ธรรมะเกี่ยวกับความสุขของชีวิตประจำวัน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย paang, 24 ตุลาคม 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="50%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    ธรรมะเกี่ยวกับความสุขของชีวิตประจำวัน
    พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)
    วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ธรรมะอันเป็นเหตุให้เกิดความสุขในชีวิตประจำวันนั้น ถ้าว่าโดยหลักการกันจริงๆ แล้วก็ไม่มีอะไรนอก เหนือไปจากการมีสรณะที่พึ่งภายในจิต สรณะที่พึ่งที่ระลึกนั้นคือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์และ
    เหตุใดจึง ต้องมีพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระอริยสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกก็เพราะพระพุทธเจ้ามีความดีหลายอย่างที่เราต้องเอาตัวอย่างของท่านมาประพฤติ จะว่าพระพุทธเจ้าเป็นบุคคลตัวอย่างก็ได้

    พระพุทธเจ้าเป็นบุคคล ตัวอย่างแห่งการศึกษาดี ตามประวัติ ท่านศึกษาตามหลักสูตรแห่งการศึกษาในสมัยนั้น เรียกว่า จบบริบูรณ์ หมายถึง วิชาการปกครอง วิชาเกษตรกรรม วิชาเกษตรกรรมนี้ปรากฏในพุทธประวัติคนในตระกูลของพระพุทธเจ้าทุกองค์มีคำว่า "โอทนะ" ลงท้ายกัน โอทนะ แปลว่า ข้าวสุก เช่น พระเจ้าสุทโธทนะ โธโต ทนะ อมิโตทนะ เป็นต้น มีแต่คำว่า ข้าวสุก ต่อท้ายพระนามของท่านเหล่านั้น จึงแสดงว่าตระกูลของพระพุทธเจ้าเป็นตระกูลชาวนา เป็นกษัตริย์ แต่ว่าสนใจในเรื่องเกษตรกรรม คือการ เพาะปลูก เพราะอาศัยข้าวเป็นปัจจัยสำคัญ แห่งชีวิตความเป็นอยู่จึงได้ยึด เอาข้าวเป็นหลัก และตั้งชื่อลูกหลานมีคำว่า โอทนะ ต่อท้าย

    พระพุทธเจ้าได้ศึกษาสำเร็จวิชาการปกครอง การเกษตร ศีลธรรม และวัฒนธรรม เรียกว่ามีความรู้เพียง พอที่จะเป็นกษัตริย์ครองแผ่นดินได้อันนี้คือตัวอย่างแห่งบุคคลผู้มีการศึกษาอยู่ในระดับสูง อีกตัว อย่างหนึ่ง พระองค์เป็นตัวอย่างของบุคคล ผู้เสียสละ พระองค์เสีย สละความสุขส่วนพระองค์เสด็จออกบวช เพื่อแสวงหาทางสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า แม้ว่าความเป็นอยู่ของพระองค์จะเทียบเท่ากับความเป็นอยู่ของเทวดา บนสรวงสวรรค์ แต่พระองค์ไม่อาลัยใยดี ยอมสละทรัพย์สมบัติ และความสุขเหล่านั้นแล้วออกบวช
    เพื่อบำเพ็ญกรณียกิจความเป็นพระพุทธเจ้าจนสำเร็จ อันนี้เป็นตัวอย่างแห่งบุคคลผู้เสียสละ และเป็นตัวอย่างแห่งบุคคลผู้มีความรู้ชั้นสูง จนได้เป็นศาสดาเอกของปวงชน

    อีกตัวอย่างหนึ่งนั้น พระพุทธเจ้าเป็นผู้เฉลียวฉลาด สามารถรู้อริยสัจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธมรรค จนได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า นี้เป็นตัวอย่างแห่งบุคคลผู้มีปัญญาเหนือโลก และเมื่อพระองค์สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์บริสุทธิ์สะอาดด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ กายของพระองค์ไม่มีการฆ่า และไม่มีการเบียดเบียน การทำร้ายด้วยประการทั้งปวง วาจาของพระองค์ก็รับสั่งด้วยถ้อยคำอันไพเราะ แสดงธรรมแก่ปวงชน ปรากฏความงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด งามในเบื้องต้น คือความงามแห่งผู้มีศีล งามในท่ามกลางคือเป็นผู้มีความมั่นใจในธรรม งามในเบื้องปลายคือความงามในผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด จิตรู้เท่าทันสภาวธรรม อันนี้ก็คือตัวอย่างอันหนึ่ง

    เมื่อพระองค์สำเร็จความปรารถนาของพระองค์ คือสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ถ้าพระองค์จะถือสิทธิในความสำเร็จของพระองค์ เพียงเสวยสุขส่วนพระองค์เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ก็ไม่มีใครมีอำนาจเอาพระ
    องค์ไปลงโทษหรือไปทรมานใดๆ ได้ทั้งสิ้น ถึงกระนั้น พระองค์ก็ยังสละความสุขส่วนพระองค์ไปแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเวไนยสัตว์ให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ทรงชี้แจงประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในสัมปรายภพ และประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน เป็นต้น

    พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมตามอุปนิสัยวาสนาบารมีของผู้ฟังธรรม ผู้ที่มีความสามารถสถิตอยู่ในโลกยังปลดเปลื้องความสุขทางโลกออกไม่ได้ พระองค์ก็สอนให้มีความหมั่นความขยันหมั่นเพียรในการประกอบ
    การทำมาหากินเลี้ยงชีพ แสวงหาผลประโยชน์ทางทรัพย์สินสมบัติ ตั้งหลักฐานให้มั่นคง เมื่อแสวงหาสมบัติ สร้างหลักฐานได้มั่นคงดีแล้ว พระองค์ก็ยังสอนให้รู้จักรักษาทรัพย์ที่ได้มามิให้เสื่อมสูญ จึงบอกให้คบแต่มิตรที่ดี ลักษณะของมิตรที่ดีนั้น แม้แต่คิดก็คิดดี พูดก็พูดดี กระทำก็ทำดี รวมความว่า กาย วาจา ใจ บำเพ็ญเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่บุคคลที่เป็นมิตร การกระทำด้วยกายก็เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้คบหาสมาคม พูดก็ชักจูงแต่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็ช่วยคิดอ่านแก้ไขปัญหาให้ตกไปด้วยดี
    อันนี้คือลักษณะของมิตรที่ดี (กัลยาณมิตร) เป็นอุบายที่จะรักษาทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ให้ยืนยงคงทนต่อไป ประการสุดท้าย พระองค์สอนให้รู้จักจับจ่ายใช้สอยให้มีความสุขตามสมควรแก่ฐานะ ไม่มากและไม่น้อยนัก คือรู้จักประมาณในการบริโภคใช้สอยในทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ อันนี้คือหลักการของพระพุทธเจ้าที่ทรงสั่งสอนสาธุชนผู้ดำรงชีวิต อันเป็นหลักใหญ่ๆ

    เมื่อสาธุชนมีความสมบูรณ์พูนสุขดี มีหลักฐานมั่นคงดีแล้ว ตั้งใจทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ประโยชน์ในสัมปรายภพ หรือทำประโยชน์ในปัจจุบันเพื่อไปสู่สวรรค์นั้นเป็นของไม่ยาก เพราะเมื่อเรามีพร้อมก็พร้อมที่จะทำประโยชน์เพื่อทุกสิ่งทุกอย่างต่อไปได้ แต่ถ้าเราขาดตกบกพร่องก็ไม่มีโอกาสจะทำได้อย่างเต็มที่ แม้แต่การประพฤติปฏิบัติธรรมก็อาศัยปัจจัย ๔ คือ ความสมบูรณ์พูนสุขของเราด้วย ธรรมะคำสอนขององค์

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรืออะไรก็ตามที่เราถือว่าเป็นของดีนั้น ย่อมตั้งอยู่บนรากฐานความมั่นคงของโลก เพราะโลกที่มีความมั่นคง ศีลธรรมและวัฒนธรรมก็ดำรงอยู่ได้ตลอดกาล แต่ถ้าโลกนี้ขาดความมั่นคง โลกนี้ก็อยู่ในฐานะไม่ดี ไม่มีสุข เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สอนหลักประโยชน์ทั้งสองดังกล่าวแล้ว ผู้ที่เข้าถึง ประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในสัมปรายภพย่อมมี ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคล ผู้ใฝ่ธรรมะมีความคิดถึงประโยชน์ของฐานะความสูงของจิตใจขึ้นไปโดยลำดับ และพระองค์ก็ทรงสอนให้ บำเพ็ญเพียร ภาวนาเพื่อจะได้สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานและทำจิตให้รู้แจ้งเห็นจริงในหลักแห่งความเจริญของสภาวธรรม หรือให้รู้จักหลักความจริงของคดีโลกและคดีธรรม ผู้อยู่ในคดีโลกหรือทางโลกควรจะดำเนินชีวิตอย่างไร ผู้ที่อยู่ในกระแสแห่งธรรมควรจะดำเนินชีวิตอย่างไร ท่านได้วางหลักการไว้ให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หวังประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพานนั้น จะหนีหลักศีล หลักสมาธิ หลักปัญญาไม่ได้

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="50%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ทำอย่างไรจึงจะมีความสุขในชีวิตประจำวัน

    หลักแห่งการปรับปรุงความประพฤติปฏิบัติของตนให้มีความสุขในชีวิตประจำวัน คือ
    ๑. ยึดสรณะที่พึ่ง คือ พระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์
    ๒. พยายามตัดกรรมตัดเวร ด้วยการประพฤติตามหลักของศีล ๕ ประการที่ได้สมาทานมาแล้ว อันเป็นหลักปรับปรุงความเป็นอยู่ของชีวิตประจำวันให้เกิดความสุข ไม่ฝักใฝ่ในเรื่องการฆ่า การเบียดเบียนตนเองและ ผู้อื่น การเบียดเบียนก็ไม่เกิดขึ้น การก่อกรรมก่อบาปทั้งหลายที่มีผลในภพนี้และภพหน้าก็ไม่เกิด ความสุขในชีวิตประจำวันจึงอยู่ในหลักแห่งศีล ๕ นี่เอง หากเรายังงดเว้นไม่ได้โดยเด็ดขาด เราก็ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ก่อเวร เมื่อเราก่อเวร ผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนก็เป็นผู้ก่อเวรต่อ ฉะนั้น ในท้ายบทแห่งสิกขา ๕ ข้อจึงลงท้าย ด้วยเวรมณี เวรมณี แปลว่า เว้น คือการงดเว้นจากเวร ๕ ประการ หากใครงดเว้น ได้โดยเด็ดขาด ก็เป็นการตัดชนวน แห่งการเกิดขึ้นของเวรได้อย่างเด็ดขาด เพราะฉะนั้น หลักปฏิบัติเพื่อผลประโยชน์ แห่งชีวิต ประจำวันคือการประพฤติปฏิบัติตามหลักของศีล ๕ นั่นเอง

    ในบางครั้งท่านอาจจะคิดว่า ศีล ๕ บางข้อเราอาจจะไม่สามารถปฏิบัติได้ เพราะสังคมเขายังนิยมกันอยู่อย่างนั้น อันนี้ถ้าพิจารณาดูให้ละเอียดแล้ว คำพูดคำนี้ไม่มีคุณค่าไม่มีความหมายใดๆ ทั้งสิ้น แม้เราตั้งใจแน่วแน่ว่าเราจะไม่กระทำผิดศีล เราก็สามารถที่จะเข้าสังคมได้ และเราจะเข้าสังคม ได้ดีที่สุดและเข้าสังคม ได้โดย ไม่มีเรื่องมีราวเบียดเบียนผู้อื่น เราควรปฏิบัติศีล ๕ เพื่อความสุข ความสบายแห่งชีวิตประจำวัน ศีล๕ ข้อนี้บัญญัติไว้เพื่อป้องกันมนุษย์ฆ่ากันโดยตรง ถ้าใครรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้อย่างแท้จริง
    แล้วการฆ่ากันจะไม่เกิดขึ้น แต่หากเรายังไม่งดเว้นได้โดยเด็ดขาด ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ก่อเวร ในเมื่อเราเป็น ผู้ก่อเวร ผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนเขาก็ก่อเวรต่อ ดังนั้น หลักแห่งการทำความดี ไม่มีอะไรดีเกินไปกว่าการมีศีล ๕ ผู้มีศีล ๕ ประจำตัว ผู้นั้นได้ชื่อว่าตัดผลเพิ่มของกรรม นับตั้งแต่เราเจตนาอย่างแน่วแน่ว่า เราจะ
    ปฏิบัติตามศีล ๕ อย่างบริบูรณ์

    ผลกรรมที่จะเพิ่มขึ้นหรือสะสมไว้และสนองในชาติหน้าภพหน้าเป็นอันว่าสิ้นสุดแห่งเวรกรรมทันทีเมื่อเรามีศีล ๕ บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว สิ่งที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เรามีสุขในชีวิตประจำวัน คือประโยชน์ ๔ เป็นประโยชน์ปัจจุบัน
    ๑. ถึงพร้อมด้วยความหมั่น
    ๒. ถึงพร้อมด้วยความรักษาผลงานที่เราทำ
    ๓. ถึงพร้อมด้วยการคบมิตรที่ดี
    ๔. ถึงพร้อมด้วยการเลี้ยงชีวิตพอเหมาะพอสมควรแก่ประโยชน์และรายได้ที่เรามีอยู่
     

แชร์หน้านี้

Loading...