ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    พระธรรมมงคลญาณ วิ. (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) วัดธรรมมงคล
    ประธานผู้ก่อตั้งสถาบันพลังจิตตานุภาพ
    เมตตาตั้งชื่อรุ่นครูสมาธิ รุ่นที่45
    (ปัญจจัตตาฬีสโม) รัตนญาณ แปลว่า ญาณเปรียบด้วยรัตนะ
    จะทำการปฐมนิเทศ รุ่นหน้าในวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2562
    จึงขอแจ้งให้ผู้สนใจมาศึกษาปฏิบัติสัมมาสมาธิ ที่เหมาะกับบุคคลในกาลนี้ เรียนง่ายเข้าใจง่ายด้วยเทคนิคการสอนแบบสมาธิไฮเทคเข้ากับยุคสมัย ให้ได้ประโยชน์ยังผลให้สังคมเกิดความสงบสุขร่มเย็นเกิดสันติภาพในสากลโลก

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่ข่าวสารงานบุญนี้ ทุกๆท่าน

    -วิ-หลวงพ.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ดูที่ตัวเอง

    ถ้าเรามีสติดี สมาธิดี จิตจะไม่คิดหลายเรื่อง พองยุบถึงจะชัด
    ถ้าคิดอะไรหลายอย่าง หลายเรื่องรวมกันแล้ว
    สมาธิมันจะหมด สติไม่ดี พองยุบจะไม่ชัด
    หายใจเข้า หายใจออกช้า ๆ เราค่อย ๆ ทำไป
    เหมือนจิตแกว่งไปแกว่งมา จิตจะคิดหลายเรื่อง
    บางทีพอสมาธิดีท่านจะสังเกตได้ว่าจิตจะเริ่มออก เรื่องที่ผ่านมานั้น
    ถ้าเป็นเรื่องหนักจะคิดก่อน ถ้าเป็นเรื่องเบาจะคิดทีหลัง
    บางครั้งถ้าสมาธิดี ขาดสติจะคิดซ้อน จะมีเรื่องซ้อนขึ้นมา

    เรื่องซ้อนนั้นหมายความว่า เรื่องเมื่อครั้งอดีตมันจะซ้อนผุดขึ้นมา
    ทำให้เราขาดสติไป ทำให้เรากำหนดไม่ได้จังหวะ
    บางทีกำหนดพองหนอ ยุบหนอ บางทีมันจะหนักและมันจะวูบ
    บางครั้งมันจะเบา พองหนอยุบหนอกำหนดได้
    แต่จิตอีกดวงหนึ่งมันจะออกไปคิด คิดจิปาถะ คิดที่เรากังวลอยู่
    อีกจิตมันก็พองหนอ ยุบหนอ

    เหมือนกับการเดินจงกรม เราเดิน ๆ มันก็คิด เขาเรียกว่า เป็นธรรมชาติของจิต
    มันต้องคิดตลอดรายการ นั่งมันจะเป็นสมาธิดีขึ้นอยู่ตลอดไม่ได้
    สติจะดีก็ต้องคิด แต่ทำไมถึงจะดี จะไม่คิด
    ขอเจริญพรพี่น้องทุกคนว่า ต้องเข้าขั้นสูงมันจะไม่คิดอะไร มันจะอยู่กับที่
    เรายังปฏิบัติขั้นต่ำ และเรายังอยู่ในระหว่างจิตกระสับกระส่ายไปมาอยู่เสมอ
    มันจะคิดปรารภอะไรต่ออะไรต่าง ๆ

    ถ้าหากสับสนไม่รู้อะไรเป็นอะไรขณะกำหนด ให้กำหนดว่า รู้หนอ ๆ
    รู้หนอตั้งสติให้ได้ก่อนที่ลิ้นปี่นี่ พอตั้งสติได้แล้วค่อยกำหนดต่อ
    ไม่อย่างนั้นสับสนต่อไปกระทั่งตลอดทั้งชั่วโมง
    มันจะไม่เกิดอะไร จะไม่เกิดสภาวธรรม
    เราจึงต้องทำให้มันติดต่อกันไป ถ้าเราไม่ทำติดต่อกันแล้วจะทำให้สับสน
    สภาวะมันจะไม่เกิด สภาวะตัวนี้คือเกิดจากญาณ
    จะให้จิตอยู่ที่เป็นไปไม่ได้หรอก มันจะต้องคิดโน่นคิดนี่อะไรจิปาถะ
    แต่จะคิดอะไรก็ตามนะ เอาสติใส่เข้าไป ด้วยการกำหนดว่า คิดหนอ ที่ลิ้นปี่
    ไม่ใช่เราทำพองหนอยุบหนอตะพึด
    มีอะไรก็ไม่คิด ไม่ได้กำหนด ไม่ได้อะไรหรอกนะ

    การกำหนดจิตนี้ เพื่อต้องการให้เราไม่ลืมไม่หลงเท่านั้น
    สติดีแล้วแต่ปัญหามีอันหนึ่ง ที่มันคิดอะไรเกิดขึ้นแล้วนี่
    เอาสติตามด้วยการคิดหนอ ๆ ๆ เหมือนอย่างการเดินจงกรมเหมือนกัน
    มันก็เป็นเหมือนกับนั่งเช่นเดียวกัน เราก็เอาสติตาม
    แต่เราจะให้สมาธิมันดิ่งตลอดรายการเป็นไปไม่ได้หรอก
    เข้าขั้นมีสภาวะเกิดขึ้น จิตก็จะดิ่งลงไป มีแต่สมาธิ
    หมายความว่า ดิ่งอยู่เฉย ๆ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    แสดงว่า เรามีสมาธิมากไป แต่ขาดสติ

    วิธีทำคือ ต้องถอยสมาธิออก ใส่สติเข้าไป กำหนดว่า รู้หนอ ๆ
    รู้เหตุการณ์ในชีวิตนั้น พอรู้เหตุการณ์นี้แล้ว
    สมาธิจะถอยจะจางออกไป ใส่สติเข้าไปด้วยการคิดหนอ

    จิตนี้ละเอียดอ่อนมาก เวลาเราทำแล้ว เราก็ไม่รู้ว่าจิตไม่อยู่กับที่
    จะให้มันดิ่งสัก ๕ นาทีก็เป็นได้ยาก อย่าเข้าใจผิดคิดว่าเราทำไม่ได้ผล
    ข้อเท็จจริงได้ผล เป็นการสะสมไว้ทีละเล็กทีละน้อย
    เรากำหนดจิตตั้งสติไว้ ตรงนี้สำคัญมาก ต้องละเอียด
    ถ้าละเอียดเข้าไป ๆ เราถึงจะรู้จริงว่า อะไรเกิดก่อนเกิดหลัง
    เกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ไหม จะดับไปตรงไหน

    เดินขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ให้ช้า ๆ หน่อย
    ถ้าสมาธิดีสติดี มันจะรู้เลยว่า จิตกำหนดนี่มันดีตอนไหน
    ซ้ายย่างหนอดับตอนไหน ขวาย่างหนอจิตมันจะดับไหม ดับอย่างไร
    เกิดดับ ๆ มันจะไวมาก ทำให้เราไม่รู้ ถ้าเราละเอียดจะรู้จับจิตได้
    บางทีเวลาหายใจเข้า หายใจออก พองหนอ ยุบหนอ
    สมาธิดีมันจะวูบ จับไม่ได้ว่ามันวูบตอนไหน ตอนพองหรือตอนยุบ
    ตรงนี้สำคัญเหมือนกัน ถ้าเกิดขึ้นกับใคร ให้กำหนดรู้ตรงนี้ รู้หนอ ๆ ๆ

    พอรู้สติดีแล้วเข้าขั้นมันจะจับได้เลย มันวูบตอนไหน
    และพองหนอมีกี่ระยะ มันจะเป็นขึ้นตอนไหม
    ยุบหนอจะมีกี่ระยะ ตอนนี้ถ้าละเอียดอ่อนจะไว ๆ
    และก็สมาธิดี ก็จับได้ว่าพองมีกี่ระยะ ยุบมีกี่ระยะ เราก็จะได้รู้ตอนนั้น
    ถ้าหากว่าเราจิตยังหยาบอยู่ ยังไม่ละเอียดพอ จะจับไม่ได้ว่ามันมีระยะอย่างไร
    พอได้จึงหวะแล้ว หายใจยาว ๆ จะรู้เลยว่าพองมีกี่ระยะ ยุบมีกี่ระยะ ตรงนี้สำคัญมาก
    เอาทีละน้อยไปก่อน อันนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ

    พยายามหายใจยาว ๆ หายใจยาว ๆ มันอึดอัดหน่อย
    ถ้าหายอึดอัดแล้วจะเบา พอเบาแล้วถึงจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร
    ตอนหนักนี่เราไม่รู้อะไร ตอนไหนอย่างไร สภาวะจะเกิดขึ้นตอนไหน
    เราสังเกตสติดีแล้วเป็นคนละเอียด คนสังเกตตัวเองและเข้าใจตัวเองว่าอะไรคืออะไร
    ตัวเองเป็นอย่างไร จะรู้ขึ้นมาโดยปัจจัตตัง ไม่ต้องมีใครบอก ตรงนี้สำคัญมาก
    ทำอะไรจะรู้เหตุการณ์ของชีวิต ผิดถูกประการใด
    เราจะได้รู้ตัวของเราเอง จะไม่โทษคนอื่น
    บางทีเราทำผิดก็ไม่รู้ว่าผิดถูกประการใด ทำให้มองคนในแง่ร้ายไปหมด
    แต่ตัวเองถูกต้อง แท้จริงตัวเองทำผิดมามาก เลยไม่รู้ตัวเอง

    ขอให้แง่คิดทุกคนว่า พระพุทธเจ้าสอนให้เราดูตัวเอง ที่เราปฏิบัตินี้เรามาดูตัวเอง
    เพื่อพัฒนากาย พัฒนาจิต ตั้งสติอารมณ์ ต้องทนทุกข์ทรมานแสนจะยากลำบาก
    เราจะได้รู้ว่าตัวทุกข์ของเรานี้เป็นอย่างนี้แหละหนอ ทุกข์ของคนอื่นเป็นอย่างไร
    คนที่ไม่เคยปฏิบัติเจริญพระกรรมฐาน จะไม่รู้ว่าทุกข์เป็นอย่างไร
    ความทุกข์อย่างแสนสาหัส พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เรามีปัญญา
    ทุกข์นี้มันเหลือจะทน เราเดินจงกรมมันก็ปวดเมื่อยทั่วสกลกาย ก็จับดูที่ทุกข์
    กำหนดว่าปวดหนอ แล้วจิตก็พลุกพล่านไปที่อื่น
    จิตของเรานี้ถ้าดูในส่วนลึกแล้ว มันจะเข้าข้างตัวเอง

    ถ้าท่านผู้ใดไม่เคยปฏิบัติธรรม มีแต่เรียนวิชาการ
    เรียนธรรมะอย่างเดียวแล้วจะไม่รู้จริงเลย กลายเป็นคนรู้มาก ขาดสติ ขาดปัญญา
    ขาดความรู้ที่แน่นอน ความรู้จริงคือการเจริญพระกรรมฐาน ต้องรู้จริงแน่นอน
    รู้จริงแล้วเราจะได้แก้ไขความจริงเป็นอย่างไร ที่อาตมาต้องกล่าวมาเป็นเวลานาน
    ก็คือว่า รู้จริงหายาก รู้มากหาง่าย นี่ เรามานั่งฟังมันก็มีทุกข์
    ปวดเหมื่อนไปหมดทั่วสกลกาย ทุกข์ตัวนี้เราแก้อย่างไร
    ก็กำหนดทุกข์หนอ ปวดหนอ ปวดเมื่อยเราก็ตั้งสติอารมณ์ไว้
    เราจะได้รู้ว่า อ๋อมันทุกข์แค่ไหน เข้าไปถึงจิตใจเราอย่างไร
    เราแก้ทุกข์ตรงนี้ได้แล้ว เราจะรู้ทุกข์ของคนอื่น

    จิตนี้สำคัญมาก จิตนี่มันพลุกพล่าน มันเข้าข้างตัวเอง
    ขอเจริญพรท่านทั้งหลายไปสังเกตคน หลาย ๆ คน
    แพทย์ก็ว่าป่วยเป็นโรคสมองฝ่อ พูดมากล่ามป้ามไป
    ฝ่ายหมอโบราณก็บอกเป็นโรคประสาท แต่พระพุทธเจ้าทายเอาไว้ชัดเจนมาก
    คนนั้นมีทุกข์กาย ทุกข์ใจ อวัยวะไม่ตั้งอยู่ในความปกติ
    ฉะนั้นพูดมานาน พูดซ้ำ ๆ จิตไม่สงบก็มี ๘ อย่างนี้
    สมาธิเกิดไม่ได้ ก็มี ๗ อย่าง มีไม่พอตะเกียกตะกาย มันก็ไม่สงบ วุ่นวายตลอด
    ใช้เวลาว่างเกินไป จิตจะต้องคิดเรื่องเลว ๆ คิดแต่เรื่องไม่เป็นเรื่องเป็นราว

    เพราะฉะนั้น อย่าให้อยู่ว่าง ใช้จิตให้มีงานคือ พระกรรมฐาน
    การงานหน้าที่ของเราก็คือพระกรรมฐานนี่เอง จะได้รับผิดชอบตัวเอง
    รับผิดชอบการงานที่เรามีอยู่ ไม่ใช่ขยันนอกหน้าที่การงาน อันนี้ชัดเจนมาก
    ถูกเบียดเบียนจิตใจเราจะไม่สงบ อวัยวะไม่ตั้งอยู่ในความปกติ ธาตุทั้ง ๔ ขาดไป
    เราจะมีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้น จิตท่านจะไม่สงบ
    ประการที่ ๕ โรคประจำตัว จะเป็นโรคร้าย โรคดีก็มีประจำตัว
    ประการที่ ๖ สิ่งแวดล้อมดึงไปในทางชั่ว อันนี้ได้จากพระกรรมฐานทั้งหมด
    ไปอยู่ในวงสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ก็ดึงไปในทางชั่วจนได้
    หนักเข้าเราก็ต้องตามเขาไปทางชั่ว หาความสงบในชีวิตไม่ได้เลย
    ประการที่ ๗ ครอบครัวไม่มีความสุข ทะเลาะกันตลอด ไม่มีความเข้าใจกัน
    บ้านนั้นไม่สงบเลยตลอดทั้งลูกหลาน ๘ มัวเมาอบายมุข หาความสนุกในสังคม
    จิตไม่สงบ นัตถิ สันติ ปรัง สุขัง
    สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มีแล้ว ที่เราทำนี่มันเป็นความสงบ

    จิตไม่เป็นสมาธิก็มีอยู่ ๗ ประการ ที่ว่าความสงบเป็นความสุข
    ถ้าเราวุ่นวายฟุ้งซ่านเป็นความทุกข์ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ
    ถ้าจิตสงบลงเมื่อไร กายก็เป็นสุข จิตก็เป็นสุข
    โรคภัยไข้เจ็บก็หายได้อย่างน่าอัศจรรย์
    จิตไม่เป็นสมาธิ ๑. นั่งไม่ถูกวิธี ๒. จิตกังวล
    กังวลโน่นกังวลนี่มากมายหลายประการ
    จิตไม่เป็นสมาธิ เหนื่อยใจ เหนื่อยกายเดี๋ยวก็หาย เหนื่อยใจไม่หาย
    เหนื่อยใจหมายความว่ามีเรื่องมาก เลยเอาทุกข์มาใส่ใจ
    เอาทุกข์มาใส่ไว้ที่หัวใจทั้งจิตใจ จิตใจก็เหนื่อย ๆ อ่อนเพลียไปหมด
    ทั้งที่ไม่มีโรคอะไรเลย เป็นโรคใจไปเลย
    อันนี้จิตท่านจะไม่เป็นสมาธิ ๔ โรคประจำตัว
    อโรคยา ปรมา ลาภา คนไหนมีโรคคนนั้นไม่มีลาภ
    สามวันดีสี่วันไข้ เข้าโรงพยาบาลไม่ได้พัก สมาธิไม่เกิด ทำอย่างไรก็ไม่เกิด
    เพราะไม่ได้เคยฝึกมาก่อน ประการที่ ๕ ราคะเกิด ๖ โทสะเกิด
    จิตท่านจะเป็นสมาธิไม่ได้ ๗ อารมณ์มากระทบอย่างแรง
    ท่านจะทำสมาธิไม่ได้ ถ้าเราไม่ป้องกัน จิตเราจะไม่สงบ ไม่เคยฝึกมาเลย
    ไม่รู้วตัวทุกข์แท้ อารมณ์มากระทบอย่างแรงแล้ววุ่นวายไปมากมาย
    ไหนเลยว่าสมาธิในการทำงานก็ไม่มี
    สมาธิในการคิดให้เกิดประโยชน์ในชีวิตของเราก็ไม่มีด้วย
    อย่างนี้เป็นต้น ขอฝากไว้………….

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ประมวลภาพโครงการค่ายปฏิบัติธรรม ครั้งที่ 2 โดยชุมนุมพุทธธรรมกรรมฐาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เพื่อถวายเป็นอาจริยบูชา เนื่องในวันครบรอบ 69 ปี การละสังขารหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2561 ณ วัดป่าสนามชัย อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

    .jpg
    โครงการค่ายปฏิบัติธรรม ครั้งที่ 2 เพื่อถวายเป็นอาจริยบูชา เนื่องในวันครบรอบ 69 ปี การละสังขารหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2561 ณ วัดป่าสนามชัย อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

    **************************

    -:- การเตรียมตัวและการปฏิบัติตนที่ค่าย -:-

    1.เตรียมเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ยาสระผม ผ้าเช็ดตัว ไฟฉาย และอื่นๆที่จำเป็นไปด้วย
    2.ทุกท่านต้องเตรียมชุดขาวไปด้วย สำหรับใส่ปฏิบัติธรรมตลอดระยะเวลา 3 วัน ท่านสามารถซักชุดที่วัดได้
    3.ท่านที่มีโรคประจำตัว กรุณาเตรียมยาไปด้วย
    4.ทุกท่านต้องถือศีล 8 ทานข้าวมื้อเดียว และ นุ่งชุดขาว

    **************************

    /// กำหนดการ ค่ายปฏิบัติธรรม ครั้งที่ 2 ///
    วันที่ 10-12 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 ณ วัดป่าสนามชัย อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

    -:- วัน เสาร์ ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 -:-

    เวลา 08.00 น. ลงทะเบียน ณ บริเวณชั้น 1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
    เวลา 08.30 น. ออกเดินทางไปวัดป่าสนามชัย อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี / พักรับประทานอาหารเช้า
    เวลา 10.00 น. ถึงวัดป่าสนามชัย อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี , เก็บสัมภาระเข้าที่พัก , ทำภารกิจส่วนตัว , เปลี่ยนสวมชุดขาว
    เวลา 11.00 น. พิธีรับศีล 8 บวชเนกขัมมะบารมี
    เวลา 12.00 น. รวมกันที่ศาลาใหญ่ , กิจกรรมล้อมวงสนทนาธรรม
    เวลา 13.00 น. แยกย้ายกันปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย (นั่งสมาธิภาวนา , เดินจงกรม , อ่านหนังสือธรรมะ)
    เวลา 14.00 น. พักดื่มน้ำปานะ
    เวลา 15.00 น. ปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย (นั่งสมาธิภาวนา , เดินจงกรม , อ่านหนังสือธรรมะ)
    เวลา 16.00 น. ปัดกวาดทำความสะอาดบริเวณวัด
    เวลา 17.00 น. ทำภารกิจส่วนตัว
    เวลา 18.30 น. รวมกันที่ศาลาใหญ่ สวดมนต์ทำวัตรเย็นร่วมกัน , อบรมธรรมโดยพระอาจารย์กิตติ ติสโร , นั่งสมาธิภาวนา , ตอบปัญหาธรรมะ
    เวลา 20.30 น. แยกย้ายกันพักผ่อนหรือปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย

    -:- วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 -:-

    เวลา 04.30 น. ตื่นนอนทำภารกิจส่วนตัว
    เวลา 05.00 น. รวมกันที่ศาลาใหญ่สวดมนต์ทำวัตรเช้า
    เวลา 05.30 น. ช่วยงานทางวัด , ผู้ชายปัดกวาดศาลาหอฉันและลานวัด , ผู้หญิงช่วยทำอาหารสำหรับรับประทาน
    เวลา 06.30 น. พระภิกษุสงฆ์สามเณร ออกรับบิณฑบาต (จัดเวรผู้ชายวันละ 3-5 คน ติดตามไปช่วยถ่ายบาตรและยกของ)
    เวลา 07.15 น. พระภิกษุสงฆ์กลับจากรับบิณฑบาต , สมาชิกทุกคนพร้อมกันที่หน้าศาลาวัด , ตักบาตรร่วมกัน
    เวลา 07.30 น. ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ , พระสงฆ์ให้พร , รับประทานอาหารเช้าร่วมกัน (ทานมื้อเดียว)
    เวลา 08.30 น. ทำความสะอาดศาลาหอฉันและช่วยกันล้างภาชนะใส่อาหาร
    เวลา 09.30 น. แยกย้ายกันปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย (นั่งสมาธิภาวนา , เดินจงกรม , อ่านหนังสือธรรมะ)
    เวลา 12.30 น. รวมกันที่ศาลาใหญ่ , กิจกรรมล้อมวงสนทนาธรรม
    เวลา 14.00 น. พักดื่มน้ำปานะ
    เวลา 15.00 น. ปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย (นั่งสมาธิภาวนา , เดินจงกรม , อ่านหนังสือธรรมะ)
    เวลา 16.00 น. ปัดกวาดทำความสะอาดบริเวณวัด
    เวลา 17.00 น. ทำภารกิจส่วนตัว
    เวลา 18.30 น. รวมกันที่ศาลาใหญ่ สวดมนต์ทำวัตรเย็นร่วมกัน , อบรมธรรมโดย พระอาจารย์กิตติ ติสโร , นั่งสมาธิภาวนา , ตอบปัญหาธรรมะ
    เวลา 20.30 น. แยกย้ายกันพักผ่อนหรือปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย

    -:- วันจันทร์ ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 -:-

    เวลา 04.30 น. ตื่นนอนทำภารกิจส่วนตัว
    เวลา 05.00 น. รวมกันที่ศาลาใหญ่สวดมนต์ทำวัตรเช้า
    เวลา 05.30 น. ช่วยงานทางวัด , ผู้ชายปัดกวาดศาลาหอฉันและลานวัด , ผู้หญิงช่วยทำอาหารสำหรับรับประทาน
    เวลา 06.30 น. พระภิกษุสงฆ์ออกรับบิณฑบาต (จัดเวรผู้ชายวันละ 3-5 คน ติดตามไปช่วยถ่ายบาตรและยกของ)
    เวลา 07.15 น. พระภิกษุสงฆ์กลับจากรับบิณฑบาต , สมาชิกทุกคนพร้อมกันที่หน้าศาลาวัด , ตักบาตรร่วมกัน
    เวลา 07.30 น. ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ , พระสงฆ์ให้พร , รับประทานอาหารเช้าร่วมกัน (ทานมื้อเดียว)
    เวลา 08.30 น. ทำความสะอาดศาลาหอฉันและช่วยกันล้างภาชนะใส่อาหาร
    เวลา 10.00 น. กราบลาพระอาจารย์กิตติ ติสโร , เดินทางกลับ
    เวลา 11.00 น. ถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยสวัสดิภาพ

    ************** ///// *************

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    พระเทพสิทธาจารย์ – หลวงปู่จันทร์ เขมิโย วัดศรีเทพ
    “ผู้ใดอยากดี อย่าพากันพูดเล่น ให้พากันขยันหมั่นเพียร
    อย่าเป็นคนเกียจคร้าน ผู้ใดอวดเก่งผู้นั้นเป็นคนขี้ขลาด
    ผู้ใดอวดฉลาดผู้นั้นเป็นคนโง่ ผู้ใดคุยโวคนนั้นเป็นคนไม่เอาถ่าน
    อยากเป็นคนดี ต้องทำดีถูก”

    ” หลวงปู่จันทร์ เขมิโย ” กับ ปลาพระโพธิสัตว์
    หลายคนคงจะสงสัยว่า การเกิดมาเพื่อบำเพ็ญบารมีเพื่อจะไปเป็นพระพุทธเจ้า ในพระไตรปิฎกที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้นั้น มีจริงหรือไม่ ลองอ่านเรื่องนี้แล้วพิจารณาดู
    เหตุเกิดที่จังหวัดนครพนม ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม โดยท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) ท่านเล่าเอาไว้ว่า มีอยู่คืนหนึ่งท่านกำลังทำสมาธิกรรมฐาน ก็ปรากฏภาพนิมิตขึ้นในสมาธิ เป็นภาพของแอ่งน้ำกำลังแห้งมีปลาอยู่ ๖ ตัว เป็นปลาหมอ ๓ ตัว ปลาดุก ๓ ตัว กำลังดิ้นรนกระเสือกกระสนอยู่ ท่านจึงกำหนดจิตถามว่า เป็นคู่เวรคู่กรรมมาทวงหนี้เวรกรรมหรือไม่
    ปลาเหล่านั้นตอบว่า พวกเราเป็นพระโพธิสัตว์มาเกิดเป็นปลาเพื่อบำเพ็ญบารมี แต่ถูกกระแสกรรมทำให้ถูกนายบุญช่วย สุวรรณทรรภ จับมาขังเอาไว้ในตุ่มน้ำในสวนกล้วยติดหลังวัด ตอนนี้น้ำกำลังแห้ง ถ้าตายก่อนจะหมดโอกาสบำเพ็ญบารมี
    หลวงปู่จึงถามว่า เหตุใดจึงมาปรากฏในข่ายฌานสมาธิของท่าน
    ปลาโพธิสัตว์เหล่านั้นตอบว่า พวกเราตั้งจิตอธิษฐานว่า ด้วยกุศลผลบุญที่บำเพ็ญเพียรเพื่อปรารถนาพุทธภูมิในอนาคต ขอให้เราได้ปรากฏในข่ายฌานของผู้ทรงศีล ที่เคยเกื้อกูลกันมาก่อนในอดีตชาติ จึงได้มาปรากฏในข่ายวิถีฌานสมาธิของท่าน
    ตอนแรกหลวงปู่คิดว่าเป็นนิมิตมายา จึงอธิษฐานจิตซ้ำว่าถ้าเป็นภาพนิมิตมายาขอให้ดับหายไป ถ้าเป็นนิมิตจริงขอให้ปลาเหล่านี้สวดพระพุทธคุณให้ได้ยิน ปรากฏว่าเมื่ออธิษฐานเสร็จ ปลาเหล่านั้นก็พากันสวดสรรเสริญพระพุทธคุณว่า นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ตัวละ ๓ จบเรียงกันไปจนครบหกตัว ท่านได้ยินดังนั้นจึงรับปากว่าจะช่วย
    รุ่งเช้าท่านออกบิณฑบาตไปจนถึงบ้านของโยมอุปัฏฐาก วันนั้นลูกสาวของโยมอุปัฏฐากชื่อ เยี่ยม หอมหวล อายุขณะนั้น ๑๐ ขวบ เมื่อใส่บาตรแล้วก่อนที่หลวงปู่จะไปบ้านอื่นต่อ จึงสั่งเด็กหญิงผู้นั้นว่า ตอนสางหลังกินข้าวเสร็จแล้วให้เอาขันน้ำใบใหญ่ๆ ไปหาท่านที่วัดด้วย
    หลังจากนั้นเด็กหญิงก็เอาขันน้ำไปที่วัดตามที่หลวงปู่สั่ง เมื่อไปถึงหลวงปู่ก็สั่งว่าให้เอาน้ำใส่พอประมาณและให้ไปขอปลาหกตัวกับนายบุญช่วย ที่ขังเอาไว้ในตุ่มน้ำในสวนกล้วยติดกับหลังวัด ซึ่งเด็กหญิงผู้นี้ก็รู้จัก พร้อมกำชับไว้ด้วยว่าไม่ว่าอย่างไรก็ตามต้องเอาปลามาให้ได้
    เมื่อเด็กหญิงไปถึงพบนายบุญช่วย จึงบอกว่าเจ้าคุณปู่ให้มาขอปลาหกตัว เป็นปลาหมอ ๓ ตัวปลาดุก ๓ ตัวที่ขังไว้ในสวนกล้วย นายบุญช่วยแปลกใจ แต่ก็บอกว่าไม่รู้ว่าปลามีหรือไม่ ถ้าไม่มีให้กราบเรียนหลวงปู่ด้วยว่าไม่มี แล้วไปที่สวนกล้วย
    พอไปถึงกระต๊อบท้ายสวน นายบุญช่วยก็นึกได้ว่าตนเคยไปหาปลาและได้นำมาขังไว้จริง แต่นานแล้วจนลืม จึงอุทานว่าหลวงปู่เก่งจังที่รู้ว่าตนขังปลาไว้จนลืมไปแล้ว จึงรีบไปดูที่ตุ่มกลางกอกล้วย ปรากฏว่าเห็นปลาอยู่หกตัวตามที่หลวงปู่บอกมาจริง จึงจับปลาใส่ขันให้เด็กหญิง แล้วตามมาจนถึงวัด
    เมื่อพบหลวงปู่ จึงบอกว่าหลวงปู่เก่งที่รู้ว่ามีปลาถูกขังจนลืม
    หลวงปู่บอกว่า ท่านไม่เก่ง ปลาเหล่านี้ต่างหากที่เก่ง เพราะสามารถส่งกระแสจิตไปขอความช่วยเหลือจากท่านได้ โชคยังดีที่ยังไม่ได้เอาไปทำอาหาร เพราะจะเดือดร้อนทั้งครอบครัว จากนั้นหลวงปู่ก็ทำน้ำมนต์พรมให้ปลาแล้วอธิษฐานให้ปลานั้นปลอดภัย สามารถบำเพ็ญบารมีต่อได้จนหมดอายุขัย แล้วนำไปปล่อยที่แม่น้ำโขง น่าแปลกคือ เมื่อปล่อยปลาลงน้ำแล้วแทนที่มันจะรีบว่ายหนี กลับพากันกระโดดขึ้นเหนือน้ำสามครั้งเหมือนกับจะแสดงการคารวะหลวงปู่ จากนั้นก็พากันว่ายน้ำหายไป

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญ ท่าน
    เจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมใน
    การเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ทุกๆท่าน…

    -หลวงป.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เมื่อ “สติ” ของเราหนาแน่น
    ไม่ย่อหย่อน “สมาธิ” ของเรา
    ก็แข็งขึ้น ใจก็เที่ยง

    “สติ” จึงเป็นตัวเหตุ เป็นตัวอุปการี
    ที่อนุเคราะห์ ส่งเสริม
    ให้ “สมาธิ” ของเรา เจริญขึ้น

    “สติ” จึงเปรียบเหมือนกับ พ่อแม่ของเรา
    เราจะต้องเลี้ยงดู ไว้เสมอ
    “สติ” นั้นท่านเรียกว่า “มาติกากุสลา”
    แปลว่า “แม่ของกุศล”

    ท่านพ่อลี ธัมมธโร

    -สติ-ของเราหนาแน่น.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ” วันหนึ่ง…
    จิตรวม อย่างน่าประหลาดใจ
    คือ รวมใหญ่เข้าสว่าง อยู่คนเดียว
    แล้วมีความรู้ชัดเจนจนสว่างจ้า
    อยู่…ณ ที่เดียว

    จะพิจารณาอะไร ๆ
    หรือ มองดูในแง่ไหน ในธรรมทั้งปวง
    ก็หมดความลังเลสงสัย
    ในธรรมวินัยนี้ ทั้งหมด คล้าย ๆกับว่า
    เรานี้ถึงที่สุดแห่งธรรมทั้งปวงแล้ว
    แต่เราก็มิได้สนใจ ในเรื่องนั้น

    มีแต่ตั้งใจไว้ว่า
    ไฉนหนอเราจะชำระใจ ของเรา
    ให้บริสุทธิ์หมดจด
    เราทำได้ขนาดนี้แล้ว จะมีอะไร
    แล ดำเนินอย่างไรต่อไปอีก

    จึงได้เดินทางตามหาหลวงปู่มั่น
    แล้วเรา จึงได้กราบเรียนท่านว่า

    ที่ต้องตามหาท่านอาจารย์ในครั้งนี้
    ด้วยจุดประสงค์ อยากจะมาขอความกรุณา
    ให้ท่านอาจารย์ได้ช่วยแก้อุบายภาวนาให้
    เพราะกระผมได้คิดและได้ศึกษาจากหมู่คณะ
    มามากแล้ว เห็นว่านอกจากท่านอาจารย์แล้ว
    คงไม่มีใครแก้อุบายนี้ ของกระผมได้แน่

    แล้วก็ได้เล่าความเป็นมา ของเราถวาย
    ให้ท่านทราบทุกประการ
    เริ่มต้นแต่ ได้ปฏิบัติมาจนกระทั้งถึงเรื่องที่
    ได้นำเข้าเรียน ท่านอาจารย์สิงห์ที่โคราช

    ท่าน จึงเล่าถึงการที่ท่านได้อบรมสานุศิษย์
    มาแล้วเป็นทำนองว่า

    ให้เราทบทวนดูหมู่เพื่อน ที่ท่านอบรมว่า…

    ” ถ้าองค์ไหนดำเนินตามรอยของผม
    จนชำนิชำนาญมั่นคง องค์นั้นย่อมเจริญ
    ก้าวหน้า
    อย่างน้อย ก็คงตัวอยู่ได้ตลอดรอดฝั่ง
    ถ้าองค์ไหน ไม่ดำเนินตามรอยของผม
    องค์นั้น ย่อมอยู่ไม่ทนทาน ต้องเสื่อม
    หรือ สึกไป

    ผมเอง
    หากมีภาระมาก ๆ ยุ่งกับหมู่คณะการประ-
    กอบความเพียรไม่สม่ำเสมอ เพ่งพิจารณา
    ในกายคตาไม่ละเอียด
    จิตใจ ก็ไม่ค่อยจะปลอดโปร่ง

    การพิจารณา
    อย่าให้จิต หนีออกจากกาย
    อันนี้ จะชัดเจนแจ่มแจ้ง หรือไม่ก็อย่าได้
    ท้อถอย
    เพ่งพิจารณาอยู่ ณ ที่นี่ละ

    จะพิจารณา ให้เป็นอสุภ(ความไม่งาม-ไม่
    สะอาดของกาย)
    หรือ ให้เป็นธาตุก็ได้ (ความเป็นธาตุดิน
    ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ)
    หรือ จะพิจารณาให้เห็นเป็นขันธ์ (ความ-
    เป็นขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณ)
    หรือ ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์(ความเป็น-
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ได้ทั้งนั้น

    แต่…ให้พิจารณาเพ่งลงเฉพาะ
    ในเรื่องนั้น จริง ๆ
    ตลอดอิริยาบถ ทั้งสี่

    แล้วก็มิไม่ใช่ว่า…
    เห็นแล้ว ก็จะหยุดเสียเมื่อไร
    จะเห็นชัด หรือ ไม่ชัดก็พิจารณา
    อยู่…อย่างนั้นแหละ

    เมื่อ…
    พิจารณาอันใดชัดเจน แจ่มแจ้งด้วยใจ
    ตนเองแล้ว
    สิ่งอื่นนอกนี้
    จะมาปรากฏชัดในที่เดียว กันดอก.”

    ท่าน บอกว่า
    อย่า ให้จิตมันรวมเข้าไปภวังค์ได้

    พอท่านพูดจบ
    เรานึกตั้งปณิธานไว้ ในใจว่า…
    เอาละคราวนี้
    เราจะเรียนกัมมัฏฐานใหม่
    ผิดถูก เราจะทำตามท่านสอน
    ขอให้ท่านเป็นผู้ดูแล และชี้ขาดแต่ผู้เดียว

    นับแต่ วันนั้นเป็นต้นมา
    เราตั้งสติกำหนดพิจารณาอยู่แต่เฉพาะกาย
    โดยให้เป็น อสุภ
    เป็น ธาตุสี่
    เป็น ก้อนทุกข์
    อยู่ตลอด ทั้งกลางวัน และ กลางคืน
    เราใช้เวลาปรารภความเพียร
    อยู่ด้วยความไม่ประมาท สิ้นเวลา ๖ เดือน
    (พรรษานี้ เราจำพรรษาอยู่ที่นี้)

    โดยไม่มีความเบื่อหน่าย
    ใจของเรา จึงได้รับความสงบ
    และ เกิดอุบายเฉพาะตน
    ขึ้นมาว่า…

    ทุกสิ่งทุกอย่าง
    ที่มีอยู่ในโลกนี้ เป็นเพียงสักแต่ว่า
    เป็นธาตุสี่ เท่านั้น
    แต่คนเราไปสมมุติแล้ว หลง สมมุติ
    ตนเองต่างหาก มันจึงต้องยุ่ง
    และ เดือดร้อนด้วยประการ ทั้งปวง

    เราได้อุบายครั้งนี้ ทำให้จิตหนักแน่น
    มั่นคง ผิดปกติกว่าเมื่อก่อน ๆมาก
    แล้วก็เชื่อมั่นในตัวเองว่า…
    เรา… ” เดินถูกทางแล้ว ”

    *** หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ***
    ตอบปัญหาธรรม…!
    *** หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ***
    ……………………………………… … …. ……

    .jpg
    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...