ธรรมะจากพระพุทธรูป

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย thanan, 6 มีนาคม 2005.

  1. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,666
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,210
    <u>จากหนังสือพุทธจักร ฉบับที่ 3 มีนาคม 2543 </u>


    พระพุทธรูปเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าชาวพุทธให้ความเคารพศรัทธามากบางแห่งก็มีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น หลวงพ่อพุทธโสธร แห่งวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือ พระพุทธชินราช แห่งวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น ความขลังและความศักดิ์ศิทธิ์ของพระพุทธรูปแต่ละองค์นั้นก็มีตำนานเล่าขานกันมามากบ้างน้อยบ้าง สุดแท้แต่ความศรัทธาของชาวบ้านแต่สิ้งที่เหมือนกันของรูปเปรียบ หรือตัวแทนของพระพุทธเจ้านี้สังเกตเห็นได้มีอยู่ด้วยกัน ๓ ประการ คือ

    <u>1. พระเศียรแหลม</u> ทำไมพระพุทธรูปจึงมีพระเศียรแหลมในเมื่อพระพุทธเจ้าของเราก็เป็นมนุษย์ นี้เป็นเพราะเขาสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้คิดเป็นปริศนาธรรม พระเศียรที่แหลมนั้น หมายถึง สติปัญญาที่เฉียบแหลมในการดำเนินชีวิตสอนให้ชาวพุทธแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยสติปัญญา ไม่ใช่อารมณ์ แต่ต้องพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนแล้วจึงทำ ความผิดพลาดก็เกิดขึ้นน้อยหรือไม่เกิดขึ้นเลย

    <u>2. พระกรรณยาน</u> หรือ หูยาน เป็นปริศนาเป็นปริศนาธรรมบอกว่าให้ชาวพุทธเป็นคนหูหนักแน่นมั่นคง ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ แต่คิดพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาอันแยบคายแล้วจึงเชื่อ อนึ่ง ในฐานะที่เป็นชาวพุทธก็ต้องเชื่อในกฎแห่งกรรม คือ เชื่อว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" เชื่อว่า ไม่มีอะไรทำให้ใครเป็นอะไร ๆ แต่ตัวเราเองนั่นแหละทำให้เราเป็นสุขเป็นทุกข์ คนเราจะดีจะชั่ว จะเสื่อมจะเจริญ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจภายนอกหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อะไร แต่ขึ้นอยู่กับการกระทำ การพูด และ การคิดของตนเอง นี้เป็นการเชื่อตามหลักการของพระพุทธศาสนา

    <u>3. พระเนตรมองต่ำ</u> พระพุทธรูปที่สร้างโดยทั่วไป จะมีพระเนตรมองลงที่พระวรกายของพระองค์ อย่างในพระอุโบสถของวัดทั่วไป จะนั่งมองดูพระวรกายไม่ได้มองดูหน้าต่างหรือมองดูประตูพระอุโบสถว่าจะมีใครเข้ามาไหว้บ้าง นี้เป็นปริศนาธรรมสอนให้ชาวพุทธมองตนเอง พิจารณาตนเอง ตักเตือนแก้ไขตนเอง ซึ่งตามปกติของคนแล้วมักจะมองเห็นความผิดพลาดของบุคคลอื่น แต่ลืมมองของตนเองไป ทำให้สูญเสียเวลาและโอกาสในการปรับปรุงพัฒนาตนเอง เมื่อไม่ได้สำนึกด้วยตนเองแล้ว จึงมีพระพุทธพจน์ตรัสไว้ให้เตือนตนเองว่า "อตฺตนา โจทยตฺตานํ = จงเตือนตนด้วยตนเอง"

    ที่กล่าวมาทั้ง 3 ประการนั้น เป็นสื่อสอนธรรมะปริศนาธรรมที่ได้จากองค์พระพุทธรูปเพื่อนำมาสอนใจตนเอง

    ดังนั้น ชาวพุทธเมื่อมีปัญหาอะไรแก้ไขไม่ได้ คิดไม่ตก ก็เข้าวัดเสียบ้าง นั่งประนมมือตรงหน้าพระพุทธรูป หรือถ้าที่บ้านมีพระพุทธรูป ก็นั่งประนมมือต่อหน้าพระพุทธรูปที่บ้านนั่นแหละ ค่อย ๆ เพ่งพินิจที่พระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ก่อนที่จะกราบจะมองเห็นพระเศียรแหลม สอนใจตนเองว่า "อย่าแก้ปัญหาด้วยอารมณ์นะ ใจเย็น ๆ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ไม่มีอะไรแก้ไขไม่ได้ ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ แก้ด้วยสติปัญญาที่เฉียบแหลม เหมือนพระพุทธเจ้าของเราที่พระองค์ใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา" เห็นสายพระเนตรที่มองต่ำก็บอกตนเองว่า "มองตนเองบ้างนะ อย่างไปมองคนอื่นมากนักเลยเดี๋ยวจะไม่สบายใจ และอาจมีปัญหาได้ การมองตนเองบ่อย ๆ จะได้พิจารณาตนเองปรับปรุงตนเอง และแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น" เห็นพระกรรณยานก็บอกตนเองว่า "สุขุมเยือกเย็นมีเหตุผลเข้าไว้ อย่าปล่อยให้ใจตามอารมณ์ หรือหุนหันพลันแล่น เดี๋ยวจะผิดพลาดได้ ต้องมีจิตใจหนักแน่นมั่นคง เชื่อในสิ่งที่มีเหตุผล" จากนั้นก็ค่อยกราบพระพุทธรูปด้วยสติปัญญาและจิตใจที่ชื่นบาน นี้เรียกว่า "ยิ่งกราบยิ่งฉลาด" สมกับเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ที่แท้จริง
     
  2. Des

    Des เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,264
    ค่าพลัง:
    +303
    โมทนาสาธุค่ะ
    ทีแรกนึกว่า พระกรรณยาน หมายถึงอายุยืนซะอีก แหะๆ
     
  3. นิรทุกข์

    นิรทุกข์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +93
    เป็นนัยที่น่าสนใจ
     

แชร์หน้านี้

Loading...