เสียงธรรม ธรรมะเสียงอ่าน

ในห้อง 'ธรรมเทศนาทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 15 มีนาคม 2013.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    <iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/BcPjZCyn1sI" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    เสียงอ่าน สันโดษ

    เพลงประกอบ นกเขาขะแมร์ - คุณพระเพลงบรรเลง

    วิธีการสร้างเสริมบารมีให้กับตัวเองมีดังนี้

    1. รู้จักการให้

    ความไม่ตระหนี่ถี่เหนียว การแบ่งปันให้คนรอบข้าง

    ไม่เห็นแก่ตัว มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนรอบข้าง

    ด้วยความบริสุทธิ์ใจโดยไม่หวังผลตอบแทน

    หรือคิดถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว

    2. รักษาศิล

    เป็นผู้ปฏิบัติดีมีศีลธรรมประจำ สม่ำเสมอ

    ทั้งกาย วาจา ใจ เป็นคนคิดดี พูดดี ทำดี

    ไม่ให้ร้ายผุ้อื่น

    3. ระงับความอยาก

    ไม่เป็นคนหมกมุ่น ฝักใฝ่ แสวงหา

    มุ่งหวังประโยชน์ให้ตนเอง

    4. มีเมตตา

    ให้ความรักใคร่และเมตตา

    ช่วยเหลือเกื้อกูลคนรอบข้าง

    ชี้แนะ ให้คำปรึกษา ช่วยแก้ไขปัญหา

    5. ฉลาดรอบรู้

    เป็นคนรู้จักคิดและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยุ่เสมอ

    ซึ่งจะมีประโยชน์ในการทำงาน แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

    ตลอดจนช่วยเหลือให้คำแนะนำผู้อื่นได้ด้วย

    6. อดทนอดกลั้น

    อดทนต่องานหนัก ต่อสู้กับปัญหาต่างๆได้โดยไม่หวาดหวั่น

    มีความเพียรพยายาม ไม่ท้อถอย

    สามารถควบคุมอารมณ์ ใช้สติปัญญา

    ใตร่ตรองแก้ไขปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยความรอบคอบ

    และลุล่วงด้วยดี

    7. ซื่อสัตย์

    ความซื่อสัตย์และซื่อตรง เป็นหัวใจสำคัญในการทำงาน

    ไม่คิดคดโกงกับเพื่อนหรือองค์กร

    รักษาคำพูด เมื่อตกปากรับคำไว้แล้ว

    ก็ทำให้คนเชื่อถือได้

    8. ขยันหมั่นเพียร

    เป็นคนขยัน กล้าเผชิญกับงานยาก

    ไม่ท้อถอย ตั้งใจเรีนรู้งาน

    ปฏิบัติงานด้วยความเพียรอุตสาหะ

    9. มีความตั้งใจแน่วแน่

    เมื่อมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบแล้ว

    ก็งใจปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

    ให้สำเร็จลุล่วง ด้วยความตั้งใจแน่วแน่

    โดยอาศัยความเพียร พยายาม สติปัญญาและอดทน

    โดยมุ่งหวังความสำเร็จเป็นที่ตั้ง

    10. มีใจเป็นกลาง

    มีความยุติธรรม ไม่ลำเอียงเข้าข้างผู้ใด

    ด้วยถือความสนิทสนมหรือเอาความเกลียดชัง

    มาเป็นที่ตั้งในการตัดสินใจหรือพิจารณา

    จากบทความในคอลัมน์ Body Mind ในนิตยสารเปรียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2013
  2. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    <iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/dsaTEb5tS24" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    อ่านโดยสันโดษ
    เพลงประกอบ คำหวาน - คุณพระเพลงบรรเลง

    "ศีล" ทำให้เป็นคนดีงามตราบเท่าชรา (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
    สีลัง ยาวะ ชรา สาธุ
    ศีลทำให้เป็นคนดีงามตราบเท่าชรา ดังนี้

    ผู้ไม่มีศีลได้ชื่อว่าเป็นผู้สกปรก ดังท่านแสดงไว้ในเรื่องโทษของศีลว่า
    ผู้ล่วงละเมิดในศีลข้อนั้นๆ นอกจากจะเป็นผู้สกปรก เดือดร้อนด้วยโทษนั้นๆ แล้ว

    เมื่อตายไปแล้วจะต้องไปสู่ทุคติ มีนรกเป็นที่สุด เมื่อเสวยผลของกรรมนั้นพอควร
    แล้ว จึงจะพ้นจากนรกนั้นมาเกิดเป็นคนแล้วได้รับเศษกรรมนั้นอีก ดังนี้ ...

    ๑ .. โทษของการฆ่าสัตว์ ทรมานสัตว์ ..
    จะเป็นผู้มีอายุสั้นพลันตาย เป็นคนขี้โรค ทรมาน
    รูปร่างก็น่าเกลียด ไม่มีใครเมตตาเอ็นดู

    ๒ ..โทษของการฉ้อโกง ลักขโมยของเขา ..
    จะเป็นคนจนทรัพย์อับปัญญาอนาถาหาที่
    พึ่งมิได้ หาทรัพย์มาไว้ได้ ก็จะมีแต่คนมาฉ้อโกง
    ลักขโมยเอา และฉิบหายด้วยภัย ต่าง ๆ

    ๓ .. โทษของการประพฤติมิจฉาจาร ..
    เมื่อได้ลูกเมียมาจะได้แต่คนว่ายากสอนยาก
    ประพฤตินอกใจ ทำให้ชอกช้ำใจเป็นทุกข์มาก

    ๔ .. โทษของการกล่าวเท็จโกหกเป็นต้น ..
    เมื่อเกิดมาเป็นคนพูดจาสิ่งใดไม่มีคนเชื่อ
    ถ้อยฟังคำ มีแต่เขาจะมาหลอกลวงให้เสียทรัพย์
    เสียดสีด่าว่าหยาบคายต่าง ๆ นานาเป็นต้น

    ๕ .. โทษของการดื่มสุราเมรัย ..
    จะเป็นคนบ้านใบ้เสียจริตผิดมนุษย์
    อีกทั้งเป็นคนโง่เขลา เบาปัญญาไม่น่าคบ

    นี่โทษของการไม่ตกแต่งฝึกฝนอบรม กาย วาจา ใจ
    ตามศีลธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้สกปรกเศร้าหมอง
    ทั้งที่เป็นมนุษย์และละโลกนี้ไปแล้ว

    ด้วยเหตุนี้ จึงควรแต่งกาย วาจา ใจ
    ให้สะอาดเสียตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้

    เพราะถ้าไม่สะอาดแต่เมื่อยังอยู่ในโลกนี้
    ตายไปแล้วก็จะเป็นผู้สกปรกไม่สะอาดใน
    โลกหน้าต่อไปอีก ดังแสดงมาแล้ว ..

    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... x-page.htm
     
  3. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    <iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/n7fV5A1twrk" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>


    เสียงอ่าน สันโดษ

    เพลงประกอบ ลาวม่านเเก้ว

    บุญเกิดจากการฟังธรรม

    บุญเกิดขึ้นได้จากเหตุปัจจัยหลายอย่าง อาทิ บุญที่เกิดจากการปฏิบัติตัวด้วยการรักษาศีล บุญที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม
    หรือแม้กระทั่งการฟังธรรมก็ยังสามารถก่อเกิดบุญได้อย่างไม่น่าเชื่อ

    ...ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบธรรมด้วยภูมิปัญญาแห่งความรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว
    พระองค์จึงทรงแสดงธรรมนั้นแก่สัตว์โลก เหล่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลายที่มีความตั้งใจในการรับฟังธรรม
    ย่อมบังเกิดบุญกุศลอย่างมหาศาล มนุษย์ผู้มีบุญและมีความเฉลียวฉลาดได้อาศัยการฟังธรรมอย่างตั้งใจ (ฟังธรรมเป็น)
    เพียงครั้งเดียวพวกเขาเหล่านั้นก็สามารถเข้าถึงธรรม และได้บรรลุสำเร็จเป็นพระอรหันต์จากการตั้งใจฟังธรรมไปเป็นจำนวนมาก
    ด้วยเหตุนี้ การฟังธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่มนุษย์ทั้งหลายไม่ควรมองข้าม
    เพราะความหมายของธรรมะนั้นอยู่ที่จิตใจและความเข้าใจในธรรม

    ดังนั้น แม้ว่าเราจะลงมือปฏิบัติธรรมกันอย่างไร
    แต่หากดวงจิตของเรายังไม่เข้าใจและไม่เข้าถึงธรรมเสียแล้ว ก็เรียกได้ว่าเปล่าประโยชน์
    หัวใจของธรรมนั้น อยู่ที่การฟังธรรมให้เกิดความเข้าใจจนกระทั่งบรรลุธรรม (ดวงตาเห็นธรรม)
    หากเรามีโอกาสได้ฟังธรรมจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีภูมิจิตภูมิธรรมอันสูงแล้ว ก็นับว่าเราเป็นผู้ที่โชคดีเป็นอย่างมาก

    ทั้งนี้ เพราะการเข้าใจธรรมด้วยการฟังนั้น เป็นการเข้าถึงธรรมได้ง่ายและตรงประเด็นมากที่สุด
    เปรียบเสมือนทางลัดที่เราไม่ต้องมัวเสียเวลาเสาะแสวงหาหนทางเพื่อเข้าถึง
    ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องผ่านกระบวนการอบรมทางจิตอย่างหนัก
    จึงจะเกิดภาวะแห่งการรู้ธรรมและค้นพบภูมิจิตภูมิธรรมด้วยตนเอง
    อย่างเช่นที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบธรรม (ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง) ได้

    การเข้าถึงธรรมด้วยการฟังธรรมให้เป็น จึงเป็นวิธีการอันชาญฉลาดของมนุษย์
    ผู้ปฏิบัติธรรมที่สามารถทำความพร้อมให้เกิดแก่กายและใจ
    ด้วยการอบรมจิตและสำรวมอินทรีย์จนกระทั่งสมบูรณ์ดีแล้ว
    เมื่อได้ฟังธรรมจากครูบาอาจารย์ผู้สำเร็จธรรม
    ด้วยอานิสงส์ที่บังเกิดจากการตั้งใจฟังธรรม

    ...ธรรมนั้นย่อมถูกถ่ายทอดเข้าสู่จิตวิญญาณ และยกระดับจิตวิญญาณของเราให้สูงขึ้น
    จนเกิดปัญญาบรรลุธรรมได้อย่างน่าอัศจรรย์ เหมือนอย่างในสมัยพุทธกาล
    ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้แก่ผู้ถึงพร้อมด้วยบุญ
    แล้วสามารถสำเร็จบรรลุธรรมได้ด้วยการฟังธรรมเพียงครั้งเดียว
    เพราะขณะที่กาย วาจา และจิตของเรามีความสะอาดบริสุทธิ์ (สิ้นกิเลส)
    จิตวิญญาณของเราก็พร้อมที่จะรับธรรมอันประเสริฐ
    ซึ่งถ่ายทอดจากครูบาอาจารย์ผู้บรรลุธรรม ผ่านประทับเข้ามายังจิตของเราได้ด้วยการตั้งใจฟังธรรม

    ผู้ปฏิบัติหลายท่านได้สะสมบุญข้ามภพข้ามชาติมาเป็นเวลาช้านาน
    รอเพียงเวลาที่จะพบเจอกับผู้ที่จะมาชี้ทางสว่างให้
    ไม่ว่าจะด้วยทางญาณใดก็ตาม...มนุษย์ที่ถึงความพร้อมแล้วย่อมสามารถบรรลุธรรมได้ดุจเดียวกัน
    อย่างกรณีของผู้ที่มีความถึงพร้อมด้วยกาย วาจา และใจ อาศัยเพียงการน้อมจิตเข้าสู่ธรรม
    ภูมิธรรมก็จะถูกถ่ายทอดจากจิตหนึ่งไปยังอีกจิตหนึ่งได้ในชั่วเวลาเพียงพริบตา หรือแค่การเห็นแสงสว่างเพียงวูบเดียว
    ภูมิความรู้จากจิตหนึ่งก็สามารถประทับลงไปยังอีกจิตดวงหนึ่งได้ อันเป็นการถ่ายทอดธรรมชั้นสูง
    ที่สามารถถ่ายทอดธรรมผ่านและประทับลงที่จิตของผู้ปฏิบัติได้โดยตรง
    (เป็นกระบวนการถ่ายทอดธรรมแบบจิตสู่จิตด้วยระบบโทรจิตขั้นสูง ที่ทั้งผู้ให้และผู้รับจะต้องมีระดับจิตที่ตรงกัน
    จึงจะสามารถถ่ายทอดและประทับจิตจากจิตหนึ่งลงสู่อีกจิตหนึ่งได้)
    จะเห็นได้ว่า มนุษย์เป็นสัตว์โลกเพียงชนิดเดียวที่มีความสามารถพิเศษนี้
    สัตว์โลกที่ต่ำกว่ามนุษย์ลงไปจึงเป็นสัตว์เดรัจฉานที่ไม่อาจพัฒนาจิตในขั้นละเอียดนี้ได้เลย

    มนุษย์จึงเป็นสัตว์ประเสริฐที่สามารถอบรมจิต และแสวงหาหนทางหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้ออกไปได้
    หรือที่เราเรียกว่าภาวะจิตที่เข้าสู่นิพพาน เมื่อรู้แจ้งเห็นจริง หมดสิ้นอุปาทานและอวิชชา จึงไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
    ความสามารถพิเศษทางจิตขั้นสูงที่เรียกว่า จิตประทับจิต หรือการถ่ายทอดทางธรรมทางจิตนั้น
    อาจเป็นเรื่องที่ยากเกินกำลังความสามารถของผู้ปฏิบัติจิตแบบชาวบ้านอย่างเราๆ ที่จะกระทำได้
    เพราะต้องเกิดจากการบำเพ็ญเพียรอย่างหนักในการอบรมจิต
    จนกระทั่งได้ระบบโทรจิตอันเป็นโลกุตรภูมิ (เป็นความคิดที่เลยสมมติบัญญัติโลก เป็นธรรมที่อยู่เหนือโลก)
    จิตจึงพร้อมที่จะรับการถ่ายทอดธรรมทางจิตได้ ดังนั้น การฟังธรรมด้วยความพร้อมของกาย วาจา และใจ
    จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะทำให้เราในยุคสมัยปัจจุบันสามารถเข้าถึงธรรมได้โดยไม่ยากจนเกินไปนัก.

    ที่มา เว็บบอร์ด พลังจิต ดอทคอม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2013
  4. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    <iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/-NE-WnmwSg0" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    เสียงอ่าน สันโดษ
    เพลงประกอบ ข้างๆหัวใจ โดย ขิม&เปียโน

    หลวงปู่ดู่สอนศิษย์ เกี่ยวกับการพูด การใช้วาจา

    หลวงปู่ดู่สอนศิษย์

    หลวงปู่ท่านมักกล่าวถึงมงคลที่สำคัญที่ท่านอยากให้ลูกศิษย์ได้นำไปปฏิบัติ คือ มงคล 38 ประการ
    มงคลที่ท่านพูดถึงบ่อย ๆ นั่นคือ สัมมาวาจาชอบ คือ พูดแต่สิ่งที่เป็นมงคล
    ท่านว่าคนส่วนมากมักสร้างกรรมทางวาจา เพราะกรรมนี้สร้างได้ง่ายแต่เขาไม่รู้หรอกว่าผลของกรรม
    เมื่อส่งผลจะร้ายแรงเพียงไร คำพูดนั้นสำคัญมาก บางคนพูดไม่ดีกับผู้อื่น
    จนเป็นเหตุถึงโกรธเกลียดกันชั่วชีวิตก็มีบางรายคำพูดเพียงไม่กี่คำ
    ก็ทำให้ไม่พูดกันไปหลายปีคนส่วนมากที่ขึ้นโรงขึ้นศาล หรือทะเลาะกันจนไปถึงฆ่ากันตาย
    ก็เพราะคำพูดที่ไม่ดีนี่แหละ หลวงปู่ท่านสอนอยู่เสมอว่า
    อย่าไปพูดไม่ดีกับใครเขาถ้ามีคนมาว่าหรือด่าเราแต่เราไม่ว่าหรือด่าเขาตอบมันก็จะไม่มีเรื่องกัน
    แต่ถ้าแกไปด่าเขาเมื่อไรนั่นแหละเรื่องใหญ่ ท่านสอนศิษย์เสมอว่าอย่าไปพูดทำลายความหวังของใครเขา
    เพราะนั้นอาจจะเป็นความหวังเดียวที่เขามีอยู่ถ้าแกไปพูดเข้าเมื่อไหร่กรรมใหญ่จะตกแก่ตนเอง

    ท่านบอกไว้อีกว่า คนที่ชอบด่าหรือใส่ร้ายผู้อื่นรวมไปถึงการพูดไม่ดีต่าง ๆ กับคนอื่นนั้น
    กรรมจะมาเร็วมากเขาผู้นั้นจะเป็นคนที่มีศัตรูทั้งภายนอกและภายในไม่เป็นที่รักของคนทั่วไป
    ตรงกันข้ามกับเป็นคนที่น่ารังเกียจแก่คนทั้งหลาย กรรมนี้จะทำให้เขามีเรื่องและเดือดร้อนอยู่เสมอ ๆทั้งทางกายและทางใจ
    บางคนทำกรรมนี้ไปเรื่อย ๆ อย่างไม่รู้ตัวพอกรรมดีที่ตนเคยสร้างมาแต่ปางก่อนหมดหรือเหลือน้อยลง
    กรรมชั่วที่สร้างนี้ก็จะสนองเขาอย่างหนักทั้งในภพนี้และภพหน้า
    ในภพนี้เวลาที่กรรมดีแต่ปางก่อนจะส่งผลให้มีความสุขหรือมีโชคลาภกรรมชั่วก็จะเข้ามาตัดรอนกรรมดี เหมือนอย่างเขาผู้นั้น
    ซื้อหวยเลข 56 หวยก็จะออกเลข 55 หรือ 57 บางทีก็ติดต่อการค้าหรืองานต่าง ๆ
    มองเห็นอยู่ว่างานนี้ได้แน่นอนแต่พอถึงเวลาก็ไปไม่ทันบ้าง ไปแล้วไม่เจอหรือมีเหตุต่าง ๆมาทำให้มีอุปสรรคอยู่เสมอ ๆ

    ซึ่งที่จริงแล้วผู้นั้นจะมีโชคที่ควรได้ประมาณเป็นล้าน ๆ เขาก็จะได้แค่หมื่นสองหมื่นหรือโชคครั้งนี้จะได้หลายหมื่น
    แต่เขากับได้เพียงไม่กี่พันบาทหรือเพียงได้ไม่กี่ร้อยเท่านั้นเองนี้เป็นเพราะกรรมชั่วเข้ามาตัดรอนกรรมดีและรวมถึงญาติพี่น้องลูกหลาน
    เขาเหล่านั้นก็จะทำความ เดือดร้อนเสียหายมาให้ มีพี่น้องหรือญาติไปจนถึงเพื่อนฝูงก็จะโกงทรัพย์สินเงินทองของเราบ้าง
    บางครั้งก็พูดใส่ร้ายให้โทษ ด่าว่าทะเลาะวิวาททำให้เราไม่สบายกายและสบายใจเป็นอย่างมาก
    มีเรื่องเดือดร้อนต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาไม่จบสิ้นมีลูกหลานก็จะดื้อด้าน ว่านอนสอนยาก
    ทำความเดือดร้อนให้เสียเงินทองอยู่มิได้ขาด ว่ากล่าวลูกหลานไม่เชื่อฟังไม่เคารพนับถือ

    ลูกหลานบางคนก็จะอกตัญญูตนเองมักจะเดือดร้อนด้วยการเป็นโรคร้ายที่รักษายากหรือรักษาไม่หาย
    เช่น อัมพฤต อัมพาต มะเร็ง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคร้ายต่าง ๆอีกมากมายหลายชนิด
    หลวงปู่ท่านบอกไว้ว่า กรรมทางวาจามีร้ายแรงมาก

    การที่เราพูดใส่ร้ายหรือพูดไม่ดีจนทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและเสียใจหรือไปพูดทำลายความหวังต่าง ๆ
    ของเขาถ้ารู้ตัวให้หยุดเสียถ้าไม่หยุดหรือเลิกทำเสียกรรมไม่สนองแต่ในชาตินี้
    พอตายลงไปยังต้องไปใช้กรรมยังนรกตามขุมต่าง ๆ
    อีกท่านจะพูดและสอนศิษย์อยู่เสมอว่า "คนดีเขาไม่ตีใคร" ความหมายว่าคนดีไม่ตีใคร

    ไม่ใช่เอาไม้หรือของแข็ง ๆ ไปตีเขาแต่ท่านไม่ให้พูดจากไม่ดีด่าว่าใส่ร้ายทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย และ "ทุกข์ใจ"
    หลวงปู่บอกว่าคนดีเขาไม่ว่าใคร ถ้าแกไปว่าเขาแกก็จะเป็นคนไม่ดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2013
  5. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    <iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/wAf3-CF6ejg" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    เสียงอ่าน สันโดษ
    เพลงประกอบ คนละภพ ทวิภพ the musical (ขิม cover)

    นิทานธรรมะเรื่อง นางฟ้าอัปลักษณ์

    ‘บาดแผลทางกายรักษาไม่นานก็หาย...แต่บาดแผลทางใจรักษานานแค่ไหนก็ยากยิ่ง’

    เมื่อครั้งที่นางฟ้าอยู่บนสวรรค์....ท่านเคยรู้จักกับนางฟ้าองค์หนึ่ง ผู้มีรูปโฉมอัปลักษณ์แตกต่างไปจากองค์อื่น ๆ
    เมื่อครั้งแรกที่นางฟ้าองค์นี้อุบัติขึ้นบนสวรรค์ เทพเทวดานางฟ้าทุกท่านต่างพากันรังเกียจ และพากันหวาดกลัวนางฟ้าองค์นี้ยิ่งนัก
    นางฟ้าอัปลักษณ์องค์นี้มีเรือนกายสีดำ ผิวพรรณทราม หน้าตาคล้ายกับยักษ์ หากแต่รัศมีเรือนกายของนางฟ้าองค์ดังกล่าว
    สว่างไสวเสียจนทุกองค์ต่างพากันประหลาดใจยิ่ง...จนกระทั่งวันหนึ่ง...นางฟ้าอีกองค์รวบรวมความกล้า เข้าไปถามนางว่า

    ‘ท่านนางฟ้า เหตุใดกันเล่าท่านถึงได้มีโฉมที่แตกต่างจากนางฟ้าองค์อื่น ๆ เพราะเหตุใดกัน...ท่านถึงได้มีรัศมีกายสว่างไสวเยี่ยงนี้’

    นางฟ้าอัปลักษณ์จึงตอบกลับไปว่า‘เนื่องจากตอนที่ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่....มีรูปโฉมงดงาม เป็นหญิงสาวที่สวยงามยิ่งนัก
    แต่ทว่า...ความงามของข้าพเจ้า ได้นำมาซึ่งความทุกข์ระทม’
    นางฟ้าอัปลักษณ์ ได้เล่าถึงความเป็นมาของตนว่า

    ครั้งหนึ่ง...นางมีชายคนรัก หากแต่ชายคนรักของนางเป็นชายที่มีฐานะยากจน
    ทำให้บิดาของนางไม่ยอมรับเป็นเขย นางเสียอกเสียใจอยู่นาน จนกระทั่งวันหนึ่ง...ชายใจทรามที่หลงใหลในรูปโฉมของนาง
    ได้กระทำการอนาจารผิดจารีตประเพณี ทำให้นางถูกดูถูกเหยียดหยามจากผู้คนทั้งหลายที่ล่วงรู้เรื่องราวดังกล่าว
    ผู้เป็นบิดาทนรับความอับอายไม่ไหว จึงตัดสินใจยกนางให้เป็นภรรยาแก่ชายใจทรามผู้นั้นไป...แต่ด้วยความที่เป็นหญิงที่มีรูปโฉมงาม
    ต้องตาต้องใจบุรุษอีกมากมายหลายคน ทำให้เกิดการต่อสู้แย่งชิงประหัตประหารฆ่ากันตาย
    จนท้ายที่สุด...นางต้องกลายเป็นหญิงม่าย ถูกผู้คนประณามเหยียดหยาม
    ด้วยความทุกข์ระทมนางจึงตัดสินใจออกบวช ละทางโลกหันหน้าเข้าหาทางธรรม

    แต่เนื่องจากความที่เป็นคนรูปโฉมงดงาม ถึงแม้นออกบวชแล้ว ก็ยังเกิดอุปสรรคต่อการบวชเพราะอะไรน่ะหรือ...
    ก็เพราะรูปโฉมที่งดงาม ก่อให้เกิดกิเลสทางใจแก่ผู้ที่มองเห็นนั่นเองหญิงสาวโฉมงามผู้อาภัพทนทุกข์ระทมอยู่นาน
    กระทั่งถึงยามที่นางจวนจะสิ้นลม จึงตั้งจิตอธิษฐานเอาไว้ว่า
    ‘เกิดชาติหน้าฉันใด ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีใบหน้าอัปลักษณ์ จะได้ไม่มีผู้มารักมาหลงเหมือนเช่นในชาตินี้’...
    ด้วยอานิสงส์ผลบุญที่นางทำเมื่อตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ ประกอบกับแรงอธิษฐานก่อนสิ้นลมหายใจ...
    ทำให้นางเกิดเป็นนางฟ้าอยู่บนสวรรค์วิมาน รัศมีกายเรืองรองสว่างไสวด้วยอานิสงส์คุณความดี
    แต่ด้วย ‘แรงอธิษฐาน’ จึงทำให้นางมีใบหน้าอัปลักษณ์

    นางฟ้าองค์นี้ได้เลือกแล้ว ว่าความอัปลักษณ์ช่วยให้นางไม่ต้องทุกข์ระทมเหมือนดังเช่นที่ผ่านมา
    เพราะอย่างน้อยความอัปลักษณ์...ก็ช่วยให้ทุกข์น้อยกว่าความงามเป็นที่น่าเสียดายยิ่ง...เพราะความระทมทุกข์ภายในใจ
    ทำให้บัดนี้ นางยึดติดอยู่ในความทุกข์จนไม่อาจหลุดพ้นได้ ผู้ที่เล่าเรื่องนี้ คือนางฟ้าที่เคยกล่าวถึงในตอนต้น

    ที่บังเกิดความรู้สึกเวทนาสงสารแทนนางฟ้าอัปลักษณ์ ผู้เก็บตัวอยู่ในวิมานไม่ยอมออกมานอกวิมานของตน
    จึงขออนุญาตนำเรื่องราวของนางฟ้าผู้นี้ มาบอกต่อแก่มนุษย์ทั้งหลาย ที่ยังหลงยึดติดอยู่กับรูปโฉมทั้งของตนและผู้อื่น
    โดยลืมนึกถึงความไม่เที่ยงของสังขาร ปล่อยให้ความหลงครอบงำสร้างความทุกข์เวทนาให้แก่ผู้อื่น
    ด้วยความหวังว่า...อานิสงส์ที่ได้จากการเผยแพร่เรื่องดังกล่าว
    จะช่วยให้นางฟ้าอัปลักษณ์ คลายความทุกข์ได้บ้าง...
    ที่มา..หนังสือเรื่องเล่าจากสวรรค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2013
  6. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    <iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/S_s5qSAAu9o" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    ความรักให้เป็น (ธรรมะ)

    ความรักคืออะไร? รู้ไหม! ถ้าไม่รู้ก็พ้นจากความรักไม่ได้ จะต้องได้รับทุกข์เพราะความรัก จะต้องเวียนว่ายตายเกิดในภพทั้งหลาย เกิดแล้วในภพใด ความรักก็กินใจในภพนั้น ใจที่มีความรักจะถูกทรมาน เจ็บปวดระทมบ่นเพ้อ เพราะพิษรักนั้นเสียบแทงใจ เหมือนลูกศรร้อยใจไว้ไม่ให้ดุกดิกดิ้นรน คนมีกำลังใจน้อยหรืออ่อนใจ ซบเซากับความรัก มอบตัวมอบใจให้เป็นทาสของความรักแล้ว บูชารัก บูชาคนรักให้เป็นเทพเจ้า ตามแต่คนรักหรือเทพเจ้าจะชักจูง ดึงลากให้กระทำสิ่งใด ๆ ที่คนไม่มีความรักทำไม่ได้ แต่สำหรับผู้เป็นทาสของความรักทำได้ แม้ด้วยชีวิตบูชาเทพเจ้า คือ ผู้ที่ตนรักได้ด้วยความภักดี จะหาทาสที่ภักดีจงรักสัตย์ซื่อ เสมอทาสแห่งความรักไม่มี ยินดีพร้อมที่จะตาย ตายด้วยความเต็มใจ ตายให้สมกับความรัก ๆ มีค่าเทิดทูนเหนือสิ่งอื่นใด ไม่อย่างนั้นแล้วจะสละชีวิตเพื่อบูชารักไม่ได้

    เมื่อเรามีความรักใคร่ปรารถนาสิ่งใด ใจก็จะเรียกร้องต้องการหาให้ได้มาซึ่งสิ่งนั้น ทั้งชอบธรรมและไม่ชอบธรรม เมื่อใจปรารถนาจะรักให้ได้แล้ว ไม่คำนึงถึงเหตุผลของผู้อื่น นอกจากผู้ที่ตนรัก จะอยู่ในสภาพเช่นไร ไม่เป็นอุปสรรคที่จะมีรัก รักแท้ รักจริง จึงเสียสละทิ้งอย่างมากมาย ต้องสละทิ้งทั้งโลก เพราะโลกทั้งโลกเต็มไปด้วยของน่ารักความรัก โลกทั้งโลกอันมีผู้ปรารถนาต้องการแล้ว มีความรักอยู่ทั่วไป โลกนี้จึงตระการตา ดุจราชรถของพระราชา ซึ่งประดับตกแต่งด้วยของมีค่า ด้วยเงินทองรัตนต่าง ๆ พร้อมด้วยรูปลวดลายจำหลักอันวิจิตรพิศดารต่าง ๆ ล้วนน่าดูน่าชม เป็นที่ชอบใจพอใจของผู้มีความรักความปรารถนา หาได้พิจารณาถึงสิ่งอันประกอบเข้าเป็นตัวราชรถ อันต้องเก่าผุพัง ถูกความชราครอบงำ ต้องหลุดลุ่ย เพราะพยาธิ มด ปลวกอันชอนไชกัดทำลายอยู่ภายในเครื่องสำหรับยึดของมีค่าประดาตกแต่งก็ไม่สามารถยึดไว้ได้ ต้องตกล่วงกระจัดกระจายทิ้งไปเหมือนไม่อาวรอาลัยใยดี ปล่อยให้ผู้มาเห็น ณ ภายหลังรันทดใจ เศร้าใจ สังเวชสลดจิต คิดตามรู้ตามสภาพเป็นจริงของสิ่งทั้งมวลว่า พวกผู้โง่เขลาหมกอยู่ ติดอยู่ หลงอยู่ แต่พวกผู้รู้ความจริงหาเกี่ยวข้องด้วยไม่ เพราะการแสวงหาสิ่งประดับตกแต่งทั้งมวล เป็นการเนิ่นช้าเสียเวลาเปล่า ไม่เป็นไปตามปรารถนาของผู้ต้องการประดับ ไม่จีรังในสิ่งทั้งมวล หาแก่นสาระสำคัญไม่ได้ ผู้มีปัญญาทราบชัดแล้วจึงละไม่แสวงหาเครื่องประดับตกแต่งอีก เพราะเห็นโทษในการเสียเวลา หาเครื่องประดับและในการตกแต่งได้แต่คิดคำนึงถึงความเสื่อม ความสิ้นของโลก อนิจจํ เห็นโลก เห็นสังขารเหมือนราชรถของพระราชา ที่มีความคร่ำคราทรุดโทรม ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญใจของผู้พบเห็น ผู้มีปัญญาไม่ยอมเสียเวลากับสิ่งที่ต้องสูญสลายไปเปล่า ๆ พยายามมองค่าของทุกสิ่งด้วยความรู้ ความเป็นจริง ถือเอาประโยชน์ชั่วคราวในสิ่งนั้น ๆ ไม่พอใจที่จะยึดถือเป็นจริงเป็นจัง เพราะทราบชัดตามเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ นั้นแล้วว่าความรักคืออะไร? ความรักคือความเมตตา! จะตัดความรักก็ต้องตัดความเมตตา! พระศาสดาทรงสอนให้แผ่เมตตาไปยังทิศทั้งปวง เมื่อเราไปอยู่ ณ สถานที่ทิศใด อยู่ในหมู่ใด คณะใด ในหมู่สัตว์ สมณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร ก็พึงประกอบอยู่ด้วยเมตตา ความรักในหมู่คณะเหล่านั้น ในสถานที่นั้น ผู้มีเมตตาความรักย่อมสบายอยู่เป็นสุข ไม่ถูกหมู่คณะหรือสถานที่เหล่านั้นเบียดเบียน แต่พระศาสดาทรงห้ามภิกษุแผ่ความรัก ความเมตตาในมาตุคาม คือหญิงชาวบ้าน เพราะจะทำให้ภิกษุได้รับความทุกข์ใจ ร้อนใจจนทนบวชไม่ได้ ต้องสึกไปหาหญิงคนนั้น และจะได้รับทุกข์โทษต่าง ๆ ต้องตรากตรำทำการงานสารพัด ไม่ได้พักผ่อนหลับนอนอย่างสบาย ต้องทำหน้าที่ของสามีอย่างครบถ้วน จะถูกรบกวนจิตใจอยู่เสมอ สงบไม่ได้เป็นนักต่อสู้อยู่ตลอดเวลา จนกว่าจะเบื่อหน่ายหรือคลายความรักลง จึงค่อยปลดค่อยวาง ค่อยบรรเทาความทุกข์ร้อนในเรื่องความรักได้บ้าง แล้วชักชวน ลากจูง เคี่ยวเข็ญกระทำความดี ให้ใจนั้นมีเมตตารักใคร่ในทาน ในศีล ในภาวนา แล้วพิจารณากรรม คือ การกระทำของโลก ของหมู่สัตว์ หมู่คนในโลก ที่ลุ่มลงมัวเมาในรสรัก รสเมตตา ล้วนไม่ตลอด ตกอยู่ จมอยู่กับความคร่ำคร่า จำเจ ถูกชราครอบงำ แก่เฒ่าเจ็บป่วยแล้วก็ตายจากกัน เหมือนไม่มีความอาลัยใยดี เจ้าเมตตาความรักมันหดหายตายจากพรากทิ้งอย่างไม่เหลือเยื่อใย แม้แต่ซากของความรักก็ต้องถูกฝังถูกเผา ไม่ให้เหลือแม้แต่ซาก นี่แหละ! ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงพระเมตตาในหมู่เทวดา มนุษย์ทั้งหลายแล้ว ก็ทรงสอนการแผ่เมตตา ความรักใคร่ให้เห็นแก่ตนเอง ให้มีความรักใคร่ในตนแล้วจะได้ขวนขวายประโยชน์ตน ให้ตนของตนพ้นจากทุกข์จากภัย จากอันตรายต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบันชาตินี้ อนาคตภายหน้าชาติหน้าอย่าได้เป็นผู้ไร้สติขาดปัญญา พิจารณาความเป็นจริงของโลก ของสัตว์โลกที่เกิดมาพบความแก่ความเจ็บความตาย แล้วดิ้นรนเดือดร้อนเป็นความทุกข์ในความแก่ ความเจ็บ ความตายนั้น มุ่งหาทางพ้นความแก่ ความเจ็บ ความตายโดยเร็วพลัน! อย่าให้ความแก่ความเจ็บ ความตาย มาถึงครอบงำเอาเสียแล้ว เดี๋ยวจะหมดกำลังกายกำลังใจ แสวงหาธรรมเครื่องพ้นทุกข์ไม่ได้จะต้องเศร้าโศกตลอดกาลนาน วัฏฏะสงสารเป็นของน่ากลัวอย่างยิ่ง

    ส่วนมากแล้วผู้ที่จะรักตนปฏิบัติตนให้มีความสามารถข้ามพ้นบ่วงแห่งมัจจุราช คือความรักได้ยากนัก จึงได้วนเวียนอยู่ในภพ เปลี่ยนที่อยู่อาศัย เปลี่ยนร่างกาย เปลี่ยนความรู้สึกนึกคิด แต่จะเปลี่ยนจิตใจ ห้ามใจไม่ให้รักไม่ได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงทุกข์โศกร่ำไรรำพรรณ เพ้อถึงความรักที่ไม่สมประสงค์ว่า น้ำตาที่ร้องไห้มากมายกว่า 4 มหาสมุทร เนื้อและกระดูกมากกว่าภูเขาสูง ที่สัตว์โลกเวียนไปมาในวัฏฏะสงสารอันยาวนาน เพราะมีความรักเป็นปัจจัย หาปัจจัยเหตุดับความรักไม่ได้ เพราะไม่รู้หลงความรักคืออะไรไม่ทราบ จึงละความรัก ดับความรัก คลายรักอย่างจริงจังไม่ได้ เมื่อรู้ซึ้งเหตุต้นอันพระองค์แสดงชัดแล้ว ผู้มีความปรารถนาพ้นบ่วงมัจจุมาร คือ ความรักแล้ว กลัวภัยแต่ทุกข์ของความรัก แล้วก็มาละเหตุคือเมตตา มีความรักใคร่ในคนรัก ในสรรพวัตถุต่าง ๆ ทั้งที่มีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครอง ละความยินดีพอใจในสิ่งเหล่านั้นทั้งหมดเสีย แม้ชีวิตก็สละหมด เป็นผู้ไม่มีกังวลในสิ่งใด ๆ ใจก็สงบตั้งมั่น เมื่อจิตสงบตั้งมั่นแล้วก็พิจารณาถึงสิ่งทั้งหลายที่เราละได้ เป็นเด็ดขาด ถึงจะมีผู้ประสงค์ให้ก็ไม่ยินดีรับ ประสงค์ความบริสุทธิ์ถือเอาตามจำเป็นไม่ผิดศีลผิดธรรม รับมาด้วยความยุติธรรม มีปกติอยู่ด้วยจาคานุสสติจำสละจำทิ้ง ละความปรารถนาใด ๆ ในโลก ก็เท่ากับเป็นการละโลก ทิ้งไว้โดยเป็นของโลก ละการถือมั่นในโลก ปล่อยวางทุกอย่าง ก็เป็นการละโลภะ ความโลภในสิ่งเหล่านั้น เมื่อไม่มีสิ่งเหล่านั้น ความโกรธจะเกิดจากสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ คามหลงใหลสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นก็ดับลง จิตไม่ตั้งอยู่ในโลก ภพทั้งหลายเป็นที่อยู่ของจิตก็ไม่มี เพราะจิตไม่ตั้งอยู่ในสิ่งใด ใจท่านว่าวิมุติหลุดพ้นจากสิ่งทั้งหลายเหล่านี้นี่เอง

    ที่มา : หนังสือประวัติพระอาจารย์นพพร อาทิจฺจวํโส สำนักปฏิบัติธรรมอาทิจฺจวํโส อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2013
  7. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
     
  8. talkjoss

    talkjoss เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2010
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +2,252
    ขอบคุณครับ ขออนุโมทนาในธรรมครั้งนี้ทุกประการด้วยเทอญ สาธุ
     
  9. nunmk

    nunmk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +108
    ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาในธรรมทานนี้ด้วยครับ สาธุ
     
  10. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    <iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/Bm_bOTcjdHk" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    ผลแห่งการชักชวนคนให้สร้างกุศล

    ผู้อ่าน สันโดษ

    เพลงประกอบ วนาสวาท/อสงไขย/ฤดูที่แตกต่าง (บรรเลงขิม)

    ในทางพุทธศาสนาการชักชวนผู้อื่นทำความดีนั้น ผู้ชักชวนก็ได้บุญและทำให้เป็นผู้มีบริวารมาก หากทำด้วยตัวเองด้วยก็ยิ่งจะได้ทั้งทรัพย์สมบัติและบริวาร ดังเรื่องที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาลว่ากาลครั้งหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศล ได้รับสั่งให้สันตติมหาอำมาตย์ ไปปราบปรามโจรที่กำลังฮึกเหิมอย่างหนัก เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงทราบว่า มหาอำมาตย์ปราบโจรได้อย่างราบคาบแล้ว ทรงพอพระราชหฤทัยมากจึงพระราชทานทรัพย์สมบัติให้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งหญิงสาวที่เก่งในการร้องเพลงและฟ้อนรำนางหนึ่ง อำมาตย์ได้ดื่มเหล้าฉลองชัยชนะจนเมามายถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน ในวันที่เจ็ดเขาจัดแจงแต่งตัวด้วยอาภรณ์อย่างดีแล้วขี่ช้างตัวที่ดีที่สุดไปยังท่าอาบน้ำ เมื่อไปถึงก็เห็นพระศาสดากำลังเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมือง เขาจึงผงกศีรษะถวายบังคมด้วยความเคารพ ในขณะที่นั่งอยู่บนคอช้างนั่นเอง เมื่อพระศาสดาทรงเห็น จึงทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์จึงทูลถามถึงสาเหตุที่พระองค์ทรงแสดงกิริยาเช่นนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า “อานนท์ เธอจงดูสันตติมหาอำมาตย์วันนี้เขาประดับด้วยอาภรณ์อย่างดีมาสู่สำนักเรา เขาจะบรรลุพระอรหันต์เพียงเพราะไดัฟังธรรมเพียงนิดเดียวเท่านั้นเองและจะปรินิพพานในอากาศ”

    บรรดาชาวบ้านที่ได้ฟังคำของพระศาสดา บางพวกที่เป็นมิจฉาทิฏฐิคิดว่า “ท่านทั้งหลาย จงดูกิริยาของพระสมณโคดมพระองค์ย่อมพูดสักแต่ปากเท่านั้น ในวันนี้สันตติมหาอำมาตย์นั้นเมาสุราอย่างหนัก จะได้ไปฟังเทศน์ฟังธรรมที่ไหน พวกเราจักจับผิดพระสมณโคดมที่กล่าวมุสาวาท”

    ส่วนพวกที่เป็นสัมมาทิฏฐิคิดกันว่า“น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอานุภาพมาก ในวันนี้ เราทั้งหลาย จักได้ดูการเยื้องกรายของพระพุทธเจ้าและการเยื้องกรายของสันตติมหาอำมาตย์” ฝ่ายมหาอำมาตย์หลังลงเล่นน้ำตลอดทั้งวันที่ท่าอาบน้ำแล้ว จึงกลับไปสู่อุทยาน และไปนั่งในโรงดื่ม ขณะที่หญิงสาวที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานให้นั้น ก็ขึ้นไปยืนอยู่ที่กลางเวทีเตรียมจะฟ้อนรำให้มหาอำมาตย์ดู แต่พอเริ่มจะแสดง นางก็กลับมีลมพิษเกิดในท้องอย่างหนัก ปากอ้า ตาเหลือก และในที่สุดก็ขาดใจตาย สาเหตุเพราะกินอาหารน้อยมาตลอด ๗ วัน เพื่อให้ร่างกายอ้อนแอ้นน่าชมนั่นเอง เมื่อมหาอำมาตย์รู้ว่านางตายแล้ว เขาก็เกิดความเศร้าโศกอย่างแรงกล้าขึ้นมากระทั่งสร่างเมาทันที พิษของสุราที่ดื่มมาตลอด ๗ วัน ได้เสื่อมหายไป เขาคิดว่าคงไม่มีใครที่จะสามารถระงับความโศกเศร้าของเขาได้

    เขาจึงไปขอเฝ้าพระศาสดาในตอนเย็นพร้อมกับบริวาร และกราบทูลถึงเหตุความโศกเศร้าที่เกิดขึ้นกับตนและเหตุที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ครั้นพระศาสดาได้ฟังเรื่องราวทั้งหมดแล้ว จึงตรัสว่า “ท่านมาหาเราผู้สามารถที่จะดับความโศกได้แน่นอน อันที่จริงน้ำตาที่ไหลออกของท่านผู้ร้องไห้ในเวลาที่หญิงนี้ตายด้วยเหตุอย่างนี้ มากกว่าน้ำของมหาสมุทรทั้ง ๔ ซะอีก” แล้วจึงตรัสพระคาถา ว่า “กิเลสเครื่องกังวลใด มีอยู่ในกาลก่อน เธอจงยังกิเลสเครื่องกังวลนั้น ให้เหือดแห้งไป กิเลสเครื่องกังวล จงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง ถ้าเธอจักไม่ยึดถือขันธ์ ในท่ามกลาง จักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป” หลังจากพระองค์เทศน์จบ สันตติมหาอำมาตย์ก็บรรลุพระอรหัตผล แล้วพิจารณาดูอายุสังขารของตน ทราบว่าตัวเองจะหมดอายุขัยแล้ว จึงกราบทูลพระศาสดาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงอนุญาตการปรินิพพานแก่ข้าพระองค์เถิด” พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “สันตติมหาอำมาตย์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงเล่ากรรมที่เธอเคยทำไว้ในอดีตแก่เรา แต่ก่อนจะเล่า จงอย่ายืนบนพื้นดิน จงยืนบนอากาศชั่ว ๗ ลำตาล” มหาอำมาตย์จึงถวายบังคมพระศาสดา จากนั้นก็ขึ้นไปสู่อากาศชั่วลำตาลหนึ่ง แล้วลงมาถวายบังคมพระศาสดาอีกและขึ้นไปนั่งโดยบังลังก์บนอากาศ ๗ ชั่วลำตาลแล้ว จึง เล่าบุพกรรมของตนเองว่า ในกัลป์ที่ ๙๑ แต่กัลป์นี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ตนได้บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง ในพันธุมดีนคร คิดอยู่ว่า อะไรหนอเป็นกรรมที่ไม่ทำการตัดรอนหรือบีบคั้นชนเหล่าอื่น
    เมื่อใคร่ครวญอยู่อย่างนี้ จึงรู้ว่ากรรมคือ การป่าวร้องบอกบุญ ชักชวนคนทำบุญ เป็นสิ่งที่ดี จึงชักชวนชาวบ้านทำบุญ เที่ยวเชิญชวนชาวบ้านทำบุญสมาทาน อุโบสถศีลในวันอุโบสถ ถวายทานและฟังเทศน์ฟังธรรม ให้เข้าถึงพระรัตนตรัย ผลของการชักชวนชาวบ้านบำเพ็ญบุญบำเพ็ญกุศลนั้นมีมากมายยิ่งนัก ดังที่เกิดขึ้นกับตน คือ พระราชาผู้ใหญ่ทรง พระนามว่า ‘พันธุมะ’เป็นพระพุทธบิดา เมื่อได้ทรงสดับความดังนั้นจึงรับสั่งให้เรียกตนมาเฝ้า แล้วตรัสถามว่า กำลังทำอะไร ตนจึงทูลไปว่า ได้เที่ยวประกาศคุณของพระรัตนะตรัย ชักชวนชาวบ้านทำบุญ ทำกุศล

    พระราชาได้ตรัสถามว่า นั่งอะไรไป ตนได้กราบทูลไปว่า เดินไปจึงตรัสขึ้นว่าไม่เหมาะที่จะเดินไปอย่างนั้นหรอก จงประดับพวงดอกไม้นี้แล้วขี่ม้าไปเถิด ตรัสแล้วก็พระราชทาน พวงดอกไม้ และม้าที่ฝึกแล้วให้ ต่อมาพระราชาเห็นว่าม้าก็ไม่สมควร จึงได้พระราชทานรถที่เทียมด้วยม้าพันธุ์ดีและไม่นานพระราชาก็คิดว่ารถเทียมม้าก็ไม่สมควรอีก จึงได้พระราชทานทรัพย์สินเงินทองพร้อมทั้งเครื่องประดับเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังได้พระราชทานช้างเชือกหนึ่งด้วย ตนจึงนั่งบนคอช้าง ออกเที่ยวชักชวนคนทำบุญทำกุศลอยู่อย่างนี้สิ้นแปดหมื่นปี กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากกาย กลิ่นอุบล ฟุ้งออกจากปากตลอดกาลมีประมาณเท่านี้” หลังจากสันตติอำมาตย์กราบทูลบุพกรรมของตนแล้ว ท่านก็ปรินิพพานบนอากาศนั่นเอง

    วิธีการทำบุญที่สันตติอำมาตย์ได้ชวนผู้อื่นทำนั้น มีทั้งการให้ทาน รักษาศีล และฟังธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ ไม่มีทรัพย์สินเงินทองก็สามารถทำได้ เพราะวิธีการทำบุญมีมากมายหลายวิธี เราสามารถทำบุญด้วยการรักษาศีล ฟังธรรม และเจริญภาวนา เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่ให้อานิสงส์มากมายยิ่งนักแก่ผู้ปฏิบัติ ไม่ได้น้อยไปกว่าการทำบุญด้วยวัตถุสิ่งของเลย จะเห็นว่าสันตติอำมาตย์ได้ทำบุญอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน แสดงให้เห็นถึงการมีจิตใจแน่วแน่เด็ดเดี่ยวในการทำความดี ดังนั้น หากเราคิดอยากจะได้บุญที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ ก็จงแน่วแน่ในการสร้างความดีต่างๆ อย่าท้อแท้หมดกำลังใจเมื่อมีมารมาขัดขวาง นอกจากนั้นจงใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวเป็นปัจจัยในการเข้าถึงสัจธรรมเพราะทุกอย่างที่อยู่รอบตัว สามารถเป็นบทเรียนให้เราได้ หากเรารู้จักใช้สติปัญญาพิจารณาอย่างจริงจัง และน้อมเข้ามา เปรียบเทียบกับตัวเอง และเมื่อเรามีปัญญาเห็นความจริงแล้ว ก็จงพยายามถ่ายทอดต่อไปยังคนอื่นๆ การชี้ทางให้แก่คนอื่น ก็เป็นบุญอันยิ่งใหญ่เป็นธรรมทาน มีอานิสงส์มากมาย

    จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 90 พ.ค. 51 โดย มาลาวชิโร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มีนาคม 2013
  11. gae2012

    gae2012 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +65
    ทำไมเปิดฟังไม่ได้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...