ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    มีสติอยู่กับลมหายใจเข้าออกอยู่เสมอแล้ว
    นิวรณ์และกิเลสทั้งหลาย
    ย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้

    โอวาทธรรม:ท่านพ่อลี ธัมมธโร

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    1f33b.png ความรู้ “บุพเพสันนิวาส” ของตนนี้ ถ้าไม่ใช่นักปฏิบัติจิตตภาวนา ซึ่งมีนิสัยในทางรู้เหตุการณ์ต่างๆ ก็ยากที่จะทราบได้

    1f33b.png แต่อย่างไรก็ตาม เราควรมีสติหักห้ามมันอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้มันพาไหลลงสู่ที่โสมมแบบน้ำล้นฝั่ง ไม่มีอะไรกั้นก็แล้วกัน

    1f33b.png ยังพอจะมีหวังครองตัวไปได้ ไม่จอดจมหล่มลึกลงในกลางทะเลแห่งความรัก อันไม่มีประมาณโดยถ่ายเดียว

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    -บุพเพสันนิวาส-ข.jpg

    ที่มา ธรรมะของพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    วันบูรพาจารย์ ภูริทัตตเถรานุสรณ์”

    ๓๑ มกราคม คือวันคล้ายวันประชุมเพลิง
    สรีระสังขารท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร พระบูรพาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกัมมัฏฐาน ครบ ๖๘ ปี ทุก ๆ วันที่ ๓๑ มกราคมนี้คณะ
    พระกัมมัฏฐานจะมารวมรำลึกอาจาริยบูชา
    คุณท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร ซึ่งเป็นปัจฉิมสถานที่
    ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ เวลา ๐๒.๒๓ น. ขณะมีอายุ ๘๐ ปี พรรษา ๕๖ ภายหลังจึงได้มีการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์
    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ตรงบริเวณ
    กุฏิที่องค์ท่านมรณภาพ และเมื่อวันอังคาร
    ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๓ ได้มีพิธี
    ประชุมเพลิงสรีระสังขารท่าน
    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งภายหลัง
    ได้มีการก่อสร้างพระอุโบสถ ในบริเวณ
    ที่ประชุมเพลิงนั่นเอง คณะสงฆ์ศิษยานุศิษย์ จึงได้กำหนดวันที่ ๓๑ มกราคมของทุก ๆ ปี
    เป็น “วันบูรพาจารย์”

    ในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ยังไม่มีพระมหาเถระรูปใดจะยิ่งใหญ่ด้วย
    วัตรปฏิบัติปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยศีลธรรม มีอำนาจจิตยิ่งใหญ่ครอบโลกธาตุ เป็นที่
    เคารพบูชาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ได้มากมายถึงเพียงนี้ พระอรหันต์ใน
    ประเทศไทย ล้วนเป็นศิษย์ของท่าน
    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แทบทั้งนั้น

    เดิมท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ปรารถนาพุทธภูมิ แต่ด้วยเห็นว่า
    จะเป็นการเนิ่นช้า จึงถอนความปรารถนานั้น มุ่งมั่นเป็นพระอรหันต์ในปัจจุบันชาติ ปี พ.ศ.๒๔๗๘ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต บรรลุธรรมชั้นสูงสุดที่ถ้ำดอกคำ ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว เชียงใหม่ จากนั้นธุดงค์ไปยังดอย
    นะโม ท่านได้พูดกับหลวงปู่ขาวว่า

    “ผมหมดงานที่จะทำแล้ว ก็อยู่สาน
    กระบุงตะกร้าพอช่วยเหลือพวกท่านและ
    ลูกหาได้บ้างเท่านั้น”

    ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ถือธุดงค์ ทรงผ้าบังสกุลตลอดชีวิต ออกธุดงค์
    ไปทางภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคเหนือ ข้ามไปลาว เขมร พม่า ได้แสวงหาวิเวก
    บำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ ชอบอยู่รุกขมูล
    ตามถ้ำ ตามราวป่าลึก ป่าช้า ป่าชัฏที่แจ้ง หุบเขา ซอกเขา ห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถ้ำ เรือนว่างทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้าง ทางฝั่งขวา
    แม่น้ำโขงบ้างอาศัยบิณฑบาตกับชาวป่าชาวเขา

    ปฏิปทาท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    “ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ คือ
    ๑. บังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมา ตราบจนกระทั่งถึง วัยชรา จึงได้พักผ่อน ให้คหบดีจีวรบ้างเพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
    ๒. บิณฑบาตกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารวัตร เที่ยวบิณฑบาต มาฉัน เป็นนิตย์ แม้อาพาธ ไปในละแวกบ้านไม่ได้ ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั่งอาพาธ ลุกไม่ได้ ในปัจฉิมสมัยจึงงดบิณฑบาต
    ๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาตร ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธหนักจึงงด
    ๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียว เป็นนิตย์ตลอดมา แม้ถึงอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยก็มิได้เลิกละ

    ปัจฉิมวัย

    ในวัยชรานับแต่ พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นต้นมาท่านหลวงปู่มั่นมาอยู่ที่จังหวัด
    สกลนคร เปลี่ยนอิริยาบถ ไปตามสถานที่วิเวกผาสุกวิหารหลายแห่ง
    คือ เสนาสนะป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง(ปัจจุบันเป็นอำเภอโคกศรีสุพรรณ ) บ้าง ศิษย์ผู้ใกล้ชิดได้บันทึกธรรมเทศนา
    ของท่านไว้และได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเผยแพร่
    แล้วให้ชื่อว่า “มุตโตทัย”

    ครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึงปีสุดท้ายแห่งชีวิต ตลอดเวลา ๘ ปีในวัยชรานี้ท่านได้เอาธุระอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ทางสมถวิปัสสนาเป็นอันมาก ได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์เป็นประจำวัน

    “..พิจารณาสังขารภายนอกว่า มีความเจริญขึ้นหรือเจริญลง สังขารมีอะไรใหม่หรือมีความเก่าแก่ชราหลุดไป พยายามเตรียมตัวเตรียมใจเสียแต่เวลาที่พอจะทำได้ ตายแล้วจะเสียการ ให้ท่องในใจอยู่เสมอว่าเรามีความ แก่-เจ็บ-ตาย อยู่ประจำตัวทั่วหน้ากัน..” โอวาทธรรมคำสอนพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    มาถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านมีอายุย่างเข้า ๘๐ ปี ท่านเริ่มอาพาธเป็นไข้ ศิษย์ผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ก็ได้เอาธุระรักษาพยาบาล ไปตามกำลังความสามารถ อาการอาพาธก็สงบไปบ้างเป็นครั้งคราวแต่แล้วก็กำเริบขึ้นอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยมา จนจวนออกพรรษา อาพาธก็กำเริบมากขึ้น ข่าวนี้ได้กระจายไปโดยรวดเร็ว พอออกพรรษา ศิษยานุศิษย์ผู้อยู่ใกล้ไกล ต่างก็ทยอยกันเข้ามา ปรนนิบัติ พยาบาล ได้เชิญหมอแผนปัจจุบันมาตรวจ และรักษาแล้วนำมาพักที่เสนาสนะป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคม เพื่อสะดวกแก่ผู้รักษา และศิษยานุศิษย์ที่จะมาเยี่ยมพยาบาล อาการอาพาธมีแต่ทรงกับทรุดลงโดยลำดับ

    วาระนิพพาน ณ วัดป่าสุทธาวาส

    หลังจากที่ท่านพักอาพาธที่วัดป่าบ้านกลางโนนภู่ ๑๑ วันแล้ว คณะศิษย์นุศิษย์ได้อาราธนาองค์หลวงปู่มั่นนอนในเปลพยาบาลแล้วนำท่านขึ้นรถเพื่อมาพัก ณ วัดป่าสุทธาวาส ออกเดินทางแต่เช้าจากพรรณานิคม ถึงวัดป่าสุทธาวาส สกลนคร เกือบ ๑๒ นาฬิกา เพราะทางหินลูกรังกลัวจะกระเทือนมาก ท่านฯ ก็หลับมาตลอด นำท่านฯ ขึ้นกุฏิ ศิษย์ผู้ใกล้ชิดก็มีท่านวัน ท่านหล้า ผู้จัดที่นอนให้ท่านฯ ได้ผินศีรษะไปทางทิศใต้ ปกติเวลานอนท่านฯ จะผินศีรษะไปทางทิศตะวันออก ด้วยความพะว้าพะวัง จึงพากันลืมคิดที่จะเปลี่ยนทิศทางศรีษะของท่านฯ

    เวลาประมาณ ๐๑.๐๐ น. เศษ ท่านฯ รู้สึกตัวตื่นตื่นขึ้นจากหลับ แล้วพูดออกเสียงได้แต่อือ ๆ แล้วก็โบกมือเป็นสัญญาณ แต่ไม่มีใครทราบว่าท่านฯ ประสงค์สิ่งใด มีสามเณรรูปหนึ่งอยู่ที่นั้น เห็นท่าอาการไม่ดี จึงให้สามเณรอีกรูปไปนิมนต์พระเถระทุกรูป มีเจ้าคุณจูม พระอาจารย์เทสก์ พระอาจารย์ฝั้น เป็นต้น มากันเต็มกุฏิ

    เท่าที่สังเกตดู ท่านใกล้จะละสังขารแล้ว แต่อยากจะผินศีรษะไปทางทิศตะวันออก ท่านพลิกตัวไปได้เล็กน้อย ท่านหล้า
    ( พระอาจารย์หล้า เขมปตฺโต ) คงเข้าใจ เลยเอาหมอนค่อย ๆ ผลักท่านไป ผู้เล่าประคองหมอนที่ท่านหนุน แต่ท่านรู้สึกเหนื่อยมาก จะเป็นการรบกวนท่านฯ ก็เลยหยุด ท่านฯ ก็เห็นจะหมดเรี่ยวแรง ขยับต่อไปไม่ได้ แล้วก็สงบนิ่ง ยังมีลมหายใจอยู่ แต่ต้องเงี่ยหูฟัง ท่านวันได้คลำชีพจรที่เท้า ชีพจรของท่านเต้นเร็วชนิดรัวเลย รัวจนสุดขีดแล้วก็ดับไปเฉย ๆ ด้วยอาการอันสงบ

    ท่านหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้เล่าถึงเหตุการณ์ในเวลานั้นไว้ใน “ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต” ไว้ว่า “… องค์ท่าน เบื้องต้นนอนสีหไสยาสน์ คือ นอนตะแคงข้างขวา แต่เห็นว่าท่านจะ
    เหนื่อยเลยค่อย ๆ ดึงหมอนที่หนุนอยู่ ข้างหลัง ท่านออกนิดหนึ่ง เลยกลายเป็นท่าน
    นอนหงายไป พอท่านรู้สึกก็พยายาม
    ขยับตัวกลับคืนท่าเดิม แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะหมดกำลัง พระอาจารย์ใหญ่
    ก็ช่วยขยับหมอนที่หนุนหลังท่านเข้าไป
    แต่ดูอาการท่านรู้สึกเหนื่อยมาก
    เลยต้องหยุด กลัวจะกระเทือน ท่านมากไป ดังนั้น การนอนท่านในวาระสุดท้าย
    จึงเป็นท่าหงายก็ไม่ใช่ ท่าตะแคงข้างขวา
    ก็ไม่เชิง เป็นเพียงท่าเอียงๆ อยู่เท่านั้น เพราะสุดวิสัย ที่จะแก้ไขได้อีก

    อาการท่านกำลังดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง บรรดาศิษย์ซึ่งโดยมากมีแต่พระกับเณร ฆราวาสมีน้อย ที่นั่งอาลัยอาวรณ์ ด้วยความหมดหวังอยู่ขณะนั้น ประหนึ่งลืมหายใจไปตาม ๆ กัน เพราะจิตพะว้าพะวังอยู่กับอาการท่าน ซึ่งกำลังแสดง อย่างเต็มที่ เพื่อถึงวาระสุดท้ายของท่านอยู่แล้ว ลมหายใจท่านปรากฏว่า ค่อยอ่อนลง
    ทุกทีและละเอียดไปตาม ๆ กัน ผู้นั่งดู ลืมกระพริบตา เพราะอาการ
    ท่านเต็มไปด้วยความหมดหวังอยู่แล้ว ลมค่อยอ่อนและช้าลงทุกทีจนแทบไม่ปรากฏ วินาทีต่อไปลมก็ค่อย ๆ หายเงียบไป อย่างละเอียดสุขุม จนไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่า ท่านได้สิ้นไปแล้วแต่วินาทีใด เพราะอวัยวะทุกส่วน มิได้แสดงอาการผิดปกติ เหมือนสามัญชนทั่ว ๆ ไปเคยเป็นกัน ต่างคนต่างสังเกตจ้องมองจนตาไม่กระพริบ สุดท้ายก็ไม่ได้เรื่องพอให้สะดุดใจเลยว่า “ขณะท่านลาขันธ์ลาโลกที่เต็มไปด้วยความ
    กังวลหม่นหมองคือขณะนั้น ”

    พอเห็นท่าไม่ได้การ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ พูดเป็นเชิงไม่แน่ใจขึ้นมาว่า “ไม่ใช่ท่านสิ้นไปแล้วหรือ ” พร้อมกับยก นาฬิกาขึ้นดูเวลา ขณะนั้นเป็นเวลาตี ๒ นาฬิกา ๒๓ นาที จึงได้ถือเวลามรณภาพของท่าน พอทราบว่าท่านสิ้นไปแล้วเท่านั้น มองดูพระเณรที่นั่งรุมล้อมท่านอยู่เป็นจำนวนมาก เห็นแต่ความโศกเศร้าเหงาหงอย และน้ำตาบนใบหน้าที่ไหลซึมออกมา ทั้งไอทั้งจาม ทั้งเสียงบ่นพึมพำ ไม่ได้ถ้อยได้ความใครอยู่ที่ไหน ก็ได้ยินเสียงอุบอิบพึมพำ ทั่วบริเวณนั้น บรรยากาศเต็มไปด้วยความเงียบเหงาเศร้าใจ อย่างบอกไม่ถูก เราก็เหลือทน ท่านผู้อื่นก็เหลือทน ปรากฏว่าเหลือ
    แต่ร่างครอบตัวอยู่เวลานั้น ต่างองค์ต่าง
    นิ่งเงียบไปพักหนึ่ง ราวกับโลกธาตุได้ดับลง ในขณะเดียวกับขณะที่ท่านอาจารย์ลา
    สมมติคือขันธ์ก้าวเข้าสู่แดนเกษม ไม่มีสมมติความกังวลใดๆ เข้าไปเกี่ยว
    ข้องวุ่นวายอีก ผู้เขียนแทบหัวอกจะแตก
    ตายไปกับท่านจริงๆ เวลานั้นทำให้รำพึงรำพัน และอัดอั้นตันใจไปเสียทุกอย่างไม่มีทาง
    คิดพอขยับขยายจิตที่กำลังว้าวุ่น ขุ่นเป็นตม
    เป็นโคลนไปกับการจากไปของท่าน
    พอให้เบาบางลงบ้าง จากความแสนรัก แสนอาลัยอาวรณ์ที่สุดจะกล่าว ที่ท่านว่าตาย
    ทั้งเป็นเห็นจะได้แก่คนไม่เป็นท่าคนนั้นแล

    ดวงประทีปที่เคยที่เคยสว่างไสวมา
    ประจำชีวิตจิตใจได้ดับวูบสิ้นสุดลง ปราศจากความอบอุ่นชุ่มเย็นเหมือนแต่ก่อนมา ราวกับว่าทุกสิ่งได้ขาดสะบั้นหั่นแหลก
    เป็นจุณไปเสียสิ้น ไม่มีสิ่งเป็นที่พึ่งพอเป็นที่
    หายใจได้เลย มันสุด มันมุด มันด้าน มันตีบตันอั้นตู้ไปเสียหมดภายในใจ ราวกับโลกธาตุนี้ ไม่มีอะไรเป็นสาระ พอเป็นที่เกาะของจิตผู้กำลังกระหายที่พึ่ง ได้อาศัยเกาะพอได้หายใจ แม้เพียง
    วินาทีหนึ่งเลย ทั้งที่สัตว์โลกทั่วไตรภพ
    อาศัยกันประจำภพกำเนิดตลอดมา แต่จิตมันอาภัพอับวาสนาเอาอย่างหนักหนา จึงเห็นโลกธาตุ เป็นเหมือนยาพิษ
    เอาเสียหมดเวลานั้น ไม่อาจเป็นที่พึ่งได้ ปรากฏแต่ท่านพระอาจารย์มั่นองค์เดียว เป็นชีวิตจิตใจ เพื่อฝากอรรถ ฝากธรรม และฝากเป็นฝากตายทุกขณะลมหายใจเลย …”

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานที่วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร ตรงกับวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ เวลา ๐๒.๒๓ น. สิริอายุ ๘๐ ปี ๕๖ พรรษา และได้ประชุมเพลิงเมื่อวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๓ ซึ่งภายหลังได้ก่อสร้างพระอุโบสถ ในบริเวณที่ประชุมเพลิง และพิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตรงบริเวณกุฏิที่องค์ท่านมรณภาพ ภายในพิพิธภัณฑ์ได้อัญเชิญพระอัฐิ
    ธาตุหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ประดิษฐานไว้ให้ประชาชนได้กราบ
    สักการบูชากัน อีกทั้งอัฐบริขารข้าวของ
    เครื่องใช้ขององค์หลวงปู่มั่น ที่แสดงถึงความสมถะเรียบง่ายแบบพระป่า

    “..ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าดีเลิศ ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตนเพราะ
    ตัวตนเป็นบ่อเกิดแห่งสมบัติทั้งปวง..”

    โอวาทธรรมคำสอนพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    ชมภาพบรรยากาศ
    “ปัจฉิมสถานหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระบูรพาจารย์ใหญ่สายพระกัมมัฏฐาน” ได้ที่ลิงค์
    https://www.facebook.com/thindham/media_set?set=a.400429016674312.113366.100001216522700&type=3

    ชมอัลบั้มภาพ “พระอัฐิธาตุหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต” ได้ที่ลิงค์ http://www.facebook.com/media/set/?set=a.161078213942728.52514.100001216522700&type=3&l=d623471ffc

    ภาพประกอบวาดโดย
    เอ ท่องถิ่นธรรม

    -ภูริทัตต.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เป็นของเย็น เป็นของบริสุทธิ์
    บุคคลผู้มีปัญญาจะไม่ปฏิเสธธรรมของพระพุทธเจ้า
    เพราะธรรมถ้าอยู่ในจิตใจของผู้ใด
    ผู้นั้นย่อมมีความสุขความเจริญ….

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    …เห็นพระพุทธเจ้า

    ‘…ถ้าเรามีสติ ความระลึกได้ มีสัมปชัญญะความรู้ตัวอยู่ทุกอิริยาบถ การยืน เดิน นั่ง นอน ผู้รู้ทั้งหลายก็พร้อมที่จะเกิดขึ้นมา ให้รู้ ให้เห็นธรรมะตามเป็นจริงทุกกาลเวลา พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านยังไม่ตาย แต่คนมักเข้าใจว่าท่านตายไปแล้ว นิพพานไปแล้ว ความเป็นจริงแล้ว พระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั้นท่านไม่นิพพาน ท่านไม่ตายท่านยังอยู่ ท่านยังช่วยมนุษย์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอยู่ทุกเวลา พระพุทธเจ้านั้นก็คือธรรมะนั่นเอง ใครทำดีต้องได้ดีอยู่วันหนึ่ง ใครทำชั่วมันก็ได้ชั่ว นี่เรียกว่าพระธรรมพระธรรมนั้นแหละเรียกว่า พระพุทธเจ้า และก็ธรรมะนี่แหละที่ทำให้พระพุทธเจ้าของเรา เป็นพระพุทธเจ้า ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” แสดงว่าพระพุทธเจ้าก็คือพระธรรม และพระธรรมก็คือพระพุทธเจ้า ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นเป็นธรรมะที่มีอยู่ประจำโลก ไม่สูญหาย เหมือนกับน้ำที่มีอยู่ในพื้นแผ่นดิน ผู้ขุดบ่อลงไปให้ถึงน้ำก็จะเห็นน้ำไม่ใช่ว่าผู้นั้นไปแต่งไปทำให้น้ำมีขึ้น บุรุษนั้นลงกำลังขุดบ่อเท่านั้น ให้ลึกลงไปให้ถึงน้ำ น้ำก็มีอยู่แล้ว อันนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น พระพุทธเจ้าของเราก็เหมือนกัน ท่านไม่ได้ไปแต่งธรรมะ ท่านไม่ได้บัญญัติธรรมะ บัญญัติก็บัญญัติสิ่งที่มันมีอยู่แล้ว ธรรมะคือความจริงที่มีอยู่แล้ว ท่านพิจารณาเห็นธรรมะ ท่านเข้าไปรู้ธรรม คือรู้ความจริงอันนั้น ฉะนั้นจึงเรียกว่าพระพุทธเจ้าของเราท่านตรัสรู้ธรรม และการตรัสรู้ธรรมนี่เองจึงทำให้ท่านได้รับพระนามว่า พระพุทธเจ้า..ฯ’

    พระธรรมคำสอนโดย
    พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)
    วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี
    (พ.ศ.๒๔๖๑ – ๒๕๓๕)

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    -ชวนออเจ้า.jpg

    เมื่อพี่หมื่น ชวนออเจ้าเข้าปฏฺิบัติธรรม ^^ ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ณ เสถียรธรรมสถาน
    “ผมปฏิบัติธรรม เพราะอยากทำความดี
    เมื่อเรายึดมั่นทำความดี การปฏิบัติธรรม หรือการถือศีล มันทำให้ชีวิตเราดีได้”

    ขอบคุณคุณโป๊บ ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ เจ้าค่ะ

    ปฏิบัติธรรมอานาปานสติภาวนา
    ทุกวันศุกร์-อาทิตย์

    1f4cc.png สนใจสามารถสมัคร
    Online ลงทะเบียนได้ตามลิงค์ที่แนบมา
    http://bit.ly/2aKl48k
    หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่
    โทร. 02-519-1119

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    แสวงหา..?
    ‘…เกิดมาทั้งชาติก็มีแต่กินกับนอนและเที่ยว
    เตร็ดเตร่ เร่ร่อน หาหัวนอนปลายเท้าไม่ได้ เป็นอยู่อย่างจำเจ จะหาความอบอุ่นแก่
    จิตใจได้ที่ไหน ก็มีแต่ความรุ่มร้อนเผาใจล่ะซิ วันคืนหนึ่งๆ ผ่านไปต้องคิดหาสารคุณ อย่ามีแต่ความสนุกสนานเฮฮา ตื่นลมตื่น
    แล้งกันไปไม่มีสาระอะไรติดตัวติดใจ จะหวังพึ่งอะไรมนุษย์เรา ซึ่งมิใช่ท่อน
    ไม้ท่อนฟืน มันมีหัวใจดวงรู้ๆ ครองร่างอยู่
    กับทุกคน ทำไมไม่เหลียวแล

    จะหวังพึ่งอะไรถ้าพึ่งใจตัวเองไม่ได้แล้ว พึ่งลมหายใจ ลมก็หมดไป พึ่งร่างกาย กายก็แตก พึ่งน้ำในกาย น้ำก็สลาย พึ่งไฟในกาย ไฟก็กระจาย กายทั้งร่าง
    มีแต่เรื่องแตกกระจาย แล้วจะพึ่งอะไร พึ่งบ้าน บ้านก็จะพัง พึ่งสมบัติเงินทองก็ล้วน
    แต่สิ่งจะพังทลาย ยังเพลินเมามัวมั่วสุมอยู่หรือ มนุษย์เราตัวฉลาดแท้ๆ ไม่สมควรกับความ
    เป็นดังกล่าวมา ความดีมีอยู่ แสวงหาซิ มนุษย์ทั้งหลายท่านหาความดีได้ ทำไมเราหาไม่ได้เวลาไพล่ไปหา
    ความเลวทรามต่ำช้าทำไมหาได้..ฯ’

    • หลวงปู่ขาว อนาลโย •

    ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของ
    ผู้ถ่ายภาพนี้พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผย
    แผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เสียสละทางใจ

    ‘…ความเป็นจริงแล้ว ใจของเรานั้น
    กับสัจธรรมนั้นมันคนละอย่างกันเสีย
    แล้ว ใจของเราถ้าหากว่ามันผิด แต่เรา
    ชอบใจเราก็ทำได้ แต่ว่ามันไม่ใช่
    สัจธรรม ไม่ใช่ธรรมที่ทำให้พ้นทุกข์ อันนั้นมันถูกเฉพาะใจของเรา ตาม
    ธรรมะนั้นมันไม่ถูก มันก็เป็นอย่าง
    นี้เรื่อย ๆ มา ถ้าปล่อยใจไปตาม
    เรื่องของมัน มันก็ไม่มีอะไรมาก
    มายเท่าไร..

    ผมเคยเปรียบเทียบให้หลายท่าน
    ฟังเสมอว่า เมื่อเราเป็นเด็กหรือเด็ก
    ทั้งหลายตลอดจนทุกวันนี้ เราเอา
    ตุ๊กตาตัวหนึ่งอันหนึ่งให้เล่น เด็กก็เล่น
    สบายใจ เพราะตุ๊กตาเป็นสิ่งที่ชอบ
    ใจอย่างนี้ แต่เด็กคนนั้นไม่รู้ว่าตุ๊กตา
    นี่เป็นพิษ ก็เพราะเข้าใจว่า ตุ๊กตานี้มัน
    ชอบเล่น ก็เพลินกับตุ๊กตานั้น เมื่อเล่น
    ไปหลาย ๆ วัน ตุ๊กตามันหล่น มันแตก เด็นนั้นจึงรู้สึกตัวว่าความน้อยใจความ
    เสียใจเกิดขึ้นมา อย่างนี้เป็นต้น ทำไม
    ถึงเป็นอย่างนั้น เมื่อตุ๊กตามันยัง
    ไม่แตก ยังไม่พัง ความชอบใจ
    ความสุขใจนั่นแหละมันบังทุกข์ไว้ มันบังไม่ให้เห็นทุกข์ ก็เพราะ
    ตุ๊กตามันยังไม่พัง อันนั้นมัน
    เป็นเครื่องกำบังไว้ไม่ให้เด็กร้องไห้ เมื่อมาถึงความจริงเช่นนี้แล้ว เด็กมัน
    ก็อยู่ไม่ได้…

    …เมื่อเราบวชเข้ามาอยู่ในความหลอก
    ลวงของอารมณ์ทั้งหลาย เราก็สบาย สบายกันอยู่ อาศัยอารมณ์นั้นเป็นอยู่ อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้าเราปฏิบัติ
    กันมีความสบาย ผมก็ถามว่า..
    “มันสบายอย่างไร มันสบาย เพราะว่า
    มีอาการเสียสละทางใจหรือ ?” อย่างนี้ความเป็นจริง ความสบายนั้น มันมีพิษอยู่ในนั้น มันสบายอยู่กับ
    สิ่งที่เราชอบใจ สิ่งที่เราไม่ชอบ
    ใจมันก็ไม่สบาย อันนี้ก็เป็นเครื่อง
    กำบังของภิกษุสามเณรผู้ประพฤต
    ปฏิบัติกันอยุ่เหมือนกัน เท่ากับว่า
    เราไม่ได้ปฏิบัติ ถ้าถูกอารมณ์
    อันใดที่ไม่ชอบใจ ใจมันก็ไม่สบาย ถูกอารมณ์บางอย่างที่เราชอบใจ เราก็สบายอย่างนี้ ไม่เห็นพื้นฐาน
    อะไรเลย..ฯ’

    ธรรมเทศนา
    หลวงพ่อชา สุภทฺโท (พระโพธิญาณเถร)

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ” ธรรมะเป็นทางแก้ทุกข์ เมื่อจะแก้ก็ต้องสอบทุกข์ก่อน ให้เห็นทุกข์ก่อนเหมือนกับเราทำงานอะไร เราต้องเห็นงานก่อน จึงจะทำได้ ทุกข์อันหนึ่งที่เป็นงานของพวกเราควรทำ ถ้าไม่ทำเราก็ไม่พ้น ฉะนั้นพระพุทธเจ้าทรงสอนพวกเราให้รู้ทุกข์ ”

    -:- โอวาทธรรม -:-
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
    วัดป่านิโครธาราม อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    -เ.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    การทำบุญมีสองอย่าง หนึ่งคือการสละทรัพย์เงินทอง
    เพื่อสร้างถาวรวัตถุในพระศาสนา
    หรือการบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียนข้าวของ เรียกว่าอามิสบูชา
    ส่วนบุญอีกอย่างหนึ่งนั้นคือการถือศีลภาวนาทำสมาธิวิปัสสนา
    เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งแทงตลอดให้เกิดเป็นปัญญาเป็นผู้รู้
    ดังที่เราภาวนาว่า “พุทโธ” ซึ่งแปลว่า “ผู้รู้ผู้ฉลาด”
    อันนี้เรียกว่า “ปฏิบัติบูชา” เป็นบุญอันสูงสุด
    อันจะนำตนเองให้พ้นจากกองทุกข์ในโลกนี้ได้
    ช่วยตัวเองได้ มิให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป
    บุญข้อนี้เป็นบุญอันสูงสุดที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญผู้ปฏิบัติ
    ทั้งอามิสบูชา และปฏิบัติบูชานี้เป็นเสมือนแม่น้ำสองสาย
    ที่ใสสะอาดไหลมารวมกันลงสู่แอ่งน้ำใหญ่
    อันอยู่ในห้วงหัวใจของเราเอง เป็นแหล่งน้ำอันเต็มเปี่ยมสมบูรณ์
    พร้อมที่จะนำความเย็นฉ่ำชุ่มชื่นไปทั่วทุกหัวระแหง
    เกิดคุณค่าและประโยชน์อันประมาณมิได้

    ……………………………………………

    หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
    คัดจากหนังสือ เรื่องคุยกันกับลูกศิษย์

    -หนึ่.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    โอวาทธรรม ท่านหลวงตาพระมหาบัว
    กล่าวถึง หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    “ทั้งทุกข์มากและทุกข์ซ้ำซาก”

    ๒๐-๓-๒๗๖๑

    ท่านหลวงตาพระมหาบัวฯ
    ได้เขียนถึงการเผชิญเหตุการณ์ร้ายๆ
    ของพระธุดงคกรรมฐาน
    ว่าเป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสจริงๆ

    กว่าแต่ละองค์จะฝ่าฟันเอาชีวิตรอดมาได้
    ซึ่งท่านได้ยกกรณีของ
    หลวงปู่ชอบ มาเป็นตัวอย่าง :-

    นี่แล ชีวิตของพระธุดงคกรรมฐาน
    ที่ท่านพยายามฟันฝ่ามาแต่ละองค์
    ก่อนจะได้มาเป็นครูอาจารย์
    นำธรรมมาสอนคณะลูกศิษย์

    ชีวิตท่านเป็นมากับความทุกข์
    ทรมานดังที่ทราบอยู่ขณะนี้

    แม้เช่นนั้นท่านก็ไม่ยอมลดละคามเพียร
    ที่ท่านได้นั่งลิงนอนลิง
    ทนหนาวตลอดคืน
    ก็คือการรบกับข้าศึกอีกวิธีหนึ่ง

    วิธีนี้เรียกว่า วิธีจนตรอก

    หลวงปู่ชอบ ท่านถูกข้าศึก คือฝนตก พายุพัด
    ลูกเห็บตกและกิ่งไม้หักตกลงมาทับ
    บริการแหลกกกระจุยกระจาย
    ซึ่งเป็นข้าศึกชนิดล้อมรอบขอบชิด
    จนหาทางออกไม่ได้

    ที่เรียกว่า รบข้าศึกแบบวิธีจนตรอก

    ตัวท่านเองแทบตาย
    แต่ก็ยังผ่านพ้นมาได้
    นับว่ายังไม่ถึงคราว
    และผ่านมาจนได้

    เป็นครูอาจารย์ให้อรรถให้ธรรม
    คณะลูกศิษย์ยังได้ฟังธรรมเดนตาย จากท่าน

    ถ้าองค์ท่านไม่เหลือเดนมา
    ธรรมก็คงไม่เหลือเดนมาถึงพวกเรา
    เมื่อคิดดูแล้ว

    คณะลูกศิษย์รู้สึกได้เปรียบ
    ครูบาอาจารย์ท่านอยู่มาก
    อยู่เฉยๆก็ได้ฟัง
    ไม่ยากเย็นเข็ญใจ
    เหมือนท่านผู้ขวนขวายหามา

    ท่านหลวงตามหาบัว
    เน้นย้ำ ถึงกรณีขององค์ หลวงปู่ชอบว่า :-

    “ท่านอาจารย์องค์นี้ทุกข์ ก็มาก
    ทั้งเป็นทุกข์ซ้ำซากนับแต่เริ่มปฏิบัติมา

    ภูมิธรรมท่านก็สูง น่าเคารพบูชา
    เป็นขวัญตาขวัญใจแก่พวกเรา
    แม้ทุกวันนี้(สมัยที่หลวงปู่ยังดำรงขันธ์อยู่)

    ท่านมิได้ลดหย่อนความพากเพียร
    จึงพยายามเพียรเรื่อยมา
    ไม่เคยเห็นผลจากความเกียจคร้านอ่อนแอ
    ท่านจึงไม่ยอมอ่อนแอ”

    “ท่านเคยเห็นผลในทางใด ก็มักเพียรในทางนั้น”

    ผู้โพสต์คัดตัดตอนบางส่วนจาก
    “โครงการหนังสือบูรพาจารย์เล่ม ๙ หน้า ๘๙-๙๐
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์
    บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย
    อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
    ผู้บันทึก/บอกเล่า หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    ผู้เรียบเรียง / รศ.ดร ปฐม-รศ.ภัทรา นิคมานนท์

    จุดประสงค์ธรรมทาน
    เพื่อเตือนใจในการปฏิบัติ เข้าใจในบาป บุญ คุณ โทษ
    และระลึกถึงแนวคำสอนที่ถูกต้องของจริง
    ข้อปฏิบัติของครูบาอาจารย์

    ผู้โพสต์พิมพ์ใหม่จากบทความคำสอน
    แชร์ได้ ไม่ต้องขออนุญาต เพราะเป็นของครูบาอาจารย์
    หากตกหล่นประการใด ขออภัย สาธุชน ณ โอกาสนี้ครับ
    ขอขอบคุณผู้มีส่วนเผยแพร่
    เจ้าของรูปประกอบในธรรม
    และผู้กด Like กดแชร์ ทุกท่าน
    ้าพเจ้าผู้โพสต์ขออนุโมทนาบุญอานิสงส์
    ันไพศาลนี้จงมีแด่ทุกท่านที่ได้สดับอ่านและเผยแพร่ครับ

    -ท่านหลวงตาพระ.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “โดยส่วนมากคนเรามองแต่ความชั่วความดีไม่ค่อยจะมอง ความชั่วมันเห็นง่าย ความดีมันเห็นได้ยาก อาการกิริยาใดๆที่มันผิดแปลกจาก “ธรรมวินัย” ผิดแปลกจากหมู่จากคณะ ผิด “ขนบธรรมเนียม” ของหมู่เพื่อน ควรระวังอันนั้น…” หลวงปู่เทสก์

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    การเอาชนะตนได้ หมายถึง การเอาชนะใจตนเอง โดยไม่ยอมให้จิตของตนตกไปในฝ่ายต่ำ ต้องสามารถเอาชนะด้วยการควบคุมจิตของตนให้อยู่ในอำนาจ อาจบังคับบัญชาให้ตัดกิเลส คือสิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมองทำให้จิตใจขุ่นมัว อันจะชักจูงให้ไปสู่ความประพฤติชั่ว ท่านจึงแนะนำสั่งสอนให้ทุกคนเอาชนะตนเองให้ได้ พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้ พึงชนะคนพูดเหลวไหล ด้วยความจริง

    -:- โอวาทธรรมคำสอน -:-
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร
    วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    -หมายถึง-ก.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    การบวช

    ‘..เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า
    การครองเรือนคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี (กิเลส)

    บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง
    การที่ฆราวาสจะประพฤติพรหมจรรย์
    ให้บริสุทธิ์สมบูรณ์โดยส่วนเดียว
    ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย

    อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด
    นุ่งห่มผ้ากาสวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต’

    พระอาจารย์ชาจะเข้มงวด
    และอบรมปฏิปทาของภิกษุและนักบวชอย่างมาก
    ท่านจะเน้นย้ำเรื่อง การทำปฏิปทาให้บริสุทธิ์

    วัตถุประสงค์อันแท้จริงของการบวช
    ซึ่งไม่ใช่สักแต่ว่าทำตามประเพณี
    สมัยปัจจุบันจึงหาผู้มีความศรัทธาในการออกบวชเพื่อานิสงส์จริงๆ ได้ยาก
    “บวชเพื่ออะไร” คนที่ยังไม่ได้บวชอาจจะสงสัย
    แม้คนที่บวชแล้วบางคนก็อาจจะยังไม่กระจ่าง
    มีคำตอบที่แจ่มแจ้งชัดเจนที่สุดในโอวาทสั้นๆ ของหลวงพ่อดังนี้

    “เราบวชเข้ามา ไม่ใช่ว่าจะมักใหญ่ใฝ่สูง ปฏิบัติเป็นนั้นเป็นนี้ บวชมาเพื่อให้หมด
    ทุกข์ในใจของเรา ถ้าอยากเป็นนั้นเป็น
    นี้มันทุกข์ ไม่ให้เป็นอะไร พระนิพพาน
    ก็ไม่ต้องอยากไป ปฏิบัติอยากจะไป
    พระนิพพานมันก็เป็นทุกข์เข้าไปอีก”

    “คนเราไม่รู้จักจะต้องฟังคำครูบาอาจารย์
    แล้วเอาไปพิจารณา ทำอยู่ในนี้มัน
    ไม่ไปไหนหรอก ฉะนั้น การบวชในที่นี้ก็
    เรียกว่า บวชกันให้มีเหตุผล
    จะบวชสามเดือน ก็ต้องมาปรึกษากันพอสมควร
    ว่าบวชอะไร เพื่ออะไร บวชเดี๋ยวนี้มันไม่ได้อะไร
    โง่ก็ไม่อยากทิ้งของชั่ว ชอบเอาความชั่วไว้ในใจ
    แต่ธรรมะช่วยเปิดได้ เปิดให้เห็นความชั่ว เห็นความผิดแต่ปุถุชนคนหนาเราช่วย
    ปิดความชั่ว ช่วยปิดความชั่วของตัวไว้
    ไม่ให้ใครรู้ มันต่างกันอย่างนี้
    คนมีกิเลสตัณหาอยู่ มันก็เป็นอย่างนั้น”

    สำหรับการบวชนั้น หลวงพ่อมีหลักของท่านว่า
    “บวชง่ายสึกง่าย บวชยากสึกยาก”
    ฉะนั้น ที่วัดหนองป่าพงจึงระเบียบในการบวช
    และมีขั้นตอนต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่คัดเลือกคนที่มีนิสัยปัจจัย
    พอที่จะอบรมให้เป็นนักบวชได้

    คือก่อนจะบวชพระ จะต้องผ่านการฝึกหัดอบรม
    ในฐานะเป็นปะขาวและเณรมาก่อนตามลำดับ
    เพื่อเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับการที่จะอยู่
    ในวัดอย่างนักบวชรู้เรื่องพระวินัยพอ
    เป็นพื้นฐาน และขัดเกลานิสัยหยาบๆ ออกเสียบ้างก่อนที่จะห่มผ้าเหลือง
    ระยะเวลาในการฝึกหัดก็แล้วแต่บุคคล อาจจะหลายเดือนหรือเป็นปี

    อย่างที่ท่านพระอาจารย์ชาย้ำบ่อยๆ

    “การบวชนั้นไม่ยาก แต่บวชแล้วนี้ซิยาก”

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    โดยธรรมชาติ…

    ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ หลวงพ่อชาได้รับนิมนต์ไปสหรัฐอเมริกา ครั้งนั้นท่านได้ไปเยี่ยมสำนักปฏิบัติธรรมของพระชาวคริสต์สำนักหนึ่ง โดยการนำของศิษย์ฆราวาสของท่านผู้หนึ่ง และมีพระภิกษุชาวอเมริกันติดตามไปด้วย ณ สำนักคริสคาทอลิคแห่งนั้น ท่านได้พบกับบาทหลวงชรา เจ้าสำนักท่านหนึ่ง ซึ่งท่านทำหน้าที่เป็นผู้ต้อนรับ หลังจากที่ได้สนทนากันมากพอสมควรแล้ว และกำลังเดินชมวัด ท่านจึงได้กล่าวกับบาทหลวงชรานั้นว่า

    “ธรรมที่แท้จริงไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่ใช่ของใคร แต่เพราะความหลงผิด พอพระ เยซูไปพบเข้า เขาก็ว่า เป็นของพระเยซู พอพระพุทธเจ้าไปพบเข้า เขาก็ว่าธรรมะของพระพุทธเจ้า นั่นคือความโง่ของคนธรรมดา ความจริงแล้ว ธรรมะที่แท้ไม่ใช่ของใคร ธรรมะเป็นของธรรมชาติ เป็นสัจจธรรม ไม่มีชาติชั้นวรรณะ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะรู้เห็นได้ด้วยตนเอง”

    เมื่อบาทหลวงชราได้ฟังท่านพูดอย่างนั้น ก็รู้สึกยินดีมาก ตรงเข้ามากอดท่าน และมีท่าทางเต็มไปด้วยความร่าเริง เบิกบาน แสดงความหมายว่า เราทั้งสองไม่มีอะไรผิดแปลกแตกต่างกัน ธรรมชาติอันบริสุทธิ์อย่างเดียวกันเป็นสิ่งที่เรามุ่งหวัง

    ท่านเล่าว่า บาทหลวงชราดีใจจนถึงกับจูบแก้มท่าน และแสดงความบริสุทธิ์ใจออกมาให้เห็น ท่านเล่าพลางหัวเราะประหนึ่งว่า เหตุการณ์เหล่านั้น มันเพิ่งจะผ่านไปเมื่อครู่นี้เอง

    “จะต้องให้รู้ด้วยตนเอง ธรรมะที่แท้จริงเหมือนรสของแอ๊ปเปิ้ล เรื่องรสของแอ๊ปเปิ้ล เราฟังดูเฉย ๆ ก็ไม่รู้ จะไม่รู้ว่า มันหวานหรือมันเปรี้ยวอย่างไร? นอกจากเราลองชิมแอ๊ปเปิ้ลนั้นแล้ว นั่นแหละ…จึงจะรู้แจ้งว่า รสของมันเป็นอย่างไร? อร่อยไหม? ไม่ต้องไปถามใครอีกแล้ว ปัญหามันจบที่ตรงนั้นเอง”

    “อย่าคบหากันในฐานะคนไทยกับคนอังกฤษ หรือคบหากันในฐานะชาวพุทธกับชาวคริสต์ แต่ให้คบหากันในฐานะมนุษย์กับเพื่อนร่วมทุกข์ แล้วเราจะเข้าใจกัน”
    นี้เป็นส่วนหนึ่งของคำสอนที่ท่านให้แก่คนทุกชาติทุกภาษา

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...