ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “ธรรมะบทแรก”
    ที่หลวงปู่สมชาย ได้รับจาก หลวงปู่มั่น

    ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ หลังจากที่ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ได้บรรพชาสามเณรเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ ๑๙ ปี ในปีนั้นท่านได้จำพรรษา ณ วัดป่าศรีไพรวัน อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ในระหว่างนั้นท่านได้ยินกิตติศัพท์ว่า “หลวงปู่มั่นเป็นพระอรหันต์” เมื่อได้ฟังเรื่องราวของหลวงปู่มั่นในเบื้องต้นแล้ว ในใจของหลวงปู่สมชายจึงเต็มไปด้วยความรู้สึกที่อยากไปกราบเท้าฟังธรรมจากหลวงปู่มั่นในเร็ววันที่สุด

    เมื่อออกพรรษาแล้วท่านจึงกราบลาครูอาจารย์เดินทางไปกราบฟังธรรมจากหลวงปู่มั่น ด้วยความมุ่งมั่นที่อยากจะเห็นพระอรหันต์ขีณาสพแห่งยุคสมัยอย่างสุดหัวใจ ในปลายปีนั้นเองท่านจึงได้มอบกายถวายตัวเป็นศิษย์ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ณ วัดป่าบ้านหนองผือ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    เมื่อแรกที่ได้เข้ามาถึงสำนักหลวงปู่มั่นนั้น เพียงก้าวแรกที่มาถึงก็ได้เห็นถึงความสะอาดสะอ้าดในบริเวณวัด ถนนหนทาง ตลอดจนสถานที่อยู่ของพระสงฆ์ครูอาจารย์ ไม่ว่ามองไปทางใดก็มีแต่ความร่มรื่น ร่มเย็น เป็นบรรยากาศที่ชวนให้อยากปฏิบัติภาวนา ภายในใจของหลวงปู่สมชายรู้สึกสงบเป็นสมาธิในทันที

    ที่ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อได้เห็นกิริยามารยาทอันงามสง่า และความเมตตาไต่ถามต้อนรับปฏิสันถารหลวงปู่สมชาย ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงสามเณรชั้นผู้น้อย ยิ่งทำให้หลวงปู่สมชาย เกิดความปลื้มปิติแล่นเข้าไปจับที่หัวใจยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ นับว่าเป็นปฐมฤกษ์แห่งความอุดมมงคลชีวิตที่ไม่อาจลืมได้เลย

    ด้วยความที่หลวงปู่สมชายต้องการใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด ในช่วงเวลาที่ได้อยู่ภายในสำนักหลวงปู่มั่นนี้ ท่านจึงเร่งความเพียรพยายามในการปฏิบัติสมาธิจิต เพื่อพิสูจน์ความจริงทางพระศาสนา ด้วยความขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่งยวด แม้แต่การทำข้อวัตรอุปัฏฐากรับใช้องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ก็ปฏิบัติด้วยความสม่ำเสมอไม่มีข้อบกพร่อง

    โอวาทธรรมคำสั่งสอนของหลวงปู่มั่น ที่ได้รับตั้งแต่แรกมาอยู่ในสำนักดังก้องในโสตประสาทตลอดเวลานั่นคือ

    “อย่ามองเหตุการณ์ ให้มองที่ใจ”

    หมายความว่า.. ให้พิจารณาใจของนั้นว่ากวัดแกว่งไปตามเหตุการณ์ของโลกธรรมแปดหรือเปล่า ดีใจต่อคำสรรเสริญเยินยอหรือเปล่า โกรธเกลียดต่อคำตำหนินินทาหรือเปล่า รวมถึงสิ่งชอบใจสิ่งที่ไม่ชอบใจทั้งหลายด้วย

    สิ่งเหล่านี้จะมีมาให้พิจารณาโดยตลอดเวลาที่อยู่กับองค์หหลวงปู่มั่น นับว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ฝึกฝนให้จิตใจของหลวงปู่สมชายกล้าแกร่ง สมดั่งสมญานามที่ว่า “เพชรน้ำเอกแห่งคณะสงฆ์ไทย” ดังที่ได้ประจักษ์แล้วแก่สายตามหาชนเป็นที่ปรากฏนั่นเอง

    .jpg
    “ธรรมะบทแรก”
    ที่หลวงปู่สมชาย ได้รับจาก หลวงปู่มั่น

    ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ หลังจากที่ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ได้บรรพชาสามเณรเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ ๑๙ ปี ในปีนั้นท่านได้จำพรรษา ณ วัดป่าศรีไพรวัน อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ในระหว่างนั้นท่านได้ยินกิตติศัพท์ว่า “หลวงปู่มั่นเป็นพระอรหันต์” เมื่อได้ฟังเรื่องราวของหลวงปู่มั่นในเบื้องต้นแล้ว ในใจของหลวงปู่สมชายจึงเต็มไปด้วยความรู้สึกที่อยากไปกราบเท้าฟังธรรมจากหลวงปู่มั่นในเร็ววันที่สุด

    เมื่อออกพรรษาแล้วท่านจึงกราบลาครูอาจารย์เดินทางไปกราบฟังธรรมจากหลวงปู่มั่น ด้วยความมุ่งมั่นที่อยากจะเห็นพระอรหันต์ขีณาสพแห่งยุคสมัยอย่างสุดหัวใจ ในปลายปีนั้นเองท่านจึงได้มอบกายถวายตัวเป็นศิษย์ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ณ วัดป่าบ้านหนองผือ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    เมื่อแรกที่ได้เข้ามาถึงสำนักหลวงปู่มั่นนั้น เพียงก้าวแรกที่มาถึงก็ได้เห็นถึงความสะอาดสะอ้าดในบริเวณวัด ถนนหนทาง ตลอดจนสถานที่อยู่ของพระสงฆ์ครูอาจารย์ ไม่ว่ามองไปทางใดก็มีแต่ความร่มรื่น ร่มเย็น เป็นบรรยากาศที่ชวนให้อยากปฏิบัติภาวนา ภายในใจของหลวงปู่สมชายรู้สึกสงบเป็นสมาธิในทันที

    ที่ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อได้เห็นกิริยามารยาทอันงามสง่า และความเมตตาไต่ถามต้อนรับปฏิสันถารหลวงปู่สมชาย ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงสามเณรชั้นผู้น้อย ยิ่งทำให้หลวงปู่สมชาย เกิดความปลื้มปิติแล่นเข้าไปจับที่หัวใจยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ นับว่าเป็นปฐมฤกษ์แห่งความอุดมมงคลชีวิตที่ไม่อาจลืมได้เลย

    ด้วยความที่หลวงปู่สมชายต้องการใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด ในช่วงเวลาที่ได้อยู่ภายในสำนักหลวงปู่มั่นนี้ ท่านจึงเร่งความเพียรพยายามในการปฏิบัติสมาธิจิต เพื่อพิสูจน์ความจริงทางพระศาสนา ด้วยความขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่งยวด แม้แต่การทำข้อวัตรอุปัฏฐากรับใช้องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ก็ปฏิบัติด้วยความสม่ำเสมอไม่มีข้อบกพร่อง

    โอวาทธรรมคำสั่งสอนของหลวงปู่มั่น ที่ได้รับตั้งแต่แรกมาอยู่ในสำนักดังก้องในโสตประสาทตลอดเวลานั่นคือ

    “อย่ามองเหตุการณ์ ให้มองที่ใจ”

    หมายความว่า.. ให้พิจารณาใจของนั้นว่ากวัดแกว่งไปตามเหตุการณ์ของโลกธรรมแปดหรือเปล่า ดีใจต่อคำสรรเสริญเยินยอหรือเปล่า โกรธเกลียดต่อคำตำหนินินทาหรือเปล่า รวมถึงสิ่งชอบใจสิ่งที่ไม่ชอบใจทั้งหลายด้วย

    สิ่งเหล่านี้จะมีมาให้พิจารณาโดยตลอดเวลาที่อยู่กับองค์หหลวงปู่มั่น นับว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ฝึกฝนให้จิตใจของหลวงปู่สมชายกล้าแกร่ง สมดั่งสมญานามที่ว่า “เพชรน้ำเอกแห่งคณะสงฆ์ไทย” ดังที่ได้ประจักษ์แล้วแก่สายตามหาชนเป็นที่ปรากฏนั่นเอง

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล สอนกรรมฐาน”

    (เล่าโดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

    พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ท่านสอนกรรมฐาน
    ถ้ามีใครถามว่าอยากจะปฏิบัติกรรมฐานทำอย่างไร
    ท่านจะบอกว่า

    “พุทโธซิ” “พุทโธแปลว่าอะไร” “อย่าถาม”
    “ภาวนาพุทโธแล้วจะได้อะไรดีขึ้น”
    “ถามไปทำไม ฉันให้ภาวนาพุทโธลูกเดียว”

    ทีนี้ถ้าลูกศิษย์ท่านใดรีบปฏิบัติตามคำสั่งของท่านอย่างผู้ว่าง่าย ไม่ได้ฟังอีร้าค่าอีรมอะไร ไม่ต้องไปสงสัยข้องใจอะไร ท่านอาจารย์สอนให้ภาวนาพุทโธ ฉันก็พุทโธ พุทโธ ๆๆ ลูกเดียวไม่ต้องสงสัย ถ้าใครไปตั้งใจปฏิบัติตามโอวาทของท่านอย่างจริงใจ ไม่เกิน ๗ วันต้องมีปัญหามาให้ท่านแก้

    บางท่านไปภาวนาพุทโธแล้วจิตสงบ นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน บางทีกระแสจิตส่งออกนอก เห็นโน่นเห็นนี่ ถ้ามาถามท่าน จิตเป็นอย่างนี้จะผิดหรือถูกประการใด ถ้าหากว่าถูกท่านก็บอกว่า

    “เร่งภาวนาเข้า ๆ ให้มันเข้าถึงความเป็นเอง”

    ถ้าหากมันไม่ถูกต้อง จิตส่งออกนอกมากนัก ท่านก็บอกว่า “ให้พยายามระงับ อย่าให้มันส่งออกไปมากนัก” ถ้าหากพอรั้งเอาไว้ได้ก็ให้รั้งเอาไว้ ถ้ารั้งไม่ได้ก็ให้ปล่อยไปตามธรรมชาติของมัน ท่านก็สอนอย่างนี้

    [​IMG]

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “ภาวนาเพื่อละ ไม่ใช่ภาวนาเพื่อเอา”

    (วิสัชนาธรรมโดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
    (ปุจฉาโดย องค์ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์)

    กระนั้นช่วงแรก ๆ เพราะความช่างสงสัยของลูก ลูกเคยถามท่านพ่อว่า

    “ทำไมลูกภาวนาแล้ว ลูกไม่เห็นสวรรค์ เห็นเทวดาฯ บ้างเลย ลูกเคยได้ยินว่าคนอื่นๆ เขาว่าเขาเห็นกัน”

    จำได้เลยว่า ตอนนั้นท่านพ่อหัวเราะ และถามลูกว่า

    “อยากเห็นนักเหรอ”

    ลูกก็บอกว่า “เปล่า”

    และท่านพ่อก็สอนว่า “ไม่เห็นน่ะดีแล้ว เพราะจุดประสงค์ของการภาวนาก็คือ ทำให้จิตรวมเกิดความสงบ ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดปัญญา ท่านพ่อบอกว่า ถ้าคนภาวนาแล้วเห็นนรก สวรรค์ เทวดา ภูตผี ก็อาจจะทำให้หลงเพลิดเพลินติดไปกับสิ่งที่ตนเองเห็น ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่ทางสงบได้”

    [​IMG]

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ณ สถานที่แห่งนี้ บ้านคำบง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับ อ.ศรีเมืองใหม่) ในวันที่ 20 มกราคม 2413 (เมื่อ 149 ปีที่แล้ว) เป็นสถานที่ซึ่งนางจันทร์ แก่นแก้ว ได้ให้กำเนิดบุตรชายคนโต นามว่า เด็กชายมั่น แก่นแก้ว ต่อมาชีวิตของเด็กชายชนบทที่เกิดห่างไกลความเจริญคนนี้ ได้กลายเป็นตำนานอันยิ่งใหญ่ เป็นพระบุพพาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน ที่มีศิษยานุศิษย์และศรัทธาสาธุชน อภิวาทวันทา ในนาม “หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต”

    สาธุๆๆ

    -สถานที่แห่งนี้-บ้านคำบ.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ✨โอวาทธรรม:พระคุณเจ้าพระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท) วัดบางนมโค✨

    ▶ธรรมะประจำวันที่ ๑๙-๑-๒๕๖๒

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    -คำสอนสั่งก่อ.jpg

    หลวงพ่อคูณ คำสอนสั่งก่อนละสังขาร บันทึกเมื่อปี 2547
    น้อมกราบองค์พระคุณเจ้าหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธด้วยความเคารพสูงสุดอัพเผยแพร่เป็นธรรมทานครับ

    หลวงพ่อคูณ คำสอนสั่งก่อนละสังขาร บันทึกเมื่อปี 2547

    น้อมกราบองค์พระคุณเจ้าหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธด้วยความเคารพสูงสุด

    ขออนุโมทนากับ credit ครับ

    Credit Youtube :Raphatsitt Channel
    Credit FB: TK KT

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เครื่องหมายการถือศาสนา พระธรรมเทศนา หลวงพ่อสีทน สีลธโน วัดถ้ำผาปู่นิมิตร จ.เลย

    (ควรอ่านให้จบ เพื่อสำรวจความเป็นชาวพุทธของตน)

    การถือศาสนา คำว่าการถือศาสนานี้เราจะหมายเอาแค่ไหนถึงจะเป็นการถือศาสนาอันแท้จริง อันนี้รู้สึกว่าสำคัญอยู่ บางคน ถือกันแต่ปาก ถือแต่คำพูด ถือตามๆกันมา จาก ปู่ ย่า ตา ยาย แต่ไม่รู้จักการถือศาสนาอันแท้จริงนั้น อันเข้าถึงพระพุทธศาสนานั้น จะมีอะไรเป็นเครื่องหมาย บางคนอาจยังไม่รู้แหละ บางคนอาจมีความเห็นว่าตนได้ไปถวายอาหารบิณฑบาตแก่ พระเจ้าพระสงฆ์ เป็นครั้งๆคราวๆ ก็ถือว่าตนเองถือศาสนา อาจจะถือแค่นี้ก็มีบางคนหากถือแค่นี้รู้สึกว่ายังตื้นอยู่ ยังไม่ลึกลับเท่าที่ควร ยังไม่เป็นการถือศาสนา อันถูกต้อง ให้พารู้จักเข้าใจอย่างนั้น คำว่าถือศาสนาที่ถูกต้องนั้นจะต้องมีเครื่องหมายคือ

    1) มีไตรสรณคมน์ เป็นเครื่องหมาย

    2) มีศีล 5 เป็นเครื่องหมาย

    จะต้องได้ไตรสรณคมน์เสียก่อน ต้องมีศีล 5 เสียก่อน ถึงว่าเป็นผู้ถือศาสนา เป็นผู้อยู่ในขอบเขตของศาสนา หากว่าพระไตรสรณคมน์ยังไม่มีศีล 5 ยังไม่มี ยังถือว่าผู้นั้นเป็นคนนอกศาสนาอยู่ ให้พากันรู้จักตัวของตัวเองไว้ว่าเราถือศาสนาพุทธ เราอยู่ในขอบเขตของศาสนาหรือเปล่า ในระยะนี้โอกาสนี้ให้เรารู้และเข้าใจเอาไว้ คำว่าถือไตรสรณคมน์ ก็ถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่กราบไหว้สักการบูชา นี้ถือว่าเราถือพระไตรสรณคมน์ ทีนี้จะกล่าวโทษ 5 ประการ ที่จะทำให้ขาดจากพระไตรสรณคมน์

    1. เราติเตียนพระพุทธเจ้า

    2. เราติเตียนพระธรรม

    3. เราติเตียนพระสงฆ์

    4. ถือศาสนาอื่น

    5. เข้ารีตเดียรถีย์

    โทษ 5 ประการนี้เป็นเหตุให้เราขาดจากพระไตรสรคมน์ อย่างสมมุติว่าเราเคยกราบเคยไหว้ เคยเคารพนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อเราติเตียน พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ถือศาสนาอื่น เข้ารีตเดียรถีย์ เราก็ขาดจากไตรสรณคมน์เลยแหละ ขาดจากพระไตรสรณคมน์เหมือนอย่างพระภิกษุไปผิดสิกขาบท 4 ประการ คือ ปาราชิก 4 ประการแล้วก็ขาดจากการเป็นภิกษุ ทีนี้พวกเราอุบาสกอุบาสิกา ผู้ถือไตรสรณคมน์ ไปล่วงเกินในโทษ 5 ประการ ก็ถือว่าเราขาดจากพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ไปต้องได้ประกาศปฏิญาณตนใหม่ คำว่าติเตียนพระพุทธเจ้านั้นถือว่าพระพุทธเจ้าไม่ดี หาเรื่องหลอกลวงมนุษย์ทั้งหลาย นี่แสดงว่าติเตียนพระพุทธเจ้า ติเตียนพระธรรมคำสั่งสอนที่ท่านเขียนเอาไว้ จารึกเอาไว้นี้เป็นเรื่องหลอกลวงเป็นของปลอมทั้งนั้น นี่แสดงว่าเราติเตียนพระธรรม ติเตียนพระสงฆ์นี้หมายเอาพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบทางกาย วาจา ใจ นับแต่ผู้มีศีล 227 ขึ้นไปนี่แหละ นี่สงฆ์เหล่านี้ไม่ควรตำหนิติเตียนพระสงฆ์เหล่านี้ถือว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นเบื้องต้น ถ้าเราไปติเตียนดูถูกดูหมิ่นว่ากล่าวท่าน พระไตรสรณคมน์ก็จะขาดไปโดยปริยาย ทีนี้หากว่าเราไปติเตียนว่ากล่าวพระสงฆ์ที่ไม่มีศีลธรรม เป็นผู้หลอกลวงโลกเขากินนั้น อันนี้พระไตรสรณคมน์เราก็ไม่ขาดหรอก ท่านพูดไว้เฉพาะสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ถ้าสงฆ์สะเปะสะปะเที่ยวบอกบุญอันโน้นอันนี้ อะไรที่มันผิดศีลผิดธรรม ด่าหน่อยก็ไม่เป็นไรหรอก สงฆ์เหล่านี้ให้เราสังเกตด้วยสายตาเรา ยิ่งคนที่เคยอ่านนวโกวาท ยิ่งจะรู้จักเรื่องของพระได้ดีในพระวินัย 227 ข้อ นี่แหละหากพระสงฆ์ทั้งหลายจะเป็นนิกาย จะเป็นธรรมยุต จะเป็นพระบ้าน จะเป็นพระป่า ก็แล้วแต่ หากตั้งอยู่ในสิกขาบทวินัย 227 ข้อนั้นแหละเป็นพระที่น่ากราบไหว้ น่าสักการบูชา หากสงฆ์ใดไม่สมบูรณ์ในศีล 227 ท่านว่าเป็นพวกอลัชชี พวกไม่มีหิริละอายต่อบาป

    บางคนก็สงสัยกังขาเหมือนกันในคำว่าติเตียนหมู่พระสงฆ์ เห็นสงฆ์ไม่ดีไม่งามไม่อยู่ในระเบียบธรรมวินัย จะว่ากล่าวตักเตือนอะไรก็ไม่กล้า กลัวพระไตรสรณคมน์ของตนจะขาด ไม่เป็นไรหรอก ตักเตือนว่ากล่าวท่านด้วยเพราะท่านจะลงนรกอเวจี เราก็ดึงเอาไว้ซิ ดึงไว้ลากเอาไว้ ได้บุญเสียด้วย เราผู้ตักเตือนว่ากล่าวอย่าเข้าใจว่าเป็นบาป ไม่เป็นบาปเป็นกรรมหรอก

    เข้ารีตเดียรถีย์ พวกเดียรถีย์ทั้งหลายเขานอนขวากนอนหนาม ย่างตนย่างตัว เมืองเราไม่ค่อยมีหรอก โน้นไปอินเดียจึงจะรู้จึงจะเห็น พวกเหล่านี้เป็นพวกต่อต้านพระพุทธศาสนา บางหมู่พวกเดียรถีย์ไม่ชอบชำระสะสางตนตัวยังไปพบอยู่ ไม่อาบน้ำ ไม่ตัดผม แล้วเอาขี้เถ้าทาตนทาตัว เป็นพวกเดียรถีย์เหมือนกัน เป็นลัทธิประเภทหนึ่ง เป็นผู้ศาสนาไม่รู้ศาสนาอะไรหรอก พวกโยดีเขาว่าเขาเป็นพวกผู้วิเศษเหมือนกัน คือสามารถปล่อยวางตนวางตัว เอาถ่านฟืนถ่านไฟมากลบหัว กลบหาง กลบตัว กลบตน มองไปเหมือนเปรตเหมือนผี หากเราไปเห็นแถวแม่น้ำคงคา พวกที่ว่าโยคีกลุ่มหนึ่ง กลุ่มหนึ่งปล่อยตนปล่อยตัวไม่มีผ้ามีแพรแหละ จะมีเป็นผู้ชายเป็นส่วนมาก มีบริวารติดตามตูด มีน้ำเต้าทองถือสำหรับใส่น้ำเวลาไปถ่าย นี้ก็เป็นพวกโยคีเหมือนกัน เขาถือว่าเขาสิ้นไปซึ่งอาสวกิเลสเหมือนกัน ละสักกายทิฎฐิได้แล้ว พวกเหล่านี้ไม่ถือตัวถือตน ไม่มีผ้ามีแพร เมืองเขาถือว่าเป็นผู้วิเศษละได้วางได้ พวกเหล่านี้ไม่มีบ้านเรือนอยู่ตามเพิกหินเพิกผาตามร่มไม้ ค่ำตรงไหนนอนตรงนั้น พวกโยคีจำพวกดังกล่าวถ้าเราไปกราบไหว้พวกเหล่านี้แล้วพระไตรสรณคมน์ก็ขาดไป

    นับถือศาสนาอื่น มีศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม อะไรเยอะแยะรวมทั้งการนับถือภูตผีปีศาจมาเป็นที่สักการบูชากราบไหว้ ศาสนาอื่นใดที่จะเสมอเหมือนศาสนาพุทธนั้นไม่มี ได้เพียงแต่สวรรค์เท่านั้น จะทำจะปฏิบัติให้ถึงพระนิพพานนั้นทำไม่ได้ แต่ศาสนาพุทธสามารถจะปฏิบัติไปถึงพระนิพพานได้ ปฏิบัติได้จนสิ้นอาสวกิเลสได้ ศาสนาพุทธของเราจึงถือว่าเป็นศาสนาอันเลิศประเสริฐสุด

    ทีนี้หากเรามั่นในพระไตรสรณคมน์จริงๆ แล้วถือเฉพาะพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่สักการบูชา นี่สมควรแก่มรรคแก่ผล เมื่อเราตั้งอกตั้งใจปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ก็มีโอกาสเกิดมรรคเกิดผลได้ ผู้นับถือไตรสรณคมน์ หากล้มหายตายไปปิดอบายภูมิ 4 ไม่ได้ไปเป็น เปรต อสูรกาย สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เว้นขาดได้เฉพาะภพชาติปัจจุบันเท่านั้น ภพชาติอื่นไม่รับรอง ได้เฉพาะชาติปัจจุบัน ผู้ถือพระไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่ง หากภูตผีปีศาจจะมาหลอกหลอนทำให้เจ็บป่วย เพียงแต่ผีเหล่านั้นมาใกล้มากลางศีรษะ พวกผีทั้งหลายแตก 7 ภาค นี่ผู้มั่นในพระไตรสรณคมน์ ทีนี้หากมีผู้ใดมาอิจฉาพยาบาทเบียดเบียนบุคคลผู้มีพระไตรสรณคมน์ กราบไหว้บูชาเช้า-เย็นมิได้ขาด คนนั้นก็เกิดความพินาศฉิบหาย อันนี้เห็นมาหลายราย สมัยอยู่กับหลวงปู่คำดี เคยเจอมีอยู่คนหนึ่งมาคอยอิจฉา ก็คือต้องการให้คนนั้นหนีจากที่นั้นไป คนนี้เกิดความระแวงใจว่าจะจัดการกับเขาก่อนให้มันหมดเรื่องไป ก็มากราบเรียนหลวงปู่ หลวงปู่ว่าอย่าเลยให้อโหสิเขาไป หากเราไปทำอย่างนั้นจะเป็นกรรมเป็นเวรต่อไปอีกหลายภพหลายชาติ ขอบิณฑบาตคุณเถอะ คนนี้เชื่อมั่นในหลวงปู่ มั่นอยู่ในพระไตรสรณคมน์ เขาก็มาอิจฉาเบียดเบียนจริงๆ ไปๆมาๆคนที่มาอิจฉาพยาบาทเบียดเบียนนั้น เกิดฆ่ากันตายโดยปริยายที่กลุ่มของเขา ผลสุดท้ายอยู่ด้วยความสบาย เพียงแต่เรานับถือกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่กราบไหว้บูชาก็ยังกำจัดภัยต่างๆได้ ปิดอบายภูมิทั้ง 4 ได้ น่าภูมิใจน่าพอใจน่าปฏิบัติจริงๆ นี่ละอำนาจพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ

    การปฏิบัติพระไตรสรณคมน์ ก็ไม่ได้ยากอะไรเลย กราบเช้า-กราบเย็นก็พอ ตอนเช้ากราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงค่อยลุกไปทำการทำงาน ก่อนจะหลับนอนก็กราบพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ แล้วจึงค่อยหลับนอน จึงไม่ใช่เรื่องหนักหนาอะไรเลยในการปฏิบัติต่อพระไตรสรณคมน์ แล้วก็เว้นโทษ 5 ประการดังกล่าว อย่าไปล่วงเกิน นี้เป็นเครื่องหมายของผู้ถือศาสนา

    อีกอย่างหนึ่งคือ ศีล 5 ประการ เราไม่เบียดเบียนใครเลยแหละ เราไม่ลักไม่ขโมยใครแหละ เราไม่ตะกละในกามคุณภรรยาสามีคนอื่นแหละ เราไม่โกหกหลอกลวงใครแหละ เราไม่กินเหล้าเมายาแหละ นี่เป็นเครื่องหมายของผู้ถือศาสนา ทีนี้หากเราประกาศตัวเราว่าเราถือภรรยาสามีของตนอยู่ เรายังโกหกหลอกลวงตอแหลคนอื่นอยู่ เรายังประกาศตนว่าเป็นผู้ถือศาสนามันก็ไม่เป็นผู้ถือศาสนาได้ เพราะการถือศาสนามันอยู่ที่การประพฤติปฏิบัติของพวกเรา ต้องอาศัยการปฏิบัติเสียก่อนจึงค่อยเป็นศีล เป็นธรรม เป็นศาสนาขึ้นมาได้ นี่แหละเป็นเครื่องหมายของผู้ถือศาสนาที่แท้จริง ขอให้เราท่านทั้งหลายได้พิจารณาและน้อมเข้าไปประพฤติปฏิบัติในตนของตน ก็จะประสบแต่ความสุขความเจริญ ดังให้คติมาก็เห็นสมควรแก่กาลเวลา เอวัง….

    หลวงพ่อสีทน สีลธโน วัดถ้ำผาปู่นิมิตร จ.เลย

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ๏ วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๒ ครบรอบ ๑๔๙ ปี ชาตกาลหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ๏

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าภูริทัตตถิราวาส (หนองผือนาใน) อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เดิมชื่อ มั่น นามสกุล แก่นแก้ว เป็นบุตรของ นายคำด้วง และ นางจันทร์ ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๑๓ ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ณ บ้านคำบง อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี

    เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่ามีความอยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดามารดาบวช ซึ่งท่านทั้งสองก็อนุญาต จึงได้เข้ารับการอุปสมบทในวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ณ วัดศรีทอง อ.เมือง จ. อุบลราชธานี โดยมีพระอริยกวี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “ ภูริทัตโต ” หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ไปพำนักจำพรรษา และศึกษาธรรมกับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโลที่วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

    หลังจากที่ท่านได้บรรลุธรรมขั้นสูงที่ถ้ำสาลิกาแล้ว ท่านได้กลับมายังภาคอีสาน การกลับมาของท่านคราวนี้ทำให้พระเณรตื่นตัวหันมาปฏิบัติกันอย่างจริงจังมากขึ้น บังเกิดเป็นกองทัพธรรมพระกรรมฐานได้นำธงชัยแห่งพระพุทธศาสนากระจายเผยแผ่อมตะธรรมไปทั่วสารทิศ ท่านได้นำลูกศิษย์ลูกหาออกบำเพ็ญภาวนา ยิ่งนับวันยิ่งมีผู้เคารพศรัทธาท่านเพิ่มมากขึ้น

    ท่านได้ไปจาริกแสวงธรรม อยู่ทางภาคเหนือนานถึง ๑๒ ปี ท่านจึงได้เดินทางกลับมายังภาคอีสานตามคำอาราธนานิมนต์ของลูกศิษย์ลูกหา พอกลับมาถึงภาคอีสานท่านได้เข้าพักที่วัดป่าสาลวัน เมืองโคราช จากนั้นท่านได้โดยสารรถไฟต่อไปยัง จ.อุดรธานี ที่ จ.อุดรธานีนี้ท่านได้เข้าพักที่วัดโพธิสมภรณ์ และวัดป่าโนนนิเวศน์ จนกระทั่งมีคณะศรัทธาจาก จ.สกลนคร มานิมนต์ให้ท่านไปโปรดพวกเขา ท่านจึงรับคำนิมนต์ โดยได้ไปพักอยู่ที่วัดป่าบ้านโคก ( วัดป่าวิสุทธิธรรม ) อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร หน้าแล้งในพรรษาหนึ่งก็ได้มีคณะศรัทธาจากบ้านหนองผือนาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เดินทางมานิมนต์ท่านไปสั่งสอนธรรม ท่านจึงรับนิมนต์และย้ายจาก อ.โคกศรีสุพรรณ ไปยังบ้านหนองผือนาใน และที่วัดป่าบ้านหนองผือแห่งนี้นี่เองเป็นสถานที่ที่ท่านพระอาจารย์มั่น จำพรรษาอยู่นานถึง ๕ พรรษา จนถึงวาระสุดท้ายปลายแดนแห่งปฏิปทาของท่าน

    ในวัยชรานับแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมาท่านมาอยู่จังหวัดสกลนคร ณ เสนาสนะป่าบ้านนามน อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร และที่ใกล้ๆแถวนั้นบ้าง ครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านมีอายุย่างขึ้น ๘๐ ปี ท่านเริ่มอาพาธเป็นไข้คณะศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิดก็ได้เป็นธุระรักษาพยาบาลไปตามกำลังความสามารถอาการอาพาธก็สงบไปบ้างเป็นครั้งคราว จนจวนจะออกพรรษาอาการอาพาธก็กำเริบมากขึ้น ข่าวนี้ได้กระจายไปอย่างรวดเร็วพอออกพรรษา คณะศิษยานุศิษย์ผู้อยู่ไกลต่างก็ทยอยกันเข้ามาปรนนิบัติพยาบาลแล้วนำท่านมาที่วัดป่าบ้านภู่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่ฉลวย สุธัมโม ลูกศิษย์ของท่านมาสร้างไว้ อาการอาพาธของท่านมีแต่ทรงกับทรุดลงโดยลำดับ ครั้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ คณะศิษย์ได้นำท่านมาพักที่วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร โดยพาหนะรถยนต์มาถึงวัดป่าสุทธาวาสเวลาเที่ยงเศษ ครั้นถึงเวลา ๐๒.๒๓ น. ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ ท่านก็ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ท่ามกลางคณะศิษยานุศิษย์ทั้งหลายสิริรวมอายุของท่านได้ ๘๐ ปี ตรงตามที่ท่านพยากรณ์ไว้แต่เดิม

    -วันที่-๒๐-มกราคม-๒๕๖๒-คร.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...