ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรียนรู้..ธรรม

    ‘..เรื่องที่พูดกัน ก็พูดแต่เรื่องการปรุง
    แต่งของกิริยามารยาทของความ
    รู้สึกที่เป็นเพลิดเพลินเท่านั้น

    อย่าไปมองว่าคนนั้นดี คนนั้นเลว
    คนนั้นเกลียดเรา คนนั้นรักเรา ถ้าเรา
    มองในแง่อย่างนี้ เราจะหลงไปใน
    ทิศทางมืด..

    ถ้าเราวางความรู้สึกของเราในสภาพ
    ว่าเป็นสภาวะธาตุ สภาวะขันธ์มันเป็น
    กฎธรรมชาติแล้ว จะทำให้เรามี
    อารมณ์เป็นปกติ..ฯ’

    …ทุกข์มีเพราะยึด
    ทุกข์ยืดเพราะอยาก ทุกข์มากเพราะพลอย
    ทุกข์น้อยเพราะหยุด ทุกข์หลุดเพราะปล่อย

    …เรียนตรง ๆ ลงไปที่ตัวทุกข์
    ดูให้ถูกกรรมวิธีกี่กระสวน
    สกัดกั้นการปรุงแต่งแห่งกระบวน จิตปั่นป่วน สงบได้ทุกข์หายไป..ฯ’

    โอวาทธรรม
    พระราชภาวนาวิกรม (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) วัดหนองป่าพง

    -ธรรม.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    รู้จิตตน

    ปฏิบัติดี คือ อย่างไร .?เดี๋ยวนี้เราทำอะไรอยู่ เรามาปฏิบัติไม่ใช่หรือ * เราไม่ต้องคิดวุ่นวายส่งไปที่อื่น ไม่ต้องคิดไปสิ่งอื่น คิดเพื่อปฏิบัติเท่านั้นแหละ ให้มันตรงธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้นก็พอ มันหากเป็นเองหรอกสาวกของพระพุทธเจ้า * ทั้ง ๔ ข้อมารวมแห่งเดียวหมด ปฏิบัติดีแล้วก็ตรงเลย ไม่ต้องแวะเวียนไปหาสิ่งนั้นสิ่งนี้ ไปคิดไปข้อง คิดผูกพันนั่นนี่อะไรต่างๆ ไม่ต้องเกี่ยวข้องพัวพัน ไม่ผูก
    พันอะไรต่างๆ * ตรงต่ออุบายนั่นอุบายอันที่ว่าดี อันที่ว่าตรงนั่นแหละ ไม่ส่งออกไปข้างนอกแน่วแน่อยู่ในที่เดียว แน่วแน่อยู่ในสุปฏิปันโน สุปฏิปันโนไม่ต้องว่าก็ได้ *

    * ธรรมดาใจเป็นของอันเดียว ถ้าปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ก็อันเดียวกันนั่นแหละ ถ้าหากเราแน่วแน่ลงอันเดียวแล้วสิ่งอื่นไม่ต้องเอามากังวล มันอยู่อันเดียวแล้วนี่ * จิตมันอยู่อันเดียวนั่นแหละ ไม่ต้องอื่นไกลอะไรหรอก เรียกว่า ” สุปฏิปันโน ”

    * จิตมันเร็วที่สุด เราเข้าใจว่ามันมีหลายอย่าง แท้ที่จริงจิตอันเดียวนี่แหละ มันคิดโลภ คิดโกรธ คิดหลง คิดมัวเมาประมาท คิดเพลิดเพลินลุ่มหลง สารพัดทุกสิ่งทุกอย่าง มันอันเดียวกันแท้ๆ แต่มันเร็วที่สุด ท่านเปรียบเหมือนกับแมลงวันที่อยู่หน้าทั่ง ฆ้อนตีเปรียะลงไป เสียงฆ้อนถูกหน้าทั่งกับเสียงถูกแมลงวัน อะไรมันจะเร็วกว่ากัน มันถึงขนาดนั้น *

    ถ้าหากเราปฏิบัติตรงปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอย่างที่ว่านี้แล้ว จะเห็นจิตของเราเป็นของช้า คราวนี้ เห็นง่ายทีเดียว ไม่ใช่เร็วอย่างที่ท่านว่านั่น อันที่เร็วนั่น สติไม่ทันต่างหาก ครั้นสติตามทันแล้วเลยเป็นของช้ามาก เหมือนอยู่ในที่เดียว รู้จักว่าอยู่ในที่เดียว มันออกก็รู้ มันอยู่ก็เข้าใจ ความรู้อันนั้นแหละเรียกว่า ” ปัญญา ” ☆ รู้จิต รู้ตน เท่านี้นแหละเรียกว่า ปัญญา ไม่ต้องรู้มากมาย อย่างรู้นั่นรู้นี่ รู้เห็นเทวดา อินทร์ พรหม ภูตผีปีศาจ เห็นอะไรต่างๆ อูย! อย่างนั้นไม่ใช่ปัญญาหรอก ☆

    เอา!..ละภาวนา…
    ….
    ธรรมคำสอน
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ” บางคนเกิดมาไม่รู้จักศาสนา เพราะชาติก่อนเขามีนิสัยมาจากสัตว์เดรัจฉาน บางคนเกิดมาสร้างแต่ความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นเพราะชาติก่อนเขามีนิสัยมาจากนรกมาเกิด บางคนเกิดมารู้จักเสียสละ ทำบุญให้ทาน รักษา ศีล ภาวนา เพราะชาติก่อนเขามีนิสัยมาจากสวรรค์มาเกิด บางคนเกิดมายากจนเพราะชาติก่อนเขาไม่เคยคิดเสียสละทรัพย์สิน เงินทองข้าวของ ทำบุญให้ทานแก่ผู้อื่น กรรมจึงจำแนกความเป็นอยู่ของแต่ละคนให้มีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันไปต่างๆนานา ”

    ❖ โอวาทธรรมคำสอน ❖
    หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    วัดอรัญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    .jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ” อย่ากลัวเจ้ากรรมนายเวร แต่จงกลัวการกระทำของเรา เพราะไม่มีสิ่งใดมาทำอะไรเราได้ ถ้าเราไม่ได้ทำสิ่งนั้นมาก่อน แต่ถ้าเราทำไม่ดีขึ้นมา ขอให้เรากลัวไว้ให้มากๆ เพราะมันจะกลับมาหาเราแน่นอน ”

    ๏ โอวาทธรรมคำสอน ๏
    หลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม
    วัดกระดึงทอง อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์

    .jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ” การทำบุญ ถ้าพูดตรงๆ บุญก็คือความสุข บาปก็คือความทุกข์ บุญหมายถึงสภาพความสุข ความรื่นเริงพอใจในตนเอง อารมณ์ที่ชอบใจก็เป็นบุญ อารมณ์ที่ขัดใจก็เป็นบาป สวรรค์นรกมันไม่มีจริง แค่พูดตามกันไปเฉยๆ พูดตรงๆ ตามธรรมะของพระพุทธเจ้า สวรรค์กับนรก ก็คือ ทุกข์กับสุข ”

    ๏ โอวาทธรรมคำสอน ๏
    หลวงปู่สี สิริญาโณ
    วัดป่าศรีมงคล อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี

    -ถ้าพูดตรงๆ-บุญ.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ความสงบ..

    ‘…มีแต่ความมืดกับสว่าง มันเป็น
    อยู่อย่างนี้ ปีนั้นเดือนนี้ทางโลกเขา
    ใส่ชื่อสมมุติไปหมดอัตภาพร่างกาย
    ของเรานั้นมีแต่ชื่อเรียกไปหมด
    ถ้าเป็นขี้ก็เต็มตัวไปหมด ขี้หัวขี้
    กลากขี้ไคลสุดท้ายก็เป็นดินเป็นน้ำไป
    มาหลงของสมมุติใช้ตกแต่งตัวเอง
    พิจารณาเข้าไป แล้วก็แก้ไขเข้าไป จิตใจของเราให้มันรู้จริงเห็นจริง
    ให้จิตมันรวมดู นี่จิตของหมู่พวกมัน
    ไม่รวมสักที พอไปนั่งภาวนาก็มีแต่
    ปลงความคิดของตัวเองอยู่อย่าง
    นั้นนะเพราะอยากได้อันนั้น อยาก
    เห็นอันนี้ อยากเห็นกายทิพย์ อยาก
    เห็นหูทิพย์ไปนั่น โอ๊ย มันเกิน
    พระพุทธเจ้าท่านในตำราไม่มีนะที่
    ท่านบรรลุแต่กิเลสตัณหาก็ยังปลด
    เปลื้องออกจากใจไม่ได้ ยังมี
    ความร้อนความกังวลอยู่ในหัวใจอย่าง
    นั้นความร้อนมันก็เป็นกิเลส
    นั่นแหละ ความรัก ความชังนั้น
    ถ้าไม่มีมันก็ไม่ร้อนใจนะต้องแก้
    ให้มันถึงฐานของมันต้องพิจารณา
    ให้ถึงฐานของมัน ความสงบก็ให้
    มีเพียงพอ…

    …โดยมากครูบาอาจารย์ท่านฝึกครั้ง
    แรก มีแต่ฝึกให้เกิดความสงบเสีย
    ก่อน ถ้าจิตมันรวมลงได้แล้ว
    มันเป็นไปเองเลย ปัญญามันเกิดขึ้น
    เองเลยนั่นถึงจะเป็นวิปัสสนาเรา
    ไปคิดเองค้นเอง มันเลยเป็นสัญญาไป
    หมดนั่นแหละค้นก็ค้นไปกับสัญญา
    นั่นแหละ…

    ..ได้ยินมาจากครูบาอาจารย์อย่างนั้น
    ท่านเห็นอย่างนั้นที่จริงมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นนะ แต่จำเอามาจากสัญญา
    ของเราเอง แล้วก็พูดไปคิดไป
    ถ้าตัวจริงแท้ๆ ปัญญามันเกิดขึ้นกับ
    ตัวเราเองนะถึงจะเห็นตัวจริงนั่นแหละ ธรรมของพระพุทธเจ้า..ฯ’
    ….
    หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดป่าภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    วันเสาร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐ (ตรงกับวันพระขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓)

    เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาคือ วันคล้าย
    วันบรรลุธรรมของพระมหาโมคคัลลานะ พระมหาเถระเจ้าผู้เป็นพระอัครสาวกฝ่ายซ้าย ผู้เป็นเลิศในทางผู้มีอิทธิปาฏิหาริย์ จากวันบรรลุอมฤตธรรม จนถึงกาลสมัย
    ปัจจุบันนี้ ลุมาถึง ๒,๖๐๕ ปีแล้ว จึงขอน้อมนำ พระประวัติอรหันตสาวก พระมหาเถระเจ้า
    โมคคัลลานะ มาเผยแผ่เพื่อน้อมมาเป็น ธรรมานุสติ สังฆานุสติ จนถึงมรณานุสติ ให้ได้พิจารณากันนะครับ

    (ภาพบน: ถ้ำพระมหาโมคคัลลานะ เป็นด่าน
    แรกที่ต้องผ่านระหว่างทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ สาเหตุที่พระมหาโมคคัลลานเถร จำพรรษา
    ที่ถ้ำแรกนี้ เพราะต้องทำหน้าที่กลั่นกรองผู้จะ
    ขึ้นเขาไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื่องว่าองค์ท่านมีฤทธิ์มาก เกิดมีพวก
    เดียรถีร์คิดมิดีมิร้ายต่อพระบรมศาสดา ก็จะได้ป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ
    ภาพล่าง : สถูปบรรจุอัฐิธาตุของท่านพระมหา
    โมคคัลลานเถร ที่นาลันทา บ้านเกิดของท่าน)

    ⚫พระมหาโมคคัลลานะ
    พระอัครสาวกผู้เป็นเลิศในทางฤทธิ์

    พระมหาโมคคัลลานะ มีชื่อเดิมว่า โกลิตะ เป็นบุตรพราหมณ์ท้ายบ้านผู้หนึ่ง ซึ่งอยู่ไม่
    ห่างจากกรุงราชคฤห์ โกลิตมาณพเป็น
    เพื่อนสนิทกับอุปติสสมาณพ หรือ พระสารีบุตร ทั้งสองคนอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน
    เป็นบุตรแห่งสกุลผู้มั่งคั่งเหมือนกันเบื่อชีวิต
    การครองเรือนที่วุ่นวาย จึงพาบริวาร
    ไปขอบวชอยู่ในสำนักสัญชัยปริพพาชก
    เรียนลัทธิของสัญชัยได้หมด จนได้รับแต่งตั้ง
    ให้เป็นผู้ช่วยสอนหมู่ศิษย์ต่อไป ทั้งสอง
    มาณพยังไม่พอใจในคำสอนของ
    สัญชัยปริพาชก เพราะไม่ใช่แนวทางที่
    ตนต้องการ จึงตกลงกันที่จะแสวงหาอาจารย์
    ที่สามารถชี้แนะแนวทางที่ดีกว่านี้ หากใคร
    ได้โมกขธรรมก็ขอให้บอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง

    ● ได้ดวงตาเห็นธรรมและอุปสมบทเป็นภิกษุ
    เมื่ออุปติสสมาณพได้ไปพบพระอัสสชิในกรุงราชคฤห์ ได้ฟัง “พระคาถาเย ธัมมา” จากพระอัสสชิ ทำให้ได้ดวงตาเห็นธรรม คือ บรรลุโสดาบัน อุปติสสมาณพได้นำคำสอนของพระอัสสชิไปแจ้งให้โกลิตมาณพทราบ โกลิตมาณพก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นดียวกัน ทั้งสองมาณพได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวนาราม และได้ทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ได้ทรงอนุญาตให้อุปสมบทเป็นภิกษุ

    พระโมคคัลลานะ หลังจากอุปสมบทแล้ว ๗ วัน ได้ไปทำความเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แขวงมคธ เกิดความอ่อนใจนั่งโงกง่วงอยู่ พระบรมศาสดาเสด็จไปที่นั่น ทรงสั่งสอน และแสดงอุบายสำหรับระงับความง่วง ๘ ประการ คือ
    ๑. โมคคัลลานะ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไร ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธอควรทำในใจถึงสัญญานั้นให้มาก จะละความง่วงนั้นได้
    ๒. หากยังละไม่ได้ เธอควรตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้ฟังและได้เรียนมาแล้วด้วยใจของเธอเอง จะละความง่วงได้
    ๓. หากยังละไม่ได้ เธอควรสาธยายธรรมตามที่ตนได้ฟังและได้เรียนมาโดยพิสดาร จะละความง่วงได้
    ๔. หากยังละไม่ได้ เธอควรยอนหูทั้งสองข้างและลูบด้วยฝ่ามือ จะละความง่วงได้
    ๕. หากยังละไม่ได้ เธอควรลุกข้นยืน ลูบนัยน์ตาด้วยน้ำ เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ จะละความง่วงได้
    ๖. หากยังละไม่ได้ เธอควรทำในใจถึงอาโลกสัญญา คือความสำคัญในแสงสว่าง ตั้งความสำคัญว่ากลางวันไว้ในใจ ให้เหมือนกันทั้งกลางวันและกลางคืน มีจิตใจแจ่มใสไม่มีอะไรห่อหุ้ม ทำจิตอันมรแสงสว่างให้เกิด จะละความง่วงได้
    ๗. หากยังละไม่ได้ เธอควรอธิษฐานจงกรม กำหนดหมายว่าจะเดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีจิตไม่คิดไปภายนอก จะละความง่วงได้
    ๘. หากยังละไม่ได้ เธอควรสำเร็จสีหไสยาสน์ คือนอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ ตั้งใจว่าจะลุกขึ้น พอเธอตื่นแล้วควรรีบลุกขึ้น ด้วยการตั้งใจว่าจะไม่ประกอบสุขในการนอน จะไม่ประกอบสุขในการเอนหลัง จะไม่ประกอบสุขในการเคลิ้มหลับ

    ครั้นตรัสสอนอุบาย สำหรับระงับความง่วงอย่างนี้แล้ว ทรงสั่งสอนให้สำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักไม่ชูงวง (คือการถือตัว) เข้าไปสู้ตระกูล จักไม่พูดคำที่เป็นเหตุให้คนเถียงกัน เข้าใจผิดต่อกัน และตรัสสอนให้ยินดี
    ด้วยที่นั่งที่นอนอันเงียบสงัด และควรเป็น
    อยู่ตามลำพังสมณวิสัยได้เมื่อตรัสสอนอย่าง
    นี้แล้ว พระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า

    “โดยย่อข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่า
    น้อมไปแล้วในธรรมที่สิ้นตัณหา มีความ
    สำเร็จล่วงส่วนเกษมจากโยคะธรรม เป็นพรหมจารีบุคคลยิ่งกว่าผู้อื่น มีที่สุดกว่าผู้อื่น ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
    พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า
    “โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไดเสดับ
    แล้วว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
    เธอทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันวิเศษ ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงได้ เธอได้
    ประสบเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี เธอพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณา
    เห็นด้วยปัญญาเป็นเครื่องหน่าย เป็นเครื่องดับ เป็นเครื่องสละ คืนในเวทนาทั้งหลายนั้น
    เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่น ถือมั่น สิ่งอะไร ๆ ในโลกไม่มีความสะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้ด้วยตนเอง และทราบชัดว่า ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์
    ได้อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะทำอย่างนี้อีกมิได้มี ว่าโดยย่อข้อ
    ปฏิบัติเพียงเท่านี้แหละ ภิกษุได้ชื่อว่าน้อม
    ไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา”

    ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ปฏิบัติตาม
    โอวาท ที่พระบรมศาสดาตรัสสั่งสอน ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันนั้น

    ครั้นได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว พระมหาโมคคัลลานะได้เป็นกำลังสำคัญของพระบรมศาสดาในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ตามที่พระองค์ทรงดำริให้สำเร็จเพราะท่านเป็นผู้มีฤทธิ์มาก จึงได้รับการยกย่องจากสมเด็จพระบรมศาสดาว่า “เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางเป็นผู้มีฤทธิ์”
    พระมหาโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกผู้มีอภิญญา ซึ่งแปลว่าความรู้ยิ่งยวด อภิญญามี ๖ ประการ ดังนี้

    ๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น คนเดียวนิรมิตเป็นหลายคนได้ ล่องหนผ่านไปในวัตถุกั้นขวางอยู่ เช่น ฝา กำแพงได้ ดำดินคือไปใต้ดินได้ เดินบนน้ำ ดุจเดินบนพื้นดินได้ เหาะไปในอากาศได้

    ๒. ทิพพโสต มีหูทิพย์ ล่วงหูของสามัญมนุษย์ ฟังเสียง ๒ อย่างได้ คือทั้งเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ได้ ทั้งเสียงไกล ทั้งเสียงใกล้

    ๓. เจโตปริยญาณ กำหนดใจคนอื่นได้ รู้ได้ซึ่งใจของบุคคลอื่นอันบริสุทธิ์หรือเศร้าหมองอย่างไร

    ๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้ตั้งแต่ชาติหนึ่งสองชาติ จนตั้งหลายๆ กัป ว่าในชาติที่เท่านั้น ได้มีชื่อโคตร ผิวพรรณ มีอาหารอย่างนั้น ๆได้เสวยสุข ได้เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีอายุเท่านั้น ๆ จุติจากชาตินั้นแล้ว เกิดในชาติที่เท่านั้น ได้เป็นอย่างนั้น ๆ แล้วมาเกิดในชาตินี้

    ๕. ทิพพจักขุ มีตาทิพย์ มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า จุตูปปาตญาณ มีจักษุทิพย์ บริสุทธิ์ล่วงจักษุสามัญมนุษย์ เห็นเหล่าสัตว์กำลังจุติก็มี กำลังเกิดก็มี เลวก็มี ดีก็มี ผิวพรรณงามก็มี ผิวพรรณไม่งามก็มี ได้ดีก็มี ตกยากก็มี รู้ชัดว่าสัตว์เป็นไปตามกรรม

    ๖. อาสวักขยญาณ ทำให้อาสวะสิ้นไป รู้ชัดตามความจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข์สมุทัย นี้ทุกข์นิโรธ คามินีปฏิปทาเหล่านี้ อาสวะนี้เหตุเกิดอาสวะนี้ ความดับอาสวะนี้ ทางไปถึงความดับอาสวะ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้จิตพ้นแล้วจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ รู้ชัดว่าชาตินี้พ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กรณียะทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอันจะต้องทำเช่นนี้ไม่มีอีก

    อภิญญา ๕ ข้อแรก เป็นโลกิยอภิญญา ข้อ ๖ สุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา ผู้ที่จะบรรลุอรหันต์ จะต้องได้โลกุตตรอภิญญา คือ อาสวักขยญาณ ได้อภิฅญญา ๕ ข้อแรก ยังไม่บรรลุพระอรหันต์

    พระบรมศาสดา ทรงยกย่องพระมหาโมคคัลลานะว่าเป็นคู่พระอัครสาวก คู่กันกับพระสารีบุตรในการอุปการะภิกษุผู้เข้ามาบวชในพระธรรมวินัยว่า “สารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ยังบุตรให้เกิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องบน ที่สูงกว่านั้น”

    ด้วยเหตุนี้จึงมีคำยกย่องว่าพระสารีบุตร
    เป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา พระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกฝ่ายซ้าย พระธรรมเทศนา ของพระโมคคัลลานะไม่ค่อยจะมีที่เป็นโอวาทให้แก่ภิกษุสงฆ์มีเพียงแต่อนุมานสูตร ซึ่งว่าด้วยธรรมินทำให้คนเป็นผู้ว่ายากหรือง่าย ในมัฌิมนิกายกล่าวว่า ท่านพระโมคคัลลานะ
    เข้าใจในนวกรรมคือการก่อสร้าง เพราะฉะนั้น
    เมื่อนางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างบุพพาราม ในเมืองสาวัตถี พระบรมศาสดารับสั่งให้ท่าน
    เป็นนวกัมมาธิฏฐายี คือผู้ควบคุมการก่อสร้าง

    ⚫ ปราบนันโทปนันทะนาคราช
    ในคาถาพาหุง บทที่ ๗
    มีข้อความเป็นภาษาบาลี และคำแปลเป็น
    ไทยมีใจความว่า “พระจอมมุนี ทรงโปรดให้
    พระมหาโมคคัลลานะเถระพุทธชิโนรส (นิรมิตกายเป็นนาคราช) ไปทรมานพระยา
    นาคราชชื่อนันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีอันให้อุปเท่ห์แห่งฤทธิ์
    แก่พระเถระ ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงเกิดมี
    แก่ท่านด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น”

    พระพุทธชัยมงคลในบทนี้ กล่าวถึงพระผู้
    มีพระภาคทรงมีชัยแก่นันโทปนันทะนาคราช ซึ่งมีเรื่องดังนี้

    ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี เช้าวันหนึ่งก่อนที่พระผู้มีพระภาค
    จะเสด็จไปรับภัตตาหารที่บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาค
    ทรงตรวจดูสัตว์โลก ก็ทรงเห็นนันโทปนันทะ
    นาคราชปรากฏอยู่ในข่ายพระญาณ
    ในตอนเช้าพระผู้มีพระภาคตรัสสั่ง
    พระอานนท์ให้บอกสงฆ์ทราบว่า พระองค์
    จะเสด็จไปเทวโลก และได้ทรงพาพระสาวก
    ผู้มีอภิญญาเหาะไปยังเทวโลก

    นันโทปนันทะนาคราชเห็นพระผู้มีพระภาคและพระสาวกเหาะมาก็โกรธ โดยถือว่าตน
    เป็นผู้มีอานุภาพมาก ถ้าสมณะเหล่านั้น
    เหาะข้ามไป ฝุ่นละอองที่ติดเท้าก็จะล่วง
    หล่นมาบนหัว จะต้องหาทางไม่ให้เหาะข้ามไป จึงเอาหางรัดเขาพระสุเมรุไว้ ๗ รอบและ
    บันดาลให้เป็นหมอกควันมืดมัวไปหมด
    มีสาวกหลายองค์ทูลอาสาที่จะปราบพระยานาค แต่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต ครั้นเมื่อพระมหาโมคคัลลานะทูลอาสา พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาต พร้อมทั้งทรงให้
    พรให้มีชัยชนะแก่พระยานาคพระมหา
    โมคคัลลานะได้เนรมิตกายเป็นพระยานาคที่มี
    ร่างกายยาวใหญ่กว่าพระยานันโทปนันทะ
    ถึง ๒ เท่า แล้วรัดกายพระยานาคให้แน่น
    เข้ากับเขาพระสุเมรุมิให้เคลื่อนไหว

    ฝ่ายพระยานาคถูกนาคพระมหาโมคคัลลานะ
    รัดจนแทบกระดูกแตก ก็โกรธเกรี้ยวยิ่งนัก จึงพ่นพิษให้เป็นควันแผ่ไปโดยรอบ พระมหาโมคคัลลานะก็บันดาลให้ควันเกิดขึ้น
    มากยิ่งกว่า ปราบฤทธิ์ของพระยานาคนั้นเสีย พระยานาคจึงพ่นควันพิษเป็นเปลวไฟอันร้าย
    แรง พระมหาโมคคัลลานะก็เนรมิตไฟที่ร้อน
    แรงกว่าให้เกิดขึ้น ไฟของพระยานาคไม่อาจทำ
    อันตรายแก่พระมหาโมคคัลลานะได้ แต่ไฟ
    ที่พระมหาโมคคัลลานะเนรมิตขึ้นกลับรุมล้อม
    พระยานาคทั้งภายนอกภายในให้รุ่มร้อน
    กระสับกระส่ายเป็นกำลัง

    พระยานาคคิดว่าสมณะนี้ชื่อใด จึงมีฤทธิ์มากอย่างนี้ คิดแล้วก็ถามชื่อ พระมหาโมคคัลลานะก็บอกให้ทราบว่า เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระผู้มีพระภาค พระยานาคได้กล่าวว่า ท่านเป็นสมณะ
    เหตุใดจึงมาทำร้ายข้าพเจ้า การกระทำ
    ของท่านไม่สมควรแก่สมณะ พระมหาโมค
    คัลลานะได้ตอบว่าเราไม่ได้โกรธและลงโทษ
    ท่าน แต่ที่ทรมานท่านก็เพื่อจะช่วยท่าน
    ให้พ้นจากความเห็นผิดและพยศร้าย ให้ท่านอยู่ในทางตรงคืออริยมรรค

    ในที่สุดพระมหาโมคคัลลานะก็ได้ปราบนันโท
    ปนันทะนาคราชจนยอมจำนน พ้นจากการ
    เป็นมิจฉาทิฏฐิ รู้จักบาปบุญคุณโทษ เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระยานาค
    ได้กราบนมัสการพระผู้มีพระภาคและขอบูชา
    พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดไป พระผู้มี
    พระภาคได้ทรงประทานศีล ๕ ให้รักษา จากนั้น
    พระผู้มีพระภาคก็ได้พาพระสาวกไปเรือนของ
    อนาถบิณฑิกเศรษฐีเพื่อรับภัตตาหาร

    ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ปรินิพพาน
    ก่อนพระบรมศาสดา มีเรื่องเล่าว่า ครั้งเมื่อท่านพำนักอยู่ ณ ตำบลกาฬศิลา แคว้นมคธ พวกเดียรถีย์ปรึกษากันว่า บรรดาลาภสักการะ ทั้งหลายที่เกิดขึ้น
    แก่พระบรมศาสดาในครั้งนั้น ก็เพราะ
    อาศัยพระโมคคัลลานะ เพราะสามารถ
    นำข่าวในสวรรค์และนรกมาแจ้งแก่มนุษย์
    ชักนำให้ประชาชนเกิดความเลื่อมใส ถ้าพวกเรากำจัดพระมหาโมคคัลลานะเสีย
    ได้แล้ว ลัทธิของพวกเราก็จะเจริญรุ่งเรืองขึ้น ลาภสักการะต่าง ๆ ก็จะมาหาพวกเราหมด

    เมื่อปรึกษากันดังนั้นแล้วจึงจ้างโจรผู้ร้ายให้ลอบฆ่าพระมหาโมคคัลลานะ เมื่อโจรมา
    ท่านพระมหาโมคคัลลานะทราบเหตุนั้นจึงหนี
    ไปเสียสองครั้ง ครั้งที่สามท่านพิจารณา
    เห็นว่ากรรมตามทันจึงไม่หนี พวกโจร
    ผู้ร้ายจึงได้ทุบตีจนร่างกายแหลกเหลว ก็สำคัญว่าตายแล้ว จึงนำร่างท่าน ไปซ่อน
    ไว้ในพุ่มไม้แห่งหนึ่งแล้วพากันหนีไป ท่านพระมหาโมคคัลลานะยังไม่มรณะ เยียวยาอัตภาพให้หายด้วยกำลังฌานแล้วเข้า
    ไปเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดา แล้วทูลลา
    กลับปรินิพพาน ณ ที่เกิดเหตุ ในวันเดือนดับ เดือน ๑๒ หลังพระสารีบุตร ๑๕ วัน
    สมเด็จพระบรมศาสดาได้เสด็จไป
    ทำฌาปนกิจแล้วรับสั่งให้นำอัฐิธาตุมาก่อ
    เจดีย์บรรจุไว้ ณ ที่ใกล้ประตูวัดเวฬุวัน

    ⚫บุพพกรรมของพระมหาโมคคัลลานะปรากฏ
    ว่าประชาชนมีความสงสัยว่าเหตุใดพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นถึงพระอัครสาวกเบื้องซ้าย
    ผู้มีฤทธิ์จึงถูกโจรทุบตีอย่างทารุณ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าบุพพกรรมของ
    พระมหาโมคคัลลานะว่า ในอดีตชาตินาน
    มาแล้ว พระมหาโมคคัลลานะได้เกิดเป็น
    ชาวเมืองพาราณสี ทำหน้าที่เลี้ยงดูมารดา
    ผู้ทุพพลภาพเสียตา ต่อมาได้ภรรยาคนหนึ่ง และได้ยอมทำตามภรรยา นำมารดาไปทิ้งไว้
    ในป่า ทุบตีจนตาย พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า

    ‘..ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! โมคคัลลานะทำ
    กรรมประมาณเท่านี้ โทษในนรกหลายแสนปี
    ด้วยวิบากยังเหลืออยู่ จึงถูกทุบตีอย่างนั้นนั่น
    และละเอียดหมดถึงมรณะสิ้น ๑๐๐ อัตตภาพ..’

    -๔-กุมภาพันธ.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    *** ยอดปัจจัยถวายวัดต่างๆ ณ วันที่ 18 มีนาคม 2561 จำนวน 10,018.05 บาท ***

    ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยตามกำลังศรัทธา เพื่อสมทบถวายวัดต่างๆ ในโครงการธรรมะสัญจร ครั้งที่ 8 จำนวน 11 วัด จัดโดยชุมนุมพุทธธรรมกรรมฐาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในระหว่างวันที่ 6-8 เมษายน พ.ศ.2561 ณ จังหวัดอุบลราชธานี-สุรินทร์-บุรีรัมย์-นครราชสีมา (ปิดยอดรับบริจาควันที่ 5 เมษายน 2561 เวลา 15.00 น.)

    1. วัดป่าศรีมงคล ต.โนนกาเล็น อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี (หลวงปู่สี สิริญาโณ)
    2. วัดแสงธรรมวังเขาเขียว ต.วังน้ำเขียว อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา (หลวงพ่อโสภา สมโณ)
    3. วัดป่าเขาภูหลวง ต.ระเริง อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา (หลวงปู่ไม อินทสิริ)
    4. วัดป่าทรัพย์ทวี ต.วังหมี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา (หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม)
    5. วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา (หลวงปู่เมตตาหลวง)
    6. สำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา (พระอาจารย์ชยสาโร)
    7. วัดถ้ำซับมืด จ.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา (หลวงปู่ทา จารุธัมโม , หลวงปู่สุพีร์ สุสัญญโม)
    8. วัดป่าภูหายหลง ต.วังกะทะ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา (หลวงพ่อประพันธ์ อนาวิโล)
    9. วัดเขาใหญ่เจริญธรรมญาณสัมปันโน ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา (หลวงปู่อุทัย สิริธโร)
    10. วัดกระดึงทอง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ (หลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม)
    11. วัดบูรพาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล , หลวงปู่สมศักดิ์ ปัณฑิโต)

    ➥ ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมทำบุญถวายวัดต่างๆในโครงการ จำนวน 11 วัด ได้ที่ : ธนาคารกรุงไทย สาขาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ประเภทออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 986-0-40617-0 ชื่อบัญชี นางสาวอิจฉราภรณ์ สินป้อง

    ➥ กำหนดการจัดโครงการ : https://www.facebook.com/1376384156...384156019597/2008643056127034/?type=3&theater

    ➥ สอบถามรายละเอียด โทร. 086-4017809 , 063-5082286

    1521377346_437_ยอดปัจจัยถวายวัดต่างๆ.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ธรรมมารมณ์

    ‘…เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สามอย่างนี้ชื่อว่า
    ธรรมมารมณ์เช่น เราได้เสวยเวทนาที่
    เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ไว้และเวทนา
    เหล่านั้นดับไปแล้ว นึกขึ้นจำได้
    อย่างนี้ชื่อว่าความจำเวทนา

    หรือเราเคยท่องบ่นอะไรๆ จะจำได้
    มากก็ตาม หรือจำได้น้อยก็ตาม
    เมื่อความจำเหล่านั้นดับไป พอนึกขึ้น
    ถึงความจำเก่าก็มาเป็นสัญญาปัจจุบันขึ้น อย่างนี้เรียกว่า ความจำสัญญา

    หรือเราคิดนึกเรื่องอะไรๆ ขึ้นเองด้วยใจ เมื่อความคิด
    เหล่านั้นดับไป พอเรานึกถึงเรื่อง
    ที่เคยคิดไว้นั้น ก็จำเรื่องนั้นได้ นี่เรียกว่าความจำสังขารขันธ์

    ความจำเรื่องราวของเวทนา สัญญา สังขาร เหล่านี้แหละชื่อว่า ธรรมสัญญา ความจำธรรมมารมณ์

    …เมื่อความจำธรรมมารมณ์มาปรากฏขึ้นในใจ เป็นความเกิดขึ้นแห่งธรรม
    สัญญาเมื่อความจำธรรมมารมณ์เหล่า
    นั้นดับหายไปจากใจ เป็นความดับไป
    แห่งธรรมสัญญา..ฯ’
    ……
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    พระอรหันต์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    ท่านพระอาจารย์เล่าว่า

    ‘… พระอริยบุคคลในยุครัชกาลที่ 4 คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ
    วโรรส ซึ่งเป็นพระโอรสของรัชกาลที่4 นั้นเอง เป็นองค์แรก

    ท่านเป็นพระอริยบุคคลโสดาบัน ตั้งแต่ครั้ง
    พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่กรุงราชคฤห์ เทศนา
    โปรดพระเจ้าพิมพิสาร พระสหาย เพื่อปลด
    เปลื้องคำปฏิญญาที่พระพุทธเจ้าได้ให้ไว้
    เมื่อเสด็จออกผนวชครั้งแรก

    (พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงพบพระโพธิสัตว์
    สิทธัตถะเมื่อทรงออกผนวชแล้ว และได้ตรัส
    ปฏิญญาว่า..”ถ้าพระองค์ได้สำเร็จเป็น
    พระพุทธเจ้าแล้ว ขอจงเสด็จมาที่แว่นแคว้นของ
    หม่อมฉันก่อน” พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงรับ
    ปฏิญญาของพระเจ้าพิมพิสารไว้ -ภิเนษกรมณ์)

    พระชาติปัจจุบันของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เป็นชาติที่ 7 ชาติสุดท้าย ทรงแตกฉานใน
    จตุปฏิสัมภิทาญาณ อย่างสมบูรณ์แบบในยุคนี้

    ท่านพระอาจารย์ยกตัวอย่าง ความสามารถ
    ที่ไม่มีใครเทียบสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ว่า แต่ก่อนพวกบัณฑิตที่เรียนบาลี คือ มูลกัจจายน์คัมภีร์ สนธิ-นาม ต้องเรียนถึง 3 ปี จึงแปลบาลีออก สมเด็จฯ ทรงรจนาบาลี
    ไวยกรณ์ให้กุลบุตรเล่าเรียน ในปัจจุบัน 3 เดือน ก็แปลหนังสือบาลีออก นั่นอัศจรรย์ไหมท่าน

    ท่านพระอาจารย์เล่าต่อไปว่า เมื่อสมเด็จ
    พระมหาสมณเจ้าฯ ทรงรจนาวินัยมุขเล่ม 1 หลักสูตรนักธรรมตรี จิตของพระองค์
    กำหนดวิปัสสนาญาณ 3 ที่กล่าวมาแล้ว คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ ได้บรรลุชั้นสกิทาคามี

    ต่อมาพระองค์เสด็จประพาสสวนหลวง เมืองเพชรบุรี ทรงรจนาธรรมวิจารณ์ พระหฤทัยของพระองค์ก็บรรลุพระอนาคามี

    พระองค์ทรงมีภาระมาก ดูจะทรง
    รีบเร่งเพื่อจัดการศึกษาและปฏิบัติสืบต่อ
    อายุพระพุทธศาสนา ประกอบกับสุขภาพ
    ของพระองค์ ก็อย่างที่พวกเราเห็นใน
    พระฉายาลักษณ์นั้นเอง ดูจะทรงงานมาก
    ผอมไป และยุคนั้นการแพทย์ก็ไม่เจริญ แต่พระองค์ก็บำเพ็ญกรณียกิจ จนเข้ารูปเข้ารอย จนพวกเราสามารถจะประสานต่อไปได้ พระองค์ทรงพิจารณาเห็นสังขารของพระองค์ ว่าไปไม่ไหวแล้ว จึงเร่งวิปัสสนาญาณ สำเร็จพระอรหันต์เข้าสู่พระนิพพาน

    ..นี่คือคำบอกเล่าของท่านพระอาจารย์มั่น
    ที่ผู้เล่าได้ฟังมา..’
    …..
    หนังสือ “รำลึกวันวาน”
    อันเป็นบันทึกของ หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ เกี่ยวกับเกร็ดประวัติและปกิณกธรรมของ
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ..ทุกชีวิตที่เกิดมา ล้วนมาจากกรรม ในอดีตของตนทั้งสิ้น และคนส่วนมากก็อยากรู้อดีต เพื่อแก้กรรม ซึ่งกรรมในอดีต ไม่ว่าดีหรือชั่ว บุญหรือบาป มันสำเร็จบริบูรณ์แล้ว ไม่มีทางหรือมิติใดๆจะย้อนเวลากลับไปแก้ไขกรรมนั้นได้ พุทธองค์ให้เราอยู่กับปัจจุบันขณะ เราทำอะไรอยู่ @ ีหรือชั่ว ใช้สติเป็นเครื่องมือ ใช้ศีลเป็นคู่มือว่า การกระทำใดๆดีหรือชั่ว…
    หากถูกศีล ถูกธรรมก็เป็น กุศล
    หากละเมิดศีล ละเมิดธรรม ก็เป็น อกุศล
    ปรับจิตให้อยู่ใน สัมมาทิฏฐิ นรกมี สวรรค์มี บุญมี บาปมี โลกนี้มี โลกหน้ามี ปฏิบัติตนให้เข้าสู่อริยบุคคล ๘ ได้แก่ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และอรหันต์ ในบั้นปลาย …..
    …. ินวโรวาท….

    -ล้วน.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    รู้จักพอ..!

    ‘…ธรรมชาติของคนที่มีปัญญา
    กับคนไม่มีปัญญามันก็ต่างกัน คนหนึ่งรู้จักทุกข์ อีกคนหนึ่งไม่รู้
    จักทุกข์ เหมือนกับคนที่วิ่งหาเงินจน
    เฒ่าจนแก่นี้แหละ…

    .. ถ้าคนที่รู้จักแล้วไม่ต้องวิ่งมาก ถ้าว่าพอใช้แล้วก็เอาแค่นี้แหละ ตายแล้วไม่ได้หาบหามเอาเงินไปได้
    ด้วยหรอกนะ ถ้าเขารู้เรื่องอย่างนี้ เขาก็เลยจะหาแต่พอใช้เท่านั้น..ฯ’
    ….
    หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๐

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เบื้องแรกของการปฏิบัติภาวนา โดย ท่านพระอาจารย์ชา สุภทฺโท

    “จงหายใจเข้า หายใจออก อยู่อย่างนี้แหละ อย่าใส่ใจกับอะไรทั้งนั้น อยู่แต่กับลมหายใจ เข้า-ออก ให้ความรู้สึกกำหนดอยู่กับลมหายใจ..ไม่ไปเอาอะไรอื่น ไม่ต้องคิดว่าจะเอานั่นเอานี่ ไม่เอาอะไรทั้งนั้น ให้รู้จักแต่ลมเข้า ลมออก อยู่กับลมหายใจอย่างนี้แหละ เอาอันนี้เป็นอารมณ์

    ลมเข้าก็รู้จักลมออกก็รู้จัก ให้รู้จักอย่างนี้จนจิตสงบหมดความรำคาญ ไม่ฟุ้งซ่านไปไหนทั้งสิ้น ให้มีแต่ลมออก ลมเข้า ลมออก ลมเข้า อยู่เท่านั้น ให้มันเป็นอยู่อย่างนี้ ยังไม่ต้องมีจุดหมายอะไร นี่แหละเบื้องแรกของการปฏิบัติ

    ถ้ามันสบาย ถ้ามันสงบ มันก็จะรู้จักของมันเอง ทำไปเรื่อยๆ ลมก็จะน้อยลง อ่อนลง กายก็อ่อน จิตก็อ่อน มันเป็นไปตามเรื่องของมันเอง นั่งก็สบาย ไม่ง่วง ไม่โงก ไม่หาวนอน จะเป็นอย่างใด ดูมันคล่องของมันเองไป ทุกอย่างนิ่ง สงบ

    สิ่งที่ติดตามเรา เรียกว่า สติ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว เราจะพูดอะไร จะทำอะไร ก็ให้รู้จักเรื่องของมัน ให้มีสติอยู่เสมอ

    เดินจงกรมมันก็เหมือนกับทำสมาธิ ให้กำหนดความรู้สึกขึ้นในใจว่า ” บัดนี้ เราจะทำความเพียร จะทำจิตให้สงบ มีสติสัมปชัญญะให้กล้า”

    การกำหนดก็แล้วแต่ แต่ละคน ตามใจ บางคนออกเดินก่อน ก็แผ่เมตตาสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง สารพัดอย่าง แล้วก็ก้าวเท้าขวาออกก่อนให้พอดี พอดี

    ให้นึก ” พุทโธ พุทโธ ” ตามก้าวเดินนั้น ให้มีความรู้ในอารมณ์นั้นไปเรื่อย

    ถ้าใจเกิดฟุ้งซ่าน หยุด ให้มันสงบ ก้าวเดินใหม่ ให้มีความรู้ตัวอยู่เรื่อย

    นี่เป็นวิธีทำ กำหนดเดินจงกรม เดินจงกรมคือเดินกลับไป กลับมา เหมือนคนบ้า แต่หารู้ไม่ว่า การเดินจงกรมนี้ ทำให้เกิดปัญญานักละ

    เดินกลับไป กลับมา ถ้าเหนื่อยก็หยุด กำหนดจิตให้นิ่ง กำหนดลมหายใจให้สบาย เมื่อสบายพอควรแล้ว ก็ทำความรู้สึกกำหนดการเดินอีก

    แล้วอิริยาบถมันก็เปลี่ยนไปเองหรอก การยืน การเดิน การนั่ง การนอน มันเปลี่ยน คนเราจะนั่งรวดเดียวไม่ได้ ยืนอย่างเดียวไม่ได้ นอนอย่างเดียวไม่ได้ มันจะต้องอยู่ตามอิริยาบถเหล่านี้ ทำอิริยาบถทั้งสี่นี้ให้มีประโยชน์ ให้มีความรู้สึกตัว อยู่อย่างนี้ นี่คือ การทำ ทำไป ทำไป

    มันก็จะคิดของมันไปตามเรื่อง ใครจะว่าอะไรก็ช่าง ยกอยู่อย่างนั้นสองนาทีนะอย่าเผลอ ไม่ใช่ห้านาที พอสองนาทีก็เอามาตั้งไว้นี่ กำหนดอยู่อย่างนี้ เป็นเรื่องของการกระทำ

    จะดูลมหายใจเข้า-ออกก็เหมือนกัน ให้นั่งขาขวาทับขาซ้าย ให้ตัวตรง สูดลมหายใจเข้าไปให้เต็มที่ ให้หายใจลงไปให้หมดในท้อง สูดเข้าให้เต็ม แล้วปล่อยออกให้หมดปอด อย่าไปบังคับมัน

    ลมจะยาวแค่ไหน จะสั้นแค่ไหน จะค่อยแค่ไหนก็ช่างมัน ให้มันพอดี พอดีกับเรา

    นั่งดูลมเข้า ลมออก ให้สบายอยู่อย่างนั้น อย่าให้มันหลง ถ้าหลง หยุดดูว่ามันไปไหน มันจึงไม่ตามลม ให้หามันกลับมา ให้มันมาเล่นตามลมอยู่อย่างนั้นแหละ แล้วก็จะพบของดีสักวันหนึ่งหรอก

    ให้ทำอยู่อย่างนั้น ทำเหมือนกับว่า จะไม่ให้อะไร ไม่เกิดอะไร ไม่รู้ว่าใครมาทำ แต่ก็ทำอยู่เช่นนั้น

    นั่งเฉย ๆ บางครั้งก็จะนึกว่า ” จะนั่งเฝ้าดูมันทำไมนะ ลมนี่น่ะ ถึงไม่เฝ้า มันก็ออก เข้า ของมันอยู่แล้ว ”

    มันก็หาเรื่องคิดไปเรื่อย และมันเป็นความเห็นของคนเรียกว่า ” อาการของจิต ” ก็ช่างมัน พยายามทำไป ทำไป ให้มันสงบ

    เมื่อสงบแล้ว ลมจะน้อยลง ร่างกายก็อ่อนลง จิตก็อ่อนลง มันจะอยู่พอดีของมัน จนกระทั่งว่า นั่งเฉยๆ เหมือนไม่มีลมหายใจเข้า – ออก แต่มันก็ยังอยู่ได้

    ถึงตอนนี้ อย่าตื่น อย่าวิ่งหนี เพราะคิดว่า เราหยุดหายใจแล้ว นั่นแหละ มันสงบแล้ว ไม่ต้องทำอะไร นั่งเฉย ๆ ดูมันไปอย่างนั้นแหละ

    บางที่จะคิดว่า ” เอ เราหายใจหรือเปล่านี่ ” อย่างนี้ก็เหมือนกัน มันคิดไปอย่างนั้น แต่ อย่างไรก็ช่างมัน ปล่อยไปตามเรื่องของมัน ไม่ว่าจะเกิดความรู้สึกอะไรขึ้น ให้รู้มัน ดูมัน แต่อย่าไปหลงใหลกับมัน

    ทำไป ทำให้บ่อยๆ ไว้ ไม่ใช่เดินยอกแยก ยอกแยก คิดโน่น คิดนี่ เที่ยวเดียว แล้วเลิกขึ้นกุฏิ มองดูพื้นกระดาน ” เออ มันน่านอน ” ก็ลงนอนกรนครอกๆ อย่างนี้ ก็ไม่เห็นอะไรเท่านั้น

    ไม่ใจมาพูดบอกตัวเองว่า ” สงบ สงบ สงบ ” แล้วพอนั่งปุ๊บ ก็จะให้มันสงบเลย ครั้นมันไม่สงบอย่างที่คิด ก็เลิก ขี้เกียจ ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่มีวันได้สงบ แต่พูดมันง่าย หากทำแล้วมันยาก

    หาความสงบอย่างนี้ ใคร ๆ ก็อยากสงบด้วยกันทั้งนั้นแหละ แต่เราไม่ทันจะรู้จักมัน จะถาม จะพูดกันสักเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักขึ้นมาได้หรอก

    ฉะนั้นให้ทำ ให้ตามรู้จักให้ทันว่า กำหนดลมเข้า ออก กำหนดว่า ” พุทโธ พุทโธ ” เอาเท่านั้นแหละ ไม่ให้คิดไปไหนทั้งนั้น ในเวลานี้ ให้มีความรู้อยู่อย่างนี้ ทำอยู่อย่างนี้ ให้เรียนรู้อยู่อย่างนี้แหละ

    ให้ทำไป ทำไป อย่างนี้แหละ จะนึกว่า ” ทำอยู่นี้ ก็ไม่เห็นเป็นอะไรเลย ” ไม่เป็น ก็ให้ทำไป ไม่เห็น ก็ให้ทำไป ให้ทำไปอยู่นั่นแหละ แล้วเราจะรู้จักมัน

    เอาละนะ ทีนี้ลองทำดู ถ้าเรานั่งอย่างนี้ แล้วมันรู้เรื่อง ใจมันจะพอดี๊ พอดี พอจิตสงบแล้ว มันก็รู้เรื่องของมันเองดอก ต่อให้นั่งตลอดคืนจนสว่างก็ไม่รู้สึกว่านั่น เพราะมันเพลิน

    ฉะนั้น ให้ทำ อย่าหยุด อย่าปล่อยไปตามอารมณ์ให้ฝืนทำไป ถึงจะขี้คร้านก็ให้ทำ จะขยันก็ให้ทำ จะนั่งก็ทำ จะเดินก็ทำ

    เวลาจะนอนก็สอนมัน เวลาจะฉันจังหันก็สอนมัน ให้เป็นอย่างนี้ไปเรื่อย จะยืนก็ให้รู้สึก จะทำอะไรสารพัดอย่างก็ให้ทำอย่างนั้น

    อย่าไปมองดูผู้อื่น อย่าไปเอาเรื่องของผู้อื่น ให้เอาแต่เรื่องของตัวเองเท่านั้น

    การนั่งสมาธินั้น นั่งให้ตรง อย่าเงยหน้ามากไปอย่าก้มหน้าเกินไป เอาขนาดพอดี เหมือนพระพุทธรูปนั่นแหละ มันจึงสว่างไสวดี

    ครั้นจะเปลี่ยนอิริยาบถก็ให้อดทนจนสุดขีดเสียก่อนปวดก็ให้ปวดไป อย่าเพิ่งรีบเปลี่ยน อย่าคิดว่า ” บ๊ะไม่ไหวแล้วพักก่อนเถอะน่า ” อดทนมันจะปวดถึงขนาดก่อน พอมันถึงขนาดนั้นแล้วก็ให้ทนต่อไปอีก

    ทนไป ทนไป จนมันไม่มีแก่ใจจะว่า ” พุทโธ ” เมื่อไม่ว่า “พุทโธ” ก็เอาตรงที่มันเจ็บนั่นแหละมาแทน ” อุ๊ย เจ็บ เจ็บแท้ๆ หนอ ” เอาเจ็บนั่นมาเป็นอารมณ์แทน “พุทโธ” ก็ได้ กำหนดให้ติดต่อกันไปเรื่อย นั่งไปเรื่อย ดูซิว่าเมื่อปวดจนถึงที่สุดแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น

    พระพุทธเจ้าท่านว่า มันเจ็บเอง มันก็หายเอง ให้มันตายไป อย่าเลิก บางครั้งมันเหงื่อแตกเม็ดโป้ง ๆ เท่าเม็ดข้าวโพดไหลย้อยมาตามอก ” ถ้าครั้นทำจนมันได้ข้ามเวทนา อันหนึ่งแล้ว มันก็รู้เรื่องเท่านั้นแหละ ” ให้ค่อยทำไปเรื่อยๆ อย่าเร่งรัดตัวเองเกินไป ให้ค่อยทำไป ทำไป

    ฉันจังหันอยู่ก็ให้รู้จัก เมื่อเคี้ยวกลืนลงไปนะ มันลงไปถึงไหน อาหารที่แสลงโรค มันผิดหรือถูกกันธาตุขันธ์ ก็รู้จักหมด ฉันจังหันก็ลองกะดู ฉันไป ฉันไปกะดูว่าอีกสักห้าคำจะอิ่มก็ให้หยุดเสีย แล้วดื่มน้ำเข้าไปก็จะอิ่มพอดีลองทำดูซิว่า จะทำได้หรือไม่ แต่คนเรามันไม่เป็นอย่างพอจะอิ่มก็ว่า ” เดิมอีกสักห้าคำเถอะ ” มันว่าไปอย่างนั้น มันไม่รู้จักสอนตัวเองอย่างนี้

    พระพุทธเจ้าท่านให้ฉันไป กำหนดดูไป ถ้าพอ อีกสักห้าคำจะอิ่มก็หยุดดื่มน้ำเข้าไป มันก็จะพอดี จะไปเดิน ไปนั่ง มันก็ไม่หนักตัว ภาวนาก็ดีขึ้น แต่คนเราไม่อยากทำอย่างนั้น พออิ่มเต็มที่แล้ว ยังเติมเข้าไปอีกห้าคำ มันเป็นไปอย่างนั้น เรื่องของกิเลสตัญหากับเรื่องพระพุทธเจ้าสอนมันไปคนละทาง ถ้าตนที่ไม่ต้องการฝึกจริง ๆ แล้วก็จะทำไม่ได้ ขอให้เฝ้าดูตนเองไปเถิด

    เรื่องทำจิตนี้เป็นเรื่องแรก ท่านเรียกว่าทำกรรมฐาน เวลานั่งให้จิตมีอารมณ์เดียวเท่านั้น ให้อยู่กับลมเข้า ลมออก แล้วจิตก็จะค่อยๆ สงบไปเรื่อยๆ

    ถ้าจิตวุ่นวาย ก็จะมีหลายอารมณ์ เช่น พอนั่งปุ๊บโน่น คิดไปบ้านโน้น บ้างก็อยากกินก๋วยเตี๋ยว บวชใหม่ ๆ มันก็หิวนะ อยากกินข้าว กินน้ำ คิดไปทั่ว หิวโน่น อยากนี่ สารพัดอย่างนั่นแหละ มันเป็นบ้า จะเป็นก็ให้มันเป็นไป เอาชนะมันได้เมื่อไหร่ ก็หายเมื่อนั้น ให้ทำไปเถิด เคยเดินจงกรมบ้างไหม เป็นอย่างไร ขณะที่เดิน จิตระเจิดกระเจิงไปหรือ ก็หยุดมันซิ

    ทำให้มันรู้เรื่อง กลางวันก็ช่าง กลางคืนก็ตาม ให้ทำไป แม้จะมีเวลาสักสิบนาทีก็ทำ กำหนดทำไปเรื่อยๆ ให้ใจมันจดจ่อ ให้มีความรู้สึกอยู่เสมอ อยากจะพูดอะไร ก็อย่าพูด หรือกำลังพูดก็ให้หยุด ให้ทำอันนี้ให้ติตต่อกันไว้ เหมือนอย่างกับน้ำในขวดนี่แหละ ครั้งเรารินมันทีละน้อย ก็จะหยด นิด นิด นิด พอเราเร่งรินให้เร็วขึ้น มันก็จะไหลติดต่อเป็นสายน้ำเดียวกัน ไม่ขาดตอนเป็นหยดเหมือนเวลาที่เรารินทีละน้อย

    สติของเราก็เหมือนกัน ถ้าเราเร่งมันเข้ามา คือ ปฏิบัติให้สม่ำเสมอแล้ว มันก็จะติดต่อกันเป็นสายน้ำไม่เป็นน้ำหยด หมายความว่า ไม่ว่าเราจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ความรู้อันนี้มันไม่ขาดจากกัน มันจะไหลติดต่อกันเป็นสายน้ำ จะปฏิบัติจิตนี่ก็เป็นอย่างนั้น เดี๋ยวมันคิดนั่น คิดนี่ ฟุ้งซ่านไม่ติดต่อกัน มันจะคิดไปไหนก็ช่างมัน ให้เราพยายามทำให้เรื่อยเข้าไว้ แล้วมันจะเหมือนหยดแห่งน้ำ มันจะทำความห่างให้ถี่ ครั้นถี่เข้าๆ มันก็ติดกันเป็นสายน้ำ

    ทีนี้ความรู้ของเราก็จะเป็นความรู้รอบ จะยืนก็ตาม จะนั่งก็ตาม จะนอนก็ตาม จะเดินก็ตาม ไม่ว่าจะทำอะไรสารพัดอย่าง มันก็มีความรู้อันนี้รักษาอยู่

    ถ้ามัวแน่นั่งคอยดูว่ามันจะเป็นอย่างไรละก็ มันไม่ได้เรื่องหรอก แต่ให้ระวังด้วยนะว่า ตั้งใจมากเกินไปมันไม่เป็น ไม่ตั้งใจเลยก็ไม่เป็น

    แต่บางครั้งเราไม่ได้ตั้งใจว่าจะนั่งสมาธิหรอก เมื่อเสร็จงาน ก็นั่งทำจิตให้มันว่าง ๆ มันก็พอดีขึ้นมา ปั๊บ ดีเลย สงบ ง่ายอย่างนี้ก็มี ถ้าทำให้มันถูกเรื่อง ถ้าไม่ปฏิบัติ ผู้เรียนไม่ค่อยรู้ ถ้าปฏิบัติแล้วก็รู้ซึ้ง สิ่งที่เราเรียกมา แจ้งออก ชัดออก ให้พูดอยู่คนเดียว ดูจิตดูใจคล้ายๆ กับว่า จิตมันวางเป็นปกติจิต ถ้ามันเคลื่อนออกจากปกติ เช่น มันคิด มันนึกต่างๆ นั่นเป็นสังขาร สังขารนี้มันจะปรุงต่อไประวังให้ดี

    เมื่อลงนั่งสมาธิถ้าเกิดนิมิตต่างๆ เช่น เห็นนางฟ้า เป็นต้น นิมิตที่เกิดขึ้นอย่าอยากให้มันเกิด อย่าไม่อยากให้มันเกิด มันมาพิจารณา พิจารณาแล้วอย่าหลง ให้นึกว่ามันไม่ใช่ของเรา นี่ก็เป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตา เช่นกัน ถึงมันจะเป็นอยู่ก็อย่าเอาใจใส่มัน เมื่อมันยังไม่หาย ตั้งจิตใหม่ กำหนดลมหายใจมาก ๆ สิ่งเหล่านี่เป็นเพียงนิมิต คือของหลอกลวง

    ๑. ให้เราชอบ ๒. ให้เรารัก ๓. ให้เรากลัว

    นิมิตเป็นของหลอกลวงใจเรา มันไม่แน่นอน ถ้าเห็นแล้วอย่าไปหมายมัน ไม่ใช่ของเรา อย่าวิ่งตามนิมิต เห็นนิมิตให้ย้อนดูจิตเลย นิมิตนี้ให้ประโยชน์แก่คนมีปัญญา ให้โทษแก่คนไม่มีปัญญา ทำความเพียรไปจนเราไม่ตื่นเต้นในนิมิต ทีแรกเราตื่นของน่าดู มันก็อยากดู ความดีใจเกิดขึ้นมาอย่างนี้ก็หลง ไม่อยากให้มันดี มันก็ดี ไม่รู้จะทำอย่างไร ปฏิบัติไม่ถูกก็เป็นทุกข์ มันอยากดีใจก็ช่างมัน ให้เรารู้ความดีใจนั่นเองว่าความดีใจนี้ก็ผิดไม่แน่นอนเช่นกัน แก้มันอย่างนี้ อย่าไปแก้ว่า ” ไม่อยากให้มันดีใจ ทำไมจึงดีใจ ” นี่ผิดอยู่นะ ผิดอยู่กับของเหล่านี้ ผิดอยู่ใกล้ ๆ ไม่ได้ผิดอยู่ไกลหรอก อย่ากลัวนิมิต ไม่ต้องกลัว

    การปฏิบัตินั้น แม้จะนั่งเก้าอี้อยู่ก็ตามกำหนดได้เบื้องแรกไม่ต้องกำหนดมาก กำหนดลมหายใจเข้าออก หรือจะว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็ได้ แล้วกำหนดลมหายใจเข้าออก เมื่อกำหนด ให้มีความตั้งใจไว้ว่า การกำหนดลมนี้จะไม่บังคับ ถ้าเราจะลำบากกับลมหายใจแล้วยังไม่ถูก ดูเหมือนลมหายใจสั้นไป ยาวไป ค่อยไป แรงไป เดินลมไม่ถูก ไม่สบาย

    การนั่งสมาธินี่ สิ่งที่ไม่น่าผิดก็ผิดได้ เช่น เวลานั่งเราตั้งใจว่า ” เอาละ จะเอาให้มันแน่ ๆ ดูที ” เปล่า วันนั้นไม่ได้เรื่องเลย แต่คนเราชอบทำอย่างนั้น อาตมาเคยสังเกตมันเป็นของมันเอง เช่น บางคืนพอเริ่มนั่งก็นึกว่า ” เอาละ วันนี้อย่างน้อยตีหนึ่งจึงจะลุก ” คิดอย่างนี้ก็บาปแล้ว เพราะว่าไม่นานหรอก เวทนามันรุมเอาเกือบตาย มันดีเวลานั่งโดยไม่ต้องกะต้องเกณฑ์ ไม่มีที่จุดที่หมาย ทุ่มหนึ่ง สองทุ่ม สามทุ่ม ก็ช่างมัน นั่งไปเรื่อยๆ วางเฉยไว้ อย่าบังคับมัน อย่าไปหมายมั่น อย่าไปบังคับหัวใจว่า จะเอาให้มันแน่ ๆ มันก็ยิ่งไม่แน่ ให้เราวางใจสบาย ๆ หายใจก็ให้พอดี อย่าเอาสั้นเอายาว อย่าไปแต่งมัน กายก็ให้สบาย ทำเรื่อยไป ถ้าดีก็ให้รู้ว่าดี ถ้าไม่ดีก็ให้รู้ว่าไม่ดี อันนี้เป็นของสมมุติบัญญัติ ถึงจะดีจะชั่ว ก็เป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตาทั้งนั้น เป็นของไม่แน่นอน ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น อ่านคาถานี้ไว้ด้วย ถ้าทำได้อย่างนี้เรื่อยๆ ไป ปัญญาจะเกิดเอง

    ความยึดมั่นถือมั่นเป็นกิเลสจริงๆ เพราะวางจิตใจไม่ถูกบางคนนั้นเวลานั่งจุดธูปไว้ข้างหน้าคิดว่า ” ธูปดอกนี้ไหม้หมดจึงจะหยุด ” แล้วนั่งต่อไป พอนั่งไปได้ ๕ นาที ดูเหมือนนานตั้งชั่วโมง ลืมตามองดูธูป แหม ยังยาวเหลือเกิน หลับตานั่งต่อไปอีกแล้วก็ลืมตาดูธูป ไม่ได้เรื่องอะไรเลย อย่า อย่าไปทำ มันเหมือนกับจิตลิงเลยไม่ต้องทำอะไร นึกถึงแต่ธูปที่ปักไว้ข้างหน้าว่าจวนจะไหม้หมดหรือยังหนอนี่ มันเป็นอย่างนี้ เราอย่าไปหมาย นั่งไปยังไม่ถึงชั่วโมงต้องร้อนรนออกจากสมาธิ แล้วก็เกิดนิวรณ์ว่า ” แหม มันจะตายหรือยังกันน่า ว่าจะเอาให้มันแน่ มันก็ไม่แน่นอน ตั้งสัจจะไว้ก็ไม่ได้ดั่งตั้ง ” คิดทุกข์ใส่ตัวเอง ด่าตัวเอง พยาบาทตัวเอง ไม่มีคนพยาบาทก็เป็นทุกข์อีกนั่นแหละ ถ้าได้อธิษฐานแล้ว ต้องเอาให้มันรอดตายหรือตายโน่น อย่าไปหยุดมันจึงจะถูก เราค่อยทำค่อยไปเสียก่อน ไม่ต้องอธิษฐาน พยายามฝึกหัดไป บางครั้งจิตสงบ ความเจ็บปวด ทางร่างกายก็หยุด เรื่องปวดแข้งปวดขามันหายไปเอง

    การปฏิบัติอีกแบบหนึ่งนั่น เห็นอะไรก็ให้พิจารณาทำอะไรก็ให้พิจารณาทุกอย่าง อย่าทิ้งเรื่องภาวนา บางคนพอออกจากทำความเพียรแล้ว คิดว่าตัวหยุดแล้วพักแล้ว จึงหยุดกำหนด หยุดพิจารณาเสีย เราอย่าเอาอย่างนั้น

    การพิจารณาเข้าหาธรรมะนั้น ให้เราพิจารณาดูอาการเหตุผลต่างๆ นานา มันน้อยใหญ่ ดำขาว ดีชั่ว อารมณ์ทุกอย่างแหละ ถ้าคิดเรียกว่ามันคิด แล้วพิจารณาว่ามันก็เท่านั่นแหละ สิ่งเหล่านี้ตกอยู่ในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่าไปยึดมั่นถือมั่นเลย นี่แหละ”ป่าช้า”ของมัน ทิ้งมันใส่ลงตรงนี้จึงเป็นความจริง เรื่องการเห็นอนิจจังเป็นต้นนี้คือเรื่องไม่ให้ทุกข์ เป็นเรื่องพิจารณา เช่น เราได้ของดีมาก็ดีใจ ให้พิจารณาความดีเอาไว้ บางทีใช้ไปนาน ๆ เกิดไม่ชอบมันก็มี อยากเอาให้คนหรืออยากให้คนมาซื้อเอาไป ถ้าไม่มีใครมาซื้อก็อยากจะทิ้งไป เพราะเหตุไรจึงเป็นอย่างนี้ มันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันจึงเป็นอย่างนี้ ถ้าไม่ได้ขาย ไม่ได้ทิ้งก็เกิดทุกข์ขึ้นมา เรื่องนี้มันเป็นอย่างนี้ พอรู้จักเรื่องเดียวเท่านั้น จะมีอีกกี่เรื่องก็ช่าง เป็นอย่างนี้หมด เรียกว่าเห็นอันเดียวก็เห็นหมด บางทีรูปนี้หรือเสียงนี้ไม่ชอบ ไม่น่าฟัง ไม่พอใจก็ให้พิจารณาจำไว้ ต่อไปเราอาจจะชอบ อาจจะพอใจในของที่ไม่ชอบเมื่อก่อนนี้ก็มีมันเป็นได้เมื่อนึกรู้ชัดว่า ” อ้อ…สิ่งเหล่านี้ ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ” ทิ้งลงใส่นี่แหละ ก็เลยไม่เกิดความยึดมั่นในสิ่งที่ได้ดีมีเป็นต่างๆ เห็นเป็นอย่างเดียวกันให้เป็นธรรมะเกิดขึ้นเท่านั้น

    พยายามให้มีศีล ๕ กาย วาจาของเราพยายามให้เรียบร้อย พยายามดี ๆ เถอะ ค่อยทำค่อยไป การทำสมถะนี่อย่านึกว่าไปทำครั้งหนึ่งสองครั้งแล้วมันไม่สงบก็เลยหยุด ยังไม่ถูก ต้องทำนานอยู่นะ ทำไมจึงนาน ก็คิดดูสิ เราปล่อยมานี่กี่ปีแล้ว เราไม่ได้ทำ มันว่าไปทางโน้นก็วิ่งตามมัน มันว่าไปทางนี้ก็วิ่งตามมัน ทีนี้จะมาหยุดให้มันอยู่เท่านี้ เดือนสองเดือนจะให้มันนิ่ง มันก็ยังไม่พอ คิดดูเถิด เรื่องการทำจิตใจ ให้เราเข้าใจว่าสงบในเรื่อง สงบในอารมณ์ ทีแรกพอเกิดอารมณ์ ใจไม่สงบ ใจวุ่นวาย ทำไมจึงวุ่นวาย เพราะมีตัณหา ไม่อยากให้คิด ไม่อยากให้มีอารมณ์ ความไม่อยากนี่แหละตัวอยากคือ วิภาวตัณหา ยิ่งไม่อยากเท่าไรมันยิ่งชวนกันมา เราไม่อยาก ทำไมมันจึงมา ไม่อยากให้มันเป็น ทำไมมันเป็น นั่นแหละ ” เราอยากให้มันเป็น ” เพราะเราไม่รู้จักใจเจ้าของ ไม่อยากให้มันเป็น อยากให้มันสงบไม่อยากให้มันฟุ้ง นี่แหละความอยากทั้งแท่งละ ว่างมันเถอะ

    เราทำของเราไป เมื่อมีอารมณ์อะไรมา ก็ให้พิจารณามันไป เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทิ้งลงใส่สามขุมนี่เลย แล้วคิดไปพิจารณาไป เรื่องอารมณ์นั้น โดยมากเรามีแต่เรี่องคิด คิดตามอารมณ์ เรื่องคิดกับเรื่องปัญญามันคนละอย่าง มันพาไปอย่างนั้นก็คิดตามมันไป ถ้าเป็นเรื่องความคิดมันไม่หยุด แต่เรื่องปัญญาแล้วหยุด อยู่นิ่งไม่ไปไหน เราเป็นผู้รับรู้ไว้ เมื่ออารมณ์อันนั้นมา จะเป็นอย่างนี้ อย่างนั้น เรารู้ไว้ ๆ เมื่อถึงที่สุดแล้วก็ว่า เรื่องเหล่านี้มันไม่เป็นแก่นสารทั้งหมด เป็นเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งสิ้น ตัดบทมันเลย ทิ้งลงใส่ไตรลักษณ์เลย ครั้งนั่งต่อไปอีกมันก็เกิดขึ้นอีกเป็นมาอีก เราก็ดูมันไป สะกดรอยมันไป

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    คนเรานั้นขอให้เชื่อมั่นในการสร้างสมคุณงามความดี หมั่นสร้างบุญบารมีเป็นนิจศีล ทั้งทาน ศีล ภาวนา ให้เป็นเกราะแก้วคุ้มครองรักษาตนเอง เชื่อมั่น มั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เชื่อในคุณความดีของตนทำ เป็นคนมีศีล มีธรรมประจำกาย วาจา ใจ มีสติตั้งมั่นยอมรับในวิบากที่เผชิญ ไม่ใช่มีเรื่องมีปัญหาแล้วค่อยนึกถึงพระเจ้า วัดวายามอยู่เย็นเป็นปกติสุข ก็สร้างแต่บาปหาบทุกข์ใส่ตัวเอง ทำแต่เหตุไม่ดี แล้วเราจะถามหาความดี ความเจริญแก่ตนเองได้อย่างไร ในเมื่อเราทำเหตุไม่ตรงกับผล ทุกวันนี้ภพภูมิเรื่องวิญญาณ ก็ยังคงมี ดิรัจฉานวิชาก็ยังมี ถ้าเราไม่มีภูมิคุ้มกันในตัวเองแล้ว โอกาสที่จะโดนของพวกนี้ก็เป็นไปได้……..

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...