ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    …จงเจริญอานาปานสติเถิด
    อานาปานสติ เป็นยอดของกรรมฐานในทางพระพุทธศาสนา
    ดึงกรรมฐานอื่น ๆ มาอยู่ในอานาปานสติได้ทั้งนั้น

    หลวงปู่หลัา เขมปัตโต

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    การสั่งสมบุญ นำสุขมาให้

    วันพุธ ที่ 3 มกราคม 2561 สมาชิกชุมนุมพุทธธรรมกรรมฐาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ร่วมสวดมนต์ทำวัตรเย็น ในเวลา 16.00-17.00 น. ณ ห้องนิติธรรม ชั้น 4

    -นำสุขมาให้.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เช้าวันหนึ่งหลวงพ่อชา สุภัทโท เดินไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน โดยมีพระสุเมโธสะพายบาตรเดินตามหลัง ขณะเดินผ่านทุ่งนา ก็เห็นงูกำลังกลืนเขียดเข้าไปครึ่งตัว เขียดพยายามดิ้นหนีความตาย ส่งเสียงร้องลั่นด้วยความเจ็บปวด พระสุเมโธเห็นเขียดกำลังถูกงูกิน เกิดความสงสาร อยากเข้าไปช่วย แต่หลวงพ่อชากลับเดินผ่านไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

    ทันใดนั้น หลวงพ่อชาก็ชะงักเท้า แล้วหันมาหาพระสุเมโธ พร้อมพูดว่า ” เออ สุเมโธ เชียร์ฝ่ายไหน ระหว่างงูกับเขียด ”

    พระสุเมโธไม่รู้จะตอบอย่างไร ได้แต่ยิ้ม แล้วหลวงพ่อชาก็เดินต่อไป

    การที่หลวงพ่อชาไม่เข้าไปช่วยเขียดตอนนั้น เพราะงูกินเขียดไปครึ่งตัวแล้ว แม้จะช่วยออกมาได้ เขียดก็ต้องตายเพราะพิษงูกัด รวมถึงเสียเลือดมาก หากมองในมุมกลับกัน การเข้าไปช่วยเขียด ก็ถือเป็นการเบียดเบียนงูที่กำลังหิวโหย ซึ่งเป็นวิถีตามธรรมชาติของสัตว์โลก หากมองในแง่ของกรรมแล้ว นั่นก็คือวิบากกรรมของทั้งงูและเขียด หลวงพ่อชาได้สอนให้รู้จักการวางอุเบกขาด้วยปัญญา และการจะวางอุเบกขาด้วยปัญญาได้นั้น ต้องเข้าใจกฎแห่งกรรม

    ที่มา : เรื่องเล่าจากหลวงพ่อสุเมโธ

    -ส.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ที่จริง พระอรหันต์ทั้งหลาย
    ท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย

    เพียงแต่ เจริญจิตให้รู้แจ้งใน ขันธ์ ๕
    แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท

    หยุดการปรุงแต่ง หยุดการแสวงหา หยุดกริยาจิต

    มันก็จบแค่นี้
    เหลือแต่ บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง
    ว่าง มหาสุญตา ว่างมหาศาล

    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -พระอรหันต์ทั้งห.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “…เมื่อใจของเราสงบแล้ว ความสุขความสบายก็เกิดที่นั่น ไม่ได้เกิดที่อื่น ไม่ได้สุขสบายเพราะวัตถุข้าวของทั้งหลายต่างๆ ใจเราสบายเท่านั้นแหละ ความสุข เมื่อใจเราสบายแล้ว ทำอะไรก็สบาย ทำมาหากิน ค้าขาย การอะไรทุกสิ่งทุกอย่าง เราก็สุขก็สบาย ธรรมนั้นก็นำความสุขความสบายให้…”

    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ค.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    อดีตชาติปางก่อนของ “หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร”
    วัดป่าวังเลิง ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
    ท่านละสังขารเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๕
    สิริอายุรวมได้ ๘๑ ปี ๖ เดือน ๖ วัน พรรษา ๖๐

    ในเรื่องของอดีตชาติของหลวงปู่นั้น หลวงปู่ได้พูดคุยกับลูกศิษย์ในสถานที่ และเวลาต่างๆ หลายครั้ง ซึ่งพอจะนำมาเล่าสู่กันฟังพอสังเขปได้ว่า “องค์หลวงปู่มหาบุญมีเคยเกิดในตระกูลอันมั่งคั่งได้เป็นลูกเศรษฐี ต่อมาได้ออกบวชในสมัยพระปัจเจกพุทธเจ้า มีนามว่า ปทุมบุตรราช และท่านก็ได้ขอมอบถวายชีวิตแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้น”

    ในอีกชาติหนึ่ง องค์หลวงปู่มหาบุญมีท่านเคยเกิดเป็นกิ้งก่า เรื่องมีอยู่ว่า หลวงปู่เล่าว่า “สมัยหนึ่งท่านเกิดเป็นกิ้งก่า ในตระกูลโยนิ คราวนั้นรู้สึกหิวโหยและทรมานมาก”

    ท่านจึงได้กำหนดจิตหาความจริงว่า ไปยังไงมายังไง ก็พบว่านี่แหละคือการเดินในวัฏจักร ความดี ความชั่ว มันก็ย่อมเดินตามสายกรรมนี้ ท่านจึงมีความศรัทธาเชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงตรัสว่า “ทุกคนมีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งบุญทั้งบาป” ท่านรู้แจ้งเห็นจริงในไตรโลกธาตุ จึงได้นำมาสอนศิษย์ว่า เรื่องกรรมนี้มิใช่เรื่องเหลวไหล หรือเรื่องหาเหาเกาหมัด แต่เป็นเรื่องจริงเพราะท่านเป็นพระปฏิบัติบูชา ไม่มีความลังเลสงสัยแม้แต่น้อยเพราะท่านรู้แจ้งเห็นจริง ท่านจึงนำมาสอนลูกศิษย์ลูกหาของท่านให้เชื่อเรื่องบาป บุญ คุณ โทษ มีทั้งชาตินี้ชาติหน้า จึงสอนศิษย์ด้วยความไม่กินแหนงแครงใจ ไม่มีความสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น ท่านจึงเน้นลงในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ในส่วนตัวและส่วนรวม ดังพุทธสุภาษิตที่ว่า กิจที่ควรทำให้ทำเสียบัดนี้ เวลานี้เดี๋ยวนี้ ไม่ควรพลัดวันประกันพรุ่งในวันต่อๆ ไป เพราะเป็นการโกหกตัวเองเปล่าๆ ใครเล่าจะทราบได้ว่าความตายของเราจะมาถึงในวันพรุ่งนี้ อันพญามัจจุราชมีเสนาใหญ่จะติดตามเรา ในวันไหนใครจะทราบเล่า คำว่าเสนาน้อยใหญ่ของพญามัจจุราชนั้น เราจะขอเวลาสักนาทีเดียวก็ไม่ได้เทียว ตรงนี้ท่านได้เน้นหนักกับลูกศิษย์ลูกหาแทบทุกคืน สมัยท่านยังแข็งแรงสุขภาพดีอยู่ ท่านรับรองเรื่องไม่เป็นโมฆะ สำหรับลูกศิษย์ที่ปฏิบัติตามหลวงปู่ท่านสั่งสอน

    อีกเรื่องหนึ่งที่องค์หลวงปู่มหาบุญมี ได้เล่าถึงอดีตชาติของท่านว่า (เล่าในตอนดึก) “ท่านเคยเกิดในสมัยพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสโป ท่านได้ออกบวชตลอดชีวิต และได้ตั้งจิตอธิษฐานกำหนดว่า ขอให้สำเร็จกิจในพรหมจรรย์ ถ้าข้าพเจ้า (หมายถึงหลวงปู่) เกิดในภพใดชาติใด ขอให้ข้าพเจ้าได้พบพระพุทธศาสนาไปจนตลอด จนรู้แจ้งสัจธรรม ในกาลสมัยของพระสมณโคดมพระพุทธเจ้า..”

    คัดบางตอนมาจาก : หนังสือสิริธโรเถรานุสรณ์ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -หลว.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ย่าของผมเคยเล่าให้ฟังว่า ตอนปี พ.ศ.๒๕๒๒ ตอนเสกเหรียญหล่อ หรือเหรียญฉีด ปี ๒๕๒๒ หลวงปู่ได้สั่งให้นำกระมังมาตั้งไว้ แล้วนำวัตถุมงคลรุ่นนี้ทั้งหมด นำมาใส่รวมกันในกระมัง แล้วทำการอธิษฐานจิตโดย โดยให้ลูกศิษย์ที่มานั่งกรรมฐาน นั่งตามท่านบอกว่าจะนำไปเสกกับพระพุทธเจ้า เมื่อทำการนั่งไปสักพัก ย่าเล่าว่าได้ยินเสียง โลหะกระทบกัน ด้วยความสงสัยจึงลืมตาดู ปรากฏว่าเหรียญที่อยู่ในกระมังกระโดดลอยขึ้นมาสูงเสมอหน้าหลวงปู่ เหมือนหลวงปู่ท่านจะรู้เลยลืมตามองย่าผม และทำหน้าเหมือนกับจะบอกว่า ….อย่าเอ๊ะไป

    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg
    1514995055_659_ย่าของผมเคยเล่าให้ฟังว.jpg
    1514995055_435_ย่าของผมเคยเล่าให้ฟังว.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    *** วันที่ 4 มกราคม 2561 ครบรอบ 41 ปี แห่งการละสังขารของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ***

    ชุมนุมพุทธธรรมกรรมฐาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ขอกราบอภิวาทวันทาน้อมรำลึกถึงคุณสัมมาปฏิบัติของพ่อแม่ครูอาจารย์เหนือเศียรเกล้า สาธุๆๆ

    ๏ ประวัติย่อ ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ๏

    — ชาติภูมิ —

    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร นามเดิมของท่านชื่อ ฝั้น สุวรรณรงค์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ที่บ้านม่วงไข่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โยมบิดาของท่านชื่อ เจ้าไชยกุมาร (เม้า) มารดาของท่านชื่อนางนุ้ย หลวงปู่เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๘ คน

    — อุปสมบท —

    ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ท่านได้เข้าอุปสมบทที่วัดสิทธิบังคม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โดยมีพระครูป้องเป็นพระอุปัชฌาย์ สังกัดอยู่ในคณะมหานิกาย หลังอุปสมบทแล้ว พระภิกษุฝั้น อาจาโร ได้พักจำพรรษาอยู่กับพระอุปัชฌาย์ ที่วัดสิทธิบังคม พอออกพรรษาท่านได้ไปฝึกอบรมกรรมฐานกับท่านพระครูสกลสมณกิจ เจ้าอาวาสวัดโพนทอง ซึ่งพระครูสกลสมณกิจจะพาพระลูกวัดออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ หลายๆตำบลในถิ่นนั้น

    — ฟังธรรมจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต —

    ครั้นถึงเดือน ๓ ข้างขึ้น ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พร้อมด้วยภิกษุสามเณรหลายรูป ออกเที่ยววิเวกเดินธุดงค์รุกขมูลผ่านมาถึงบ้านม่วงไข่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ได้เข้าไปพักปักกลดในป่า อันเป็นบริเวณป่าช้าข้างบ้านม่วงไข่ ฝ่ายญาติโยมทางบ้านม่วงไข่ เมื่อทราบข่าวว่ามีพระธุดงค์มาพักปักกลดก็พากันดีใจ จึงได้กระจายข่าวให้รู้ถึงกันอย่างรวดเร็ว แล้วพากันออกไปต้อนรับจัดหาน้ำดื่มน้ำใช้ถวาย และคอยรับฟังธรรมะจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ต่อไป ในคราวนั้น ได้มีพระภิกษุไปร่วมฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่นด้วย คือ พระอาญาครูดี , พระภิกษุฝั้น อาจาโร , พระภิกษุกู่ ธัมมทินโน ท่านพระอาจารย์มั่นได้แสดงพระธรรมเทศนา เริ่มตั้งแต่การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา เมื่อแสดงจบลง พระอาญาครูดี , พระอาจารย์กู่ และ พระอาจารย์ฝั้น ต่างมีความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ได้พากันปวารณาตัวขอเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น รับเอาข้อวัตรปฏิบัติ ถือธุดงควัตรโดยเคร่งครัด และได้ขอติดสอยห้อยตามพระอาจารย์มั่นไปด้วย แต่พระอาจารย์มั่นได้ออกธุดงค์ล่วงหน้าไปก่อน ทำให้ท่านทั้งสามพลาดโอกาสในการออกเที่ยวธุดงค์และศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่น

    — พบหลวงปู่ดูลย์ อตุโล —

    ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เดินธุดงค์ตามหาหลวงปู่มั่นผ่านมาทาง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ชาวบ้านจึงได้ไปอาราธนานิมนต์ให้ท่านมาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านม่วงไข่ ซึ่งมีพระอาญาครูดีเป็นเจ้าอาวาส ทั้งเจ้าอาวาสและภิกษุสามเณรในวัดนั้นเห็นข้อวัตรปฏิปทาของหลวงปู่ดูลย์ ต่างพากันเคารพเลื่อมใสเป็นอันมาก ไม่เว้นแม้กระทั่งภิกษุฝั้น อาจาโร ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดใกล้เคียงกับวัดม่วงไข่แห่งนี้ ในเวลาต่อมาเมื่อหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ออกธุดงค์จากวัดม่วงไข่ไปปรากฏว่าพระเณรทั้งวัดรวมทั้งภิกษุฝั้น อาจาโร ก็ได้ออกธุดงค์ติดตามไปกับคณะด้วย พระเณรทุกรูปยอมสละทิ้งวัดให้เป็นวัดร้าง โดยมิได้สนใจต่อคำอ้อนวอนทัดทานของชาวบ้านเลย ปรากฏการณ์ครั้งนั้นถือเป็นการพลิกแผ่นดินของวัดม่วงไข่เลยทีเดียว

    — อยู่ปฏิบัติกับหลวงปู่มั่น —

    เมื่อออกพรรษาแล้วคณะพระภิกษุสามเณรที่มีหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นหัวหน้า ก็ได้พากันออกธุดงค์ติดตามไปจนพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่บ้านตาลโกน ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ณ ที่แห่งนี้ ทำให้ภิกษุฝั้น อาจาโร ได้ศึกษาธรรมจากท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น อย่างถึงใจ แล้วท่านได้ลาพระอาจารย์มั่น ไปกราบนมัสการพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ที่บ้านหนองดินดำ หลังจากนั้นท่านก็เดินทางไปกราบพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ที่บ้านหนองหวาย แล้วย้อนกลับมาอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นอีก

    — หลวงปู่มั่นหยั่งรู้ใจศิษย์ —

    ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้ออกธุดงค์ไปที่ประเทศลาวกับสามเณรรูปหนึ่ง มุ่งหน้าไปยังภูเขาควาย ซึ่งเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศลาว เป็นที่เลื่องลือว่าเป็นแดนอาถรรพ์ แต่ท่านไม่มีหนังสือสุทธิจึงเดินทางย้อนกลับมาฝั่งไทยกับสามเณร ตลอดทางเดินปรากฏรอยตะกุยของเสืออยู่บ่อยๆ ยิ่งตอนตะวันลับไม้ จะได้ยินเสียงเสือร้องคำรามเสียงก้องไปทั่วทั้งผืนป่า ชวนให้หวาดกลัวยิ่งนัก ท่านจึงได้อุทานสุภาษิตอีสานขึ้นมาข่มความกลัว ทำให้สามารถข่มความรู้สึกกลัวเสือลงได้ เมื่อหายจากอาการกลัวเสือแล้วท่านก็เดินทางไปได้ด้วยความปลอดโปร่ง เบากายเบาใจ เมื่อกลับมาถึงฝั่งไทยแล้วท่านได้ทราบข่าวว่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พำนักอยู่ที่บ้านนาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ท่านและสามเณรจึงรีบรุดไปนมัสการหลวงปู่มั่นโดยไม่รอช้า เพียงแต่พบหน้า ท่านพระอาจารย์มั่น ก็ได้เอ่ยขึ้นทันทีว่า “ท่านฝั้น กับสามเณรได้ผีกับเสือมาเป็นอาจารย์สอนน่ะดีแล้ว เขาสอนให้เรารู้เท่าทันจิตที่มันหลงผลิตความกลัวขึ้นมาหลอกตัวเอง อีกอย่างหนึ่งที่ท่านฝั้น ใช้ภาษิตมาพิจารณาเป็นอุบายอันแยบคายอย่างหนึ่ง ช่วยเตือนจิตเราให้รู้ตัวอยู่เสมอในขณะที่เราได้ยินเสียงเสือและนึกกลัวเสือนั้น ก็เป็นอุบายที่ชอบแล้ว” เมื่อหลวงปู่มั่นกล่าวจบลง พระอาจารย์ฝั้น และสามเณร ก็เกิดความอัศจรรย์ใจว่า “หลวงปู่มั่นท่านทราบได้อย่างไร ทั้งที่เพิ่งกลับมาถึง และยังไม่ได้กราบเรียนอะไรให้ท่านทราบเลย ช่างน่าอัศจรรย์ใจจริงหนอ”

    — ญัตติเป็นพระธรรมยุติ —

    หลังจากที่ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้กลับมาอยู่กับพระอาจารย์ใหญ่นานพอสมควรแล้ว ท่านก็ได้ออกธุดงค์ไปทาง อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร แต่ลำพังผู้เดียว ขณะที่ท่านกำลังเดินอยู่ ก็เหลือบไปเห็นหมากำลังแทะกระดูกควายที่ตายอยู่ในป่านอกหมู่บ้าน พอท่านเดินเข้าไปใกล้หมาก็ตกใจวิ่งหนี พอท่านเดินออกไปไกลหน่อยมันก็วิ่งกลับมาแทะกระดูกอีก เป็นอยู่เช่นนี้ถึง ๓ ครั้ง ท่านเห็นภาพเช่นนั้นก็เกิดความสลดใจ จึงยกเอาเรื่องหมาหวงกระดูกขึ้นมาพิจารณากับตัวท่านเองว่า “ เรานี้ก็มาหลงยึดถือหวงแหนท่อนกระดูกในตัวเอง ยิ่งกว่าหมาที่หวงแหนกระดูกควายนี้เป็นไหนๆ หมาที่มันแทะกระดูก มันยังได้กลืนน้ำลายของมันที่ได้ประสมกับรส กลิ่น ของกระดูกอยู่บ้าง แต่เราได้อะไรจากโครงกระดูกที่เราหวงแหนแบกหามอยู่ตลอดเวลา เราจำต้องรีบประกอบความเพียรอย่างหนัก ต่อสู้หัวเด็ดตีนขาดไม่ถอยหนี ” หลังจากนั้นท่านได้มุ่งหน้าไปหาหลวงปู่มั่น ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่มั่นพักอยู่ที่วัดมหาชัย จ.หนองบัวลำภู เมื่อไปถึง พอกราบหลวงปู่มั่นเสร็จ ท่านก็ต้องบังเกิดความอัศจรรย์ใจอีกครั้งหนึ่ง เมื่อหลวงปู่มั่นทักขึ้นว่า “ท่านฝั้น คราวก่อนได้ยินเสียงเสือร้องจิตใจถึงสงบ มาครั้งนี้ได้หมาแทะกระดูกเป็นอาจารย์อีกแล้วจึงมีสติรอบรู้ในอรรถในธรรม” พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้ตัดสินใจเข้ารับการญัตติเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๖๘ ณ วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ( จูม พันธุโล ) เป็นพระอุปัชฌาย์

    — พลังจิตหลวงปู่ฝั้น —

    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านเป็นพระที่มีพลังจิตแก่กล้ามาก ครั้งหนึ่งท่านส่งจิตไปพิจารณานกที่กำลังบินอยู่ ปรากฏว่านกนั้นตกลงมาต่อหน้าท่านทันที แม้แต่ท่านรำพึงกิ่งไม้ตายที่อยู่บนต้นไม้ เพียงครู่เดียวกิ่งไม้นั้นก็หล่นโครมลงมาต่อหน้าต่อตา และอีกครั้งหนึ่งท่านออกจากสมาธิ เห็นมดกำลังเดินทางเป็นสายอย่างขยันขันแข็ง ท่านจึงรำพึงในใจว่า “ เดินกันทั้งวันทั้งคืน ไม่หยุดพักบ้างหรือ ” ทันใดนั้นเองบรรดามดทั้งสายก็หยุดนิ่งทันที ท่านรู้สึกผิดที่ขัดขวางการทำมาหากินของมัน แล้วท่านก็บอกให้มดทำหน้าที่ของมันต่อไป ปรากฏว่ามดทั้งสายก็พากันเริ่มทำงานตามปกติ

    — เมตตาธรรมของหลวงปู่ —

    นับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นต้นมา หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านได้เดินทางไปๆมาๆระหว่างวัดป่าอุดมสมพร วัดป่าภูธรพิทักษ์ และวัดถ้ำขาม ไม่ว่าท่านจะไปพำนักอยู่ ณ สถานที่ใด บรรดาศรัทธาสาธุชนจะพากันไปกราบไหว้นมัสการท่านอย่างเนืองแน่น ทุกคนได้รับการต้อนรับจากท่านอย่างเสมอหน้า หลวงปู่ท่านเป็นนักสร้างคน สอนให้คนทำตัวเป็นคนดี สอนให้เลิกอบายมุข สอนให้เลิกประพฤติมิชอบทุกอย่าง ยิ่งนับวัน เมตตาบารมีธรรมของท่านยิ่งแผ่ขยายกว้างขวางออกไปทุกที ผู้คนจากทั่วสารทิศต่างหลั่งไหลมานมัสการท่านจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    — หลวงปู่มรณภาพ —

    เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๑๙ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ได้เดินทางเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ แต่อาการไม่ดีขึ้นท่านจึงขอเดินทางกลับวัดป่าอุดมสมพร จวบจนกระทั่งถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๐ ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง ผู้องอาจในธรรมะของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ละสังขารพ้นโลกนี้ไปแล้ว แต่คุณูปการคุณงามความดีของท่านยังสถิตอยู่ในดวงจิตดวงใจของผู้ศรัทธาสาธุชนอย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย

    -4-มกราคม-2561-ครบรอบ-41-ปี.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ทำทานแต่ไม่รักษาศีลไม่เจริญภาวนา
    ปราชญ์ท่านอุปมาเหมือน “คนหาปลา” แต่ภาชนะ คือ ถุงใส่ปลาก้นขาด ต่อให้หาปลาเก่งขนาดไหนก็ตามเถอะ ปลาย่อมไม่มีวันเต็มถุงได้เลย ฉันใดก็ฉันนั้น คนที่ทำบุญ(ทำทาน)แต่ไม่ละบาป(ไม่รักษาศีลไม่เจริญภาวนา) บารมีย่อมไม่มีวันเต็มได้เลย

    1515040748_902_ทำทานแต่ไม่รักษาศีลไม่.jpg

    ที่มา ธรรมะพระป่ากรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น
     
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ความดี ความชั่ว มันอยู่ที่การกระทำของเรา ถ้าเราทำความดีไว้ ต่อให้มันจะปีชงกี่ชง มันก็ไม่เกี่ยวกัน ส่วนบาปกรรมที่ทำใว้ก็ไปล้างไปกลบมันไม่ได้ ทำบาปแล้วมันก็ต้องส่งผลไม่ช้าก็เร็ว

    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    -ความชั่ว-มันอยู่ท.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ถ้าได้อบรมเมตตาให้มีประจำจิตใจ ก็จะเป็นอาหารใจที่วิเศษ เพราะเมื่อใจได้บริโภคเมตตาอยู่เสมอ จะเป็นจิตใจที่ระงับโทสะพยาบาท มีความสุขเย็นทำให้ร่างกายมีความสุขเย็นไปด้วย ได้ในคำว่า ทำใจให้สบาย ร่างกายก็สบาย แม้จะขาดวัตถุไปมากหรือน้อย ก็ไม่เป็นทุกข์

    สมเด็จพระญาณสังวรฯ

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ธุดงค์ถ้ำนายม

    …..ในพรรษาที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๔๗๗ ท่านจำพรรษาอยู่ ณ ถ้ำนายม จังหวัดเพชรบูรณ์ ถ้ำนี้เป็นถ้ำที่ปรากฏให้ท่านเห็นในนิมิต ตั้งแต่ท่านยังอยู่ที่วัดป่าบ้านเหล่างา จังหวัดนครราชสีมา กับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม

    เมื่อท่านล่วงรู้อนาคตถึงถ้ำที่ท่านจะต้องไปอยู่ ท่านก็เดินทางจากนครราชสีมา บุกป่ามุ่งไปทางเพชรบูรณ์ เพื่อสืบหาถ้ำนายมที่เห็นในนิมิต

    ท่านเดินทางมากับผ้าขาวคนหนึ่ง เป็นคนบ้านนอก รักษาศีล ๘ ไปถึงเมืองเพชรบูรณ์ ถามหาถ้ำนายม แต่ก็ไม่มีผู้ใดรู้จัก

    จนสุดท้ายจึงมาพบเข้า เป็นถ้ำที่ซอกซอนอยู่ในป่าลึก จากบ้านชาวป่าที่ใกล้ที่สุด ต้องบุกป่าไม้ไผ่อันหนาทึบเข้าไปถึง ๕ กิโลเมตร จึงจะถึงถ้ำนายม

    ท่านเล่าว่า ตั้งแต่เห็นถ้ำมา ท่านไม่เคยเห็นถ้ำที่ไหนจะใหญ่โตและงดงามเท่าถ้ำนายมนี้ ภายในถ้ำมีบริเวณอันกว้างใหญ่ เป็นหลืบเขา เป็นชั้นช่องปล่องเปลว เพดานเป็นหินระย้าย้อยงดงาม

    บางตอนก็เลื่อมพรายระยิบระยับประดุจแก้วมุกดา แต่ละห้องคูหาล้วนใหญ่โตมโหฬาร ต่อเนื่องกันไปดุจท้องพระโรง และห้องหอในปราสาทราชวัง

    บางตอนที่แยกออกไปเป็นซอกเล็ก คูหาน้อย แม้จะขาดแสงดูทึบมืดมาก แต่ก็ไม่มีอับชื้น อากาศโปร่งเย็นสบาย มีลมพัดโกรกตลอดเวลา ชวนให้นั่งภาวนาเป็นอย่างมาก

    ท่านว่า เป็นถ้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีมด ไม่มีแมลงปรากฏ พระเณรหรือใครก็ตาม จะไปทำความสกปรกในนั้นไม่ได้เลย และถ้าขี้เกียจภาวนา เห็นแก่หลับแก่นอน ก็จะถูกปลุก ถูกเตือน ดึงแขน ดึงขา เพื่อไม่ให้ประมาทในการภาวนา

    ท่านบอกว่า พิจารณาแล้ว เคยเป็นถ้ำอยู่ใต้ทะเลมาก่อน จนเดี๋ยวนี้พื้นถ้ำก็ยังคงเป็นทรายทะเลอยู่ แต่ก็น่าประหลาด ดังที่กล่าวมาแล้ว ว่าแม้พื้นถ้ำจะเป็นทราย แต่มิได้มีมดมีแมลงเล็กน้อยอาศัยอยู่ในพื้นทราย

    ดังที่เคยพบในพื้นทรายแถบอื่นเลยสักตัวเดียว ดูราวกับมีผู้มาปัดกวาดทำความสะอาดให้ดูราบเรี่ยมเอี่ยมสำอางอยู่ตลอดเวลา

    บริเวณหน้าถ้ำ มีกระทะเหล็กใหญ่ ๆ หม้อ ไห มากมาย ถามดูก็ไม่ทราบว่าเป็นของใคร ชาวบ้านบอกว่า ได้ยินปู่ย่าตายายเล่าสืบ ๆ กันมาว่า เคยเห็นข้าวของเครื่องใช้เหล่านี้อยู่หน้าถ้ำนี้มานานนักหนาแล้ว

    เวลาชาวบ้านจะมีงานฉลองปีหนึ่ง ก็ได้ใช้ถ้วยชาม หม้อ ไห กระทะเหล่านี้ครั้งหนึ่ง ใช้แล้วก็เก็บล้างนำมาคืนที่หน้าถ้ำ วางไว้เฉยๆ ไม่ต้องเก็บงำซุกซ่อนอะไร ไม่มีใครกล้าไปฉกลัก ยึดเอามาเป็นสมบัติส่วนตัวสักราย

    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าโคกมน บ.โคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ฐานสโม-ธุดงค์.jpg
    1515046271_335_หลวงปู่ชอบ-ฐานสโม-ธุดงค์.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ”คนเรา มักเป็นบ้าหอบฟาง
    ตัวไม่หอบแต่ใจมันหอบ แบกไปหมด
    อะไรต่อมิอะไรเก็บมาคิด มานึกหมด
    …. สะสมอยู่คนเดียวนั่นแหละ
    ใครไม่ทุกข์เราก็เก็บมาทุกข์คนเดียว
    บ้าหอบฟางมันไม่มีอะไร มีแต่ฟางที่หอบไป
    มันหลงนึกว่าเป็นสมบัติล้ำค่า
    แต่ที่แท้ก็แค่ฟางเท่านั้นเอง…ต้องแก้ที่ใจ
    มันมี ก็ทำใจเหมือนไม่มี ปล่อยวางให้เป็น มันก็จะเย็นลง”

    โอวาทธรรมคำสอน
    ( หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ )

    ……สาธุธรรมอันประเสริฐ…..

    -มักเป็นบ้าหอบฟาง.jpg

    ที่มา ธรรมะพระป่ากรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น
     
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “..ผู้ปฏิบัติพระพุทธศาสนาแท้ จะแอบเอาแต่ความจำได้หมายรู้ที่ได้เคยท่องบ่นจำมาเป็นเครื่องบริสุทธิ์ของตนโดยฝ่ายเดียว แล้วเที่ยวกวาดต้อนให้คนเลื่อมใสเป็นนายกโฆษกเพื่อลาภและอามิส เป็นเจ้าหัวใจแล้วก็ใบลานเปล่าอยู่ดี ๆ กันนั้นเอง แต่ก็ยังดีอยู่ เพราะดีกว่าจำไม่ได้ ผู้เขียนน้อมมาเตือนตน เพราะตนยังไม่ดีพอ เพราะการอยากดียังมีอยู่ เพราะยังไม่อิ่ม มีความอยากดีออกหน้าอยู่ เพราะยังต้องการเดินทางไปหาเมืองอยู่คือเมืองพอ ถ้าจะเดินทางไปหาเมืองพอภายนอกด้วยฝีเท้าหรือยนต์ยานพาหนะแล้วกี่กัปกี่กัลป์ล้าน ๆ โกฏิ ๆ ไม่มีวันเดือนปีหรือขณะจะถึงได้ เพราะเมืองพอหรือเมืองไม่พอมันตั้งอยู่ที่เมืองใจแห่งเดียว เมืองนอกคือเมืองกิเลส เมืองในคือเมืองใจ แต่เมืองนอกคือเมืองกิเลสชอบไปเกย ไปพาด ไปตั้งเมืองอยู่รอบ ๆ เมืองใจ เมืองสนิมหรือไม่สนิมก็ตั้งอยู่ที่เมืองเหล็ก ถ้ามีเหล็กก็ต้องมีสนิม ถ้าไม่มีสนิมก็ไม่มีเหล็ก แต่เหล็กไม่ค่อยมีสนิม แต่เหล็กดีแท้ไม่มีสนิมเลย ใจก็โดยนัยเดียวกันนั้นแลนา
    แต่ใจที่มีผู้ยึดถือเอาเป็นเจ้าของหวงแหนอยู่ จะเป็นของไม่มีโทษย่อมไม่มีในโลกอดีต โลกอนาคต และโลกปัจจุบัน เมื่อใจไม่มีผู้ยึดถือเอาเป็นเจ้าของแล้ว ใจก็ย่อมเป็นโสดโดดเดี่ยว ย่อมไม่มีโทษใด ๆ และจะบัญญัติอดีต อนาคต ปัจจุบันใด ๆ ก็ไม่มีโทษไม่มีพิษอันใดแลนิจจังยั่งยืน…”

    หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ตอน…ตาผ้าขาวได้อนาคามีแล้ว

    …..ท่านกล่าวชมเชยผ้าขาวที่ไปอยู่ด้วยกับท่านมาก ว่าปฏิบัติธรรมบำเพ็ญเพียรได้อย่างน่าสรรเสริญ

    วันหนึ่งระหว่างนั่งภาวนา ท่านเห็นเทวดาองค์หนึ่งเหาะลอยมา แต่ผ่านท่านไปอย่างไม่สนใจ และไปกระซิบอะไรไม่ทราบใส่หูผ้าขาวนั้น

    พอเสร็จภาวนาแล้ว โยมผ้าขาวก็มาถามท่านว่า “ถึงขั้นอะไรแล้ว ?”
    ท่านก็เลยปรามว่า “อย่าไปยุ่งกับมันเลย ขั้นเคิ่นอะไรกัน เราภาวนาต่อไปเถอะ”

    ท่านอธิบายว่า ความจริง..โยมผ้าขาวผู้นั้นได้เป็นอนาคามีแล้ว ออกพรรษาแล้ว เมื่อท่านจะไปจากถ้ำนายม โยมผ้าขาวก็ยังดื่มด่ำในการภาวนามาก ไม่ยอมตามท่านไป ขออยู่ที่ถ้ำนายมต่อ พวกลูกหลานของแกเป็นห่วง อ้อนวอนให้ไป เพราะในนั้นอดอยากมาก ไม่มีอาหารกิน

    แต่โยมผ้าขาวก็ไม่ยอมกลับบ้านกับลูก ลูกชายลูกสาวจึงออกอุบายชวนให้ออกจากถ้ำไปดูห้วยซึ่งอยู่ใกล้ถ้ำ แล้วก็จับเอาตัวพ่อเฒ่ากลับไปบ้าน ผ้าขาวกลับบ้าน ก็ไม่สนใจงานการอะไร คงแต่ภาวนาและเดินจงกรมลูกเดียว

    หลวงปู่เล่าว่า แกเป็นอนาคาแล้ว กำหนดรู้วันตายล่วงหน้า และเมื่อถึงวันที่แกบอกล่วงหน้าไว้ว่าจะเป็นวันตาย ลูกหลานก็ว่า ไม่เห็นพ่อเฒ่าเจ็บไข้ได้ป่วยแต่อย่างไร คงเดินจงกรมเป็นปกติ

    แต่ในวันนั้นเอง ระหว่างเดินจงกรม แกตกนอกชาน ซี่โครงไปโดนล้อเกวียนหัก ตายตรงตามเวลาที่บอกลูกชายลูกสาวไว้พอดี

    ที่ถ้ำนายมนี้มีเทพมาก และมักจะอาราธนาให้ท่านแสดงธรรมโปรดพวกเขาเสมอ ชาวบ้านป่าที่อยู่ใกล้ถ้ำนายมที่สุดนั้น มีเพียงสองสามครอบครัว มีฐานะแบบหาเช้ากินค่ำ ที่พยายามถวายอาหารพระก็ด้วยใจเคารพเลื่อมใส

    แต่ความที่เขาเองก็ลำบากแทบไม่มีจะกิน ท่านจึงไม่ค่อยจะออกมาบิณฑบาตนัก เว้นสี่ซ้าห้าวันจึงจะออกมาบิณฑบาตสักหนหนึ่ง หรือบางทีการภาวนาดื่มด่ำมาก ท่านก็จะเว้นการบิณฑบาตนานมากขึ้น

    ทำสมาธิทั้งกลางวัน กลางคืน เวลา เช้า – สาย – บ่าย – เย็น มืดหรือสว่างแทบไม่มีความหมาย จิตสว่างโพลง ไม่มีกลางวัน ไม่มีกลางคืน

    จิตลงได้สนิทเต็มที่ถึงฐานสมาธิได้ครั้งละหลาย ๆ ชั่วโมง กว่าจะถอนขึ้นมา เมื่อถอนขึ้นมาแล้ว ก็พิจารณาด้านปัญญา จนกว่าปัญญาจะฟาดฟันกิเลสดับสิ้นลง เวลาเข้าสมาธินั้นประมาณแน่นอนไม่ได้

    ถ้าเป็นเวลากลางวัน ซึ่งอากาศมักจะร้อนสักหน่อย ก็จะอยู่ในราวสอง หรือ สาม หรือ สี่ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นเวลากลางคืน อากาศเย็นโปร่งสบาย ก็สี่ถึงห้าชั่วโมงเป็นประจำ

    แต่ก็บ่อยครั้งที่จิตอาจจะถอน ต่อเมื่อถึงเวลารุ่งเช้าสว่างแล้ว หลังจากทำสมาธิแล้ว เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ ท่านก็จะเดินจงกรมต่อไป

    จิตดื่มด่ำในธรรมที่ผุดขึ้น ธรรมก็แนบกับจิตไม่เสื่อมคลาย ท่านไม่ได้สนใจกับเวลาทีผ่านไป หรืออาหารที่ไม่ได้ตกถึงท้องเป็นวันๆ เป็นอาทิตย์ๆ

    ผ้าขาวที่อยู่ด้วย ท่านก็ไม่ได้ห่วงใยอาลัยอาหารเช่นเดียวกัน จึงต่างคนต่างทำความเพียรอย่างอุกฤษฎ์ ท่านเล่าให้ศิษย์ผู้หนึ่ง คือ พระอาจารย์บุญญฤทธิ์ ปัณฑิโต ฟังในภายหลังว่า

    ตอนที่ท่านนั่งภาวนา และเห็นเทวดาองค์หนึ่งเหาะผ่านท่านไปโดยไม่สนใจ แต่ไปกระซิบหูผ้าขาวนั้น ท่านรู้สึกอายใจอย่างบอกไม่ถูก

    “แหม…เราบวชมา ๑๐ ปี แล้วยังสู้เขาไม่ได้..ผ้าขาวนั้นได้อนาคามีแล้ว

    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าโคกมน บ.โคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ฐานสโม-ตอน-ตา.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ผม (หลวงปู่จันทา ถาวโร) อยู่กับครูบาอาจารย์ คือ หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านสอนอย่างไรก็ประพฤติอย่างนั้น ท่านว่าบาปก็บาปจริง จงละ ท่านว่าบุญก็บุญจริง ก็ประพฤติปฏิบัติ ท่านสอนให้ไม่ให้ห่วงอาลัยในชีวิตสังขาร อย่าเพิ่งยึดถือมากเกินไปนะ จะเป็นเครื่องผูกมัดให้หลงในภพชาติสังขาร ยึดถือเพียงแต่ว่าเป็นปัจจัย เครื่องอาศัยชั่วคราว ร่างกายนี้เป็นโรงงานใหญ่ เราคือใจเป็นเจ้าของ สำหรับที่จะทำงานหาผลรายได้ คือบุญกุศล มรรคผล ธรรมอันวิเศษ เกิดขึ้นจากโรงงานใหญ่นี้ทั้งนั้น

    ใฝ่ร้อนจะนอนเย็น ใฝ่เย็นจะเข็ญร้อน ภายหลังจะดิ้นตาย

    ท่านสอนบ่อยนะ นั่นแหละก็พิจารณาปัญหานี้ว่า….

    – ใฝ่ร้อนจะนอนเย็น โอ๋ …หมายความว่า ให้รีบประพฤติปฏิบัติ ทำคุณงามความดี อดนอนผ่อนอาหาร เผากิเลสให้เร่าร้อน ทั้งวันคืน ไม่หวั่นไหวต่อร้อนหนาวและหิวกระหาย ทีนี้เมื่อจิตสงบลงไปได้ขณิกะ ก็ดี อุปจาระก็ดีนะ หรือเจ็บไข้ได้ป่วยอะไรก็ดี ก็นอนเย็นสบาย หิวกระหายก็ไม่มีก็นอนเย็นสบายดี

    นี่แหละ จะนอนเย็น เมื่อความตายมาถึงก็นอนเย็น เย็นใจ แม้กายมันจะร้อนก็เรื่องของกาย แต่ใจนั้นมันเย็น ใจเย็นอยู่กับพุทโธ ธัมโม สังโฆ อยู่กับคุณงามความดี ที่ได้ทำไว้นั่นแหละ จึงเรียกว่า จิตเต อะสังกิลิฎเฐ สุคะติ ปาฎิกังขา เมื่อจิตฝึกฝนอบรมได้ดีแล้ว สุคติเป็นที่ไปเบื้องหน้า โดยไม่ต้องสงสัย

    – ใฝ่เย็นจะเข็ญร้อน ภายหลังจะดิ้นตาย เป็นผู้ประมาทอยู่นะ ประมาทไม่เร่งทำความเพียรนั่นแหละ ผลัดวันปันเวลาอยู่เสมอ ฉะนั้น เมื่อไฟร้อนมาถึงภายหลังจะดิ้นตายคือว่า ความเจ็บไข้ได้ป่วยมาถึงจะดิ้นตาย หรือเหตุเภทร้ายเกิดขึ้นเผชิญหน้า มีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นก็จะดิ้นตาย ไม่มีสติปัญญาแก้ตนออกจากของชั่วช้าลามกได้ นั่นแหละจะดิ้นตาย ฟังธรรมะบทบาทนี้แล้วก็พอใจ ตั้งใจทำความเพียรอยู่เป็นนิจ นี่เป็นธรรมที่หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านสอนอยู่เป็นนิจ….

    คัดลอกมาจาก :: หนังสือ ๘๐ ปี หลวงปู่จันทา ถาวโร

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -หลวงปู่จันทา-ถาวโร-อย.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “…การเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น จะเริ่มต้นโดยวิธีไหนก็ได้ เพราะผลมันเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว ที่ท่านสอนแนวปฏิบัติไว้หลายแนวนั้น เพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน จึงต้องมีวัตถุ สี แสงและคำบริกรรม เช่น พุทโธ อรหัง เป็นต้น เพื่อหาจุดใดจุดหนึ่งให้จิตรวมอยู่ก่อน เมื่อจิตรวม สงบ แล้วคำบริกรรมนั้นก็หลุดหายไปเอง แล้วก็ถึงรอยเดียวกัน รสเดียวกัน คือมี วิมุติ เป็นแก่น มี ปัญญา เป็นยิ่ง…”

    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...