ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “สกนธ์กายนี้ เป็นธรรมหมดทั้งก้อน”

    (คติธรรม หลวงปู่ขาว อนาลโย)

    “สมถะ คือการบริกรรม วิปัสสนาการค้นคว้า “อาการ ๓๒ นี่แหละ” ค้นไปไม่ส่งจิตไปที่อื่น เวลาเราทำสมาธิ เราต้องตั้งใจว่า เวลานี้เราจะทำหน้าที่ของเรา หน้าที่ของเราคือ จะกำหนดให้มีสติประจำใจ ไม่ให้มันออกไปสู่อารมณ์ภายนอก ให้มีสติประจำใจอยู่ ไม่ให้ไปภายนอก เดี๋ยวนี้ หน้าที่ของเราจะภาวนา จะทำหน้าที่ของเรา ไม่ต้องคิดการงานข้างนอก เมื่อออกแล้วจะทำอะไรก็ทำไป เวลาเราจะทำสมาธิ ทำความเพียรของเรา ต้องตั้งสัจจะลง ตั้งใจกำหนดอยู่ใน “สกนธ์กายนี้” กำหนดสติ ให้รู้กับใจ เอาใจรู้กับใจ ให้จิตอยู่กับจิต กำหนดจิตขึ้น ให้ทำให้มันพออาศัย ศรัทธา วิริยะ เหตุทำให้มากๆ อันนี้แหละก้อนธรรมพระพุทธเจ้าว่า ก้อนธรรมอันนี้แหละ ก้อนธรรมหมดทั้งก้อน ธรรมไม่มีที่อื่น ไม่มีที่อยู่อื่น “จำเพาะรูปใครรูปเราเท่านั้น” เป็นธรรมหมดทั้งก้อน ก้อนธรรมอันนี้ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน

    [​IMG]

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    1f537.png ️ สวนแสงธรรม 1f537.png
    ถ.พุทธมณฑล สาย๓

    ขอเชิญสาธุชนผู้มีศรัทธาร่วมใจกันทอดผ้าป่าสามัคคี
    รวมศรัทธาคณะศิษย์หลวงตาพระมหาบัว ครั้งที่ ๓

    1f49b.png เพื่องานตกแต่งภายในพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์
    1f64f.png หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน 1f64f.png

    1f538.png ️วันเสาร์-อาทิตย์ที่ 1f538.png
    ๑๕~๑๖ มิ.ย.๒๕๖๒

    1f64f.png หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก 1f64f.png
    เป็นประธานฝ่ายสงฆ์รับผ้าป่า

    1f30f.png พิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ 1f30d.png
    ปูชนียสถานในทางพระพุทธศาสนา
    จารึกเรื่องราวหลักฐาน
    การปฎิบัติของพระอริยสงฆ์สาวก ในสมัยกึ่งพุทธกาล

    เป็นตำนานสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป
    1f64f.png 1f64f.png 1f64f.png

    -สวนแสงธรรม-️.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    หลวงปู่จันทร์ศรี อบรมภาวนากรรมฐานกับหลวงปู่มั่น

    หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป (พระอุดมญาณโมลี) ได้กล่าวถึงท่านพระอาจารย์มั่นว่า

    “เมื่อออกพรรษาแล้ว ต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2484 ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตมหาเถระ ไปพักที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) ได้ตั้งให้หลวงปู่จันทร์ศรีอยู่ปฏิบัติท่านพระอาจารย์มั่นประจำทุกวัน เวลาบิณฑบาตก็สะพายบาตรให้ท่าน เมื่อมาถึงหอฉันแล้วก็จัดอาหารลงในบาตรถวายท่าน โดยก่อนหน้านี้ได้สังเกตข้อปฏิบัติเกี่ยวกับท่านอยู่ 3 วัน จำได้ว่าท่านเอาอะไรบ้าง เอากับข้าวอะไร เอาข้าวมากเท่าไหร่ อะไรต่ออะไร ก็ตักถวายท่านให้พอดี เหลือก็นิดหน่อย”

    “ท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้ขยันขันแข็งในการทำความเพียร ตามปกติท่านนั่งสมาธิภาวนา นอนประมาณ 4 ทุ่ม ตี 4 ท่านก็ตื่น แล้วก็เดินจงกรม ส่วนมากคนเข้าใจว่าท่านดุ แต่ความจริงท่านเมตตามาก คือท่านทักเพราะจะให้จิตใจของเรานั้นสนใจมาฟังธรรม ตามปกติบางคนไปถามท่านอย่างโน้นอย่างนี้แบบไม่มีสาระ ท่านก็ดุเอา

    ตอนนั้นก็มีครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านที่ไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น เช่น ท่านอาจารย์เทสก์ เทสรํสี อาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ อาจารย์อ่อน ญาณสิริ อาจารย์ฝั้น อาจาโร แล้วตอนหลังที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) อำเภอพรรณานิคม โดยเฉพาะ ท่านอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติใกล้ชิดท่านพระอาจารย์มั่นที่สุดจนกระทั่งท่านมรณภาพ ตอนนั้นหลวงปู่จันทร์ศรียังปฏิบัติงานทำหน้าที่ฝ่ายปกครองอยู่ ไม่ค่อยมีเวลาไปกราบท่าน ก็ได้รับโอวาทท่านแต่นั้นก็ไปพิจารณาเอาเอง”

    หลวงปู่จันทร์ศรีอยู่กับหลวงปู่มั่น 15 วัน รู้สึกว่าได้ความอัศจรรย์ พูดอย่างชัดๆ ก็เรียกว่า “ท่านคุมจิตของเราอยู่” ถ้าพูดตามหลักปริยัติก็พูดว่า “เจโตปริยญาณ” ท่านมีญาณรู้จักใจของบุคคลอื่น ในขณะที่ได้รับโอวาทจากท่านพระอาจารย์มั่นนั้น หลวงปู่ก็ได้ตั้งใจปฏิบัติภาวนา พิจารณาเห็นร่างกายของหลวงปู่เองเป็นอสุภะได้ คือมีแต่ร่างกระดูก คือพิจารณาจนกระทั่งเป็นร่างกระดูก ขณะที่อยู่กับท่านทำได้ดีท่านพระอาจารย์มั่นท่านเมตตา หลวงปู่ได้กราบเรียนถามปัญหาธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่น ท่านก็ตอบให้เฉพาะจิตที่เรารู้ ส่วนที่สูงขึ้นไปละเอียดไปนั้น ท่านพูดไปแล้วจิตเรามันไม่ถึง ท่านก็บอก “ให้มีฉันทะ มีความพอใจ วิริยะ ให้พากเพียรเดินจงกรมนั่งภาวนา จิตตะ ให้เอาใจฝักใฝ่อยู่เสมอ วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณาในร่างกายของตนอยู่เสมอๆ” ท่านก็สอนเท่านี้แหละ

    ส่วนเรื่องอื่นหลวงปู่จันทร์ศรีก็ได้ถามท่านเหมือนกัน แต่จิตเรายังรู้ไม่ถึง ท่านอธิบายให้เราฟังเราก็ปฏิบัติตาม แต่จิตเรายังไม่เป็นโสดา ไม่เป็นสกิทา ไม่เป็นอนาคา ยังเป็นปุถุชนอยู่ บทสุดท้ายท่านได้ให้กำหนดเอาผู้รู้อย่างเดียว นี้เราก็พยายามทำไป หลวงปู่อยู่มาได้ในเพศพรหมจรรย์นี้ก็เพราะได้อาศัยโอวาทของท่านพระอาจารย์มั่น ก็อยู่มาจนกระทั่งบัดนี้ เพราะตอนแรกตั้งใจจะสึกแล้ว ตอนนั้นช่วงอายุ 29-30 ปี เวลานี้หลวงปู่อายุย่าง 98 ปีแล้วนะ (เมื่อปี พ.ศ.2552) หลวงปู่ถือว่าได้กำไรแห่งชีวิต ทำศาสนกิจอยู่ในเพศพรหมจรรย์ ทั้งนี้ก็เพราะได้รับฟังโอวาทธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น

    ต่อแต่นั้นมาหลวงปู่ก็ได้หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตมหาเถระ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิปัสสนาจารย์ เป็นบูรพาจารย์ของพระกรรมฐาน ท่านพระอาจารย์มั่นได้อบรมสั่งสอนศิษย์เป็นจำนวนมากที่เป็นครูบาอาจารย์พระผู้หลักผู้ใหญ่ที่สำคัญในภาคอีสาน

    การที่หลวงปู่ได้รับการศึกษาอบรมจิตภาวนากับท่านพระอาจารย์มั่นนั้น ผลที่ได้รับคือจิตสงบเยือกเย็นจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มากระทบทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้รับแสงสว่างอันเกิดจากภาวนาตามสมควรแก่ฐานะ นับว่าเป็นลาภอันประเสริฐ ต่อจากนั้นท่านพระอาจารย์มั่นได้เดินทางไปบ้านนามน วัดดอยธรรมเจดีย์ (อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร) เมื่อท่านไปแล้ว หลวงปู่ก็แยกกับท่านไป อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เพื่อจะไปกราบไหว้พระธาตุพนม ก็เป็นอันว่าจากนั้นไปหลวงปู่ก็ไม่ได้พบท่านพระอาจารย์มั่นอีก คือหลวงปู่ลงมากรุงเทพฯ จนกระทั่งปี พ.ศ.2493 กำหนดงานถวายพระเพลิงศพท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตมหาเถระ หลวงปู่ติดการสอบนักธรรม ก็เลยไม่ได้ขึ้นมา รู้สึกเสียดายเป็นอย่างมาก

    พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)

    เทิดไว้เหนือเศียรเกล้า ด้วยเกล้า สาธุ.

    -อบรมภา.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    (โอวาทสุดท้าย: หลวงปู่มั่น ภูริทัทโต)
    ————————————————————–
    ” พวกญาติโยม
    พากันมามาก มาดูพระเฒ่าป่วย
    ดูหน้าตาสิ ! เป็นอย่างนี้ละ ญาติโยมเอ๋ย
    ไม่ว่าพระ
    ไม่ว่าฅน
    พระก็มาจากฅน มีเนื้อมีหนังเหมือนกัน

    ฅนก็ เจ็บป่วยได้
    พระก็ เจ็บป่วยได้
    สุดท้ายก็คือ…ตาย

    ได้มาเห็นอย่างนี้แล้ว
    ก็ จงพากันไปพิจารณา
    เกิดมาแล้วก็แก่ เจ็บ ตาย
    แต่ก่อนจะตาย…

    ทาน ยังไม่มี ก็ให้มีเสีย
    ศีล ยังไม่เคยรักษา ก็ให้รักษาเสีย
    ภาวนา ยังไม่เคยเจริญ
    ก็เจริญเสียให้พอ

    จะได้ไม่เสียที ที่ได้เกิดมา
    พบพระพุทธศาสนา
    ด้วยความไม่ประมาท
    นั้นล่ะ…
    จึงจะสมกับที่ได้เกิดมา เป็นฅน.”
    __________________________________
    (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

    -หลวงปู่มั.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ประมวลภาพข่าว
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาอินเดียศึกษา แด่พระครูภาวนาวิริยวัฒน์ (พระอาจารย์อารยวังโส) เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2562 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

    .jpg
    ประมวลภาพข่าว
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาอินเดียศึกษา แด่พระครูภาวนาวิริยวัฒน์ (พระอาจารย์อารยวังโส) เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2562 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เชิญร่วม กิจกรรมเจริญธรรม วันอาทิตย์ 16 มิ.ย.62 เปิดตามปกติ ณ.อาศรมธรรม โอภาโส

    โอกาสดี ท่านอ.จะทบทวน”วิชชา การเข้าธรรม – เจริญธรรม ให้เข้าตัว” (เทคนิค การเจริญธรรมให้เข้าถึง-ทรงอารมณ์ฌาน เข้าถึงพุทธคุณได้โดยง่าย ตำรับองค์หลวงปู่จักรวาล)

    ลงทะเบียน ตั้งแต่เวลา 08.00น.เป็นต้นไป

    ฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น มีอาหาร ขนมหวาน (สัปดาห์นี้ ข้าวเหนียวน้ำทุเรียน..หมอนทอง จากเมืองตราด… น้ำกระทิ เลิศรส โดย คุณติ๊ก..อุมาพร บัวแก้ว )

    วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มิย. ๖๒
    ———————————

    ช่วงเช้า ถ่ายทอดสด

    รายการดวงใจเปล่งแสง
    ———————————
    พบกับท่านอ.อุบาสก
    ทองทิพย์โอภาโส
    และพิธีกรคนเก่ง
    คุณหนูนา บงกช ศรีมังคละ
    ที่อาศรม ผ่าน facebook liveสด ทางจอโซเชียล
    ใน ทางช่อง
    อ. ทองทิพย์ โอภาโส
    fanpage ในเวลา 9.00
    ท่านสามารถเข้าร่วม
    การถ่ายทอดสดได้ค่ะ

    ….การถาม-ตอบ ปัญหาธรรมสด จากผู้เข้ามาปฏิบัติธรรม
    และผู้รับชมทางfacebook live

    เสร็จจากจบรายการ
    ก็จะปฏิบัติธรรมต่อ…

    แต่งกายสุภาพ ชุดขาว หรือ
    เสื้อขาวสุภาพ

    สามารถเตรียมบัตรประจำตัวมาลงทะเบียนได้ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป เริ่มกิจกรรม 09.00-12.30 น.
    (ไม่ต้องแจ้งจองล่วงหน้า สามารถเดินทางมาได้เลย)

    ที่ตั้ง “อาศรมธรรม โอภาโส” หมู่บ้านเมืองเอกรังสิต(โครงการ1) ซ.เอกอุดร 2 ถ.พหลโยธิน87 จ.ปทุมธานี / ทางเข้าม.รังสิต จากสนามบินดอนเมือง – เข้าเส้นถ.พหลโยธิน

    …ผ่านห้างเซียร์รังสิต ชิดซ้ายเข้าเลนในสุด -ผ่านตลาดสี่มุมเมือง – ปั้มเอสโซ่- สังเกตุป้ายธ.ทหารไทย ป้ายม.รังสิต-สนามกอล์ฟเมืองเอก เลี้ยวซ้าย ตรงเข้า หมู่บ้านเมืองเอก- ผ่านวัดรังสิต- เข้าหมู่บ้านเมืองเอก – สี่แยกศาลพระพรหม -เลี้ยวขวา วิ่งตรงตลอด สุดซอยตันในสุด หมู่บ้าน ซ้ายมือ “อาศรมธรรม โอภาโส)

    ให้สังเกตุป้ายอาศรมธรรมโอภาโส ตั้งแต่สี่แยกศาลพระพรหม (สามารถถามวินมอเตอร์ไซด์ปากซอย 87 ให้เข้ามาส่งถึงที่ได้สะดวก)

    สามารถคลิ้ก google map ( นำทางเข้าถึง อาศรมธรรม
    โอภาโส)

    “อาศรมธรรม โอภาโส”

    ได้ข้อมูลและรูปภาพ จาก อาศรมธรรม โอภาโส

    -กิจกรรมเจริญธร.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ขอกราบเรียน เรียนเชิญศิษยานุศิษย์และผู้มีจิตเป็นกุศลร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์ตามวันเวลาดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน

    เชิญร่วมกันสร้างอาคาร ” หลวงปู่หา สุภโร “ เป็นอาคารฉุกเฉินและหอสงฆ์อาพาธโรงพยาบาลสหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์
    -สามารถโอนทำบุญได้ที่บัญชีธนาคารกรุงเทพ
    -หมายเลขบัญชี 113-494-2976
    -ชื่อบัญชี พระญาณวิสาลเถร หา ภูบุตตะ เพื่อสร้างอาคารหลวงปู่หา สุภโร รพ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์

    กราบอนุโมทนาและขออนุโมทนาสาธุการมายังทุกๆท่านที่ร่วมบุญสร้างอาคารหลวงปู่หา สุภโร รพ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นอาคารอุบัติเหตุฉุกเฉินและหอสงฆ์อาพาธ

    ได้ข้อมูลและรูปภาพจาก fb หลวงปู่หา สุภโร

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่ข่าวสารงานบุญนี้ ทุกๆท่าน

    -เรียนเชิญศิ.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เหตุการณ์ ๓ พรรษาแรกที่วัดเลียบ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    พรรษาที่ ๑-๒ ท่านพระอาจารย์ก็คงจำพรรษาที่วัดเลียบ เมืองอุบลฯ นั้นเอง แต่ในฤดูแล้ง รับกฐินแล้วออกแสวงวิเวก ตามร่มไม้ชายป่า ใกล้หมู่บ้านกับท่านพระอาจารย์เสาร์
    พรรษาที่ ๓ ก็จำพรรษาที่วัดเลียบเมืองอุบลฯ
    ท่านพระอาจารย์เล่าว่า พรรษานั้นมีการซ่อมแซมศาลา เลื้อยไม้ไสกบ ท่านฯ ก็ทำกับเพื่อน เวลาเพลก็ฉันเพล แต่พอฉันเข้าไปแล้วเกิดปวดท้อง เป็นเวลาชั่วโมง จึงไปทำงานกับเพื่อนได้ เลยฉันแต่หนเดียว ตั้งแต่นั้นมาทำงานก็ไม่เหนื่อยไม่หิว ทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็นตามกฎของวัดไม่เคยขาด ส่วนข้อวัตรส่วนตัว ก็มีเดินจงกรม นั่งสมาธิก็ไม่ขาด บทภาวนาพุทโธๆ ๆ แต่นี้ไม่ได้เปลี่ยนมาหลายปี

    ในพรรษา ๓ นั้นเองก็รู้จักจิตรวมเป็นสมาธิ พอจิตรวมเป็นอัปปนาสมาธิปฐมฌานอุคคหนิมิต ก็ปรากฏว่า ตัวของท่านมานอนตายอยู่ข้างหน้า ห่างประมาณ ๑ วา มีสุนัตัวหนึ่งลากไส้ออกไปกิน จึงกำหนดอยู่ในนิมิตนั้น จนร่างนั้นเน่าผุเปื่อยเห็นหลายศพทั้งตายเก่าตายใหม่ แร้ง กา สุนัข ทั้งกัดกินอยู่ เหลือแต่ร่างกระดูกเต็มไปหมดวัด

    เริ่มมองเข้ามาในตน ก็เห็นแต่ร่างกระดูก มองเพื่อนพระเณรก็เห็นแต่ผ้าจีวรคลุมร่างกระดูก เนื้อหนังตับไปไส้พุงไม่มี เวลาไปบิณฑบาต มองดูชาวบ้าน ก็เห็นแต่เครื่องนุ่มห่มห่อกระดูก เวลาพูดกันเห็นแต่ฟันกระทบกัน ทำให้เกิดเป็นเสียง นึกแล้วอยากหัวเราะ แต่มีสัญญาณบอกว่า อย่านะ เดี๋ยวเป็นบ้า

    พระอาจารย์ท่านได้ไปเรียนถามท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านก็บอกว่า “ไม่รู้สิ เราไม่เป็น ให้พิจารณาไป” ท่านให้แต่พิจารณาไป จึงเพ่งแต่ร่างกระดูกนั้น จนกระดูกนั้นรวมเป็นดวงแก้ว ประมาณเท่าผลมะพร้าว เพ่งดูดวงแก้วว่างไปข้างหน้า ปรากฏเป็นทางใหญ่ คล้ายลาดด้วยซีเมนต์ นึกอยากไป จึงไปตามทางนั้นปรากฏว่า ตัวท่านพระอาจารย์เดินไปตามทางนั้น แต่ขณะเดียวกันองค์ท่านก็ยังนั่งอยู่ที่เดิม

    ในระหว่างทางทั้งสองข้าง มีภูเขาและถ้ำ มีเงื้อมผา มีพระภิกษุนั่งสมาธิอยู่มีที่อยู่คล้ายประทุนเกวียนเรียงรายอยู่ ทั้งข้างซ้ายและข้างขวา เดินไปจนสุดหนทางมีเหวลึกอยู่ข้างหน้า เดินไปได้ก็กลับ

    วันต่อมา พอนั่งสมาธิจิตสงบเห็นถนนนั้นก็เดินไปอีก พอสุดถนนอยู่หน้าเหวลึก มีสะพานทอดข้ามไปฝั่งโน้น ท่านฯ ก็เดินข้ามเหวไปจนสุดสะพาน เป็นภูเขาอีกฝั่งหนึ่ง แต่มองไปข้างหน้า เห็นหลังคาคล้ายหลังคาโบสถ์ วิหารหรือพระราชวังอย่างนั้น มีกำแพง ประตูค่ายคู หอรบ เดินต่อไปถึงประตูเอามือผลักดู ปรากฏว่าประตูติดลูกดาลแน่นหนา ผลักไม่ออกจึงเดินกลับ

    วันต่อมา พอนั่งสมาธิจิตสงบก็เดินไปอีก พอถึงกำแพง ประตูเปิดคอยอยู่แล้ว เลยเดินเข้าไป จะว่าวัดก็ไม่ใช่ จะว่าวังก็ไม่ใช่ แต่มีโบสถ์ มีวิหาร มีวัง สะอาดสะอ้าน แต่ไม่มีคนหรือพระอยู่ ท่านก็เดินไปตามสถานที่ต่างๆ นั้น

    พอไปถึงโบสถ์ซึ่งเปิดประตูอยู่ ก็เดินเข้าไป เป็นโบสถ์ว่างไม่มีคนอยู่ แต่เห็นธรรมาสน์ตั้งอยู่ มีหมอน มีที่รองนั่ง เหมือนธรรมาสน์เทศน์ทั่วไป แต่สวยงามวิจิตรด้วยลวดลายลงรักปิดทอง ท่านพระอาจารย์ก็ขึ้นไปนั่ง บนธรรมาสน์นั้น พอนั่งเสร็จก็เห็นภาชนะอาหารมาวางข้างหน้า มีก่องข้าว ในภาชนะมีกับ คือแตงกวาที่ซอยเป็นคำและมีน้ำพริกปลาป่น ท่านฯ ได้ฉันภัตตาหารนั้นซึ่งมีรสอร่อยเหมือนอาหารธรรมดา

    พอฉันเสร็จภาชนะนั้นก็หายไป มีความรู้สึกขึ้นมาว่า สถานที่นั้นคือ พระนิพพาน พักอยู่ประมาณแล้วก็เดินออกมา จิตก็ถอนจากสมาธิเป็นจิตธรรมดา มีความรู้สึกว่าท่านถึงพระนิพพานแล้ว

    มาภายหลังท่านพระอาจารย์ว่า มีถ้ำสองข้างทาง ซึ่งมีพระภิกษุนั่งสมาธิอยู่ใต้ประทุนเกวียนนั้น คือ รูปพรหมโลก ส่วนที่ว่าวัดหรือวังนั้นคือ อรูปพรหมโลก

    พระอาจารย์ท่านว่า พอนั่งสมาธิจิตก็ส่งออกไปอยู่สถานที่นั่น นึกว่าถึงนิพพานแล้ว แต่พออกมาเป็นจิตธรรมดา มากระทบกระทั่งกับอารมณ์ภายนอก เห็นรูปที่น่ารัก โดยเฉพาะเพศตรงข้ามก็ยังเกิดรัก เห็นหรือได้ยินเสียงน่าชัง ก็ยังชังอยู่ เลยมาเฉลียวใจว่า เอ๊ะ นี่เรามาถึงพระนิพพานแล้ว ทำไมจึงมาหลงรักหลงชังอยู่ได้เล่า เห็นจะไม่ใช่พระนิพพานกระมัง นั่งสมาธิทีไรก็ไปที่นั่นทุกที

    พอนึกได้ดังนี้แล้วจึงตั้งใจใหม่ แต่ไม่ใช่จิตมันรวม เดินจงกรมก็เอาจิตไว้ที่กายจะบริกรรมพุทโธ หรือมูลกัมมัฏฐานก็แล้วแต่ ไม่ให้จิตรวม ไม่นั่งสมาธิ เวลาจะนอน ก็นอนเลย ทำอย่างนั้นอย่างต่อเนื่องไม่ให้ขาดสติ

    พอวันที่สามเอาไม่อยู่ เพราะความพร้อมทั้งสติ และสัมปชัญญะ พอนั่งสมาธิจิตก็รวมใหญ่ รวมคราวนี้ไม่ออกไปข้างนอก อยู่กับที่ ปรากฏว่า ร่างกายนี้พังทลายลงไปเลย

    ปรากฏเป็นไฟเผาเหลือแต่กองเถ้าถ่าน แล้วจมหายลงไปในแผ่นดิน ขณะนั้นจิตอยู่กับที่รู้ขึ้นว่า เออ…ถูกล่ะทีนี้ เพราะจิตไม่ไปไหน อยู่กับที่แล้ว ไม่หยุดอยู่แค่นั้น แล้วเกิดความรู้ขึ้นมาว่า

    ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก เราควรกำหนดรู้ เราได้รู้แล้ว
    สมุทัย คือ แดนเกิดแห่งทุกข์ เป็นสภาพที่ควรละ เราได้ละแล้ว
    นิโรธ คือ การกระทำให้แจงซึ่งอริยสัจ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว
    มรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นปฏิปทา ควรเจริญ เราได้เจริญแล้ว

    พระอาจารย์ท่านว่า “ขณะนั้นจิตของท่านหมุนเป็นปรากฏการณ์แปลกประหลาดซึ่งไม่เคยมีมาก่อน และท่านว่า กิริยาของจิตที่เป็นอย่างนั้น เป็นไปโดยไม่ได้ไปแต่งเป็นผลเกิดมาจากการอบรมภาวนา เจริญมรรคมีองค์แปดให้ต่อเนื่อง ตรงกับคำว่า ภาวิโต พหุลีกโต อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สงฺวตฺตติ เป็นไปพร้อมเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อความดับสนิท” และท่านฯ ยังย้ำอีกว่า “สงฺวตฺตติ ย่อมเป็นไปพร้อมๆ หรือเป็นไปพร้อมอยู่ แล้วแต่จะว่ากัน”

    ท่านพระอาจารย์ว่า อาการของจิตที่เราพูดกัน ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า มีอาการยืดยาวไปเหมือนเชือกล่ามวัวล่ามควาย หรือขว้างไปเหมือนหมาคาบบั้งข้าวหลามก็หาไม่

    ลักษณะอาการของจิตก็คือ เกิดดับ เกิดดับ อย่างต่อเนื่อง ยกอยู่ในฌานหรือเสวยผลแห่งมรรคที่เจริญแล้วเท่านั้น ลักษณะของจิตที่เป็นอย่างนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ คือญาณความรู้ที่ก้าวข้ามจากปุถุชนโคตร ก้าวสู่อริยโคตรเป็นปฐมมรรคโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน แต่ท่านพระอาจารย์มิได้พูดว่าท่านเป็น

    ท่านพระอาจารย์อธิบายว่า เป็นกิริยาทางจิต ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิบัติธรรมภาวนา อบรมรรค ๘ หรือมรรคมีองค์ ๘ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ผู้เล่าสงสัยว่า อริยบุคคลต้องเป็นอย่างนี้ทั้งหมดหรือ จึงคอยหาโอกาสกราบเรียนถาม พอได้โอกาส เวลาฉันน้ำร้อนน้ำชาสองต่อสอง จึงได้จังหวะกราบเรียนถาม

    ท่านพระอาจารย์ตอบว่า ไม่เป็นอย่างนั้น จะรู้แจ้งสัจธรรมไม่ได้ จะรู้ได้อย่างไรความตรัสรู้ จะเป็นสัมพุทธะ และสาวกอนุพุทธะก็เป็นแนวเดียวกัน จึงเป็นอริยบุคคลได้

    พอเรียนถามว่า ครั้งพุทธกาล นางวิสาขาพร้อมบริวาร ๕๐๐ ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ว่ากันว่า พากันยืนฟังกลางถนน พอเทศน์เสร็จก็สำเร็จกันแล้ว ดูรวดเร็วนักท่านเหล่านั้นจะรู้ตัวหรือเปล่า ท่านพระอาจารย์ก็ตอบว่า พระพุทธเจ้าชั้นบรมครูพระองค์ทำได้ ไม่เหมือนพวกเรา สอนจนปากเปียกปากแฉะก็ยังไม่รู้

    พอเรียนถามว่า แล้วท่านเหล่านั้นจะรู้ตัวหรือเปล่า

    ท่านพระอาจารย์ตอบว่า “ในเบื้องต้นอาจไม่รู้ตัว เพราะเขาเหล่านั้นฌานยังอ่อน ภายหลังจึงรู้ตัวได้ เพราะเหตุนี้ พระโสดาบันจึงปิดประตูอบายภูมิ ๔ ได้”

    ท่านเหล่านั้นดำรงตนอยู่ในสรณะและศีล ๕ อย่างมั่นคง กิริยา วาจาและใจที่เคยเป็นอกุศล กายฆ่าสัตว์ วาจากล่าวมุสา และในเป็นอกุศลวิตก ที่เคยชินมานานหลายภพหลายชาติ พอจิตก้าวสู่อริยวังสปฏิปทาแล้ว อกุศลเหล่านั้นจะเกิดขึ้น ก็จะมีญาณ เกิดขึ้นห้าม เป็นหิริโอตตัปปะมากางกั้นไว้

    ฉะนั้นพระโสดาบันจึงปิดประตูอบายภูมิได้ แม้แต่ท่านภัททวัคคีย์พร้อมสหายทั้ง ๓๐ เดินทางไปเที่ยวป่าไร่ฝ้าย พบพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรม สำเร็จแต่พระโสดาบันบวชเป็นเอหิภิกขุ พระพุทธองค์ยังส่งไปประกาศพระศาสนาได้ ต่อมาเมื่อมาเฝ้าพระพุทธเจ้าในวันเพ็ญ เดือน ๓ ทรงแสดงพระโอวาทปาฏิโมกข์ จึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ท่านพระอาจารย์ว่าอย่างนี้

    นี่คือเหตุการณ์ในพรรษาที่ ๓ ที่วัดเลียบเมืงอุบลฯ ของท่านพระอาจารย์ พอปวารณาออกพรรษารับกฐินสิ้นภาระแล้ว จึงปรึกษากับท่านพระอาจารย์เสาร์ชวนกันมาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ

    *** หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ***

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญ ท่าน
    เจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมใน
    การเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ทุกๆท่าน..

    -๓-พรรษาแรกที่ว.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “ประสบการณ์การบรรลุธรรมของหลวงพ่อชา”

    (เทศนาธรรมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท)
    (วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี)

    ๐ จิตตามธรรมชาติ

    กายระเบิดเสียงดังมาก
    “ความรู้” ที่มีอยู่นั้น “ละเอียดที่สุด”

    วันหนึ่งขณะที่เดินจงกรมอยู่ เวลาประมาณห้าทุ่มกว่า รู้สึกแปลกๆมันแปลกมาแต่ตอนกลางวันแล้ว รู้สึกว่า ไม่คิดมาก มีอาการสบายๆ เขามีงานอยู่ในหมู่บ้านไกลประมาณสิบเส้น จากที่พักซึ่งเป็นวัดป่า เมื่อเดินจงกรมเมื่อยแล้ว เลยมานั่งที่กระท่อม มีฝาแถบตองบังอยู่ เวลานั่งรู้สึกว่า คู้ขาเข้าเกือบไม่ทัน

    เอ๊ะ จิตมันอยากสงบ มันเป็นเองของมัน พอนั่ง จิตก็สงบจริงๆ รู้สึกตัวหนักแน่น เสียงเขาร้องรำอยู่ในบ้านมิใช่ว่าจะไม่ได้ยิน ยังได้ยินอยู่ แต่จะทำให้ไม่ได้ยินก็ได้ แปลกเหมือนกัน เมื่อไม่เอาใจใส่ ก็เงียบ ไม่ได้ยิน จะให้ได้ยินก็ได้ ไม่รู้สึกรำคาญภายใน “จิต” เหมือน “วัตถุสองอย่างตั้งอยู่ไม่ติดกัน”

    “ดูจิต” กับ “อารมณ์” ตั้งอยู่คนละส่วน เหมือนกระโถนกับกาน้ำ นี่ก็เลยเข้าใจว่า เรื่องจิตเป็นสมาธิ
    นี่ถ้าน้อมไปก็ได้ยินเสียง ถ้าว่างก็เงียบ ถ้ามันมีเสียงขึ้น ก็ดูตัว “ผู้รู้” ขาดกันคนละส่วน จึงพิจารณาว่า “ถ้าไม่ใช่อย่างนี้มันจะใช่ตรงไหนอีก” มันเป็นอย่างนี้ “ไม่ติดกันเลย” ได้พิจารณาอย่างนี้เรื่อยๆ

    จึงเข้าใจว่า อ้อ! อันนี้ก็สำคัญเหมือนกัน เรียกว่า “สันตติ” คือ “ความสืบต่อขาด” มันเลยเป็น “สันติ”
    แต่ก่อนมันเป็น “สันตติ” ทีนี้เลยกลายเป็น “สันติ”

    ออกมาจึงนั่งทำความเพียรต่อไป จิตในขณะที่นั่งทำความเพียรคราวนั้นไม่ได้เอาใจใส่ในสิ่งอื่นเลย ถ้าเราจะหยุดความเพียรก็หยุดได้ตามสบาย เมื่อเราหยุดความเพียร เจ้าเกียจคร้านไหม เจ้าเหนื่อยไหม
    เจ้ารำคาญไหม เปล่า ไม่มี ตอบไม่ได้ ของเหล่านี้ไม่มีในจิตมีแต่ “ความพอดี” หมดทุกอย่างในนั้น

    ประสบการณ์การ “รู้ธรรม ๓ วาระ” ถ้าเราจะหยุดก็หยุดเอาเฉยๆ นี่แหละ ต่อมาจึงหยุด พักหยุดแต่การนั่งเท่านั้น ใจเหมือนเก่ายังไม่หยุด เลยดึงเอาหมอนลูกหนึ่งมาวางไว้ตั้งใจจะพักผ่อน เมื่อเอนกายลง จิต ยังสงบอยู่อย่างเดิม พอศีรษะจะถึงหมอนมีอาการน้อมในใจ ไม่รู้มันน้อมไปไหน แต่มันน้อมเข้าไป น้อมเข้าไป คล้ายกับมีสายไฟอันหนึ่ง ไปถูกสวิตซ์ไฟเข้า ไปดันกับสวิตซ์อันนั้น กายก็ระเบิดเสียงดังมาก ความรู้ที่มีอยู่นั้น “ละเอียดที่สุด” พอมันผ่านตรงจุดนั้น ก็หลุดเข้าไปข้างในโน้น ไปอยู่ข้างในจึงไม่มีอะไร แม้อะไรๆ ทั้งปวงก็ ส่งเข้าไปไม่ได้ ส่งเข้าไปไม่ถึง ไม่มีอะไรเข้าไป ถึงหยุดอยู่ข้างในสักพักหนึ่ง ก็ถอยออกมา

    คำว่า “ถอยออกมา” นี้ไม่ใช่ว่า “เราจะให้มันถอยออกมาหรอก” เราเป็นเพียง “ ผู้ดูเฉยๆ” เราเป็น “ผู้รู้” เท่านั้น อาการเหล่านี้ เป็นออกมาๆ ก็มาถึง ปกติจิตธรรมดา เมื่อ เป็นปกติดังเดิมแล้วคำถามก็มีขึ้นมาว่า “นี่มันอะไร?” คำตอบเกิดขึ้นว่า “สิ่งเหล่านี้ของเป็นเองไม่ต้องสงสัยมัน” พูดเท่านี้จิตก็ยอม เมื่อหยุดอยู่พักหนึ่งก็ “น้อมเข้าไปอีก” เรา “ไม่ได้น้อม” “มันน้อมเอง” พอน้อมเข้าไปๆ ก็ไปถูกสวิตซ์ไฟดังเก่า

    ครั้งที่สองนี้ “ร่างกายแตกละเอียดหมด” หลุดเข้าไปข้างในอีก “เงียบยิ่งเก่งกว่าเก่า” “ไม่มีอะไรส่งเข้าไปถึง” “เข้าไปอยู่ตามปรารถนาของมันพอสมควร” แล้วก็ถอยออกมา ตามสภาวะของมันในเวลานั้นมัน “เป็นอัตโนมัติ” “มิได้แต่ง” ว่าจงเป็นอย่างนั้นจงเป็นอย่างนี้ จงออกอย่างนี้จงเข้าอย่างนั้น “ไม่มี” เราเป็นเพียง “ผู้ทำความรู้” “ดูอยู่เฉยๆ” มันก็ถอยออกมาถึงปกติ มิได้สงสัยแล้วก็นั่งพิจารณาน้อมเข้าไปอีก

    ครั้งที่สามนี้ “โลกแตกละเอียดหมดทั้งพื้นปฐพี” “แผ่นดินแผ่นหญ้าต้นไม้ภูเขาโลกเป็นอากาศธาตุหมด” “ไม่มีคนหมดไปเลยตอนสุดท้ายนี้ไม่มีอะไร”

    เมื่อเข้าไปอยู่ตามปรารถนา ของมัน ไม่รู้ว่ามันอยู่อย่างไร “ดูยากพูดยาก” “ของสิ่งนี้ไม่มีอะไรจะมาเปรียบปานได้เลย” “นานที่สุดที่อยู่ในนั้น” พอถึงกำหนดเวลา “ก็ถอนออกมา” คำว่า “ถอนเราก็มิได้ถอนหรอก” “มันถอนของมันเอง” เราเป็น “ผู้ดูเท่านั้น” ก็เลยออกมาเป็นปกติ “สามขณะ” นี้ใครจะเรียกว่าอะไรใครรู้เราจะเรียกอะไรเล่า พลิกโลกพลิกแผ่นดิน

    ที่ เล่ามานี้…เรื่อง “จิตตามธรรมชาติทั้งนั้น” อาตมามิได้กล่าวถึงจิตถึงเจตสิก ไม่ต้องอะไรทั้งนั้น “มีศรัทธา” ทำเข้าไปจริงๆ เอา “ชีวิตเป็นเดิมพัน” เมื่อถึงวาระที่เป็นอย่างนี้ออกมาแล้ว “โลกนี้แผ่นดินนี้มันพลิกไปหมด” “ความรู้ความเห็นมันแปลกไปหมด”

    ทุกสิ่งทุกอย่างในระยะนั้นถ้าคนอื่นเห็นอาจจะว่าเราเป็นบ้าจริงๆ ถ้าผู้ควบคุมสติไม่ดีอาจเป็นบ้าได้นะเพราะมันไม่เหมือนเก่าสักอย่างเลย “เห็นคนในโลกไม่เหมือนเก่า” แต่มันก็เป็น “เราผู้เดียวเท่านั้น” แปลกไปหมดทุกอย่าง ความนึกคิดทั้งหลายทั้งปวงนั้นเขาคิดไปทางโน้นแต่เราคิดไปทางนี้ เขาพูดมาทางนี้เราพูดไปทางโน้น เขาขึ้นทางโน้นเราลงทางนี้มันต่างกับมนุษย์ไปหมดมันก็เป็นของมันเรื่อยๆไป

    ท่านมหา ลองไปทำดูเถอะ ถ้ามันเป็นอย่างนี้ไม่ต้องไปดูไกลอะไรหรอก “ดูจิตของเราต่อๆ ไป” มันอาจหาญที่สุดอาจหาญมาก นี่คือเรื่องกำลังของจิต เรื่องกำลังของจิตมันเป็นได้ถึงขนาดนี้’

    [​IMG]

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ถวายอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น

    ” งานหรือข้อวัตรต่างๆ ที่หลวงปู่ได้ถวายอุปัฏฐากแก่หลวงปู่มั่นเป็นประจำคือ รับบาตรของหลวงปู่มั่นหลังท่านกลับจากบิณฑบาต ล้างบาตร เช็ดบาตร ปูที่นอน ซักผ้าต่างๆ ไม่ว่า สบง จีวร สังฆาฏิ ทำความสะอาดเสนาสนะที่พักของหลวงปู่มั่น ปลงผมถวายท่าน ถวายน้ำสรง จัดที่ฉัน่และถวายการนวด ”

    การอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาของหลวงปู่มั่น ในแต่ละคืนนั้น ดึกทุกคืนจนถึงเที่ยงคืนเลยทีเดียว เมื่อท่านอบรมธรรมะเสร็จแล้ว บรรดาพระทั้งหลาย รวมทั้งหลวงปู่ ก็จะเข้าไปนวดถวายท่าน ในเรื่องนี้หลวงปู่ได้เล่าว่า

    “ เที่ยงคืนไปบีบเส้นให้ท่านทุกคืนเลย ท่านสอนดึกๆ ทุกคืน เมื่อดึกมากลูกศิษย์แต่ละองค์ก็ค่อยๆ หายไปๆ จนเหลือแต่อาตมาเพียงองค์เดียว บางทีท่านก็นอน อาตมาก็บีบเส้นถวายไป เราสงสัยสิ่งใดก็เรียนถามท่านไป ท่านก็อธิบายไป ท่านก็ไม่บอกให้หนี ลองดูซิว่าท่านไม่บอกให้ไป ก็จะไม่หนี ”

    อาตมาบีบเส้นให้ท่านไม่เบาเกินไป ไม่แรงเกินไป ถูกกับความประสงค์ของท่าน รูปอื่นบีบให้ท่านแรงเกินไป แต่อาตมาบีบให้ท่านจนค่อนคืน ครั้งหนึ่งท่านพระอาจารย์กล่าวแก่อาตมาว่า

    “ ท่านเหรียญนวดดี นวดเก่ง รู้จักตรงไหนควรหนัก ตรงไหนควรเบา เอาใจผู้เฒ่าดี ”

    อีกประการหนึ่ง การประพฤติปฏิบัติของลูกศิษย์ลูกหา ถ้าผู้ใดทำดี ประพฤติดีมีความเห็นชอบถูกต้อง ท่านย่อมเมตตา อย่างอาตมาไปอยู่กับท่านนี้ มีครั้งเดียวที่ท่านเตือน คืออาตมาไปนุ่งผ้าอาบน้ำทับผ้าสบงครอง แล้วห่อไว้เป็นก้อน ห่อผ้าสบงครองไว้ควบผ้าอาบน้ำ แล้วทำงานซักผ้าย้อมผ้าอยู่ ท่านพระอาจารย์มั่นนั่งอยู่ด้านหลัง เมื่อท่านเห็น ท่านจึงว่า

    “ อย่างนี้ถ้าท่านอยากอยู่กับเรา อย่าไปนุ่งแบบนั้น ผ้าอาบน้ำต้องเอาไว้ข้างใน นุ่งซ้อนกันเลย อย่าไปทำลูกบวบ ผ้าสบงอยู่นอกจึงถูกต้อง ”

    …..อาตมาก็เลยกราบเรียนท่านว่า…..

    สาธุ! กระผมไม่รู้ เพิ่งมารู้นี้แหละ กระผมขอกราบขมาลาโทษ ที่กระผมได้เผลอไป

    ต่อจากนั้นก็เลยไม่ทำอย่างนั้นอีก เลยนุ่งตามที่ท่านบอก มีครั้งเดียวเท่านั้นแหละที่ท่านว่า เพราะอาตมามาเข้าถึงท่าน ท่านจะด่าจะว่า ก็เข้าไปนั่นแหละ บางองค์ก็กล้าๆ กลัวๆ กลัวท่านจะว่าเอา เมื่อท่านตำหนิเข้าจริงๆ ก็เสียใจ เพราะฉะนั้นเราไม่กล้า เราไม่กลัว วางตัว
    เสมอๆ พอดีๆ

    ท่านพระอาจารย์มั่นสอนว่า …
    “เมื่อจะสั่งสอนผู้อื่น ต้องสั่งสอนตนให้ดีเสียก่อน”

    อันนี้แหละท่านสอนลูกศิษย์ ถ้าสั่งสอนตัวเองไม่ได้ ก็จะสั่งสอนคนอื่นไม่ได้เช่นกัน แล้วตัวเองก็เสื่อม

    -: พระสุธรรมคณาจารย์ :-
    (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญ ท่าน
    เจ้าของผู้ถ่ายภาพนี่พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมใน
    การเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ทุกๆท่าน…

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...