ธรรมกาย4 : ธรรมกายไม่มีวิปัสสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Sonny, 30 กันยายน 2006.

  1. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ผม...สมถะ เรียนมาจากสายวัดปากน้ำ ขอเรียนคุณเจ้าของกระทู้นะครับ คนวัด...ที่ว่าคงหมายถึงวัดพระธรรมกายนะครับ เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นวิตกเลย และที่ผมเขียนตอบเสียมากมาย เพราะต้องการให้ข้อมูลเปรียบเทียบลงไป เพราะเห็นคุณเจ้าของกระทู้ก็เล่นใส่แต่ข้อมูลมาเหมือนกันนะครับ



    เอาอย่างนี้ถ้าต้องการพูดคุยกันเชิญได้เลยครับ


    อ้อ...เรื่องอวตารนี่ เลิกใช้คำว่า อวตาร เถิดครับ ไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องใดๆ แล้วก็อย่าไปคิดมากเกี่ยวกับบันไดขั้นที่ล้านเลย ในเมื่อเรายังเพิ่งเริ่มก้าวบันไดแค่หลักสิบอยู่ ผมกล้ายืนยันว่าเหตุผลที่ถูกต้องมีอยู่ขอแต่อย่าได้เอาความรู้อื่นๆ หรือความเข้าใจอื่นๆ มาจับในเรื่องการลงมาเกิดเพื่อปราบมาร เรื่องนี้เป็นเรื่องไกลเกินไปสำหรับผู้ถามนะครับ ไม่เชื่อไม่ว่า แต่อย่าลากเข้าป่าเข้าพงอย่างนี้ครับ


    ต่อแต่นี้เราคุยกันอย่างสมานฉันท์ดีกว่าครับ เอาเรื่องอะไรดีล่ะ...
     
  2. Sonny

    Sonny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +156
    ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณโทนี่จาและคุณสมถะที่แนะนำเวบใหม่ๆให้ผมได้ลองศึกษานะครับ

    จริงๆแล้วกระทู้เกี่ยวกับวิชาธรรมกายนี้ผมตั้งใจที่จะตั้งเพื่อรับฟังความเห็นจากหลายๆท่านในบอร์ดนี้มากกว่า แต่คุณโทนี่จาก็ถามผมมาแล้ว :) แล้วไหนๆก็จะตอบทั้งทีผมขอตอบทั้งส่วนของสมถะแล้ววิปัสสนาเลยละกันนะครับเผื่อท่านอื่นๆด้วยเพราะเรื่องของสมถะกับวิปัสสนานั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจให้ดี
    เพราะถ้าเข้าใจคลาดเคลื่อนตรงจุดนี้ เราอาจจะเสียเวลาทั้งชีวิต
    ไปกับการทำสมถะ แต่คิดว่ากำลังทำวิปัสสนา หรือเจริญสติปัฏฐานอยู่

    ตามความเห็นของผมนั้นสมถะมีเป้าหมายเพื่อให้จิตสงบ
    มีวิธีการปฏิบัติคือการเอาสติเพ่งอารมณ์อันใดอันหนึ่งอย่างต่อเนื่อง
    มีศิลปะในการทำสมถะ คืออย่าอยากให้สงบ
    ให้รู้อารมณ์อันเดียวไปอย่างสบายๆ จิตจะรวมเข้ามาสงบเอง

    อารมณ์ของสมถะนั้น หาง่ายครับ
    กรรมฐานทั้งหลายที่ทำกันส่วนมาก เป็นสมถะทั้งนั้น เช่น(ส่วนนี้ขออ้างอิงจากเวบลานธรรมฯหน่อยนะครับ)
    1. การบริกรรม (คิดซ้ำๆ เช่นพุทโธ สัมมาอรหัง นะมะพะทะ)
    2. การคิด (คิดเป็นเรื่องราว เช่นการพิจารณาร่างกายเป็นไตรลักษณ์ เป็นอสุภะคิดเรื่องความเป็นปฏิกูลของอาหาร ฯลฯ)
    3. การเพ่ง (เช่นเพ่งกสิณ เพ่งลูกแก้ว เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอรูป
    เพ่งการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่นท้อง มือ เท้า ลมหายใจฯลฯ)
    4. การแผ่ (เช่นแผ่เมตตา กรุณา ฯลฯ)

    ส่วนวิปัสสนามีเป้าหมายเพื่อให้จิตยอมรับความจริง แล้วปล่อยวางความถือมั่น
    มีวิธีการปฏิบัติ คือการรู้สภาวะหรือปรมัตถธรรม ที่กำลังปรากฏ ด้วยจิตที่เป็นกลาง และมีศิลปะคือ ให้ "รู้" ตามที่เป็นจริง
    อย่าเอา "การบริกรรม" "การคิด" "การเพ่ง" "การแผ่" เข้าไปเจือปน
    สรุปง่ายๆ ก็คือ อย่าทำอะไรมากกว่า
    (1) รู้
    (2) สภาวะหรือปรมัตถธรรม
    (3) อย่างเป็นปัจจุบัน
    (4) ตามความเป็นจริง (ไม่ใช่ตามที่อยากจะให้เป็น)


    ส่วนคำว่าคนวัดผมไม่ได้หมายถึงเฉพาะเจาะจงวัดใดวัดหนึ่งนะครับ แต่ถ้าคุณสมถะจะเข้าใจว่าเป็นวัดใดนั้นก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะคำว่าคนวัดของผมก็คือคนที่นิยมเข้าวัด แล้วทำไมผมต้องไปวิตกด้วยล่ะครับว่าจะเป็นวัดไหน อีกอย่างวิชาธรรมกายเองก็ใช่ว่าจะมีสอนแต่ที่วัดธรรมกายเสียเมื่อไรจริงไหมครับ

    ส่วนเรื่องปราบมารนั้นผมก็เอามาจากที่คุณสมถะโพสกลับมาน่ะครับ ผมอ่านแล้วผมรู้สึกสงสัยก็เลยถาม แต่ก็แย่หน่อยตรงที่ผมเองก็จำไม่ได้แล้วว่ากระทู้ไหนเพราะคุณสมถะเล่นตอบผมซะทุกกระทู้ :) ยาวๆทั้งนั้นเลย(ยาวกว่าผมเสียอีก :D) ผมอ่านแล้วก็จำไม่ได้ว่ามันอยู่ตรงไหนของกระทู้ไหนน่ะครับ จำได้แต่ที่อ่านแล้วสงสัยเลยเก็บมาถามคุณสมถะเท่านั้นเองครับ แต่ถ้าคุณสมถะไม่อยากจะตอบก็ไม่เป็นไรน่ะครับ
     
  3. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    **** ความแตกต่างระหว่าง สมถะ และ วิปัสสนา ****



    เทฺว เม ภิกฺขเว วิชฺชาภาคิยา
    ** ดูก่อนภิกษุทั้งหลายวิชชามี ๒ อย่าง


    กตเม เทฺว
    ** ๒ อย่าง อะไรบ้าง


    สมโถ จ ๑ วิปัสฺสนา จ ๑
    ** สมถะ ความสงบระงับ ๑ วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง ๑


    สมโถ ภาวิโต กิมตฺถมนุโภติ
    ** สมถะเป็นขึ้นแล้วต้องการอะไร


    จิตฺตํ ภาวิยติ
    ** ต้องการทำจิตให้เป็นขึ้น


    จิตฺตํ ภาวิตํ กิมตฺถมนุโภติ
    ** จิตเป็นขึ้นแล้วต้องการอะไร


    โย ราโค โส ปหิ่ยติ
    ** ความกำหนัดยินดีที่อยู่แก่ใจ หมดไป


    วิปัสฺสนา ภาวิตา กิมตฺถมนุโภติ
    ** วิปัสสนาแปลว่าความเห็นแจ้ง เป็นขึ้นแล้วต้องการอะไร


    ปญฺญา ภาวิยติ
    ** ต้องการทำปัญญาให้เป็นขึ้น


    ปัญฺญา ภาวิตา กิมตฺถมนุโภติ
    ** ปัญญาเป็นขึ้นแล้วต้องการอะไร


    ยา อวิชฺชา สา ปหียติ
    ** ความไม่รู้จริงมีอยู่แก่ใจ ความไม่รู้จริงอันนั้นหมดไป



    //////////////////////////////////////////




    **** ความแตกต่างระหว่าง สมถะ และ วิปัสสนา ****



    ๑. โดยสภาวธรรม


    สมถะ : มีสมาธิเกิดขึ้น คือ จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว

    วิปัสสนา : ทำให้เกิดปัญญา รู้รูปนามว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา




    ๒. โดยอารมณ์


    สมถะ : มีนิมิตบัญญัติเป็น อารมณ์กรรมฐาน เช่น ปฐวีกสิณ เป็นต้น

    วิปัสสนา : มีรูปนามเป็นอารมณ์ เพราะรูปนามมีความเกิดดับซึ่งเป็นความจริงตามธรรมชาติ




    ๓. โดยหน้าที่

    สมถะ : มีหน้าที่ในการกำจัดนิวรณ์ ๕ ทำให้จิตมีความสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นต้น

    วิปัสสนา : มีหน้าที่ในการกำจัด อวิชชา ทำให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งสภาวธรรมตามความเป็นจริง




    ๔. โดยอาการที่ละกิเลส


    สมถะ : ละกิเลสโดยอาการที่ข่มไว้ เป็น วิขัมภนปหาน

    วิปัสสนา : ละกิเลสโดยอาการขัดเกลาเป็นขณะๆ เป็น ตทังคปหาน




    ๕. ชนิดของกิเลสที่ถูกละ

    สมถะ : ละกิเลสชนิดกลาง คือ ปริยุฏฐานกิเลส

    วิปัสสนา : ละกิเลสอย่างละเอียด คือ อนุสัยกิเลส




    ๖. โดยอานิสงค์


    สมถะ : ทำให้อยู่สุขด้วยการข่มกิเลสไว้ และให้ไปเกิดในพรหมโลก

    วิปัสสนา : ทำให้เข้าถึงความพ้นทุกข์ คือ พระนิพาน และเข้าถึงความไม่เกิดเป็นที่สุด



    เข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://kayadham.org/

    [​IMG]



    จะขอรบกวนท่านสมถะ ช่วยสรุปให้ฟังคร่าวๆได้หรือไม่ว่า วิปัสสนา ตามแนวท่านสมถะ เป็นเช่นไร เพื่อจะได้มีเข้าใจแนวปฏิบัติของท่านมากขึ้น

    ขอบคุณครับ

    ปล.ส่วนที่ผมได้รับฟังจากครูบาอาจารย์ ท่านให้พิจารณา เห็นความเกิด เห็นความดับ ของธรรมที่เกิดในจิต เมื่อออกจากสมาธิ หรือหลังทำสมาธิแม้จิตไม่สงบ

    จากคุณ : วงกลม

    ///////////////////////////////////////////////////////////////////////


    เรื่องวิปัสสนานั้น เราต้องพิจารณากันในขณะฝึกสมธินั้นเลยครับ หมายความว่า เราจะพิจารณาธรรมหมวดใดในขั้นวิปัสสนาล่ะครับ เช่นพิจารณาขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 ฯลฯ เราต้องใช้รู้ญาณทัสสนะของธรรมกายเข้าไปพิจารณาในขณะนั้นเลย ก็เหมือนหมอในห้องแล็ปจะตรวจเชื้อโรคกลุ่มหนึ่งที่ทำให้คนไข้ป่วยเป็นโรค หมอก็ใช้เครื่องมือต่างๆ เช่นกล้องกำลังขยายสูงๆ มาตรวจดูว่าเชื้อโรคที่ว่านี้หน้าตาเป็นอย่างไร จัดอยู่ในกลุ่มใด แล้วมันมีกระบวนการทำงานอย่างไรคนไข้จึงป่วย แล้วก็คิดว่าจะใช้วิธีการใดในการรักษา รักษาอย่างไร เมื่อเราพิจารณาธรรมในหมวดนั้นๆ ในขณะอยู่ในสมาธิเกิดญาณทัสสนะขึ้นแล้ว ความรู้แจ้งเห็นจริงตามสภาวธรรมนั้นๆ ก็เกิดขึ้นได้บ้าง(ตามวาสนาบารมีและภูมิธรรมที่เข้าถึง) เมื่อเห็นตามความเป็นจริงดังนี้ จึงเกิดวิปัสสนาญาณชำแรกกิเสในระดับนั้นๆ ด้วยกำลังแห่งปัญญาของวิปัสสนาญาณที่เข้าถึง แต่เมื่อวาสนาบารมียังไม่ถึงขั้นดับกิเลสเป็นสมุเฉทประหานก็ได้เพียงแค่กิเลสเบาบางได้ตามวาระคือแค่คุมหรือข่มไว้ แต่เราต้องหมั่นพิจารณาในวิปัสสนาเนื่องๆ จึงจะพอคุมสติไว้ได้



    แต่ตามที่คุณวงกลมได้ฟังจากครูบาอาจารย์ให้พิจารณา เห็นความเกิด ดับ ของธรรมที่เกิดในจิต เมื่อออกจากสมาธิหรือหลังทำสมาธิแม้จิตไม่สงบก็ตามนั้น ก็เป็นการพิจารณาภายนอก เอาใจไปพิจารณาตามความรู้สึกคืออารมณ์ภายนอก ถ้ามีปัญญาพิจารณาได้บ้างท่านเรียกว่า พิจารณาวีติกกมกิเลส คือกิเลสที่อยู่ตื้นๆ แต่ตามที่ผมกล่าวถึงการพิจารณาในขณะทำสมาธิที่เรียกว่าวิปัสสนาญาณ เราเรียกว่าปริยุฏฐานกิเลส เป็นกิเลสอย่างกลางใช้กำลังสมาธิ(ขั้นวิปัสสนาซึ่งอาจมีองค์ญาณเป็นบาทฐาน)ในการพิจารณาทั้งรู้และเห็นตามความเป็นจริง(เท่าที่ทำได้) แต่ระดับวิปัสสนาที่ดับกิเลสอย่างแท้จริงต้องได้ถึงขั้นดับอนุสัยกิเลส ซึ่งได้แก่พระอริยบุคคลเท่านั้นจึงจะกำจัดกิเลสชนิดนี้ได้จริงครับ


    จากคุณ : สมถะ


    ///////////////////////////////////////////////////////////////////////


    ขออนุญาตถามเพิ่มเติมนะครับ

    1.-เช่นพิจารณาขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 ฯลฯ เราต้องใช้รู้ญาณทัสสนะของธรรมกายเข้าไปพิจารณาในขณะนั้นเลย
    1.1 คือการเห็นเป็น ภาพขันธ์ 5 ภาพอายนะ12 ใช่หรือไม่ ครับ
    1.2 คือพิจารณาอย่างไรครับ

    2. "ความรู้แจ้งเห็นจริงตามสภาวธรรมนั้นๆ ก็เกิดขึ้นได้บ้าง"
    - ที่ว่า รู้แจ้งเห็นจริงตามสภาวะ คือ เห็นว่าอย่งไร ครับ

    ขอบคุณครับ


    จากคุณ : วงกลม


    ///////////////////////////////////////////////////////////////////////


    .-เช่นพิจารณาขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 ฯลฯ เราต้องใช้รู้ญาณทัสสนะของธรรมกายเข้าไปพิจารณาในขณะนั้นเลย

    1.1 คือการเห็นเป็น ภาพขันธ์ 5 ภาพอายนะ12 ใช่หรือไม่ ครับ


    ตอบ ต้องเห็นซีครับ ไม่เห็นแล้วจะรู้หรือ เราต้องไปเห็นว่าขันธ์ 5 เขาทำงานอย่างไรในรูป-นามของเรา ที่ว่าขันธ์ 5 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอย่างไร และเพราะอะไรขันธ์ 5 จึงตกอยู่ในพระไตรลักษณ์ แล้วเราก็เข้าไปพิจารณาทีละขันธ์ครับ แยกรูปแยกนามออกมา แล้วเหลืออะไร นี่กล่าวโดยหลักการนะครับ เพราะวิธีการ ปฏิบัติการ และสิทธิการ เราไม่เอามากล่าวกัน เพราะมันจะละเอียดเกินไป สุดท้ายเราเห็นว่าขันธ์ 5 ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นใดๆ (เพราะอะไร ไม่ใช่รู้ตามตัวหนังสือ) เกิดจืดจางวางคลายจากอุปาทานได้บ้างแล้ว ต่อไปเราก็ไปดูขั้นตอนละเอียดเข้าไปอีก ว่ากิเลสเขาทำงานอย่างไร ดูหรือพิจารณาในอายตนะ 12 อายตนะรับกระทบทำงานรับกิเลสมาอย่างไร แล้วเราจะตามรู้เท่าทันมันอย่างไร เข้าไปดูให้ละเอียดในธาตุ 18 อินทรีย์ 22 ปฏิจจสมุปบาทธรรม แล้วน้อมใจเข้าหาอริยสัจ 4 ในญาณ 3 ให้รู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรมนั้นๆ(ไม่ง่ายนะครับ นี่กล่าวโดยหลักการ)


    1.2 คือพิจารณาอย่างไรครับ

    ตอบ เราพิจารณาไปทีละเรื่องก็ได้ หรือตลอดภาควิปัสสนาตั้งแต่ขันธ์ 5 อาตนะ 12 ธาตุ 18 อิทรีย์ 22 ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 และอริยสัจ 4 ไปในคราวเดียวก็ได้ เพียงแต่ว่าดูไปตามลำดับทีละเรื่องในคราวเดียวกัน ดูซีว่ากิเลสมันทำงานอย่างไร เราจะแก้อย่างไร ที่สำคัญต้องลำดับไปทุกกายจนสุดหยาบสุดละเอียดครับ ยิ่งพูดยิ่งยาวความ



    สรุปก็คือ เมื่อเราจะรู้ตามสภาวธรรมที่เป็นจริงเราก็เอากายของเราอันแบ่งเป็นรูป-นาม ขึ้นมาพิจารณา โดยแยกย่อยออกมาเป็นกองๆ คือในเรื่องขันธ์ 5 อาตนะ 12 ธาตุ 18 อิทรีย์ 22 ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 และอริยสัจ 4 ขั้นแรกรู้จักหน้าตาและกระบวนการของสภาวธรรมเหล่านี้ก่อน ต่อไปดูว่ากิเลสเขาทำงานอย่างไร เขาเข้ามาปกครองหรือเจืออยู่ในสภาวธรรมเหล่านี้อย่างไร ดูรูปร่างหน้าตาและกระบวนการทำงานของเขา จากนั้นเราจึงจะทำวิชชาละลายหรือดับกิเลสตั้งแต่หยาบไปละเอียด จะทำอย่างไรให้ได้เป็นสมุปเฉทประหาน ถ้ายังไม่ถึงขั้นนั้นก็ต้องเพียรพิจารณากันต่อไป อย่างน้อยก็ให้กิเลสเบาบางไปตามวาระ เรื่องนี้ขอกล่าวโดยหลักการนะครับ เพราะเวลาปฏิบัติจริงนั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากนัก...

    จากคุณ : สมถะ

    ///////////////////////////////////////////////////////////////////////



    ขออนุญาตถาม เพื่อให้เข้าใจให้ชัดเจนจริงๆนะครับ


    1.1 คือการเห็นเป็น ภาพขันธ์ 5 ภาพอายนะ12 ใช่หรือไม่ ครับ

    ที่ว่า
    ตอบ ต้องเห็นซีครับ ไม่เห็นแล้วจะรู้หรือ

    **หมายควาว่า ขันธ์5 ในส่วนที่เป้น นาม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน นี่มองเห็นเป็นภาพ เลยหรือไม่ครับ

    ถ้าเห็นนาม ในขันธ์5 ในส่วนที่เป็น นาม ที่กล่าว เป็นภาพ ภาพของ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน มีภาพเป็นอย่างไร ครับ

    ขอบคุณครับ


    จากคุณ : วงกลม


    ///////////////////////////////////////////////////////////////////////



    เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนในเรื่องการเห็นสภาวธรรมตามจริงในขั้นวิปัสสนาญาณนะครับ ท่านผู้รู้ได้ช่วยชี้แนะเพิ่มเติมมาอีก ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อคุณวงกลมและท่านผู้สนใจ โดยพิจารณาจากพุทธดำรัส ดังต่อไปนี้



    พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรคภาค ๑ - หน้าที่ 15

    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร/ปฐมเทศนา


    [๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุด สองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ** ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ** ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?


    ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งจิตชอบ ๑


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ** ด้วยปัญญาอันยิ่งทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ** ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน.



    /////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////


    จะเห็นว่า มีข้อความว่า ทำดวงตาให้เกิด ซึ่งทรงกล่าวไว้ชัดเจนนะครับ และคำว่า "เห็น" นั้นพระพุทธองค์ย้ำไว้ชัดในการพิจารณามหาสติปัฏฐานสูตร ดังต่อไปนี้ครับ


    //////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////



    ๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)


    [๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อ ความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ

    จบอุทเทสวารกถา


    [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่าภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า สั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกอง ลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออกย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาวเมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจ เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม ทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เรา จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดังพรรณนามาฉะนี้


    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้ง ภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

    จบอานาปานบรรพ


    //////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////


    คำว่า "เห็น" นั้นต้องใช้ "ตา" ดูจึงเห็น และตาดูนั้น ใช้ตาอะไรดู ตาก็มีละเอียดเข้าไปเป็นชั้นๆ ดังพระสูตรในข้อความด้านล่างนี้


    ////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////



    พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส -


    [๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    เราย่อมเห็นหมู่สัตว์นี้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย ดิ้นรนอยู่ในโลก


    นรชนทั้งหลายที่เลว ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ.


    สัตว์ดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัณหา


    [๕๑] คำว่า เราย่อมเห็น ... ดิ้นรนอยู่ในโลก มีความว่า คำว่า ย่อมเห็น คือ ย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู ด้วย มังสจักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง ปัญญาจักษุบ้าง พุทธจักษุบ้าง สมันตจักษุบ้าง. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า ดิ้นรนอยู่ คือ เราย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู [ซึ่งหมู่สัตว์นี้] ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา


    //////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////


    จะเห็นว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตามี 5 ประเภท ซึ่งก็รับมาสอดคล้องกับวิชชาธรรมกายที่กล่าวข้างบน ดังนี้


    เมื่อจะพิจารณาอะไรทั้งหมดในชั้นวิปัสสนาภูมินี้ มีพิจารณา ขันธ์ ๕ – อายตนะ ๑๒ –
    ธาตุ ๑๘ – อินทรีย์ ๒๒ – อริยสัจ ๔ – ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ เป็นต้น ต้องใช้ตาธรรมกายดูจึงจะเห็น เพราะเป็นกายละเอียด อายตนะและเห็น – จำ – คิด – รู้ ก็ละเอียด จึงจะดูของละเอียดได้



    ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์


    รูปขันธ์อย่างละเอียด(ย้ำว่าอย่างละเอียด)เล็กกว่าปลายขนจามรี ตั้งอยู่ภายในกำเนิดเดิม ลักษณะกลมใสสะอาด ส่วนเวทนาขันธ์ – สัญญาขันธ์ – สังขารขันธ์ – วิญญาณขันธ์ทั้ง ๔ นี้ ก็ละเอียดและเล็กกว่ารูปขันธ์ กล่าวถึงขนาดของรูปขันธ์ว่ามีขนาดเท่าไร ? นามธรรมทั้ง ๔ ก็เท่านั้น ลักษณะกลมใสสะอาดเท่ากัน ซ้อนกันอยู่เป็นชั้น ๆ นี่คือกล่าวด้วยส่วนละเอียดของขันธ์ ๕


    ส่วนหยาบของขันธ์ ๕ นั้น ส่วนของกายโตเท่าไร ? เวทนา – สัญญา – สังขาร – วิญญาณ ก็โต
    เท่าตัวเหมือนกัน ถ้ากายมนุษย์ที่ใหญ่ ๆ ขึ้นไปจนตัวเต็มจักรวาลขนาดของเวทนา – สัญญา – สังขาร – วิญญาณ ก็โตขึ้นเท่าขนาดของลำตัวเหมือนกันขันธ์ ๕ กายหนึ่ง ๆ ก็มีเป็นชั้น ๆ ซ้อนกันอยู่ตามลำดับของกาย จนสุดหยาบสุดละเอียด เหมือนอย่างแบบฟอร์มแต่งกายของทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เช่น นายสิบ นายร้อย นายพัน นายพล เป็นตัวอย่าง


    สำคัญตรงนี้ ครับ ตรงที่ว่าเราจะเข้าถึงตาละเอียด ญาณทัสสนะที่ละเอียดเพื่อเข้าไปดู ไปรู้ ไปเห็น สภาวธรรมเหล่านี้ตามความเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน วิปัสสนาญาณจึงจะเกิดแก่เรา เพื่อชำแรกกิเลสหลุดออกไปเป็นชั้นๆ จนสุดหยาบสุดละเอียด หมดกิเลสเป็นสมุเฉทประหานถึงฝั่งพระนิพพานอันเป็นจุดหมายปลายทาง.......


    จากคุณ : สมถะ


    ///////////////////////////////////////////////////////////////////////


    [​IMG]



    พระพุทธศาสนานั้น ใช่ว่าเราจะใช้สมองตรึกนึกตรองข้อธรรมต่างๆ แล้วจะเข้าใจแจ่มแจ้งได้ เราต้องปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมนั้นๆ สมาธิขั้นสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อใจสงบระงับมีกำลังจึงยกภูมิสูงขึ้นสู่ภาควิปัสสนา ภาควิปัสสนานั้นเราต้องมีรู้ญาณหรือมีญาณทัสสนะเห็นธรรมตามความเป็นจริงได้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในเรื่อง ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อริยสัจ ๔ ใช่ว่าเราจะใช้สมองคิดตรึกตรองแล้วจะเข้าใจสภาวธรรมเหล่านี้อย่างแจ่มแจ้งได้ เราต้องปฏิบัติให้รู้ให้เห็นจริงๆ ให้เกิดเป็นอธิจิต อธิปัญญา รู้เห็นตามสภาพความเป็นจริง



    เวลาฝึกสมาธินั้นหลายท่านบอกว่าเราฝึกสมถะจนจิตสงบ พอออกจากสมาธิแล้วจะใช้ปัญญาคิดพิจารณาข้อธรรมต่างๆ แล้วเป็นวิปัสสนาได้หรือไม่ ชื่อว่าไม่ได้แน่นอน เพราะขั้นตอนของสมถะและวิปัสสนาต้องต่อเนื่องกันไปในขณะหลับตาทำสมาธิอยู่ เช่น เราต้องการพิจารณาขันธ์ ๕ เมื่อปฏิบัติสมาธิเบื้องต้นจนจิตสงบแล้วต่อไปก็ยกภูมิขึ้นสู่วิปัสสนา รู้เห็นขบวนการของขันธ์ ๕ รู้ญาณชนิดนี้เป็นรู้ญาณละเอียดขั้นอธิจิต อธิปัญญา จึงมีตาวิเศษ รู้เห็นขบวนการของขันธ์ ๕ อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน เพียงแต่ว่าใจเราละเอียดอยู่ในระดับใด ถ้าละเอียดอยู่ในขั้นโลกีย์ก็ไม่สามารถรู้เห็นสภาพธรรมชั้นสูงในภาคโลกุตระได้ เพราะชั้นโลกีย์เราจะมีคุณธรรมคือ ระดับจิตได้แค่ มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม ซึ่งทั้ง ๔ ระดับนี้ พิจารณาได้แต่ธรรมแบบโลกีย์ เช่น มนุษยธรรมได้แก่ใจระดับที่มีหิริโอตตัปปะ เทวธรรมคือใจที่มีศีลห้าธรรมห้า(กุศลกรรมบถ ๑๐) พรหมธรรมได้แก่ ใจที่สำเร็จฌานโลกีย์ ๔ ระดับ หรืออย่างหยาบต้องมีพรหมวิหารธรรม ๔ อรูปพรหมธรรมได้แก่ ใจที่สำเร็จอรูปฌาน ๔ นี่คือรู้ส่วนเห็นนั้น ตาหยาบก็เห็นของหยาบ ตาละเอียดก็เห็นของละเอียด เหมือนนักวิจัยใช้กล้องส่องดูอนุภาคเล็กๆ ถ้ากล้องมีกำลังขยายสูงเราก็เห็นได้ละเอียด



    ตามนุษย์เรียกว่ามังสะจักษุ

    ตาเทวดา(ทิพย์)เรียกทิพจักษุ

    ตาพรหมเรียกว่าปัญญาจักษุ

    ตาอรูปพรหมเรียกว่าสมันตจักษุ

    ตาระดับโลกุตรภูมิเรียกว่าพุทธจักษุ



    เข้าถึงภูมิระดับใดใจก็มีตาระดับนั้น รู้เห็นได้ละเอียดกว่ากันเป็นชั้นๆ รู้และเห็นธรรมต่างๆ ทั้งโลกียธรรมและโลกุตรธรรมได้เป็นชั้นๆ ไป ตามแต่ภูมิธรรมที่เข้าถึง เมื่อใจละเอียดมีอย่างนี้แล้ว ก็เป็นธรรมดาที่ว่า มีใจที่ใดต้องมีกายครองที่นั่น ก็กายกับใจเป็นของคู่กัน เหมือนรูปกับนามเป็นของคู่กัน เมื่อมีรูปย่อมมีนาม เมื่อมีนามย่อมมีรูป เมื่อใจมีกายก็ต้องมารองรับ ใจละเอียดกายก็ละเอียด ใจหยาบกายก็หยาบ ใจหยาบช้าทำแต่กรรมชั่ว กายที่มารองรับก็อัปลักษณ์น่าเกลียดอย่างเช่น สัตว์นรก เปรต อสูรกาย และพวกสัตว์เดียรัจฉานต่างๆ นี่เพราะใจหยาบช้ากายก็หยาบช้า ถ้าใจละเอียดกายก็ละเอียดเป็นเครื่องรองรับกันเสมอ เช่น ทิพย์ พรหม อรูปพรหม เมื่อใจเรางามกายที่งามสมกับใจก็มารองรับซึ่งกันและกัน ตรงนี้เป็นผังสำเร็จ เป็นผังชีวิตที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ถ้าเราเข้าใจเรื่องกายกับใจเช่นนี้ได้ เราก็จะสามารถเข้าใจสภาวธรรมต่างๆ ได้ง่ายเข้า



    วิชชาธรรมกายสอนเรื่องกายละเอียดต่างๆ นั้นมิได้หมายเรื่องนิมิตหรือเห็นอะไรสักแต่เป็นนิมิต แต่นี้เป็นผังชีวิตของจริงที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายท่านได้รู้ได้เห็น เพียงแต่ว่าต้องปฏิบัติจนเข้าถึงจึงจะหมดข้อสงสัย เพราะธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นของลุ่มลึกเกินวิสัยแห่งปุถุชนที่จะคาดเดาเอาเองได้ ต้องไปรู้ไปเห็นด้วยญาณทัสสนะอันละเอียดจึงจะเข้าใจ ที่พระองค์ไม่ทรงตรัสไว้โดยละเอียดเพราะเนื้อแท้แล้วพระองค์ต้องการให้เราปฏิบัติเพื่อเข้าถึงเองดีที่สุด พระองค์จึงตรัสบอกแต่วิธีการเข้าถึง เช่น ให้ปฏิบัติตามกัมมัฏฐาน ๔๐ วิธี หรือแบบอานาปานัสติ หรือสติปัฏฐาน ๔ เพื่อให้เข้าถึง กาย เวทนา จิต ธรรม ที่ละเอียด เข้าถึงได้แล้วจะเข้าใจแหมดข้อกังขาเอง



    ตรองดูเถิดท่านทั้งหลาย ใจละเอียดมีตาละเอียด ตาละเอียดมีญาณทัสสนะที่ละเอียด รู้ได้เห็นได้อย่างละเอียดถึงรูปแบบและขบวนการของสภาวธรรมในระดับวิปัสสนาได้ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อริยสัจ ๔ หรือธรรมขั้นโลกุตรใดๆ ก็รู้เห็นได้หมด เพียงขอให้เข้าถึงใจละเอียดเป็นอธิจิต อธิปัญญาเถิด แต่พิจารณาอย่างเดียวไม่พอต้องทำการสะสางธาตุธรรมภายในให้หมดกิเลสเป็นชั้นๆ ได้ด้วย เพระกิเลสอวิชชาเขาก็มีเป็นชั้นๆ ซ้อนอยู่ในกายและใจของเราที่เป็นชั้นๆ อยู่ ด้วยเหมือนกัน ชำระสะสางกิเลสให้หมดจากจิตใจได้จึงเชื่อได้ว่าหลุดพ้นจริง หมดภพหมดชาติ หมดการเวียนว่ายตายเกิดจริง



    ถ้าเรารู้จักกายมนุษย์หยาบกายนี้กายเดียวไม่มีทางกำจัดกิเลสเข้าไปเป็นชั้นๆ ได้ เพราะกิเลสระดับละเอียดเขามีอยู่ เขาก็อยู่ในชั้นละเอียดเข้าไป กายและใจมนุษย์ไม่สามารถรู้เห็นได้ ต้องใช้รู้ญาณทัสสนะที่ละเอียดเข้าไปจึงจะทำลายกิเลสให้หมดจนสุดหยาบสุดละเอียด



    หลวงพ่อวัดปากน้ำมีวิริยคติที่ว่า “บัดนี้ของจริงที่พระพุทธเจ้าทรงรู้เห็น เราก็ยังไม่รู้เห็น สมควรที่เราจะลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง” ในที่สุดหลวงพ่อเข้าถึงกายละเอียใจละเอียดเป็นชั้นๆ ซึ่งมีกายและใจละเอียดถึง ๑๘ ชั้น (วิชา ๑๘ กาย) จึงได้รู้เห็นผังของจริง เมื่อเรารู้เห็นเป็นชั้นๆ เข้าไป ต่อไปงานสะสางธาตุธรรมเป็นชั้นๆ เข้าไปจนหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ก็ทำได้ นี้จึงชื่อว่าเป็นเหตุเป็นผลรองรับกัน ฉะนั้นเราเข้าถึง กายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม กายธรรม ทั้งหลายและละเอียด ก็คือเรามีหนทาง(มรรควิธี)แห่งการกำจัดกิเลสอวิชชาเป็นชั้นๆ เข้าไป ตามที่กล่าวมาแล้วส่วนขั้นปฏิบัติจริงจังนั้นจะต้องว่ากันโดยละเอียดต่อไป...



    [​IMG]





    >>> ขอให้เราระลึกอยู่เสมอว่า วิปัสสนา แปลว่า เห็นแจ้ง เห็นต่าง ๆ เห็นวิเศษ รู้วิเศษ เห็นวิภาคเป็นส่วน ๆ ในขันธ์ ๕ – อายตนะ ๑๒ – ธาตุ ๑๘ – อินทรีย์ ๒๒ – อริยสัจจธรรม ๔ – ปฏิจจสมุปบาท ๑๒


    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    >>> ถ้าไม่เห็นแล้ว ตัวรู้ไม่เกิด คือรู้ไม่ได้ ตัวรู้เกิด ปัญญาจึงจะเกิดตามมาครับ



    วิปัสฺสนา ภาวิตา กิมตฺถมนุโภติ
    ** วิปัสสนาแปลว่าความเห็นแจ้ง เป็นขึ้นแล้วต้องการอะไร


    ปญฺญา ภาวิยติ
    ** ต้องการทำปัญญาให้เป็นขึ้น


    ถ้าเราไม่เห็นแจ้ง เราก็หมดสิทธิที่จะเข้าถึงธรรมวิเศษ ตรองดูเถิดท่านทั้งหลาย เราเล่นแต่ตัวรู้กัน แต่ตัวเห็นไม่เกิด แล้วที่รู้นะจะรู้จริงได้อย่างไร พิจารณาดูนะครับ ที่เขาว่า "ภาพหนึ่งภาพแทนความหมายได้พันคำ" น่ะจริงแท้แน่นอน...



    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]<!--MsgFile=19-->
    <!-- / message -->​
    <!-- / message -->​
    <!-- / message -->
     
  4. UFO99

    UFO99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2005
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +983
    เอ่อคือ ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะทำให้คนแตกแยกน๊ะครับเพียงแต่ผมอ่านเจอเฉยๆ ก็เลยเอามาลง เมื่อลงแล้วผมก็ได้คำตอบจากคุณสมถะ และก็อีกหลายๆท่านขอบคุณครับวันที่ 7 กันยายน 2549 ผมก็ไปที่วัดธรรมกาย ได้เหรียญปราบมารมาด้วยครับ ผมศรัทธาทุกวัดครับและก็ศรัทธา พระสงฆ์ทุกๆองค์ และก็อุบาสก อุบาสิกกาทุกท่านในประเทศไทยก็เท่านั้นครับ โธ่ไม่น่าเลยเรา เราจะบาปมั้ยเนี่ย แหะๆอย่าถือโทษโกรธเคืองผมเลยน๊ะท่านทั้งหลาย เฮ้อไม่น่าเลยเราสาธุ
     
  5. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,159
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    โมทนาในความเป็นบัณฑิตแห่งคุณAmageddon


    ในความเป็นจริง สภาวะจิตที่มีสติ สัมปชัญญะ อยู่กับกาย-ใจ เนืองๆนั้น

    จะมีอาการของสมาธิ และ วิปัสสนา สลับกันไป

    ( สมาธิ กับฌาณ เหมือนกันที่เอกัคคตา ต่างกันที่ สมาธิมีสติรู้ พิจารณาตัวรู้ กับ สิ่งถูกรู้ รู้ตัวอยู่ ไม่ไหลเรื่อยไปกับสิ่งถูกรู้
    ส่วนฌาณ เมื่อการเพ่งถึงที่สุด จิตจะรวมไปกับสิ่งถูกรู้ และไม่มีสติพอที่จะพิจารณารอบรู้ในผู้รู้และสิ่งถูกรู้ )


    ตอนไหนจิตเห็นความแปรปรวน(ไตรลักษณ์)ต่อเนื่องจนเต็มที่
    ก็จะพักลงสมาธิบ้าง ฌาณบ้าง แม้ไม่เจตนาจะเข้า

    พอมีกำลังจากการพัก สติที่อบรมมาต่อเนื่องจะเห็นสิ่งถูกรู้คือ

    กาย ,สังขาร(ความคิด) ฯลฯ ต่อไปอีก



    ...คล้ายคนที่เดินจนเหนือย ก็พัก แล้วเดินใหม่
    จนกว่าจะถึงจุดหมาย..


    แค่ช่วงที่จิตรวมกับดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ เกิดดวงใหม่

    และเห็นสภาวะจิตที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของดวงธรรม

    ที่ในกาย ก็รวมสมถะ และวิปัสสนา ไปในตัวแล้ว ดังอธิบาย


    ....ขึ้นกับโยนิโสมนสิการ ความฉลาดในการฝึกจิต สอนใจของแต่ละคนต่างหาก บางคนเห็นเหมือนกัน แต่ปรุงกิเลสใหม่ขึ้นมา คือ ยึดมั่น
    ในสิ่งที่เห็น เป็นมานะ ทิฏฐิ ถือตัวว่าดีกว่าคนอื่นยิ่งขึ้น สร้างภพใหม่
    ให้ติดแน่นไปอีก


    แต่ บางคน เห็นอย่างนี้ จิตใจไม่ทิ้งหลักการกำจัดกิเลสตนเอง
    กลับเห็นความแปรปรวนไม่หยุดของสังขารทั้งภายใน ภายนอก
    หยาบ-ละเอียด

    ...ผลที่ได้ย่อมต่างกัน...
     

แชร์หน้านี้

Loading...