ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    พระอาจารย์บุญสิงห์

    “พระอาจารย์รูปแรกของท่าน”

    พระอาจารย์สิงห์ทอง

    ท่านพระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธมฺโม
    ได้บันทึกการอยู่กับท่านพระอาจารย์
    บุญสิงห์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์รูปแรกของ
    ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ไว้ดังนี้

    “เมื่อท่านพระอาจารย์สิงห์ทองได้มาอยู่
    ในความดูแลของท่านพระอาจารย์บุญสิงห์
    ได้รับการอบรมสั่งสอนจากท่านว่า “การทำความเพียรไม่ให้ถือเอาเวลา ให้ถือเอา
    ความสงบเป็นสำคัญ ให้ทำความเพียรไปจนกระทั่งจิตสงบลงรวมจึงหยุด” หมายความว่า ไม่ว่าจะเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิภาวนา จะเป็นเวลากี่ชั่วโมงก็ตาม ถ้าจิตยังไม่สงบแล้วห้ามเลิก คือ ท่านทำของท่านแบบนั้น ถ้าในกรณีจำเป็น เช่น จะต้องไปบิณฑบาต ฉันจังหัน
    เมื่อเสร็จแล้วให้เข้าที่ภาวนาต่อจนกว่าจิต
    จะลงรวมได้ จึงจะหยุดพักผ่อน

    ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง เคยเล่าให้
    ข้าพเจ้า (ท่านพระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธมฺโม) ฟังว่า มีคราวหนึ่งท่านพาเดินทางไปธุระ เดินไปตลอดทั้งวัน เวลาพักก็พักในโบสถ์ด้วยกัน ท่านเตือนว่าอย่างเพิ่งนอนเลย ให้ทำจิตให้สงบก่อน ถ้านอนเลยมันจะนอนมาก ถ้าได้
    พักผ่อนจิตให้สงบก่อนแล้วนอนหลับนิดเดียว
    ก็อิ่ม ท่านเตือนอย่างนั้น แล้วต่างองค์ก็ลงเดินจงกรม พอเหนื่อยก็เข้ามาพัก แม่ท่านพระอาจารย์บุญสิงห์ ท่านยังไม่เข้าพัก ท่านยังเดินจงกรมอยู่ นั่งภาวนาไปพอสมควรแล้ว ก็ล้มตัวลงนอน เวลาตื่นขึ้นมามองเห็น ท่านพระอาจารย์บุญสิงห์ ท่านสั่งสมาธิอยู่ เลยไม่ทราบว่าท่านนอนเมื่อไร ท่านทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง อย่างนั้นเสมอๆ

    ท่านพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล ได้เคยเล่าให้ฟังครั้งสมัยที่ท่าน
    ยังเป็นสามเณรอยู่ว่า ท่านพระอาจารย์บุญสิงห์ ได้ชวนไปภาวนาที่ป่าช้า (ป่าช้าบ้านศรีฐาน) ท่านพาเดินจงกรม ทีแรกก็คิดในใจว่า จะเดินแข่งกับท่านว่า คนแก่จะเดินเก่งขนาดไหน แต่พอเดินไปๆ เจ้าหนุ่มน้อยเหนื่อย สู้ไม่ไหว ท่านจึงพากลับ บทท่านนั่ง ท่านก็นั่งได้ทั้งวันอีกแหละ ท่านเป็นคนที่ทำจริงทำจังเอามาก ภาวนาไม่เป็นมันก็อยู่ไม่ได้แหละ เพราะทำไม่ถอย

    ทางเดินจงกรมของท่านพระอาจารย์บุญสิงห์
    มี ๓ เส้น แตะละเส้นเดินจนเป็นร่องลึก ต้อง
    ได้ถมกันอยู่บ่อยๆ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง
    กล่าว่า “ท่านอยู่ได้เพราะมีอาจารย์ผู้นำดี
    ท่านปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่าง” ทำให้ท่าน
    พระอาจารย์สิงห์ทอง มีความมานะพยายาม
    เดินจงกรมและนั่งสมาธิภาวนาตามแบบฉบับของพระอาจารย์ของท่าน เวลากลางคืนเมื่อ
    ไปจับเส้นถวายท่าน ถ้าวันไหนจิตไม่สงบ
    ท่านจะพูดธรรมะในด้านอสุภกรรมฐานให้ฟัง ถ้าวันไหนภาวนาดีจิตสงบ ท่านพระอาจารย์
    จะนิ่ง ไม่พูดอะไร”

    องค์หลวงตาพระมหาบัว ได้เทศน์เรื่องการทำความเพียรไว้ดังนี้

    “การทำความเพียร อย่าไปกำหนดเวล่ำเวลาอิริยาบถต่างๆ ให้พึงทำอยู่ที่จิต คำว่าความเพียรอย่างแท้จริง ก็ได้แก่ สติ เป็นเครื่องประคับประคองรู้ตัวอยู่เสมอ เช่น ผู้ฝึกหัดใหม่เริ่มต้นด้วยคำบริกรรมภาวนา เช่น พุทโธๆ เป็นต้น ก็ให้จิตมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอยู่กับคำบริกรรมภาวนาของตนด้วยความมีสติ ผู้พิจารณาทางด้านปัญญา สติเป็นสิ่งที่บังคับหรือกำกับงาน ก็ให้เกี่ยวโยงไปกับปัญญา ให้เกี่ยวเนื่องกันอยู่เสมอในทางความเพียร”

    พระอาจารย์สิ่งห์ทอง ธมฺมวโร

    ี่มา ..ประวัติ..

    ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
    ******************************************

    .jpg
    .jpg
    .jpg
    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    พระอาจารย์บุญสิงห์

    “พระอาจารย์รูปแรกของท่าน”

    พระอาจารย์สิงห์ทอง

    ท่านพระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธมฺโม
    ได้บันทึกการอยู่กับท่านพระอาจารย์
    บุญสิงห์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์รูปแรกของ
    ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ไว้ดังนี้

    “เมื่อท่านพระอาจารย์สิงห์ทองได้มาอยู่
    ในความดูแลของท่านพระอาจารย์บุญสิงห์
    ได้รับการอบรมสั่งสอนจากท่านว่า “การทำความเพียรไม่ให้ถือเอาเวลา ให้ถือเอา
    ความสงบเป็นสำคัญ ให้ทำความเพียรไปจนกระทั่งจิตสงบลงรวมจึงหยุด” หมายความว่า ไม่ว่าจะเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิภาวนา จะเป็นเวลากี่ชั่วโมงก็ตาม ถ้าจิตยังไม่สงบแล้วห้ามเลิก คือ ท่านทำของท่านแบบนั้น ถ้าในกรณีจำเป็น เช่น จะต้องไปบิณฑบาต ฉันจังหัน
    เมื่อเสร็จแล้วให้เข้าที่ภาวนาต่อจนกว่าจิต
    จะลงรวมได้ จึงจะหยุดพักผ่อน

    ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง เคยเล่าให้
    ข้าพเจ้า (ท่านพระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธมฺโม) ฟังว่า มีคราวหนึ่งท่านพาเดินทางไปธุระ เดินไปตลอดทั้งวัน เวลาพักก็พักในโบสถ์ด้วยกัน ท่านเตือนว่าอย่างเพิ่งนอนเลย ให้ทำจิตให้สงบก่อน ถ้านอนเลยมันจะนอนมาก ถ้าได้
    พักผ่อนจิตให้สงบก่อนแล้วนอนหลับนิดเดียว
    ก็อิ่ม ท่านเตือนอย่างนั้น แล้วต่างองค์ก็ลงเดินจงกรม พอเหนื่อยก็เข้ามาพัก แม่ท่านพระอาจารย์บุญสิงห์ ท่านยังไม่เข้าพัก ท่านยังเดินจงกรมอยู่ นั่งภาวนาไปพอสมควรแล้ว ก็ล้มตัวลงนอน เวลาตื่นขึ้นมามองเห็น ท่านพระอาจารย์บุญสิงห์ ท่านสั่งสมาธิอยู่ เลยไม่ทราบว่าท่านนอนเมื่อไร ท่านทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง อย่างนั้นเสมอๆ

    ท่านพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล ได้เคยเล่าให้ฟังครั้งสมัยที่ท่าน
    ยังเป็นสามเณรอยู่ว่า ท่านพระอาจารย์บุญสิงห์ ได้ชวนไปภาวนาที่ป่าช้า (ป่าช้าบ้านศรีฐาน) ท่านพาเดินจงกรม ทีแรกก็คิดในใจว่า จะเดินแข่งกับท่านว่า คนแก่จะเดินเก่งขนาดไหน แต่พอเดินไปๆ เจ้าหนุ่มน้อยเหนื่อย สู้ไม่ไหว ท่านจึงพากลับ บทท่านนั่ง ท่านก็นั่งได้ทั้งวันอีกแหละ ท่านเป็นคนที่ทำจริงทำจังเอามาก ภาวนาไม่เป็นมันก็อยู่ไม่ได้แหละ เพราะทำไม่ถอย

    ทางเดินจงกรมของท่านพระอาจารย์บุญสิงห์
    มี ๓ เส้น แตะละเส้นเดินจนเป็นร่องลึก ต้อง
    ได้ถมกันอยู่บ่อยๆ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง
    กล่าว่า “ท่านอยู่ได้เพราะมีอาจารย์ผู้นำดี
    ท่านปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่าง” ทำให้ท่าน
    พระอาจารย์สิงห์ทอง มีความมานะพยายาม
    เดินจงกรมและนั่งสมาธิภาวนาตามแบบฉบับของพระอาจารย์ของท่าน เวลากลางคืนเมื่อ
    ไปจับเส้นถวายท่าน ถ้าวันไหนจิตไม่สงบ
    ท่านจะพูดธรรมะในด้านอสุภกรรมฐานให้ฟัง ถ้าวันไหนภาวนาดีจิตสงบ ท่านพระอาจารย์
    จะนิ่ง ไม่พูดอะไร”

    องค์หลวงตาพระมหาบัว ได้เทศน์เรื่องการทำความเพียรไว้ดังนี้

    “การทำความเพียร อย่าไปกำหนดเวล่ำเวลาอิริยาบถต่างๆ ให้พึงทำอยู่ที่จิต คำว่าความเพียรอย่างแท้จริง ก็ได้แก่ สติ เป็นเครื่องประคับประคองรู้ตัวอยู่เสมอ เช่น ผู้ฝึกหัดใหม่เริ่มต้นด้วยคำบริกรรมภาวนา เช่น พุทโธๆ เป็นต้น ก็ให้จิตมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอยู่กับคำบริกรรมภาวนาของตนด้วยความมีสติ ผู้พิจารณาทางด้านปัญญา สติเป็นสิ่งที่บังคับหรือกำกับงาน ก็ให้เกี่ยวโยงไปกับปัญญา ให้เกี่ยวเนื่องกันอยู่เสมอในทางความเพียร”

    พระอาจารย์สิ่งห์ทอง ธมฺมวโร

    ี่มา ..ประวัติ..

    ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
    ******************************************

    .jpg
    .jpg
    .jpg
    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ครูบาอาจารย์สำคัญมาก

    เรื่องกรรมฐานนี่สำคัญอยู่ที่ครูอาจารย์
    เป็นผู้นำ นี่สำคัญมาก นำผิดๆ ถูกๆ ไป
    มากต่อมากนะ ไม่ค่อยจะนำไปตามแถว
    ทางที่พระพุทธเจ้าสอน นำเคลือบๆ แฝงๆ
    ออกไปนอกลู่นอกทาง สุดท้ายก็กิเลส
    ลากไป เลยกลายเป็นกิเลสนำไปเสียไม่รู้

    ครูอาจารย์สำคัญมาก ที่คอยให้คำแนะนำ
    ตักเตือนสั่งสอนด้านจิตตภาวนา ส่วนคัมภีร์
    วินัยเราก็เห็นทุกคนปฏิบัติตามนั้นแล้วก็ไม่มี
    ข้อสงสัย แต่เรื่องของใจนี้ละเอียดลออมาก
    จึงต้องอาศัยครูอาจารย์แนะ ครูอาจารย์ถ้า
    ไม่ชำนิชำนาญ ไม่เชี่ยวชาญทางด้านจิตใจ
    มาแล้ว ก็สอนผิดๆ พลาดๆ ไปอีก จึงสำคัญสำหรับครูอาจารย์ที่จะแนะจะบอก

    เพราะจิตนี่พิสดารมากนะ เวลาภาวนาเข้า
    ไป แต่ไม่พิสดารกว้างขวางไปเสียทุกองค์
    นะ หากกว้างขวาง ถ้าพูดถึงเรื่องกว้างขวาง
    แต่องค์ที่เลิศเลอเข้าไปอีกยังมี ผู้เด่นกว่ากัน
    ยังมี จึงบอกว่ามันเป็นไปตามรายๆ ผู้กว้าง
    ขวางลึกซึ้งมากก็มี ผู้หย่อนลงมากว่านั้นก็มี
    แต่ยังไงก็ต้องแสดงความกว้างขวางของตน
    จนได้แหละ อำนาจของจิต เวลาภาวนาไป
    สิ่งไม่รู้ มันรู้มันเห็นนี่ แล้วเห็นสิ่งนี้จะปฏิบัติ
    ยังไง ถ้ามีครูมีอาจารย์ท่านแนะ เป็นอย่างนั้น แนะให้ปฏิบัติอย่างนั้น นั่นผ่านไปได้ๆ

    ทีนี้ครูอาจารย์ไม่เห็นไม่รู้ เวลาไปถามท่าน ท่านก็ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร เลยยกยาทั้งหีบ
    ทุ่มให้คนไข้ สุดท้ายคนไข้ก็เลยตาย ไม่หาย
    นี่หมอเถื่อน ถ้าหมอปริญญาแล้วก็ถามดู
    ตรวจดูโรคภัยไข้เจ็บ เสร็จแล้วไม่ต้องไปยก
    ทั้งตู้แหละ หยิบเอาหลอดใดขวดใดขวดหนึ่งมา เม็ดใดเม็ดหนึ่งมาใส่ปั๊บหายเลย นั่นล่ะ
    หมอเถื่อนกับหมอจริงมันต่างกัน

    ครูบาอาจารย์ผู้เสกสรรปั้นยอตัวเองว่าเป็น
    ครูเป็นอาจารย์เฉยๆ ทั้งๆ ที่คุณธรรมภาย
    ในจิตใจไม่มี ใช้ไม่ได้ เป็นหมอเถื่อน อาจารย์เถื่อน อาจารย์เถื่อนมันมักจะเยอะนะเวลานี้ อาจารย์เถื่อนเยอะนะทุกวันนี้ ระวังนะพวกเรา จะไปเจออาจารย์ยกยาทั้งหีบทุ่มเอาหลงทิศ
    ไปนะ จะว่าไม่บอก มีเยอะนะ อาจารย์ที่รู้ตามช่องตามทางของด้านจิตใจจริงๆ นี้มีน้อยมาก
    ทีเดียว

    นี่เมื่อได้รับการอบรมจากครูบาอาจารย์
    พร้อมกับความเพียรของเราหนุนอยู่เรื่อยๆ
    ก็ค่อยแก่กล้าขึ้นไป สอนเข้าไป เด็ดเข้าไป
    ผู้ที่ควรจะหลุดพ้นก็ใส่ตูมเลยให้ออกเลย
    อย่าอยู่ว่างั้นเลย มันหลายขั้นการสอน นี่เราก็ได้ปฏิบัติตัวของเรามาอย่างนั้น จึงยก
    หลวงปู่มั่นเป็นอาจารย์ชั้นเอกในสมัย
    ปัจจุบัน เท่าที่เราผ่านมาในครูบาอาจารย์
    ทั้งหลาย
    เรายังไม่เห็นองค์ไหนที่จะแซงหน้า
    หลวงปู่มั่นไปได้เลย ทางภาคปฏิบัติไม่ว่า
    วินัย ไม่ว่าธรรม ไม่ว่าข้อวัตรปฏิบัติ ไม่มี
    คลาดเคลื่อน เพราะเราเรียนแล้วถึงไปนี่
    ท่านปฏิบัติออกในแง่ใดมุมใดนี้ เข้ากันได้
    กับหลักธรรมวินัยข้อใดๆ ก็เราเรียนมาหมด
    แล้ว มันวิ่งถึงกันๆ หาที่ค้านไม่ได้

    -:: หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ::-

    ******************************************

    .jpg
    .jpg
    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ครูบาอาจารย์สำคัญมาก

    เรื่องกรรมฐานนี่สำคัญอยู่ที่ครูอาจารย์
    เป็นผู้นำ นี่สำคัญมาก นำผิดๆ ถูกๆ ไป
    มากต่อมากนะ ไม่ค่อยจะนำไปตามแถว
    ทางที่พระพุทธเจ้าสอน นำเคลือบๆ แฝงๆ
    ออกไปนอกลู่นอกทาง สุดท้ายก็กิเลส
    ลากไป เลยกลายเป็นกิเลสนำไปเสียไม่รู้

    ครูอาจารย์สำคัญมาก ที่คอยให้คำแนะนำ
    ตักเตือนสั่งสอนด้านจิตตภาวนา ส่วนคัมภีร์
    วินัยเราก็เห็นทุกคนปฏิบัติตามนั้นแล้วก็ไม่มี
    ข้อสงสัย แต่เรื่องของใจนี้ละเอียดลออมาก
    จึงต้องอาศัยครูอาจารย์แนะ ครูอาจารย์ถ้า
    ไม่ชำนิชำนาญ ไม่เชี่ยวชาญทางด้านจิตใจ
    มาแล้ว ก็สอนผิดๆ พลาดๆ ไปอีก จึงสำคัญสำหรับครูอาจารย์ที่จะแนะจะบอก

    เพราะจิตนี่พิสดารมากนะ เวลาภาวนาเข้า
    ไป แต่ไม่พิสดารกว้างขวางไปเสียทุกองค์
    นะ หากกว้างขวาง ถ้าพูดถึงเรื่องกว้างขวาง
    แต่องค์ที่เลิศเลอเข้าไปอีกยังมี ผู้เด่นกว่ากัน
    ยังมี จึงบอกว่ามันเป็นไปตามรายๆ ผู้กว้าง
    ขวางลึกซึ้งมากก็มี ผู้หย่อนลงมากว่านั้นก็มี
    แต่ยังไงก็ต้องแสดงความกว้างขวางของตน
    จนได้แหละ อำนาจของจิต เวลาภาวนาไป
    สิ่งไม่รู้ มันรู้มันเห็นนี่ แล้วเห็นสิ่งนี้จะปฏิบัติ
    ยังไง ถ้ามีครูมีอาจารย์ท่านแนะ เป็นอย่างนั้น แนะให้ปฏิบัติอย่างนั้น นั่นผ่านไปได้ๆ

    ทีนี้ครูอาจารย์ไม่เห็นไม่รู้ เวลาไปถามท่าน ท่านก็ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร เลยยกยาทั้งหีบ
    ทุ่มให้คนไข้ สุดท้ายคนไข้ก็เลยตาย ไม่หาย
    นี่หมอเถื่อน ถ้าหมอปริญญาแล้วก็ถามดู
    ตรวจดูโรคภัยไข้เจ็บ เสร็จแล้วไม่ต้องไปยก
    ทั้งตู้แหละ หยิบเอาหลอดใดขวดใดขวดหนึ่งมา เม็ดใดเม็ดหนึ่งมาใส่ปั๊บหายเลย นั่นล่ะ
    หมอเถื่อนกับหมอจริงมันต่างกัน

    ครูบาอาจารย์ผู้เสกสรรปั้นยอตัวเองว่าเป็น
    ครูเป็นอาจารย์เฉยๆ ทั้งๆ ที่คุณธรรมภาย
    ในจิตใจไม่มี ใช้ไม่ได้ เป็นหมอเถื่อน อาจารย์เถื่อน อาจารย์เถื่อนมันมักจะเยอะนะเวลานี้ อาจารย์เถื่อนเยอะนะทุกวันนี้ ระวังนะพวกเรา จะไปเจออาจารย์ยกยาทั้งหีบทุ่มเอาหลงทิศ
    ไปนะ จะว่าไม่บอก มีเยอะนะ อาจารย์ที่รู้ตามช่องตามทางของด้านจิตใจจริงๆ นี้มีน้อยมาก
    ทีเดียว

    นี่เมื่อได้รับการอบรมจากครูบาอาจารย์
    พร้อมกับความเพียรของเราหนุนอยู่เรื่อยๆ
    ก็ค่อยแก่กล้าขึ้นไป สอนเข้าไป เด็ดเข้าไป
    ผู้ที่ควรจะหลุดพ้นก็ใส่ตูมเลยให้ออกเลย
    อย่าอยู่ว่างั้นเลย มันหลายขั้นการสอน นี่เราก็ได้ปฏิบัติตัวของเรามาอย่างนั้น จึงยก
    หลวงปู่มั่นเป็นอาจารย์ชั้นเอกในสมัย
    ปัจจุบัน เท่าที่เราผ่านมาในครูบาอาจารย์
    ทั้งหลาย
    เรายังไม่เห็นองค์ไหนที่จะแซงหน้า
    หลวงปู่มั่นไปได้เลย ทางภาคปฏิบัติไม่ว่า
    วินัย ไม่ว่าธรรม ไม่ว่าข้อวัตรปฏิบัติ ไม่มี
    คลาดเคลื่อน เพราะเราเรียนแล้วถึงไปนี่
    ท่านปฏิบัติออกในแง่ใดมุมใดนี้ เข้ากันได้
    กับหลักธรรมวินัยข้อใดๆ ก็เราเรียนมาหมด
    แล้ว มันวิ่งถึงกันๆ หาที่ค้านไม่ได้

    -:: หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ::-

    ******************************************

    .jpg
    .jpg
    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “ฌานสมาบัติ ๘ เปรียบเหมือนศิลาทับต้นหญ้า”

    (พุทธประวัติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)

    หลังจากกราบลาท่านอาจารย์อาฬารดาบสแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะก็มุ่งตรงสู่สำนักของท่านอุทกดาบส ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองพาราณสี เมื่อเสด็จมาถึงสำนักของท่านอุทกดาบส ท่านอุทกดาบสก็ต้อนรับเป็นอย่างดี และยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าชายสิทธัตถะจะมาเป็นศิษย์ในสำนัก เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาอยู่ไม่นานก็สำเร็จสมาบัติ ๘ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งเป็นขั้นสูงสุดของสำนัก แต่พระองค์ทรงเห็นว่ายังไม่ใช่หนทางหลุดพ้น เพราะขณะเข้าฌานอยู่นั้นไม่มีความทุกข์ก็จริง แต่เมื่อออกจากฌาณแล้วจิตใจก็เหมือนคนธรรมดาทั่วไป “เปรียบเหมือนศิลา(ก้อนหิน)ทับอยู่บนต้นหญ้า เมื่อยกก้อนหินออกต้นหญ้าหาได้ตายไม่” เจ้าชายสิทธัตถะจึงตรัสถามท่านอุทกดาบสว่า “ท่านอาจารย์ ธรรมที่สูงยิ่งไปกว่านี้ยังมีอีกหรือไม่” ท่านอุทกดาบสตอบว่า “ยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว ถึงจะมีอยู่เราก็ไม่อาจรู้ ที่เรารู้เจ้าก็รู้เทียมกัน” เจ้าชายสิทธัตถะจึงขอลา ออกไปค้นหาหนทางด้วยพระองค์เอง แต่ท่านอุทกดาบสได้กล่าวว่า “จงอยู่ที่นี่เพื่อเป็นอาจารย์สั่งสอนศิษย์ทั้งหลายด้วยกันเถิด”คำกล่าวของท่านอุทกดาบสไม่สามารถฉุดรั้งจิตใจอันเด็ดเดี่ยวของเจ้าชายสิทธัตถะเอาไว้ได้ เจ้าชายสิทธัตถะจึงกราบลาท่านอาจารย์อุทกดาบส เพื่อแสวงหาหนทางหลุดพ้นด้วยพระองค์เอง

    [​IMG]

    ที่มา ธรรมะพระป่ากรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น
     
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    อบรมกับท่านพระอาจารย์มั่น

    เมื่อสอบได้เปรียญธรรมประโยค ๙ แล้ว
    สมเด็จปู่(สมเด็จพระมหาวีรวงศ์) ท่านได้มีบัญชาให้ท่านไปจำพรรษาที่วัดพระศรีมหา
    ธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ เป็นเวลา ๔ ปี ซึ่ง
    ในช่วงนี้ท่านกำลังคิดอยากจะสึกด้วย วาง
    แผนชีวิตอนาคตอย่างสวยหรู แต่สมเด็จปู่
    ก็รู้ทันจึงได้คิดที่จะพาพระมหาเขียนไปหา
    พระอาจารย์มั่น โดยในขณะนั้นท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่ที่บ้านนามน จึงหวัดสกลนคร หลวงปู่กล่าวว่าในขณะที่พักอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นนั้น จะต้องระมัดระวังความคิด
    อย่างหนัก พยายามรักษาจิตใจของตนไว้
    ไม่ให้วอกแวกไปทางอื่น เพราะเกรงกลัวว่าท่านพระอาจารย์มั่นจะทักว่าคิดไปในทาง
    ไม่ดี เนื่องจากชื่อเสียงกิตติศัพท์ของท่าน
    พระอาจารย์มั่นในทางว่ากล่าวตักเตือนศิษยานุศิษย์นั้น ใครๆ ก็ขยาดหวาดกลัวกัน
    ทั้งนั้น ซึ่งตามธรรมดาความคิดของปุถุชนก็
    มีดีบ้างไม่ดีบ้าง ท่านเล่าให้ฟังว่า

    ในขณะที่อยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นนั้น
    เสมือนหนึ่งกิเลสมันหมดไปไม่มีเหลือ
    อยู่เลย มันยอมหมอบราบคาบแก้วทิฐิมานะ การถือตัวปรากฏว่าไม่มีเลยเพราะกลัวท่าน
    พระอาจารย์มั่น ขณะที่พักศึกษาปฏิบัติธรรม
    อยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต นั้นพระอาจารย์มั่นก็ได้เทศน์อบรมสั่งสอนพระมหาเขียน โดยท่านได้กล่าวโทษของการเกิด เพราะ

    เมื่อเกิดมาแล้วก็จะต้องประคับประคอง
    ดูแลรักษาชีวิตร่างกายให้เป็นไปตามปกติ
    ถ้าหากร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องเยียวยารักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิตการดำรงชีพ
    ของฆราวาสอันเป็นที่มาของความขัดข้อง
    คับแคบไม่เป็นไทแก่ตัวเอง คือความไม่มีอิสรภาพแก่ตัวเอง ชีวิตจะต้องเกี่ยวข้องกับ
    ผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่เป็นตัวของตัวเอง บริหารรับใช้ชีวิตร่างกายของตัวเองยังไม่พอ ต้องเข้าไปแบกรับภาระเกี่ยวข้องกับชีวิตของ
    ผู้อื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรา หรือที่เราไปเกี่ยวข้องด้วยซึ่งเราจะต้องรับผิดชอบ โอกาส
    ที่จะหลุดพ้นจากบ่วงภาระหน้าที่อันหนึกอึ้งนี้ มองไม่เห็นที่สิ้นสุด นับวันมีแต่จะพอกพูนเพิ่มภาระอันหนักขึ้นไปอีกเป็นหลายเท่านทวีคูณ เมื่อเป็นดังนั้นจะทำให้มองเห็นทางหลุดพ้นได้อย่างไร เพราะโอกาสที่จะมองเห็นมันไม่มี

    วันหนึ่งๆ มีแต่ตั้งหน้าตั้งตาหาใส่ปากใส่ท้อง
    ก็แทบจะไม่พอ โอกาสที่จะมาพิจารณาเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงของสังขารนั้นไม่มีเลย ชีวิตของฆราวาสเต็มไปด้วยทุกข์
    โทษต่างๆ นานา แต่คนโดยส่วนมากก็ยังมองไม่เห็นตามสภาวะตามความเป็นจริง ที่เป็นดังนั้นก็เพราะอำนาจของตัวโมหะเข้าไปปิดบัง
    ห่อหุ้มตัวปัญญาเอาไว้ ทำให้ลุ่มหลงเพลิดเพลินไปตามอารมณ์ต่างๆ จนลืมตัว
    ลืมตาย เราเกิดมาแล้วชาติหนึ่งนี้และได้บวชเข้ามาศึกษา ได้ประพฤติตามคำสั่งสอนของท่านผู้รู้แจ้งเห็นจริงเช่นพระพุทธองค์นี้แล้ว
    เรายังจะขวนขวายดิ้นรนพยายามเพื่อที่จะไป
    สู่ที่ต่ำอีก นับว่าไม่เป็นคุณแก่ตัวเองเลย ขอ
    ให้พิจารณาดูให้ดีให้รู้ให้เห็นตามความเป็น
    จริงของสรรพสิ่งทั้งหมด อย่าได้มีอคติ อย่าเข้าข้างตัวเอง อย่าได้คิดว่าตัวเองทำถูกต้องแล้วคิดดีถูกแล้ว จงเปิดใจให้กว้างน้อมนำเอาพุทธธรรมไปประพฤติปฏิบัติ อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเอง ถ้าทำได้จนถึงที่สุดแล้ว
    ก็จะได้ไม่กลับมาเกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกอันนับเป็นอเนกชาตินี้

    ควรที่จะเบื่อหน่ายคลายความยึดถือ จง
    ถอนอัตตานุทิฐิเสียจะได้เป็นไทตัวเอง ไม่
    ต้องตกไปเป็นทาสของความทะเยอทะยานอยาก

    อันอาศัยกิเลสเป็นตัวชี้นำเป็นผู้ชี้แนะแล้ว
    เราก็เป็นไปตามนั้น นึกเอาเองคิดเอาเองว่า
    เป็นจริงจังไปตามนั้นแล้วหลงตัวลืมตัวไป
    ตามจังหวะของกิเลสที่มันกำหนดให้ แล้วก็เข้าใจเอาเองว่าเรามีเราเป็นไปตามนั้น แต่
    ถ้าพิจารณาให้ดีแล้วก็จะเห็นว่า ไม่ได้เป็น
    ไปตามนั้นเลย เสมือนหนึ่งว่าไล่ตะครุบเงา
    ของตัวเอง เมื่อเราหยุดเงาก็หยุด เมื่อเรา
    เดินเงาก็เดินด้วย เงาก็ถูกต้องสัมผัสไม่ได้
    นั่นแสดงถึงความไม่มีสาระแก่นสารอะไร
    ในชีวิต หลงทำบาป อกุศลต่างๆ ยิ่งเป็นชีวิตของฆราวาสแล้ว ก็ยิ่งหาโอกาสที่จะทำคุณ
    งามความดีให้เต็มที่อย่างชีวิตที่บวชนี้ยากเต็มที เพราะเหตุว่าภาระหน้าที่ซึ่งจะต้องปลดเปลื้องบริหารให้อยู่รอดไม่เอื้ออำนวย
    ให้ ควรที่จะเบื่อหน่ายแล้วมอบกายถวายชีวิตในพระพุทธองค์ แล้วมุ่งสู่ความหลุดพ้นจากสังสารวัฏอันไม่มีที่สิ้นสุดนี้ โดยไม่ต้องกลับ
    มาวนเวียนต่อไป อย่าไปหวังชาติหน้าอนาคตซึ่งเป็นของไม่แน่นอน เราเดินมาถูกทางแล้ว ยังจะหันหลังกลับไปตั้งต้นใหม่อีก แล้วอย่างนี้เมื่อไรจะถึงจุดหมายปลายทางกันเสียที ฯลฯ

    ่านพระอาจารย์มั่น

    เทศน์อบรมสั่งสอนพระมหาเขียนมีนัย
    เป็นอเนกอนันต์ หลวงปู่ท่านกล่าวว่าใน
    ขณะนั้นตัวท่านเองนั่งนิ่งรู้สึกตัวว่าตัวเอง
    มีแต่ลมหายใจอยู่เท่านั้น ตัวเบาว่าง น้ำตา
    คลอเบ้า เพราะคำพูดของพระอาจารย์มั่น
    ที่พูดออกมานั้นเยือกเย็นเป็นจังหวะ ท่าน
    พูดด้วยเมตตา ด้วยความปรารถนาดี ท่าน
    ไม่อยากให้เราไปตกทุกข์ได้ยากในสภาพ
    ของชีวิตฆราวาส…

    ในสมัยที่ท่านออกฝึกหัดปฏิบัติอยู่กับท่าน
    พระอาจารย์มั่นนั้น มีแม่ชีอยู่คนหนึ่งชื่อ..
    แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ ซึ่งแม่ชีผู้นี้ท่าน พระ
    อาจารย์มั่นกล่าวว่าเป็นผู้ที่มีธรรมะ เป็น
    ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ได้ทำนายพระ
    มหาเขียนไว้ว่า

    “ท่านมหาบวชมาแล้ว ชาตินี้เป็นชาติที่ ๓
    และจะอยู่ในเพศบรรพชิตนี้ตลอดไปจะ
    ไม่สึก ชาติที่บวชครั้งแรกนั้น ท่านมหา
    บวชเป็นสามเณรอายุได้ ๑๗ ปีก็สึก ชาติ
    ต่อมาก็บวชเป็นสามเณรอีกอายุได้ ๑๙ ปี
    ย่างเข้า ๒๐ ปีก็สึก แต่ยังไม่ได้บวชเป็นพระ
    ก็สึกอีก ชาตินี้เป็นชาติที่ ๓ และได้บวชเป็น
    พระอีกทั้งจะอยู่ต่อไปได้ตลอดจะไม่ลาสิกขาออกไปเป็นฆราวาสจะอยู่ในเพศพรหมจรรย์ตลอดไป”

    ท่านมหาเขียนก็พูดว่า “ถ้าหากอาตมา
    อยากจะสึกจะทำอย่างไร คือ อยากสึกมากๆ
    อดไม่อยู่ แล้วก็สึกไป”

    แม่ชีแก้วกล่าวว่า

    “ไม่เป็นเช่นนั้น ถึงแม้ว่าท่านมหาจะอยาก
    สึกอย่างไรก็ตาม แต่สำหรับชาตินี้แล้ว
    ท่านมหาจะต้องอยู่ในเพศพรหมจรรย์นี้
    ตลอดไปไม่สึกแน่นอน” หลวงปู่เล่าว่า ก็
    ได้แต่รับฟังไว้คอยสังเกตุดูตัวเองอยู่
    ตลอดมา

    ในขณะประพฤติข้อวัตรปฏิบัติอยู่กับท่าน
    พระอาจารย์มั่นนั้น เวลาไปอุปัฏฐากท่าน โอกาสจังหวะเหมาะท่านพระอาจารย์ก็จะ
    เปรยๆ ออกมาว่า ท่านโน้นประพฤติปฏิบัติดี ท่านนั้นก็ใช้ได้ พระมหาเขียนก็ใจจดใจจ่ออยากจะรู้เรื่องของตนเองบ้างว่าในชาตินี้
    พอจะมีวาสนาพ้นทุกข์ได้หรือไม่ แต่ก็ยัง
    กล้าๆ กลัวๆ อยู่

    เมื่อได้โอกาสจึงยกมือขึ้นประนม เรียน..
    ถามท่านพระอาจารย์มั่นไปด้วยความนอบ
    น้อมว่า “เกล้ากระผมเป็นอย่างไรบ้างขอรับ
    ในชาตินี้พอจะมีวาสนาพ้นทุกข์ได้หรือไม่”
    ทั้งที่กลัวก็กลัว อยากรู้เรื่องของตนเองก็
    อยากรู้ ท่านพระอาจารย์มั่นหยุดนิดหนึ่ง
    แล้วพูดว่า “มีทางเป็นไปได้ในบั้นปลายของชีวิตแต่ต้องพยายามนะ”

    หลวงปู่เขียนฐิตสีโล
    *****************************************
    เทิดไว้เหนือเศียรเกล้า ด้วยเกล้า สาธุ..

    .jpg
    .jpg
    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    อบรมกับท่านพระอาจารย์มั่น

    เมื่อสอบได้เปรียญธรรมประโยค ๙ แล้ว
    สมเด็จปู่(สมเด็จพระมหาวีรวงศ์) ท่านได้มีบัญชาให้ท่านไปจำพรรษาที่วัดพระศรีมหา
    ธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ เป็นเวลา ๔ ปี ซึ่ง
    ในช่วงนี้ท่านกำลังคิดอยากจะสึกด้วย วาง
    แผนชีวิตอนาคตอย่างสวยหรู แต่สมเด็จปู่
    ก็รู้ทันจึงได้คิดที่จะพาพระมหาเขียนไปหา
    พระอาจารย์มั่น โดยในขณะนั้นท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่ที่บ้านนามน จึงหวัดสกลนคร หลวงปู่กล่าวว่าในขณะที่พักอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นนั้น จะต้องระมัดระวังความคิด
    อย่างหนัก พยายามรักษาจิตใจของตนไว้
    ไม่ให้วอกแวกไปทางอื่น เพราะเกรงกลัวว่าท่านพระอาจารย์มั่นจะทักว่าคิดไปในทาง
    ไม่ดี เนื่องจากชื่อเสียงกิตติศัพท์ของท่าน
    พระอาจารย์มั่นในทางว่ากล่าวตักเตือนศิษยานุศิษย์นั้น ใครๆ ก็ขยาดหวาดกลัวกัน
    ทั้งนั้น ซึ่งตามธรรมดาความคิดของปุถุชนก็
    มีดีบ้างไม่ดีบ้าง ท่านเล่าให้ฟังว่า

    ในขณะที่อยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นนั้น
    เสมือนหนึ่งกิเลสมันหมดไปไม่มีเหลือ
    อยู่เลย มันยอมหมอบราบคาบแก้วทิฐิมานะ การถือตัวปรากฏว่าไม่มีเลยเพราะกลัวท่าน
    พระอาจารย์มั่น ขณะที่พักศึกษาปฏิบัติธรรม
    อยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต นั้นพระอาจารย์มั่นก็ได้เทศน์อบรมสั่งสอนพระมหาเขียน โดยท่านได้กล่าวโทษของการเกิด เพราะ

    เมื่อเกิดมาแล้วก็จะต้องประคับประคอง
    ดูแลรักษาชีวิตร่างกายให้เป็นไปตามปกติ
    ถ้าหากร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องเยียวยารักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิตการดำรงชีพ
    ของฆราวาสอันเป็นที่มาของความขัดข้อง
    คับแคบไม่เป็นไทแก่ตัวเอง คือความไม่มีอิสรภาพแก่ตัวเอง ชีวิตจะต้องเกี่ยวข้องกับ
    ผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่เป็นตัวของตัวเอง บริหารรับใช้ชีวิตร่างกายของตัวเองยังไม่พอ ต้องเข้าไปแบกรับภาระเกี่ยวข้องกับชีวิตของ
    ผู้อื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรา หรือที่เราไปเกี่ยวข้องด้วยซึ่งเราจะต้องรับผิดชอบ โอกาส
    ที่จะหลุดพ้นจากบ่วงภาระหน้าที่อันหนึกอึ้งนี้ มองไม่เห็นที่สิ้นสุด นับวันมีแต่จะพอกพูนเพิ่มภาระอันหนักขึ้นไปอีกเป็นหลายเท่านทวีคูณ เมื่อเป็นดังนั้นจะทำให้มองเห็นทางหลุดพ้นได้อย่างไร เพราะโอกาสที่จะมองเห็นมันไม่มี

    วันหนึ่งๆ มีแต่ตั้งหน้าตั้งตาหาใส่ปากใส่ท้อง
    ก็แทบจะไม่พอ โอกาสที่จะมาพิจารณาเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงของสังขารนั้นไม่มีเลย ชีวิตของฆราวาสเต็มไปด้วยทุกข์
    โทษต่างๆ นานา แต่คนโดยส่วนมากก็ยังมองไม่เห็นตามสภาวะตามความเป็นจริง ที่เป็นดังนั้นก็เพราะอำนาจของตัวโมหะเข้าไปปิดบัง
    ห่อหุ้มตัวปัญญาเอาไว้ ทำให้ลุ่มหลงเพลิดเพลินไปตามอารมณ์ต่างๆ จนลืมตัว
    ลืมตาย เราเกิดมาแล้วชาติหนึ่งนี้และได้บวชเข้ามาศึกษา ได้ประพฤติตามคำสั่งสอนของท่านผู้รู้แจ้งเห็นจริงเช่นพระพุทธองค์นี้แล้ว
    เรายังจะขวนขวายดิ้นรนพยายามเพื่อที่จะไป
    สู่ที่ต่ำอีก นับว่าไม่เป็นคุณแก่ตัวเองเลย ขอ
    ให้พิจารณาดูให้ดีให้รู้ให้เห็นตามความเป็น
    จริงของสรรพสิ่งทั้งหมด อย่าได้มีอคติ อย่าเข้าข้างตัวเอง อย่าได้คิดว่าตัวเองทำถูกต้องแล้วคิดดีถูกแล้ว จงเปิดใจให้กว้างน้อมนำเอาพุทธธรรมไปประพฤติปฏิบัติ อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเอง ถ้าทำได้จนถึงที่สุดแล้ว
    ก็จะได้ไม่กลับมาเกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกอันนับเป็นอเนกชาตินี้

    ควรที่จะเบื่อหน่ายคลายความยึดถือ จง
    ถอนอัตตานุทิฐิเสียจะได้เป็นไทตัวเอง ไม่
    ต้องตกไปเป็นทาสของความทะเยอทะยานอยาก

    อันอาศัยกิเลสเป็นตัวชี้นำเป็นผู้ชี้แนะแล้ว
    เราก็เป็นไปตามนั้น นึกเอาเองคิดเอาเองว่า
    เป็นจริงจังไปตามนั้นแล้วหลงตัวลืมตัวไป
    ตามจังหวะของกิเลสที่มันกำหนดให้ แล้วก็เข้าใจเอาเองว่าเรามีเราเป็นไปตามนั้น แต่
    ถ้าพิจารณาให้ดีแล้วก็จะเห็นว่า ไม่ได้เป็น
    ไปตามนั้นเลย เสมือนหนึ่งว่าไล่ตะครุบเงา
    ของตัวเอง เมื่อเราหยุดเงาก็หยุด เมื่อเรา
    เดินเงาก็เดินด้วย เงาก็ถูกต้องสัมผัสไม่ได้
    นั่นแสดงถึงความไม่มีสาระแก่นสารอะไร
    ในชีวิต หลงทำบาป อกุศลต่างๆ ยิ่งเป็นชีวิตของฆราวาสแล้ว ก็ยิ่งหาโอกาสที่จะทำคุณ
    งามความดีให้เต็มที่อย่างชีวิตที่บวชนี้ยากเต็มที เพราะเหตุว่าภาระหน้าที่ซึ่งจะต้องปลดเปลื้องบริหารให้อยู่รอดไม่เอื้ออำนวย
    ให้ ควรที่จะเบื่อหน่ายแล้วมอบกายถวายชีวิตในพระพุทธองค์ แล้วมุ่งสู่ความหลุดพ้นจากสังสารวัฏอันไม่มีที่สิ้นสุดนี้ โดยไม่ต้องกลับ
    มาวนเวียนต่อไป อย่าไปหวังชาติหน้าอนาคตซึ่งเป็นของไม่แน่นอน เราเดินมาถูกทางแล้ว ยังจะหันหลังกลับไปตั้งต้นใหม่อีก แล้วอย่างนี้เมื่อไรจะถึงจุดหมายปลายทางกันเสียที ฯลฯ

    ่านพระอาจารย์มั่น

    เทศน์อบรมสั่งสอนพระมหาเขียนมีนัย
    เป็นอเนกอนันต์ หลวงปู่ท่านกล่าวว่าใน
    ขณะนั้นตัวท่านเองนั่งนิ่งรู้สึกตัวว่าตัวเอง
    มีแต่ลมหายใจอยู่เท่านั้น ตัวเบาว่าง น้ำตา
    คลอเบ้า เพราะคำพูดของพระอาจารย์มั่น
    ที่พูดออกมานั้นเยือกเย็นเป็นจังหวะ ท่าน
    พูดด้วยเมตตา ด้วยความปรารถนาดี ท่าน
    ไม่อยากให้เราไปตกทุกข์ได้ยากในสภาพ
    ของชีวิตฆราวาส…

    ในสมัยที่ท่านออกฝึกหัดปฏิบัติอยู่กับท่าน
    พระอาจารย์มั่นนั้น มีแม่ชีอยู่คนหนึ่งชื่อ..
    แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ ซึ่งแม่ชีผู้นี้ท่าน พระ
    อาจารย์มั่นกล่าวว่าเป็นผู้ที่มีธรรมะ เป็น
    ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ได้ทำนายพระ
    มหาเขียนไว้ว่า

    “ท่านมหาบวชมาแล้ว ชาตินี้เป็นชาติที่ ๓
    และจะอยู่ในเพศบรรพชิตนี้ตลอดไปจะ
    ไม่สึก ชาติที่บวชครั้งแรกนั้น ท่านมหา
    บวชเป็นสามเณรอายุได้ ๑๗ ปีก็สึก ชาติ
    ต่อมาก็บวชเป็นสามเณรอีกอายุได้ ๑๙ ปี
    ย่างเข้า ๒๐ ปีก็สึก แต่ยังไม่ได้บวชเป็นพระ
    ก็สึกอีก ชาตินี้เป็นชาติที่ ๓ และได้บวชเป็น
    พระอีกทั้งจะอยู่ต่อไปได้ตลอดจะไม่ลาสิกขาออกไปเป็นฆราวาสจะอยู่ในเพศพรหมจรรย์ตลอดไป”

    ท่านมหาเขียนก็พูดว่า “ถ้าหากอาตมา
    อยากจะสึกจะทำอย่างไร คือ อยากสึกมากๆ
    อดไม่อยู่ แล้วก็สึกไป”

    แม่ชีแก้วกล่าวว่า

    “ไม่เป็นเช่นนั้น ถึงแม้ว่าท่านมหาจะอยาก
    สึกอย่างไรก็ตาม แต่สำหรับชาตินี้แล้ว
    ท่านมหาจะต้องอยู่ในเพศพรหมจรรย์นี้
    ตลอดไปไม่สึกแน่นอน” หลวงปู่เล่าว่า ก็
    ได้แต่รับฟังไว้คอยสังเกตุดูตัวเองอยู่
    ตลอดมา

    ในขณะประพฤติข้อวัตรปฏิบัติอยู่กับท่าน
    พระอาจารย์มั่นนั้น เวลาไปอุปัฏฐากท่าน โอกาสจังหวะเหมาะท่านพระอาจารย์ก็จะ
    เปรยๆ ออกมาว่า ท่านโน้นประพฤติปฏิบัติดี ท่านนั้นก็ใช้ได้ พระมหาเขียนก็ใจจดใจจ่ออยากจะรู้เรื่องของตนเองบ้างว่าในชาตินี้
    พอจะมีวาสนาพ้นทุกข์ได้หรือไม่ แต่ก็ยัง
    กล้าๆ กลัวๆ อยู่

    เมื่อได้โอกาสจึงยกมือขึ้นประนม เรียน..
    ถามท่านพระอาจารย์มั่นไปด้วยความนอบ
    น้อมว่า “เกล้ากระผมเป็นอย่างไรบ้างขอรับ
    ในชาตินี้พอจะมีวาสนาพ้นทุกข์ได้หรือไม่”
    ทั้งที่กลัวก็กลัว อยากรู้เรื่องของตนเองก็
    อยากรู้ ท่านพระอาจารย์มั่นหยุดนิดหนึ่ง
    แล้วพูดว่า “มีทางเป็นไปได้ในบั้นปลายของชีวิตแต่ต้องพยายามนะ”

    หลวงปู่เขียนฐิตสีโล
    *****************************************
    เทิดไว้เหนือเศียรเกล้า ด้วยเกล้า สาธุ..

    .jpg
    .jpg
    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ก็เพื่อสร้างบุญบารมี
    เพราะการได้เกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา
    ับว่าเป็นของที่เกิดขึ้นได้ยากที่สุด

    ธรรมะของพระอรหันต์

    .jpg

    ที่มา ธรรมะของพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ิทธิบารมี

    “หลวงปู่กงมา” พยากรณ์เรื่องการมรณภาพของตัวท่านเอง สุดปาฏิหาริย์..อัฐิกลายเป็นพระธาตุ หลากสี หลากวรรณะ น่าอัศจรรย์ใจ
    ยิ่งนัก!!

    พระเดชพระคุณหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ พระ
    อริเจ้าศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    ท่านเป็นพระที่เรียบง่าย เจ้าระเบียบ มีอุบายละเอียด การเทศนาธรรมใช้ภาษาง่ายๆแต่
    กินใจความลึกซึ้ง ท่านมีหลวงปู่สาม อกิญฺจโน และท่านพ่อลี ธมฺมธโร เป็นสหธรรมิก ท่าน
    ได้นำสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    กรมหลวงวชิรญารวงศ์ (ชื่น) ออกเที่ยวธุดงค์ตามป่าเขาทางภาคตะวันออก ถึงขนาดที่พระองค์ออกปากชมว่า

    “การธุดงค์ของพระปฏิบัติกรรมฐานนี้ได้ประโยชน์เหลือหลาย อย่างนี้พระต้อง
    ธุดงค์กันให้มากๆ ศาสนาจะได้เจริญรุ่งเรือง”

    ในสมัยเป็นฆราวาส ด้วยความที่ท่านเป็น
    คนดีมีศีลธรรม รักความยุติธรรม ท่านได้รับหน้าที่เป็นหัวหน้านายฮ้อย พาคณะต้อนสัตว์
    มีวัว ความย เป็นต้น ไปขายยังกรุงเทพฯ และเมื่อถึงกาลอันควร พ่อแม่จึงได้จัดพิธีแต่งงานให้เมื่ออายุ ๒๕ ปี (พ.ศ. ๒๔๖๘) ต่อมาภรรยาของท่านพร้อมบุตรในครรภ์ได้เสียชีวิตลง ทำให้ท่านรู้สึกสูญสิ้น นี่เองเป็นเหตุให้ท่านสลดสังเวชและนึกถึงร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนา

    ในปีปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ ได้อุปสมบท
    เป็นพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย โดยมีพระ
    อาจารย์โท เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลัง
    บวชแล้วได้ไปจำพรรษาที่วัดบึงทวยกับ
    พระมี ซึ่งเป็นสหธรรมิก ท่านทั้งสองได้
    ธุดงค์ไปหลายแห่งทั้งในประเทศไทย
    ลาว และพม่า ขณะนั้นเกียรติคุณของท่าน
    พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต กำจรกำจายไป
    ทั่วทุกทิศ ท่านและพระมีจึงเข้ากราบลา
    พระอาจารย์วานคำ แห่งวัดบึงทวย เดิน
    ทางไปพบท่านพระอาจารย์มั่นที่บ้าน
    สามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นมากแล้ว ท่านพระ
    อาจารย์มั่นกำลังแสดงธรรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ จึงได้โอกาสเข้าไปฟังธรรม
    เมื่อการแสดงธรรมจบลงจึงเข้าไปกราบ
    ฝากตัวเป็นศิษย์

    วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้ญัตติเป็นพระธรรมยุต ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู ฐิตปญฺโญ) วัดสระปทุม กรุงเทพมหานคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เพ็ง วัดใต้ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านได้ธุดงค์ไปจำพรรษาตามสถานที่ต่างๆ
    ในปีปีพุทธศักราช ๒๔๘๒ ท่านได้สร้างวัด
    เขาน้อย ท่าเเฉลบ ตามพระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราช เจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    ต่อมาปีพุทธศักราช ๒๔๘๕ ท่านได้จำพรรษากับท่านพระอาจารย์มั่น ที่เสนาสนะป่าช้าบ้านโคก อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
    ได้รับอุบายธรรมอันสำคัญและได้รับความเมตตาจากท่านพระอาจารย์มั่นเป็นพิเศษ ต่อมาสถานที่แห่งนี้ท่นได้สร้างเป็นวัดโดยสมบูรณ์ ชื่อ “วัดสุทธิธรรมาราม”

    ปี ๒๔๘๙ ท่านได้ธุดงค์ไปตามเทือกเขา
    ภูพาน เห็นว่ามีความสงบวิเวกดี จึงได้ปักกลดภาวนาที่ในถ้ำบนภูเขาภูพาน ซึ่งถ้ำนี้เป็นที่
    อยู่ของเสือ และสถานที่แห่งนี้ต่อมาก็ได้กลายเป็น “วัดดอยธรรมเจดีย์” ท่านได้ละสังขารเข้าสู่แดนอนุปาทิเสสนิพพานเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ สิริรวมอายุได้ ๖๑ ปี ๑๑ เดือน ๑๑ วัน ๓๕ พรรษา

    อิทธิปาฏิหาริย์ของหลวงปู่กงมานั้น ได้ประจักษ์แก่ลูกศิษย์คือ เมื่อก่อนที่ท่านจะมรณภาพ หลวงปู่กงมาได้พยากรณ์เรื่อง
    การมรณภาพของตัวท่านเองให้ศิษย์ฟัง
    ล่วงหน้านานแล้ว ว่าท่านจะมรณภาพด้วย
    รถ และก็เป็นเช่นนั้นจริง คือ ท่านประสบอุบัติเหตุรถคว่ำ ขณะเดินทางไปงานนิมนต์
    แห่งหนึ่ง ที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ ได้นำความเศร้าโศกมาสู่บรรดาศิษยานุศิษย์และชาวพุทธเป็นอันมาก ถวายเพลิงศพท่านในวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ ณ วัดดอยธรรมเจดีย์ เทือกเขา
    ภูพาน จังหวัดสกลนคร สิริรวมอายุได้ ๖๐ ปี ๑๑ เดือน ๑๑ วันในวันถวายเพลิงศพท่านมี
    พระเณรและพระเถระในสายหลวงปู่มั่นมา
    ร่วมงานจากทุกสารทิศ บรรยากาศเป็นไป
    ด้วยความสงบ เรียบง่าย ต่างจากทุกวันนี้

    เมื่อถึงเวลาถวายเพลิงศพ คณะศิษย์
    ได้เคลื่อนศพของท่านจากศาลาการเปรียญ
    ไปตั้งที่เมรุ ก่อนถึงพิธีถวายเพลิงศพ ได้มีครูบาอาจารย์พระภิกษุสามเณรขึ้นรวมกันที่ปะรำพิธีจำนวนประมาณ ๕๐๐ รูป มีท่าน
    หลวงปู่เทสก์ เทสฺรงฺสี เป็นประธานสงฆ์
    นายวัน คมนามูล ได้ถวายฉลากสิ่งของที่
    นำมาถวายพระ ให้พระเณรจับฉลาก องค์
    ไหนถูกอะไรก็นำของถวาย เสร็จจากการมาติกาบังสุกุลและถวายสิ่งของแก่พระ
    ภิกษุสามเณรแล้ว ก็เป็นพิธีถวายเพลิงศพ
    ภายหลังจากถวายเพลิงศพแล้ว ได้ยินว่า
    อัฐิธาตุของท่านเป็นพระธาตุมากมาย
    หลากสี หลากวรรณะ เป็นที่น่าอัศจรรย์

    พระธาตุหลวงปู่กงมา

    เดิมเป็นสมบัติของคุณซ่อนกลิ่่น สุคนธา
    มีจำนวนสององค์เป็นสีดอกจำปา ใน
    สัปดาห์วิสาขบูชา ปี ๒๕๕๐ คุณซ่อนกลิ่น
    ได้มีจิตศรัทธานำมาถวายให้วัดสันติธรรม
    ขณะที่อยู่ที่บ้านยังมีจำนวนสององค์อยู่
    เมื่อมาถึงวัดสันติธรรม นำถวายท่านเจ้า
    อาวาสเปิดออกดูแล้ว พระธาตุได้แสดงปาฏิหาริย์ รวมเข้าเป็นองค์เดียวกัน มี
    ขนาดใหญ่ขึ้น และเปลี่ยนสี เป็นสีมรกต

    *****************************************
    ขอบคุณข้อมูลจาก

    เพจ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ
    วัดดอยธรรมเจดีย์

    ้อมูลจาก

    หนังสือพระธุตังคเจดีย์ เจดีย์แห่งพระอรหันต์ วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

    ******************************************
    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่าน
    เจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมใน
    การเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ทุกๆท่าน
    (ขออนุญาตนำมาเผยแผ่เป็นธรรมทานแก่ผู้ที่
    มีความศรัทธา)..

    .jpg
    .jpg
    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...