยั้งแม้แต่จะมีอุปรรคต่างๆ ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนนั้น ข่าวการปฏิบัติการค้นคว้าและการเผยแพร่ธรรมนี้ ได้ล่วงรู้ถึงสมเด็จพระวันรัต (เผื่อน)ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน จนถึงกับเรียกตัวท่านไป ตำหนิว่า "เฮ้ย! แกอย่าบ้าไปนักเลย เดี๋ยวนี้อรหัตอรหันต์ไม่มีกันแล้ว มาช่วยกันทำงานปกครองคณะสงฆ์เถอะ" การที่ท่านอาจารย์ของท่านตักเตือนเช่นนี้ ถ้าพิจารณษแล้วก็เป็นการเตือนด้วยความหวังดี เพราะท่านไม่เห็นธรรมอันลึกซึ้ง จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่ท่านต้องไม่เชื่อและขอให้ระงับเสีย เจ้าพระคุณหลวงพ่อรับฟัง แต่ไม่ปฏิบัติตามคงทำงานค้นคว้าและสอนธรรมอยู่เช่นนั้น จึงเป็นที่ขัดใจของท่านอาจารย์ของท่านนัก แต่ต่อมาเมื่อสมเด็จพระวันรัต(เผื่อน) ทรงประชวรหนัก ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อได้จัดพระภิกษุไปช่วยแก้โรคตามหลักวิชาการของท่าน ในตอนนี้สมเด็จฯ ได้เคยทรงอ่านหนังสือธรรมกาย ซึ่งคุณพระทิพย์ปริญญา (ธูป กลัมพะสุต ป.๖ เนติบัณฑิต) ซึ่งได้รวบรวมและเรียบเรียง จากเทศนาของพระคุณหลวงพ่อ พระคุณท่านได้เคยทดลองปฏิบัติตาม ประกอบทั้งเจ้าคุณหลวงพ่อได้เคยไปถวายคำแนะนำเพิ่มเติมท่านจึงเชื่อว่าเป็นของจริงของแท้และเกิดความเลื่อมใส ข้าพเจ้าเองก็ได้เคยฟังจากคำพูดของท่านเจ้าคุณวิเชียรธรรมคุณ เลขานุการท่านว่า สมเด็จฯ ได้เรียกท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม(ช้อย) ไปเฝ้าและรับสั่งว่า "ท่านเจ้าคุณช่วยจัดการเรื่องอุปัชฌาย์วัดปากน้ำที ฉันดูพระผิดเสียองค์หนึ่งแล้ว" พระพิมลธรรมก็รับคำสมเด็จฯ รับสั่งต่อไปว่า "สาธุ" พร้อมกับยกมือขึ้นประนมแล้วกล่าวสืบต่อไปอีกว่า "ฉันกดเขามาหลายปีแล้ว ช่วยจัดการให้เรียบร้อยด้วย"


    ****************************************************

    คุณครูตรีธา เนียมขำ

    การเผยแผ่วิชชาธรรมกายของหลวงพ่อในสมัยก่อนนั้น ท่านถูกคัดค้านต่อต้านมากมายเพราะในสมัยนั้นไม่มีผู้ใดสั่งสอนการปฏิบัติแบบนี้ การส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ก็เน้นในก้านปริยัติเพียงด้านเดียว พระที่สนใจการปฏิบัติก็มักจะหลีกเร้นไปแสวงหาที่สงบสงัดเพื่อบำเพ็ญเพียรตามป่าเขาลำเนาไพร หลวงพ่อของเราจึงเป็นพระสงฆ์องค์แรกที่กล้าสอยการปฏิบัติธรรมอย่างเปิดเผย ท่านจึงเป็นที่เพ่งเล็งและเป็นเป้าให้คนโจมตี ผู้ที่คัดค้านการปฏิบัติของท่านนั้นมีทั้งฆราวาสและพระภิกษุ แต่หลวงพ่อท่านก็มิได้ครั่นคร้าม หรือย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ ท่านยึดถือพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแบบอย่างและเดินตามรอยบาทของพระพุทธองค์อย่างไม่ย่อท้อ ท่านจึงพยายามฟันฝ่าอุปสรรคอย่างองอาจกล้าหาญ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รู้แจ้งในหลักการของพระพุทธศาสนา ท่านต้องการเชิดชูธงธรรมกายของท่านให้ปลิวไสวไปทั่วทุกพื้นปฐพีหลวงพ่อท่านมีคติพจน์ของท่านว่า

    "ดอกไม้ที่หอมไม่ต้องเอาน้ำหอมมาพรมก็หอมเอง ใครจะห้ามไม่ได้ ซากศพไม่ต้องเอาของเหม็นมาละเลงใส่ซากศพก็ต้องแสดงกลิ่นศพให้ปรากฏ ปิดกันไม่ได้"


    *************


    <TABLE class=bodyline cellPadding=8 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    พิจารณาจากคำเทศน์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ​
    </TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD background=img/dotH.gif height=1></TD></TR><TR><TD align=right>[​IMG] สมถะ [06/07/11 09:09] [​IMG] [​IMG] 765 </TD></TR></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 align=center bgColor=white border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=bodyline cellPadding=8 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD'>ความคิดเห็นที่ 5 </TD>

    </TR><TR><TD>
    พิจารณาอ่านต่อไป จะเห็นว่าหลวงพ่อยืนยันเองเลยว่า ไม่เคยเลิกฝึกวิชชาธรรมกาย
    </TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD background=img/dotH.gif height=1></TD></TR><TR><TD align=right>[​IMG] สมถะ [06/07/11 09:10] [​IMG] [​IMG] 766 </TD></TR></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 align=center bgColor=white border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=bodyline cellPadding=8 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD'>ความคิดเห็นที่ 6 </TD>

    </TR><TR><TD>
    เป็นอันเข้าใจตรงกันว่า หลวงพ่อวัดปาน้ำไม่เคยเลิกฝึกวิชชาธรรมกาย​
    </TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    ตั้งกระทู้ไว้หลายที่เหลือเกิน รบกวนรวมไว้ที่เดียวได้ไหมครับ จะได้ถาม-ตอบ

    กันเป็นเรื่องๆไป ทีละประเด็น ท่านอื่นจะได้ไม่ต้องตามเปิดดูหลายที่

    และเนื้อหาที่ตอบจะได้ต่อเนื่องกัน
    <!-- / message -->
     
  13. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709

    1/ เอ...ทำไมต้องรอท่านทิ้งกายเนื้อก่อนจึงมาบอกละครับ ตอนท่านครองกายเนื้ออยู่ ทำไมไม่พูด

    2/ เท่าที่ทราบ ก่อนมรณภาพ ท่านยังกำชับให้เผยแผ่วิชชาธรรมกายต่อไป ไม่ได้สั่งให้ไปเรียนหนอ....

    3/ ตอนนั้น มีเรื่องการเมืองสงฆ์มาเกี่ยวด้วย ที่เกณฑ์ท่านไปฝึก
    ( เรื่องนี้มันยาว พูดมากจะไปกระทบคนและสงฆ์หลายท่าน ขอเว้นไว้ก่อน )



    ...เหตุและผลง่ายๆ 3 ข้อนี้น้องใคร่ครวญไหมครับ?
     
  14. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    ผมยินดี ร่วมวงเสวนา แต่ขอรบกวนตั้งกระทู้ไว้ที่เดียว

    ถ้าเป็นไปได้ ถามตอบทีละประด็น จะได้กระจ่างตามลำดับ

    เสียดายเว็บนี้ไม่มีห้องแชทสด มีแต่ห้องเชาท์ที่ใช้กันมาก ช้า และไม่สะดวก

    จะได้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อหลายฝ่าย

     
  15. Sonny

    Sonny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +156
    แหม... คุณสมถะเล่นร่ายซะยืดยาวเชียวนะครับ...

    ที่จริงความเห็นเรื่องธรรมกายนี้ ผมไปอ่านเจอก็เลยอยากลองนำมาให้อ่านกันดูเพราะอยากรับฟังความคิดเห็นจากมุมมองที่ต่างๆกัน

    จริงๆแล้วส่วนตัวผมไม่ได้ต่อต้านวิชาธรรมกายนัก เพียงแต่ว่าที่คุณสมถะกล่าวมานั้น ผมว่ามันฟังดูแปร่งๆ ตรงที่ว่าพระพุทธเจ้ามีต้นธาตุและท่านอวตารจากนิพพานมาปราบมาร ตรงที่อวตารนี้ผมว่าไปคล้ายกับศาสนาพราหม์เสียมากกว่า เพราะถึงแม้ว่าผมไม่ถึงกับขนาดที่ว่าท่องจำประไตรปิฏกได้ทั้งหมด แต่ผมก็ค่อนข้างเชื่อมั่นว่าในพระไตรปิฏกไม่มีส่วนใดกล่าวถึงเรื่องพระพทธเจ้าอวตารมาปราบมารนี่อย่างแน่นอน

    อนึ่ง นิพพานนั้นเป็นอนัตตาโดยปราศจากรูป ขันธ์แต่ธรรมกายกลับสมมติให้นิพพานเป็นดวงแก้วใสๆกลมๆ แล้วยังมีนิพพานในนิพพานอีก อีกทั้งคนที่นิพพานไปแล้วยังกลับมาเกิดได้ แบบนี้พระอรหันตร์ต่างๆท่านจะนิพพานไปเพื่ออะไรครับ ในเมื่อนิพพานแล้วก็ยังต้องกลับมาเกิด,กลับมามีรูปขันธ์ได้อีก,ไม่ได้เป็นการดับสิ้นแล้วซึ่งทุกอย่าง

    การที่คุณสมถะตอบคำถามในทุกกระทู้ที่จะเรียกได้ว่าแทบจะเหมือนกันหมดทุกกระทู้ที่ผมตั้งเกี่ยวกับธรรมกายนั้น แสดงว่าคุณสมถะไม่ได้อ่านกระทู้ของผมทั้งหมด เพียงแต่อาจจะอ่านแค่บางส่วน แล้วรีบตอบกระทู้ผมก็เป็นได้

    ผมขอยืนยันเลยว่ากระทู้เกี่ยวกับธรรมกายนี้ไม่ได้เป็นการตั้งขึ้นมาเพื่อลดความน่าเชื่อถือของธรรมกายอะไรทั้งสิ้น ผมกลับสนับสนุนเสียด้วย ถ้าวิชาธรรมกายสามารถตอบสนองความต้องการของคนบางกลุ่มได้ เพราะผมเชื่อว่าคนวัดยังไงก็เป็นคนดีอยู่แล้ว แต่บางคนที่เค้าควรจะไปได้ไกลกว่านี้ เราก็ไม่ควรที่จะไปห้ามเขาไม่ใช่หรือครับ
     
  16. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    ตั้งกระทู้ไว้หลายที่เหลือเกิน รบกวนรวมไว้ที่เดียวได้ไหมครับ จะได้ถาม-ตอบ

    กันเป็นเรื่องๆไป ทีละประเด็น ท่านอื่นจะได้ไม่ต้องตามเปิดดูหลายที่

    และเนื้อหาที่ตอบจะได้ต่อเนื่องกัน
    <!-- / message -->
    <!-- / message -->
     
  17. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    TTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTT

    ไม่ใช่การอวตารครับ คุณเข้าใจผิดครับ

    แต่เรื่องนี้ไม่ใช่มีในสายวิชชาธรรมกายนะครับ แม้แต่หลวงปู่ดู่ พระมหาโพธิสัตว์
    องค์หนึ่งท่านยังกล่าวไว้ตอนมีชีวิตว่า มีวิชาภูติพระเจ้า ที่เป็นของเหล่าโพธิสัตว์ เป็นการสร้างพุทธนิมิตร ธรรมนิมิร สังฆนิมิตร มาโปรดสัตว์
    และทำงานเฉพาะอย่าง เฉพาะกาล เรื่องเหล่านี้ท่านบอกไว้ว่า
    เกินพระไตรปิฎก เพราะเป็นวิสัยพุทธภูมิ ท่านไม่พูดกับใครมาก
    เพราะกลัวคนตกนรกมาก ( ท่านกล่าวไว้เช่นนี้จริงๆ )


    กับแค่ทำจิตให้เป็นปฐมฌาณ ยังเลือดตาแทบกระเด็นแล้วสำหรับหลายๆท่าน
    ถ้าไม่ผ่านการทำฌาณให้คล่อง อบรมสติปัฏฐานจนถึงได้สังขารุเบกขาญาณ
    เป็นอย่างต่ำแล้ว
    การพูดให้ลึกกว่านี้ เสี่ยงต่อการอนุมานผิดพลาด
    เสี่ยงต่อการทำวิบากกรรมอันไม่ควร ..แต่ถ้า เห็นว่าคุ้มที่จะถกด้วยความเป็นบัณฑิต
    เราเอาประสพการณ์ตรงมาคุยกันเลย
    เพราะสภาวะบางอย่างเป็นปรมัตถ์ คือละเอียดอ่อนมากยากหาคำอธิบายอันเป็นสมมติมาแทน พอหาคำมาใช้ ก็ได้แต่อนุโลมตามสัญญาเดิมๆกันไป


    ยินดีที่จะเสวนาด้วยครับ

    (f) :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2006
  18. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ขออภัยในความเข้าใจผิดกันนะครับ มิได้หมายถึงคุณเจ้าของกระทู้ดอกครับ แต่กล่าวถึงเรื่องที่นำมาลงเนี่ยะ เพราะผมรับรู้มานานแล้วครับ ยินดีที่จะร่วมสนทนาด้วยครับ เอากระทู้ไหนดีล่ะ...
     
  19. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ท่านใดต้องการความชัดเจนเกี่ยวกับวิชชาธรรมกาย ทุกเรื่อง ทุกอย่าง เชิญศึกษาได้ที่เว็ปนี้ครับ

    http://kayadham.org/


    [​IMG]
    <!-- / message -->
    <!-- / message -->
     
  20. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    ตอบคุณ Amageddon ง่ายๆ อย่างเป็นกลาง ไม่ใช่สายใดๆ

    โดยวิธีถามกลับนะครับว่า

    ผลของวิปัสสนาที่มุ่งคืออะไร..................

    แล้วจะมาคุยต่อครับ รบกวนตอบก่อน แล้วจะมีบันไดขั้นต่อไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...