ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรียนเชิญคณะศิษย์ และท่านผู้ศรัทธา (ทั้งท่านสมาชิกFb – Line สหายธรรม ทุกๆท่านอันมีจิตร่วมมุทิตา…)

    ขอเรียนเชิญ ร่วมงาน”มุทิตาจิต สานรัก สามัคคี กตัญญู บูชาครู ปี’62” (อย่างเป็นทางการ ติดต่อกัน เป็นปีที่ ๑๓)

    …พิธีอัญเชิญบารมีแหุ่งพุทธานุภาพ -บูรพาจารย์ -ประสิทธิพระยันต์เกราะเพชร

    อธิษฐานธรรม อัญเชิญพุทธบารมี โดยอ.ทองทิพย์ โอภาโส

    ในวันมาฆบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (ตรงกับวันเกิดทางจันทรคติ ของท่านอ.) ในวันอังคาร ที่ ๑๙ ก.พ.๒๕๖๒

    ลงทะเบียน ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๓.๐๐น.
    เริ่มพิธี ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๙ -๑๗.๐๐ น.

    ….เวลา ๐๗.๐๙น.พระภิกษุสงฆ์เจริญพระพระพุทธชัยมงคลคาถา

    – เชิญร่วมน้อมถวายภัตราหารเช้า – สังฆทาน-จตุปัจจัย แด่พระภิกษุสงฆ์ ๙ รูป

    – พิธีบวงสรวงบูชา อัญเชิญสังฆบารมีองค์พระอุปคุตมหาเถรเจ้า

    ….เวลา๐๙.๐๙น. จุดเทียนบูชาคุณพระรัตนตรัย – ชุดเทียนนวหรคุณฯ -จุดเทียนชัย

    – พิธีบวงสรวง อ่านโองการบูชาคุณพระรัตนตรัย บูชาครู ฯลฯ

    – อ่านโคลงอาจาริยบูชา โดยศิษย์อาวุโส

    …พิธี ประสิทธิพระยันต์เกราะเพชร.. …(จัดลำดับตามรอบ ตามบัตรคิว ครบทุกๆท่าน จนครบถ้วน ตลอดพิธี เช้า-บ่าย)

    ฟรี!…ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น… มีอาหารเลี้ยงนานาชนิด เลี้ยงฟรี ตลอดงาน พร้อมรับของที่ระลึก

    แต่งกายสุภาพชุดขาว / จัดเตรียมดอกไม้ (ดอกบัวหรือพวงมาลัย)-ธูป ๓ ดอก เทียน ๑ เล่ม

    -องค์พระชัยวัฒน์เมตตาน้อยเนื้อผงพุทธคุณพิเศษ

    – ผ้ายันต์เกราะเพชรรุ่นพิเศษ

    -สิ่งมงคลที่ระลึกทรงคุณค่าอื่นๆ

    ณ.อาศรมธรรม โอภาโส หมู่บ้านเมืองเอกรังสิต(โครงการ๑) ซ.เอกอุดร๒ ถ.พหลโยธิน ๘๗ อ.เมือง จ.ปทุมธานี (ทางเข้า มหาวิทยาลัยรังสิต)

    …จากสนามบินดอนเมือง ตรงเข้าถ.พหลโยธิน ผ่านห้างเซียร์รังสิต ชิดซ้ายเข้าเลนในสุด

    -ผ่านตลาดสี่มุมเมือง ผ่านปั้มเอสโซ่ ชิดซ้ายเข้าซ.พหลโยธิน87 ทางเข้ามหาวิทยาลัยรังสิต-สนามกอล์ฟเมืองเอก

    – วิ่งตรงตลอด ข้ามสะพานข้ามทางรถไฟ-ข้ามสะพานข้ามคลอง

    -ผ่านหน้าวัดรังสิต-ตรงเข้าหมู่บ้านเมืองเอก

    -สี่แยกศาลพระพรหม เลี้ยวขวา ตรงตลอดสุดซอยตัน (สังเกตุป้าย บอกทาง “อาศรมธรรม โอภาโส) หรือ…

    (เปิดนำทางแผนที่… google map: “อาศรมธรรม โอภาโส”) นำทางมาถึงอาศรมโดยสะดวก

    “พระอะระหังเมตตา บุญรักษา อายุ วรรโณ สุขัง พลัง อันตะรายายะ วินาสสันติ”

    “อาศรมธรรม โอภาโส”

    ได้ข้อมูลและรูปภาพ จากอาศรมธรรม โอภาโส

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่ข่าวสารงานบุญนี้ ทุกๆท่าน

    -และท่.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    วันมาฆบูชา ความหมายคืออะไร

    คำว่า “มาฆะ” นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า “มาฆบุรณมี” หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3

    การกำหนดวันมาฆบูชา

    การกำหนดวันมาฆบูชาตามปฏิทินจันทรคติของไทยนั้นจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม

    ประวัติวันมาฆบูชา ความสำคัญของวันมาฆบูชา

    ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า “ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์”

    ทั้งนี้ ในวันมาฆบูชาได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อม ๆ กันถึง 4 ประการ อันได้แก่

    1. วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์

    2. มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    3. พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6

    4. พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ “เอหิภิกขุอุปสัมปทา”

    และเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า “วันจาตุรงคสันนิบาต” ซึ่งคำว่า “จาตุรงคสันนิบาต” นี้ มีความหมายตามการแยกศัพท์คือ

    – จาตุร แปลว่า 4
    – องค์ แปลว่า ส่วน
    – สันนิบาต แปลว่า ประชุม

    ดังนั้น “จาตุรงคสันนิบาต” จึงหมายความว่า “การประชุมด้วยองค์ 4” นั่นเอง

    ทั้งนี้ วันมาฆบูชา ถือว่าเป็นวันพระธรรม ขณะที่วันวิสาขบูชาถือว่าเป็นวันพระพุทธ ส่วนวันอาสาฬหบูชา เป็นวันพระสงฆ์

    ประวัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย

    พิธีทำบุญวันมาฆบูชานี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีมาในสมัยใด อย่างไรก็ตามในหนังสือ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของ “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ว่า

    ประเทศไทยเริ่มกำหนดพิธีปฏิบัติในวันมาฆบูชาเป็นครั้งแรกในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งมีการประกอบพิธีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2394 ในพระบรมมหาราชวังก่อน โดยมีพิธีพระราชกุศลในเวลาเช้า นมัสการพระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศราชวรวิหารและวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร จำนวน 30 รูป ฉันภัตตาหารในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

    เมื่อถึงเวลาค่ำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ทรงจุดธูปเทียนนมัสการ พระสงฆ์ทำวัตรเย็นและสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ เมื่อสวดจบทรงจุดเทียน 1,250 เล่ม รอบพระอุโบสถ มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนาโอวาทปาติโมกข์ 1 กัณฑ์ เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลี และภาษาไทย ส่วนเครื่องกัณฑ์ประกอบด้วยจีวรเนื้อดี 1 ผืน เงิน 3 ตำลึง และขนมต่าง ๆ เมื่อเทศนาจบ พระสงฆ์ 30 รูป สวดรับ

    ในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปี แต่มีการยกเว้นบ้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากบางครั้งตรงกับช่วงเสด็จประพาสก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชาในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีกแห่ง นอกเหนือจากภายในพระบรมมหาราชวัง

    ต่อมาการประกอบพิธีมาฆบูชาได้แพร่หลายออกไปภายนอกพระบรมมหาราชวัง และประกอบพิธีกันทั่วราชอาณาจักร ทางรัฐบาลจึงประกาศให้เป็นวันหยุดทางราชการด้วย เพื่อให้ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพได้ไปวัด เพื่อทำบุญกุศลและประกอบกิจกรรมทางศาสนา

    นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยประกาศให้วันมาฆบูชา เป็นวันกตัญญูแห่งชาติอีกด้วย

    วันมาฆบูชา กับหลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ

    หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติคือ “โอวาทปาติโมกข์” ซึ่งเป็นหลักคำสอนสำคัญอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้น หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้

    หลักการ 3 คือหลักคำสอนที่ควรปฏิบัติ ได้แก่

    1. การไม่ทำบาปทั้งปวง คือ การลด ละ เลิก ทำบาปทั้งปวง อันได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางแห่งความชั่ว 10 ประการที่เป็นความชั่วทางกาย (การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม) ทางวาจา (การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ) และทางใจ (การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม)

    2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ การทำความดีทุกอย่างตาม กุศลกรรมบถ 10 ทั้งความดีทางกาย (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ประพฤติผิดในกาม) ความดีทางวาจา (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อ) และความดีทางใจ (ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น มีความเมตตาปรารถนาดี มีความเข้าใจถูกต้องตามทำนองคลองธรรม)

    3. การทำจิตใจให้ผ่องใส คือ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หลุดจากนิวรณ์ที่คอยขัดขวางจิตใจไม่ให้เข้าถึงความสงบ ได้แก่ ความพอใจในกาม, ความพยาบาท, ความหดหู่ท้อแท้, ความฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย

    ซึ่งทั้ง 3 หลักการข้างต้น สามารถสรุปใจความสำคัญได้ว่า “ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์” นั่นเอง

    อุดมการณ์ 4 ได้แก่

    1. ความอดทน อดกลั้น คือ ไม่ทำบาปทั้งกาย วาจา ใจ
    2. ความไม่เบียดเบียน คือ งดเว้นจากการทำร้าย หรือเบียดเบียนผู้อื่น
    3. ความสงบ ได้แก่ การปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย วาจา ใจ
    4. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

    วิธีการ 6 ได้แก่

    1. ไม่ว่าร้าย คือ ไม่กล่าวให้ร้าย โจมตีใคร
    2. ไม่ทำร้าย คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
    3. สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ เคารพระเบียบวินัย กฎกติกา รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม
    4. รู้จักประมาณ คือ รู้จักความพอดีในการบริโภค รวมทั้งการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
    5. อยู่ในสถานที่สงัด คือ อยู่ในสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
    6. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ คือ การฝึกหัดชำระจิตใจให้สงบ มีประสิทธิภาพที่ดี

    วันมาฆบูชา

    กิจกรรมวันมาฆบูชาที่ควรปฏิบัติ

    การปฏิบัติตนสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันมาฆบูชา คือ ในตอนเช้า ควรไปทำบุญตักบาตร ไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนา หรือจัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหาร ช่วงบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา เจริญสมาธิภาวนา เมื่อถึงตอนค่ำ นำดอกไม้ ธูป เทียนไปเวียนเทียน 3 รอบที่พระอุโบสถ โดยการเวียนเทียนนั้นจะเวียนขวา จำนวน 3 รอบ และช่วงเวลาที่เดินอยู่นั้นให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนควรบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ตามสถานที่ต่าง ๆ และรักษาศีล สำหรับตามบ้านเรือน สถานที่ราชการ จะมีการประดับธงชาติ ธงธรรมจักร เพื่อระลึกถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

    ข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันมาฆบูชา

    กิจกรรมวันมาฆบูชาเกี่ยวกับครอบครัว

    กิจกรรมที่ครอบครัวควรทำในวันมาฆบูชา อย่างเช่น การทำความสะอาดบ้าน จัดแต่งที่บูชาประจำบ้าน ชักชวนครอบครัวไปทำบุญตักบาตร ฟังศีล ฟังธรรม บำเพ็ญกุศล ปฏิบัติธรรม รวมทั้งควรศึกษาหลักธรรมคำสั่งสอน และความสำคัญของวันมาฆบูชาด้วย

    กิจกรรมวันมาฆบูชาเกี่ยวกับสถานศึกษา

    ในสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอีกแห่ง โดยภายในสถานศึกษาควรมีการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันมาฆบูชา เช่น จัดนิทรรศการให้ความรู้ ประกวดเรียงความ ตอบปัญหาธรรมะ บรรยายธรรม หรือร่วมกันทำบุญ ตักบาตร เวียนเทียน บำเพ็ญกุศล อีกทั้งประกาศเกียรติคุณนักเรียนผู้ทำประโยชน์ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

    กิจกรรมวันมาฆบูชาเกี่ยวกับสถานที่ทำงาน

    ควรประชาสัมพันธ์ในที่ทำงาน และจัดให้มีการบรรยายธรรม หรือบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน ร่วมทำบุญ บำเพ็ญกุศลร่วมกัน

    กิจกรรมวันมาฆบูชาเกี่ยวกับสังคม

    ภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็น วัด มูลนิธิ สมาคม สื่อมวลชน สนามบิน สถานีรถไฟ ฯลฯ ควรช่วยกันประชาสัมพันธ์ความสำคัญของวันมาฆบูชา อาจเป็นการพิมพ์เอกสารให้ความรู้ จัดให้มีการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน เช่น ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม ช่วยกันรณรงค์ให้เลิกอบายมุข โดยรณรงค์ให้ช่วยกันทำประโยชน์ต่อสังคมแทน อาจช่วยกันปลูกต้นไม้ ทำความสะอาดที่สาธารณะ ฯลฯ

    ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดกิจกรรมในวันมาฆบูชา

    พุทธศาสนิกชนจะมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับความสำคัญของวันมาฆบูชา รวมทั้งหลักธรรมต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความตระหนักต่อความสำคัญของพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะชาวพุทธ และยังเป็นการช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไป

    ได้ข้อมูลและรูปภาพจาก https://hilight.kapook.com/view/20696

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ความหมายคืออ.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    1f539.png โอวาทธรรม:พระคุณเจ้าหลวงพ่อโอภาสี 1f539.png

    ฉันน้อยทำความเพียรมาก
    ขัดเกลากิเลสออกจากจิตใจ
    ไม่คำนึงถึงลาภสักการะยศฐาบรรดาศักดิ์
    ขอกำจัดพญามาร และเสนามารน้อยใหญ่
    ที่คอยมารบเร้าจิตใจ
    ให้ราบคาบสิ้นไปเท่านั้น

    1f33b.png ที่มา:บันทึกรวมธรรมคำสอนพระอริยเจ้า 1f33b.png

    1f538.png ธรรมะประจำวันที่ 18-2-2562 1f538.png

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    หลวงพ่อดีเนาะ ผู้มองโลกในแง่ดี
    “พระเทพวิสุทธาจารย์ สาธุอุทานธรรมวาที”
    วัดมัชฌิมาวาส ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี
    เขียนเล่าเรื่องโดย พระไพศาล วิสาโล

    มีหลวงพ่อองค์หนึ่งซึ่งเลื่องลือกันว่า เป็นพระที่มีแต่ความสุข ไม่เคยมีความทุกข์ วันหนึ่ง โยมมานิมนต์ท่านไปเทศน์ที่บ้าน บอกท่านว่าจะมารับแต่เช้า หลวงพ่อก็นั่งรอจนสายโยมก็ไม่มาสักที ท่านจึงว่า “ไม่มา ก็ดีเหมือนกันเนาะ เราฉันข้าวของเราดีกว่า”

    ท่านฉันข้าวได้ไม่กี่คำ โยมก็มารับพอดี กราบกรานขอโทษที่มาช้าเหตุเพราะว่ารถเสีย

    หลวงพ่อจึงหยุดฉัน “ก็ดีเนาะ ไปฉันที่งานเนาะ”

    หลวงพ่อนั่งรถไปได้สักพัก เครื่องรถก็ดับ คนขับบอก “รถเสียครับ”

    หลวงพ่อก็ว่า “ดีเนาะ ได้หยุดพักชมวิวเนาะ”

    คนขับง่วนอยู่กับรถพักใหญ่ ทำอย่างไรเครื่องก็ไม่ติด จึงออกปากขอร้องให้หลวงพ่อช่วยเข็นรถ ความจริงหลวงพ่อก็แก่แล้ว ข้าวก็ฉันได้ไม่กี่คำ แต่แทนที่จะบ่น ท่านกลับยิ้มบอกว่า “โอ้ดีเนาะ ได้ออกกำลังเนาะ”

    แล้วท่านก็ขมีขมันออกแรงช่วยเข็นรถจนวิ่งได้ ปรากฏว่ากว่าจะถึงบ้านงานก็เลยเที่ยงแล้ว หมดเวลาฉันอาหารไปแล้ว เป็นอันว่า วันนั้นหลวงพ่ออดข้าวทั้งสองมื้อ แต่เนื่องจากได้เวลาเทศน์แล้ว เจ้าภาพจึงนิมนต์ท่านขึ้นเทศน์ทันที หลวงพ่อก็สนองด้วยดี “ดีเนาะ มาถึงก็ได้ทำงานเลยเนาะ”

    ว่าแล้วท่านก็ขึ้นธรรมมาสน์เทศน์จนจบ มีคนชงกาแฟถวาย แต่เผลอตักเกลือใส่แทนน้ำตาล หลวงพ่อจิบกาแฟไปได้หน่อยก็โยมว่า “ดีเนาะ” แล้วก็วาง ธรรมเนียมของญาติโยมที่ศรัทธาเกจิอาจารย์ เวลาท่านฉันอะไรเหลือ ลูกศิษย์ก็อยากได้บ้าง ถือเป็นสิริมงคล แต่ลูกศิษย์ดื่มกาแฟแค่อึกแรกเท่านั้นก็พ่นพรวดออกมา

    “เค็มปี๋เลยหลวงพ่อ ฉันเข้าไปได้ยังไง !”

    “ดีเนาะ ฉันกาแฟหวานๆ มานาน”

    หลวงพ่อว่า “ฉันเค็มๆ มั่งก็ดีเหมือนกัน”

    ไม่ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับท่าน จะแย่แค่ไหน หลวงพ่อก็มองเห็นแต่แง่ดี ท่านจึงไม่มีความทุกข์เลย

    เคยมีลูกศิษย์ใกล้ชิดคนหนึ่งไปทำผิด ถูกจับติดคุก ท่านก็ว่า “ก็ดีเนาะ มันจะได้ศึกษาชีวิต”

    หลวงพ่อดีเนาะมิใช่เป็นหลวงตาธรรมดาๆ หากเป็นพระผู้ใหญ่ที่มีชื่อของจังหวัดอุดรธานี ที่ใครๆ ก็รู้จัก ท่านมีลูกศิษย์ลูกหาและผู้เคารพนับถือทั่วประเทศ การประพฤติปฏิบัติของท่านเป็นที่เล่าขานกันมากมายหลายเรื่อง เช่น มีผู้เล่าว่า กุฏิของท่านเป็นที่จับตาของโจรผู้หนึ่ง เพราะเห็นว่ามีสิ่งของมีค่ามากมายที่ญาติโยมนำมาถวาย วันหนึ่งได้โอกาสบุกเข้าประชิดตัวหลวงพ่อบนกุฏิ พร้อมปืนในมือ “นี่คือการปล้น อย่าได้ขัดขืนนะหลวงพ่อ”

    หลวงพ่อแทนที่จะตกใจหรือโมโห ยิ้มให้โจรด้วยอารมณ์ดี และกล่าวกับโจรอย่างนิ่มนวลว่า “ปล้นก็ดีเนาะ”

    โจรแปลกใจในคำพูดและท่าทีของหลวงพ่อ จึงพูดว่า “ถูกปล้นทำไมว่าดีละหลวงพ่อ”

    หลวงพ่อตอบว่า “ทำไม่จะไม่ดีละ ก็ข้าต้องทนทุกข์ทรมานเฝ้าไอ้สมบัติบ้าๆ นี้ตั้งนานแล้ว เอ็งเอาไปเสียให้หมด ข้าจะได้ไม่ต้องเฝ้ามันอีก”

    โจรตอบว่า “ไม่ใช่ปล้นอย่างเดียว ฉันต้องฆ่าหลวงพ่อด้วย เพื่อปิดปากเจ้าทรัพย์”

    หลวงพ่อก็ตอบเหมือนเดิม “ฆ่าก็ดีเนาะ”

    โจรแปลกใจจึงถามว่า “ถูกฆ่ามันจะดีได้อย่างไรล่ะหลวงพ่อ”

    หลวงพ่อตอบ “ข้ามันแก่แล้ว ตายเสียได้ก็ดี จะได้ไม่ทุกข์ร้อนอะไร”

    โจรรู้สึกอ่อนใจเลยบอกว่า “ถ้าอย่างนั้นฉันไม่ฆ่าหรอก”

    หลวงพ่อก็พูดเหมือนเคย “ไม่ฆ่าก็ดีเนาะ”

    โจรถามอีก “ทำไมฆ่าก็ดี ไม่ฆ่าก็ดีอีก”

    หลวงพ่อตอบว่า “การฆ่ามันเป็นบาป เอ็งจะต้องใช้เวรทั้งชาตินี้และชาติหน้า อย่างน้อยตำรวจเขาจะต้องตามจับเอ็งเข้าคุก เข้าตะราง หรือไม่ก็ถูกฆ่าตาย ตายแล้วก็ยังตกนรกอีก”

    ได้ยินเช่นนี้โจรเลยเปลี่ยนใจ “ถ้าอย่างนั้นฉันไม่ปล้นหลวงพ่อแล้ว”

    หลวงพ่อก็ตอบอีกว่า “ไม่ปล้นก็ดีเนาะ”

    มีผู้เล่าต่อมาว่า ในที่สุดโจรคนนั้นก็สำนึกบาปเข้ามอบตัวกับตำรวจ เมื่อพ้นโทษออกมาก็ขอให้หลวงพ่อบวชให้และอยู่ในผ้าเหลืองเป็นเวลานาน ส่วนหลวงพ่อมีคนให้ฉายาท่านว่า “หลวงพ่อดีเนาะ” มาจนทุกวันนี้

    หลวงพ่อดีเนาะ แห่งวัดมัชฌิมาวาส อุดรธานี เป็นผู้ที่มองเห็นข้อดีของทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับท่าน อีกทั้งท่านยังมองคนอื่นในแง่ดีเสมอ ไม่เคยว่าใครหรือจับผิดใคร เจอปัญหาอะไรๆ ก็พูดว่า “ดีเนาะ” ในที่สุดจึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น “พระเทพวิสุทธาจารย์ สาธุอุทานธรรมวาที” ซึ่งแปลว่า ผู้สอนธรรมด้วยการเปล่งคำว่าดีเนาะ

    -ผู้มองโลก.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    1f33c.png เนื่องในดิถีมาฆบูชา วันอังคาร ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม ความว่า

    “ดิถีมาฆบูชาได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว พุทธศาสนิกชนต่างทราบกันดีว่า ในดิถีเพ็ญเดือน ๓ เช่นนี้ เป็นวันคล้ายวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ประทานแก่พระสาวก ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งล้วนอุปสมบทโดยวิธีเอหิภิกขุและเป็นพระอรหันต์

    ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มให้มีวันมาฆบูชาขึ้นในประเทศไทย ก็เพื่อให้พุทธบริษัทร่วมกันบูชาพระรัตนตรัยเป็นกรณีพิเศษ และน้อมรำลึกถึงพระธรรม ที่พระศาสดาทรงพระมหากรุณาประทานไว้เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ๒. การบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม และ ๓. การชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง

    การได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธที่แท้นั้น มิได้อยู่ที่การขึ้นทะเบียนหรือการป่าวประกาศ หากอยู่ที่การศึกษาพระธรรมคำสั่งสอน ด้วยวิธีการฟังหรือการอ่าน เปรียบเสมือนการศึกษาแผนที่นำทางให้รอบคอบชัดเจน จะได้ไม่หลงทางและไม่เสียเวลา การศึกษาพระธรรมในระดับนี้เรียกว่า ’ปริยัติธรรม’ ซึ่งจำเป็นยิ่งสำหรับพุทธบริษัท ในฐานะที่เป็น ‘สาวก’ ซึ่งแปลว่าผู้ฟัง ย่อมไม่ใช่ผู้คิดเองตรัสรู้เอง แต่ต้องวางตนเป็นผู้ฟังที่ดีของพระศาสดา

    การศึกษาที่ดีจักช่วยป้องกันไม่ให้หลงใหลไปเป็นมิจฉาทิฐิ ไม่นับถือหรือเชื่อสิ่งผิดๆ เพราะมีพระพุทธธรรมเป็นเครื่องสกัดกั้นความตกต่ำ และคอยชี้หนทางที่ถูกต้องให้อยู่ตลอดเวลา

    ครั้นศึกษาพระธรรมในระดับการฟังจนเจนจบแล้ว คุณภาพของจิตใจย่อมยกระดับไปสู่การปฏิบัติ ที่เรียกว่า ‘ปฏิบัติธรรม’ เป็นสติสัมปชัญญะที่สามารถเข้าถึงเฉพาะสภาพธรรมที่ปรากฏ จนปราศจากความยึดมั่นถือมั่นว่านั้นเป็นเรา นี้เป็นของเรา น้อมนำเข้าไปถึง ‘ปฏิเวธธรรม’ คือการบรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด

    วันมาฆบูชาอันเป็นวันประกาศหัวใจพระศาสนา จึงเป็นโอกาสที่ชาวพุทธพึงปฏิญาณตนว่าจะหันมาศึกษาพระธรรมอย่างจริงจัง มิใช่เพียงในระดับพิธีกรรมหรือโดยผิวเผิน เพื่อให้เกิดสติปัญญา สามารถอำนวยความร่มเย็นมาสู่ชีวิตและสังคมส่วนรวมได้สมความมุ่งมาดปรารถนา

    ขอพระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจงดำรงมั่นคงอยู่ในโลกนี้ตลอดกาลนาน และขอพุทธบริษัททั้งหลายจงพร้อมเพรียงกันศึกษาพระสัทธรรมนั้น เพื่อบรรลุถึงความงอกงามไพบูลย์ยิ่งๆ ขึ้นสืบไป เทอญ.”

    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    -วัน.jpg

    ที่มา ธรรมะของพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 โดย วันมาฆบูชาปีนี้ ตรงกับวันอังคาร ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 สำหรับประวัติมาฆบูชา เป็นวันที่พระสงฆ์ จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันมหาวิหาร ในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย โดยพระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า และบรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆ องค์

    คำว่า “มาฆะ” นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า “มาฆบุรณมี” หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3

    การกำหนดวันมาฆบูชาตามปฏิทินจันทรคติของไทยนั้นจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม

    ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า “ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์”

    ทั้งนี้ ในวันมาฆบูชาได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อม ๆ กันถึง 4 ประการ อันได้แก่

    1. วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์

    2. มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    3. พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6

    4. พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ “เอหิภิกขุอุปสัมปทา”

    และเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า “วันจาตุรงคสันนิบาต” ซึ่งคำว่า “จาตุรงคสันนิบาต” นี้ มีความหมายตามการแยกศัพท์คือ

    – จาตุร แปลว่า 4
    – องค์ แปลว่า ส่วน
    – สันนิบาต แปลว่า ประชุม

    ดังนั้น “จาตุรงคสันนิบาต” จึงหมายความว่า “การประชุมด้วยองค์ 4” นั่นเอง

    ทั้งนี้ วันมาฆบูชา ถือว่าเป็นวันพระธรรม ขณะที่วันวิสาขบูชาถือว่าเป็นวันพระพุทธ ส่วนวันอาสาฬหบูชา เป็นวันพระสงฆ์

    -ตรงกับวันขึ้.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...