เรื่องเด่น ธรรมะของในหลวงร.9

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 22 ตุลาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8b0e0b882e0b8ade0b887e0b983e0b899e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887e0b8a3-9.jpg

    เหลือเพียง 4 วัน ก็จะถึงวันที่ 26 ตุลาคม 2560 เวลา 17.30-22.00 น. อันเป็นวันที่กำหนดให้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทร

    มหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์ที่คนไทยทั้งผองเรียกพระนามว่า “พ่อหลวง”ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านหนังสือ “ธรรมะของพระเจ้าอยู่หัว” ซึ่งมีสาระสำคัญอย่างที่สุดของคนไทยเรานับมีคุณค่ายิ่งถ้าให้คนไทยทุกคนหากได้มีโอกาสอ่านรับรู้ ศึกษา ทบทวน เพราะสิ่งนี้เป็น “มงคลชีวิต” ที่พระองค์พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เพราะพระองค์ทรงสถิตในใจของปวงชนชาวไทยชั่วนิรันดร์ และเมื่ออ่านแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราพึงกตเวทีต่อพระองค์ท่านได้ด้วย “การปฏิบัติ” ให้ได้ และยึดมั่นตาม “รอยธรรมคำสอน” ให้ได้แม้ “หนึ่งเปอร์เซ็นต์” (1%) ก็มีคุณค่าที่อาจกล่าวได้ว่า เราเป็นลูกที่ดีของ “พ่อหลวง”

    …นับแต่วันแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ในปี พ.ศ.2489 พระองค์มีพระราโชบายที่เด่นชัดมั่นคงในการปกครองชาวสยามทุกผู้ทุกนามทุกหนแห่ง ให้เกิดความร่มเย็นผาสุกเสมอภาค

    ดังพระราชดำรัสที่ว่า “…เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”..

    ธรรมะของพระเจ้าอยู่หัว คือ อานุภาพแห่งความรักและความหวังดีอย่างแท้จริงที่ฝังแน่นลงไปในหัวใจของเหล่าพสกนิกร สถิตอย่างถาวร มั่นคงไม่สั่นคลอน ธรรมะของพระเจ้าอยู่หัวเป็นสิ่งล้ำค่า ที่พระราชาทรงน้อมนำเอาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนามาใช้ในการดูแลพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ที่ต่างเชื้อชาติต่างศาสนาให้มาร่วมกันอยู่อย่างเหมาะสมและสมดุล โดยทรงมุ่งหวังให้ทุกคนเป็นคนดีมีความสุข ความเจริญไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ด้วยหลักการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”

    e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8b0e0b882e0b8ade0b887e0b983e0b899e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887e0b8a3-9-1.jpg


    “เข้าใจ” หมายถึง ทรงเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความจริงแท้ของธรรมชาติ เข้าใจในคำสอนของพระพุทธศาสนา เข้าใจถึงความทุกข์ยาก ทุกความต้องการของพสกนิกรอย่างแท้จริง นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ทั้งหลายทั้งทางกายและทางใจ

    “เข้าถึง” หมายถึง การนำหลักธรรมจากนามธรรมให้มาเป็นรูปธรรมด้วยการเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เองไปในทุกพื้นที่เพื่อจะได้เข้าถึงได้รับรู้ ได้เข้าใจ หาหนทางช่วยเหลือพสกนิกรในทุกด้าน ทั้งความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติที่เอื้ออำนวยในการดำรงชีพที่แตกต่างกันให้สัมฤทธิผล

    “พัฒนา” หมายถึง การที่ทรงทำทุกอย่างเพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพจิตใจและคุณภาพชีวิตของราษฎรทุกคนให้กินดีอยู่ดี มีความสุขความเจริญในทุกด้านด้วยทรงยึดหลัก… “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

    ทั้งโครงการในพระราชดำริ โครงการหลวงต่างๆ รวมถึงโครงการในพระบรมวงศานุวงศ์ที่ดำเนินรอยตามพระยุคลบาทมากมาย และโดยในส่วนพระองค์เองนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาปสาทะอันแน่วแน่มั่นคงในบวรพุทธศาสนา โดยได้เสด็จออกทรงพระผนวช ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม-5 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 ซึ่งได้รับสมญานามจากพระอุปัชฌาจารย์ว่า “ภูมิพโล” ในระหว่างที่ทรงผนวชนั้นได้ทรงศึกษาและปฏิบัติตาม

    พระวินัยอย่างเคร่งครัดดังที่…สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ทรงเล่าถึงพระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะทรงผนวช ว่า “…พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงผนวชตามพระราชประเพณี เพียงอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ แต่ทรงพระผนวชด้วยศรัทธา ฉะนั้น ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาสามัญ ก็กล่าวได้ว่าบวชด้วยศรัทธาเพราะทรงผนวชด้วยพระราชศรัทธา ประกอบด้วย พระราชปัญญา และได้ทรงปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด”

    ในด้านหน้าที่ราชการนั้น ก็ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ทรงพระพุทธศาสนาตามพระราชประเพณีโดยมิได้ขาดตกบกพร่อง เช่น พระราชกรณียกิจเรื่องในเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ในการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และในหัวเมือง
    พระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์แด่พระสงฆ์ในการเอื้ออำนวยแก่การปกครองคณะสงฆ์ และเชิดชูผู้ทรงศีล ทรงธรรมเป็นที่ปรากฏตลอดถึงพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์การสั่งสอน และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

    ในด้านที่เป็นการส่วนพระองค์นั้นก็ทรงปฏิบัติ พระองค์ยึดมั่นอยู่ในคุณธรรมของพระพุทธศาสนามีราชธรรม เป็นต้น ทรงศึกษาพระพุทธศาสนา และทรงนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
    ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นการส่วนพระองค์ในโอกาสต่างๆ และบำรุงสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบเป็นจำนวนมากมิได้ขาด…

    หลังจากทรงลาสิกขาแล้ว นอกเหนือจากการทรงสนทนาธรรมกับ “สมเด็จพระสังฆราช” อย่างเป็นประจำแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยือน “สนทนาธรรม” กับ “พระอาจารย์” ฝ่ายวิปัสสนาธุระหลายรูป

    อาทิ : สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสารเถร) วัดราชผาติการาม กรุงเทพฯ, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร, หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู, หลวงปู่ดูลย์ อตฺโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์, หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย, หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา, พระอาจารย์แบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร, หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี, หลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสงฆ์สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง, หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่, หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน, หลวงปู่หลุย จันฺทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย, หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม

    จ.จันทบุรี, พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร, หลวงปู่นำ ชินวโร วัดดอนศาลา จ.พัทลุง, หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี, หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา ฯลฯ ซึ่งการสนทนาธรรมกับพระอริยเจ้าหลายๆ ท่าน ทำให้พระองค์ทรงรอบรู้ธรรมะอย่างแตกฉานลุ่มลึก ทรงบำเพ็ญสมาธิวิปัสสนาอย่างสม่ำเสมอ

    e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8b0e0b882e0b8ade0b887e0b983e0b899e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887e0b8a3-9-2.jpg


    เพื่อทรงนำธรรมะแท้บริสุทธิ์นี้มาเป็นหลักธรรม หลักชัยในการทำให้พสกนิกรทุกคนมีความสุขความเจริญ.

    ดังพระราชดำรัสในโอกาสที่คณะผู้แทนพุทธสมาคมทั่วประเทศเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2523 ซึ่งมีความบางตอนทรงอรรถาธิบาย ถึง “การปฏิบัติ” ในทางพุทธศาสนา ดังนี้

    …เนื่องจากที่ได้กล่าวแล้วว่า ท่านทั้งหลายหลังในบารมีให้ปกเกล้าบ้านเมืองนั้นก็เป็นอย่างหนึ่งที่น่าคิด เพราะว่าบ้านเมือง ประกอบด้วยบุคคลและแต่ละบุคคลจะต้อง “ทำด้วยตนเอง” ตามหลักของพระพุทธศาสนาแต่ละคนจะต้องการอะไร ก็ต้องการ “ความสุข” คือ “ความสงบ” และความสุข และความสงบจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วย “ตนเอง” ฉะนั้นจะให้คนอื่นมาปกป้องรักษา ก็เป็นสิ่งที่ยาก ถ้า “ตัวเองไม่ทำ” อันนี้เป็นข้อสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา แต่การที่จะอาศัยคนอื่นก็อาศัยได้โดยผู้อื่นที่ปฏิบัติดีชอบ และคอยฟังสั่งที่ผู้อื่นที่เราเห็นว่าปฏิบัติชอบได้พูดได้แนะนำ ดังนี้ ต้องเป็นสิ่งที่อาศัยผู้อื่นได้ ฉะนั้นก็ต้องมีการพิจารณาของตัวเองผู้ที่น่าที่จะดูการปฏิบัติ หรือฟังข้อแนะนำในการปฏิบัติและทำตาม อันนี้เป็นสิ่งที่ช่วยให้บุคคลได้บรรลุถึงความสำเร็จความสุขได้

    มาถึงปัญหาของพระพุทธศาสนา เป็นสิ่งลำบากที่สุด ที่จะเห็นพระพุทธศาสนา และที่จะเห็นประโยชน์ของพระพุทธศาสนา เพราะเราแต่ละคนก็มีกายและใจของตัวเอง แต่ละคนมีความรู้ หรือปฏิบัติของตัวเอง แล้วแต่ภูมิ การที่จะปฏิบัติตามพระพุทธศาสนานั้น ย่อมจะเป็นแล้วแต่บุคคลแล้วแต่สภาพของตัว ฐานะนี้ไม่ได้หมายถึง…ฐานะการเงินการทอง หรือความเป็นอยู่ แต่หมายถึง… “ฐานะของจิตของแต่ละคน” ฉะนั้น ถ้าว่าไป พุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ลุ่มลึกที่ลำบากที่สั่งสอน หรือที่จะเรียนเพราะว่าแต่ละคนจะต้องทำฐานะของตัว หรือจะว่าได้ว่า…พุทธศาสนามีหลายชนิดแต่ละคนก็มีพุทธศาสนาของตัว ฉะนั้น การที่จะสั่งสอน การที่จะชี้แจง การที่จะฟัง การที่จะเรียนพุทธศาสนานั้น…จะต้องพยายามที่จะทำด้วยตนเอง

    “ปฏิบัติ” นั้นเป็นสิ่งสำคัญมากโดยมากพูดการปฏิบัติ ก็กลัวกันแล้วเพราะว่าการปฏิบัตินั้นมีวิธีต่างๆ แล้วก็โดยมากวิธีต่างๆ นั้นบรรยายกันมาต้องทำอย่างโน้นอย่างนี้ ต้องทรมาน ต้องเหนื่อย ต้องเสียเวลามาก ไม่สามารถจะปลีกตัวออกมาปฏิบัติ ความจริงปฏิบัติพระพุทธศาสนา ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นไม่ใช่ของยาก แต่ละคนทำได้ทั้งนั้น แต่ว่าต้องมี…“ความตั้งใจ” เมื่อเราอยากที่ปฏิบัติ มีความอยากขึ้นมา อยากและก็เห็นว่าศาสนานี้เป็นที่มีประโยชน์ย่อมเป็นการ “เปิดไฟ” แม้จะริบหรี่ก็เป็นความสว่างให้เห็น “อยาก” เกิดขึ้นฉันใด เราก็เริ่มสนใจก็เริ่มทำได้แล้วฉันนั้น เสมือนหนึ่งเราเข้าไปอยู่ในห้องมืด หรือถ้าที่มืดสนิท ไม่ทราบสวิตช์ไฟอยู่ที่ไหน เรามีไฟฉายหรือไม้ขีดไฟในห้อง ในตัวก็เปิดไฟฉายอันริบหรี่นั้น ไปหาสวิตช์ไฟ ก็สามารถจะเปิดไฟในห้องนั้นได้ฉันนั้น เราจะไม่สามารถจะพบนอกจากบังเอิญ โดยบังเอิญ โดยมากแล้วก็ต้องทำเอง แม้จะด้วยไฟริบหรี่ เรามีอยู่กับตัวเรา (คือการสนใจเบื้องต้น) ก็สามารถไปเปิดไฟได้ ท่านเรียกว่า เรามีความร่าเริงใจ ความสบายใจ พอใจในการปฏิบัติ มีความพอใจในการค้นคว้า เป็นปัจจัยสำคัญของการปฏิบัติพุทธศาสนา คือ เรียกว่ามี “ฉันทะ” ซึ่งต้องอาศัยความมี “วิริยะ” พากเพียร ขยัน คู่กับ “ขันติ” คือความอดทน

    ท้ายสุดที่สำคัญคือ “วิมังสา” มีการเอาใจใส่ติดตามอยู่ตลอดเวลา ติดตามดูไปถึงไหน ไม่ควรเผลอ ไม่ฟุ้งซ่าน จนบรรลุผลสำเร็จ.


    ฉะนั้น จุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรมอยู่ที่ตัว “สมาธิ” ซึ่งเรามีทุกคน แต่จะชี้ให้เห็นว่า “นี่เป็นจุดเริ่มต้น” ของการ “ปฏิบัติธรรม” อยู่ที่ตัว “สมาธิ” นี้ หากดูดีๆ แล้วจะพบว่าเรามีมาตั้งแต่เด็กๆ ครูบาอาจารย์ พ่อแม่ได้สั่งสอนบอกเสมอๆ ว่า “ต้องตั้งใจ” นะ แค่นี้เป็นจุดเริ่มต้นของ “สมาธิ” ฉะนั้น สมาธิที่ดีขึ้นนั้น ก็มีได้ทุกคน ก็อาศัย ความเพียร ความอดทน คือ สร้างสมาธิให้มีขึ้นหน่อย แล้วเอามาใช้ ไม่ต้องทำสมาธิให้หนักแน่นมาก แต่สมาธิที่ควบคุมได้ เราจะมาเห็นใจ เราทำสมาธิให้นิ่ง จิตใจให้นิ่ง ก็จะมาเห็น “ใจของเรา” ใจจะไม่เป็นสิ่งที่ลึกลับ ใจจะเป็นสิ่งที่เปิดเผย คือ… “เรา เปิดเผยตัวเราเอง” เมื่อทำนานๆ บ่อยๆ ฝึกสมาธิจนเกิดสภาวะที่เรียกว่า “ระลึกรู้สึกใจ” เป็นใจนิ่ง ใจสงบ ใจสว่าง ใจสะอาด ดุจดั่ง “น้ำนิ่ง” กับ “จิตนิ่ง” เราจะเห็นได้ว่า ใจของเราเมื่อได้กระทบอย่างไรก็ตาม ด้วย “อารมณ์” ก็ตาม ใจนั้นก็จะกระเพื่อม คือ “ใจ” นั้นจะเหมือนกับ “น้ำ” ฉันนั้น ใจเราจะมีคลื่น น้ำก็จะมีคลื่น “คลื่น” นั่นคือ “อารมณ์”
    พุทธศาสนาศึกษาอะไร ก็ศึกษาความทุกข์นี่เอง : ความทุกข์เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ชอบจะต้องการพ้นทุกข์สำหรับตัวเองและทุกคน ฉะนั้นการศึกษาพุทธศาสนานั้นคือ… “การศึกษาอริยสัจ” นั่นเอง แต่ก่อนจะศึกษาอริยสัจหรือได้ทราบอริยสัจก็ย่อมต้องดูกลไกของการศึกษาของพระพุทธศาสนา เข้าใจว่าจะต้องเริ่มต้นจากที่กล่าวมาแล้ว คือ จุดเริ่มต้น คือ ดูใจด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า “สมาธิ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสว่า การศึกษาพระพุทธศาสนานั้นเป็นสิ่งที่ไม่ยาก ถ้าจิตใจจดจ่อ (มีฉันทะ) ถ้ามีความตั้งใจจริง

    และที่สำคัญคือ มี “ความสุจริต” ทุกคนต้องสุจริต ถ้าทุจริตแล้วไม่มีทางเพราะว่าไปในทางผิดที่ผิดทุกครั้ง.

    อนึ่ง ผู้เขียนอ่านตลอดแล้วเห็นว่ามีข้อความหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ของเราทรงห่วงใยในประชาชนคนไทยเป็นอันมาก คือพระราชปุจฉาวิสัชนาธรรมกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร เมื่อปี 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า
    สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และทูลกระหม่อมสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงทั้งสองพระองค์ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปกราบหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ถึงวัดป่าอุดมสมพร

    ในคราวเสด็จฯพระราชทานผ้าพระกฐินส่วนพระองค์ครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนมัสการถามหลวงปู่ฝั้นมีข้อความสำคัญตอนหนึ่งว่า

    “พระราชปุจฉา : ทำอย่างไร ประเทศชาติ ประชาชนจะอยู่ดีกินดี มีความสามัคคี ปรองดองกัน?

    หลวงปู่ฝั้น : ให้เข้าหาพระศาสนา เพราะศาสนาสอนให้คนละชั่ว กระทำความดี ทำใจให้ผ่องใส

    พระราชปุจฉา : คนส่วนมากทำดี คนส่วนน้อยทำชั่ว จะทำให้คนส่วนมากเดือดร้อนไหม ทำอย่างไรจึงจะแก้ไขได้?

    หลวงปู่ฝั้น : ขอถวายพระพร ทุกวันนี้คนไม่รู้ศาสนาจึงเบียดเบียนกัน ถ้าคนเรานึกถึงตนแล้วก็ไม่เบียดเบียนกัน เพราะต้องการความสุขความเจริญ คนอื่นก็เช่นกัน คนทุกวันนี้เข้าใจว่าศาสนาอยู่กับวัด อยู่ในตู้อยู่ในหีบในใบลาน อยู่กับพระพุทธเจ้าอินเดียโน่น จึงไม่สนใจบ้านเมือง จึงเดือดร้อนวุ่นวาย มองหน้าไม่ได้ ถ้าคนเราถือกันเป็นบิดามารดา เป็นพี่เป็นน้องกัน แล้วก็สบายไปมาหาสู่กัน เพราะใจเราไม่มีเวร เวรก็ไม่มี ใจเราไม่มีกรรม กรรมก็ไม่มี ฉะนั้นให้มีพรหมวิหารธรรม อย่างมหาบพิตร เสด็จฯมานี้ทุกอย่างเรียบร้อยหมด”


    e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8b0e0b882e0b8ade0b887e0b983e0b899e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887e0b8a3-9-3.jpg


    Cr:::matichon.co.th


    ขอขอบคุณที่มา
    http://variety.teenee.com/saladharm/ธรรมะของในหลวงร.9+77378
     

แชร์หน้านี้

Loading...