ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    *** การปฏิบัติในวัดป่าบ้านหนองผือ ***

    เรานี้มันสร้างมากแล้ว สร้างมาก ทำมาก อะไรๆ ก็อันนี้จะหาย อันนี้จะเสีย ร่ำริร่ำไรอยู่นี่ ถ้าท่านหลวงปู่มั่นอยู่ ท่านเทศน์ใหญ่แล้วนี่ ท่านเทศน์ใหญ่แล้ว!!

    ท่านเน้นภาวนาอย่างเดียว ญาติโยมจะทำอันนั้น ก็ทำซะวันนี้ ถ้าทำวันนี้ไม่เสร็จ อีกหลายวันค่อยมาทำ เพราะท่านอยากให้ลูกศิษย์ลูกหาภาวนา กระโถนนี้ยังไม่ใช้ของดีเลย เอาไม้ไผ่มาตัด เอากระบอกไม่ไผ่ตัด ตะกร้าใส่ข้าว เอาตะกร้าใส่ข้าวเหมือนตะกร้าหวาย มันคนละสมัยกัน ไม่เหมือนสมัยนี้อะไรๆ มันมีมาก สมัยนั้นมันไม่มี

    พวกญาติโยมบ้านหนองผือก็ภาวนาเหมือนกัน หลวงปู่มั่นเทศน์เขาก็มานั่งอยู่อาสนะใคร อาสนะมัน ขึ้นบนกุฏิไม่ได้มันแคบ พระเณรอยู่เต็ม นั่งฟังแล้วก็กลับบ้าน เขาไม่ได้มาจำวัด จำศีล เดี๋ยวนี้จะมีหรือไม่มีก็ไม่รู้ คนมารักษาศีลที่วัด (วัดป่าหนองผือ-นาใน) เฒ่าพุฒ โยมอุปัฏฐากคนหนึ่งของท่าน (หลวงปู่มัน) ตายไปหมดแล้ว แก่แล้วก็ไม่บวช ปู่มั่นบอกให้บวชเถอะ ก็ไม่บวช แต่คนอื่นก็บวชได้ หลายคน

    พวกแม่ชี อยู่นอกวัด คนละรั้ว ทำอาหารที่ไกลๆ แล้วก็เดินมาส่ง เวลามา ก็นั่งอยู่โน้น…(ไกลจากพระ) เอาของวางแล้วก็มีโยมผู้ชายไปเอาเข้ามา เขาไม่ได้มาใกล้พระดอก ไม่ได้เกี่ยวข้องกัน

    “สมัยที่หลวงตาจำพรรษากับหลวงปู่มั่นที่วัดหนองผือนาใน อยู่กุฏิบริเวณที่เขียนบนป้ายปักไว้ ก็เป็นที่ไม่ถาวร เป็นกุฏิชั่วคราว ภาวนาคืนหนึ่งๆ มืดแล้วสว่าง สว่างแล้วมืด”

    เมื่อออกพรรษาปี ๒๔๙๒ พระอาจารย์มั่น ภูริทตตฺโต เริ่มป่วยกระเสาะกระแสะเรื่อยมา เมื่อหลวงปู่มั่นรู้อาการป่วยของท่านจะต้องถึงวาระสุดท้ายแห่งขันธ์อย่างไม่ต้องสงสัย บรรดาลูกศิษย์ลูกหาก็ทยอดกันมาเยี่ยมอย่างไม่ขาดสายจากทุกทิศ ท่านปรารภบอกบรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายว่าท่านไม่อยากมรณะที่นี้ (วัดป่าหนองผือ) เพราะการมรณะของท่านเป็นเรื่องใหญ่ จะกระเทือนถึงสัตว์และชาวบ้านซึ่งมีจำนวนน้อยอีกด้วย จะเป็นการทำลายสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ เพื่อทำเป็นอาหารเลี้ยงพระ และฆราวาสในหมู่บ้านไม่กี่สิบหลังคาเรือน และไม่มีตลาดแลกเปลี่ยนซื้อขาย ที่พักอาศัยของพระภิกษุสามเณรและอุบาสก อุบาสิกา ที่มาในงานศพก็ไม่มีเพราะเมื่อคนทั้งหลายรู้ข่าวเขาก็จะมากันมากมาย

    ท่านไม่อยากมีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเพราะการมรณภาพของท่าน ท่านอยากไปมรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาส ในตัวจังหวัดสกลนครขอให้นำท่านไปสู่ที่นั้นเถิด เมื่อหลวงปู่มั่นท่านมีเหตุผลดังนี้ บรรดาพระเณรและ ศิษย์ ทายก ทายิกา ได้ฟังดังนั้นได้ตกลงปรึกษาหารือกันทั้งบรรรพชิต และคฤหัสถ์ว่าควรนำท่านไปวัดสุทธาวาสตามความประสงค์จึงพากันทำแคร่ไม่ไผ่หามท่านออกเดินทางข้ามเทือกเขาภูพาน ไปสู่ทางรถยนต์เพื่อเดินทางเข้าสู่สกลนคร วันนั้นเป็นวัดมหาวิปโยคของชาวบ้านหนองผือ และชาวสกลนคร ทุกคนน้ำตานองในใบหน้า เพราะพระอาจารย์อันเป็นที่รัก และเคารพของพวกเขามีอันต้องจากไป การเดินทางจากบ้านหนองผือในสมัยนั้นเป็นทางทุรกันดารมาก เป็นทางเท้าจะต้องขึ้นเขาลงห้วย ผ่านดงพงไพร ลัดเลาะทุ่งนามีทั้งโคลนตม ลำนากมากกว่าจะถึงถนนลูกรังสายสกลนคร-อุดรธานี ระหว่างอำเภอพรรณนานิคมนั้น ระยะทางตั้ง ๒๐๐ กิโลเมตร โดยหามพระอาจารย์มั่น ซึ่งป่วยหนักนอนบนแคร่ไม่ไผ่ ผู้คนหลายคนสับเปลี่ยนกันหาม ออกจากหนองผือ ๓ โมงเช้า ๕ โมงเย็น ถึง บ้านภู่ อ.พรรณานิคม ญาติโยมได้อาราธนาให้พักที่วัดบ้านโนนภู่สักระยะหนึ่งก่อน

    นับแต่ท่านพักอยู่วัดป่าโนนภู่นี้ อาการของท่านก็เริ่มทรุดลงหนักตามลำดับ พระภิกษุสามเณร ทายก ทายิกา ได้ยินข่าวต่างหลั่งไหลมาทุกทิศทุกทางเพื่อกราบเยี่ยมท่านไม่ว่า เช้า สาย บ่าย เย็น ทั้งกลางคืนใครๆ ก็ใคร่อยากจะเยี่ยมกราบนมัสการท่าน ฝูงชนเหล่านั้นไม่เคยเห็นท่านเลยก็มี ทั้งเป็นลูกศิษย์ลูกหาท่านก็มี ได้ยินกิตติศัพทย์เลื่องลือถือว่าท่านเป็นองค์อรหันต์กำลังจะนิพพานในเร็วๆ นี้ ก็อยากมากราบบูชา ท่านพักอยู่ในวัดบ้านภู่นี้ประมาณ ๑๐ วัน ท่านบอกให้ทุกคนให้เร่งพาท่านเดินทางเข้าสู่วัดสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร โดยเร็วท่านไม่สามารถแบกขันธ์ อันเป็นกองมหันตทุกข์ อันใหญ่หลวงนี้ต่อไปได้อีกแล้ว ธาตุขันธ์จวนเจียนเต็มที่แล้ว ให้พาไปสู่วัดป่าสุทธาวาส สกลนครเถิด

    รุ่งเช้าวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๒ เวลา ๖.๐๐ น. รถยนต์ของแขวงการทางสกลนคร ๓ คันมานิมนต์ท่าน ภิกษุสามเณรที่จะตามไปรับใช้ท่านก็ให้ขึ้นรถเดินทางไปพร้อมๆ กัน แม้จะรับไปไม่หมด ก็จะกลับมารับอีก ท่านก็รับคำนิมนต์ ทันทีที่หมอจากโรงพยาบาลสกลนคร ฉีดยาถวายท่านแล้วก็อาราธนาองค์ท่านขึ้นแคร่ไม้ไผ่ยกขึ้นรถ เดินทางสู่จุดมุ่งหมายคือ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร

    พอถึงวัดป่าสุทธาวาส หามท่านลงจากรถยนต์ไปยังกุฏิท่านก็ยังนอนหลับและหลับไปถึงเที่ยงคืนท่านก็เริ่มตื่นพอท่านตื่นไม่นานราวๆ สัก ๑ ชั่วโมง ท่านพระอาจารย์ใหญ่ ก็เริ่มแสดงอาการเหมือนจะบอกกับศิษยานุศิษย์ทั้งหลายที่นั่งห้อมล้อมเฝ้าดูอาการอยู่นั้นว่า นี้แหละท่านทั้งหลายเห็นหรือยังที่ฉันบอกไม่หยุดปากให้รับพาฉันมาที่นี้ ฉันจะได้ปล่อยสิ่งที่รกรุงรังที่เต็มไปด้วยมหันตทุกข์ให้หมดเร็วๆ

    ต่อมาจากนั้นท่านอาจารย์ใหญ่ ก็แสดงอาการลาขันธ์ “ภาราหเว ปัญจักขันธา” อันเป็นกองมหันตทุกข์ในโลกสมมุตินี้ไปท่ามกลางลูกศิษย์ลูกหาและพระผู้ใหญ่คือ ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ที่มานั่งเฝ้าจนสิ้นลมหายใจเมื่อเวลา ๒๓.๐๐ น. ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ พอรุ่งขึ้น ทั้งพระภิกษุผู้ใหญ่คณะศิษยานุศิษย์และข้าราชการพ่อค้าประชาชนชาวสกลนคร ได้ประชุมปรึกษาหารือกันถึงการจากไปของหลวงปู่มั่น ว่าควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสมควรกับเกียรติในฐานะท่านเป็นอาจารย์อันสำคัญที่คนทั่วประเทศเคารพ และเลื่อมใส

    รุ่งเช้าถัดมา หลวงตาแตงอ่อน และพระก็ได้ช่วยกันต่อโลงศพของท่านพระอาจารย์มั่น สร้างกุฏิที่อยู่ของพระ ของโยม สร้างปะรำพิธี ขุดบ่อน้ำ ฯลฯ เพื่อเตรียมการต่างๆ สำหรับงานประชุมเพลิง เมื่อเสร็จเรียบร้อย ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ท่านก็ประกาศให้พระแยกย้ายออกไปธุดงค์ หรือพักตามที่ต่างๆ ได้ แล้วค่อยกลับมาตอนใกล้วันกำหนดประชุมเพลิงหลวงปู่มั่น หลวงตาแตงอ่อนท่านก็กลับมาพักที่บ้านเกิดท่านจนใกล้เวลาเผาศพจึงกลับไปที่วัดป่าสุทธาวาส

    วันถวายเพลิงศพพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เดือน ๓ เป็นวันถวายเพลิงศพ พระภิกษุประมาณ ๒,๐๐๐ องค์ และญาติโยมจากทุกทิศทุกทางทั้งใกล้ไกลทั้งต่างจังหวัดเป็นหมื่นคน มุ่งสู่วัดป่าสุทธาวาสเพื่อถวายเพลิงศพ งานก็ได้สำเร็จสิ้นไปด้วยความเรียบร้อยทุกประการ ตลอดเวลา ๕๐ ปีกว่าที่ท่านพระอาจารย์ใหญ่อยู่ในร่มกาสาวพัสตร์นั้นมีแต่บำเพ็ญภาวนาขัดเกลากิเลสกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ปฏิบัติธุดงควัตรอยู่เป็นนิตย์ สำเร็จจิตระดับสูงสามารถล่วงรู้กาลในอนาคตเป็นอย่างดี อันจะหาใครเสมอเหมือนท่านไม่ได้ในยุคนี้ บรรดาลูกศิษย์ลูกหาต่างองค์ก็ต่างว้าเหว่ขาดที่พึ่งเหมือนว่าวหางขาด เรือปราศจากหางเสือ ต่างจรไปทุกทิศทุกทาง

    เมื่อหลวงปู่มั่นมรณภาพ ความรู้สึกของหลวงตาแตงอ่อน

    “ไม่ดีใจไม่เสียใจ ปลงสังขารแล้วตั้งแต่ท่านป่วย เราก็นั่งเฝ้า นั่งพัดท่าน ท่านก็พูดว่าชีวิตของเรานี้คงไม่นานเดี๋ยวก็จากลูกศิษย์ลูกหาไป ใครก็เหมือนกันนั่นแหละเดี๋ยวก็ตาย ท่านป่วยเป็นโรคชรา หลังท่านมรณภาพแล้วหลวงตานิมิตเห็นท่านอยู่เรื่อย เห็นเรื่อย”
    …………………………………….
    (หลวงตาแตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม)

    เทิดไว้เหนือเศียรเกล้า ด้วยเกล้า สาธุ.

    ขออนุโมทนา ขอขอบคุณและขออนุญาต..
    นำมาเผยแผ่เป็นธรรมทานแก่ผู้มีความศรัทธา.

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “ความยึดมั่นถือมั่นในจิต เป็นเหตุแห่งทุกข์”

    (คติธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

    ๐ ความทุกข์เกิดมาจากอะไร ?

    “ความทุกข์ไม่เกิดมาจากอะไร ไม่เกิดมาจากสถานที่บุคคล หรือรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าจิตไม่ไปยึดไปเหนี่ยว ไม่ไปนำอารมณ์นั้น ๆ มาเกี่ยวข้องวุ่นวายตัวเองหรือก่อกวนตนเอง นอกจากจิตนี้ไปยุ่งเท่านั้นเอง สิ่งทั้งหลายจึงเป็นเหมือนข้าศึก

    ความจริงความคิดของตนเองเป็นข้าศึกต่อตัวต่างหาก ไม่ใช่รูปมาเป็นข้าศึก เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสมาเป็นข้าศึก แต่อารมณ์ของจิตที่คิดเรื่องรูป เรื่องเสียง เรื่องกลิ่น เรื่องรส เครื่องสัมผัส ซึ่งอยู่ที่ไหนก็ไม่ทราบ แต่อารมณ์นั้นเกิดขึ้นจากใจ รับทราบกันอยู่ที่ใจ แล้วก็เสวยอารมณ์ของตนอยู่กับความคิดนั้น ๆ ผลจึงเป็นความเดือดร้อนวุ่นวายขึ้นมา

    มีเท่านี้การปฏิบัติ หลักใหญ่อยู่ตรงนี้จริง ๆ คิดถึงรูป จะเป็นรูปหญิงรูปชายก็ตาม ซึ่งเคยได้เห็นได้ยินผ่านมาแล้ว ไม่ทราบว่ารูปนั้นอยู่ที่ไหนในขณะที่คิด แต่เราก็เอาภาพที่เคยเห็นนั้นแหละ มาเป็นอารมณ์ของใจจึงเป็นเหมือนภาพนั้นคนนั้นอยู่กับเรา

    ความจริงอารมณ์ต่างหากอยู่กับเรา เกิดขึ้นจากเรา อยู่กับเรา กวนจิตใจเราให้เดือดร้อน ไม่ใช่รูปนั้น ไม่ใช่เสียงนั้น แต่เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากจิตใจ โดยไปยึดเอาสิ่งที่เคยได้เห็นได้ยินนั้น มาคิดมาปรุงทำให้ยุ่งเหยิงวุ่นวายอยู่ตลอดเวลา”

    [​IMG]

    ที่มา ธรรมะพระป่ากรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น
     
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “หลวงปู่เสาร์ ละสังขารอย่างองอาจสง่างาม”

    (ธรรมเทศนา หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

    ท่านพระอาจารย์เสาร์ พอมรณกาลจวนตัวเข้ามา จริงๆ ท่านตั้งใจจะมรณภาพที่นครจำปาศักดิ์ ซึ่งเวลานั้นเป็นของฝรั่งเศส แต่บรรดาลูกศิษย์ทั้งพระและประชาชนจำนวนมาก ต่างก็ขออาราธนานิมนต์ท่านให้กลับมามรณภาพที่ฝั่งไทยเรา เมื่อคณะลูกศิษย์ที่มีจำนวนมากอาราธนาวิงวอน ท่านทนไม่ไหว ท่านจำต้องรับคำ

    การทอดอาลัยในชีวิต ซึ่งปลงใจจะปล่อยวางสังขารลงที่นครจำปาศักดิ์ ก็ได้ถอดถอนล้มเลิกไป จำต้องปฏิบัติตามความเห็นและเจตนาหวังดีของคนหมู่มาก ยอมรับปากคำและเตรียมลงเรือข้ามฝั่งลำแม่น้ำโขงมาฝั่งไทยเรา

    พอมาถึงท่าวัดศิริอำมาตย์ จังหวัดอุบลราชธานี เขาก็อาราธนาท่านขึ้นบนแคร่ แล้วหามท่านขึ้นไปสู่วัดนั้น พอก้าวขึ้นสู่วัดและปลงท่านลงที่ลานวัดเท่านั้น เขากราบเรียนท่านว่า

    “บัดนี้มาถึงวัดศิริอำมาตย์ในเขตเมืองไทยเราแล้ว ท่านอาจารย์”

    เวลานั้นท่านนอนหลับตาและพยายามพยุงธาตุขันธ์ของท่านมาตลอดทาง ท่านก็ลืมตาขึ้นแล้วถามว่า

    “ถึงสถานที่แล้วหรือยัง ?”

    เขาก็กราบเรียนถวายท่านว่า “ถึงที่แล้วครับ”

    ท่านก็พูดขึ้นมาว่า
    “ถ้าเช่นนั้นจงพยุงผมลุกขึ้นนั่ง ผมจะกราบพระ”

    พอเขาพยุงท่านลุกขึ้นนั่งแล้ว ท่านก็ก้มกราบพระสามครั้ง พอจบครั้งที่สามแล้วเท่านั้น ท่านก็สิ้นในขณะนั้นเอง ไม่อยู่เป็นเวลานาน ขณะที่ท่านจะสิ้นก็สิ้นด้วยความสงบเรียบร้อย และมีท่าทางอันองอาจกล้าหาญต่อมรณภัย มีลักษณะเหมือนม้าอาชาไนย ไม่มีความหวั่นไหวต่อความตาย ซึ่งสัตว์โลกทั้งหลายกลัวกันยิ่งนัก

    แต่ท่านที่ปฏิบัติจนรู้ถึงหลักความจริงแล้ว ย่อมถือเป็นคติธรรมดาว่ามาแล้วต้องไป เกิดแล้วต้องตาย จะให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะสติปัญญาที่ฝึกหัดอบรมมาจากหลักธรรมทุกแขนง ก็ฝึกหัดอบรมมาเพื่อรู้ตามหลักความ จริงที่มีอยู่กับตัว ก็เมื่อการไปการมา การเกิดการตาย เป็นหลักความจริงประจำตัวแล้ว ต้องยอมรับหลักการด้วย ปัญญาอันเป็นหลักความจริงฝ่ายพิสูจน์เช่นเดียวกัน

    เพราะฉะนั้นท่านที่เรียนและปฏิบัติรู้ถึงขั้นนั้นแล้ว จึงไม่มีความหวั่นไหวต่อการไปการมา การเกิดการตาย การสลายพลัดพรากจากสัตว์และสังขารทั้งของท่านและของผู้อื่น จึงสมนามว่าเรียนและปฏิบัติเพื่อ “สุคโต” ทั้งเป็นคติตัวอย่างอันดีแก่คนรุ่นหลังตลอดมาจนบัดนี้

    นี่เป็นประวัติของท่านพระอาจารย์เสาร์ ที่วาดภาพอันดีและชัดเจนไว้แก่พวกเรา เพื่อยึดเป็นคติเครื่องสอนคนต่อไป ไม่อยากให้เป็นทำนองว่าเวลามามีความยิ้มแย้ม แต่เวลาไปก็มีความเศร้าโศก

    [​IMG]

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “หลวงปู่มั่น ละสังขารด้วยเมตตาอัปปมัญญา”

    (ธรรมเทศนา หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

    ส่วน ท่านพระอาจารย์มั่น ในเวลาต่อมาตอนท่านเริ่มป่วย จำได้แต่เพียงว่าเดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นวันท่านเริ่มป่วย ท่านเล่าให้ฟังตอนไปเที่ยวกลับมา กราบนมัสการท่าน ท่านเริ่มป่วยคราวนี้ไม่เหมือนกับคราวใดๆ ซึ่งแต่ก่อนเวลาท่านป่วย ถ้ามีผู้นำยาไปถวายท่าน ท่านก็ฉันให้บ้าง มาคราวนี้ท่านห้ามการฉันยาโดยประการทั้งปวงแต่ขั้นเริ่มแรกป่วย โดยให้เหตุผลว่า “การป่วยคราวนี้ไม่มีหวังได้รับประโยชน์อะไรจากยา เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ตายยืนต้นอยู่เท่านั้น ใครจะมารดน้ำพรวนดินทะนุบำรุงเต็มสติกำลังความสามารถ ต้นไม้นั้นจะไม่มีวันกลับมาผลิดอกออกผลใบและแสดงผลต่อไปอีกได้เลย เพียงสักว่ายังยืนต้นอยู่เท่านั้น ไม่แน่ใจว่าจะล้มลงจมดินวันใด ธาตุขันธ์ที่แก่ชราภาพขนาดนี้แล้ว ย่อมมีลักษณะเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นหยูกยาจึงไม่เป็นผลอะไรกับโรคประเภทนี้ ที่เขาเรียกว่า โรคคนแก่”

    ท่านว่า แม้ท่านจะห้ามยามิให้นำมาเกี่ยวข้องกับท่าน แต่ก็ทนต่อคนหมู่มากไม่ไหว คนนั้นก็จะให้ท่านฉันยานั้น คนนี้ก็จะให้ท่านฉันยานี้ คนนั้นจะฉีด คนนั้นจะให้ฉัน หนักเข้าท่านก็จำต้องปล่อยตามเรื่อง มีคนมากราบเรียนถามเรื่องยาถูกกับโรคของท่านหรือไม่ ท่านก็นิ่งไม่ตอบโดยประการทั้งปวง

    เมื่ออาการของท่านหนักจวนตัวเข้าจริงๆ ท่านก็บอกกับคณะลูกศิษย์ทั้งพระและญาติโยมว่า

    “จะให้ผมตายในวัดป่าหนองผือนี้ไม่ได้ เพราะผมน่ะตายเพียงคนเดียว แต่ว่าสัตว์ที่ตายตามเพราะผมเป็นเหตุจะมีจำนวนมากมาย เพราะฉะนั้นขอให้นำผมออกจากที่นี้ไปจังหวัดสกลนคร เพื่อให้อภัยแก่สัตว์ซึ่งมีจำนวนมาก อย่าให้เขาพลอยทุกข์และตายไปด้วยเลย ที่โน้นเขามีตลาดซึ่งมีการซื้อขายกันอยู่แล้ว ไม่มีทางเสียหายเนื่องจากการตายของผม”

    พอท่านพูดและให้เหตุผลอย่างนั้น ทุกคนต้องยอมทำตามความเห็นของท่าน จึงเตรียมแคร่ที่นอนมาถวายและอาราธนานิมนต์ท่านขึ้นนอนบนแคร่ แล้วพร้อมกันหามท่านออกไปในวันรุ่งขึ้น พอมาถึงวัดป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร แล้วก็พาท่านพักแรมคืนอยู่ที่นั้นหลายคืน

    ท่านก็คอยเตือนเสมอว่า

    “ทำไมพาผมมาพักค้างที่นี่ล่ะ ผมเคยบอกแล้วว่าจะไปจังหวัดสกลนคร ก็ที่นี่ไม่ใช่สกลนคร” ท่านว่า

    เมื่อจวนตัวเข้าจริงๆ ในสามคืนสุดท้าย ท่านไม่ค่อยจะพักนอน แต่คอยเตือนให้รีบพาท่านไปสกลนครเสมอ เฉพาะคืนสุดท้ายไม่เพียงแต่ไม่หลับนอนเท่านั้น ยังต้องบังคับว่า

    “ให้รีบพาผมไปสกลนครในคืนวันนี้จงได้ อย่าขืนเอาผมไว้ที่นี่เป็นอันขาด” ท่านพูดย้ำแล้วย้ำเล่าอยู่ทำนองนั้น แม้ที่สุดท่านจะนั่งภาวนา ท่านก็สั่งว่า “ให้หันหน้าผมไปทางจังหวัดสกลนคร”

    ที่ท่านสั่งเช่นนั้น เข้าใจว่าเพื่อให้เป็นปัญหาอันสำคัญแก่คณะลูกศิษย์ จะได้ขบคิดถึงคำพูดและอาการที่ท่านทำอย่างนั้นว่า มีความหมายแค่ไหนและอย่างไรบ้าง พอตื่นเช้าจะเป็นเพราะเหตุไรก็สันนิษฐานยาก เผอิญชาวจังหวัดสกลนครซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่าน พร้อมกันเอารถยนต์มารับท่าน ๓ คัน แล้วอาราธนานิมนต์ให้ท่านไปจังหวัดสกลนคร ท่านก็เมตตารับทันที เพราะท่านเตรียมจะไปอยู่แล้ว

    ก่อนจะขึ้นรถยนต์ หมอได้ไปฉีดยานอนหลับให้ท่าน จากนั้นท่านก็นอนหลับไปตลอดทางจนถึงวัดสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร เวลา ๐๑.๐๐ นาฬิกา ท่านก็เริ่มตื่น พอตื่นจากหลับแล้ว จากนั้นท่านก็เริ่มทำหน้าที่เตรียมลา “ภาราหเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ห้าเป็นภาระหนัก” จะมรณภาพ

    จนถึง ๐๒.๒๓ นาฬิกา ก็เป็นวาระสุดท้าย ก่อนหน้านี้ประมาณสองชั่วโมงเศษ ท่านนอนท่าตะแคงข้างขวา แต่เห็นว่าท่านจะเหนื่อยมาก เพราะนอนท่านี้มานาน จึงพากันเอาหมอนที่หนุนอยู่หลังท่านถอยออก เลยกลายเป็นท่านนอนหงายไป พอท่านทราบก็พยายามขยับตัวหมุน กลับจะนอนท่าตะแคงข้างขวาตามเดิม พระเถระผู้ใหญ่ซึ่ง เป็นศิษย์ของท่าน ก็พยายามเอาหมอนหนุนหลังท่านเข้าไปอีก ท่านเองก็พยายามขยับๆ เช่นเดียวกัน เมื่อเห็นอาการของท่านอ่อนเพลียมากและหมดเรี่ยวแรง ก็เลยหยุดไว้แค่นั้น ดังนั้น การนอนของท่านจะว่านอนหงายก็ไม่ใช่ จะว่านอนตะแคงข้างขวาก็ไม่เชิง เป็นอาการเพียงเอียงๆ อยู่เท่านั้น ทั้งเวลาของท่านก็จวนเข้ามาทุกที บรรดาศิษย์ ก็ไม่กล้าแตะต้องกายท่านอีก จึงปล่อยท่านไว้ตามสภาพ คือท่านนอนท่าเอียงๆ จนถึงเวลา ซึ่งเป็นความสงบอยู่ตลอดเวลา

    ในวาระสุดท้ายนี้ ต่างก็นั่งสังเกตลมหายใจของท่านแบบตาไม่กระพริบไปตามๆ กัน การนั่งของพระที่มีจำนวนมากในเวลานั้น ต้องนั่งเป็นสองชั้น คือ ชั้นใกล้ชิดกับท่านและชั้นถัดกันออกมา ชั้นในก็มีพระผู้ใหญ่ มี ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ เป็นต้น ชั้นนอกก็เป็นพระที่มีพรรษาน้อย แล้วถัดกันออกไปก็เป็นพระนวกะและสามเณร บรรดาพระทั้งพระเถระและรองลำดับกันลงมาจนถึงสามเณร ในขณะนั้นรู้สึกจะแสดงความหมดหวัง และหมดกำลังใจไปตามๆ กัน แต่ไม่มีใครกล้าปริปากออกมา นอกจากมีแต่อาการที่เต็มไปด้วยความหมดหวังและความเศร้าสลดเท่านั้น เพราะร่มโพธิ์ใหญ่มีใบหนา ซึ่งเคยเป็นที่อาศัยและร่มเย็นอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน กำลังถูกพายุจากมรณภัยคุกคาม จะหักโค่นพินาศใหญ่ขณะนั้นอยู่แล้ว การทำหน้าที่ของท่านก็กำลังเป็นไปแบบมองดูแล้วหลับตาไม่ลงทั้งท่านผู้อื่นและเรา

    ขณะที่ท่านจะสิ้นลมจริงๆ รู้สึกว่าอาการทุกส่วนของท่านอยู่ในความสงบและละเอียดมาก จนไม่มีใครจะสามารถทราบได้ว่า ท่านสิ้นลมไปในขณะใด นาทีใด เนื่องจากลมหายใจของท่านละเอียดเข้าเป็นลำดับ จนไม่ปรากฏว่าท่านสิ้นไปเมื่อไร เพราะไม่มีอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งแสดงอาการในวาระสุดท้าย พอให้ทราบได้ว่าท่านสิ้นไปในวินาทีนั้น

    แม้จะพากันนั่งสังเกตอยู่เป็นเวลานานก็ไม่มีใครรู้ขณะสุดท้ายของท่าน ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ซึ่งเป็นประธานอยู่ในที่นั้น เห็นท่าไม่ได้การ จึงพูดขึ้นว่า “นี่ไม่ใช่ท่านสิ้นไปแล้วหรือ ?” จากนั้นท่านก็ดูนาฬิกาเป็นเวลา ๐๒.๒๓ นาฬิกา จึงได้ยึดเอาเวลานั้นเป็นเวลามรณภาพของท่าน

    [​IMG]

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ” คำเตือนขั้นสุดท้าย ”
    ในงานศพของพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล

    ขณะที่ประชุมกราบลา ท่านได้เตือนว่า “ทุกรูปทุกองค์ อย่าพากันประมาทเลย จงพากันคิดว่าการมาทำศพนั้น คือการสอนตัวของเราเอง นำศพมาเป็นสักขีพยานว่าความตายเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้” ท่านพระอาจารย์มั่น ฯ ท่านเสริมว่า “ปัจจุบันบางคนพากันเข้าใจผิดว่า เวลาคนตายนิมนต์พระเคาะโลงบอกว่าพระสวดแล้ว นี่เป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก ความจริงนั้นการสวดของพระขณะที่มีศพ ท่านต้องการให้ผู้ฟังปลงธรรมสังเวช คือเอาความตายเป็นสักขีพยานว่านี่ยังไงศพ จะได้นึกถึงตัวของเราว่าจะต้องตาย ท่านพระอาจารย์มั่น ฯ ท่านได้เล่าเรื่องบุพกรรมของท่านพระยศกุลบุตร ว่าในอดีตชาติเมื่อมีการตายโดยไม่มีญาติ (หรือเรียกกันว่าผีไม่มีญาติ) ท่านกับสหายจะไปตามเก็บเอาศพมาทำฌาปนกิจให้หมด โดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใด

    อยู่มาวันหนึ่ง มีหญิงคนหนึ่งได้ตายลงโดยฉับพลันด้วยโรคปัจจุบัน เนื้อหนัง มังสายังเอี่ยมลอออยู่ ท่านพร้อมกับสหายเมื่อทราบข่าวก็รีบไปนำศพนั้นมา ทุกๆ คนก็ได้เห็นศพตายใหม่ๆ ยังไม่มีอวัยวะบกพร่องต่างคนต่างก็พูดว่า “แหมศพนี้ยังดูสดใส” แล้วจึงนำร่างหญิงนั้นไปสู่ป่าช้าวางลงบนเชิงตะกอน เตรียมการฌาปนกิจ เมื่อติดไฟๆ ได้ลุกขึ้น เผาผลาญร่างของหญิงนั้นดำเป็นตอตะโก ทุกส่วนกำลังถูกไฟเผาผลาญ ขาดวิ่นลง อย่างน่าอนาจ ท่านพระยศกุลบุตรในชาตินั้น ได้เห็นภาพที่เปลี่ยนจากเอี่ยมลออมาเป็นสภาพดำเป็นตอตะโก ได้ปลงธรรมสังเวช เกิดความสลดใจ ได้เห็นธรรม แล้วท่านก็บอกสหายๆ ก็ได้มาดูเกิดสลดใจได้เห็นธรรมเช่นเดียวกัน

    ด้วยบุพกรรมที่ท่านทำไว้ในอดีตชาติเช่นนี้เอง เป็นปัจจัยให้ท่านมาบังเกิดเป็นเศรษฐี ซื่อว่ายศกุลบุตร เมื่อท่านได้เสวยอารมณ์ชมสมบัติแล้ว เมื่อบารมีปัจจัยในอดีตแก่กล้าขึ้น วันหนึ่งท่านจึงลุกขึ้นกลางดึกเดินออกจากห้อง เห็นนางบำเรอหลับใหลหลงละเมอด้วยอาการกิริยาต่างๆ ท่านก็จึงเกิดเบื่อหน่าย ออกอุทานในใจว่า ที่นี่ขัดข้อง ที่นี่วุ่นวายๆ ๆ แล้วก็เดินลงจากปราสาท หนีออกจากบ้านบ่นไปคนเดียว เดินไปจนถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ พระพุทธองค์ทรงได้ยินทางทิพย์โสต จึงได้เรียกยศกุลบุตรว่า “ที่นี่ไม่ขัดข้อง ที่นี่ไม่วุ่นวาย จงมาเถิด เราจะแสดงธรรมแก่เธอ” เมื่อยศกุลบุตรได้ยินเข้าแล้ว จึงรีบเดินเข้าไปตามเสียงนั้น แล้วก็ได้ฟังธรรม ภายหลังได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วบวชในพระพุทธศาสนา สหายทั้ง ๕๔ คน เมื่อได้ทราบว่ายศกุลบุตรบวชแล้ว ก็มาคิดว่าธรรมวินัยที่ยศกุลบุตรบวชคงไม่เลว จึงได้ชวนกันมาพบกับพระยศ แล้วพระยศก็พาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงแสดงธรรมให้ฟัง สหายทั้ง ๕๔ ก็ได้บรรลุเพระอรหันต์ แล้วบวชในพระพุทธศาสนา

    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านเล่าจบแล้วก็ย้ำว่าการที่บุคคลมาทำงานศพนั้น ต้องมาปลงสังเวช จึงจะได้ผล มิใช่จะมาทำงานศพด้วยความสนุกสนาน หรือด้วยเพียงธรรมเนียมหรือด้วยเสียไม่ได้ หรือมาด้วยการเห็นผิด ต้องกระทำเช่นกับพระยศกุลบุตรกับสหายในอดีตชาติ เมื่อท่านได้ทำการเผาศพอย่างนั้นแล้ว ผลที่ได้รับจึงเป็นผลใหญ่

    ี่มาประวัติและผลงาน

    พระราชธรรมเจติยาจารย์
    (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)

    ขออนุโมทนา ขอขอบคุณและขออนุญาต.
    นำมาเผยแผ่เป็นธรรมทาน แก่ผู้ที่มีความศรัทธา…

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “พระโสดาปัตติผล”

    (คติธรรม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    อารมณ์หยั่งถึงพระนิพพานมีบ้างหรือเปล่า คิดถึงพระนิพพานวันละกี่ครั้ง นี่เป็นการทบทวนกำลังจิตอันดับต่ำ ถ้าทำได้อย่างนี้ถือว่าต่ำที่สุดในของเขตของพระพุทธศาสนา เรานึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ไม่ประมาทในชีวิต เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระอริยสงฆ์ มีศีล ๕ บริสุทธิ์ ทรงพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ มีหิริโอตตัปปะประจำใจ นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าเราอารมณ์ทรงได้ขนาดนี้เป็นปกติ ท่านเรียกว่า “พระโสดาปัตติผล” เป็นอารมณ์ที่มีอารมณ์ต่ำที่สุดในด้านของความดีในเขตของพระพุทธศาสนา

    [​IMG]

    ที่มา ธรรมะพระป่ากรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น
     
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ~พระคุณแม่จันดี โลหิตดี บรรลุธรรม~
    เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2535 ในคืนนั้นฟ้าครึ้ม
    ลมแรง คุณแม่จันดีเป็นห่วงพี่สาว(คุณยายตัน)
    ท่านเดินไปดูพี่สาวที่แคร่ และปิดผ้าม่านให้
    เพราะลมแรงกลัวว่าฝนตกจะเปียก จึงกลับมาที่
    กุฏิ ท่านกราบพระภาวนา ท่านบอกว่าจิตท่าน
    แปลกๆนั่งถึงเวลา 5 ทุ่ม(รู้ขึ้นในจิต)

    “เกิดสภาวะโลกธาตุหวั่นไหว กับท่านลอยขึ้น
    จากพื้นสูงประมาณ1 ศอก ทุกๆอย่าง เกืดขึ้น
    พร้อมๆกัน เสียงประกาศก้องขึ้นในจิตขณะนั้น
    ว่า อายตนะ นั้นมีอยู่ แต่ไม่มีดิน น้ำ ไฟ ลม
    ไม่มีจุติเคลื่อน ไม่มีที่ไป ไม่มีที่มา ไม่มีอารมณ์
    ไม่มีอารมณ์นั้นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์
    ขณะเดียวกันอวิชชาได้กระเด็นขาดออกจากจิต
    ทุกๆอย่างเกิดขึ้นพร้อมๆกัน
    ไม่มีก่อน ไม่มีหลัง…. ”
    “….แต่เวลาพูดจำเป็นต้องเรียบเรียง ให้คนฟัง
    เข้าใจ ไม่รู้จะอธิบายยังไง เพราะไม่มีอะไร
    เปรียบเทียบกับสิ่งที่มีอยู่ในโลก เพราะเป็นของ
    เหนือโลก…”

    คืนนั้น
    ท่านกราบนอบน้อมถึงคุณพระพุทธเจ้าทุกๆ
    พระองค์ ถึงคุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ ท่านบอกขณะนั้นจิตพระอรหันต์ทุกๆองค์
    ได้มาช่วยหนุนจิต โดยเฉพาะพระหลวงตา
    ทั้งเป็นครูบาอาจารย์ เป็นพ่อ เป็นพี่ชายในสาย
    โลหิตเดียวกันในชาติปัจจุบัน คืนนั้นท่านบอกไม่นอนทั้งคืน…
    …พบพระหลวงตาอีกครั้ง กราบเรียนท่านถึง
    สภาวะธรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้น..
    พอจบพระหลวงตาพูดขึ้นว่า
    “”อ้ายหมดห่วงแล้ว””

    กราบคารวะพ่อแม่ครูอาจารย์ด้วยเศียรเกล้า
    ~องค์พระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน~
    ~พระคุณแม่จันดี โลหิตดี~

    -โลหิตดี.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ตายแล้วต้องการไปไหน

    เราจะไปไหนกันล่ะ จะไปนรกไหม ไปนรกไม่ยาก ไม่ต้องไปด่าชาวบ้านให้เขาโกรธ เราอยู่ในบ้านไปนั่งด่าพระพุทธรูปที่อยู่ในบ้านสบาย เราลงนรกเอง ไปด่าชาวบ้านเดี๋ยวเขาด่าเอาบ้างใช่ไหม

    ถ้าเราอยากจะไปสวรรค์ก็นั่งไหว้พระพุทธรูปในบ้านนั่นแหละ ไม่ต้องไปไหนก็ได้ ตั้งใจนึกถึงพระพุทธเจ้าอย่างเดียวนั่งต่อหน้าท่านก็ไปสวรรค์

    ถ้าอยากจะไปเป็นพรหมก็นึกให้จิตทรงตัวก็เป็นพรหม

    ถ้าอยากจะไปนิพพานก็ตั้งใจคิดว่าไอ้ร่างกายเลวๆ อย่างนี้ให้มีชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ต่อไปไม่มีสำหรับเราอีก

    ต่อไปข้างหน้าขึ้นชื่อว่าความเกิดเป็นคนก็ดี เป็นสัตว์ก็ดีจะไม่มีสำหรับเรา เราต้องการจุดเดียวคือนิพพาน ถ้ามันตายระหว่างนั้นจริงๆ ก็ไปนิพพาน

    ที่มา:ธัมมวิโมกข์ ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๓๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑คำสอนที่สายลมปี ๒๕๓๔ หน้า ๗๔ – ๗๖โดย พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

    ธรรมทาน

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ตายแล้วต้องการไปไหน

    เราจะไปไหนกันล่ะ จะไปนรกไหม ไปนรกไม่ยาก ไม่ต้องไปด่าชาวบ้านให้เขาโกรธ เราอยู่ในบ้านไปนั่งด่าพระพุทธรูปที่อยู่ในบ้านสบาย เราลงนรกเอง ไปด่าชาวบ้านเดี๋ยวเขาด่าเอาบ้างใช่ไหม

    ถ้าเราอยากจะไปสวรรค์ก็นั่งไหว้พระพุทธรูปในบ้านนั่นแหละ ไม่ต้องไปไหนก็ได้ ตั้งใจนึกถึงพระพุทธเจ้าอย่างเดียวนั่งต่อหน้าท่านก็ไปสวรรค์

    ถ้าอยากจะไปเป็นพรหมก็นึกให้จิตทรงตัวก็เป็นพรหม

    ถ้าอยากจะไปนิพพานก็ตั้งใจคิดว่าไอ้ร่างกายเลวๆ อย่างนี้ให้มีชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ต่อไปไม่มีสำหรับเราอีก

    ต่อไปข้างหน้าขึ้นชื่อว่าความเกิดเป็นคนก็ดี เป็นสัตว์ก็ดีจะไม่มีสำหรับเรา เราต้องการจุดเดียวคือนิพพาน ถ้ามันตายระหว่างนั้นจริงๆ ก็ไปนิพพาน

    ที่มา:ธัมมวิโมกข์ ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๓๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑คำสอนที่สายลมปี ๒๕๓๔ หน้า ๗๔ – ๗๖โดย พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

    ธรรมทาน

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...