เสียงธรรม ธรรมะหลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม

ในห้อง 'ธรรมเพื่อความหลุดพ้น' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 4 มีนาคม 2018.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    LpAumDhammagamo.jpg
    ธรรมะหลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม

    urai1791
    Published on Dec 19, 2011

    ธรรมะ หลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม วัดสันติวรญาณ บ้านทุ่งนางาม ต.วังศาล อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    หลวงปู่จะสอนเสมอว่า จริตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน มีมากบ้าง น้อยบ้างต่างกัน เป็นเรื่องของสัตว์โลกที่เกิดมา ได้สร้างความดีไว้ที่ต่างกัน ทุกคนจึงต้องเป็นตามกรรมนั้นๆ จริตของคนเราที่เกิดมาในโลก มี 6 ประการ คือ ราคจริต เป็นผู้ที่รักสวยรักงาม เป็นเจ้าเรือน โทสจริต เป็นผู้มักโกรธง่าย ผูกโกรธไว้เป็นเจ้าเรือน โมหจริต เป็นผู้หลงงมงาย มืดมน วิตกจริต เป็นผู้ไม่แน่นอน ตกลงใจไม่ได้ สัทธาจริต เป็นผู้มักเชื่อง่าย ถือมงคลตื่นข่าว และพุทธิจริต เป็นผู้ใช้ปัญญาตรึกตรองมาก จริตทั้ง 6 ประการ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องรู้และหมั่นพิจารณาเนืองๆ ว่า ตนนั้นตกอยู่ในจริตข้อใด หรือจริตข้อใด เป็นเจ้าเรือน เมื่อรู้แล้ว จงกำหนดจิตของตน ให้แน่วแน่ละจริตนั้นๆ เสีย ทำบ่อยๆ จนจิตสงบ เยือกเย็น ได้ชื่อว่า เป็นผู้ละกิเลส ตัณหา อุปาทานที่เกิดขึ้นได้

    ที่มา - ลานธรรมจักร
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    พิธีถวายเพลิงสรีระสังขารพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่อ่ำ ธัมมกาโม ๒๖ ก.ค.๒๕๕๘ตอน๒

    photo.jpg
    urai1791
    Published on Aug 5, 2015
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    มนุษย์ ชาติสูงสุด หลวงปู่อ่ำ ธัมมกาโม

    urai1791
    Published on Apr 24, 2015
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    เมตตาธรรม หลวงปู่อ่ำ ธัมมกาโม วังโป่ง เพชรบูรณ์

    หลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม เทศนาเรื่องผีนางตานี ตอน 1

    หลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม เทศนาเรื่องผีนางตานี ตอน 2

    weera66230
    Published on Mar 27, 2011


     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    หลวงปู่อ่ำ::พระธรรมเทศนา1

    witsanu tripprasert
    ทำวัตรเย็น๑ พระครูสันติวรญาณ (หลวงปู่อ่ำ ธัมมกาโม)

    urai1791
    แสดงธรรมโดย หลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม

    พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    May 4, 2019
    หลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม วัดสันติวรญาณ ต.วังศาล อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2021
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    ถวายตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    เมื่อญัตติเป็นสามเณรสายธรรมยุตได้ ๓ พรรษา หลวงปู่มีความตั้งใจมั่นที่จะศึกษา ปฏิบัติธรรมให้บรรลุ จึงเริ่มออกเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ หาความรู้
    .
    เริ่มต้นหลวงปู่ได้มีโอกาสเข้าไปกราบขอปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ถึง ๓ ครั้งด้วยกัน ซึ่งแต่ละครั้งต้องเข้าไปในหน้าแล้ง เพราะยุคนั้นบ้านหนองผือมีไข้มาลาเรียชุกชุมมาก โดยครั้งแรกหลวงปู่เป็นสามเณรได้ติดตามพระอาจารย์คำ สุมงฺคโล เข้าไปกราบพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ พระอาจารย์มั่นไม่ได้รับให้อยู่ปฏิบัติธรรมด้วย หลวงปู่ไม่ได้ละความพยายาม หาโอกาสเข้าไปกราบหลวงปู่มั่นอีก
    .
    ครั้งที่สองยังเป็นสามเณรอยู่ได้ไปกับครูบาเขื่อง เข้าไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น พระอาจารย์มั่นก็ยังไม่รับให้พักอยู่ด้วย หลวงปู่เข้ามากราบครั้งสองครั้งนั้น ท่านได้สั่งให้ไปพักอยู่วัดบ้านนาในกับหลวงพ่อสม
    .
    เมื่ออายุครบ ๒๑ ปีหลวงปู่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดโพธิสัมภรณ์ จ.อุดรธานี พระธรรมเจดีย์เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่ได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต(ขณะนั้นเป็นสามเณรอยู่และเป็นเพื่อนกับหลวงปู่อ่ำ) ว่า “ถ้าอยากอยู่หนองผือด้วยกันให้มาองค์เดียวอย่ามาเป็นหมู่ ตอนผมมาก็เดินทางมาพร้อมกับพระอาจารย์สอ แต่เวลาเข้าวัดป่าบ้านหนองผือ เข้ามาทีละรูป”
    .
    หลวงปู่จึงหาโอกาสเข้ามากราบหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือตามลำพังองค์เดียวและเป็นการเข้ามาวัดป่าบ้านหนองผือเป็นครั้งที่สาม คราวนี้หลวงปู่ได้บวชเป็นพระภิกษุแล้วจึงไม่ค่อยกลัว เพราะเคยเข้ามาก่อนแล้ว หลวงปู่มาถูกจังหวะพบท่านพระอาจารย์มั่นกำลังกวาดตาดอยู่ ท่านใจดีมากพูดกับหลวงปู่ว่า “ถ้าจะอยู่ด้วยกันให้ไปขอนิสัยเด้อ” หลวงปู่น้อมรับคำของท่านด้วยความซาบซึ้ง และเคารพเป็นอย่างสูงในเมตตาจิตของครูบาอาจารย์ ตอนเย็นวันนั้นเอง หลวงปู่จึงไปกราบขอนิสัยจากท่านพระอาจารย์มั่น ที่กุฏิท่าน
    .
    หลังจากขอนิสัยจากท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว หลวงปู่ได้อยู่พักที่วัดป่าบ้านหนองผือ มีหน้าที่ถวายงานรับใช้ท่าน โดยการสรงน้ำในเวลาเย็น หลวงปู่ได้เล่าว่า “อาตมาสรงน้ำท่านทุกวัน ตอนนั้นบวชเป็นพระยังไม่ได้ถึงพรรษา ตอนที่สรงน้ำท่านมี พระอาจารย์วัน อาจารทองคำ เป็นต้น คือเป็นอุบายของท่านที่ต้องการฝึกหัดให้พระเล็กๆ พรรษาน้อยได้เรียนรู้ข้อวัตรปฏิบัติ และมีโอกาสได้ใกล้ชิดท่าน นอกจากการสรงน้ำถวายท่านแล้ว อาตมามีหน้าที่ต้มยาร้อนให้พระเณรในวัดฉันมีสมอ ใบอีเลิศ ใบผักหนอก ใบกานพลู กระเทียม อาจารย์บุญเพ็งเป็นผู้คุมทางน้ำร้อน ต้มน้ำร้อนถวายท่านพระอาจารย์มั่น เพราะอยู่กับท่านนานถึง ๔ ปี
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    (ต่อ)
    หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า “เวลาท่านพระอาจารย์มั่นดุนั้น น่ากลัวอยู่นะ” ท่านดุหลวงพ่อสมที่ไปกราบเรียนถามน่ะ เหตุที่ท่านจะดุนั้นเป็นแบบนี้ วัดบ้านนาในแต่ก่อนยังเป็นวัดมหานิกาย และเป็นวัดร้างพระธรรมยุตไปพักอยู่ ทีนี้ต้นหมากมี้(ขนุน) มันไม่เป็นลูก แต่เราไปอยู่อาศัยเวลาเช้า เทกระโถนปัสสาวะ มันชุ่ม ลูกโตดก แล้วญาครูญาณพระมหานิกายมาเอาลูกหมากมี้ไป หลวงพ่อสมท่านเสียดายเลยดุว่า “คนหนึ่งเฝ้ารักษา ก็ไม่ได้กิน” พอท่านพระอาจารย์มั่นทราบท่านสอนว่า “ไม่ให้ดุเขา ให้เขาเอาไปซะ ท่านดุหลวงพ่อสมไม่ให้ว่าเขา ภิกษุโจทย์ภิกษุ เรื่องปาราชิกต้องอาบัติสังฆาทิเสส” ท่านดุใส่หลวงพ่อสม จนหลวงพ่อสมกลัวตัวสั่น และกลัวเป็นอาบัติ จึงไปกราบขมา และกราบเรียนถามท่านดู ท่านบอกว่า “ท่านกำราบหลวงพ่อสมเฉยๆ”
    .
    อีกเรื่องหนึ่ง ตอนนั้นอาตมายังเป็นเณรอยู่ได้ไปพักที่วัดบ้านนาในหลวงพ่อนินกับหลวงพ่อสม เถียงกันเรื่องเหาะ “มันไปได้ทั้งกายทั้งจิตหรือ?” “คงไปได้แต่จิตแต่กายจะไปได้หรือ?” หลวงพ่อสมไปกราบเรียนถามท่านพระอาจารย์มั่นว่า “การเหาะอิทธิฤทธิ์ไปได้ทั้งกายทั้งจิตไหมขอรับ?” ท่านตอบว่า “ไปได้” ท่านวิสัชนาต่อว่า “พระพุทธเจ้าขึ้นสู่ดาวดึงส์ ท่านให้คนเห็นทั้งเมืองสาวัตถี ทั้งวันเขาไม่กราบหรอก พระพุทธองค์ท่านทำให้เห็นเขาจึงกราบ ไปเทศน์โปรดพุทธมารดา”
    .
    ท่านพระอาจารย์มั่นอบรมพระภิกษุสามเณรเป็นประจำทุกเย็นเวลา ๒ ทุ่มเป็นต้นไป พระเณรขึ้นไปรับฟังธรรมท่านพระอาจารย์มั่นบนกุฏิท่าน หากมีจำนวนมากก็นั่งอยู่ข้างล่าง ประมาณปีพ.ศ.๒๔๙๒ เดือนสามเพ็ญขึ้นไป ท่านไม่ได้อบรมจนท่านมรณภาพ ปรกติท่านเทศน์เฉพาะพระ สอนแต่พระ ๑๕ วัน อบรมพระครั้งหนึ่ง วันสำคัญเช่น วันมาฆบูชา ทั้งพระทั้งเณรมากันเต็มศาลา เย็นๆ ปูเสื่อฟังเทศน์ ท่านเทศน์นาน ๔ ชั่วโมง แต่เทปสมัยนั้นยังไม่มี วิทยาศาสตร์ยังไม่เกิดในบ้านหนองผือ
    .
    ท่านไม่อบรมญาติโยม ชาวบ้านหนองผือไม่ค่อยมา เขาไปวัดบ้านมหานิกาย ท่านไม่ให้มาใกล้หรอกพวกญาติโยม ส่วนพวกจำศีลไม่ได้เข้ามาพักที่วัด ท่านให้ไปบ้าน ไปฏิบัติที่บ้านไม่ต้องเข้ามาจำศีลที่วัดป่าบ้านหนองผือ
    .
    หลวงปู่ได้เข้าไปพักอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือประมาณ ๓ เดือนกว่า คือ ตั้งแต่เดือนสิบสองจนถึงเดือนสามเพ็ญ พ.ศ.๒๔๙๒ หลวงปู่จำเป็นต้องไปจากวัดป่าบ้านหนองผือ เพราะมีจดหมายมาตามให้ไปคัดเลือกทหารที่บ้านเดิมอุบลราชธานี โดยมากหากพระองค์ใดต้องไปเกณฑ์ทหารแล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นท่านต้องให้ไปทำหน้าที่เพื่อชาติบ้านเมืองก่อนเสมอ
    .
    • หลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม •
    #ที่มา ที่ระลึกงานประชุมเพลิงสรีระสังขาร หลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม (พระครูสันติวรญาณ)
    Facebook :-
     

แชร์หน้านี้

Loading...