ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ขอเรียนเชิญท่านสาธุชน ศิษยานุศิษย์ ทุกท่าน ่วมพิธีเททองหล่อรูปเหมือนสัมฤทธิ์พระวิสุทธิญาณเถร ( หลวงปู่สมชาย ิตวิริโย) ผู้ก่อตั้งวัดเขาสุกิม

    เพื่อประดิษฐาน ณ มณฑปปูชนียาจารย์ อนุสรณ์สถาน ครบ ๕๐ ปี วัดเขาสุกิม(๒๕๐๗-๒๕๕๗)

    วันจันทร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๒ เวลา ๑๕.๐๙ เริ่มพิธีเททอง

    ณ มณฑลพิธี วัดเขาสุกิม ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

    โดยมี พระเทพมงคลญาณ (หลวงปู่สนธิ์ อนาลโย) วัดพุทธบูชา เป็นองค์ประธานในพิธี

    -ศ.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ทรงพระเจริญ

    .jpg

    ที่มา ธรรมะของพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    แนวปฏิบัติในองค์ฌานทั้ง ๕

    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    วัดบวรนิเวศวิหาร
    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรม
    ในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ
    ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการพระผู้มีพระภาค
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    ตั้งใจนมัสการพร้อมทั้งพระธรรมพระสงฆ์ ตั้งใจ
    ถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมพระสงฆ์
    เป็นสรณะคือที่พึ่ง ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล
    ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
    ในการปฏิบัติสมาธินั้น แนวทางปฏิบัติ
    ทั่วไป ก็อาศัยแนวทางแห่งองค์ทั้ง ๕ ของปฐมฌาน
    คือฌานที่ ๑ อันคำว่า ฌาน นั้นตามศัพท์แปลว่า
    ความเพ่ง หมายถึงจิตที่เพ่งแนบแน่น เป็นอัปปนาสมาธิ
    คือสมาธิที่แนบแน่น จึงจะเรียกว่าฌานคือความเพ่ง
    เป็นความเพ่งของจิตในกรรมฐานอย่างแนบแน่น จึง
    จะเรียกว่าฌาน ซึ่งอัปปนาสมาธิ
    สมาธิอย่างแนบแน่นอันเรียกว่าฌานนั้น ก็
    ยังมีลักษณะของความแนบแน่นเป็นชั้นๆ ขึ้นไป
    อัปปนาสมาธิ ปฐมฌาน
    สำหรับในชั้นแรกซึ่งเป็นปฐมฌาน
    ความเพ่งที่ ๑ นั้น มีองค์ ๕ คือ
    ๑ วิตก
    ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์กรรมฐาน ซึ่งเราแปลกันทั่วไปว่า
    ความตรึก แต่ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความตรึกนึกคิดทั่วไป
    แต่หมายถึงความตรึกนึกกำหนดในอารมณ์ของกรรมฐาน
    เท่านั้น
    ๒ วิจาร ความตรอง ที่แปลกัน
    ทั่วไปว่าความตรอง แต่สำหรับสมาธิหมายถึง
    ความประคองจิตไว้ในอารมณ์ของกรรมฐาน คือ
    ให้ตรึกนึกกำหนดอยู่จำเพาะอารมณ์ของกรรมฐานเท่า
    นั้น ความที่คอยประคองจิตไว้ดั่งนี้เรียกว่าวิจาร
    ซึ่งมักแปลกันทั่วไปว่าความตรอง แต่ไม่ได้หมายความ
    ถึงความตรองเรื่องอะไรต่ออะไร
    ๓ ปีติ ความอิ่มใจดูดดื่มใจ
    ๔ สุข ความสบายกายความสบายใจ
    และ
    ๕ เอกัคคตา
    ความที่จิตมีอารมณ์อันเดียว ซึ่งเป็นลักษณะของสมาธิ
    โดยตรง เพราะสมาธิโดยตรงนั้นจะต้องมีเอกัคคตา คือ
    ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว หรือความมีอารมณ์
    เป็นอันเดียวกันของจิต เรียกว่าเอกัคคตา
    เป็นลักษณะของสมาธิทั่วไป
    องค์ฌานทั้ง ๕
    องค์ทั้ง ๕ นี้เป็นองค์ของฌาน
    ตั้งต้นแต่ปฐมฌานคือฌานที่ ๑ แต่แม้ว่าจิตจะยังไม่
    เป็นสมาธิแนบแน่นถึงปฐมฌาน
    ในการปฏิบัติสมาธิตั้งแต่เบื้องต้นที่เป็นขั้น
    บริกัมมภาวนา การภาวนาเริ่มต้น อุปจารภาวนา
    ภาวนาที่จิตเป็นสมาธิใกล้จะแนบแน่น ก็จะ
    ต้องอาศัยการปฏิบัติในองค์ฌานทั้ง ๕ นี้ เป็นอันว่าจะ
    ต้องมีการอาศัยองค์ฌานทั้ง ๕ นี้ปฏิบัติตั้งแต่
    ในเบื้องต้น
    คือ ๑ ในการเริ่มปฏิบัติ
    ในขั้นบริกัมมภาวนา ก็จะต้องมีวิตก คือ
    ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ของสมาธิ ดั่งเช่น
    จะยกเอาลมหายใจเข้า ลมหายใจเข้าออก
    เป็นอารมณ์ของสมาธิ คือเป็นกรรมฐานที่จะปฏิบัติ ก็
    ต้องยกจิตมากำหนดอยู่ที่ลมหายใจเข้าลมหายใจออก
    ตั้งต้นแต่ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเอา
    ไว้ว่านั่งกายตรง ดำรงสติมั่น จำเพาะหน้า
    คือนำสติมาตั้งอยู่จำเพาะลมหายใจเข้าออก
    เรียกว่าจำเพาะหน้า เพราะว่าต้องการลมหายใจ
    เข้าออกมาเป็นกรรมฐาน ลมหายใจเข้าออกจึง
    ได้ถูกยกขึ้นมาไว้จำเพาะหน้า จำเพาะหน้าของจิต
    นั้นเอง เหมือนอย่างจิตเป็นบุคคล ก็มีหน้าจับ
    อยู่ที่ลมหายใจเข้าลมหายใจออก
    ดูอยู่ที่ลมหายใจเข้าลมหายใจออก เห็น
    อยู่ที่ลมหายใจเข้าลมหายใจออก ด้วยสติคือ
    ความกำหนด อาการที่ยกจิตขึ้นสู่ลมหายใจเข้าออก
    กำหนดอยู่ด้วยสติ หายใจเข้าก็ให้รู้ หายใจออกก็ให้รู้
    ดั่งนี้เรียกว่าวิตกคือความตรึก ต้องใช้วิตกคือ
    ความตรึกนี้ ตรึกถึงสมาธิ คือตรึกถึงอารมณ์ของสมาธิ
    แต่ไม่ตรึกนึกคิดไปในเรื่องอื่นตั้งแต่ในเริ่มต้น
    อันนี้แหละเป็นตัวบริกัมมภาวนา คือการภาวนาที่
    เป็นการปฏิบัติเบื้องต้น ต้องมีการกระทำโดยรอบ
    ความหมายของคำว่าบริกรรมภาวนา
    บริกัมมนั้นตามศัพท์ก็แปลว่ากระทำ
    โดยรอบ ก็หมายความว่ากระทำสติ คือ
    ความกำหนดลมหายใจนี้โดยรอบ คือว่าทั่วถึง เมื่อไม่
    ทั่วถึงก็แปลว่าไม่โดยรอบ ทั่วถึงก็คือว่าลมหายใจเข้าก็
    ให้รู้ ลมหายใจออกก็ให้รู้ และซึ่งความทั่วถึงนี้
    ท่านอาจารย์จึงได้มีอธิบายดังที่กล่าวแล้ว ว่าหายใจ
    เข้านั้นก็เข้าไป ๓ จุด ปลายจมูก
    หรือริมฝีปากเบื้องบน อุระคือทรวงอก นาภีที่พองขึ้น
    และเมื่อหายใจออกก็ ๓ จุด นาภีที่ยุบลง
    อุระคือทรวงอก และก็มาออกที่ปลายจมูก
    หรือริมฝีปากเบื้องบน
    แปลว่ามีสติกำหนดให้ทั่วถึงดั่งนี้
    จึงเรียกว่าบริกัมมที่แปลว่ากระทำไว้โดยรอบ
    คือกระทำสติกำหนดลมหายใจเข้าออกทั้งหมดคือ
    โดยรอบ
    และก็ดังที่ได้กล่าวอธิบายแล้วว่า
    เมื่อจิตรวมตัวเข้ามาแล้ว ก็ไม่
    ต้องเอาจิตเดินทางดูลมหายใจ เข้าไป ๓ จุด ออก ๓
    จุดดั่งกล่าวนี้ เพราะว่าเมื่อนำจิตเดินทาง
    เข้าเดินทางออก ตามลมหายใจเข้าลมหายใจออก
    อยู่ดั่งนี้ จิตก็ยังไม่เป็นเอกัคคตา คือยังไม่มีอารมณ์
    เป็นอันเดียว ยังต้องเดินทางเข้าเดินทางออก
    อยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น เมื่อรวมจิตเข้าแล้ว ท่าน
    จึงตรัสสอนให้ทิ้งเสีย ๒ จุด เหลือแต่จุดเดียว
    ซึ่งบางอาจารย์ก็ได้แนะให้ใช้ริมฝีปากเบื้องบน
    หรือปลายจมูกดังกล่าวนั้น อันเป็นที่ๆ
    ลมกระทบเมื่อหายใจเข้า กระทบเมื่อหายใจออก
    และก็ให้รู้อยู่ตลอด
    เอกัคคตา
    เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วจิตจึงจะมี เอกัคคตา
    คือมีอารมณ์เป็นอันเดียว
    ซึ่งท่านเปรียบเหมือนช่างกลึง ช่างกลึงนั้นเมื่อกลึงไม้
    กลึงสั้นก็รู้ กลึงยาวก็รู้ และก็ดูอยู่ที่จุดเดียวไม่
    ต้องไปตามดู ทีแรกนั้นก็จะต้องตามดูสิ่งที่กลึงนั้น
    ทั้งหมด แต่เมื่อการกลึงนั้นดำเนินไปด้วยดีแล้ว
    ก็กำหนดดูอยู่เพียงจุดเดียวได้
    หรือเหมือนอย่างว่าทอผ้า หรือเหมือนอย่างว่านั่งชิงช้า
    เมื่อนำเด็กลงนั่งชิงช้า แล้วก็พี่เลี้ยงก็แกว่งชิงช้า
    ไกวชิงช้าไปมา ทีแรกก็ดูชิงช้าทั้งหมด ทั้งตรงที่เด็กนั่ง
    และทั้งหัวทั้งท้าย แต่เมื่อไกวชิงช้าเข้าที่แล้วก็ไม่
    ต้องตามทั้งหมด ดูที่จุดเดียว เช่นว่าดูตรงที่เด็กนั่ง
    จะเห็นเด็กแกว่งไปแกว่งมา ไม่
    ต้องไปดูหัวดูท้ายของชิงช้า การกำหนดลมหายใจ
    เข้าออกก็เช่นเดียวกัน
    เพราะฉะนั้น จิตจึงจะมีอารมณ์
    เป็นอันเดียว ดั่งนี้ต้องใช้วิตกคือความตรึก
    คือยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ด้วยสติ และกำหนดดู
    ให้รอบคอบ เรียกว่าเป็น บริกัมม คือการกระทำ
    โดยรอบ ซึ่งเป็นภาวนาเบื้องต้นทีแรก
    และเมื่อจิตออกไปจากอารมณ์ของสมาธิเช่น
    จากลมหายใจเข้าออก ก็ต้องนำจิตเข้ามาด้วยสติ
    ในเวลาปฏิบัติทีแรก
    เพราะบางคราวนั้น หรือบ่อยๆ เสียด้วย
    ในเวลาปฏิบัติทีแรก จิตจะแว่บออกไปข้างนอก ไม่อยู่
    ในอารมณ์ของสมาธิ สติตามไม่ทันทีแรก
    หลุดออกไปเสียก่อนแล้วจึงได้สติ ก็ต้องมีสติ
    เอาสตินำจิตกลับเข้ามาตั้งไว้ใหม่ แล้วก็
    ใช้สตินี้เองคอยประคองเอาไว้ คือคอยระมัดระวังที่จะ
    ไม่ให้จิตหลุดออกไป ดั่งนี้เรียกว่าวิจารคือความตรอง
    คือการที่คอยประคองจิตไว้ให้อยู่ในอารมณ์ของสมาธิ
    ต้องมีวิตกและมีวิจารดังกล่าวนี้อยู่ตลอดเวลา สำหรับ
    ในขั้น บริกัมมภาวนา การปฏิบัติในเบื้องต้น จิตจึงยัง
    ไม่ได้สมาธิในเบื้องต้น แต่เมื่อได้ใช้วิตกวิจารดั่งนี้อยู่
    ไม่ขาดแล้วจิตก็จะเริ่มเชื่องคืออยู่ตัวขึ้น กำหนดอยู่
    ในอารมณ์ของสมาธิได้ และเมื่อกำหนดอยู่
    ในอารมณ์ของสมาธิได้ ก็แสดงว่าจิตใกล้ต่อความ
    เป็นสมาธิเข้ามา จึงเรียกอุปจาระสมาธิ สมาธิที่
    เป็นอุปจาระ หรืออุปจารคือใกล้ที่จะเป็นตัวสมาธิ
    คือที่แนบแน่นเข้ามา และการปฏิบัติ
    ในขั้นนี้ก็เรียกว่าอุปจารภาวนาดังที่ได้กล่าวแล้ว
    เมื่อจิตเริ่มรวมตัวเข้ามาดั่งนี้แล้ว ก็
    จะทิ้งวิตกวิจารไม่ได้ ก็จะต้องมีวิตกวิจาร อัน
    เป็นตัวสตินี่เอง ไม่ใช่อื่น คอยยกจิตเอาไว้ กำหนดจิต
    อยู่ในอารมณ์ของสมาธินั้น และ
    ต้องคอยประคับประคองจิตเอาไว้ ไม่ให้ออกไป
    อยู่ตลอดเวลา และเมื่อปฏิบัติดั่งนี้เป็นผลขึ้น ก็จะ
    ได้ปีติคือความอิ่มใจจากการปฏิบัตินั้น
    อันปีตินี้เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้น
    ในอันดับของวิตกวิจาร นับว่าเป็นข้อที่ ๓ และเมื่อได้
    ความอิ่มใจ ได้ความดูดดื่มใจในสมาธิที่เริ่มจะมีขึ้น
    จิตก็จะสยบอยู่กับสมาธิได้ สยบอยู่
    กับอารมณ์ของสมาธิได้ วิตกวิจารนั้นก็จะไม่
    ต้องทำงานหนักมาก แต่ก็ต้องมี วิตกวิจารก็จะเบาลง
    ได้ แต่ว่าสตินั้นต้องมีอยู่ประจำ
    เป็นวิตกวิจารอย่างละเอียด ประคับประคองจิตอยู่ร่วม
    กับปีติคือความอิ่มใจ จิตก็จะอยู่ตัวขึ้น
    อาลัยของจิต
    เพราะว่าในเบื้องต้นนั้น การที่จิตยัง
    ไม่ยอมอยู่กับสมาธินั้น เป็นธรรมดาของสามัญชน
    ทั้งปวง เพราะว่าจิตนั้นมีปรกติเป็นกามาพจร
    คือเที่ยวไปในกาม
    คืออารมณ์ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย
    กามคุณารมณ์จึงเป็นเหมือนอย่างที่อยู่ของจิต ในชั้นที่
    เป็นกามาพจรนี้ของสามัญชนทั่วไป จึงได้ตรัสเปรียบ
    ไว้ว่าเหมือนอย่างปลาที่มีน้ำเป็นที่อาศัย เรียกว่า อาลัย
    อาลัยนั้นก็คือว่าที่อาศัย น้ำ
    เป็นอาลัยคือที่อาศัยของปลา จิตที่
    เป็นชั้นกามาพจรก็เช่นเดียวกัน มีกามคุณารมณ์
    เป็นอาลัยคือเป็นที่อาศัย และอาลัยนี้เองที่
    เป็นเครื่องหน่วงจิต หรือดึงจิตที่จะ
    ให้ไปสู่กามคุณารมณ์อยู่เสมอ จิตยังได้ปีติคือ
    ความดูดดื่มใจ พร้อมทั้งความสุขอยู่ในกามคุณารมณ์
    อันเรียกว่าเป็นกามสุข มีความคุ้นเคยอยู่
    ในกามคุณารมณ์ อยู่ในกามสุข
    เพราะฉะ
    นั้นเมื่อยกจิตขึ้นมาสู่อารมณ์ของสมาธิ ซึ่งจิตยังไม่
    ได้ปีติพร้อมทั้งไม่ได้สุขอยู่ในสมาธิ สมาธิจึง
    เป็นของแห้งแล้ง และจิตเมื่ออยู่กับสมาธิ
    เพราะเหตุว่ามีวิตกวิจารนำเข้ามาดั่งนี้ จิตจึงไม่มีปีติ ไม่
    ได้ความอิ่มใจอะไร แล้วก็ไม่ได้สุขคือความสบาย จึ่ง
    ได้มีอาการที่เป็นความฟุ้งซ่าน เป็นความรำคาญ
    แปลว่าไม่ชอบใจ เพราะฉะนั้นจะ
    ต้องหลบออกไปสู่กามคุณารมณ์
    เหมือนอย่างปลาที่จับขึ้นมาจากน้ำวางไว้บนบก ก็จะ
    ต้องดิ้นที่จะไปลงน้ำ ซึ่งเป็นที่อาศัยของปลา
    จิตก็เช่นเดียวกัน ก็จะ
    ต้องดิ้นรนกวัดแกว่งกระสับกระส่ายไปสู่กามคุณารมณ์
    ซึ่งเป็นอาลัย หรือเป็นที่อาศัยของจิตที่
    เป็นชั้นกามาพจรดั่งกล่าว ( เริ่ม๑๖๔/๒ ) จนกว่า
    จะเริ่มปฏิบัติเป็นขั้นบริกรรมภาวนา
    และเมื่อเริ่มมีสติที่มีพลังขึ้น สมาธิที่มีพลังขึ้น
    ก็แปลว่าจับจิตเอาไว้พออยู่ หรือว่าดักจิตเอาไว้พออยู่
    จะเรียกว่าเป็นการบังคับก็ได้
    บังคับจิตเอาไว้พออยู่
    ปีติ สุข
    พอจิตอยู่ตัวได้บ้าง จิตก็เริ่มได้ปีติ ซึ่ง
    เป็นธรรมดา ซึ่งเป็นผลของวิตกวิจารนั้น คือ
    ความอิ่มใจ แล้วก็ได้ข้อที่ ๔ คือสุข คือ
    ความสบายกายสบายใจต่อไป และเมื่อถึงขั้นนี้
    แล้วจิตก็จะเริ่มพอใจในสมาธิ ในอารมณ์ของสมาธิ
    เพราะว่าจิตรู้สึกว่าอยู่สบาย จึงลดความฟุ้งซ่าน
    ความกระสับกระส่ายคับแค้นใจในสมาธิเสียได้ จิตก็
    อยู่ตัวขึ้น อยู่ในเอกัคคตาคืออารมณ์อันเดียวซึ่ง
    เป็นตัวสมาธินั้นได้นานขึ้น แต่ยังไม่แน่น
    เผลอเมื่อไหร่ก็ยังหลุดออกไปอีก ต้องกลับเข้ามา
    ด้วยสติใหม่ แล้วก็จะเริ่มอยู่ได้เป็นพักๆ มากขึ้น ก็
    เป็นอุปจารสมาธิ สมาธิที่ใกล้จะ
    ได้สมาธิที่แนบแน่นยิ่งขึ้น
    เพราะฉะนั้นวิตกวิจารนี้ต้องมี
    เป็นเบื้องต้น แล้วก็เมื่อมีวิตกวิจารก็จะ
    ได้ผลของวิตกวิจารก็คือปีติคือความอิ่มใจ และก็จะได้
    ความสุขคือความสบายกายสบายใจ และเมื่อได้ปีติ
    ได้สุขมากเพียงไรจากสมาธิ จิตก็จะอยู่กับสมาธิ
    ได้มากเพียงนั้น
    และในขั้นนี้เองผู้ปฏิบัติจึงจะรู้สึกว่า
    สามารถทำสมาธิได้ และสามารถอยู่กับสมาธิได้
    ในทีแรกนั้นจะนั่งสัก ๕ นาที ก็ไม่สามารถจะสงบจิตได้
    จะดึงจิตได้ จิตจะดิ้นกวัดแกว่งกระสับกระส่ายไม่หยุด
    แต่พอได้ปีติได้สุขคือพอสบายขึ้น สงบขึ้น อิ่มใจขึ้น
    จิตก็จะเริ่มอยู่ตัว นั่ง ๑๐ นาทีก็นั่งได้สบาย และเมื่อ
    ได้ปีติได้สุขมากขึ้นเพียงใด จะนั่งนานเท่าใดก็นั่งนาน
    ได้ โดยที่ไม่รู้สึกเบื่อ ครึ่งชั่วโมงก็ไม่เบื่อ ชั่วโมงหนึ่งก็
    ไม่เบื่อ สองชั่วโมงก็ไม่เบื่อ ตามแต่ที่จะมีปีติมีสุข
    ในสมาธิเพียงใด
    แต่ว่าผู้ปฏิบัตินั้นก็จะต้องรู้ความสมควร
    ว่าสมควรที่จะใช้เวลาปฏิบัติสักเท่าไร
    หรือว่ามีเวลาที่จะปฏิบัติสักเท่าไร
    เช่นว่ามีเวลาปฏิบัติสักครึ่งชั่วโมง ก็ครึ่งชั่วโมง
    หนึ่งชั่วโมงก็หนึ่งชั่วโมง สองชั่วโมงก็สองชั่วโมง แล้วก็
    ให้กายพักผ่อน เช่นว่าหลับนอนตามที่ร่างกายต้องการ
    เพราะว่ามีกิจการที่จะต้องปฏิบัติกระทำเป็นอันมาก ยิ่ง
    เป็นฆราวาสก็จะต้องมีอาชีพที่จะต้องปฏิบัติกระทำ ก็
    จะต้องจัดเวลาให้พอเหมาะพอดี เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วก็
    เป็นอันว่าจิตก็จะได้สมาธิด้วย และจะ
    ไม่เสียการเสียงานของตนเองด้วย
    อุปจาระสมาธิ อัปปนาสมาธิ
    และเมื่อจิตมีปีติมีสุขอยู่กับสมาธินานขึ้น
    ก็เป็นอุปจาระสมาธิ และเมื่ออุปจาระสมาธินี้มีมากขึ้นๆ
    ก็จะเป็นอัปปนาสมาธิต่อไป และการปฏิบัตินั้นก็ชื่อว่า
    เป็นการปฏิบัติที่เป็นอุปจารภาวนา และ
    เป็นอัปปนาภาวนาไปโดยลำดับ จนถึงปฐมฌานอัน
    เป็นขั้นต้น เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ที่ปฏิบัติ
    ได้สมาธิ นับว่าเป็นขั้นที่ ๑ แต่เมื่อยังไม่
    ถึงปฐมฌานขั้นที่ ๑ นี้แล้ว การปฏิบัตินั้นก็ยังไม่ชื่อว่า
    ได้สมาธิที่เป็นขั้นอัปปนา แต่เมื่อปฏิบัติไปโดยลำดับ
    แล้ว ก็ย่อมจะได้จะถึงความเจริญของสมาธิขึ้นไป
    โดยลำดับ วันนี้ยุติเท่านี้

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด
    และครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป”

    พระปฐมบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒

    1f338.png 1f340.png 1f338.png ท ร ง พ ร ะ เ จ ริ ญ ยิ่ ง ยื น น า น 1f338.png 1f340.png

    -รักษา-และต่.jpg

    ที่มา ธรรมะของพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    สัพพาสวสังวรสูตร
    (ตอนที่ ๖)

    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    วัดบวรนิเวศวิหาร
    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
    ]
    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรม
    ในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุก ๆ
    ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระ
    ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจ
    ถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
    ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง
    เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
    จะแสดงพระพุทธเจ้าทรงสอนกรรมฐานตามสัพพาสวสังวรสูตร
    พระสูตรที่ว่าด้วยการสำรวมคือป้องกันระวัง ตลอด
    ถึงละอาสวะทั้งปวง นำสติปัฏฐาน พระบรมศาสดา
    ได้ตรัสสอนให้ละอาสวะด้วยวิธีต่าง ๆ คือด้วย วิธีทัศนะ
    คือปัญญาที่รู้เห็น ด้วย วิธีสำรวมอินทรีย์
    อันเรียกว่าอินทรียสังวร ด้วย วิธีเสพบริโภคปัจจัย ๔
    ด้วยการพิจารณา ด้วย วิธีรับไว้อยู่ ยับยั้งไว้อยู่ คือ
    ใช้ขันติอดทนอดกลั้น ด้วย วิธีเว้น ด้วย วิธีบันเทา
    ภาวนา
    ตามที่ได้แสดงอธิบายมาโดยลำดับนับได้
    ๖ วิธี และได้ตรัสอีกวิธีหนึ่ง อันวิธีที่เคารพ ๗ และ
    เป็นวิธีที่สุดในพระสูตรนี้ ก็คือ
    ด้วยวิธีปฏิบัติอบรมอันเรียกว่าภาวนา คำว่าภาวนานี้มาใช้
    ในภาษาไทย คล้ายกับนึกอยู่ในใจ บริกรรมอยู่ในใจ
    กำหนดอยู่ในใจ แต่อันที่จริงความหมายของคำนี้
    คือการปฏิบัติอบรมนั้นเอง ตามพยัญชนะก็แปลว่าการทำ
    ให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น ซึ่งมีความหมายว่าปฏิบัติได้ทำได้
    องค์แห่งความตรัสรู้
    และในพระสูตรนี้ได้ตรัสยกเอาโพชฌงค์ ๗
    ขึ้นมาว่า ให้ปฏิบัติอบรมโพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์
    นั้นแปลว่าองค์แห่งความตรัสรู้ เรียกว่าสัมโพชฌงค์ก็ได้
    ก็แปลว่าองค์แห่งความตรัสรู้พร้อม องค์ก็คือ องคคุณ
    หรือ องคสมบัติ แห่งความตรัสรู้ คือนำให้บังเกิด
    ความตรัสรู้ มี ๗ องค์ คือ
    สติสัมโพชฌงค์ องค์แห่งความตรัสรู้คือสติ
    ธัมวิจยสัมโพชฌงค์ องค์แห่ง
    ความตรัสรู้คือความเลือกเฟ้นธรรม
    วิริยสัมโพชฌงค์ องค์แห่งความรู้คือ
    ความเพียร
    ปีติสัมโพชฌงค์ องค์แห่งความรู้คือปีติ
    ความอิ่มใจ ความดูดดื่มใจ
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ องค์แห่ง
    ความรู้คือปัสสัทธิความสงบ
    สมาธิสัมโพชฌงค์ องค์แห่ง
    ความรู้คือสมาธิ
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ องค์แห่งความรู้ คือ
    ความเข้าไปเพ่ง
    รวมเป็นโพชฌงค์ ๗ ประการ หรือว่า ๗
    องค์
    โพชฌงค์ ๗ นี้
    เป็นหมวดธรรมะสำคัญทางปฏิบัติหมวดหนึ่ง
    ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงเอาไว้ ตรัสแสดงรวมไว้
    ในหมวดธรรมสำคัญหลายหมวด เช่น
    ในหมวดโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ก็มีโพชฌงค์ ๗
    นี้รวมอยู่ด้วยหมวดหนึ่ง ในมหาสติปัญฐานสูตรซึ่งแสดง
    เป็นหลักปฏิบัติในที่นี้เป็นประจำมาทุกปี ก็มีโพชฌงค์รวม
    อยู่ด้วยหมวดหนึ่ง และที่ตรัสแสดงเนื่องเป็นสายเดียว
    กับสติปัฏฐานก็มี คือตรัสแสดงสติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗
    สืบไปถึงวิชชาวิมุติในที่สุด และที่ตรัสแสดง
    ไว้จำเพาะโพชฌงค์ ๗ นี้เพียงหมวดเดียว ก็มีเป็นอันมาก
    เมื่อตรัสแสดงรวมอยู่ในหมวดใหญ่ ก็มัก
    จะต่อสืบเนื่องมาจากสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งบ่งความว่าปฏิบัติ
    ในสติปัฏฐานมาก่อน จึงมาถึงโพชฌงค์ แต่แม้ว่า
    จะตรัสแสดงไว้หมวดเดียว คือจำเพาะโพชฌงค์เท่านั้น
    โพชฌงค์ข้อแรกก็นำด้วยสติ คือสติสัมโพชฌงค์ ฉะนั้น
    แม้ในหมวดโพชฌงค์นี้เองก็เริ่มด้วยสติ ในที่ ๆ ตรัสรวม
    ไว้ในธรรมะหลายหมวดสืบเนื่องจากสติปัฏฐาน ๔ นี้
    ก็บ่งว่าการปฏิบัติในสติปัฏฐานย่อมมาก่อน จึง
    ถึงโพชฌงค์ และที่ตรัสแสดงไว้จำเพาะหมวดโพชฌงค์
    เท่านั้น ก็เริ่มด้วยสติ แต่ใช้คำว่าสติเป็นคำกลาง ๆ
    ก็อาจรวมสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้เข้าด้วยได้ ว่าเริ่ม
    ด้วยสติปัฏฐาน ๔ หรือแม้ว่าจะเริ่มด้วยสติที่ไม่นับเป็น ๔
    ข้ออย่างสติปัฏฐาน ๔ ก็ได้ ดังที่ได้ตรัสแสดงไว้
    ในการที่ทรงอธิบายโพชฌงค์ ๗
    ที่ยกขึ้นมาเพียงหมวดเดียว ใช้ในการฟังธรรม
    การฟังธรรมโพชฌงค์ ๗
    กล่าวคือในการฟังธรรมนั้น ก็
    ใช้วิธีปฏิบัติทางโพชฌงค์นี้ได้ด้วย คือตรัสแสดงไว้โดย
    ความว่า
    ผู้ฟังธรรม เมื่อฟังธรรมก็ระลึก
    ถึงธรรมะที่ฟัง ความที่ระลึกถึงธรรมะที่ฟังนี้ ก็
    เป็นสติสัมโพชฌงค์องค์แห่งความรู้พร้อม คือสติ
    ความระลึกได้ ความกำหนดได้
    และก็วิจัยคือเลือกเฟ้นธรรม
    วิจัยคือเลือกเฟ้นธรรมที่สติระลึกได้นั้น
    จำแนกธรรมะออกเป็นกอง เป็นส่วน ว่านี่เป็นกุศล นี่
    เป็นอกุศล นี่มีโทษ นี่ไม่มีโทษ นี่เป็นธรรมดำ นี่
    เป็นธรรมขาว วิจัยจำแนกธรรมที่ระลึกได้ด้วยสติออก
    เป็นกอง ๆ ดั่งนี้ ก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ องค์แห่ง
    ความรู้คือธรรมวิจัย ความเลือกเฟ้นธรรม
    และเมื่อได้วิจัย
    คือเลือกเฟ้นรู้จักธรรมะดังกล่าว ก็เพียรละอกุศล
    ละธรรมะที่มีโทษ ธรรมะที่ดำ เพียรปฏิบัติอบรมกุศล
    ธรรมะที่ไม่มีโทษ ที่ขาวสะอาด ก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์
    องค์แห่งความรู้ คือวิริยะความเพียร
    และเมื่อเพียรละอกุศล
    เพียรปฏิบัติอบรมกุศลให้บังเกิดขึ้นดั่งนี้ ก็จะได้ปีติคือ
    ความอิ่มใจ ความเอิบอิ่มใจ ความดูดดื่มใจ ในกุศล
    ในธรรมะที่ไม่มีโทษ ในธรรมที่ขาวสะอาด ที่
    ได้อบรมปฏิบัติให้มีขึ้น ก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ องค์แห่ง
    ความรู้คือปีติ
    เมื่อได้ปีติก็ย่อมจะได้ความสงบกาย
    ความสงบใจ ก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ องค์แห่ง
    ความรู้คือปัสสัทธิความสงบกาย ความสงบใจ
    และเมื่อกายและใจสงบ มีสุข ก็ย่อม
    จะตั้งจิตเป็นสมาธิได้ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ รวมอยู่
    ในอารมณ์เป็นอันเดียว สงัดสงบจิตจากกาม
    และอกุศลธรรมทั้งหลาย ก็
    เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์องค์แห่งความรู้คือสมาธิ
    เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
    ความเพ่งดูสมาธิจิตสงบอยู่ ก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    องค์แห่งความรู้คืออุเบกขา ความเพ่งจิตที่
    เป็นสมาธินี้สงบอยู่
    จึงเป็นโพชฌงค์ ๗ ประการ
    อันปฏิบัติเริ่มมาจากการฟังธรรม ฉะนั้นแม้
    ในการฟังธรรมะที่เป็นเทศนาก็ดี ที่เป็นบรรยายอบรมก็ดี
    หรือแม้อ่านหนังสือธรรมะ ก็ใช้โพชฌงค์นี้มาฟังมาอ่าน
    ได้ คือว่าฟังหรืออ่านด้วยโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการนี้
    ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสอธิบายไว้เริ่มด้วยการฟังธรรม
    ก็ฟังด้วยโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ ดั่งนี้
    การใช้โพชฌงค์ในการปฏิบัติกรรมฐานต่าง ๆ
    และนอกจากนี้พระบรมศาสดายัง
    ได้ทรงแสดง การใช้โพชฌงค์ปฏิบัติในกรรมฐานต่าง ๆ
    ดังเช่น เมื่อตั้งจิตแผ่เมตตาออกไปในสัตว์ทั้งหลาย ว่า
    สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง สุขิตาโหนตุ จงบรรลุ
    ถึงความสุขเถิด ดั่งนี้ ในทิศเบื้องหน้า ในทิศเบื้องขวา
    ในทิศเบื้องหลัง ในทิศเบื้องซ้าย ในทิศเบื้องบน
    ในทิศภายล่าง และในทิศเบื้องขวางโดยรอบ
    ก็ปฏิบัติทำสติแผ่เมตตา คือสติที่ระลึกไปดั่งนี้ ระลึก
    ถึงสัตว์ทั้งปวง และระลึกแผ่จิตออกไปด้วยเมตตาว่าให้มี
    ความสุข ระลึกไปถึงทิศทั้งหลายดังที่กล่าวมานั้น
    คือแผ่ออกไปในทิศทั้งหลายดังที่กล่าวมานั้น ดั่งนี้เป็นสติ
    ทั้งนั้น ก็ต้องใช้สติในการปฏิบัติแผ่เมตตาจิต
    และก็ใช้วิจัยคือจำแนกธรรมะ
    กล่าวคือเมื่อจิตแผ่ไปมีสัตว์ทั้งหลายเป็นอารมณ์
    ก็รู้ว่านี่แผ่ไปมีสัตว์ทั้งหลายเป็นอารมณ์ และเมื่อแผ่ไป
    ในทิศใดทิศหนึ่ง ก็รู้ว่าแผ่ไปในทิศนั้นทิศนี้ จำแนกทิศ
    ได้ถูกต้องว่าเบื้องหน้า เบื้องขวา เบื้องหลัง เบื้องซ้าย
    เบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวางโดยรอบ จำแนกทิศ
    ได้ถูก ถ้าไม่มีวิจัยคือจำแนกดั่งนี้ ก็แจกทิศไม่ถูก
    สับสนหมด แต่ที่แจกได้ดั่งนี้ก็เพราะว่าจำแนกทิศได้ถูก
    ต้อง อันหนึ่ง และเมื่อจิตมีเมตตา ก็รู้ว่าจิตมีเมตตา
    หากมีปฏิฆะพยาบาทผุดขึ้นมาในขณะที่แผ่เมตตาก็รู้
    ว่ามีปฏิฆะพยาบาทผุดขึ้นมาในจิต
    หรือเมื่อราคะผุดขึ้นมาก็รู้ว่า ราคะผุดขึ้นในจิต หรือเมื่อ
    ความฟุ้งซ่านไปอย่างอื่นถึงเรื่องโน้นเรื่องนี้แทรกเข้ามา
    ก็รู้ว่าเรื่องนั้นเรื่องนี้แทรกเข้ามา หรือเมื่อง่วงก็กำหนด
    ให้รู้จักว่า นี่ง่วงแทรกเข้ามา
    สงสัยเคลือบแคลงอะไรโผล่ขึ้นก็รู้ว่า
    นี่สงสัยเคลือบแคลงอะไรโผล่ขึ้นมา ก็กำหนดให้รู้จักว่านี่
    เป็นนิวรณ์เครื่องกั้นไม่ให้ได้สมาธิ ก็สงบไปเสีย
    เมื่อเมตตาจิตโผล่ขึ้นมา เป็นความเมตตา เป็นความเย็น
    เป็นความสงบ ก็รู้ว่านี่เป็นกุศล เป็นสิ่งที่ต้องการ
    ก็รักษาเอาไว้ และรักษาเมตตานี้ให้มากขึ้น ดั่งนี้ก็
    เป็น ธัมมวิจัย
    แล้วก็เป็นวิริยะ คือความเพียร ประกอบ
    กันไป คือเมื่อวิจัยออกมาว่าเป็นอกุศลหรือโทษ ก็ละเสีย
    วิจัยออกมาว่าเป็นกุศลมีคุณไม่มีโทษ ก็รักษาไว้
    และปฏิบัติเพิ่มเติมขึ้น ก็เป็น วิ ริยสัมโพชฌงค์
    และเมื่อเป็นดั่งนี้จิตก็จะตั้งมั่นอยู่
    ในเมตตามากขึ้น บรรดาอกุศลจิตที่โผล่ขึ้นมาต่าง ๆ
    อันประกอบด้วยราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ก็
    จะสงบลงไป เมื่อเป็นดั่งนี้จิตก็สะอาดบริสุทธิ์ขึ้น เต็มไป
    ด้วยกุศลมากขึ้น ปีติก็บังเกิดขึ้น บังเกิดขึ้นเองเป็น
    ความอิ่มใจเป็นความอิ่มเอิบในธรรมในกุศล ก็เป็น
    ปีติสัมโพชฌงค์
    และเมื่อเป็นปีติสัมโพชฌงค์ กายใจก็สงบ
    เป็น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ จิตก็ตั้งมั่นเป็นสมาธิมากขึ้น
    ในเมตตาที่แผ่ออกไปนั้น เป็นอุปจารสมาธิ สมาธิที่เฉียด
    ๆ จนถึงเป็นอัปปนาสมาธิ สมาธิที่แนบแน่น ก็
    เป็น สมาธิสัมโพชฌงค์ และก็เข้าไปเพ่งดูจิตที่เป็นสมาธินี้
    ให้รู้จักจิตที่เป็นสมาธินี้ สงบอยู่ ความสงบอยู่นี้ก็คือ
    ความวางได้ และความเฉยได้ อันเป็นลักษณะที่มัก
    จะแปลอุเบกขาว่าความวางเฉย วางได้ก็คือว่าวาง
    ความวุ่นวายต่าง ๆ เฉยได้ก็คือว่าสงบไม่ทุรนทุราย เป็น
    ความเข้าไปเพ่งสงบอยู่ ก็เป็น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
    อันสมาธิและอุเบกขานี้มักจะแสดงรวมกัน
    ในสมาธิที่เป็นอัปปนาคือแนบแน่น
    ดังที่แสดงว่ามีองค์ก็คือเอกัคคตา ความที่มีอารมณ์
    เป็นอันเดียว กับอุเบกขาความเข้าไปเพ่งเฉยอยู่ ดั่งนี้
    และเมื่อมีทั้งตัวเอกัคคตาที่เป็นสมาธิโดยตรง
    กับอุเบกขาดังกล่าวประกอบกันอยู่ ก็เรียกว่า
    เป็นสมาธิที่แนบแน่น อันเป็นอัปปนาสมาธิ
    ถ้าหากว่าขาดอุเบกขาเสียแล้ว สมาธิก็ตั้งมั่นอยู่นานไม่
    ได้ มักจะได้แค่อุปจาร ซึ่งมีอุเบกขาอยู่น้อย
    และเมื่อมีอุเบกขาอยู่มากพอเพียงที่รักษาเอกัคคตาจิต
    คือจิตที่มีอารมณ์เป็นอันเดียวไว้ได้มาก ก็
    เป็นอัปปนาที่แนบแน่นอยู่ได้นาน เพราะฉะนั้นอุเบกขา
    จึงมักแสดงรวมอยู่ในข้อสมาธิ แต่
    ในที่นี้แยกออกมาเพื่อชี้ให้ชัด ว่าเมื่อได้สมาธิจิตรวม
    เข้ามาแล้ว จะต้องได้อุเบกขาคือความเข้าไปเพ่งสงบอยู่
    คือรู้จิตที่เป็นสมาธินี้ ดูจิตที่เป็นสมาธินี้ เห็นจิตที่
    เป็นสมาธินี้ สงบอยู่ด้วย สมาธิจึงจะ
    เป็นอัปปนาคือแนบแน่น แน่วแน่ และแนบแน่นแน่วแน่อยู่
    ได้นาน ดังนี้ก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    เพราะฉะนั้นแม้ในการปฏิบัติธรรม
    เมตตาภาวนา อบรมเมตตาจิต ก็จะต้องใช้โพชฌงค์ ๗
    มาประกอบ มาช่วย จึงจะได้ผลในการอบรมเมตตา
    ในข้ออื่นก็เช่นเดียวกัน
    และนอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสสอน
    เรียกว่าให้ปฏิบัติกรรมฐานทุกข้อก็ได้ ให้ประกอบ
    ด้วยโพชฌงค์ทั้ง ๗ นี้ หรือว่า
    กล่าวอีกอย่างหนึ่งตรัสยกเอาโพชฌงค์ทั้ง ๗ นี้เป็นที่ตั้ง
    ว่าปฏิบัติอบรมโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการนี้ ให้ประกอบ
    ด้วยกรรมฐานได้ทุกข้อ ดังเช่นหมวดพรหมวิหาร ๔
    ดังที่กล่าวมา และในหมวดอื่นเช่นในกสิณ ๑๐ ในอสุภะ
    ๑๐ ในอนุสสติ ๑๐ เหล่านี้ก็ได้ตรัสสอนเอาไว้
    ให้อบรมปฏิบัติโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้ประกอบ
    ด้วยกรรมฐานเหล่านี้ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า
    การปฏิบัติกรรมฐานเหล่านี้ทุกข้อ ก็
    ให้ปฏิบัติในทางของโพชฌงค์ทั้ง ๗ ดังที่กล่าวมา และแม้
    ในหมวดสติปัฏฐานที่ได้แสดงมาแล้ว
    ตามหลักธรรมะที่ตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร การที่
    จะปฏิบัติทำอานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
    การทำสติในอิริยาบถ หรือสัมปชัญญะในอิริยาบถทั้ง ๔
    ในอิริยาบถที่ปลีกย่อยออกไป จำแนกละเอียดออกไป
    ในการพิจารณากายนี้ว่าประกอบด้วยอาการทั้งหลาย
    ๓๑ หรือ ๓๒ ล้วนไม่สะอาด ล้วนเป็นของปฏิกูล
    การกำหนดพิจารณาธาตุทั้ง ๔
    และการกำหนดพิจารณาป่าช้าทั้ง ๙ คือซากศพที่เขาทิ้ง
    ไว้ในป่าช้า ที่ตายวันหนึ่ง ตายสองวัน ตายสามวัน
    ขึ้นพองมีสีเขียวน่าเกลียด ซากศพที่ถูกสัตว์
    ทั้งหลายกัดกิน เป็นต้นว่าถูกกา ถูกนกตะกรุม
    ถูกสุนัขบ้าน ถูกสุนัขจิ้งจอก ถูกสัตว์เล็กน้อย
    ทั้งหลายกัดกิน ซากศพที่เป็นโครงร่างกระดูก
    ยังเปื้อนเลือดเปื้อนเนื้อ ประกอบด้วยเนื้อเส้นเอ็นรึงรัด
    และซากศพที่ไม่มีเนื้อแต่ยังมีเส้นเอ็นรึงรัด และซากศพที่
    ไม่มีเส้นเอ็นรึงรัด เป็นโครงร่างกระดูก
    จึงกระจุยกระจายไปในทิศทั้งหลาย
    กระดูกศีรษะก็ไปทางหนึ่ง กระดูกคอ กระดูกแขน
    กระดูกขา ก็ไปทางหนึ่ง เหล่านี้เป็นต้น ซากศพที่
    เป็นกระดูกมีสีขาวเหมือนดังสังข์ ซากศพที่เกินปีหนึ่งแยก
    กันอยู่เป็นกอง ๆ ตลอดจนถึงซากศพที่ผุเป็นผุยผง
    อันแสดงถึงว่ากายอันนี้นั้น เมื่อยังดำรงชีวิตอยู่ ก็
    เป็นกายที่หายใจเข้าหายใจออก ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถทั้ง
    ๔ ได้ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเล็กน้อยทั้งหลาย
    ที่จำแนกออกไปอย่างละเอียดได้ ประกอบด้วยอาการ
    ๓๑, ๓๒ ซึ่งต่างก็มีอาการ คือการปฏิบัติหน้าที่ของตน ๆ
    รวมเข้าก็เป็นธาตุ ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
    หรือเติมอากาสธาตุเป็นธาตุ ๕ กายที่มีชีวิตอยู่ย่อม
    เป็นดั่งนี้ แต่ว่าเมื่อธาตุทั้งหลายแตกสลาย กายนี้ก็กลาย
    เป็นศพ และเมื่อเป็นศพแล้วก็เป็นอันว่าหยุดหายใจ
    การที่จะผลัดเปลี่ยนอิริยาบถทั้งปวงก็เป็นไม่ได้
    และอาการ ๓๑, ๓๒ ก็หยุดการทำงาน การทำหน้าที่ ธาตุ
    ทั้ง ๔ นั้นก็กระจัดกระจายไป ในทีแรกก็ยังรวมกันอยู่
    เป็นศพ เหมือนอย่างศพที่ตายใหม่ ๆ และเมื่อทิ้งเอาไว้
    ไม่จัดไม่ทำ ในป่าช้า ก็จะถูกสัตว์ทั้งหลายกัดกิน
    หรือว่าเน่าเปื่อยไปเอง ก็จะเหลือแต่โครงร่างกระดูก
    ที่ทีแรกก็ยังมีเลือดมีเนื้อมีเส้นเอ็นรึงรัด ต่อไปเลือดเนื้อก็
    จะหมดไปไม่มีเส้นเอ็นรึงรัด ร่างกระดูกก็ยังรวมกันอยู่
    แต่ครั้นเส้นเอ็นที่รึงรัดนั้นไม่มีเสียอีกแล้ว กระดูกที่รวม
    เป็นร่างอยู่ ก็จะกระจัดกระจายไปคนละทิศคนละทาง ก็
    เป็นกระดูกที่เป็นสีขาวเกลื่อนกล่นอยู่ แล้วก็จะเป็นกอง
    เล็กกองน้อย จนถึงผุป่นไปในที่สุด เหล่านี้ก็
    เป็นอันว่ากายของทุก ๆ คนนี้ทีแรกก็ไม่มี แต่เมื่อขึ้นมา
    ด้วยชาติคือความเกิด ก็ต้องประกอบด้วยชราความแก่
    มรณะความตาย ในที่สุดแล้วก็กลับไม่มี
    เหมือนอย่างที่เคยไม่มีมาก่อน ดั่งนี้ก็เป็นการตรัสสอน
    ให้พิจารณา เป็นสติที่เป็นไปในกาย อันเรียกว่า
    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    และ
    ในการปฏิบัติกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้
    ก็ปฏิบัติทางโพชฌงค์ได้ ด้วยสติที่ระลึกไปดังกล่าวมานี้
    ก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ แล้วก็มีธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์
    วิจัยกายนี้เองตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสั่งสอนไว้
    และตามที่เป็นไปจริง เพราะก็ตรัสสั่งสอนไว้ชี้เข้ามา
    ถึงสัจจะคือความจริงอันมีอยู่ที่ร่างกายของทุก ๆ
    คนนี้เอง แล้วก็ตรวจดูจิตใจเมื่อจิตใจอันนี้มีสติที่ตั้งมั่น
    ที่ระลึกอยู่ และมีความรู้รวมอยู่เป็นจิตใจที่สงบ ประกอบ
    ด้วยสติด้วยปัญญา สติปัญญานี้ก็เป็นกุศลธรรม
    หากมีนิวรณ์ข้อใดโผล่ขึ้นมาก็รู้ว่าเป็นอกุศลธรรม
    ต้องวิจัยจิตของตัวเองให้รู้ดั่งนี้ แล้วก็ใช้วิริยะคือ
    ความเพียร ละอกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้น อันใดที่
    เป็นกุศลธรรม เป็นตัวสติเป็นตัวปัญญาก็รักษาไว้ เมื่อ
    เป็นดั่งนี้แล้ว ก็จะได้ปีติ ได้ปัสสัทธิ ได้สมาธิ ได้อุเบกขา
    ในการปฏิบัติกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้มากขึ้น ๆ
    โดยลำดับ ดั่งนี้ก็เป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน
    อาศัยโพชฌงค์ทั้ง ๗ นี้ หรือปฏิบัติในโพชฌงค์ทั้ง ๗
    นี้ประกอบด้วยสติปัฏฐานข้อกาย ได้ทุก ๆ
    ข้อดังที่กล่าวมานั้น
    ดั่งนี้คือการปฏิบัติอบรมโพชฌงค์
    ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นวิธีละอาสวะอีกข้อหนึ่ง อัน
    เป็นข้อสุดท้าย และก็เป็นข้อคลุมทั้งหมด
    ซึ่งปฏิบัติทุกข้อที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ก็ใช้วิธีโพชฌงค์ทั้ง
    ๗ นี้ปฏิบัติได้ ดังที่ตรัสสอนไว้ เพราะฉะนั้น
    วิธีละอาสวะที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งสอนไว้นี้จึงเป็นวิธีที่
    เป็นประโยชน์ สำหรับผู้มุ่งปฏิบัติธรรมทั้งปวงซึ่งจะพึงใช้
    ได้ ตั้งแต่ในขั้นปฏิบัติเบื้องต้น จนถึงที่สุด
    ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า ก็จะประสบความสำเร็จ
    ในการสังวรคือป้องกัน กำจัดละอาสวะทั้งปวงได้
    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำ
    ความสงบสืบต่อไป

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...