ธรรมะจาก พระสุพรหมยานเถร ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รามา, 12 กรกฎาคม 2013.

  1. รามา

    รามา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +520
    ตัณหา คือความอยาก ความอยากนี้มันเกิดจากไหน ก็เกิดจากอวิชชาคือความไม่รู้ อวิชชาก็ดี ตัณหาก็ดี มาปัจจุบันทันด่วนนี้ ที่เห็นใกล้สุดเห็นต่อหน้าต่อตา ก็เกิดจากอายตนะภายใน และภายนอกมาติดต่อกันแล้วทำให้เกิดความรักความชังอะไรๆขึ้นมาสารพัดอย่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่นำมาซึ่งความทุกข์ความลำบากยากเข็ญ แก่ชีวิตจิตใจของเราเป็นอย่างนี้มาเรื่อยๆ โดย ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า
     
  2. Asvel

    Asvel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +822
    โมทนาสาธุ..
    ชอบคำสอนของท่านที่เตือนสติไว้ว่า"คนโง่เอาใจไว้้ที่ปาก คนฉลาดเอาปากไว้ที่ใจ" :) ส่วนลูกศิษย์ของครูบาท่านหนึ่งก็สอนผมและพระในปกครองของท่านในเรื่องกรรมวาจาว่า "จะพูดอะไรไตร่ตรองให้ดี ถ้าในหัวคิดสิบแล้วพูดออกมาทั้งสิบ โอกาสพลาดมันมันก็มีมาก.."
     
  3. รามา

    รามา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +520
    บุญของเรามีจึงเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา จงอย่ามีความประมาทจงรีขวนขวายทำคุณงามความดี เพราะคนเราเกิดมาแล้วก็มีการแก่ แก่แล้วก็มีความตาย ตายแล้วเราจะไปที่ไหน จะไปที่ใด ใครบอกยังไม่ถูกฉะนั้น เราต้องไม่ลืมว่า ตนแลเป็นที่พึ่งของตน จงพยายามสร้างคุณงามความดีเอาไว้ คำสอน ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า
     
  4. รามา

    รามา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +520
    พระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา
    พฺรหฺมจกฺโก
    ***คำสอนหลวงปู่ ครูบาพรหมจักร
    ** *
    คนโง่เอาใจไว้ที ่ปาก
    คนฉลาดเอาปากไว้ ที่ใจ
    คนเรานี้ถ้าใจดี กายวาจาก็พลอยดี
    ไปตามกัน
    จงจำไว้ว่าเป็นส ิ่งสำคัญ ศีล สมาธิ
    ปัญญา
    จะตั้งอยู่มั่น ก็ต้องอาศัยมูลฐ
    านอันสำคัญคือ จิต.
    ...ส่วนมากผู้ที ่ไม่ได้รับการศึ กษา
    และอบรม
    มักจะสำคัญมั่นห มายตนเองว่า
    เป็นผู้รู้ เป็นผู้เก่งกว่า เขา เป็น
    ผู้มั่งมีกว ่าเขา
    เป็นผู้มียศบรรด าศักดิ์สูงกว่าเ ขา
    เห็นคนอื่นเป็นค นต่ำต้อยไปเสียห มด
    เห็นหน้าคนเป็นห น้าสัตว์ไปเสียห มด
    ความสำคัญเช่นนี ้ เป็นความสำคัญผิ
    ด ผิดอย่างมากที่ส ุด
     
  5. รามา

    รามา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +520
    หลวงปู่รู้ได้อย่างไร
    การที่ผู้เขียน (คุณดำรงค์ ภู่ระย้า)
    ได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการ
    หลวงปู่พระสุพรหมยานเถร
    นักบุญแห่งลานนาไทยองค์ที่สอง
    อยู่เสมอ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522
    เป็นต้นมา ก็ได้มองเห็นปฏิปทา
    ข้อวัตรปฏิบัติของท่านแล้ว ไม่ว่า
    ในที่แจ้ง หรือท่านจะอยู่เพียงลำพัง
    ในกุฏิ ท่าน
    จะกระทำสมณกิจตามอัตภาพแห่งตน
    อย่างสม่ำเสมอ ดังมีเรื่องจะ
    ได้นำมาบอกเล่า ให้ท่าน
    ผู้อ่านพิจารณา สักเรื่องหนึ่ง....
    ท่านอาจารย์ปถัมภ์ เรียนเมฆ และ
    ผู้เขียน เดินทางไปเก็บหนังสือ -
    เยี่ยมลูกค้า ตอนเย็นประมาณ 4 โมง
    ก็ได้เข้ากราบนมัสการท่าน แต่ก่อน
    จะมาถึงตลาดป่าซาง ก็พอดีในช่วง
    นั้น ทางการกำลังสร้างทาง และ
    ได้เทลูกรังไว้ ฝนตกมาก ถนนลื่น
    ทำให้รถไถลลงไปข้างทาง ล้อจมทั้ง
    4 ข้าง ต้องเดินกรำฝนไปตามรถมา
    ช่วยลาก เป็นชั่วโมงกว่าจะขึ้นมา
    จากหล่มโคลนสำเร็จ ครั้นเมื่อไป
    ถึงวัด ก็อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้ากันก่อน
    จากนั้นจึงเข้านมัสการหลวงปู่ท่าน
    ขณะที่ขึ้นไปบนกุฏิ
    หลวงปู่กำลังนั่งสมาธิอยู่....
    จึงนั่งรอท่าน พอท่านออกจากสมาธิ
    ท่านก็หันมามอง ท่านได้เอ่ยทัก
    ด้วยคำพูดที่น่าอัศจรรย์ว่า....
    "ฝนตกมากนะ....
    ถนนลื่นรถก็ไถลลงไปแช่น้ำครึ่งคัน
    เสียเงินค่าลากจูงอีก 300 บาท
    ก็เอาละ
    วันนี้นอนค้างเสียที่กุฏินี้แหละ จะ
    ได้นั่งภาวนาด้วยกัน"
    ผู้เขียนได้ยินท่านพูดเช่นนั้น เกิดปีติ
    เป็นอย่างมาก และเชื่อใน
    ความรู้เห็นอันแจ่มใสของท่าน
    ด้วยอำนาจแห่งสมาธิธรรม
    ก็สิ่งเหล่านี้แหละ นักปฏิบัติผู้สนใจ
    หลงใหลที่จะได้กันนัก
    คืนนั้น หลวงปู่
    ได้สอนวิธีปฏิบัติธรรม
    การพิจารณาธรรมอันมีทุกข์ - สุข
    เป็นต้น จนบังเกิด
    ความสว่างทางจิตใจเป็นอันมาก
    เรื่องนี้ มิใช่ว่าจะนำมากล่าว
    หรือยกย่อง
    ในคุณวิเศษของครูบาอาจารย์ แต่
    เป็นการเทิดทูน ธรรมความดีจริง
    ของพระพุทธเจ้า แม้ผู้
    ใดปฏิบัติทางจิต เข้าสู่ความสงบแล้ว
    ผู้ปฏิบัติย่อมจะได้พบ กับ
    ความอัศจรรย์ทางจิตใจได้ทุกเมื่อ
    แม้พระพุทธศาสนาของเรา
    จะล่วงเวลามานาน กว่า 2527 ปี
    แล้วก็ตาม สัจธรรมของพระพุทธเจ้า
    ก็ยังมีอยู่ ภายในจิตของผู้ปฏิบัติ
    ไม่ลบเลือน นี่แหละ ท่านจึงสอนว่า
    "ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมรู้เองเห็นเอง
     
  6. รามา

    รามา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +520
    อุเบกขาธรรม
    ความยึดมั่นว่า เป็นของตัวกู ของกู
    ถ้ามีอยู่ในบุคคลใด บุคคลนั้น ไม่ว่า
    จะเป็นพระสงฆ์องค์เณร หรือจะ
    เป็นฆราวาส ก็ล้วนแต่จะเกิดทุกข์
    สำหรับ หลวงปู่พระสุพรหมยานเถร
    แห่งวัดพระพุทธบาทตากผ้า
    จังหวัดลำพูนนั้น มีศิษย์หลายรูป
    (บวชพระอยู่กับท่าน) ได้กรุณาเล่า
    ให้ผู้เขียนฟังว่า....
    คงจะมีพระภิกษุ หรือสามเณรรูป
    ใดรูปหนึ่งเป็นแน่ ที่ตนเองเข้าใจว่า
    ทำแต่ความดี แล้วอาจไม่ชอบใจ
    พระภิกษุสามเณรด้วยกัน วางตัวเป็น
    ผู้ว่ายาก สอนยาก แต่ด้วย
    ความเมตตาปรานีชนิดดุว่าใครไม่
    เป็น จึงทำให้พระ
    หรือสามเณรที่ตั้งใจทำกิจการงาน
    ด้วยดี น้อยอกน้อยใจ จึง
    ได้เขียนแผ่นป้ายไปติด
    ไว้ข้างกุฏิหลวงปู่ มีใจความว่า
    "ความเมตตาเกินประมาณ ทำ
    ให้อันธพาลเต็มวัด"
    เมื่อหลวงปู่พระสุพรหมยานเถร ท่าน
    ได้อ่านข้อความแล้ว ท่านก็อมยิ้ม
    ไม่พูดว่ากระไร นิ่งเฉยไม่ถามเลยว่า
    ใครเป็นผู้เขียน ก็ได้ผลมาก
    การกระทำของท่าน คือ ทำ
    ให้พระเณรในวัดมีความอดทน
    อดกลั้น มีความสามัคคี จิตใจก็ดีขึ้น
    มองเห็นความจริงของจิตใจมนุษย์ว่า
    จะให้สิ่ง
    นั้นสิ่งนี้ดีงามเหมือนใจตนน่ะไม่ได้
    ห้ามรถห้ามเรือน่ะมันได้
    จะมาห้ามจิตและความ
    เป็นอนุสัยแต่เก่าก่อนนั้น เห็น
    จะยากเต็มทน
     
  7. รามา

    รามา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +520
    ***คำสอนพระเดชพ
    ระคุณพระสุพรหมย านเถร***
    ปฏิบัติบูชา ได้แก่การปฏิบัต ิธรรม
    เป็นการบูชาที่ช ำระจิตใจหรือการ
    ขูดเกลากิเลสจาก จิตใจ
    เป็นการหมุนจิตห มุนใจของคนแต่ละ
    คนให้ดีขึ้น ให้สูงขึ้นจากระ
    ดับของกิเลสที่ห ่อหุ้มชีวิตจิตใ จ
    ได้แก่การประพฤต ิปฏิบัติตามพระธ
    รรมวินัย โดยเฉพาะอย่างยิ
    ่งคืออัฏฐังคิกธ รรมมีองค์ ๘ ได้แก่ ศีล
    สมาธิ ปัญญา...
     
  8. รามา

    รามา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +520
    ประวัติครูบาเจ้าพรมหมา
    พฺรหฺมจกฺโก
    นามเดิม : - พรหมา พิมสาร
    กำเนิด : - วันอังคารที่ ๓๐ สิงหาคม
    พ.ศ. ๒๔๔๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ (
    เดือน ๑๒ เหนือ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑) ณ
    บ้านป่าแพ่ง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน (
    ป่าซางปัจจุบัน)
    บิดา - มารดา : - พ่อเป็ง พิมสาร
    และแม่บัวถา พิมสาร มีพี่น้องร่วมกัน
    ๑๓ คน ท่านเป็นคนที่ ๗ คือ
    ๑. พ่อน้อยเมือง พิมสาร
    ๒. เป็นเด็กหญิง
    ๓. แม่อุ้ย หล้าดวงดี
    ๔. พ่อหนานนวล พิมสาร
    ๕. พ่อหนานบุญ พิมสาร
    ๖. พระสุธรรมยานเถร (
    ครูบาอินทรจักรรักษา)
    ๗. พระสุพรหมยานเถร(
    ครูบาพรหมมา)
    ๘. พระครูสุนทรคัมภีรญาณ (
    ครูบาคัมภีระ วัดดอยน้อย)
    ๙. พ่อหนานแสง พิมสาร
    ๑๐. แม่ธิดา สุทธิพงศ์
    ๑๑. แม่นางหลวง ณ ลำพูน
    ๑๒. เด็กหญิงตุมมา พิมสาร (
    ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก)
    ๑๓. นางแสนหล้า สุภายอง
    บิดามารดาเป็นผู้มีฐานะพอมีอัน
    จะกิน มีอาชีพทำนา ทำสวน
    ประกอบสัมมาอาชีวะ
    ไม่มีการยิงนกตกปลา
    ไม่เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ และ
    ไม่มีการเลี้ยงหมูขาย มี
    ความขยันถี่ถ้วนในการงาน
    ปกครองลูกหลานโดยยุติธรรม
    ไม่มีอคติ หนักแน่นในการกุศล
    ไปนอนวัดรักษาศีลอุโบสถ
    เป็นประจำทุกวันพระ
    บิดาท่านได้อุปสมบท
    เป็นพระภิกษุ ได้ถึงแก่กรรม
    ในสมณเพศเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ อายุ
    ๙๐ ส่วนมารดาของท่าน
    ได้นุ่งขาวรักษาอุโบสถศีลทุกวันพระตลอดอายุ
    ได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗
    อายุ ๗๐
    เมื่อเด็กชายพรหมาวัยพอสมควร
    ได้ช่วยพ่อแม่ทำงาน ทำนา ทำสวน
    เลี้ยงวัว
    เลี้ยงควายงานประจำคือตักน้ำ
    ตำข้าว ปัดกวาดทำ
    ความสะอาดบ้านเรือน
    เป็นการตอบแทนบุญคุณของบิดามารดา
    เท่าที่พอจะทำได้ตามวิสัยของเด็ก
    การศึกษา : - ท่านครูบาพรหมมา
    ได้เรียนหนังสืออักษรลานนา
    และไทยกลางที่บ้านจากพี่ชายที่
    ได้บวชเรียนแล้วได้สึกออกไป
    เพราะสมัยนั้นตามชนบทยัง
    ไม่มีโรงเรียนสอน
    กันอย่างปัจจุบันแม้แต่กระดาษ
    จะเขียนก็หายาก
    ผู้สอนคือพี่ชายก็มีงานมาก ไม่ค่อย
    ได้อยู่สอนเป็นประจำ จึง
    เป็นการยากแก่การเล่าเรียน อาศัย
    ความตั้งใจและความอดทนเป็นกำลัง
    จึงพออ่านออกเขียนได้
    เหตุบรรพชา : - อาศัยที่
    ได้ติดตามบิดามารดาไปวัดบ่อยๆ
    ได้เห็นพระภิกษุสามเณรอยู่ดีกินดี
    มีกิริยาเรียบร้อยก็เกิดความเลื่อมใส
    ยิ่งได้เห็นพระพี่ชายที่บวช
    อยู่หลายรูปพา
    กันมาฉันข้าวที่บ้านยิ่งเพิ่ม
    ความเลื่อมใสยิ่งขึ้น ต่อมาท่านก็จำ
    ได้ว่าปีนั้นเป็นปีชวด ปี พ.ศ. ๒๔๕๕
    เป็นปีที่สงครามโลกครั้งที่ ๑ กำลัง
    จะเกิด ปี
    นั้นดินฟ้าอากาศก็วิปริตผิดปกติ
    บ้านเรือนแห้งแล้ง
    ข้าวยากหมากแพง
    ผู้คนต่างถูกทุพภิกขภัยเบียดเบียนระส่ำระส่าย
    ทั้งทางราชการก็เร่งรัดเกณฑ์
    ผู้คนไปเป็นทหารกันวุ่นวาย ท่าน
    ได้เห็นเหตุการณ์ดังนั้นก็รู้สึก
    ไม่สบายใจ จึงน้อมใจไป
    ในการบวชมากขึ้น ประกอบกับ
    ได้เห็นพวกเพื่อน ๆ ที่อยู่บ้าน
    ใกล้เรือนเคียงหนีไปบวช
    กันแทบทุกวัน จะ
    เป็นการบวชหนีทหาร
    หรือบวชผลาญข้าวสุก หรือบวชเพื่อ
    ความพ้นทุกข์อย่างไรไม่ทราบ
    บรรพชา : - เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔
    เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๕ เวลา ๑๕.๐๐ น.
    อายุ ๑๕ ปี ท่านถือผ้าจีวร
    กับดอกไม้ธูปเทียนลงจากเรือนไป
    ด้วยความอาลัยบิดามารดาเป็นที่สุด
    ขณะนั้นมีพี่ชายติดตามไปด้วย
    ครั้นไปถึงวัดป่าเหียง ตำบลแม่แรง
    อำเภอปากบ่วง (ป่าซางในปัจจุบัน)
    พระพี่ชายก็จัดการโกนหัวโกนคิ้ว
    ให้
    แล้วบิดานำเด็กชายพรหมากราบขอบรรพชา
    ณ.วัดป่าเหียง ต.แม่แรง อ.ป่าซาง
    มีเจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย
    เป็นพระอุปัชฌาย์
    ครั้นพระอุปัชฌาย์มอบผ้ากาสาวพัสตร์
    ให้แล้วก็มีพระพี่ชาย
    กับใครอีกท่านหนึ่งได้มาช่วย
    กันนุ่งห่มให้ ในขณะนั้น
    ได้ก้มมองดูผ้ากาสาวพัสตร์อันเหลืองอร่ามอัน
    เป็นธงชัยของพระอรหันต์ก็เกิด
    ความรู้สึกซาบซึ้งนึกว่าเป็นบุญลาภ
    อันประเสริฐที่ได้เกิด
    เป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา
    จะขอบวชอุทิศตนต่อพระพุทธศาสนาจนกว่าชีวิต
    จะหาไม่ เมื่อบวชแล้วพระอุปัชฌาย์
    ผู้เคร่งครัดในวินัยได้เมตตา
    แนะนำสั่งสอนศีลาจารวัตร พร้อม
    ทั้งการปฏิบัติธรรม เมื่อเป็นสามเณร
    ต้องท่องจำสวดมนต์ ๑๕ วาร
    ตั้งแต่เยสันตาจนถึงมาติกามหาสมัย
    โดยเขียนใส่กระดานชนวนกว้าง ๑
    คืบ ยาว ๑ ศอก กำหนด
    ต้องท่องจำวันละ ๑ แป้น
    ท่านว่าชั้นแรกรู้สึกหนักใจ
    เห็นตัวหนังสือเล็กขนาดอ่านจน
    ไม่ถนัด นึกว่าเราจะจำได้หรือ
    ไม่หนอ แต่เมื่อตั้งใจท่องอย่างจริงจัง
    ก็ได้วันละ ๑ แป้นจริง ๆ แป้นนั้นท่าน
    ยังเก็บไว้เป็นอนุสรณ์
    ขณะที่กำลังเรียนอยู่
    ได้พยายามหลีกเร้นหลบหนีหน้าคน
    อื่นเสมอ แม้เดินทางไปฉันข้าว
    ยังบ้าน ก็พยายามไปคนเดียว
    เพื่อฉวยโอกาสสวดมนต์ไปตามทาง
    นอกจากนั้นสามเณรพรหมาได้
    เข้าโรงเรียนประชาบาล
    จนจบประถมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งเทียบ
    กับประถมปีที่ ๔ สมัยนี้ เพราะเวลา
    นั้นประถม ๔ ยังไม่มีสอนกัน
    เมื่ออายุย่างเข้า ๑๗-๑๘ ก็
    ได้ศึกษานักธรรมตรีตามลำพัง
    เพราะเวลานั้นยังไม่มีโรงเรียน
    และครูสอน หนังสือเรียนก็หายาก
    มีเพียงนวโกวาทกับธรรมนิเทศ
    และวินัยวินิจฉัย ๒-๓ เล่มเท่านั้น
    ครั้นรอบปีมาทางจังหวัดก็จัด
    ให้มีการสอบครั้งหนึ่ง
    เป็นการสอบเฉพาะจังหวัด
    เพราะทางคณะสงฆ์ยังไม่
    ได้เปิดสนามสอบอย่างสมัยนี้
    ใครสอบ
    ได้ก็ออกประกาศนียบัตรรับรองให้
    ทำกันอย่างนี้เป็นเวลา ๒ ปี
    ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๙
    จึงมีสำนักเรียนและครูสอน
    เป็นหลักแหล่ง โดนคณะสงฆ์
    ได้จัดตั้งสำนักเรียนที่วัดฉางข้าวน้อยเหนือ
    ซึ่งเป็นวัดเจ้าคณะอำเภอสมัยนั้น
    ท่านกับสามเณรมอน อินกองงาม
    ได้พากันเดินไปศึกษาตลอดพรรษา
    ซึ่งมีระยะทางไกลประมาณ ๓
    กิโลเมตร
    ต้องเดินผ่านทุ่งนาการไปมาลำบากมาก
    ครั้นออกพรรษาแล้วก็ได้ย้ายไป
    อยู่วัดฉางข้าวน้อย เพื่อการศึกษา
    ทั้งนักธรรมและวิชาสามัญ
    อุปสมบท : - อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๐
    ปี ณ พัทธสีมาวัดป่าเหียง อ.ป่าซาง
    จ.ลำพูน เมื่อวันที่ ๑๖ ม.ค. ๒๔๖๑
    เจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย (
    ครูบาขัตติยะ) เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์ฮอน โพธิโก
    เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอาจารย์สม สุวินโท
    เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ได้รับฉายาว่า"พรหมจักโก" เมื่อ
    เป็นพระภิกษุท่าน
    ได้หมั่นเล่าเรียนศึกษาปฏิบัติ จนปี พ.
    ศ.๒๔๖๒ ทางการคณะสงฆ์
    ได้ทำการเปิดสอบนักธรรมสนามหลวงขึ้น
    ท่านก็ได้
    เข้าสอบนักธรรมสนามหลวง
    มีนักเรียนใน ๗ จังหวัดภาคพายัพ
    จำนวน ๑๐๐ รูป
    ได้มาสอบรวมแห่งเดียว
    จังหวัดลำพูนมีเข้าสอบ ๑๑ รูป
    ทำการสอบ ณ วัดเชตุพน จ.เชียง
    ใหม่ พระมหานายกเป็น
    ผู้นำข้อสอบมาเปิดสนามสอบ
    ในสมัยนั้นข้อสอบวิชาละ ๒๑ ข้อ
    ผลการสอบออกมามีผู้สอบได้ ๒ รูป
    คือครูบาพรหมา พรหมจักโก
    และพระทองคำ วัดเชตุพน นอกนั้น
    ไม่ผ่าน สอบตกหมด นับว่า
    เป็นพระรูปแรกของจังหวัดลำพูนที่สอบ
    ได้ ท่านพระมหานายก (
    พระมหานายกคือ
    พระปลัดขวาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ) พร้อมคณะผู้นำข้อสอบมี
    ความสนใจ ได้ติดตามมา
    ถึงวัดป่าเหียงซึ่ง
    เป็นวัดเดิมของท่านพระภิกษุพรหมา
    ท่านพระมหานายก
    ได้มาขอต่อพระอุปัชฌาย์
    และพ่อแม่พี่น้องเพื่อ
    จะรับไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ
    แต่พระอุปัชฌาย์
    และพ่อแม่พี่น้องต่างก็เป็นห่วงเป็นใย
    ไม่อนุมัติให้ไป
    โดยอ้างเหตุผลไปต่างๆ นาๆ
    มีตอนหนึ่งพระอุปัชฌาย์
    ได้หันมากล่าวแก่ท่านครูบาพรหมาว่า
    "ถ้ารักตัวก็จงตั้งใจปฏิบัติธรรม"
    ท่านครูบาระลึกถึงคำพระอุปัชฌาย์
    เรื่องก็ยุติลงไป แต่ท่านก็รู้สึกเห็นใจ
    และขอบพระคุณพระมหานายก
    เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้กรุณามาขอถึงที่
    อยู่ด้วยความหวังดี
    แต่ท่านก็รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ
    ในตนเองที่มีบุญไม่ถึง
    จึงมีอุปสรรคทำให้ไม่ได้ไปศึกษาต่อ
    ให้มีความรู้ทางธรรมเท่าที่ควร ต่อ
    นั้นมาท่านก็ได้ระลึก
    ถึงคำพูดของพระอุปัชฌาย์ที่ว่า "
    ถ้ารักตัวก็จงตั้งใจปฏิบัติธรรม" นั้น
    ยังก้องอยู่ในหู ท่านจึง
    ได้พยายามศึกษาหา
    ความรู้ทางด้านการปฏิบัติธรรม
    จากครูบาต่างๆ หลายๆองค์ อาทิ
    ท่านพระครูพิทักษ์พลธรรม (
    ครูบาหวัน มหาวโน)
    และพระครูภาวนาภิรัต (
    ครูบาอินทจักโก) ซึ่ง
    เป็นพระพี่ชายที่อยู่สำนักเดียวกัน
    ยิ่งกว่านั้นยังได้เดินทางไปศึกษาหา
    ความรู้ ในข้อวัตรปฏิบัติธรรม
    จากครูบาอาจารย์อีกหลายท่านคือ
    ท่านครูบาแสน ญาณวุฑฒิ
    วัดหนองเงือก ท่านครูบาบุญมา
    ปารมี วัดกอม่วง และท่านครูบาอนุ
    ธัมมวุฑฒิ วัดพานิช เป็นต้น
    เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาหาทางปฏิบัติที่ถูก
    ต้องพร้อมกับเวลานั้นก็รู้สึกสังเวช
    ในชีวิตของตน เนื่องด้วยชีวิต
    เป็นของไม่แน่นอนความตาย
    เป็นของแน่นอน ก่อนที่ยังไม่ถึงแก่
    ความตายนี้ ขอให้
    ได้บำเพ็ญสมณธรรมไว้ให้เต็มความ
    สามารถ จะเป็นที่อุ่นใจและพอใจ
    ในชีวิต จึงได้น้อมจิตไป
    ในทางปฏิบัติธรรม
     
  9. รามา

    รามา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +520
    ***คำสอนพระเดชพ
    ระคุณพระสุพรหมย านเถร***
    วินัย คือระเบียบแบบแผ น วินัย
    คือสิ่งที่นำออก หรือนำไปสู่ที่แ จ้ง
    คำที่ว่านำออกก็ คือนำออกจากกิเล ส
    สิ่งเศร้าหมองที ่หมักดองอยู่ในส
    ันดาน การที่เรายังไม่
    ได้ประพฤติปฏิบั ติตามพระธรรมวิน
    ัย ยังมีความประมาท อยู่และต้องอาบั
    ติหนักก็ดีเบาก็ ดี เป็นกันอยู่อย่า งนี้
    ชื่อว่าเรายังอย ู่ในที่มืด เรา
    ยังปิดบังอาบ ัติไว้ไม่ได้ชำร ะ
    การที่เรามาเข้า ปริวาสกรรมและปฏ
    ิบัติธรรมชื่อว่ านำไปสู่ที่แจ้ง ...
     
  10. รามา

    รามา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +520
    ระคุณพระสุพรหมย านเถร***
    พวกเธอทั้งหลายจ งดูควานช้าง เขา
    จะฝึกช้างเขา ต้องผูกมัดใส่ขื ่อใส่คา
    ไว้เสียก ่อน แล้วงดหญ้างดน้ำ
    เอาจนมันหิวจนมั นอ่อน ถึงมันจะร้อง
    จะค รางสักเท่าใดๆก็ ไม่เอาใจใส่
    เมื่อมันอ่อนและ หิวแล้วจึง่จะสอ นมัน
    มันจึงจะฟังคำที ่บังคับและเป็นช ้างดี
    ใช้การได้
    พวกเธอทั้งหลายถ ้าจะเปรียบแล้วก
    ็เหมือนช้าง ช้างตัวนี้เป็นช ้างเหลือง
    ถ้าปล่ อยมันกินหญ้าอ่อ
    นน้ำใสใบมะพร้าว อะไรมากๆ
    จนอิ่มหนำสำราญอ ้วนท้วนแล้วจะสอ
    นมันไม่ได้ มันจะแทงเอา
    ถ้าอดอาหารมันเส ียบ้างผูกมัดมัน
    ไว้จนมันอ่อน มันจึงจะฟังคำบั งคับ
    ดังนายควานช้างฝ ึกช้างฉันใดก็ฉั น
    นั้น...
     
  11. รามา

    รามา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +520
    เขาเอาไปบูชา
    ในพ.ศ.2524
    เป็นปีที่พวกมารพระพุทธศาสนาลุกฮือขึ้นมาทำลายล้างแทบทุกรูปแบบ
    ซึ่งในปีดังกล่าว แม้ท่าน
    ผู้อ่านย้อนนึกถอยหลังไป ก็คงจะจำ
    ได้ดีว่า ในปีนั้น
    มารพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมาหลายรูปแบบ
    เช่น...เอาวิญญาณร้ายมาอ้างว่า
    เป็นพระภิกษุรูปนั้นองค์นี้มาเข้าทรง
    เอาพระเกียรติของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์มาทรงเจ้า
    เข้าผีหมด นอกนี้แล้ว
    ยังมีพวกมารพระพุทธศาสนาออกไปอาละวาด
    ขโมยพระพุทธรูป.....
    ตัดเศียรพระพุทธรูประบาดไป
    ทั่วประเทศทุกภาคของประเทศไทย
    เป็นปีที่พระผอม แต่ผีปีศาจอ้วนพี
    มีเอกลาภมากมาย ปีนั้นพระพุทธรูป
    ในพระวิหารวัดพระพุทธบาทตากผ้า
    อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
    ก็ถูกมารพระศาสนาลักขโมยเอาไป
    วันรุ่งขึ้นโยมวัดได้ทราบเหตุการณ์
    จึงได้นำเรื่องนี้เข้ากราบเรียน
    ให้หลวงปู่พระสุพรหมยานเถรทราบ
    เมื่อสิ้นคำบอกเล่าของโยมวัด
    หลวงปู่ก็มีความปกติ มิ
    ได้แสดงอาการอันใดออกมา
    เฉยนิ่งพร้อมกับพูดขึ้นว่า
    "อย่าไปตกใจอะไรเลย ดีแล้ว
    เขาเอาไปกราบไหว้บูชา ช่าง
    เขาเถิดนะ..."
    ท่านพูดจบก็ยิ้มปลอบใจโยมวัดคน
    นั้น คล้ายกับจะพูดว่า "ช่างเถิด
    อะไรจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิด กฎของ
    ความไม่เที่ยงความทุกข์ และความ
    ไม่แน่นอนจะปรากฏอยู่เสมอ ๆ
    ทุกเวลานาที พระนิพพาน เท่า
    นั้นเที่ยงแท้ในโลก" ผู้เขียน นี่
    ถ้าหลวงปู่ยังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่
    ก็คงจะทำให้เป็นทุกข์มาก
    เมื่อพระพุทธรูปหายไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...